วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2564

พุทธสุภาษิตพร้อมคำอ่านคำแปล

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.

พุทธศาสนสุภาษิต
หมวดธรรมะเบื้องต้น 
          อุฏฺฐาตา วินฺทเต ธนํ   อุด ถา ตา วิน ทะ เต ธะ นัง
คนขยัน  ย่อมหาทรัพย์ได้

          พาโล อปริณายโก พา โล อะ ปะ ริ ยา ยะ โก พา โล     :     คนโง่ คนพาล ไม่ควรเป็นผู้นำ

          อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ   อัต ตา หิ อัต ตะ โน นา โถ   :    ตนเป็นที่พึ่งของตน

          ปญฺญาว ธเนน เสยฺโย  ปัน ยา วะ ทะ เน นะ เสย โย   :     ปัญญาย่อมประเสริฐกว่าทรัพย์

          อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย  อัด ตา หะ เว ชิ ตัง เสย โย   :     ชนะตนนั่นแหละประเสริฐกว่า

          ยถาวาที ตถาการี    ยะ ถา วา ที ตะ ถา กา รี  :     พูดอย่างไร ทำได้อย่างนั้น

          สจฺจํ เว อมตา วาจา   สัด จัง เว อะ มะ ตะ วา จา   :     คำจริงเป็นสิ่งไม่ตาย

          อิณาทานํ ทุกขํ โลเก   อิ นา ทา นัง ทุก ขัง โล เก   :     การกู้หนี้ เป็นทุกข์ในโลก

          อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา  อัด ตา นัง ทะ มะ ยัน ติ ปัน ทิ ตา   :     บัญฑิตย่อมฝึกตน

          ททมาโน ปิโย โหติ   ทะ ทะ มา โน ปิ โย โห ติ  :     ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก

          จเช ธนํ องฺควรสฺส เหตุ องฺคํ จเช ชีวิตํ รกฺขมาโน องฺคํ ธนํ ชีวิตญฺจาปิ สพฺพํ จเช นโร ธมฺมมนุสฺสรนฺโต     :     พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ, เมื่อรักษาชีวิตพึงสละอวัยวะ เมื่อคำนึงถึงธรรม พึงสละอวัยวะ ทรัพย์ และแม้ชีวิตทุกอย่าง

หมวดบุคคล 
          ธมฺมเทสฺสี ปราภโว  ทำ มะ เทด สี ปะ รา พะ โว   :     ผู้เกลียดธรรม เป็นผู้เสื่อม

          ปริภูโต มุทุ โหติ อติติกฺโข จ เวรวา = ปะ ริ ภู โต มุ ทุ โห ติ อะ ติ ติก โข จะ เว ระ วา   :     อ่อนไป...ก็ถูกเขาหมิ่น แข็งไป...ก็มีภัยเวร

          นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต  นัด ถิ โล เก อะ นิน ทิ โต   :     ผู้ไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก

          ทุวิชาโน ปราภโว   ทุ วิ ชา โน ปะ รา ภะ โว  :     ผู้มีความรู้ในทางชั่ว เป็นผู้เสื่อม

          โจรา โลกสฺมิมพฺพุทา  โจ รา โล กัด มิ มับ พุ ทา    :     พวกโจรเป็นเสนียดของโลก

          ธมฺมกาโม ภวํ โหติ  ทำ มะ กา โม ภะ วัง โห ติ   :     ผู้ชอบธรรม เป็นผู้เจริญ

          ครุ โหติ สคารโว   คะ รุ โห ติ สะ คา ระ โว  :     ผู้เคารพผู้อื่น ย่อมมีผู้เคารพตนเอง

          เอวํ กิจฺฉาภโต โปโส ปิตุ อปริจารโก ปิตริมิจฺฉาจริตฺวาน นิรยํ โส อุปปชฺชติ     :     ผู้ที่มีมารดาบิดาเลี้ยงมาได้โดยยากอย่างนี้ ไม่บำรุงมารดาบิดา ประพฤติผิดในมารดาบิดา ย่อมเข้าถึงนรก 

          มธุ วา มญฺญตี พาโล ยาว ปาปํ น ปจฺจติ ยทา จ ปจฺจตี ปาปํ อถ ทุกฺขํ นิคจฺฉติ     :     ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล คนเขลายังเข้าใจว่ามีรสหวาน แต่บาปให้ผลเมื่อใด คนเขลาย่อมประสบทุกข์เมื่อนั้น 

          ยสฺส รุกฺขสฺส ฉายาย นิสีเทยฺย สเยยฺย วา น ตสฺส สาขํ ภญฺเชยฺย มิตฺตทุพฺโพ หิ ปาปโก     :     บุคคลนั่งหรือนอน (อาศัย) ที่ร่มเงาตันไม้ใด ไม่ควรรานกิ่งต้นไม้นั้น เพราะผู้ประทุษร้ายมิตร เป็นคนเลวทราม 

          โรสโก กทริโย จ ปาปิจฺโฉ มจฺฉรี สโฐ อหิริโก อโนตฺตปฺปี ตํ ชญฺญา วสโล อิติ     :     ผู้ใดเป็นคนขัดเคือง เหนียวแน่น ปรารถนาลามก ตระหนี่ โอ้อวด ไม่ละอาย และไม่เกรงกลัวบาป พึงรู้ว่า ผู้นั้นเป็นคนเลว

          โสจติ ปุตฺเตหิ ปุตฺติมา โคมิโก โคหิ ตเถว โสจติ อุปธีหิ นรสฺส โสจนา น หิ โส โสจติ โย นิรูปธิ     :     ผู้มีบุตรย่อมเศร้าโศกเพราะบุตร, ผู้มีโคย่อมเศร้าโศกเพราะโคเหมือนกัน, นรชนมีความเศร้าโศกเพราะอุปธิ, ผู้ใด ไม่มีอุปธิ ผู้นั้นไม่ต้องเศร้าโศกเลย

หมวดการศึกษา-ปัญญา 

          หินชจฺโจปิ เจ โหติ อุฏฺฐาตา ธิติมา นโร อาจารสีลสมฺปนฺโน นิเส อคฺคีว ภาสติ     :     คนเราถึงมีชาติกำเนิดต่ำ แต่หากขยันหมั่นเพียร มีปัญญาประกอบด้วยอาจาระ และศีล ก็รุ่งเรืองได้ เหมือนไฟถึงอยู่ในคืนมืดก็สว่างไสว

