วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

พระเจ้าอังคติราช

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.

พระพรหมนารท
เรื่องพระพรหมมนารท หรือตามชาวบ้านเรียกกันว่า
พรหมนารท จัดเป็นชาติที่ ๘ ในจำนวนสิบชาติ และในชาตินี้
            ได้สั่งสอนให้พระเจ้าแผ่นดินดำรงตนอยู่ในสัมมาทิฐิ คือความถูกต้อง เรื่องมีอยู่ว่า #พระเจ้าอังคติราช เสวยราชสมบัติในมิถิลานคร ในแคว้นวิเทหรัฐ ท้าวเธอมีราชธิดาองค์หนึ่งพระนามว่า รุจา และก็มีเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น แม้ท้าวเธอจะมีสนมกำนันจำนวนเป็นร้อยเป็นพัน พระองค์เสวยราชสมบัติด้วยทศพิธราชธรรม พระราธิดาเล่าก็ประกอบไปด้วยลักษณะสวยงาม และมั่นคงอยู่ในศีลธรรมทุกกึ่งเดือนนางจะต้องจำแนกแจกทานเป็นนิจไป อำมาตย์ผู้ใหญ่ของพระราชามีอยู่ 3 คนด้วยกัน คนหนึ่งชื่อ วิชัย คนหนึ่งชื่อ สุนามะ คนหนึ่งชื่อ อลาตะ
            เมื่อถึงคราวเทศกาลเพ็ญเดือน ๑๒ ในในปีหนึ่ง อันเป็นฤดูกาลที่น่าเพลิดเพลินเจริญใจ พระจันทร์เต็มดวงลอยในท้องฟ้าน้ำเปี่ยมตลิ่งใสซึ่งลงไป พันธุ์ผักน้ำ สายบัวก็ชูช่อดอกดอกสะพรั่งไปทั้งสองฟากน้ำ แลดูเป็นเครื่องเจริญตายามเมื่อแลดูพระเจ้าอังคติราชก็ให้มีการเฉลิมฉลองฤดูกาล มีมโหรสพเอิกเกริกทั่งพระนคร
            ส่วนพระเจ้าอังคติราช พระองค์เสด็จประพาสในพระนครแล้วกลางคืนก็เสด็จออก อำมาตย์ ตรัสถามว่า
            "วันนี้เป็นวันดี เราควรจะทำอย่างไรดี ?” #อลาตะอำมาตย์จึงทูลว่า
            “หม่อมฉันเห็นว่าในฤดูกาลอันเป็นที่น่ารื่นรมย์นี้ควรจะได้จัดทัพออกเที่ยวตระเวนตีบ้านเล็กเมืองน้อยไว้ในพระราชอำนาจ” ทรงหันไปยิ้ม พร้อมตรัสว่า
            “ก็ดีอยู่ แต่เรายังไม่นึกอยากจะทำ แล้วต่อไปใครเห็นควรจะทำอย่างไรดี” #สุนาอำมาตย์จึงกลาบทูลว่า
            “ท่านอลาตาเป็นฝ่ายทหารเลือดนักรบ ก็คิดแต่จะรบเพราะกีฬาอะไรจะสนุกเท่ากีฬารบไม่มี นี่เป็นความคิดของผู้เป็นนักรบ แต่กระหม่อมฉันเห็นว่าเป็นเรื่องเดือดร้อนทั้งฝ่ายเราผู้ยกไป และฝ่ายเขาซึ่งต้องรับทัพของเรา พระหม่อมฉันเห็นว่าถ้าพระองค์จะตกแต่งมัชบานในราชอุทยาน จัดงานราตตรีสโมสรสันนิบาต มีมโหรีขับกล่อม มีสนมกำนันฟ้อนรำขับร้องเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาล และปลุกปลอบพระทัยของพระองค์ ซึ่งต้องวุ่นกับราชกิจมาตลอดวัน ก็เห็นจะดีพระเจ้าค่ะ”
