"โอม" สัญลักษณ์แห่งศาสนาพราหมณ์ หรือ ศาสนาฮินดู | ศาสนาพราหมณ์ (Brahmanism) เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่มีวิวัฒนาการมาพร้อมกับการมาของชาวอารยันราว ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว ในชั้นต้นพวกอารยันนับถือภูติผีปีศาจ อำนาจต่างๆ ทางธรรมชาติที่ไม่สามารถอธิบายได้ ต่อมาการนับถือธรรมชาติต่าง ๆ จึงพัฒนามาสู่การทำรูปเคารพ และเทพีต่าง ๆ มากมาย เช่นพระอินทร์ พระวิรุฬ พระอัคนี เป็นต้น ลัทธิความเชื่อเหล่านี้เองที่ได้พัฒนาการมาเป็นศาสนาพราหมณ์ เป็นศาสนาที่ไม่มีศาสดาเป็นผู้ก่อตั้งเหมือนหลาย ๆ ศาสนา ปัจจุบันเรียกว่าศาสนาฮินดู (Hinduism) มีผู้นับถือทั่วโลกเกือบ 800 ล้านคนทั้ง อินเดีย เนปาล และบางส่วนของอินโดนีเซีย |
เมื่อชาวอารยันเข้ามาตั้งรกรากในชมพูทวีปแล้ว ก็ได้รวบรวมคำสอนคำอ้อนวอนของตนขึ้นเป็นครั้งแรกเป็นภาษาสันสกฤต เรียกว่า พระเวท(Veda) ซึ่งแปลว่าความรู้ คัมภีร์ ที่แต่งขึ้นครั้งแรกเรียกว่า ฤคเวค (Rigveda) ต่อมาจึงได้เรียบเรียงคัมภีร์เพิ่มเติมตามลำดับคือ ยชุรเวท(Yajurveda) สามเวท (Samveda) อาถรรพเวท (Atharveda) ทั้งสี่คัมภีร์นี้มีลักษณะแตกต่างกันดังนี้ 1. ฤคเวท (Rigveda) เป็นคัมภีร์ที่เกี่ยวเนื่องกับบทสวดต่างๆ เพื่อสรรเสริญพระเจ้า ฤทธิ์เทวะและธรรมชาติ กล่าวถึงการสร้างโลก เป็นคัมภีร์ที่เก่าแก่ที่สุด มีบทสวดถึง 1,028บท2. ยชุรเวท (Yajureda) เป็นคัมภีร์ที่เกี่ยวกับบทร้อยกรองบวงสรวงต่างๆ ใช้ในพิธีการบูชายัญที่เรียกว่า ยัญพิธีในทางศาสนา 3. สามเวท (Samveda) เป็นคัมภีร์ที่เกี่ยวกับกลศาสตร์รวมทั้งสังคีต บทสวดมนต์ สำหรับประกอบพิธีกรรมต่างๆ ของประชาชนทั่วๆ ไป 4. อาถรรพเวท (Atharvaveda) เป็นคัมภีร์ที่เกี่ยวกับเวทมนต์ คาถาต่างๆ ต่อมาคัมภีร์ทั้งสี่ได้กลายมาเป็นคัมภีร์สำคัญของศาสนาฮินดู เป็นศาสนาที่รวมพระเจ้าในทุกสิ่งอย่างจึงปรากฏว่า มีพระเจ้ามากมาย เช่น พระอัคนี (ไฟ) พระโสม (จันทร์) พระอินทร์ พระอาทิตย์ พระพรหม พระอิศวร (พระศิวะ) พระนารายณ์ (พระวิษณุ) พระกฤษณะ พระราม พระแม่อุมา พระแม่กาลี พระแม่ทุรคา พระแม่สุรัสวดี พระแม่ลักษมี พระขันทกุมาร และพระพิฆเณศ เป็นต้น |
