พุทธศาสนสุภาษิต : พระราชา
คำบาลี = ราชา รฏฺฐสฺส ปญฺญาณํ
คำอ่าน = ราชา ระตะทัดสะ ปันยานัง
คำแปล = พระราชาเป็นเครื่องปรากฏของแว่นแคว้น
คำบาลี = ราชา มุขํ นุสฺสสานํ
คำอ่าน = ราชา มุขัง นุสสะสานัง
คำแปล = พระราชาเป็นประมุขของประชาชน
คำบาลี = สพฺพํ รฏฺฐํ สุขํ โหตุ ราชา เจ โหติ ธมฺมิโก
คำอ่าน = สับพัง ระตะถัง สุขัง โหตุ ราชา เจโหติ ธัมมิโก
คำแปล = ถ้าพระราชาเป็นผู้ทรงธรรม ราษฎรทั้งปวงก็เป็นสุข
คำบาลี = กุทฺธํ อปฺปฏิกุชฺฌนฺโต ราชา รฏฺฐสฺส ปูชิโต
คำอ่าน = กุดทัง อับปะติ กุดชันโต ราชา ระตะถัดสะ ปูชิโต
คำแปล = พระราชาผู้ไม่กริ้วตอบผู้โกรธ ราษฎรก็บูชา
คำบาลี = สนฺนทฺโธ ขตฺติโย ตปติ
คำอ่าน = สันนัดโท ขัดติโย อะปะติ
คำแปล = พระมหากษัตริย์ทรงเครื่องรบย่อมสง่า
คำบาลี = ขตฺติโย เสฏฺโฐ ชเนตสฺมิง เย โคตฺตปฏิสาริโน
คำอ่าน = ขัดติโย เสฏะโถ ชะเนตัดมิงเย โคตตะปะฏิสาริโน
คำแปล = พระมหากษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่ชนผู้รังเกียจด้วยสกุล
************************************************
พุทธศาสนสุภาษิต : สิ่งที่เป็นการยาก
คำบาลี = กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ
คำอ่าน = กิดโฉ มะนุดสะ ปะติลาโภ
แปลว่า = ความได้เป็นมนุษย์เป็นการยาก
คำบาลี = กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ
คำอ่าน = กิดฉัง มัดจานะ ชีวิตัง
คำแปล = ความเป็นอยู่ของสัตว์เป็นการยาก
คำบาลี = กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ
คำอ่าน = กิดฉัง สัดธัมมัด สะวะนัง
คำแปล = การฟังธรรมของสัตบุรุษเป็นการยาก
คำบาลี = กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท
คำอ่าน = กิดโฉ พุดทานะ มุบปาโท
คำแปล = ความเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้เป็นการยาก
คำบาลี = ทุลฺลภํ ทสฺสนํ โหติ สมฺพุทฺธานํ อภิณฺหโส
คำอ่าน = ทุนละพัง ทัดสะนัง โหติสำพุดทานัง อะพินหะโส
คำแปล = การเห็นพระพุทธเจ้าเนืองๆ เป็นการหาได้ยาก
*********************************************
พุทธศาสนสุภาษิต : ทรัพย์และอนิจจัง
คำบาลี = น จาปิ วิตฺเตน ชรํ วิหนฺติ
คำอ่าน = นะจาปิ วิดเตนะ ชะรัง วิหันติ
คำแปล = กำจัดความแก่ด้วยทรัพย์ไม่ได้
คำบาลี = น ทีฆมายุง ลภเต ธเนน
คำอ่าน = นะทีคะมายุง ละพะเต ทะเนนะ
คำแปล = คนไม่ได้อายุยืนเพราะทรัพย์
คำบาลี = สพฺเพ ว นิกฺขิปิสฺสนฺติ ภูตา โลเก สมุสฺสยํ
คำอ่าน = สับเพวะ นิกขิปิดสันติ พูตาโลเก สะมัดสะยัง
คำแปล = สัตว์ทั้งปวง จักทอดทิ้งร่างไว้ในโลก
คำบาลี = อฑฺฒา เจว ทฬิทฺทา จ สพฺเพ มจฺจุปรายนา
คำอ่าน = อัดทาเจวะ ทะลิดทา จะสับเพ มัดจุปะรายะนา
คำแปล = ทั้งคนมีทั้งคนจน ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า
คำบาลี = อปฺปกญฺจิทํ ชีวตมาหุธีรา
คำอ่าน = อับปะกันจิทัง ชีวะตะมาหุทีรา
คำแปล = ปราชญ์กล่าวว่าชีวิตนี้น้อยนัก
คำบาลี = น หิ โน สงฺครนฺเตน มหาเสเนน มจฺจุนา
คำอ่าน = นะหิโน สังคะรันเตนะ มะหาเสเนนะ มัดจุนา
คำแปล = ความผัดเพื่อนกับมฤตยู อันมีกองทัพใหญ่นั้น ไม่ได้เลย
คำบาลี = ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ
อ่านว่า = ยังกินจิ สะมุทะยะทำมัง สับพันตัง นิโรทะทำมัง
คำแปล = สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา
คำบาลี = ชรูปนีตสฺส น สนฺติ ตาณา
คำอ่าน = ชะรูปะนีตัดสะ นะสันติตานา
คำแปล = เมื่อสัตว์ถูกชรานำเข้าไปแล้ว ไม่มีผู้ป้องกัน
คำบาลี = สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
คำอ่าน = สังขารา ปะระมา ทุกขา
คำแปล = สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
คำบาลี = ขโณ โว มา อุปจฺจคา
อ่านว่า = ขะโน โวมา อุปัดจะคา
คำแปล = ขณะอย่าล่วงท่านทั้งหลายไปเสีย
คำบาลี = อติปตฺติ วโย ขโณ ตเถว
คำอ่าน = อัดติปัดติ วะโยขะโน ตะเถวะ
คำแปล = วัยย่อมผ้านพ้นไปเหมือนขณะทีเดียว