            “ก็ดีอยู่ แต่ยังไม่ชอบใจเรา ใครจะว่ายังไงอีกล่ะ?” วิชัยอำมาตย์เห็นว่าพระทัยของพระเจ้าอังคติราชไม่มีการทะเยอทะยาน ความโลภก็ไม่มี และมิใคร่ในกามคุณ ควรเราจะชักชวนในทางสงบจึงจะดี จึงกราบทูลว่า
            "ขอเดชะ กระหม่อมฉันเห็นว่าในราตรีกาลอันแสนจะเบิกบานนี้ หากเสด็จไปสู่สำนักของปราชญ์สนทนาปราศรัยสดับธรรมก็จะดีพระเจ้าค่ะ” พระเจ้าอังคติราชพอพระทัยทันที
            “เออดี ท่านวิชัย แต่เราจะไปสำนักใครดีล่ะถึงจะดี”
            “ขอเดชะ #กระหม่อมฉันรู้จักท่านคุณาชีวก ผู้ไม่มีกิเลสและไม่อยากได้ใคร่ดีอะไรทั้งนั้น แม้เสื้อผ้าก็ไม่ต้องการ หากสนทนาอาจจะได้อะไรดี ๆ พระเจ้าค่ะ”
            พระเจ้าอังคติราชจึงสั่งให้จัดพลเสด็จไปยังสำนักของชีวกซึ่งเป็นชีเปลือย เมื่อถึงเข้าไปถวายนมัสการถามทุกข์สุขซึ่งกันและกันแล้ว พอมีโอกาสก็ตรัสขึ้นว่า “พระมหากษัตริย์ ควรประพฤติปฎิบัติอย่างไรในประชาชนพลเมือง เสนา ข้าราชบริพาน พระชนกชนนี อัครมเหสีและโอรสธิดา ยามตายไปแล้วจึงไปสู่สุคติ และคนที่ตายไปตกนรกเพราะทำอะไร” คุณาชีวกไม่รู้ว่าจะทูลตอบอย่างไรดี แต่ก็ทูลลัทธิตนขึ้นว่า
            “มหาบพิตร สุจริต ทุจริต จะได้มีผลอะไรก็หามิได้ บุญก็ไม่มี บาปก็ไม่มี มหาบพิตรให้ทาน มหาบพิตรก็เสียของไปเปล่าโดยไม่ได้อะไรตอบแทนเลย รักษาศีลเล่ามหาบพิตรได้อะไร หิวข้าวแสบท้องเปล่าประโยชน์ สวรรค์นรกมีที่ไหนกันบิดามาดาไม่มี เพราะธรรมชาติ ๗ อย่างมาประชุมกันเท่านั้น ธรรมชาติ ๗ อย่างคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ สุข ทุกข์ ชีวิต การจะได้ดีได้ชั่วก็ได้ดีได้ชั่วเอง ไม่มีใครบันดาลให้ เมื่อทั้ง ๗ แยกกัน สุขทุกข์ก็ลอยไปในอากาศ ไม่มีใครทำลายชีวิตนั้นได้ สรุปความว่าไม่มีอะไรทั้งนั้น ล้วนแต่เป็นธาตุประชุมรวมตัวกันและแยกสลายออกจากกันเท่านั้น อีกประการหนึ่ง #คนที่จะต้องวนเวียนอยู่นั้นก็เพียง ๘๔ กัลป์เท่านั้น”
            ขณะนั้นเอง อลาตะเสนาบดีผู้ระลึกชาติได้ก็กล่าวรับสมอ้างคุณาชีวกว่า จริงอย่างท่านอาจารย์ว่า "ข้าพเจ้าเองเมื่อชาติก่อนเป็นคนฆ่าโค ชื่อปิงคละ ข้าพเจ้าฆ่าโคเสียไม่รู้ว่ากี่ร้อยกี่พันตัวตายจากชาตินั้นมาเกิดในตระกูลเสนาบดี ได้เสวยสุขจนกระทั่งบัดนี้ ถ้านรกมีจริงข้าพเจ้าคงไปเกิดไปเกิดในนรกแล้ว ไม่ได้มาเกิดเป็นเสนาบดีดังนี้ ผลบาปต้องไม่มีแน่ ๆ ข้าพเจ้าจึงเกิดมาดังนี้”