สัญลักษณ์โอม เครื่องหมายแห่งศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พระตรีมูรติ (ลักษณะที่แยกพระองค์ เป็น 3 เทพเจ้า) อันประกอบด้วย พระพรหม (ผู้สร้าง), พระวิษณุ (ผู้ดูแล), พระศิวะ (ผู้ทำลาย) สามเทพเจ้าสูงสุดแห่งศาสนาพราหมณ์ หรือฮินดู พระตรีมูรติ (ลักษณะที่รวม 3 พระองค์เป็นองค์เดียว) image from photobucket.com | นิกายในศาสนาฮินดู (Hindu Sects) ศาสนาฮินดู ที่สืบเนื่องจากศาสนาพราหมณ์นับเป็นศาสนาที่เก่าแก่มากที่สุด ได้แบ่งออกเป็นหลายนิกายที่สำคัญ เช่น1. นิกายไวศณพ (Vishnav) เป็นนิกายที่นับถือพระวิษณุเจ้าเป็นเทพองค์สูงสุด เชื่อว่าวิษณุสิบปาง หรือนารายณ์ ๑๐ ปางอวตารลงมาจุติ มีพระลักษมีเป็นมเหสี มีพญาครุฑเป็นพาหนะ นิกายนี้มีอิทธิพลมากในอินเดียภาคเหนือและภาคกลาง ของประเทศ นิกายนี้เกิดเมื่อ พ.ศ. ๑๓๐๐ สถาปนาโดยท่านนาถมุนี (Nathmuni) 2. นิกายไศวะ (Shiva) เป็นนิกายที่เก่าที่สุด นับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุด พระศิวะเป็นเทพทำลายและสร้างสรรค์ด้วย สัญลักษณ์ อย่างหนึ่งแทนพระศิวะคือศิวลึงค์และโยนีก็ได้รับการบูชา เช่น องค์พระศิวะ นิกายนี้ถือว่าพระศิวะเท่านั้นเป็นเทพสูงสุดแม้แต่พระพรหม, พระวิษณุก็เป็นรองเทพเจ้าพระองค์นี้ นิกายนี้เชื่อว่า วิญญาณเป็นวิถีทางแห่งการหลุดพ้นมากกว่าความเชื่อในลัทธิภักดี นิกายนี้จะนับถือพระศิวะและพระนางอุมาหรือกาลีไปพร้อมกัน 3. นิกายศักติ (Shakti) เป็นนิกายที่นับถือพระเทวี หรือพระชายาของมหาเทพ เช่น สรัสวดี พระลักษมี พระอุมา เจ้าแม่ทุรคา และเจ้าแม่กาลีซึ่งเป็นชายาของมหาเทพทั้งหลาย เป็นผู้ทรงกำลังหรืออำนาจของเทพสามีไว้ จึงเรียกว่า ศักติ (Power) นิกายนี้เป็นที่นิยมในรัฐเบงกอล และรัฐอัสสัม เป็นต้น 4. นิกายคณะพัทยะ (Ganabadya) นิกายนี้นับถือพระพิฆเณศเป็นเทพเจ้าสูงสุด ถือว่าพระพิฆเนศเป็นศูนย์กลางแห่งเทพเจ้าทั้งหมดในศาสนา เชื่อว่าเมื่อได้บูชาพระพิฆเนศอย่างเคร่งครัด ก็เท่ากับได้บูชาเทพอื่นๆ ครบทุกพระองค์ 5. นิกายสรภัทธะ (Sarabhadh) เป็นนิกายขนาดเล็ก ในสมัยก่อนบูชาพระอาทิตย์ (สูรยะ) มีผู้นับถือมากในอดีต ปัจจุบันมีจำนวนน้อย นิกายนี้มีพิธีอย่างหนึ่งคือ กายตรี หรือ กายาตรี (Gayatri) ถือว่ามีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ คือการกลับมาของพระอาทิตย์เป็นฤๅษีวิศวามิตร 6. นิกายสมารธะ (Samardha) เป็นนิกายที่ใหญ่พอสมควร นับถือทุกเทพเจ้าทุกพระองค์ในศาสนา ฮินดู ความเชื่อแบบนี้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย เพราะสามารถบูชาเจ้าได้ตามต้องการ ยังมีนิกายอื่นๆอีกมากมาย และแยกย่อยออกไปอีก เช่นเดียวกับศาสนาพุทธ และ ศาสนาคริสต์ ที่มีนิกายน้อย-ใหญ่ แตกแขนงออกมาอีกนับไม่ถ้วน |
