วันพุธที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

กัณฑ์ชูชก

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

ชูชก

ข้อคิดประจำกัณฑ์ กัณฑ์ชูชก

ชูชกได้นางอมิตตาลูกสาวเพื่อนมาเป็นเมีย
แทนเงินและทองตนที่พ่อแม่นางนำไปใช้หมด
   ๑.  ของที่รักและหวงแหนที่โบราณห้ามฝากผู้อื่นไว้คือ  เงิน,  ม้า,  เมีย,  ยิ่งน้องเมีย  ห้ามฝากเด็ดขาด  อันตรายมาก
    ๒.  ภรรยาที่ดี ย่อมไม่ย่อหย่อนต่อหน้าที่  ข้าวตำ  น้ำตัก  ฝืนตอหักหา  น้ำร้อนน้ำชา  เตรียมไว้ให้เสร็จ
    ๓.  ของไม่คู่ควรย่อมมีปัญหา  ตำราหิโตปเทศ  กล่าวว่า  “ความรู้เป็นพิษเพราะเหตุที่ไม่ใช่  อาหารเป็นพิษเพราะเหตุไฟธาตุไม่ย่อย  ปราสาทเป็นพิษสำหรับทุคคตะ  เมียสาวเป็นเพราะผัวแก่  ฉะนั้น  ไม่ควรริเป็นวัวแก่ที่คิดจะเคี้ยวหญ้าอ่อน...”