          สากจฺฉาย ปญฺญา เวทิตพฺพา = สา กัด ฉา ยะ ปัน ยา เว ทิ ตับ พา     :     ความมีปัญญา ย่อมรู้ได้จากการสนทนา

          ทา โส ว ปญฺญาสฺส ยสสฺสิ พาโล อตฺเถสุ ชาเตสุ ตถาวิเธสุ ยํ ปณฺฑิโต นิปุณํ สํวิเธติ สมฺโมหมาปชฺชติ ตตฺถ พาโล     :     คนเขลามียศศักดิ์ ก็เป็นทาสของคนมีปัญญา, เมื่อเรื่องราวต่าง ๆ เกิดขึ้น คนฉลาดจัดการข้อใดได้แนบเนียน คนเขลาถึงความงมงายในข้อนั้น

หมวดวาจา
          นา ติเวลํ ปภาเสยฺย นตุณหี สพฺพทา สิยา อวิกิณฺ มิตํ วาจํ ปตฺเตกาเล อุทีริเย     :     ไม่ควรพูดจนเกินกาล ไม่ควรนิ่งเสมอไป เมื่อถึงเวลาก็ควรพูดพอประมาณ ไม่ฟั่นเฝือ 

          ปรสฺส วา อตฺตโน วาปิ เหตุ น ภาสติ อลิกํ ภูริปญฺโญ โส ปูชิโต โหติ สภาย มชฺเฌ ปจฺฉาปิ โส สุคติคามิ โหติ     :     ผู้มีภูมิปัญญา ย่อมไม่พูดพล่อย ๆ เพราะเหตุแห่งคนอื่น หรือตนเอง ผู้นั้นย่อมมีผู้บูชาในท่ามกลางชุมชน (สภา) แม้ภายหลังเขาย่อมไปสู่สุคติ

          ยํ พุทฺโธ ภาสตี วาจํ เขมํ นิพฺพานปตฺติยา ทุกฺขสฺสนฺตกิริยาย สา เว วาจานมุตฺตมา     :     พระพุทธเจ้าตรัสพระวาจาใด เป็นคำปลอดภัย เพื่อบรรลุพระนิพพาน และเพื่อทำที่สุดทุกข์, พระวาจานั้นแล เป็นสูงสุดแห่งวาจาทั้งหลาย

หมวดความอดทน
          ขนฺติ ตโป ตปสฺสิโน = ขัน ติ ตะ โป ตะ ปัด สิ โน    :     ความอดทน เป็นตปะ (ตบะ) ของผู้พากเพียร

          ขนฺติ สาหสวารณา  = ขัน ติ สา หะ สะ วา ระ นา   :     ความอดทน ห้ามไว้ได้ซึ่งความผลุนผลัน

          มนาโป โหติ ขนฺติโก    = มะ นา โป โห ติ ขัน ติ โก  :     ผู้มีความอดทน ย่อมเป็นที่ชอบใจของบุคคลอื่น

          เกวลานํปิ ปาปานํ ขนฺติ มูลํ นิกนฺตติ ครหกลหาทีนํ มูลํ ขนฺติ ขนฺติโก     :     ความอดทน ย่อมตัดรากแห่งบาปทั้งสิ้น, ผู้มีขันติ ชื่อว่า ย่อมขุดรากแห่งความติเตียน และการทะเลาะกันได้ เป็นต้น

          ขนฺติโก เมตฺตวา ลาภี ยสสฺสี สุขสีลวา ปิโย เทวมนุสฺสานํ มนาโป โหติ ขนฺติโก     :     ผู้มีความอดทน นับว่ามีเมตตา มีลาภ มียศ และมีสุขเสมอ, ผู้มีความอดทน ย่อมเป็นที่รัก ชอบใจของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย

          อตฺตโนปิ ปเรสญฺจ อตฺถาวโห ว ขนฺติโก สคฺคโมกฺขคมํ มคฺคํ อารุฬฺโห โหติ ขนฺติโก     :     ผู้มีขันติ ชื่อว่า นำประโยชน์มาให้ทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น ผู้มีขันติ ชื่อว่า เป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และนิพพาน 

หมวดความเพียร
          ขโณ โว มา อุปจฺจคา =    ขะ โน โว มา อุ ปัด จะ คา  :     อย่าปล่อยกาลเวลาให้ล่วงไปโดยเปล่าประโยชน์

          หิยฺโยติ หิยฺยติ โปโส ปเรติ ปริหายติ  = หิย โย ติ หิย ยะ ติ โป โส ปะ เร ติ ปะ ริ หา นะ ติ   :     คนที่ผัดวันว่าพรุ่งนี้ ย่อมเสื่อม ยิ่งผัดว่ามะรืนนี้ ก็ยิ่งเสื่อม

          กาลคตญฺจ น หาเปติ อตฺถํ =  กา ละ คะ ตัน จะ นะ หา เป ติ อัด ถัง  :     คนขยัน พึงไม่ให้ประโยชน์ที่มาถึงแล้วผ่านไปโดยเปล่า

          โภคา สนฺนิตยํ ยนฺติ วมฺมิโกวูปจียติ   = โพ คา สัน นิ ตะ ยัง ยัน ติ วำ มิ โก วู ปะ จี ยะ ติ  :     ค่อย ๆ เก็บรวบรวมทรัพย์ ดังปลวกก่อจอมปลวก

          อตีตํ นานฺวาคเมยฺนย นปฺปฏิกงฺเข อนาคตํ  = อะ ตี ตัง นาน วา คะ เมย นะ ยะ นับ ปะ ติ กัง เข อะ นา คะ ตัง   :     อย่ารำพึงถึงความหลัง อย่ามัวหวังถึงอนาคต

          อสเมกฺขิตกมฺมนฺตํ ตุริตาภินิปาตินํ ตานิ กมฺมานิ ตปฺเปนฺติ อุณฺหํ วชฺโฌหิตํ มุเข     :     ผู้ที่ทำการงานลวก ๆ โดยมิได้พิจารณาใคร่ครวญให้ดี เอาแต่รีบร้อนพรวดพราดจะให้เสร็จ การงานเหล่านั้น ก็จะก่อความเดือดร้อนให้ เหมือนตักอาหารที่ยังร้อนใส่ปาก