            ความจริงนั้น อลาตะเสนาบดีเกิดในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า ได้บูชาพระเจดีย์ด้วยพวงอังกาบพวงหนึ่ง ตายจากชาตินั้นแล้วได้ท่องเที่ยวไป ๆ มา จนเกิดเป็นปิงคละ และด้วยอานิสงส์ได้บูชาพระเจดีย์ จึงได้ไปเกิดเป็นเสนาบดี #แต่เพราะแกระลึกชาติได้เพียงชาติเดียว จึงเห็นว่าคนฆ่าสัตว์มากมายแต่กลับได้เสวยความสุข จึงทำให้เข้าใจผิดไปว่าแกทำปาบแต่กลับได้ดี อันผิดวิสัยความจริงว่า               
อันบ่วงกรรมทำไว้ในปางหลัง เป็นพืชยังปางนี้ให้มีผล
หว่านพืชดีมีผลแก่ตนเอง  หว่านพืชชั่วกลั้วผลที่ค่นแค้น
อันความจริงข้อนี้มีมาแล้ว ไม่คลาดแคล้วเป็นอื่นทุกหมื่นแสน
หว่านพืชชั่วผลดีมีมาแทน ถึงแม้นแมนแม่นไม่เปลี่ยนได้เลย
            หากจะพูดอย่างง่าย ๆ ก็ว่า ทำกรรมอย่างไรก็ให้ผลอย่างนั้น ทำกรรมดีย่อมได้ผลดี ทำกรรมชั่วย่อมได้ผลชั่ว เทวดาก็เปลี่ยนจากชั่วให้เป็นดีก็ไม่ได้
            เวลานั้น มีบุรุษยากจนคนหนึ่งชื่อ วิชกะ นั่งฟังอยู่ด้วยเขารับได้ฟังคำของอลาตะเสนาบดีแล้วอดใจอยู่ไม่ได้ ถึงกับน้ำตาไหลออกมานองหน้า พระเจ้าอังคติราชเห็นเข้าก็ให้ประหลาดพระทัยจึงตรัสถามว่า
            “เจ้าวิชกะ เจ้าร้องไห้ทำไม ?”
            “ขอเดชะ #เพราะข้าพระพุทธเจ้าระลึกชาติได้ว่าเมื่อชาติก่อนข้าพระพุทธเจ้าเป็นเศรษฐี มีจิตใจบุญ จำแนกแจกทานทานแก่สมณชีพราหมณ์และยาจกวณิพกตลอดมา แต่เมื่อตายแล้วแทนที่จะไปสวรรค์ กลับต้องมาเกิดในตระกูลจัณฑาลอันได้รับรับความลำบากยากเข็ญอยู่ในบัดนี้ เพราะฉะนั้นที่ท่านอลาตะกล่าวว่าบุญไม่มีผล บาปไม่มีผลเป็นความจริงแน่นนอน ถ้ามิฉะนั้นแล้วกระหม่อมฉันจะตกระกำลำบากไม่ได้”
            แต่ความจริงแล้วเรื่องมันเป็นอย่างนี้ คือชาติที่เขาระลึกได้นั้น เขาเกิดเป็นคนเลี้ยงโค และได้ติดตามโคไปบังเอิญพบพระหลงทางองค์หนึ่ง ท่านก็เข้ามาถามหนทาง เพราะเขากำลังขุ่นใจเรื่องตามโค จึงเลยไม่ตอบท่าน ท่านเข้าใจว่าเขาไม่ได้ยินเลยถามอีก เขาก็ตวาดไปว่า
            “พระขี้ข้าอะไรเซ้าซี้น่ารำคาญ”
            เพราะกรรมนี้เองจึงทำให้เขาเกิดในตระกูลจัณฑาล แต่เพราะเขาระลึกชาติไปไม่ถึงจึงเห็นเพียงชาติที่เข้าเป็นเศรษฐีเท่านั้น พระเจ้าอังคติราชได้ทรงฟังถ้อยคำของวิชกะ ก็เห็นไป
            ตามคำอลาตะและคุณาชีวก เพราะมีพยานรับรอง ทำให้ข้อความนั้นน่าเชื่อถืออีกมาก ถึงกับตรัสกับวิชกะว่า