คำบาลี = กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพาเนว สหตฺตนา
คำอ่าน = กาโล คะสะติ พูตานิ สับพาเนวะ สะหัดตะนา
คำแปล = กาลเวลาย่อมกินสรรพสัตว์กับทั้งตัวมันเอง
****************************************
พุทธศาสนสุภาษิต : ความโกรธ
คำบาลี = โกธํ ฆตฺวา น โสจติ
คำอ่าน = โกทัง คัดวานะ โสจะติ
คำแปล = ฆ่าความโกรธได้แล้วย่อมไม่เศร้าโศก
คำบาลี = โกโธ สตฺถมลํ โลเก
คำอ่าน = โกโท สัดถะมะลัง โลเก
คำแปล = ความโกรธเป็นดังสนิมศัสตราในโลก
***********************************
พระพุทธศาสนสุภาษิต : หมวดบุคคล
คำบาลี = กมฺมุนา วตฺตตี โลโก
คำอ่าน = กัมมุนา วัดตะตี โลโก
คำแปล = สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม
คำบาลี = อปฺปมาโท อมตํ ปทํ
คำอ่าน = อับปะมาโท อะมะตัง ปะทัง
คำแปล = ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย
คำบาลี = อนากุลา จ กมฺมนฺตา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
คำอ่าน = อะนากุลา จะ กัมมันตา เอตัมมัง คะละมุดตะมัง
คำแปล = การงานไม่คั่งค้างสับสน เป็นมงคลอันสูงสุด
คำบาลี = โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ
คำอ่าน = โกธัง คัดวา สุขัง เสติ
คำแปล = ฆ่าความโกรธได้แล้ว นอนเป็นสุข
คำบาลี = จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ
คำอ่าน = จิตตัง ทันตัง สุขาวะหัง
คำแปล = จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้
คำบาลี = นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา
คำอ่าน = นัดถิ ปันยาสะมา อาภา
คำแปล = แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี
คำบาลี = นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ
คำอ่าน = นิบพานัง ปะระมัง สุขัง
คำแปล = นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
คำบาลี = วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ
คำอ่าน = วิริเยนะ ทุกขะมัดเจติ
คำแปล = คนล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร
คำบาลี = สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ
คำอ่าน = สับพะทานัง ทัมมะทานัง ชินาติ
คำแปล = การให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง
คำบาลี = สีลํ อาภรณํ เสฏฐํ
คำอ่าน = สีลัง อาภะระณัง เสตะถัง
คำแปล = ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ
คำบาลี = สุขา สทฺธา ปติฏฐิตา
คำอ่าน = สุขา สัดทา ปะติตะถิตา
คำแปล = ศรัทธาตั้งมั่นแล้ว นำสุขมาให้
คำบาลี = สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺยโย
คำอ่าน = สุโข ปันยัดสะ อุดยะโย
คำแปล = การสร้างสมความดี นำสุขมาให้
คำบาลี = ยาทิสญฺจูปเสวติ โสปิ ตาทิสโก โหติ
คำอ่าน = ยาทิสันจูปะเสวะติ โสปิ ตาทิสะโก โหติ
คำแปล = คบคนเช่นใด ก็เป็นเช่นคนนั้น
ไม่คิดว่าจะมีผู้คนสนใจมากขนาดนี้
ไว้ว่างๆ จะแปลมาฝากอีกเรื่อยๆ นะคะ
(แปลมาก ตาลายได้เหมือนกัน อิอิ)
ผิดพลาดประการใดต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ ด้วยค่ะ
ทานวรรค คือ หมวดทาน
คำบาลี = นตฺถิ จิตฺเต ปสนฺนมฺหิ อปฺปกา นาม ทกฺขิณา.
คำอ่าน = นัตถิ จิตเต ปะสันนัมหิ อัปปะกา นามะทักขินา.
คำแปล= เมื่อจิตเลื่อมใสแล้ว ทักขิณาทานชื่อว่าน้อย ย่อมไม่มี.
คำบาลี = วิเจยฺย ทานํ สุคตปฺปสตฺถํ.
คำอ่าน = วิเจยยะ ทานัง สุคะตัปปะสัตถัง.
คำแปล= การเลือกให้ อันพระสุคตทรงสรรเสริญ.
คำบาลี = พาลา หเว นปฺปสํสนฺติ ทานํ.
คำอ่าน = พาลา หะเว นัปปะสังสันติ ทานัง.
คำแปล= คนพาลเท่านั้น ย่อมไม่สรรเสริญทาน.
คำบาลี = ททํ มิตฺตานิ คนฺถติ.
คำอ่าน = ทะทัง มิตตานิ คันถะติ.
คำแปล= ผู้ให้ ย่อมผูกไมตรีไว้ได้.
คำบาลี = ททํ ปิโย โหติ ภชนฺติ นํ พหู.
คำอ่าน = ทะทัง ปิโย โหติ ภะชันติ นังพะหู.
คำแปล= ผู้ให้ ย่อมเป็นที่รัก คนหมู่มากย่อมคบเขา.
คำบาลี = ททมาโน ปิโย โหติ.