          อชฺช สุวติ ปุริโส สทตฺทํ นาวพุชฺฌติ โอวชฺชมาโน กุปฺปติ เสยฺยโส อติมญฺญติ     :     คนที่ไม่รู้จักประโยชน์ตนว่า อะไรควรทำวันนี้ อะไรควรทำพรุ่งนี้ ใครตักเตือนก็โกรธ เย่อหยิ่ง ถือดีว่า ฉันเก่ง ฉันดี คนอย่างนี้ เป็นที่ชอบใจของกาลกิณี

          หิยฺโยติ หิยฺยติ โปโส ปเรติ ปริหายติ อนาคตํ เนตมตฺถีติ ญตฺวา อุปฺปนฺนจฺฉนฺทํ โก ปนุเทยฺย ธีโร     :     มัวรำพึงถึงความหลัง ก็มีแต่จะหดหาย มัวหวังวันข้างหน้า ก็มีแต่จะละลาย อันใดยังไม่มาถึง อันนั้นก็ยังไม่มี รู้อย่างนี้แล้ว เมื่อมีฉันทะเกิดขึ้น คนฉลาดที่ไหนจะปล่อยให้หายไปเปล่า

          อปฺปเกนปิ เมธาวี ปาภเฏน วิจกฺขโณ สมุฏฺฐาเปติ อตฺตานํ อณุ อคคึว สนฺธมํ     :     ผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาดย่อมตั้งตนได้ด้วยต้นทุนแม้น้อย เหมือนคนก่อไฟน้อยขึ้นฉะนั้น 

          อฏฺฐา ตา กมฺมเธยฺเยสุ อบฺปมตฺโต วิธานวา สมํ กปฺเปติ ชีวิตํ สมภตํ อนุรกฺขติ     :     ผู้ขยันในหน้าที่การงาน ไม่ประมาท เข้าใจเลี้ยงชีพพอสมควร จึงรักษาทรัพย์ที่หามาได้ 

          โย จ วสฺสสตํ ชีเว กุสีโต หีนวีริโย เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย วิริยํ อารภโต ทฬฺหํ     :     ผู้เกียจคร้าน มีความเพียรเลว พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี ส่วนผู้ปรารภความเพียรมั่นคง มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวก็ประเสริฐกว่า 

หมวดความโกรธ

          โกโธ สตฺถมลํ โลเก     :     ความโกรธเป็นดังสนิมในโลก

          ยํ กุทฺโธ อุปโรเธติ สุกรํ วิย ทุกฺกรํ     :     ผู้โกรธจะผลาญสิ่งใด สิ่งนั้นทำยากก็เหมือนทำง่าย

          อปฺโป หุตฺวา พหุ โหติ วฑฺฒเต โส อขนฺติโช     :     ความโกรธน้อยแล้วมาก มันเกิดจากความไม่อดทน จึงทวีขึ้น

          ปจฺฉา โส วิคเต โกเธ อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ     :     ภายหลังเมื่อความโกรธหายแล้ว เขาย่อมเดือดร้อน เหมือนถูกไฟไหม้

          อนฺธตมํ ตทา โหติ ยํ โกโธ สหเต นรํ     :     ความโกรธครอบงำนรชนเมื่อใด ความมืดมนย่อมมีขึ้นเมื่อนั้น 

หมวดการชนะ

          ชิเน กทริยํ ทาเนน     :     พึงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้

          อสาธํ สาธุนา ชิเน     :     พึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดี

          อกฺโกเธน ชิเน โกธํ     :     พึงชนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ

          สจฺเจนาลิกวาทินํ     :     พึงชนะคนพูดปด ด้วยคำจริง

หมวดประมาท

          เย ปมตฺตา ยถา มตา     :     ผู้ประมาท เหมือนคนตายแล้ว

          เต ทีฆรตฺตํ โสจนฺติ เย ปมชฺชนฺติ มาณวา     :     คนประมาท ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน

          โย จ ปุพฺเพ ปมชฺชิตฺวา ปจฺฉา โส นปฺปมชฺชติ โสมํ โลกํ ปภาเสติ อพฺภา มุตฺโต ว จนฺทิมา     :     เมื่อก่อนประมาท ภายหลังไม่ประมาท เขาชื่อว่ายังโลกนี้ให้สว่าง เหมือนพระจันทร์พ้นจากเมฆหมอกฉะนั้น

          ยญฺหิ กิจฺจํ ตทปวิทฺธํ อกิจฺจํ ปน กยีรติ อุนฺนฬานํ ปมตฺตานํ เตสํ วฑฺฒนฺติ อาสวา     :     คนทอดทิ้งกิจที่ควรทำ ไปทำกิจที่ไม่ควรทำ เมื่อเขาถือตัวประมาท อาสวะย่อมเจริญ

          พหุมฺปิ เจ สํหิต ภาสมาโน น ตกฺกโร โหติ นโร ปมตฺโต โคโปว คาโว คณยํ ปเรสํ น ภาควา สามญฺญฺสฺส โหติ     :     หากกล่าวพุทธพจน์ได้มาก แต่เป็นคนประมาท ไม่ทำตามพุทธพจน์นั้น ก็ไม่มีส่วนแห่งสามัญญผล เหมือนคนเลี้ยงโค คอยนับโคให้ผู้อื่นฉะนั้น

หมวดไม่ประมาท 

          อปฺปมาทรตา โหถ     :     ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท

          อปฺปมาทญฺจ เมธาวี ธนํ เสฏฺฐฺ รกฺขติ     :     ปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์ประเสริฐสุด

          อุฏฺฐฺานวโต สติมโต สุจิกมฺมสฺส นิสมฺมการิโน สญฺญฺตสฺส จ ธมฺมชีวิโน อปฺปมตฺตสฺส ยโสภิวฑฺฒติ     :     ยศย่อมเจริญแก่ผู้มีความหมั่น มีสติ มีการงานสะอาด ใคร่ครวญแล้วทำ ระวังดีแล้ว เป็นอยู่โดยธรรม และไม่ประมาท

