วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2564

อดีตพระพุทธเจ้า

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always belo
อดีตพระพุทธเจ้า

คติความเชื่อเรื่อง “อดีตพระพุทธเจ้า” นั้น  อาจเริ่มต้นมาจากพุทธศาสนานิกายมหาสังฆิกะ/มหายาน ที่ได้เริ่มมีการจัดพุทธภาวะ 3 ระดับ ที่เรียกว่า  “ตรีกาย” (Tri-kāya) โดยแบ่งเป็น ธรรมกาย สัมโภคกายและนิรมาณกาย
.
โดยนิรมาณกาย (Nirmāṇakāya)  เป็นพุทธภาวะระดับล่างสุด หมายถึงรูปกายที่เป็นกายเนื้อหรือมนุษย์ โดยกำหนดให้พระโพธิสัตว์ที่ลงมาประสูติเป็นเจ้าชาย“สิทธัตถะ” (Siddhartha) ตรัสรู้เป็น “พระศากยมุนี” (Shakyamuni)  เป็นตัวแทนของพระอาทิพุทธ/วัชรสัตว์พุทธเจ้าจากพุทภาวะธรรมกายครับ 
.
แต่กระนั้นพุทธภาวะนิรมาณกายก็ไม่ได้มีเพียงพระศากยมุนีเปฌนพระพุทธเจ้าเพียงพระองค์เดียว  พฝ่ายมหายานยังกำหนดให้มี “พระมานุษิพุทธเจ้า” (Mortal Buddhas) มนุษย์ที่ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอีกเป็นจำนวนมากมายมหาศาล แต่ละพระองค์ประทับใน “จักวาลแห่งมัณฑละ/มันดารา” (Mandala Universe) ที่เรียกกันว่า “พุทธเกษตร” (Buddha Kaset) ที่มีดินแดนอยู่ทั้ง 4 ทิศแห่งจักรวาล
.
อิทธิพลของคติเรื่องพระพุทธเจ้ากายเนื้อที่มีมากมายในพุทธเกษตรของฝ่ายมหายาน ได้ส่งอิทธิพลไปยังพุทธศาสนานิกายสรวาสติวาท/สถวีรวาท/หีนยาน/เถรวาท จนเกิดเป็นแนวคิด “อดีตพระพุทธเจ้า” จำนวน 28พระองค์จากช่วงเวลาในวรรณกรรม 4 อสงไขย 9 กัปป์  ประกอบด้วย พระตัณหังกรพุทธเจ้า,พระเมธังกรพุทธเจ้า,พระสรณังกรพุทธเจ้าและพระทีปังกรพุทธเจ้า จากอสงไขย-สารมณฑกัปป์ พระโกณฑัญญะพุทธเจ้า จากอสงไขย-สารกัปป์ พระมังคละพุทธเจ้า,พระสุมนะพุทธเจ้า,พระเรวตะพุทธเจ้าและพระโสภิตะพุทธเจ้าจากอสงไขย-สารมณฑกัปป์  พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า,พระปทุมะพุทธเจ้า,พระนารทะพุทธเจ้าจากอสงไขย-วรกัปป์      พระปทุมุตตระพุทธเจ้าจากสารกัปป์ พระสุเมธพุทธเจ้า,พระสุชาตะพุทธเจ้าจากมัณฑกัปป์  พระปิยทัสสีพุทธเจ้า,พระอัตถทัสสีพุทธเจ้าและพระธัมมทัสสีพุทธเจ้าจากวรกัปป์  พระสิทธัตถะพุทธเจ้าจากสารกัปป์  พระติสสะพุทธเจ้าและพระปุสสะพุทธเจ้าจากมัณฑกัปป์ พระวิปัสสีพุทธเจ้าจากสารกัปป์ ,พระสิขีพุทธเจ้าและพระเวสสภูพุทธเจ้าจากมัณฑกัปป์ พระกกุสันธพุทธเจ้า,พระโกนาคมนะพุทธเจ้า,พระกัสสปะพุทธเจ้า และพระสมณโคตมพุทธเจ้า ในกัลปป์ปัจจุบันเรียกว่าภัทรกัปป์ครับ