            “ท่านอย่าเสียใจไปเลย เราเองก็ถือผิดมาเช่นท่านเมือนกัน เราเคยทำความดีโดยปกครองประชาชนด้วยทศพิธราชธรรม แต่ผลไม่เห็นบังเกิดดีอย่างไร ตั้งแต่นี้เราจะหาความสุขส่วนตัว และแม้พระคุณเจ้าคุณาชีวกข้าพเจ้าก็จะไม่มา เพราะไม่มีประโยชน์อะไร”
            เมื่อตรัสดังนั้นแล้วก็เสด็จกลับพระราชวังทันที และนับแต่นั้นมาก็ปล่อยพระองค์ตกอยู่ในความสุขสนุกสนานเพลิดเพลินกับสุรานารีดนตรีอบายมุขไปตามเรื่อง กิจราชการน้อยใหญ่มอบให้เป็นธุระของอำมาตย์ผู้ใหญ่ทั้ง ๓ คือ วิชัย สุนามะ และอลาตะโดยเด็ดขาด ศาลาโรงทานที่เคยได้ตั้งไว้ ก็ตรัสให้เลิกทั้งหมด เพราะไม่มีผลจะทำไปทำไม ผลบุญทานก็ไม่มี หาความสุขดีกว่า สุรา นารี เออมันช่างแสนสุขสำราญเสียจริง ๆ
            ถึงวัน ๑๕ ค่ำเป็นวันพระ พระราชธิดารุจาเคยขึ้นเฝ้าพระราชบิดาและเคยรับเงินทองพระราชทานไปเพื่อแจกจ่ายแก่สมณชีพราหมณ์และผู้ยากจนค่นแค้น เมื่อขึ้นไปเฝ้าตอนจะกลับก็ได้รับเงินพระราชทานมา ๑.๐๐๐ ตามที่เคยให้จิตใจที่เคยสละให้ทานไม่มีเลย
            ความประพฤติของพระเจ้าอังคติราชคือ มิจฉาทิฐิ ก็แพร่สะพัดไปทุกมุมเมือง ราษฎรชาวเมืองทั้งปวงก็รู้ทั่วกันว่า พระราชาของตนไม่ตั้งตนในทศพิธราชธรรม #เพราะได้รับคำสั่งสอนจากคุณาชีวก เพราะพระราชธิดามิได้ใกล้ชิดพระองค์ จึงไม่ค่อยจะรู้เรืองของพระบิดานัก ตราบจนนางสนมกำนัลมาเล่าให้ฟังถึงกับอัดอั้นตันพระทัย
            “ทำไมหนอพระบิดาจะสั่งสนทนากับใคร ๆ จึงไม่เลือกคน จึงได้รับสั่งสอนอันตรงกันข้ามเช่นนี้ ข้อความที่ควรจะถามนั้นน่าจะถามสมณะมากกว่า เราเองก็ระลึกชาติได้ถึง ๑๔ ชาติ ทำอย่างไรจึงจะแก้พระบิดาจากทิฐิผิดอันนี้ได้”
            เมื่อกำหนดเข้าเฝ้า ก็พร้อมด้วยหญิงบริวารแต่งกายหลายหลากชนิดพากันขึ้นไปเฝ้า พระเจ้าอังคติราชก็โสมนัสตรัสสนทนากับพระราชธิดาเป็นอันดี พร้อมทั้งถามถึงความทุกข์สุขที่ได้รับ ซึ่งพระราชธิดาก็ทูลตอบให้ชื่นชอบพระทัยเป็นอันดีจึงถึงเวลาเสด็จลากลับ ซึ่งพระองค์เคยพระราชทานทรัพย์เพื่อเอาไปจำเเนกแจกทาน แต่คราวนี้ทรงเฉยเสีย พระราชธิดาจึงต้องทูลขอทรัพย์จำนวน ๑.๐๐๐ เพื่อไปทรงแจกจ่าย กลับได้ยินพระราชบิดาตรัสว่า
            “รุจา ตั้งแต่เราให้ทานมาก็นานแล้ว ไม่เห็นจะได้อะไรขึ้นมา นอกเสียจากทรัพย์จะหมดเปลืองไปเท่านั้น อดกินอดนอนจนกระทั่งทรมานจิตใจไม่ให้ได้รับความเทิงเริงรมย์ เราจะลำบากกันทำไม คราวก่อนพ่อไม่รู้จึงให้เจ้าทำ เดี๋ยวนี้พ่อรู้แล้วสิ่งเหล่านี้ไม่มีประโยชน์ เลิกทำเสียเถอะ หาความสุขไปเรื่อย ๆ ดีกว่า เจ้าจะเอาเงินทองไปใช้จ่ายบำรุงความสุขแล้ว พ่อไม่ขัดข้องเลย