          อปฺปมาทรตา โหถ สจิตฺตมนุรกฺขถ ทุคฺคา อุทฺธรถตฺตานํ ปงฺเก สนฺโนว กุญฺชโร     :     ท่านทั้งหลายจงยินดีในความไม่ประมาท จงตามรักษาจิตของตน จงถอนตนขึ้นจากหล่มคือกิเลสที่ถอนได้ยาก เหมือนช้างที่ตกหล่ม ถอนตนขึ้น ฉะนั้น

          อุฏฺฐาเนนปฺปมาเทน สญฺญเมน ทเมน จ ทีปํ กยิราถ เมธาวี ยํ โอโฆ นาภิกีรติ     :     ผู้มีปัญญา พึงสร้างเกาะที่น้ำหลากมาท่วมไม่ได้ ด้วยความหมั่น ความไม่ประมาท ความสำรวมระวัง และความข่มใจ

          อปฺปมตฺโต ปมตฺเตสฺ สุตฺเตสุ พหุชาคโร อพลสฺสํว สีฆสฺโส หิตฺวา ยาติ สุเมธโส     :     คนมีปัญญาดีไม่ประมาทในเมื่อผู้อื่นประมาท มักตื่นในเมื่อผู้อื่นหลับ ย่อมละทิ้งคนนั้น เหมือนม้าฝีเท้าเร็ว ทิ้งม้าไม่มีกำลังไป ฉะนั้น

หมวดตน-การฝึกตน 

          อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย     :     ชนะตนนั่นแหละ เป็นดี

          ลพฺภา ปิยา โอจิตฺเตน ปจฺฉา     :     ตระเตรียมตนให้ดีเสียก่อนแล้ว ต่อไปจะได้สิ่งอันเป็นที่รัก

          ยทตฺตครหิ ตทกุพฺพมาโน     :     ติตนเองเพราะเหตุใด ไม่ควรทำเหตุนั้น

          สทตฺถปสุโต สิยา     :     พึงขวนขวายในเป้าหมายของตน

          กลฺยาณํ วต โภ สกฺขิ อตฺตานํ อติมญฺญสิ     :     ท่านเอ๋ย ! ท่านก็สามารถทำดีได้ ไยจึงมาดูหมิ่นตัวเองเสีย

          สนาถา วิหรถ มา อนาถา     :     จงอยู่อย่างมีหลักยึดเหนี่ยวใจ อย่าเป็นคนไร้ที่พึ่ง

          ปเร สํ หิ โส วชฺชานิ โอปุนาติ ยถาภุสํ อตฺตโน ปน ฉาเทติ กลึว กิตวา สโฐ     :     โทษคนอื่นเที่ยวกระจาย เหมือนโปรยแกลบ แต่โทษตนปิดไว้ เหมือนพรานนกเจ้าเล่ห์แฝงตัวบังกิ่งไม้

          อตฺตตฺถปัญฺญา อสุจี มนุสฺสา     :     มนุษย์ผู้เห็นแก่ประโยชน์ตน เป็นคนไม่สะอาด 

          อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา ยถญฺญมนุสาสติ     :     ถ้าพร่ำสอนผู้อื่นฉันใด ก็ควรทำตนฉันนั้น 

 

หมวดมิตร

          มาตา มิตฺตํ สเก ฆเร     :     มารดาเป็นมิตรในเรือนตน

          พฺรหฺมาติ มาตาปิตโร     :     มารดาบิดา ท่านเรียกว่าเป็นพรหม

          มิตฺตทุพฺโก หิ ปาปโก     :     ผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวแท้

          ภริยา ปรมา สขา     :     ภริยาเป็นเพื่อนสนิท

          นตฺถ พาเล สหายตา     :     ความเป็นสหายไม่มีในคนพาล 

          สเจ ลเภถ นิปกํ สหายํ จเรยฺย เตนตฺตมโน สติมา โน เจ ลเภถ นิปกํ สหายํ เอโก จเร น จ ปาปานิ กยิรา     :     ถ้าได้สหายผู้รอบคอบ พึงพอใจมีสติเที่ยวไปกับเขา ถ้าไม่ได้สหายผู้รอบคอบ พึงเที่ยวไปคนเดียว และไม่พึงทำความชั่ว

หมวดการคบหา

          ยํ เว เสวติ ตาทิโส     :     คบคนเช่นใด ย่อมเป็นคนเช่นนั้น

          วิสฺสาสา ภยมนฺเวติ     :     เพราะความไว้ใจภัยจึงตามมา 

          อติจิรํ นิวาเสน ปิโย ภวติ อปฺปิโย     :     เพราะอยู่ด้วยกันนานเกินไป คนที่รักกันก็มักหน่าย 

          ทุกฺโข พาเลหิ สํวาโส อมิเตเนว สพฺพทา     :     อยู่ร่วมกับคนพาลนำทุกข์มาให้เสมอไป เหมือนอยู่ร่วมกับศัตรู 

          ธีโร จ สุขสํวาโส ญาตีนํว สมาคโม     :     อยู่ร่วมกับปราชญ์นำสุขมาให้ เหมือนสมาคมกับญาติ 

          สงฺเกเถว อมิตฺตสฺมึ มิตฺตสฺมิมฺปิ น วิสฺสเส     :     ควรระแวงในศัตรู แม้ในมิตรก็ไม่ควรไว้ใจ 

          ตครํ ว ปลาเสน โย นโร อุปนยฺหติ ปตฺตาปิ สุรภี วายนฺติ เอวํ ธีรูปเสวนา     :     คนห่อกฤษณาด้วยใบไม้ แม้ใบไม้ก็หอมไปด้วยฉันใด การคบกับนักปราชญ์ก็ฉันนั้น 

          ปูติมจฺฉํ กุสคฺเคน โย นโร อุปนยฺหติ กุสาปิ ปูติ วายนฺติ เอวํ พาลูปเสวนา     :     คนห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคา แม้หญ้าคาก็พลอยเหม็นเน่าไปด้วยฉันใด การคบคนพาลก็ฉันนั้น 

หมวดการสร้างตัว

          อลาโภ ธมฺมิโก เสยฺโย ยญฺเจ ลาโภ อธมฺมิโก     :     ถึงไม่ได้ แต่ชอบธรรม ยังดีกว่าได้โดยไม่ชอบธรรม

