เรื่องเล่าในกาลเวลา “ราชมรรคา” เมืองพิมาย–เขมรต่ำ
....กลางฤดูหนาว ในปี พ.ศ. 2495
....“คิด คงควร” นายเกวียนมือใหม่วัย 14 ฤดูฝน ตวัดเชือกสนตะพาย เร่งฝีเท้าวัวตัวหลัง ให้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกองคาราวานเกวียน ออกรอนแรมบนเส้นทางสายเปลี่ยวที่ทอดตัวยาวไกล ตัดผ่านทุ่งนาหลังฤดูเก็บเกี่ยว ดงไม้แห้งโกร๋นและหย่อมบ้านเรือน มี “กองศิลาโบราณ” ที่มีต้นไม้ขึ้นปกคลุมมีให้เห็นเป็นระยะ...
...หนุ่มน้อยวัยคะนองเรียนรู้มาจากคำเล่าลือว่า ซากปรักเหล่านั้นเคยเป็นที่พักคนเดินทางเมื่อครั้งอดีต ก่อนนำเกวียนเฉียดเข้าไปใกล้จนมองเห็นยอดเขาด้านขวามือ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นที่ตั้งของปราสาทหินโบราณขนาดใหญ่
....ย่างเข้าสู่เย็นวันที่ 10 ของการเดินทาง เด็กหนุ่มและคณะก็มาถึงหนองน้ำเล็กๆกลางดงไม้หนาทึบ จากจุดนั้น ที่หมายปลายทางของพวกเขาก็อยู่แค่เอื้อม....
....“หยุดดดดดด ๆ ๆ ” คิด คงควร ออกคำสั่งกับวัวเทียมเวียน พร้อมบังคับรถเกวียนให้เข้าไปเข้าสมทบกับกองคาราวานของคณะ ซึ่งจอดเรียงรายล้อมเป็นวงกลมอยู่ก่อนแล้ว อีก 19 เล่ม วัวเทียมเกวียนแต่ละคู่ได้หยุดพักกินหญ้าเป็นรอบที่สองของวัน ก่อนจะถูกต้อนไปผูกรวมกันไว้ตรงกลางวงล้อม....
.....กองไฟขนาดย่อมถูกสุมขึ้นเพื่อใช้หุงหาอาหารมื้อเย็น และให้คนกับวัวได้อาศัยไออุ่นช่วยขับไล่ความหนาวเหน็บในยามค่ำคืน ภารกิจของกองเกวียนกลางสายลมหนาวจาก “เมืองพิมาย” นี้ ก็คือลำเลียงเกลือสินเธาว์ที่มีอยู่ดาษดื่นในเขตเมือง โดยบรรจุไว้ในกระทอไม้ไผ่ก่อนนำขึ้นไปเรียงจนเต็มกูบเกวียนเพื่อข้ามเขตแดนไทยไปแลกปลาที่ฝั่งประเทศกัมพูชา หรือที่ชาวพิมายเรียกว่า “เมืองเขมรต่ำ” ดินแดนที่มั่งคั่งไปด้วยปลาและข้าว โดยอาศัยเส้นทางสัญจรที่นักเดินทางและนายกองเกวียน ที่ชาวพิมายรู้ต่อ ๆ กันมาในนาม “ถนนโบราณ” แต่ก็ไม่มีใครสักคนที่รู้ว่า เส้นทางดินที่กงเกวียนนับยี่สิบคู่บดอัดมาตลอดสิบวันนั้นถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่เมื่อใด....