            ถ้าเอาไปจำแนกแจกทานแล้วพ่อว่าหาประโยชน์มิได้ #เท่ากับเจ้าช่วยให้พวกนั้นขี้เกียจขึ้นไปเสียอีก เวลานี้สันดานมันก็ขี้เกียจอยู่แล้ว เจ้าอย่าไปส่งเสริมให้มันขี้เกียจเพิ่มขึ้นอีกเลย คุณาชีวกน่ะแกเป็นเจ้าลัทธิที่เห็นว่าบุญบาปไม่มีอะไรที่จะส่งผลทั้งนั้น แกจึงไม่ต้องการอะไรแม้แต่ผ้านุ่งแกยังไม่เอาเลย ไม่ใช่แต่แกคนเดียว แม้แต่อลาตะเสนาบดีก็เห็นเช่นนั้น ตลอดจนวิชกะเขาระลึกชาติได้ เขาก็ว่ายังงั้นเหมือนกัน”
            พระราชธิดาได้ฟังก็เศร้าพระทัย เออ ? พระราชบิดาเราช่างเป็นไปมากเหลือเกิน #มาเชื่อคนที่ระลึกชาติได้เพียงชาติสองชาติ ก็วางตนเป็นคนประพฤติผิดไป เราเองระลึกชาติได้ถึง ๑๔ ชาติ จะต้องให้พระบิดากลับความประพฤติให้ได้
            เมื่อพูดถึงการระลึกชาติ ทำให้นึกถึงเรื่องที่เกิดมาไม่นานเท่าไหร่ เด็กชายผู้หนึ่งระลึกชาติได้ว่าตนเคยเป็นงูเหลือมใหญ่ ถูกฆ่าตายจึงได้มาเกิดเป็นคน อ้างสถานที่ต่าง ๆ อย่างน่าเชื่อถือ
            พระราชธิดารุจาคิดตกลงใจในการจะแก้ทิฐิของพระราชบิดา จึงได้ทูลพระราชบิดาคัดค้านพระราชดำรัสขึ้นว่า
            “ข้าแต่พระบิดา เรื่องที่ควรถามสมณะสิไปถามอาชีวกก็ได้อย่างนี้แหละ เข้าลักษณะคบคนพาล ๆ พาไปหาผิด คบบัณฑิต ๆ พาหาผลแน่ทีเดียว ตัวคุณาชีวกเองปฎิบัติตนไม่น่าเชื่อถือ ถือเปลื่อยแต่ก็ยังกินอาหาร ไหนว่าบุญไม่มีบาปไม่มีแกจะบำเพ็ญบ้า ๆ เช่นนั้นเพื่ออะไรกัน ยังอยากให้คนอื่นเคารพบูชา จึงเห็นได้ชัดว่าเป็นคนบ้ามากกว่าคนดี แกถือออกบวชทำไม คำพูดกับการปฎิบัติมันผิดกันราวฟ้ากับดิน
            พระบิดาก็มาเชื่อไอ้คนเช่นนี้ได้ พระบิดาโปรดละทิฐิผิดนั้นเสียเถิด อลาตะและวิชกะนั้นระลึกชาติได้เพียงชาติเดียวเท่านั้น กระหม่อมฉันระลึกได้ถึง ๑๔ ชาติ แลเห็นการที่ตนปฎิบัติได้เพียงนิดเดียวเท่านั้น ก่อนที่หม่อมฉันจะลงมาบังเกิดเป็นบุตรีของพระองค์
            กระหม่อมฉันได้บังเกิดเป็นอักครมเหสีแห่งชวนะเทพบุตร เพียงแต่ชวนะเทพบุตรไปเอาดอกไม้มาเพื่อประดับร่างกายกระหม่อมฉัน กระหม่อมฉันก็จุติมาเกิดในเมืองมนุษย์เสียแล้ว ชั่วพริบตาเดียวจริง ๆ เมื่อข้าพระองค์จุติจากชาตินี้แล้วจะได้ละเพศเทพธิดากลายเป็นเทพบุตรีมีศักดานุภาพมาก ขอพระองค์อย่าได้เชื่อคนหลอกลวงทั้งหลายเลย โปรดปฎิบัติพระองค์ตามทศพิธราชธรรมตามเคยเถิด”