          ปฏิรูปการี ธุรวา อุฏฺฐาตา วินฺทเต ธนิ     :     ขยัน เอาธุระ ทำเหมาะจังหวะ ย่อมหาทรัพย์ได้

          โภคา สนุนิจยํ ยนฺติ วมฺมิโกวูปจียติ     :     ทรัพย์สินย่อมพอกพูนขึ้นได้ เหมือนดังก่อจอมปลวก

          อนากุลา จ กมฺมนฺตา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ     :     การงานไม่คั่งค้างสับสน เป็นมงคลอย่างสูงสุด

          น หิ จินฺตามยา โภคา อิตฺถิยา ปุริสสฺส วา     :     โภคะของใคร ไม่ว่าสตรีหรือบุรุษ ที่จะสำเร็จเพียงด้วยคิดเอา ย่อมไม่มี

        สกมฺมุนา โหติ ผลูปปตฺติ     :     ความอุบัติแห่งผล ย่อมมีได้ด้วยการกระทำของตน

        ยหึ ชีเว ตหึ คจฺเฉ น นิเกตหโต สิยา     :     ชีวิตจะอยู่ได้ที่ไหน พึงไปที่นั้น ไม่พึงให้ที่อยู่ฆ่าตนเสีย

หมวดการปกครอง

        สพฺพํ รฏฺฐํ สุขํ เสติ ราชา เจ โหติ ธมฺมิโก     :     ถ้าผู้ปกครองทรงธรรม ประเทศชาติก็เป็นสุข

        สพฺพํ ปรวสํ ทุกฺขํ     :     การอยู่ในอำนาจของผู้อื่น เป็นทุกข์ทั้งสิ้น

        สงฺเกยฺย สงฺกิตพฺพานิ     :     พึงระแวง สิ่งที่ควรระแวง

        ปคฺคณฺเห ปคฺคหารหํ     :     พึงยกย่องคนที่ควรยกย่อง

        ปมาทา ชายเต ขโย     :     เมื่อมีความประมาท ก็เกิดความเสื่อม

        ขยา ปโทสา ชายนฺติ     :     เมื่อมีความเสื่อม ก็เกิดโทษประดัง

        สกฺกาโร กาปุริสํ หนฺติ     :     สักการะฆ่าคนชั่วได้

        รกฺเขยฺยานาคตํ ภยํ     :     พึงป้องกันภัยที่ยังมาไม่ถึง

หมวดสามัคคี

        สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี     :     สามัคคีของหมู่ทำให้เกิดสุข

        สูกเรหิ สมคฺเคหิ พฺยคฺโฆ เอกายเน หโต     :     สุกรทั้งหลายพร้อมเพรียงกันยังฆ่าเสือโคร่งได้ เพราะใจรวมเป็นอันเดียว

        สาม คฺยเมว สิกฺเขถ พุทฺเธเหตํ ปสํสิตํ สามคฺยรโต ธมฺมฏฺโฐ โยคกฺเขมา น ธํสตํ     :     พึงศึกษาความสามัคคี, ความสามัคคีนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลาย 

        เอโส หิ อุตฺตริตโร ภาราวโห ธุรนฺธโร โย ปเรสาธิปนฺนานํ สยํ สนฺธาตุมรหติ     :     ผู้ใดเมื่อคนอื่นล่วงเกินกันอยู่ ตนเองกลับหาทางเชื่อมเขาให้คืนดีกันได้ ผู้นั้นแล ชื่อว่าเป็นคนเอาภาระ เป็นผู้จัดธุระที่ดียอดเยี่ยม

        สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี สมคฺคานญฺจนุคฺคโห สมคฺครโต ธมฺมฏฺโฐ โยคกฺเขมา น ธํสติ     :     ความพร้อมเพรียงของหมู่เป็นสุข และการสนับสนุนคนผู้พร้อมเพรียงกันเป็นสุข, ผู้ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน ตั้งอยู่ในธรรมย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ

หมวดพบสุข

        น หึสนฺติ อกิญฺจนํ     :     ไม่มีอะไรเลย ไม่มีใครเบียดเบียน

        สุขิโน วตารหนฺโต     :     ท่านผู้ไกลกิเลส มีความสุขจริงหนอ

        สกิญฺจนํ ปสฺส วิหญฺญมานํ     :     คนมีห่วงกังวล ย่อมวุ่นวายอยู่

        ยาวเทวสฺสหู กิญฺจิ ตาวเทว อขาทิสํ     :     ตราบใดยังมีชิ้นเนื้อคาบไว้นิดหน่อย ตราบนั้นก็ยังถูกกลุ้มรุมยื้อแย่ง

        ลาโภ อลาโภ ยโส อยโส จ นินฺทา ปสํสา จ สุขํ จ ทุกฺขํ เอเต อนิจฺจา มนุเชสุ ธมฺมา มา โสจิ กึ โสจสิ โปฏฺฐปาท     :     ได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และทุกข์ สิ่งเหล่านี้เป็นธรรมดาในหมู่มนุษย์ ไม่มีความเที่ยงแท้แน่นอน อย่าเศร้าโศกเลย ท่านจะโศกเศร้าไปทำไม

        นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ     :     ความสุข (อื่น) ยิ่งกว่าความสงบไม่มี 

หมวดทาน

        อคฺคสฺส ทาตา ลภเต ปุนคฺคํ     :     ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ย่อมได้สิ่งที่เลิศอีก

        ธีโร จ ทานํ อนุโมทมาโน     :     คนฉลาด พลอยยินดีการให้ทาน

        นิวตฺตยนฺติ โสกมฺหา     :     คนใจการุณ ช่วยแก้ไขคนให้หายโศกเศร้า

        เสฏฐนฺทโท เสฏฐมุเปติ ฐานํ     :     ผู้ให้สิ่งประเสริฐ ย่อมถึงฐานะที่ประเสริฐ 

        ปุพฺเพ ทานาทิกํ ทตฺวา อิทานิ ลภตี สุขํ มูเลว สิญฺจิตํ โหติ อคฺเค จ ผลทายกํ     :     ให้ทานเป็นต้นก่อน จึงได้สุขบัดนี้ เหมือนรดน้ำที่โคนให้ผลที่ปลาย 