... “ในปีที่ข้าวปลาอาหารขัดสน พวกเจ้าต้องเดินทางไปตามถนนสายนี้พร้อมกับเกลือ เจ้าถึงจะอยู่รอด”
นี่อาจเป็นคำสั่งเสียของปู่ย่าตายายที่ย้ำนักย้ำหนา เป็นเหตุผลที่สำคัญในการเดินทางของกองคาราวานนี้มากกว่าจะสนใจเรื่องถนน และแน่นอนว่า “ความอยู่รอดและมีกิน” จึงเป็นเหตุผลใหญ่ที่ทำให้คิด คงควร พ่อของเขาและชาวเมืองพิมาย ต่างตัดสินใจออกเดินทาง...ไปตามเส้นทางโบราณที่ยังไม่หายไป ....” (Ref.National Geographic)
---------------------------------------
*** ภายหลังการสวรรคตของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ถนนโบราณ-ราชมรรคาในการอุปถัมภ์ของราชวงศ์มหิธรปุระ ก็เริ่มซบเซาเพราะขาดการดูแลปกปักษ์รักษา
การอุปถัมภ์ศาสาสถานตามเส้นทางมายังเมืองพิมายเริ่มลดลง จนสิ้นสุดลงในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 เมื่อศูนย์กลางอำนาจแห่งอาณาจักรเทวราชา ได้ถูกทำลายโดยกองทัพจากอยุทธยา หนึ่งในกลุ่มแว่นแคว้นที่เคยอยู่ภายใต้จักรวรรดิเดียวกัน แต่ในวันนี้ กำลังเป็นรัฐขอมตะวันตกที่เติบโตและยิ่งใหญ่ขึ้นมาแทนที่
ซากอาคารก่อศิลามากมายตามเส้นทาง จึงได้เสื่อมสภาพลงไปตามบริบทการล่มสลายของชุมชนในอาณาจักรที่สิ้นสลายจากเหตุเพราะการสงคราม การกวาดต้อนผู้คนเพื่อนำไปใช้เป็นแรงงานทาส ความเชื่อและอำนาจการปกครองของรัฐใหม่ที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย
และเมื่อมีผู้คนกลุ่มใหม่ตระกูลไท - ลาวจากแดนอีสานเหนือและแดนลาวใต้ ชาวเขมรป่าดงจากเขมรต่ำ อพยพเข้าสู่แผ่นดินอีสานใต้ หักร้างถางพงเพื่อทำไร่ ทำนา สร้างหมู่บ้านตั้งชุมชน เข้ามาครอบครองซากปราสาทเก่าแก่ ที่ปรักหักพังทับถมเป็นเนินดอน ชุมชนใหม่ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบนบ้านเมืองที่ถูกทิ้งให้ร้างมานานหลายร้อยปี มาอยู่ร่วมกับชาวเขมรโบราณหรือคนขะแมร์ลือ ที่ยังคงอาศัยกระจายชุมชนอยู่ทั่วอีสานใต้ยังคงได้ใช้เส้นทางโบราณเป็น “ถนน” สำหรับขบวนคาราวานเกวียน บนเส้นทางสายเก่าที่ไม่เคยมีผู้ใดรู้ที่มา
รู้แต่เพียงว่าบนถนนนี้จะมีหย่อมบ้านเรือนของผู้คนเก่าแก่ มีกองศิลาโบราณที่มีต้นไม้ขึ้นปกคลุมให้เห็นเป็นระยะ ซึ่งซากกองศิลาเหล่านั้นเคยเป็นที่พักคนเดินทางเมื่อนานแสนนานมาแล้ว
ขบวนคาราวานเกวียน จากเมืองพิมาย จะนำสินค้าประเภทต่าง ๆ ทั้ง วัว ควาย ของป่า ครั่ง นุ่นและเกลือสินเธาว์จากถิ่นอีสานใต้ เดินทางรอนแรมไปตามถนนที่มีซากปราสาท ข้ามช่องเขาพนมดองเร็กที่ช่องเสม็ด ลงไปแลกข้าว ปลาและของป่า สมุนไพร กับชุมชนเขมรรอบโตนเลสาบในเขตเขมรต่ำที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์
---------------------
*** เรื่องเล่าการเดินทางของขบวนคาราวานสินค้าทางเกวียน และตำนานนายฮ้อยแห่งอีสานบนเส้นทางถนนโบราณในช่วง 100 – 200 ปีนี้เอง ที่เป็นหลักฐานสำคัญ บอกเล่าเรื่องราวในอดีตกับร่องรอยสำคัญในวิถีชีวิตของผู้คน ที่ยืนยันการมีตัวตนของ “ถนนราชมรรคา” จากยุคจักรวรรดิบายนเคยยิ่งใหญ่ ยังคงปรากฏหลงเหลือมาจนถึงในทุกวันนี้ครับ
เครดิต ; FB
วรณัย พงศาชลากร
EJeab Academy
.....................................................
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.....................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.
.....................................................
วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2564
ราชมรรคาเมืองพิมาย
ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
ตอบลบA giver is always be love. _/|\_