วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

พระเจ้ากรุงธนบุรี

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
ในปีพ.ศ.2309-2310 ช่วงเวลาที่แสนทุกข์ทรมาณ ตลอดระยะเวลา 5 เดือนที่บ้านเมืองเสียหายหนักจากข้าศึกที่ล้อมและทำลายราชธานีที่อยู่ยาวนานกว่า 417 ปีสิ้นสุดลง ท่ามกลางแสงเพลิงที่ลุกโชติช่วงเห็นได้ระยะไกล แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นสีเลือด ชาวบ้านต่างวิ่งหนีเอาตัวรอด บ้างก็ถูกฆ่า ถูกจับเป็นเชลย ถูกข่มขืน ท้องฟ้ามืดดำ 
     แต่ก็ก่อเกิดวีรกรรมพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ พร้อมนายทหารคู่พระทัย ที่นำมาบ้านเมืองให้รอดพ้นจากข้าศึกที่มีจุดประสงค์เพียงเพื่อทำลายบ้านเมืองเราให้พินาศสิ้นเป็นเถ่าธุลี พระปรีชาสามารถที่ยิ่งใหญ่นำพากองทหารอันน้อยนิด ตีฝ่าวงล้อมไปทางตะวันออก เพื่อรวบรวมกำลังกองกู้บ้านเมืองให้มีได้จนถึงวันนี้ นั้นคือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระมหากษัตริย์เป็นที่รักและเคารพ ของประชาชนชาวไทย บิดาแห่งกองทหารม้า และ กองทัพเรือ ให้คงอยู่จวบจนปัจจุบัน
     สมเด็จพระเจ้าตากทรงเข้าตีเมืองจันทบูร หวังที่จะรวบรวมกำลังกอบกู้บ้านเมือง โดยทรงส่งคนไปเจรจาขอความร่วมมือกันพระยาจันทบูร แต่สุดท้ายพระยาจันทบูรทะนงตัวว่า เมืองจันทบูรเป็นเมืองใหญ่มาช้านาน จะให้ใครมากำกับแค่พระยามีชื่อ จะเป็นการลดเกียรติ์ของเจ้าเมืองที่มั่นคง ไม่มีข้าศึกใดทำลายเมืองนี้ได้ จึงตอบปฎิเสธไป 
      พระเจ้าตากทรงเข้าตีเมืองจันทบูรเป็นหลายครั้ง ก็ไม่อาจหักเอาเมืองนี้ได้ จึงได้เรียกขวัญกำลังใจจากทหารเหลืออยู่ โดยให้กินข้าวกินปลา และทุบหม้อข้าวทิ้ง โดยประกาศว่า จะไปกินข้าวกันที่เมืองจันทบูร พระเจ้าตากทรงช้างพังสิริกุญชร ไส่ชนประตูเมืองจันทบูรหักพักทลายลง ทหารตรู่เข้าจับพระยาจันทบูรยึดเมืองได้สำเร็จ 
      จึงทรงให้ทหารต่อเรือรบ ประมาณร้อยลำ ณ ที่นี้ และรวบรวมกำลังพล เคลื่อนทรงทะเล ย้อนกลับไปทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านป้อมวิชัยประสิทธิ์ เข้าตั้งค่ายประชิดพม่า ณ ต.ค่ายโพธิ์สามต้น เป็นสามค่ายในเวลากลางคืน ด้วยสถานการณ์ที่ละหลวมของการตรวจการณ์ของพม่าหลังจากพิชิตกรุงศรีอยุธยา ก็มีเพียงทหารพม่าเพียงไม่มาก รักษาค่าย โดยสุกี้พระนายกองเป็นแม่ทัพเช่นเดิม การวางแผนของพระเจ้าตากที่จะพิชิตค่ายใหญ่พม่า ณ โพธิ์สามต้นต้องเป็นไปอย่างรัดกุม 
     แต่โชคของพระองค์ก็เข้าข้าง เมื่อทหารพม่าจำนวนหนึ่งกำลังสาละวนกับ พวกครัวมอญที่อพยพล่วงแดนเข้ามา พวกพม่านับร้อยคุมพวกมอญเข้าค่าย พระเจ้าตากจึงแบ่งกำลังแฝงตัวเข้าไปตามครัวมอญ และส่งหน่วยกองทะลวงฟันเข้าตีค่ายพม่าพร้อมกันรวบด้าน โดยที่พม่าไม่ทันได้ตั้งตัว การโจมตีโกลาหลพม่ามิอาจรับมือได้ทันต่างหนีเข้าไปในค่าย เกิดตะลุมบอนทั้งสองฝ่าย จนไปถึงค่ายหลวง ไม่นานสุกี้พระนายกองตายที่รบ พระเจ้าตากและทหารไล่ฆ่าพม่าแตกหนีไปไม่เป็นขบวน เมื่อค่ายใหญ่แตก ก็ทรงเคลื่อนไปขับไล่พวกพม่าที่เหลือในเกาะกรุงศรีอยุธยาสำเร็จ
     สิ่งที่ทรงเห็น ณ ตอนนั้น มีแต่ซากปรักหักพังของราชธานีที่มีมายาวนานกว่า 400 ปี จึงทรปรารภว่า คงมิอาจเป็นดั้งเก่าได้อีกแล้ว จึงทรงตั้งพระทัย อพยพชาวบ้านและกำลังพระองค์ลงมาทางใต้ เพื่อสร้างราชธานีใหม่ จนมาถึงธนบุรีก็ใกล้รุ่ง จึงทรงสร้างวัดอรุณขึ้น และทรงสร้างพระราชวังเดิมธนบุรีทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาในปีพ.ศ. 2310  
ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์พระนามว่า สมเด็จพระเจ้าตากสิน แห่งกรุงธนบุรี บัดนั้นเป็นต้นมา

1 ความคิดเห็น:

  1. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always be love. _/|\_

    ตอบลบ