1. ...สนตนธรรม แปลว่า "ศาสนาสนต" หมายความว่า เป็นศาสนาที่ดำรงอยู่เป็นนิตย์ ไม่มีวันเสื่อมสูญ 2. .. ไวทิกธรรม แปลว่า "ธรรมที่ได้มาจากพระเวท" 3. .. อารยธรรม แปลว่า "ธรรมอันดีงาม" 4. .. พราหมณธรรม แปลว่า "คำสอนของพราหมณาจารย์" 5. .. ฮินดูธรรม แปลว่า "ธรรมที่สอนลัทธิอหิงสาหรือศาสนาฮินดู" |
..........ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ก็คือศาสนาเดียวกันนั่นเอง การที่มีชื่อเรียกควบคู่กันไป 2 ชื่อ คือ "พราหมณ์-ฮินดู" เพราะผู้ให้กำเนิด ศาสนานี้ ในตอนแรกเริ่มเรียกตัวเองว่า "พราหมณ์" ต่อมาศาสนาเสื่อมลงระยะหนึ่งและได้มา ฟื้นฟูปรับปรุงเป็นให้เป็นศาสนาฮินดู โดย เพิ่มบางสิ่งบางอย่างเข้าไป มีการปรับปรุงเนื้อหาหลักธรรม คำสอน ให้ดีขึ้น คำว่า "ฮินดู" เป็นคำที่ใช้เรียกชาวอารยันที่อพยพเข้าไป ตั้งถิ่นฐานในลุ่มแม่น้ำสินธุ และเป็นคำที่ใช ้เรียกลูกผสมของชาวอารยันกับชาวพื้นเมือง ในชมพูทวีป และชนพื้นเมืองนี้ได้พัฒนา ศาสนาพราหมณ์โดยการ เพิ่มเติมอะไรใหม่ๆ ลงไป แลัวเรียกศาสนาของพวกนี้ว่า "ศาสนาฮินดู" เพราะฉะนั้นศานาพราหมณ์จึงมีอีก ชื่อในศาสนาใหม่ว่า "ฮินดู" จนถึงปัจจุบันนี้ |
..........ศาสนาพราหมณ์ –ฮินดู เป็นศาสนาเก่าแก่ที่ยากแก่การศึกษาเรื่องราวให้เข้าใจแจ่มแจ้งชัดเจนยิ่งกว่าศาสนาอื่นเพราะ 1....เนื้อหาอันเป็นแก่นแท้ของลัทธิเกิดจากแนวคิดและมโนคติที่ลึกซึ้งและสูงยิ่ง 2....มีวิวัฒนาการที่เกิดจากการผสมผสาน ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและเกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองหลาย ซับหลายซ้อน จนยากแก่การจำแนกแจกแจงขั้นตอนให้เห็นเด่นชัด 3....เอกสาร (คัมภีร์ต่างๆ) อันเป็นหลักฐานสำคัญของศาสนานี้ แม้จะมีมากและมีมานานนับเวลาพันปีแต่ก็มิได้ รับการ เผยแพร่เพราะถูกสงวนไว้เป็นสมบัติส่วนตัวของพราหมณ์ แต่ละตระกูล คงมีการถ่ายทอดให้แก่ทายาทผู้สืบเชื้อสายเท่านั้น เอกสารเหล่านั้น เพิ่งจะมีผู้นำมารวบรวมเป็นคัมภีร์เมื่อประมาณ พ.ศ.1750 คำสอนทั้งปวงมาจากพราหมณ์ ที่ได้ยินได้ฟังมาจากเสียงสวรรค์จากโอษฐ์ของพระเจ้าโดยตรง ......... อย่างไรก็ตาม คำสอนอันเป็นแก่นแท้ของศาสนาพราหมณ์ ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระเวท ก็เป็นพื้นฐานให้เกิดศาสนา อื่นที่ สำคัญๆ หลายศาสนา เป็นหลักฐานที่สนใจศึกษากันในหมู่นักปรัชญาทั่วไปในสมัยปัจจุบันยิ่งกว่านั้นคำอธิบายเรื่องกำเนิดจักรวาล ของศาสนา นี้ยังมีความสอดคล้องและท้าทายข้อพิสูจน์ทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับกำเนิดของสุริยจักรวาล ที่นักวิทยาศาสตร์สมัยปัจจุบัน กำลังศึกษาค้นคว้ากันอยู่อีกด้วย |
