วันพุธที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ตลาดทุเรียนในอดีต

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.
#ตลาดทุเรียนในอดีต
      ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นภาพเก่าเชื่อว่าหลายท่านอาจจะไม่เคยเห็น ภาพนี้ถ่ายราวปี​ พ.ศ.2442​หรือ​ 121 ปีก่อน

ทุเรียนไม่ใช่ผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย แต่เป็นพืชพื้นเมืองของบรูไน อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ตามบันทึกของเมอร์ซิเออร์ เดอลาลูแบร์ (Simon de la Loubère) นักบวชนิกายเยซูอิต หัวหน้าคณะราชทูตจากประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาในสยามสมัยสมเด็จพระนารายณ์ระบุว่ามีการปลูกทุเรียนกันแล้ว
.
ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) ได้กล่าวถึงการแพร่กระจายพันธุ์ของทุเรียน จากจังหวัดนครศรีธรรมราช มายังกรุงเทพฯ ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2318 และมีการทำสวนทุเรียนในตำบลบางกร่าง ในคลองบางกอกน้อยตอนใน มาตั้งแต่ พ.ศ. 2397
.
ในระยะต้น เป็นการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และพัฒนามาเป็นการปลูกด้วยกิ่งตอน จากพันธุ์ดี 3 พันธุ์ คือ อีบาตร ทองสุก และการะเกด ผู้ที่หากิ่งตอนจากพันธุ์ดีทั้ง ๓ พันธุ์ไม่ได้ ก็ต้องใช้เมล็ดของทั้ง 3 พันธุ์นั้นเป็นพันธุ์ปลูก ทำให้เกิดทุเรียนลูกผสมขึ้นมากมาย เป็นผลดีต่อการปรับปรุงพันธุ์ทุเรียนมาจนถึงปัจจุบันนี้
.
ตลาดทุเรียนที่ขึ้นชื่อของบางกอกในยุคก่อนก็คือ ตลาดทุเรียนบางลำพูมักมีชาวสวนจากคลองบางกอกน้อย แถบบางขุนนนท์ บางขุนศรี บางยี่ขันและนนทบุรี จะนำผลไม้นานาชนิด ล่องเรือมาตามคลองบางกอกน้อย เข้าสู่ปากคลองบางลำพู ตรงป้อมพระสุเมรุ มาที่ตลาดทุเรียนซึ่งตั้งอยู่เชิงสะพานนรรัตน์สถานฝั่งใต้ แถบร้านสมใจนึกในปัจจุบัน โดยจะขายผลไม้ต่างๆ โดยเฉพาะทุเรียนจะวางเป็นขายเป็นกองใหญ่ แล้วให้พ่อค้ามาซื้อตีราคาเหมาทั้งกอง เรียกว่า "ตีกอง" แล้วนำไปขายปลีกทั่วพระนคร
.
แหล่งปลูกทุเรียนดั้งเดิมนั้นอยู่ในเขตจังหวัดนนทบุรี ธนบุรี และกรุงเทพฯ ต่อมาเมื่อประสบปัญหาน้ำท่วมในบางปี และการขยายตัวของเมือง ทำให้พื้นที่สวนกลายเป็นที่อยู่อาศัย ชาวสวนจึงต้องหาแหล่งปลูกทุเรียนใหม่ ทำให้ทุกภาคของประเทศไทยสามารถปลูกทุเรียนได้ เช่น ภาคเหนือ ที่อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดนครพนม ศีรสะเกษ หนองคาย ภาคกลางที่จังหวัด อยุธยา ลพบุรี สระบุรี หรือแม้แต่กาญจนบุรี ภาคใต้ที่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นราธิวาส และ ตรัง และภาคตะวันอกที่จังหวัดจันทบุรี ระยอง ปราจีนบุรี และตราด เป็นต้น
เครดิต ;
https://www.facebook.com/fiftyplusthailand/

ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs links 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น