        ยถา วาริวหา ปูรา ปริปูเรนฺติ สาคร เอวเมว อิโต ทินฺนํ เปตานํ อุปกปฺปติ     :     ห้วงน้ำที่เต็ม ย่อมยังสาครให้เต็มได้ฉันใด ทานที่ให้แต่โลกนี้ ย่อมสำเร็จแก่ผู้ละไปแล้วฉันนั้น 

        โส จ สพฺพทโท โหติ โย ททาติ อุปสฺสยํ อมตนฺทโท จ โส โหติ ธมฺมมนุสาสติ     :     ผู้ใดให้ที่พักอาศัย ผู้นั้นชื่อว่าให้สิ่งทั้งปวง ผู้ใดสอนธรรม ผู้นั้นชื่อว่าให้อมตะ 

        อนฺนโท พลโท โหติ วตฺถโท โหติ วณฺณโท ยานโท สุขโท โหติ ทีปโท โหติ จกฺขุโท     :     ผู้ให้ข้าวชื่อว่าให้กำลัง ผู้ให้ผ้าชื่อว่าให้ผิวพรรณ ผู้ให้ยานพาหนะชื่อว่าให้ความสุข ผู้ให้ประทีปโคมไฟชื่อว่าให้จักษุ 

        มนาปทายี ลภเต มนาปํ อคฺคสฺส ทาตา ลภเต ปุนคฺคํ วรสฺส ทาตา วรลาภี จ โหติ เสฏฺฐนฺทโท เสฏฺฐมุเปติ ฐานํ     :     ผู้ให้ของชอบใจ ย่อมได้ของชอบใจ ผู้ให้ของเลิศ ย่อมได้ของเลิศ ผู้ให้ของดี ย่อมได้ของดี ผู้ให้ของประเสริฐ ย่อมถึงฐานะอันประเสริฐ

หมวดศีล

        สีลํ โลเก อนุตฺตรํ     :     ศีล เป็นเยี่ยมในโลก

        โย จ วสฺสสตํ ชีเว ทุสฺสีโล อสมาหิโต เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย สีลวนฺตสฺส ฌายิโน     :     ผู้ไม่มีศีล ไม่มั่นคง ถึงจะเป็นอยู่ตั้งร้อยปี, ส่วนผู้มีศีล เพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่วันเดียวประเสริฐกว่า

        น เวทา สมฺปรายาย น ชาติ นปิ พนฺธวา สกญฺจ สีลสํสุทฺธํ สมฺปรายสุขาวหํ     :     เวทมนตร์ ชาติกำเนิด พวกพ้อง นำสุขมาให้ในสัมปรายภพไม่ได้ ส่วนศีลของตนที่บริสุทธิ์ดีแล้ว จึงนำสุขมาให้ในสัมปรายภพได้

        อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย     :     ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์ 

        สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ     :     ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์ 

        สี ลํ เสตุ มเหสกฺโข สีลํ คนฺโธ อนุตฺตโร สีลํ วิเลปนํ เสฏฺฐํ เยน วาติ ทิโส ทิสํ     :     ศีลเป็นสะพานอันสำคัญ ศีลเป็นกลิ่นที่ไม่มีกลิ่นอื่นยิ่งกว่า ศีลเป็นเครื่องลูบไล้อันประเสริฐสุด เพราะศีล (มีกลิ่น) ขจรไปทั่วทุกทิศ 

หมวดจิต

        จิตฺเตน นียติ โลโก     :     โลกถูกจิตนำไป

        จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ     :     จิตที่ฝึกแล้วนำสุขมาให้ 

        วิหญฺญตี จิตฺตวสานุวตฺตี     :     ผู้ประพฤติตามอำนาจจิตย่อมลำบาก 

        เตลปตฺตํ ยถา ปริหเรยฺย เอวํ สจิตฺตมนุรกฺเข     :     พึงรักษาจิตของตน เหมือนคนประคองบาตรที่เต็มด้วยน้ำมัน 

        ยโต ยโต จ ปาปกํ ตโต ตโต มโน นิวารเย     :     ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้น ๆ 

        อานาปานสฺสติ ยสฺส อปริปุณฺณา อภาวิตา กาโยปิ อิญฺชิโต โหติ จิตฺตมฺปิ โหติ อิญฺชิตํ     :     สติกำหนดลมหายใจเข้า-ออก อันผู้ใดไม่อบรมให้บริบูรณ์ ทั้งกายทั้งจิตของผู้นั้นก็หวั่นไหว 

        เสโล ยถา เอกฆโน วาเตน น สมีรติ เอวํ นินฺทาปสํสาสุ น สมิญฺชนฺติ ปณฺฑิตา     :     ภูเขาหินแท่งทึบ ไม่สั่นสะเทือนเพราะลมฉันใด บัณฑิตย่อมไม่หวั่นไหวในนินทาและสรรเสริญฉันนั้น 

หมวดกรรม

        สาธุ ปาเปน ทุกฺกรํ     :     ความดี อันคนชั่วทำยาก 

        ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ     :     ทำกรรมใดแล้วไม่ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำนั้นแลเป็นดี 

        ยา ทิสํ วปเต พีชํ ตาทิสํ ลภเต ผลํ กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ     :     บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว 

        นิสมฺม กรณํ เสยฺโย     :     ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำดีกว่า 

        รกฺเขยฺย อตฺตโน สาธุ ลวณํ โลณตํ ยถา     :     พึงรักษาความดีของตนไว้ ดังเกลือรักษาความเค็ม 

        โย ปุพฺเพ กตกลฺยาโณ กตตฺโถ นาวพุชฺฌติ ปจฺฉา กิจฺเจ สมุปฺปนฺเน กตฺตารํ นาธิคจฺฉติ     :     ผู้อื่นทำความดีให้ ทำประโยชน์ให้ก่อน แต่ไม่นึกถึง (บุญคุณ) เมื่อมีกิจเกิดขึ้นภายหลัง จะหาผู้ช่วยทำไม่ได้

หมวดความตาย

        สพฺพํ เภทปริยนฺติ เอวํ มจฺจาน ชีวิตํ     :     ชีวิตของสัตว์เหมือนภาชนะดิน ซึ่งล้วนมีความสลายเป็นที่สุด 