คำอ่าน = ทะทะมาโน ปิโยโหติ.
คำแปล= ผู้ให้ ย่อมเป็นที่รัก.
คำบาลี = สุขสฺส ทาตา เมธาวี สุขํ โส อธิคจฺฉติ.
คำอ่าน = สุขัดสะ ทาตาเมธาวี สุขัง โส อะทิคัดฉะติ.
คำแปล= ปราชญ์ผู้ให้ความสุข ย่อมได้รับความสุข.
คำบาลี = มนาปทายี ลภเต มนาปํ.
คำอ่าน = มะนาปะทายี ละพะเต มะนาปัง.
คำแปล= ผู้ให้สิ่งที่ชอบใจ ย่อมได้สิ่งที่ชอบใจ.
คำบาลี = เสฏฺฐนฺทโท เสฏฺฐมุเปติ ฐานํ
คำอ่าน = เสตะทันทะโท เสตะทัมเปติ ทานัง
คำแปล= ผู้ให้สิ่งประเสริฐ ย่อมถึงฐานะที่ประเสริฐ.
คำบาลี = อคฺคสฺส ทาตา ลภเต ปุนคฺคํ.
คำอ่าน = อักคะสัด ทาตา ละพะเต ปุนักคัง
คำแปล= ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ย่อมได้สิ่งที่เลิศอีก
อัตตวรรค คือ หมวดตน
คำบาลี = อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ.
คำอ่าน = อัตตา หิ อัตตะโน นาโถ.
คำแปล = ตนแล เป็นที่พึ่งของตน.
คำบาลี = อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย.
คำอ่าน = อัตตา หะเวชิตัง เสยุโย.
คำแปล = ชนะตนนั่นแหละ เป็นดี.
คำบาลี = อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม.
คำอ่าน = อัตตา หิ กิระ ทัดทะโม.
คำแปล = ได้ยินว่าตนแล ฝึกได้ยาก.
คำบาลี = อตฺตา หิ อตฺตโน คติ.
คำอ่าน = อัตตา หิ อัตตะโน คะติ.
คำแปล = ตนเทียว เป็นคติของตน.
ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม
คำบาลี = ธมฺโม รหโท อกทฺทโม.
คำอ่าน = ธัมโม ระหะโท อะกัดทะโม.
คำแปล = ธรรมเหมือนห้วงน้ำไม่มีตม.
คำบาลี = มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา.
คำอ่าน = มะโน ปุบพังคะมา ธัมมา.
คำแปล = ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า.
คำบาลี = ธมฺโม หิ อิสินํ ธโช.
คำอ่าน = ธัมโม หิ อิสินัง ธะโช.
คำแปล = ธรรมแล เป็นธงชัยของพวกฤษี.
คำบาลี = สตํ ธมฺโม ทุรนฺวโย.
คำอ่าน = สะตัง ธัมโม ทุรันวะโย
คำแปล = ธรรมของสัตบุรุษ รู้ได้ยาก.
คำบาลี = สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปติ.
คำอ่าน = สะตันจะ ธัมโม นะชะรัง อุเปติ.
คำแปล = ธรรมของสัตบุรุษ ไม่เข้าถึงความคร่ำคร่า.
คำบาลี = สทฺธมฺโม สพฺภิ รกฺขิโต.
คำอ่าน = สัดธัมโม สับพิ รักขิโต.
คำแปล = ธรรมของสัตบุรุษ อันสัตบุรุษรักษา.
คำบาลี = ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ.
คำอ่าน = ธัมโม สุจินโน สุขะมาวะหาติ.
คำแปล = ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำสุขมาให้.
คำบาลี = สพฺเพสํ สหิโต โหติ สทฺธมฺเม สุปติฏฺฐิโต.
คำอ่าน = สับเพสัง สะหิโต โหติ สัดธัมเม สุปะติตะถิโต
คำแปล = ผู้ตั้งมั่นในสัทธรรม เป็นผู้เกื้อกูลแก่คนทั้งปวง.
คำบาลี = ธมฺมปีติ สุขํ เสติ.
คำอ่าน = ธัมมะปิติ สุขังเสติ.
คำแปล = ผู้มีปีติในธรรม อยู่เป็นสุข.
คำบาลี = ธมฺมจารี สุขํ เสติ.
คำอ่าน = ธัมมะจารี สุขังเสติ.
คำแปล = ผู้ประพฤติธรรม อยู่เป็นสุข.
คำบาลี = ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺจารี.
คำอ่าน = ธัมโม หะเวรักขะติ ธัมจารี.
คำแปล = ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม.
คำบาลี = น ทุคฺคติ คจฺฉติ ธมฺมจารี.
คำอ่าน = นะ ทุกคะติ คัดฉะติ ธัมจารี
คำแปล = ผู้ประพฤติธรรม ไม่ไปสู่ทุคติ.
คำบาลี = ธมฺเม ฐิตํ น วิชหาติ กิตฺติ.
คำอ่าน = ธัมเม ถิตัง นะวิชะหาติ กิตติ.
คำแปล = เกียรติ ย่อมไม่ละผู้ตั้งอยู่ในธรรม.
คำบาลี = ธมฺเม ฐิตา เย น กโรนฺติ ปาปกํ.
คำอ่าน = ธัมเม ถิตา เยนะกะโรนติ ปาปะกัง.
คำแปล = ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่ทำบาป.
คำบาลี = สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย.
คำอ่าน = สับเพ ธัมมา นาลัง อะพินิเวสายะ
คำแปล = สภาวธรรมทั้งปวง ไม่ควรถือมั่น.
