ปราสาทหินหลังสุดท้าย (1)
เมืองพระนครนั้นไม่ได้มีแค่ปราสาทหลังใหญ่ๆ เช่น นครวัดหรือบายนเท่านั้น หากแต่ยังมีกลุ่มของศาสนสถานที่สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของศาสนาในกัมพูชารวมถึงไทย และช่วยทำให้เห็นว่า ทั้งไทยและเขมรนั้นมีความสัมพันธ์อย่างแนบชิดกันมานานแล้วหลายร้อยปี
ภายใต้แมกไม้ใหญ่ที่ปกคลุมเมืองนครธมนั้น ความจริงแล้วมีวัดเนื่องในศาสนาพุทธเถรวาทกระจายตัวอยู่มากกว่า 70 วัดด้วยกัน แต่ยังไม่ได้รับการขุดแต่ง ขุดค้น เพราะจำกัดด้วยงบประมาณ
จำนวนของวัดที่มากเท่านี้สำคัญอย่างไร คือจากเดิมที่มักจะมองกันว่า หลังจากรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ลงมานั้น การก่อสร้างต่างๆ ในเมืองนครธมนั้นแทบจะไม่มี และมักจะกล่าวกันว่า ปราสาทหลังสุดท้ายที่สร้างในเมืองนครธมนั้นคือ ปราสาทมังคลธะ นั้นอาจต้องมาพิจารณากันใหม่
นอกจากปราสาทบายนและพระราชวังหลวงที่ถือเป็นจุดเด่นของเมืองนครธมแล้ว
ในแง่มุมของการศึกษาโบราณคดีแล้ว วัดเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นหลักฐานที่สำคัญมาก เพราะแสดงถึงการเปลี่ยนผ่านทางศาสนา จากเดิมที่นับถือพุทธศาสนามหายานไปสู่ศาสนาพุทธเถรวาท และยังสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ของอยุธยาอีกด้วย
ยุคเปลี่ยนศาสนา ทำลายรูปเคารพ ก่อนเป็นพุทธเถรวาทในช่วง พ.ศ. 1700-1850 นับเป็นช่วงเวลาอันน่าตื่นเต้นของประวัติศาสตร์แถบกัมพูชา-ไทย เพราะมีทั้งความรุ่งเรืองของศาสนาพุทธ และการทำลายพระพุทธรูป โดยในกัมพูชาปรากฏหลักฐานค่อนข้างชัดเจน
Cr : https://thestandard.co/khmer-architecture/
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs links 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น