            พระเจ้าอังคติราชได้ทรงสดับ ก็ชื่นชมยินดีในพระดำรัสของพระธิดา แต่ก็ยังคงปฎิบัติเช่นเคย มั่วสุมอยู่กับสนมกำนัลอย่างไร ก็ยังคงปฎิบัติเช่นนั้นไม่ทรงละเลิก และก็ไม่ต่อว่าพระธิดาอีกด้วย พระราชธิดาเห็นว่าตนเองพูดเท่าไหรก็ไม่มีน้ำหนัก จึงตั้งสัจจาธิษฐานว่า “ถ้าว่าคุณของพระบิดายังมีอยู่ #ก็ให้สมณพราหมณ์ผู้ทรงคุณธรรมมาช่วยกำจัดทิฐิผิดของพระบิดาข้าพเจ้าด้วยคำสัตย์นี้ด้วยเถิด”
การตั้งสัตย์นี้ทีตัวอย่างมากมาย อย่างในวรรณคดี เรื่องสังข์ทอง ตอนนางรจนาเสี่ยงพวงมาลัยให้เจ้าเงาะก็ตั้งสัตย์
ถ้าบุญญาธิการเคยสมสอง
ขอให้พวงมาลัยนี้ไปต้อง
เจ้าเงาะรูปทองจงประจักษ์
เสี่ยงแล้วโฉมยงนงลักษณ์
ผินพักตร์ทิ้งพวงมาลัยไป
            เจ้าเงาะก็ได้พวงมาลัย เพราะเคยเป็นคู่กันมาแต่ชาติปางก่อนในพระราชพงศาวดารไทย เรามีการเสี่ยงเทียนอธิษฐานในแผ่นดินพระเฑียรราชา และการเสี่ยงสัตย์นี้มีมากมายหลายแห่งนัก รวมความกล่าวกันว่าการตั้งสัตย์ให้สำเร็จประโยชน์ได้พระพุทธเจ้าของเราตอนเป็นลูกนกคุ่มที่ไฟเกิดขึ้นในที่พ่อแม่ไม่ได้อยู่ด้วย ก็เลยตั้งสัตย์ไฟก็ดับไปไม่ไหม้ เลยใช้เป็นมนต์กันไฟจนกระทั่งบัดนี้
            เมื่อพระราชธิดาตั้งสัตย์ดังนั้น ก็ร้อนขึ้นไปบนสรวงสวรรค์ แต่คราวนี้ไม่ใช่พระอินทร์ แต่เป็นมหาพราหม พระนารทมหาพรหมได้ทราบสัจจาธิษฐานของพระราชธิดารุจาจึงดำริว่า
            “ถ้านอกจากเราแล้วใคร ๆ ก็ไม่สามารถจะแก้ไขให้พระเจ้าอังคติราชสละทิฐินั้นได้ จำเราจะต้องลงไปแก้ไขช่วยพระราชธิดารุจา เพื่อความสุขของประชาชนพลเมือง”
            จึงได้จัดแจงแปลงเพศเป็นมาณพหนุ่มน้อยห่มผ้าที่ทำด้วยทอง แล้วหาบทองเท่าลูกฟักท่าลอยอยู่ ณ ท่ามกลางอากาศเฉพาะพระพักตร์พระเจ้าอังคติราช พอได้เห็นคนเหาะได้พระเจ้าอังคติราชก็หวั่นไหว
            “เอ ? เราท่าจะแย่ สมบัติเห็นจะเปลี่ยนผู้ปกครองเสียแล้วกระมัง” แต่พระราชธิดากลับปลื้มพระทัย
            “การอธิษฐานของเราเห็นจะได้ผลดี ผู้ที่มาคงจะมีมหิทธิฤทธิ์มาก คงสามารถขจัดทิฐิของพระราชบิดาได้” พระเจ้าอังคติราชไม่สามารถจะประทับอยู่บนราชบัลลังก์ได้ เพราะทรงเกรงกลัวมาก ต้องเสด็จลงมาอยู่กับพื้นดิน พลางดำรัสถามว่า
            “ท่านผู้มหิทธิฤทธิ์ ท่านมาจากไหน และต้องการอะไร” นารทมหาพราหมจึงตอบว่า