คำบาลี = โยนิโส วิจิเน ธมฺมํ.
คำอ่าน = โยนิโส วิเจเน ธัมมัง.
คำแปล = พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย.
คำบาลี = ธมฺมํ จเร สุจิตํ น ตํ ทุจฺจริตํ จเร.
คำอ่าน = ธัมมัง จะเรสุจิตัง นะตังทุดจะริตัง จะเร.
คำแปล = พึงประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่ควรประพฤติให้ทุจริต.
คำบาลี = สทฺธมฺโม ครุกาตพฺโพ.
คำอ่าน = สัตธัมโม คะรุกาตับโพ.
คำแปล = ควรเคารพสัทธรรม.
คำบาลี = กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย.
คำอ่าน = กันหัง ธัมมัง วิบปะหายะ
คำแปล = บัณฑิตควรละธรรมดำเสีย.
คำบาลี = สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต.
คำอ่าน = สุกกัง พาเวถะ ปันทิโต.
คำแปล = บัณฑิตควรเจริญธรรมขาว.
********************************
ทุกขวรรค คือ หมวดทุกข์
คำบาลี = นตฺถิ ขนฺธสมา ทุกฺขา.
คำอ่าน = นัดถิ ขันทะสะมา ทุกขา.
คำแปล = ทุกข์เสมอด้วยขันธ์ ไม่มี.
คำบาลี = สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา.
คำอ่าน = สังขารา ปะระมา ทุกขา.
คำแปล = สังขาร เป็นทุกข์อย่างยิ่ง.
คำบาลี = ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา.
คำอ่าน = ทุราวาสา คะรา ทุกขา.
คำแปล = เหย้าเรือนที่ปกครองไม่ดี นำทุกข์มาให้.
คำบาลี = ทฬิทฺทิยํ ทุกขํ โลเก.
คำอ่าน = ทะลิดทิยัง ทุกขังโลเก.
คำแปล = ความจนเป็นทุกข์ในโลก.
คำบาลี = อิณาทานํ ทุกขํ โลเก.
คำอ่าน = อินาทานัง ทุกข์ขัง โลเก.
คำแปล = การกู้หนี้ เป็นทุกข์ในโลก.
คำบาลี = ทุกฺขํ อนาโถ วิหรติ.
คำอ่าน = ทุกขัง อะนาโถ วิหะระติ
คำแปล = คนไม่มีที่พึ่ง อยู่เป็นทุกข์.
คำบาลี = ทุกขํ เสติ ปราชิโต.
คำอ่าน = ทุกขัง เสติ ปะราชิโต.
คำแปล = ผู้แพ้ ย่อมอยู่เป็นทุกข์.
คำบาลี = อกิญฺจนํ นานุปตนฺติ ทุกฺขา.
คำอ่าน = อะกินจะนัง นานุปะตันติ ทุกขา.
คำแปล = ทุกข์ ย่อมไม่ตกถึงผู้หมดกังวล.
**********************************
ชยวรรค คือ หมวดชนะ
คำบาลี = ชยํ เวรํ ปสวติ.
คำอ่าน = ชะยัง เวรัง ปะสะวะติ.
คำแปล = ผู้ชนะ ย่อมก่อเวร.
คำบาลี = สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ.
คำอ่าน = สับพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ
คำแปล = การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง.
คำบาลี = สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ.
คำอ่าน = สับพะระสัง ธัมมะระโส ชินาติ
คำแปล = รสแห่งธรรม ย่อมชนะรสทั้งปวง.
คำบาลี = สพฺพรติ ธมฺมรติ ชินาติ.
คำอ่าน = สับพะระติ ธัมมะระติ ชินาติ
คำแปล = ความยินดีในธรรม ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง.
คำบาลี = ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ.
คำอ่าน = ตันหักขะโย สับพะทุกขัง ชินาติ
คำแปล = ความสิ้นตัณหา ย่อมชนะทุกทั้งปวง.
คำบาลี = ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ.
คำอ่าน = ตันหักคะโย สับพะทุกขัง ชินาติ
คำแปล = ความสิ้นตัณหา ย่อมชนะทุกทั้งปวง.
คำบาลี = น ตํ ชิตํ สาธุ ชิตํ ยํ ชิตํ อวชิยฺยติ.
คำอ่าน = นะตัง ชิตัง สาทุ ชิตังยัง ชิตัง อะวะชิยะติ
คำแปล = ความชนะใดที่ชนะแล้วกลับแพ้ได้ ความชนะนั้นไม่ดี.
คำบาลี = ตํ โข ชิตํ สาธุ ชิตํ ยํ ชิตํ นาวชิยฺยติ.
คำอ่าน = ตังโข ชิตัง สาทุ ชิตังยังชิตังนาวะชิยะติ
คำแปล = ความชนะใดที่ชนะแล้วไม่กลับแพ้ ความชนะนั้นดี.
คำบาลี = อกฺโกเธน ชิเน โกธํ.
คำอ่าน = อักโกเทนะ ชิเนโกทัง
คำแปล = พึงชนะความโกรธด้วยการไม่โกรธ.
คำบาลี = อสาธุํ สาธุนา ชิเน.
คำอ่าน = อะสาทุ สาทุนา ชิเน
คำแปล = พึงชนะคนไม่ดีด้วยความดี..
คำบาลี = ชิเน กทริยํ ทาเนน.
คำอ่าน = ชิเน กะทะริยัง ทาเนนะ
คำแปล = พึงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้.
