"วัดพระราม" เป็นวัดโบราณศิลปะอยุธยาตอนต้นที่หาชมได้ยากยิ่ง งดงามด้วยปรางค์ประธานทรงฝักข้าวโพดที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะละโว้ และปรางค์บริวารที่มีภาพจิตกรรมฝาผนัง กับวิหารทั้ง 7 ที่ไม่เคยปรากฏที่ใดมาก่อน สมเด็จพระราเมศวรโปรดฯ ให้สร้างวัดพระรามขึ้นในปี พ.ศ. 1912 บริเวณถวายพระเพลิงพระศพพระเจ้าอู่ทอง พระราชบิดาในสมเด็จพระราเมศวร และสร้างแล้วเสร็จในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ระหว่างปี พ.ศ. 1991-2031 หน้าวัดเป็นบึงขนาดใหญ่ ซึ่งแต่เดิมเป็นหนองน้ำ ชื่อ ‘หนองโสน’ ส่วนในกฎมณเฑียรบาลเรียกว่าบึงญี่ขัน ภาษาปากเรียกบึงชีขัน ส่วนจะเปลี่ยนชื่อเป็นบึงพระรามเมื่อไหร่นั้นยังไม่มีหลักฐานปรากฏ แต่นักประวัติศาสตร์หลายท่านเชื่อกันว่าที่เปลี่ยนชื่อเพราะชาวบ้านเรียกตามวัดพระรามนั่นเอง
มีเรื่องเล่าต่อกันมาว่าแต่เดิมหนองโสนมีขนาดไม่ใหญ่ แต่เพราะทางการขุดดินริมหนองขึ้นมาถมที่ดินเพื่อสร้างวัดพระราม ขนาดของหนองโสนจึงใหญ่ขึ้นจนกลายเป็นบึง ทว่าหลักฐานทางธรณีวิทยาพบว่าบริเวณที่สร้างวัดพระรามเป็นที่ดอนเกิดจากตะกอนแม่น้ำทับถมจนสูงไม่มีเหตุผลต้องถมที่อีก จึงเป็นไปได้ว่าหนองโสนถูกขุดขยายขึ้นเป็นบึงตามหลักการจัดสมดุลธาตุในคัมภีร์พระเวทย์ เนื่องจากพระปรางค์ตามคติความเชื่อฮินดูเป็นธาตุดินต้องมีธาตุน้ำหล่อเลี้ยง ปราสาทในไทย เช่น ปราสาทเมืองต่ำ จ. บุรีรัมย์ ก็ขุดสระน้ำลักษณะนี้....... วัดพระรามและบึงพระรามปัจจุบันได้รับการปรับภูมิทัศน์เป็นสวนสาธารณะบึงพระราม เพื่อเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ใกล้บึงประกอบไปด้วยปราสาทและวัดหลายแห่งด้วยกัน เช่น วัดมหาธาตุ วัดสังข์ปัต และปราสาทสังข์ (Cr.จากหนังสืออุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา : ข้อมูลจากเพจ talontiew )
ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
ตอบลบA giver is always be love.