วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2563

วัดมหาธาตุ

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

     เมืองโบราณ​ทุกเมืองต้องมีพระมหาธาตุเป็นขวัญเมือง
พระมหาธาตุประจำเมืองย่อมสร้างเป็นพระเจดีย์หรือพระปรางค์​ตามยุคสมัย​ ดังเช่น ;
     พระมหาธาตุ​กรุงสุโขทัย​ เป็นพระเจดีย์​ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์​ 
     พระมหาธาตุ​กรุง​ศรี​อยุธยา​ เป็นพระปรางค์องค์​ใหญ่
     พระมหาธาตุ​ในภาคเหนือเป็นพระเจดีย์​ เช่น​ 
     พระธาตุหริภุญชัย​เมืองลำพูน​ 
     พระธาตุศรีจอมทอง​และ
     พระธาตุดอยสุเทพเมืองเชียงใหม่
     พระธาตุ​ลำปางหลวง​เมืองลำปาง​ 
     พระธาตุดอยตุง​ เมืองเชียงราย​ 
     พระธาตุ​ช่อแฮ​เมืองแพร่​ 
     พระธาตุแช่แห้ง​เมืองน่าน​ 
     พระธาตุดอยกองมู​เมืองแม่ฮ่องสอน​ 
     พระมหาธาตุ​ในภาคกลางเป็นพระปรางค์​ตามแบบขอมในสมัยลพบุรี​ เป็นวัดมหาธาตุ​ในเมืองต่างๆ​ เช่น​ 
     วัดพระศรีรัตน​มหาธาตุเมืองลพบุรี​ 
     วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ​เมือง​สุพรรณบุรี​ 
     วัดมหาธาตุ​เมืองเพชรบุรี​ 
     วัดมหาธาตุ​เมืองราชบุรี​ 
(วัดพระศรีรัตน​มหาธาตุ​เมืองศรีสัชนาลัย​ และเมืองพิษณุโลก​ ที่อยู่​ทางเหนือเป็นพระปรางค์​เพราะพระมหากษัตริย์​อยุธยาขึ้นไปบรูณะปฏิสังขรณ์​พระมหาธาตุ​องค์​เดิมให้เป็นพระปรางค์​ตามแบบอยุธยา)​
     สำหรับกรุงเทพ​พระมหานคร​  ได้มีวัดมหาธาตุ​ที่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท​ทรงสร้าง​ในรัชกาลที่​ 1 แต่พระมหาธาตุของกรุงเทพพระมหานคร​นั้น​ เป็นพระเจดีย์​ทององค์​เล็กสถิตในพระวิหาร​ที่เดิมเป็นพระมณฑป​ ไม่ได้เป็นพระมหาธาตุองค์​ใหญ่อย่างเมืองราชธานี  ทั้งนี้คงเพราะเมื่อต้นกรุง​รัตน​โกสินทร์​ เรายังต้องทำศึกสงครามกับพม่า​ อีกทั้งสถานที่ตั้งวัดมหาธาตุ​ก็ไม่อำนวยที่จะให้สร้างพระมหาธาตุ​องค์​ใหญ่ได้
ถึงรัชกาลที่​ 2​ ทรงมีพระราชดำริให้สร้างพระปรางค์​องค์​ใหญ่​ โดยก่อทับพระปรางค์​โบราณ​ที่อยู่ในวัดอรุณราชวราราม
พระบาทสมเด็จ​พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำเนินการสร้างพระปรางค์​องค์​ใหญ่จนเสร็จ​ในรัชกาลที่​ 3​
พระปรางค์​วัดอรุณ​ จึงเป็นพระมหาธาตุแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

1 ความคิดเห็น:

  1. ททมาโน ปิโยโหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always be love.

    ตอบลบ