คำบาลี = สจฺเจนาลิ กวาทินํ.
คำอ่าน = สัดเจนาลิ กะว่าทินัง
คำแปล = พึงชนะคนพูดปดด้วยคำจริง.
กัมมวรรค คือ หมวดกรรม
คำบาลี = กมฺมํ สตฺเต วิภชติ ยทิทํ หีนปฺปณีตตาย.
คำอ่าน = กัมมัง สัดเต วิภะชะติ ยะทิทัง หีนับปะนีตะตายะ
คำแปล = กรรมย่อมจำแนกสัตว์ คือให้ทรามและประณีต.
คำบาลี = ยงฺกิญฺจิ สิถิลํ กมฺมํ น ตํ โหติ มหปฺผลํ.
คำอ่าน = ยังกินจิ สิถิลัง กัมมัง นะตังโหติ มะหับผะลัง
คำแปล = การงานอะไร ๆ ที่ย่อหย่อน ย่อมไม่มีผลมาก.
คำบาลี = สานิ กมฺมานิ นยนฺติ ทุคฺคติ
คำอ่าน = สานิ กัมมานิ นะยันติ ทุกคะติ
คำแปล = กรรมชั่วของตนเอง ย่อมนำไปสู่ทุคติ.
คำบาลี = สาธุ ปาเปน ทุกฺกรํ.
คำอ่าน = สาธุ ปาเปนะ ทุกกะรัง
คำแปล = ความดี อันคนชั่วทำยาก.
คำบาลี = อกตํ ทุกฺกฏํ เสยฺโย.
คำอ่าน = อะกะตัง ทุกกะตัง เสยโย
คำแปล = ความชั่ว ไม่ทำเสียเลยดีกว่า.
คำบาลี = ปจฺฉา ตปฺปติ ทุกฺกฏํ.
คำอ่าน = ปัดฉา ตับปะติ ทุกกะตัง
คำแปล = ความชั่วย่อมเผาผลาญในภายหลัง.
คำบาลี = กตญฺจ สุกตํ เสยฺโย.
คำอ่าน = กะตันจะ สุกะตังเสยโย
คำแปล = ความดี ทำนั่นแล ดีกว่า.
คำบาลี = น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ.
คำอ่าน = นะตังกัมมัง กะตังสาธุ ยังกัดวา อะนุตับปะติ
คำแปล = ทำกรรมใดแล้วร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นไม่ดี.
คำบาลี = ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ.
คำอ่าน = ตันจะกัมมัง กะตังสาธุยัง กัดวานานุตับปะติ
คำแปล = ทำกรรมใดแล้วไม่ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นแลเป็นดี.
คำบาลี = สุกรานิ อสาธูนิ อตฺตโน อหิตานิ จ.
คำอ่าน = สุกะรานิ อะสาธูนิ อัตตะโน อะหิตานิจะ
คำแปล = การที่ไม่ดีและไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ทำได้ง่าย.
คำบาลี = ยํ เว หิตญฺจ สาธุญฺจ ตํ เว ปรมทุกฺกรํ.
คำอ่าน = ยังเวหิตันจะ สาทันจะตังเว ปะระมะทุกกะรัง
คำแปล = การใดแลเป็นประโยชน์ด้วย ดีด้วย การนั้นแลทำได้ยากยิ่ง.
คำบาลี = น หิ ตํ สุลภํ โหติ สุขํ ทุกฺกฏการินา.
คำอ่าน = นะหิตัง สุละพังโหติ สุขัง ทุกกะตะการินา
คำแปล = สุขไม่เป็นผลอันคนทำชั่วจะได้ง่ายเลย.
คำบาลี = กลฺยาณการี กลฺยาณํ. ปาปการี จ ปาปกํ.
คำอ่าน = กันยานะการี กันยานัง ปาปะการี จะปาปะกัง
คำแปล = สัตวโลกย่อมเป็นไปตามกรรม.
คำบาลี = นิสมฺม กรณํ เสยฺโย.
คำอ่าน = นิสัมมะ กะระนัง เสยโย
คำแปล = ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ ดีกว่า.
คำบาลี = กตสฺส นตฺถิ ปฏิการํ.
คำอ่าน = กะตัดสะ นัดถิ ปะติการัง
คำแปล = สิ่งที่ทำแล้ว ทำคืนไม่ได้.
คำบาลี = กยิรา เจ กยิราเถนํ.
คำอ่าน = กะยิราเจ กะยิราเถนัง
คำแปล = ถ้าจะทำ ก็พึงทำการนั้น (จริง ๆ).
คำบาลี = กเรยฺย วากฺยํ อนุกมฺปกานํ.
คำอ่าน = กะเรยยะ วากุยัง อะนุกัมปะกานัง
คำแปล = ควรทำตามถ้อยคำของผู้เอ็นดู.
คำบาลี = กาลานุรูปํว ธุรํ นิยุญฺเช.
คำอ่าน = กาลานุรูปังวะ ธุรังนิยุนเช
คำแปล = พึงประกอบธุระให้เหมาะแก่กาลเทียว.
คำบาลี = รกฺเขยฺย อตฺตโน สาธุํ ลวณํ โลณตํ ยถา.
คำอ่าน = รักเขยยะ อัตตะโนสาทัง ละวะนังโลนะตัง ยะถา
คำแปล = พึงรักษาความดีของตนไว้ ดังเกลือรักษาความเค็ม.
คำบาลี = กิจฺจานุกุพฺพสฺส กเรยฺย กิจฺจํ
คำอ่าน = กิดจานุกุบพัดสะ กะเรยยะกิดจัง
คำแปล = พึงทำกิจแก่ผู้ช่วยทำกิจ.