สัญลักษณ์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู คือ อักษรเทวนาครี อ่านว่า “โอม” ซึ่งย่อมาจากอักษร อะ อุ และ มะ หมายถึงเทพยิ่งใหญ่ทั้งสาม อักษร “อะ” แทนพระศิวะ / อักษร “อุ” แทนพระวิษณุ / อักษร “มะ” แทนพระพรหม |
ศาสดา และ ผู้เขียนตำรา และ ผู้ก่อตั้งลัทธิต่างๆ 1. ฤาษีวยาสะ หรือ วยาส ท่านผู้นี้ตามตำนานใน คัมภีร์วิษณุปุราณะ เล่ม 3 กล่าวไว้ว่าเป็นผู้รวบรวมเรียบเรียง คัมภีร์พระเวท, คัมภีย์อิติหาสะ, คัมภีร์อุปราณะ และ มหากาพย์มหาภารตะ เป็นอันรวมความได้อย่างหนึ่งว่า ท่านวยาสะผู้เป็นฤาษี คนสำคัญมีส่วนแต่งหรือรวบรวมเรียบเรียงคัมภีร์ของศาสนาฮินดูไว้มากที่สุด ท่านผู้นี้ในตำนานกล่าวว่ามิใช่ฤๅษีธรรมดา แต่เป็น เทพฤาษี (Divine sage) ไม่ปรากฏเดือนปีที่เกิดแน่นอนเพราะเป็นอดีตหลายพันปีศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูไม่มีศาสดาจริงจังเหมือนศาสนาอื่นๆ เพราะคำสอนต่างๆ กลุ่มพราหมณ์หรือพระฤๅษีผู้ศักดิ์สิทธิ์ ได้ยินหรือฟังจากเสียงทิพย์หรือเสียงสวรรค์ (ศรุติ) ด้วยตนเอง แล้วมีการจดจำไว้หรือถ่ายทอดต่อกันทางความทรงจำ (สมฤติ) ต่อมามีหัวหน้าลัทธิหรือผู้แต่งตำราทำให้คำสอนแพร่หลายยั่งยืนมาจนปัจจุบันนี้ ฉะนั้นในที่นี้ใคร่ขอรวบรวมสรุป กล่าวถึงผู้แต่งตำราหรือหัวหน้าลัทธิแทนชื่อประวัติของศาสดา 2. วาลมีกิ เป็นชื่อของพระฤๅษีผู้แต่ง มหากาพย์รามายณะ สันนิษฐานว่าประมาณปลายศตวรรษที่ 4 และต้นศตวรรษที่ 3 ก่อน คริสต์ศักราช 3. โคตมะ หรือ เคาตมะ ผู้ก่อตั้ง ลัทธินยายะ สันนิษฐานว่าเกิดประมาณ 550 ปี ก่อน ค.ศ. 4. กณาทะ ผู้ก่อตั้ง ลัทธิไวเศษิกะ สันนิษฐานว่าเกิดประมาณศตวรรษที่ 3 ก่อน ค.ศ. 5. กปิละ ผู้ก่อตั้ง ลัทธิสางขยะ สันนิษฐานว่าเกิดในสมัยศตวรรษที่ 6 ก่อน ค.ศ. 6. ปตัญชลี ผู้ก่อตั้ง ลัทธิโยคะ สันนิษฐานว่าเกิดในสมัยศตวรรษที่ 3 หรือ 4 ก่อน ค.ศ. 7. ไชมินิ ผู้ก่อตั้ง ลัทธิมีมางสา หรือ ปูรวมีมางสา สันนิษฐานว่าเกิดระหว่างศตวรรษที่ 6 ถึงศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. 8. พาทรายณะ ผู้ตั้ง ลิทธิเวทานตะ หรือ อุตตรมีมางสา มีผู้กล่าวว่าเป็นครเดียวกับ วยาสะ และเกิดระหว่างศตวรรษที่ 6 ถึงศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. บางท่านก็สันนิษฐานว่าเกิดระหว่างศตวรรษที่ 5 ถึงศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. 