            “อังคติราช ข้าพเจ้ามีนามว่านารท คนรู้จักโดยโคตรว่ากัสสปโคตร และข้าพเจ้ามาจากสวรรค์ ท้าวเธอก็ดำริขึ้นว่า
            “ไหนอาชีวกว่าปรโลกไม่มี แล้วท่านนารทมาจากโลกอื่น แต่จะต้องไว้ถามขณะอื่น ขณะนี้ต้องถามเรื่องทำไมจึงเหาะมาได้” ตึงตรัสถามว่า
            “ท่านพระนารท ท่านมีร่างกายและเครื่องนุ่งห่มงดงามและมีฤทธิ์เหาะเหินเดินอากาศ เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนี้ได้”           
            “ข้าแต่พระเจ้าอังคติราช การที่ข้าพเจ้ามีร่างกายและเครื่องนุ่งห่มอันงดงาม ประกอบด้วยฤทธิ์เหาะไปในอากาศ ก็เพราะข้าพเจ้าได้ทำคุณงามความดีไว้ เป็นต้นว่า ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในลูกเมียเขา ไม่กล่าวโป้ปดมดเท็จ และไม่ดื่มสุราเมรัยอันเป็นเหตุให้เสียอารมณ์ จึงได้สมบัติและมากฤทธิ์เช่นนี้” แม้พระนารทจะบอกความจริง แต่พระเจ้าอังคติราชก็หาเชื่อไม่ กลับแย้งว่า
            “ข้าแต่พระนารท ได้ยินเขาว่าสวรรค์มี นรกมี เทวบุตรมี เทวธิดามี โลกนี้มี โลกหน้ามี จะจริงหรือประการใด”
“#ที่ท่านถามมานั้นทั้งหมดมีจริงทั้งนั้น” พระเจ้าอังคติราชกลับตรัสต่อไปว่า
            “เมื่อท่านว่าโลกหน้ามี ถ้าเช่นนั้นข้าพเจ้าขอยืมเงินท่านสัก ๑.๐๐๐ ถึงชาติหน้าจึงชดใช้ให้”
            “ไม่ได้”
            “เพราะอะไร?”
            “ก็เพราะเหตุว่าท่านเป็นคนไม่มีศีลธรรม ประพฤติแต่ความชั่ว ชาติหน้าท่านอาจจะไปเกิดในอบาย ในนรกน่ะ ข้าพเจ้าไม่อยากจะลงไปทวงเงินจากท่าน เพราะร้อนเหลือประมาณ และท่านก็ไม่สามารถจะออกจากนรกเพื่อมาคืนเงินข้าพเจ้าได้ และเมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านเห็นสมควรไหมว่าข้าพเจ้าควรจะให้ท่านยืมเงิน แต่ถ้าท่านเป็นคนปฎิบัติตนอยู่ในศีลธรรมประพฤติปฎิบัติแต่ในทางที่ดี อย่าว่าแต่ ๑.๐๐๐ เดียวเลย ๒.๐๐๐ - ๓.๐๐๐ ข้าพเจ้าก็ให้ได้” เล่นเอาพระเจ้าอังคติราชเงียบงันพูดไม่ออก ได้แต่กรอกหน้า แล้วนิ่งเฉย มหานารทพรหมจึงกล่าวต่อไปอีกว่า
            “ถ้าพระองค์ยังคงขืนปฎิบัติตนอยู่เช่นนี้แล้ว เป็นแน่ที่พระองค์ต้องไปอยู่ไปสู่นรก อันมีเครื่องทรมานหลายอย่างหลายประการ มีกาปากเหล็กโตกว่าตัวเกวียน เที่ยวจิกกินสัตว์นรก มีหมาขนาดวัวตัวใหญ่คอยไล่กัด มียมบาลคอยเอาหอกไล่ทิ่มแทงบางพวกก็ต้องขึ้นต้นงิ้วอันมีหนามคมเป็นกรด ดังในพระมาลัยกล่าวไว้ว่า
“หนามงิ้วคมยิ่งกรด โดยโสฬส ๑๖ องคุลี
มักเมียท่านว่ามันดี หนามงิ้วยอกทั่วทั้งตัว”             