คำบาลี = นานตฺถกามสฺส กเรยฺย อตฺถํ.
คำอ่าน = นานัดถะกามัดสะ กะเรยยะอัตถัง
คำแปล = ไม่พึงทำประโยชน์แก่ผู้มุ่งความพินาศ.
คำบาลี = มา จ สาวชฺชมาคมา.
คำอ่าน = มาจะ สาวัดชะมาคะมา
คำแปล = อย่ามาถึงกรรมอันมีโทษเลย.
******************************
อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท
คำบาลี = อปฺปมาโท อมตํปทํ.
คำอ่าน = อับปะมาโท อะมะตังปะทัง
คำแปล = ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย.
คำบาลี = อปฺปมาทญฺจ เมธาวี ธนํ เสฏฺฐํว รกฺขติ
คำอ่าน = อับปะมาทันจะ เมทาวีทะนัง เสตะถังวะ รักขะติ
คำแปล = ปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์ประเสริฐสุด.
คำบาลี = อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ.
คำอ่าน = อับปะมาทัง ปะสังสันติ
คำแปล = บัณฑิตย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท.
คำบาลี = อปฺปมาเท ปโมทนฺติ.
คำอ่าน = อับปะมาเท ปะโมทันติ
คำแปล = บัณฑิตย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท.
คำบาลี = อปฺปมตฺตา น มียนฺติ.
คำอ่าน = อับปะมัดตา นะมียันติ
คำแปล = ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย.
คำบาลี = อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต ปปฺโปติ วิปุลํ สุขํ.
คำอ่าน = อับปะมัดโต หิชายันโต ปับโปติ วิปุลัง สุขัง
คำแปล = ผู้ไม่ประมาทพินิจอยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์.
คำบาลี = อปฺปมตฺโต อุโภ อตฺเถ อธิคฺคณหาติ ปณฺฑิโต.
คำอ่าน = อับปะมัดโต อุโพ อัดเถ อะทิกคะนะหาติ ปันทิโต
คำแปล = บัณฑิตผู้ไม่ประมาท ย่อมได้รับประโยชน์ทั้งสอง.
คำบาลี = อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ.
คำอ่าน = อับปะมาเทนะ สัมปาเทถะ
คำแปล = ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม.
คำบาลี = อปฺปมาทรตา โหถ.
คำอ่าน = อับปะมาทะระตา โหถะ
คำแปล = ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท.
++++++++++++++++++++++++++++
กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส
คำบาลี = สงฺกปฺปราโค ปุริสสฺส กาโม.
คำอ่าน = สังกับปะราโค ปุริสัดสะ กาโม
คำแปล = ความกำหนัดเพราะดำริ เป็นกามของคน.
คำบาลี = น สนฺติ กามา มนุเชสุ นิจฺจา.
คำอ่าน = นะสันติ กามา มะนุเชสุ นิดจา
คำแปล = กามทั้งหลายที่เที่ยง ไม่มีในมนุษย์.
คำบาลี = กาเมหิ โลกมฺหิ น อตฺถิ ติตฺติ.
คำอ่าน = กาเมหิ โลกัมหิ นะอัดถิ ติดติ
คำแปล = ความอิ่มด้วยกามทั้งหลาย ไม่มีในโลก.
คำบาลี = น กหาปณวสฺเสน ติตฺติ กาเมสุ วิชฺชติ.
คำอ่าน = นะกะหาปะนะวัดเสนะ ติดติ กาเมสุ วิดชะติ
ความอิ่มในกามทั้งหลาย ย่อมไม่มีเพราะฝนคือกหาปณะ.
คำบาลี = นตฺถิ กามา ปรํ ทุกฺขํ.
คำอ่าน = นัดถิกามา ปะรังทุกขัง
คำแปล = ทุกข์ (อื่น) ยิ่งกว่ากาม ย่อมไม่มี.
คำบาลี = นตฺถิ ตณฺหาสมา นที.
คำอ่าน = นัดถิ ตันหาสะมา นะที
คำแปล = แม่น้ำเสมอด้วยตัณหา ไม่มี.
คำบาลี = อิจฺฉา โลกสฺมิ ทุชฺชหา.
คำอ่าน = อิดฉา โลกัดมิ ทุดชะหา
คำแปล = ความอยากละได้ยากในโลก.
คำบาลี = อิจฺฉา หิ อนนฺตโคจรา.
คำอ่าน = อิดฉาหิ อะนันตะโคจะรา
คำแปล = ความอยากมีอารมณ์หาที่สุดมิได้เลย.
คำบาลี = อิจฺฉา นรํ ปริกสฺสติ.
คำอ่าน = อิดฉานะรัง ปะริกัดสะติ
คำแปล = ความอยากย่อมเสือไสซึ่งนรชน.
คำบาลี = นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ.
คำอ่าน = นัดถิ ราคะสะโม อักคิ
คำแปล = ไฟเสมอด้วยราคะ ไม่มี.
คำบาลี = โลโภ ธมฺมานํ ปริปนฺโถ.
คำอ่าน = โลโพ ธัมมานัง ปะริปันโถ
คำแปล = ความโลภเป็นอันตรายแห่งธรรมทั้งหลาย.
คำบาลี = อติโลโภ หิ ปาปโก.
คำอ่าน = อะติโลโพ หิปาปะโก
คำแปล = ความละโมบเป็นบาปแท้.