        น มิยฺยมานํ ธนมนฺเวติ กิญฺจิ     :     ทรัพย์สักนิดก็ติดตามคนตายไปไม่ได้ 

        อฑฺฒา เจว ทฬิทฺทา จ สพฺเพ มจฺจุ ปรายนา     :     ทั้งคนมีคนจน ล้วนมีแต่ความตายเป็นเบื้องหน้า 

        ยถา วาริวโห ปูโร วเห รุกฺเข ปกูลเช เอวํ ชราย มรเณน วุยฺ หนฺเต สพฺพปาณิโน     :     ห้วงน้ำที่เต็มฝั่ง พึงพัดต้นไม้ซึ่งเกิดที่ตลิ่งไปฉันใด สัตว์มีชีวิตทั้งปวง ย่อมถูกความแก่และความตายพัดไปฉันนั้น 

        อจฺเจนติ กาลา ตรยนฺติ รตฺติโย วโยคุณา อนุปุพฺพํ ชหนฺติ เอตํ ภยํ มรเณ เปกฺขมาโน ปุญฺญานิ กยิราถ สุขาวหานิ     :     กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป ผู้เล็งเห็นภัยในมรณะนั้น พึงทำบุญอันนำความสุขมาให้

หมวดบุญ

        ปญฺญํ สุขํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ     :     บุญนำสุขมาให้ในเวลาสิ้นชีวิต 

        ปุญฺญานิ ปรโลกสฺมึ ปติฏฺฐา โหนฺติ ปาณินํ     :     บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ในโลกหน้า 

        มาวมญฺเญถ ปุญฺญสฺส น มตฺตํ อาคมิสฺสติ อุทพินฺทุนิปาเตน อุทกุมฺโภปิ ปูรติ อาปูรติ ธีโร บุญฺญสฺส โถกํ โถกํปิ อาจินํ     :     ไม่ควรดูหมิ่นต่อบุญว่ามีประมาณน้อยจักไม่มีมาถึง แม้หม้อน้ำย่อมเต็มได้ด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมาฉันใด ผู้มีปัญญาสั่งสมบุญแม้ทีละน้อย ๆ ย่อมเต็มได้ด้วยบุญฉันนั้น 

        สหาโย อตฺถชาตสฺส โหติ มิตฺตํ ปุนปฺปุนํ สยํ กตานิ ปุญฺญานิ ตํ มิตฺตํ สมฺปรายิกํ     :     สหายเป็นมิตรของคนผู้มีความต้องการเกิดขึ้นบ่อย ๆ บุญทั้งหลายที่ตนทำเองนั้น จะเป็นมิตรในสัมปรายภพ

หมวดกิเลส

        สงฺกปฺปราโค ปุริสสฺส กาโม     :     ความกำหนัดเพราะดำริ เป็นกามของคน

        น สนฺติ กามา มนุเชสุ นิจฺจา     :     กามทั้งหลายที่เที่ยง ไม่มีในหมู่มนุษย์

        กุหา ถทฺธา ลปา สิงฺคี อุนฺนฬา จาสมาหิตา น เต ธมฺเม วิรูหนฺติ สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิเต     :     ผู้คนหลอกลวง เย่อหยิ่ง เพ้อเจ้อ ขี้โอ่ อวดดี และไม่ตั้งมั่น ย่อมไม่งอกงามในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว 

        นิทฺทํ น พหุลีกเรยฺย ชาคริยํ ภเชยฺย อาดาปี ตนฺทึ มายํ หสฺสํ ขิฑฺฑํ เมถุนํ วิปฺปชเห สวิภูสํ     :     ผู้มีความเพียรไม่พึงนอนมาก พึงเสพธรรมเครื่องตื่น พึงละความเกียจคร้าน มายา ความร่าเริง การเล่น และเมถุน พร้อมทั้งเครื่องประดับเสีย 

        อิ จฺฉาย พชฺฌตี โลโก อิจฺฉาวินยายุ มุจฺจต อิจฺฉาย วิปฺปหาเนน สพฺพํ ฉินฺทติ พนฺธนํ     :     โลกถูกความอยากผูกพันไว้ จะหลุดได้เพราะกำจัดความอยาก เพราะละความอยากเสียได้ จึงชื่อว่าตัดเครื่องผูกทั้งปวงได้ 

        อุเปกฺขโก สทา สโต น โลเก มญฺญตี สมํ น วิเสสี น นีเจยฺโย ตสฺส โน สนฺติ อุสฺสทา     :     ผู้วางเฉยมีสติทุกเมื่อ ไม่สำคัญตนว่าเสมอเขา ดีกว่าเขา หรือต่ำกว่าเขาในโลก ผู้นั้นชื่อว่าไม่มีกิเลสเฟื่องฟูขึ้น 

        ปุราณํ นาภินนฺเทยฺย นเว ขนฺติมกุพฺพเย หิยฺยมาเน น โสเจยฺย อากาสํ น สิโต สิยา     :     ไม่พึงเพลิดเพลินของเก่า ไม่พึงทำความพอใจในของใหม่ เมื่อสิ่งนั้นเสื่อมไป ก็ไม่พึงเศร้าโศก ไม่พึงอาศัยตัณหา

        มูฬฺโห อตฺถํ น ชานาติ มูฬฺโห ธมฺมํ ปสฺสต อนฺธตมํ ตทา โหติ ยํ โมโห สหเต นรํ     :     ผู้หลงย่อมไม่รู้อรรถ ผู้หลงย่อมไม่เห็นธรรม ความหลงครอบงำคนใดเมื่อใด ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น 

        ยสฺส นตฺถิ อิทํ เมติ ปเรสํ วาปิ กญฺจนํ มมตฺตํ โส อสํวินฺทํ นตฺถิ เมติ น โสจติ     :     ผู้ใดไม่กังวลว่า นี่ของเรา นี่ของผู้อื่น ผู้นั้น เมื่อไม่ถือว่าเป็นของเรา จึงไม่เศร้าโศกว่าของเราไม่มี ดังนี้ 

หมวดบาป

        มลา เว ปาปกา ธมฺมา อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ     :     บาปธรรมเป็นมลทินแท้ ทั้งโลกนี้และโลกหน้า