 
.
*** ซึ่งฝ่ายมหายานก็ได้นำแนวคิดนี้อดีตพระพุทธเจ้าของฝ่ายสถวีรวาท กลับไปจัดเป็น “พระสัปตมานุษิพุทธเจ้า” (Sapta Mortal Buddha) หรือ “พระพุทธเจ้า 7 พระองค์” โดยเลือก 6 พระองค์จาก 3 กัปป์ หลังสุด อันได้แก่สารกัปป์ มัณฑกัปป์และภัทรกัปป์ (กัปป์ปัจจุบัน)  มาจัดเป็นกลุ่มตัวแทนของพระมานุษิพุทธเจ้าในอดีตและปัจจุบัน โดยรวมพระโพธิสัตว์ไมเตรยะอนาคตพุทธะเป็นองค์ที่ 7 
.
เมื่อแนวคิดอดีตพระพุทธเจ้า (ที่ตรัสรู้แล้ว) ของฝ่ายเถรวาท ได้เข้าไปผสมกับแนวคิดพระมานุษิพุทธเจ้า พระพุทธเจ้ากายเนื้อที่มีอยู่อย่างมากมายในพุทธเกษตร จึงปรากฏรูปศิลปะที่มีการจัดแบ่งอดีตพระพุทธเจ้าเป็น 3 แบบ คือ แบบ 24 พระองค์ จาก 12 กัปป์ ตามความอธิบายในคัมภีร์พุทธวงศ์ คัมภีร์มธุรัตถวิลาสินีและคัมภีร์พิเศษที่เน้นความสำคัญของอดีตพุทธเจ้า เฉพาะองค์ที่ทรงให้คำพยากรณ์แก่พระโพธิสัตว์  
.
แบบที่ 2 คือ แบบครบทั้ง 27 พระองค์ (มีพระสมณโคตมเป็นประธาน) ที่นิยมในคติฝ่ายเถรวาทหลังพุทธศตวรรษที่ 21 และแบบอดีตพระพุทธเจ้าจำนวนมากมายเกินกว่า 27 พระองค์ โดยมิได้กำหนดชัดเจนว่าเป็นผู้ใด ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากคติพระมานุษิพุทธเจ้าในพุทธเกษตรของฝ่ายมหายาน แต่ได้มาผนวกกำหนดใหม่ในคัมภีร์ที่เขียนขึ้นในภูมิภาค อย่างโสตัตถกีมหานิทาน ชินกาลมาลีปกรณ์ สัมภารวิบากและคัมภีร์พิเศษ ให้เป็นพระอตีตพระพุทธเจ้าที่จำนวนมากมายนับไม่ถ้วนเช่นเดียวกันครับ
.
-----------------   
***  พระพุทธรูปยืนในซุ้มเรือนแก้วของเจดีย์กู่กุด/สุวรรณจังโกฏเจดีย์ วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน บนเรือนธาตุ 5 ชั้น 4 ด้าน รวมจำนวน 60 องค์ จึงหมายความถึง “พระอดีตพระพุทธเจ้า” ตามชินกาลมาลีปกรณ์ ประทับในแต่ละทิศ (พุทธเกษตร) ทั้ง 4 ทิศ จากอิทธิพลฝ่ายมหายาน ล้อมรอบแกนกลางอันได้แก่เขาพระสุเมรุ/สิเนรุ/สิเนโร ล้อมรอบด้วยทวีปทั้ง 4 ที่อยู่ในรูปศิลปะ “สถูปิกะ” ประดับมุมเรือนธาตุแต่ละชั้น  เรือนธาตุทั้ง 5 ชั้น และฐานยกเก็จชั้นแรก หมายถึงสวรรค์ฉกามาพจร 6 ชั้น ตามคติ“ไตรภูมิกถา/ไตรภูมิโลกวินิจฉัย/ไตรภูมิโลกสัณฐาน” ของฝ่ายรามัญนิกาย/อุทมุพรคีรี ที่เริ่มนิยมในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17  
.
*** โดยชั้นบนสุดเหนือเรือนธาตุศิขระซ้อนชั้น เป็นปลียอดแหลมหมายถึง “เขาพระสุเมรุ” ตามความหมายแกนกลางแห่งจักรวาลที่ประทับแห่งพระสมณโคตม โดยมี“เขาสัตตบริภัณฑ์/สัตปริภัณฑคีรี” ล้อมรอบในรูปศิลปะของฐานบัวสันคมซ้อนเป็นชั้น มีปูนปั้นกลุ่มบัวหงายรองรับต่อขึ้นมาจากเรือนธาตุชั้นบนสุดครับ
เครดิต : FB
วรณัย  พงศาชลากร
EJeab  Academy

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น