ท้าวลัสเตียน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท้าวลัสเตียน (อสุรพงศ์ ) เป็นบุตรของท้าวจตุรพักตร์กษัตริย์ผู้ครองเมืองลงกาองค์ที่ ๑ และนางมลิกา ท้าวลัสเตียนเป็นกษัตริย์ครองเมืองลงกาองค์ที่ ๒ มีมเหสี ๕ พระองค์ มีโอรสและธิดาทั้งหมด ๑๑ องค์
[แก้]ลักษณะและสี
ท้าวลัสเตียน หรือ ลัสเตียนพรหม มีกายและหน้าสีขาว ปากแสยะ ตาโพลง สวมมงกุฎน้ำเต้าเฟืองยอดสะบัด บางตำราว่ามงกุฎยอดชัย มี ๑ พักตร์ ๔ กร
[แก้]มเหสีและโอรสธิดา
ท้าวลัสเตียน มีมเหสี ๕ องค์
- มเหสีองค์ที่ ๑ ชื่อ ศรีสุนันทา มีโอรสชื่อกุเปรัน
- มเหสีองค์ที่ ๒ ชื่อ จิตรมาลี มีโอรสชื่อ ทัพนาสูร
- มเหสีองค์ที่ ๓ ชื่อ สุวรรณมาลัย มีโอรสชื่อ อัศธาดา
- มเหสีองค์ที่ ๔ ชื่อ วรประไภ มีโอรสชื่อ มารัน
- มเหสีองค์ที่ ๕ ชื่อ รัชฎา มีโอรส ชื่อ ทศกัณฐ์ กุมภกรรณ พิเภก ขร ทูษณ์ ตรีเศียร และองค์สุดท้องเป็น ธิดา ชื่อ สำมนักขา
พิเภก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิเภก เป็นละครในเรื่องรามเกียรติ์ มีกายสีเขียว ทรงมงกุฎน้ำเต้า เป็นน้องของทศกัณฐ์ และกุมภกรรณ อดีตชาติ เป็นพระเวสสุญาณเทพบุตร พระอิศวรสั่งให้ไปจุติเป็นพี่น้องร่วมท้องเดียวกันกับทศกัณฐ์เพื่อเป็นไส้ศึกคอยบอกความลับต่าง ๆ ให้แก่พระราม พร้อมประทานแว่นวิเศษติดที่ดวงตาขวา มองเห็นได้ทั้งสามโลก แม้กระทั่งอดีตและอนาคต พิเภกโดนทศกัณฐ์ขับออกจากกรุงลงกา เพราะไปแนะให้ทศกัณฐ์คืนนางสีดาแก่พระราม จึงเข้าร่วมกับฝ่ายพระราม ทำหน้าที่เป็นโหราจารย์
พิเภกมีส่วนช่วยในกองทัพพระรามเป็นอันมาก เป็นผู้บอกกลศึกและทำนายเหตุการณ์ต่าง ๆ ของฝ่ายทศกัณฐ์ให้แก่พระราม เมื่อทศกัณฐ์ใกล้ตายเพราะถูกศรพรหมาศของพระราม ทศกัณฐ์สำนึกได้ จึงเรียกพิเภกเข้าไปสั่งสอน โดยมีใจความหลักว่า ให้ประพฤติตนเป็นธรรม อย่าเกเรเหมือนตน ซึ่งบทนี้ถูกเรียกว่า "ทศกัณฐ์สอนน้อง" จากนั้น พิเภกได้รับแต่งตั้งจากพระรามให้เป็น "ท้าวทศคิริวงศ์" ครองกรุงลงกาแทนทศกัณฐ์สืบไป
ในรามายณะ มีชื่อว่า "วิภีษณะ"
]ลักษณะหัวโขน
หน้ายักษ์สีเขียว ปากแสยะตาจระเข้ สวมมงกุฎน้ำเต้ากลมกายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร
[]ตระกูลของพิเภก
ท้าวลัสเตียน | นางรัชฎา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นางมณโฑ | ทศกัณฐ์ | กุมภกรรณ | พิเภก | ขร | ทูษณ์ | ตรีเศียร | นางสำมนักขา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นางเบญกาย | มังกรกัณฐ์ | วิรุณจำบัง | กุมภกาศ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นางสีดา | อินทรชิต | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
บรรลัยกัลป์ | ทศคีรีวัน | ทศคีรีธร | สุพรรณมัจฉา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
]แหล่งข้อมูลอื่น
- โอ้อนิจจาพิเภกเอ๋ย โดย ศาสตราจารย์ จันทร์ฉาย ภัคอธิคม วารสารเสนาธิปัตย์ ฉบับที่ 2 ปีที่ 55 หน้า ๘๙ - ๑๐๑
- สูจิบัตรการแสดงโขนธรรมศาสตร์ ตอนพิเภกสวามิภักดิ์ เนื่องในโอกาสครบรอบ ๙๐ ปีเกิด ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ณ.เวทีกลางแจ้งบ้าน ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เขตสาทร กรุงเทพฯ รอบเสด็จพระราชดำเนิน วันอาทิตย์ที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๔๔
- เยี่ยมยักษ์อยู่ยามกลางกรุงรัตนโกสินทร์
- หัวโขน-สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ www.culture.go.th
- สีที่ใช้กับหัวโขน
- จารีตนาฏศิลป์ไทย โดย นาย ประเมษฐ์ บุณยะชัย นิตยสารศิลปากร ปีที่ ๕๐ ฉบับที่ ๑ มกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ หน้า ๕ - ๑๙
- โคลงรามเกียรติ์ รอบพระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม www.bloggang.com-praingpayear
- โคลงภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ ตู้หนังสือ เรือนไทย
สมัยก่อนหน้า | พิเภก | สมัยถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ทศกัณฐ์ | กษัตริย์กรุงลงกาในเรื่อง รามเกียรติ์ (ครั้งที่ 1) | ทศพิน (ไพนาสุริยวงศ์) | ||
ทศพิน (ไพนาสุริยวงศ์) | กษัตริย์กรุงลงกาในเรื่อง รามเกียรติ์ (ครั้งที่ 2) | เรื่องรามเกียรติ์จบ ขณะพิเภกอยู่ในราชสมบัติ |
ททมาโน ปิโย โหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
ตอบลบA giver is always beloved. _/|\_