9. มนู ผู้แต่ง คัมภีร์ธรรมศาสตร์ สันนิษฐานว่าเกิดในสมัยศตวรรษที่ 5 ก่อน ค.ศ. 10. จารวากะ ผู้ให้กำเนิด ลัทธิโลกายตะ หรือ วัตถุนิยม ไม่มีประวัติแน่นอน มีแต่นิยายใน คัมภีร์มหาภารตะ ว่าเป็น รากษส ปลอมเป็นพราหมณ์ไปแสดงลัทธินี้แล้วถูกฆ่าตาย ฉะนั้นจะว่าเป็นศาสดาก็ไม่ถนัดนักเพราะถูกกล่าวถึงในทาง เป็นผู้ร้ายมากกว่า 11. สังกราจารย์ ผู้แต่งอรรถกถาหรือคำอธิบาย ลัทธิเวทานตะ สันนิษฐานว่าเกิดระหว่าง ค.ศ. 788 ถึง ค.ศ. 820 แต่ เรื่องเล่ากล่าวกับสืบมาว่า ท่านผู้นี้เกิดในสมัย 200 ปี ก่อน ค.ศ. ซึ่งนับว่าห่างไกลกันมากท่าผู้นี้แต่งหนังสือไว้มากเรื่อง ด้วยกัน และถือกันว่าเป็นผู้ตั้งลัทธิ “อัทไวตะ”หรือ “เอกนิยม” คือ นับถือพระเจ้าองค์เดียวขึ้น 12. นาถมุนี (ค.ศ.824-ค.ศ.924) ถือกันว่าเป็นผู้นำคนแรกของ ลัทธิไวษณวะ 13. รามานุชาจารย์ (เกิด ค.ศ.1027 สิ้นชีพ ค.ศ.1137) ถือกันว่าเป็นคนสำคัญยิ่งของ ลัทธิไวษณวะ และเจ้าของ ปรัชญาวิศิษฏาทไวตะ(เอกนิยมแบบพิเศษ) อันสืบเนื่องมาจาก ลัทธิเวทานตะ 14. มัธวาจารย์ (ค.ศ.1199-ค.ศ.1277) เป็นผู้นำท่านหนึ่งแห่ง ลัทธิไวษณะ และเจ้าของ ปรัชญาทไวตะ หรือ ทวินิยม อันสืบเนื่องมาจากลัทธิเวทานตะ 15. ลกุลีสะ (สมัยของท่านผู้นี้ยังไม่แน่) เป็นอาจารย์ใหญ่แห่งนิกาย ไศวะฝ่ายใต้ ผู้ตั้ง นิกายปศุปตะ 16. วสุคุปตะ (ประมาณศตวรรษที่ 9 แห่ง ค.ศ.) เป็นผู้ก่อตั้งลัทธิ ไศวะฝ่ายเหนือ หรือที่เรียกว่า “กาษมีรไศวะ” 17. รามโมหันรอย (ค.ศ.1774-1833) เป็นผู้ก่อตั้ง พรหมสมาช 18. สวามีทยานันทะสรัสวดี (ค.ศ.1824-1883) เป็นผู้ก่อตั้ง อารยสมาช 19. รามกฤษณะ (ค.ศ.1836-1886) เป็นผู้นำทางความรู้และการปฏิบัติเป็นต้นเหตุให้มีขยวนการรามกฤษณะมิชชั่น แม้ท่านจะมิได้ตั้งขึ้นเอง แต่สวามีวิเวกานันทะก็ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเครื่องอนุสรณ์ถึงท่าน |
หลักการสูงสุดของฮินดูคือ "อาศรม 4" (ข้อปฏิบัติของพราหมณ์) ที่ระบุในพระเวท ได้แก่ 1. พรหมจารี เป็นการประพฤติตนเป็นพรมจารีของพราหมณ์เด็ก ที่อยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียน จะต้องใช้เวลา 12 ปี ในการศึกษาจนจบหลักสูตร ภายหลังจึงจะแต่งงานได้ ......