 ความย่อ

กัณฑ์ที่ 5 ชูชก มี 79 พระคาถา
สมัยนั้น ในแคว้นกาลิงคะ มีพราหมณ์คนหนึ่ง ชื่อว่า  ชูชก  อยู่ในบ้าน “ทุนวิฐะ”เป็นนักขอทานที่เชี่ยวชาญ  เที่ยวขอไปถึงต่างแคว้นก็เก็บทรัพย์ที่เหลือกินเหลือใช้ไว้ได้ถึง100  กหาปนะ ชูชกได้นำทรัพย์จำนวนนี้ไปฝากพราหมณ์ผัวเมียตระกูลหนึ่งไว้  แล้วเที่ยวขอทานต่อไปอีก
ต่อมาพราหมณ์ผัวเมียคู่นั้น  ได้เอาทรัพย์ของชูชกไปใช้สอยเสียหาย  ครั้นชูชกกลับมาขอทรัพย์คืน  ก็ขัดสนจนใจไม่สามารถจะหามาใช้ได้  ต้องยกนางอมิตตดาลูกสาวให้ชูชกแทนเงินที่เอาไปใช้  ชูชกพานางอมิตตดาไปอยู่บ้านทนวิฐะ  นางอมิตตดาได้ปฏิบัติชูชกในหน้าที่ภรรยาที่ดีทุกประการ
เมื่อชายในบ้านนั้นเห็นเข้า  ก็พากันสรรเสริญ  แล้วดุว่าภรรยาของตนที่เกียจคร้าน เอาแต่เที่ยวเล่น สู้นางอมิตตดาเป็นเด็กกว่าก็ไม่ได้  ครั้นหญิงทั้งหลายในบ้านนั้นถูกสามีตำหนิแทนที่จะรู้สึกตัว  กลับพากันเคียดแค้นชิงชังนางอมิตตดาชักชวนกันไปด่าว่านางอมิตตดาที่ท่าน้ำอย่างสาดเสียเทเสีย  หมายจะให้นางอมิตตดาหนีไปเสีย  หรือไม่ก็ควรประพฤติตนเข้าแบบของตน
นางอมิตตดาเสียใจ  จะเอาแบบชาวบ้านนั้นก็ไม่ชอบเพราะไม่เคยอบรมมาคับอกคับใจ   ในที่สุดเทวดาดลใจให้บอกชูชกไปขอชาลีกัณหาสองกุมาร  พระโอรสของพระเวสสันดรมาเป็นทาสช่วงใช้  แม้ชูชกจะแก่กว่าที่จะเดินทางไปเขาวงกตเพื่อขอสองกุมาร  แต่เมื่อถูกเมียสาวขู่บังคับเช่นนั้น  ก็ต้องฝืนใจไป   ในที่สุดชูชกก็หอบร่างแก่ไปถึงพระนครสีพี  เมืองของพระเวสสันดร  เพราะความลุกลี้ลุกลนใคร่จะเดินทางไปให้ถึงพระเวสสันดรโดยเร็ว  ทำให้ชูชกขาดความรอบคอบไม่เหมือนคราวก่อนๆ  ที่เดินทางมาขอทาน  เห็นกลุ่มชนที่ใดเป็นถามถึงที่อยู่ของพระเวสสันดรพร้อมทั้งแนวทางที่จะเดินไปให้ถึงที่หมายด้วย
ชาวเมืองสีพีเกลียดหน้านักขอทานเป็นทุนอยู่แล้ว  ดังนั้นก็พาโลรี่เข้าใส่ชูชกด่าว่าเจ้ามาเบียดเบียนพระเวสสันดรด้วยให้ท้าวเธอพระราชทานจนเกินไป  ถึงลูกขับไล่พระชายาและพระโอรสให้ออกไปอยู่วงกต  แล้วเจ้ายังจะกลับมาเอาอะไรอีกพากันหรือไม้ค้อนก้อนดินขับไล่ชูชกเข้าป่าไป
ฝ่ายชูชกหนีชาวเมืองสีพีขับไล่ไปทางเขาวงกตขณะเดินเลาะลัดไป  ถูกสุนักของเจตบุตรไล่ล้อม  ได้หนีขึ้นต้นไม้  นั่งบนคาคบร้องไห้รำพันถึงคุณพระเวสสันดรเป็นอย่างมาก
ฝ่ายเจตบุตร  เจ้าของสุนัขติดตามมา  เห็นชูชกอยู่บนต้นไม้ก็แน่ใจว่าชูชกจะมาร้าย  คือคงจะไปขอพระนางมัทรีหรือพระโอรสเป็นแน่  ก็พลันคิดว่าจะต้องฆ่ามันเสีย  จึงเดินเข้าไปใกล้พลางน้าวหน้าไม้ขึ้น  พร้อมกับร้องสันทับว่า  แน่พราหมณ์พวกแกเบียดเบียนพระเวสสันดรด้วยพระราชทานเกินไป  จนต้องถูกขับไล่จากแคว้นของพระองค์เสด็จไปอยู่เขาวงกต  มนุษย์บัดสบอย่างแก  ยังจะติดตามมาเบียดเบียนพระโอรสอีก  เหมือนนกยางย่องตามหาปลา  ฉะนั้น  ข้าจะไม่ไว้ชีวิตแก  จะยิงแกให้ตายด้วยหน้าไม้นี้
ชูชกตกใจกลัวตาย  จึงได้อุบายหลอกเจตบุตรพร้อมด้วยการขู่ว่าช้าก่อนเจตบุตร  ข้าเป็นพราหมณ์เป็นราชทูต  ซึ่งใครๆ ไม่ควรจะฆ่าจงฟังข้าก่อน  บุคคลไม่ควรฆ่าราชทูตนี้เป็นประเพณีมาเก่าแก่
ดูก่อนเจตบุตร  บัดนี้ชาวเมืองสีพีหายขัดเคืองแล้ว  พระชนกก็ปรารถนาจะพบพระเวสสันดรปิโยรส  พระชนนีก็ชรา นัยน์ตาก็มืดมน  ท้าวเธอให้ข้าฯ   เป็นราชฑูตมาเชิญพระเวสสันดรพระโอรสกลับ  ฉะนั้นเจ้าจงบอกแก่ข้าว่า  บัดนี้พระเวสสันดรอยู่ที่ไหน?
เจตบุตรดีใจหลงเชื่อในคำลวงชูชก  เชื่ว่าชูชกเป็นราชทูตพระเจ้ากรุงสัญชัยพระบิดาให้มาเชิญพระเวรสันดรกลับจริง  จึงผูกสุนัขทั้งหลายแล้วให้ชูชกลงจากต้นไม้ให้นั่งที่มีใบไม้ลาดให้โภชนาหารกินปฏิสันถารว่า  ท่านพราหมณ์ลุงเป็นราชทูตมาเชิญพระเวสสันดรที่รักของข้าฯ  ข้าฯ  จะให้กระบอกน้ำผึ้งและเนื้อย่างแก่ลุง  ข้าฯ  จะบอกสถานที่พระเวสสันดรประทับอยู่ให้
จบความย่อ
ปี่พาทย์ทำเพลงเช่นเหล้า
อานิสงส์
ผู้บูชากัณฑ์ชูชก  จะได้บังเกิดในตระกูลกษัตริย์  ประกอบด้วยสมบัติอันงดงามกว่าคนทั้งหลาย  จะเจรจาปราศรัยก็ไพเราะเสนาะโสต  แม้จะได้สามีภรรยา  และบุตรธิดาก็ล้วนแต่มีรูปทรงงดงามสอนง่าย


2 ความคิดเห็น:

  1. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always be love. _/|\_

    ตอบลบ
  2. ททมาโน ปิโย โหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always beloved. _/|\_

    ตอบลบ