คำบาลี = นตฺถิ โมหสมํ ชาลํ.
คำอ่าน = นัดถิ โมสะหะมัง ชาลัง
คำแปล = ข่ายเสมอด้วยโมหะ ไม่มี.
คำบาลี = ภิยฺโย จ กาเม อภิปตฺถยนฺติ.
คำอ่าน = พิโยจะกาเม อะพิปัดถะยันติ
คำแปล = ผู้บริโภคกาม ย่อมปรารถนากามยิ่งขึ้นไป.
คำบาลี = อูนา ว หุตฺวาน ชหนฺติ เทหํ.
คำอ่าน = อูนาวะ หุดวานะ ชะหันติเทหัง
คำแปล = ผู้บริโภคกามเป็นผู้พร่อง ละร่างกายไป.
คำบาลี = โภคตณฺหาย ทุมฺเมโธ หนฺติ อญฺเว อตฺตนํ.
คำอ่าน = โพคะตันหายะ ทำเมโท หันติอันเว อัดตะนัง
คำแปล = ผู้มีปัญญาทราม ย่อมฆ่าตนเองเหมือนฆ่าผู้อื่น เพราะอยากได้ โภคทรัพย์.
คำบาลี = อวิชฺชานิวุตา โปสา.
คำอ่าน = อะนิดชานิวุตา โปสา
คำแปล = คนทั้งหลายอันอวิชชาหุ้มห่อไว้.
****************************
จิตตวรรค คือ หมวดจิต
คำบาลี = จิตฺเต สงฺกิลิฏเฐ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา.
คำอ่าน = จิดเต สังกิลิตะเถ ทุกคะติ ปาติกังขา
คำแปล = เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันต้องหวัง.
คำบาลี = จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา.
คำอ่าน = จิดเต อะสังกิลิตะเถ สุคะติ ปาติกังขา
คำแปล = เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้
คำบาลี = จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ.
คำอ่าน = จิดตัดสะ ทะมะโถ สาธุ
คำแปล = การฝึกจิตเป็นความดี.
คำบาลี = จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ.
คำอ่าน = จิดตัง ทันตัง สุขาวะหัง
คำแปล = จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้.
คำบาลี = จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ.
คำอ่าน = จิดตัง คุดตัง สุขาวะหัง
คำแปล = จิตที่คุ้มครองแล้ว นำสุขมาให้.
คำบาลี = จิตฺตํ อตฺตโน อุชุกมกํสุ.
คำอ่าน = จิดตัง อัดตะโน อุชุกะมะกังสุ
คำแปล = คนฉลาดได้ทำจิตของตนให้ซื่อตรง.
คำบาลี = สจิตฺตปริยายกุสลา ภเวยฺยุํ.
คำอ่าน = สะจิดตะ ปะริยายะกุสะลา พะเวยยุ
คำแปล = พึงเป็นผู้ฉลาดในกระบวนจิตของตน.
คำบาลี = เตลปตฺตํ ยถา ปริหเรยฺย เอวํ สจิตฺตมนุรกฺเข.
คำอ่าน = เตละปัดตังยะถา ปะริหะเรยยะเอวัง สะจิดตะมะนุรักเข
คำแปล = พึงรักษาจิตของตน. เหมือนคนประคองบาตรเต็มด้วยน้ำมัน.
คำบาลี = สจิตฺตมนุรกฺขถ.
คำอ่าน = สะจิดตะมะ นุรักขะถะ
คำแปล = จงตามรักษาจิตของตน.
คำบาลี = จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี.
คำอ่าน = จิดตัง รักเขถะ เมธาวี
คำแปล = ผู้มีปัญญาพึงรักษาจิต.
คำบาลี = ยโต ยโต จ ปาปกํ ตโต ตโต มโน นิวารเย.
คำอ่าน = ยะโตยะโต จะปาปะกัง ตะโตตะโต นะโม นิวาระเย
คำแปล = ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้นๆ
************************************************
โกธวรรค คือ หมวดโกรธ
คำบาลี = น หิ สาธุ โกโธ.
คำอ่าน = นะหิ สาธุ โกโธ
คำแปล = ความโกรธไม่ดีเลย.
คำบาลี = โกโธ สตฺถมลํ โลเก.
คำอ่าน = โกโธ สัดถะมะลัง โลเก
คำแปล = ความโกรธเป็นดังสนิมศัสตราในโลก.
คำบาลี = อนตฺถชนโน โกโธ.
คำอ่าน = อะนัดถะชะนะโน โกโธ
คำแปล = ความโกรธก่อความพินาศ.
คำบาลี = อนฺธตมํ ตทา โหติ ยํ โกโธ สหเต นรํ.
คำอ่าน = อันทะตะมัง ตะทาโหติ ยังโกโท สะหะเตนะรัง
คำแปล = ความโกรธครอบงำนรชนเมื่อใด ความมืดมนย่อมมีเมื่อนั้น
คำบาลี = อปฺโป หุตฺวา พหุ โหติ วฑฺฒเต โส อขนฺติโช.
คำอ่าน = อับโป หุดวา พะหุโหติ วัดทะเตโส อะขันติโช
คำแปล = ความโกรธน้อยแล้วมาก มันเกิดจากความไม่อดทนจึงทวีขึ้น.
คำบาลี = โกโธ ทุมฺเมธโคจโร.
คำอ่าน = โกโธ ทุมเมทะ โคจะโร
คำแปล = ความโกรธเป็นอารมณ์ของคนมีปัญญาทราม.
คำบาลี = โทโส โกธสมุฏฺฐาโน.