ก่อนจะเข้าศึกษา สมณพราหมณ์ จะทำพิธีเสกมนตราบนตัวนักศึกษา และคล้องด้วยด้ายศักดิ์สิทธิ์เรียกว่า ยัชโญประวีตคือ สายคุรำ หรือสายมงคล เฉวียงบ่าให้แล้วจึงเริ่มเรียน ตอนคล้องด้ายนั้น พราหมณ์ถือว่า เกิดอีกครั้งหนึ่งเป็น ทวิช (เกิดครั้งที่สอง)2. คฤหัสถ์ เป็นการครองเรือน คือ การแต่งงาน ข้อปฏิบัติคือ การบูชาเทวดาเช้า ค่ำ ปฏิบัติตามหลักผู้ครองเรือน มีครอบครัว เป็นหัวหน้า ทำหน้าที่อ่านคัมภีร์ สอน บูชา และช่วยผู้อื่นบูชา 3. วานปรัศน์ หลังจากมีลูกหลาน กลายเป็นผู้เฒ่า ก็ให้ละทิ้งครอบครัว บำเพ็ญเพียรในที่สงบ หรือบำเพ็ญตบะเพื่อบรรลุธรรมขั้นสูง มีชื่อเรียกต่างๆ คือ ฤาษี (ผู้แสวงหาโมกษ) , โยคี (ผู้บำเพ็ญโยคะ) , ตาปส (ผู้บำเพ็ญตบะ ทรมานกาย) , มุนี (ผู้สงบ บำเพ็ญตปะ นุ่งห่มสีเหลือง) , สิทธา (ผู้สำเร็จได้ฌานสมาบัติ) , นักพรต (ผู้บวชบำเพ็ญพรตพรหมจรรย์) , ชฎิล (ผู้มุ่นผมสูงเป็นชฎา จนตลอดชีวิต) แล้วแต่พราหมณ์ผู้นั้นจะเลือกปฏิบัติ 4. สันยาสี ให้สละโสดแล้วออกไปอยู่ในป่า คือเป็นนักบวชที่ออกจาริกไปยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นพราหมณ์ผู้ท่องเที่ยว เลี้ยงชีพด้วยภิกขาจาร ใจมุ่งตรงต่อพระพรหม |
ศาสนาฮินดูเป็นศาสนาที่ค่อนข้างจะเน้นหนักในเรื่องพิธีกรรมมาก ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตายพวกพราหมณ์ได้กำหนด แบบแผนไว้อย่างละเอียด เพราะเชื่อกันว่าถ้าทำพิธีกรรมถูกต้องครบถ้วนหน้าแล้วจะมีผลขึ้นมาโดยอัตโนมัติแม้เทพก็ไม่สามารถขัดขวางได้ พิธีกรรมจึงเป็นส่วนหนึ่งของกฏเกณฑ์แห่งเอกภพ และชาวฮินดูก็ตั้งใจประกอบพิธีกรรมเพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมาย |
คำว่า พราหมณ์ เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาสันสกฤตเป็น ชื่อวรรณะแรกของอินเดีย และใช้เรียกคนที่อยู่ในวรรณะนี้ด้วย พราหมณ์เป็นวรรณะที่มีหน้าที่ติดต่อกับเทพเจ้า และประกอบพิธีกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งพิธีบูชาเทพเจ้าด้วยเครื่องเซ่นสังเวย นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นอาจารย์ของคนวรรณะอื่นๆ ด้วย วิชาที่พราหมณ์รู้และสอน คือ ความรู้เกี่ยวกับคัมภีร์พระเวทอันศักดิ์สิทธิ์ พราหมณ์แบ่งออกเป็น ๔ ประเภทตามความรู้ความชำนาญ คือ1. พราหมณ์ผู้ชำนาญมนตร์ในพระเวท 2. พราหมณ์ผู้ชำนาญการทำพิธีกรรม 3. พราหมณ์ผู้ชำนาญการขับกล่อมเทพเจ้า 4. พราหมณ์ผู้เป็นประธานในพิธีบูชาไฟและชำนาญเกี่ยวกับคัมภีร์เวทมนตร์อาถรรพณ์ ชาวฮินดูเชื่อกันว่าพราหมณ์มีกำเนิดจากพระเศียรของพระพรหม จึงมีสถานภาพสูงกว่าคนวรรณะอื่นๆ พราหมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องกับราชสำนักไทยมานานแล้ว ในอินเดียพราหมณ์มีฐานะเป็นอาจารย์ของคนวรรณะอื่น เมื่อพราหมณ์เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทยก็มิได้ทิ้งหน้าที่นี้ หน้าที่หลักของพราหมณ์คือ สอนหนังสือให้แก่บรรดาพระราชโอรส นอกจากนี้ยังสนองพระมหากรุณาธิคุณด้วยการเป็นเจ้าพนักงานพิธีสำคัญๆ ที่แสดงถึงความเป็นสมมติเทวราชแห่งองค์พระมหากษัตริย์ เช่น พิธีราชาภิเษกขึ้นครองราชบัลลังก์ พิธีถือน้ำพระพิพัฒนสัตยา พิธีโสกันต์ เป็นต้น ปัจจุบัน พระราชพิธี ต่างๆ ของพระมหากษัตริย์ก็ยังคงมีพราหมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นพราหมณ์ทำพิธีจะเป็นผู้อัญเชิญพระผู้เป็นเจ้าและทวยเทพตามความเชื่อของศาสนาฮินดูมาเป็นสักขีในการกระทำพิธีนั้นๆ เพื่อความเป็นสิริมงคลแห่งองค์พระมหากษัตริย์ ราชบัลลังก์ และบ้านเมือง พราหมณ์ผู้ทำพิธีเหล่านี้ สืบสายสกุลมาจากพราหมณ์แท้ๆ ที่เดินทางมาจากอินเดียปัจจุบัน พราหมณ์ส่วนใหญ่ในประเทศไทย นับถือทั้งศาสนาพุทธและพราหมณ์คู่กันไป พระพุทธศาสนาก็เกิดขึ้นท่ามกลางสังคมพราหมณ์ แม้แต่พระพุทธเจ้าและพุทธสาวกสมัยแรกๆ ก็เคยนับถือลัทธิพราหมณ์หรือเคยเกี่ยวข้องกับวรรณะพราหมณ์มาก่อน (เจ้าชายสิทธัตถะเกิดในครอบครัวพราหมณ์) และในนิทานชาดก และเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนาพุทธและพระพุทธเจ้า ก็มักจะมีพราหมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง จึงกล่าวได้ว่า ศาสนาพุทธและพราหมณ์ จึงมีอิทธิพลต่อกันและกัน ในศาสนาพราหมณ์ คำว่า พราหมณ์ หมายถึง คนในวรรณะที่สูงที่สุดของสังคมอินเดีย มีหน้าที่สอนความรู้เกี่ยวกับพระเวทและทำหน้าที่ติดต่อเทพเจ้า ผู้ที่เป็นพราหมณ์เป็นโดยกำเนิด คือบุตรของพราหมณ์ก็จะมีสถานภาพเป็นพราหมณ์ด้วย แต่ในศาสนาพุทธไม่ถือว่ากำเนิดจะทำให้คนผิดแผกกัน กำเนิดไม่เป็นเครื่องชี้ความมีสถานภาพสูงของบุคคล กรรมดีกรรมชั่วต่างหากที่เป็นเครื่องจำแนกสถานภาพสูงต่ำของบุคคล ผู้ที่มุ่งแต่ประกอบกรรมชั่ว จะเบียดเบียนผู้อื่นย่อมมีสถานภาพต่ำ ขณะที่ ผู้มุ่งประกอบกรรมดี เป็นผู้มีสถานภาพสูง สมควรได้รับการยกย่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เพียรพยายามจนสามารถขจัดกิเลสอาสวะให้มลายไปจากสันดานได้ พระพุทธเจ้าจึงทรงใช้คำว่า "พราหมณ์" เป็นคำยกย่องอย่างสูงแก่พระภิกษุผู้หมดสิ้นกิเลส ดังปรากฏในพระคาถาธรรมบทว่า เรากล่าวบุคคลผู้บรรลุประโยชน์สูงสุด (ความเป็นอรหันต์) ว่า เป็น "พราหมณ์" คำว่า พราหมณ์ ที่ใช้ในพระพุทธศาสนาบางครั้งจึงมีความหมายเหมือนกับคำว่า อรหันต์ |
ททมาโน ปิโย โหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
ตอบลบA giver is always beloved. _/|\_