            บางพวกก็ถูกภูเขาไฟกลิ้งมาทั้ง ๔ ทิศ บดให้ละเอียดแล้วก็กลับฟื้นขึ้นมาอีก ภูเขาก็กลิ้งมาทับอีก แบนแล้วก็แบนอีกจนกว่าจะหมดกรรม บางพวกก็ถูกยมบาลเอาคีมลุกเป็น ไฟลากลิ้นเอาออกมา แล้วเอาน้ำทองแดงที่ละลายเทลงไปในคอ ไหม้ตับไตไส้พุงขาด แล้วกลับฟื้นขึ้นมาผจญกรรมต่อไปอีก จนกว่าจะหมดกรรม บางพวกก็ถูกสุนักกัดทึ้งทั้งร่างกายแล้วก็กลับฟื้นขึ้นมาอีก
บางพวกก็ถูกยมบาลจับโยนลงไปในกระทะทองแดง ที่มีน้ำทองแดงเหลวคว้างอยู่ไหม้หมดร่างกายแล้วกลับฟื้นขึ้นมาอีก บางพวกก็มือโตเท่าใบตาล จะเดินไปทางไหนมาทางไหนก็แสนจะยากเย็น บางพวกก็มีปากเท่ารูเข็ม จะบริโภคน้ำและอาหารก็มิได้ ล้วนแต่แสนสยดสยอง ถ้าพระองค์ไปประสพไม่ละเลิกมิจฉาทิฐิ พระองค์จะต้องประสบกับสิ่งเหล่านี้อย่างแน่นอน บางทีอาจจะถูกเอาเบ็ดเกี่ยวลิ้นห้อยโตงแตงขาดตกลงมาเกี่ยวห้อยแล้วก็กลับฟื้นขึ้นใหม่ ดู ๆ ก็น่าสนุกนะ”
            เมื่อนารทพรหมพรรณนานรกให้ พระเจ้าอังคติราชสดับนั้น พระองค์ก็เกิดกลัวภัยในขุมนรก จึงตรัสกับพระนารทว่า “ข้าแต่ท่านนารท ข้าพเจ้าไม่อยากที่จะลงไปในนรกทำอย่างไรเล่าจึงจะพ้นได้” ตอนนี้ความกลัวเข้าจับจิตใจเสียแล้ว เลยทำให้เชื่อว่าโลกนี้มีโลกหน้ามี ผลดีผลชั่วมี บิดามารดามี
พระมหานารทพรหมจึงสอนให้ตั้งตนอยู่ในศีล ๕ ประการ ดำเนินราโชบายตามทศพิธราชธรรม และนับแต่นั้นมาประชาชนพลเมืองทั้งหลายก็อยู่เย็นเป็นสุข เพราะพระเจ้าแผ่นดินแผ่เมตตาไปให้พสกนิกร ตราบจนกระทั่งสิ้นพระชนมายุ เรื่องพระนารทก็เป็นอันจบลงด้วยการสั่งสอนพระเจ้าอังคติราชให้ละมิจฉาทิฐิดำรงตนอยู่ในสัมมาทิฐิ
ท่านเล่าอ่านจบแล้วได้อะไรบ้างในเรื่องนี้
สื่งที่ควรกำหนดคืออย่าถือว่าทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วไม่ได้ชั่ว
เพราะผลดีผลชั่วย่อมมีอยู่ สัตว์โลกทั้งหมดย่อมเป็นไปตามกรรม
ที่ทำไว้ไม่มีใครฝืนไปได้ อยากจะได้ดีจงทำดี ถัาอยากได้ชั่ว เอาเลย สิ่งชั่วร้าย
ทั้งหลาย ก็ประพฤติเข้าไป ไม่มีใครห้าม แล้วท่านจะพบผลชั่ว การคบหาสมาคม
กับคนเลวแล้วด้วย ก็จะทำให้เป็นคนเลวไปด้วย คบคนเช่นไรก็จะเป็นคนเข่นนั้น
เรื่องนี้ก็จบแต่เพียงเท่านี้ ขอให้ทุกคนจงโชคดีจงเลือกทำแต่ผลกรรมดี.....
เครดิต ;
http://www.learntripitaka.com
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs links 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น