คำอ่าน = โทโส โกทะสะมุตะถาโน
คำแปล = โทสะมีความโกรธเป็นสมุฏฐาน.
คำบาลี = นตฺถิ โทสสโม คโห.
คำอ่าน = นัดถิ โทสะสะโม คะโห
คำแปล = ผู้จับเสมอด้วยโทสะ ไม่มี.
๘๙.
คำบาลี = นตฺถิ โทสสโม กลิ.
คำอ่าน = นัดถิ โทสะสะโมกะลิ
คำแปล = ความผิดเสมอด้วยโทสะไม่มี.
คำบาลี = โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ.
คำอ่าน = โกทัง คัดวา สุขังเสติ
คำแปล = ฆ่าความโกรธได้ อยู่เป็นสุข.
คำบาลี = โกธํ ฆตฺวา น โสจติ.
คำอ่าน = โกทัง คัดวา นะโสจะติ
คำแปล = ฆ่าความโกรธได้ ไม่เศร้าโศก.
คำบาลี = โกธาภิภูโต กุสลํ ชหาติ.
คำอ่าน = โกธาภิภูโต กุสะลัง ชะหาติ
คำแปล = ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมละกุศลเสีย.
คำบาลี = โกธโน ทุพฺพณฺโณ โหติ.
คำอ่าน = โกทะโน ทุบพันโน โหติ
คำแปล = คนมักโกรธ ย่อมมีผิวพรรณเศร้าหมอง.
คำบาลี = ทุกฺขํ สยติ โกธโน.
คำอ่าน = ทุกขัง สะยะติ โกทะโน
คำแปล = คนมักโกรธ ย่อมอยู่เป็นทุกข์.
คำบาลี = อโถ อตฺถํ คเหตฺวาน อนตฺถํ ปฏิปชฺชติ.
คำอ่าน = อะโถอัดถัง คะเหดวานะ อะนัดถัง ปะติปัดชะติ
คำแปล = คนมักโกรธถือเอาประโยชน์แล้ว กลับประพฤติไม่เป็นประโยชน์.
คำบาลี = โกธาภิภูโต ปุริโส ธนชานิ นิคจฺฉติ.
คำอ่าน = โกธาภิภูโต ปุริโส ทะนะชานิ นิคัดฉะติ
คำแปล = ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมถึงความเสื่อมทรัพย์.
คำบาลี = โกธสมฺมทสมฺมตฺโต อายสกฺยํ นิคจฺฉติ.
คำอ่าน = โกทะสัมมะทะ สัมมัดโต อายะสักยัง นิคัดฉะติ
คำแปล = ผู้เมามึนด้วยความโกรธ ย่อมถึงความไร้ยศศักดิ์.
คำบาลี = ญาติมิตฺตา สุหชฺชา จ ปริวชฺเชนฺติ โกธนํ.
คำอ่าน = ยาติมิดตา สุหัดชา จะ ปะริวัดเชนติ โกทะนัง
คำแปล = ญาติมิตรและสหาย ย่อมหลีกเลี่ยงคนมักโกรธ.
คำบาลี = กุทฺโธ อตฺถํ น ชานาติ.
คำอ่าน = กุดโท อัดถัง นะชานาติ
คำแปล = ผู้โกรธ ย่อมไม่รู้อรรถ.
คำบาลี = กุทฺโธ ธมฺมํ น ปสฺสติ.
คำอ่าน = กุดโทธัมมัง นะปัดสะติ
คำแปล = ผู้โกรธ ย่อมไม่เห็นธรรม.
คำบาลี = ยํ กุทฺโธ อุปโรเธติ สุกรํ วิย ทุกฺกรํ.
คำอ่าน = ยังกุดโท อุปะโรเทติ สุกะรัง วิยะทุกกะรัง
คำแปล = ผู้โกรธจะผลาญสิ่งใด สิ่งนั้นทำยากก็เหมือนทำง่าย.
คำบาลี = ปจฺฉา โส วิคเต โกเธ อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ.
คำอ่าน = ปัดฉาโสวิคะเต โกเท อักคิทัดโทวะ ตับปะติ
คำแปล = ภายหลัง เมื่อความโกรธหายแล้ว เขาย่อมเดือดร้อนเหมือน ถูกไฟไหม้.
คำบาลี = โกเธน อภิภูตสฺส น ทีปํ โหติ กิญฺจินํ.
คำอ่าน = โกเทนะ อะพิพูตัดสะ นะทีปังโหติ กินจินัง
คำแปล = ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมไม่มีที่พำนักสักนิดเดียว.
คำบาลี = หนฺติ กุทฺโธ สมาตรํ.
คำอ่าน = หันติกุดโท สะมาตะรัง
คำแปล = ย่อมฆ่ามารดาของตนได้.
คำบาลี = โกธชาโต ปราภโว.
คำอ่าน = โกทะชาโต ปะราพะโว
คำแปล = ผู้เกิดความโกรธแล้ว เป็นผู้ฉิบหาย.
คำบาลี = โกธํ ทเมน อุจฺฉินฺเท.
คำอ่าน = โกทัง ทะเมนะ อัดฉินเท
คำแปล = พึงตัดความโกรธด้วยความข่มใจ.
คำบาลี = มา โกธสฺส วสํ คมิ.
คำอ่าน = มาโกทัดสะ วะสังคะมิ
คำแปล = อย่าลุอำนาจความโกรธ.
***************************
เครดิต:baanbaimai.com ,fungdham.com/proverb.html ,96rangjai.com
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น