        อิธ โสจติ เปจฺจ โสจติ ปาปการี อุภยตฺถ โสจติ โส โสจติ โส วิหญฺญติ ทิสฺวา กมฺมกิลิฏฺฐมตฺตโน     :     ผู้ทำบาป ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ ละไปแล้วก็เศร้าโศก ชื่อว่าเศร้าโศกในโลกทั้งสอง เขาเห็นกรรมอันเศร้าหมองของตน จึงเศร้าโศกและเดือดร้อน 

        ปาณิ มฺหิ เจ วโณ นาสฺส หเรยฺย ปาณินา วิสํ นาพฺพณํ วิสมนฺเวติ นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต     :     ถ้าฝ่ามือไม่มีแผล ก็พึงนำยาพิษไปด้วยฝ่ามือได้ ยาพิษซึมเข้าฝ่ามือไม่มีแผลไม่ได้ฉันใด บาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำฉันนั้น 

        วาณิโชว ภยํ มคฺคํ อปฺปสตฺโถ มหทฺธโน วิสํ ชีวิตุกาโมว ปาปานิ ปริวชฺชเย     :     ควรงดเว้นบาปเสีย เหมือนพ่อค้ามีพวกน้อยมีทรัพย์มาก เว้นหนทางที่มีภัย และเหมือนผู้รักชีวิตเว้นยาพิษเสียฉะนั้น 

หมวดทุกข์

        สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา     :     สังขาร เป็นทุกข์อย่างยิ่ง 

        ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา     :     เหย้าเรือนที่ปกครองไม่ดี นำทุกข์มาให้

        ทฬิทฺทิยํ ทุกฺขํ โลเก     :     ความจน เป็นทุกข์ในโลก 

        อิณาทานํ ทุกฺขํ โลเก     :     การเป็นหนี้ เป็นทุกข์ในโลก 

        ทุกฺขํ อนาโถ วิหรติ     :     คนไม่มีที่พึ่ง อยู่เป็นทุกข์ 

        ทุกฺขํ เสติ ปราชิโต     :     ผู้แพ้ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ 

        อกิญฺจนํ นานุปตนฺติ ทุกฺขา     :     ทุกข์ ย่อมไม่ตกถึงผู้หมดกังวล 

        ปิยานํ อทสฺสนํ ทุกฺขํ     :     การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก เป็นทุกข์ 

หมวดเบ็ดเตล็ด  

        อวนฏฺฐิตจิตฺตสฺส ลหุจิตฺตสฺส ทุพฺภิโน นิจฺจํ อทฺธุวสีลสฺส สุขภาโว น วิชฺชติ     :     เมื่อมีจิตใจไม่หนักแน่น เป็นคนใจเบา มักประทุษร้ายมิตร มีความประพฤติกลับกลอกเป็นนิตย์ ย่อมไม่มีความสุข

        อิตฺถีธุตฺโต สุราธุตฺโต อกฺขธุตฺโต จ โย นโร ลทฺธํ ลทฺธํ วินาเสติ ตํ ปราภวโต มุขํ     :     คนใดเป็นนักเลงหญิง นักเลงสุรา และนักเลงการพนัน ย่อมล้างผลาญทรัพย์ที่ตนได้แล้ว ๆ, ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งผู้ฉิบหาย

        อุป นียติ ชีวิตมปฺปมายุ ํ ชรูปนีตสฺส น สนฺติ ตาณา เอตํ ภยํ มรเณ เปกฺขามาโน โลกามิสํ ปชเห สนฺติเปกฺโข     :     ชีวิตคืออายุอันน้อยนี้ ถูกชรานำเข้าไป เมื่อสัตว์ถูกชรานำเข้าไปแล้ว ย่อมไม่มีเครื่องต้านทาน ผู้เล็งเห็นภัยในมรณะนั้น มุ่งความสงบ พึงละโลกามิสเสีย

        น ปเรสํ วิโลมานิ น ปเรสํ กตากตํ อตฺตโน ว อเวกฺเขยฺย กตานิ อกตานิ จ     :     ไม่ควรฟังคำก้าวร้าวของคนอื่น, ไม่ควรมองดูการงานของคนอื่นที่เขาทำแล้วและยังไม่ได้ทำ, ควรพิจารณาดูแต่การงานของตนที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำเท่านั้น

        ยถา ปิ มูเล อนุปทฺทเว ทฬฺเห ฉินฺโนปิ รุกฺโข ปุนเรว รูหติ เอวฺมปิ ตณฺหานุสเย อนูหเต นิพฺพตฺตติ ทุกฺขมิทํ ปุนปฺปุนํ     :     เมื่อรากยังมั่นคงไม่มีอันตราย ต้นไม้แม้ถูกตัด แล้วย่อมงอกได้อีกฉันใด เมื่อตัณหานุสัยยังไม่ถูกกำจัดแล้ว ทุกข์นี้ย่อมเกิดร่ำไปฉันนั้น

        หิริโอตฺตปฺปญฺเญว โลกํ ปาเลติ สาธุกํ     :     หิริและโอตตัปปะ ย่อมรักษาโลกไว้เป็นอันดี 

        โลโกปตฺถมฺภิกา เมตฺตา     :     เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก 

        อรติ โลกนาสิกา     :     ความริษยาเป็นเหตุทำโลกให้ฉิบหาย 

        อโรคฺยปรมา ลาภา     :     ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง 

        กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพาเนว สหตฺตนา     :     กาลเวลา ย่อมกินสรรพสัตว์พร้อมทั้งตัวมันเอง 

        สพฺพญฺจ ปฐวึ ทชฺชา นากตญฺญุมภิราธเย     :     ถึงให้แผ่นดินทั้งหมด ก็ยังคนอกตัญญูให้จงรักไม่ได้ 

        หนนฺติ โภคา ทุมฺเมธํ     :     โภคทรัพย์ ย่อมฆ่าคนมีปัญญาทราม 

        สกฺกาโร กาปุริสํ หนฺติ     :     สักการะ ย่อมฆ่าคนชั่วเสีย 

        นตฺถิ โลเก รโห นาม ปาปกมฺมํ ปกุพฺพโต     :     ชื่อว่าที่ลับของผู้ทำบาปกรรม ไม่มีในโลก 
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.

         


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น