วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2563

หลักการบริหารทรัพย์

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
#หลักการบริหารทรัพย์4ส่วน ของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าท่านสอนเรื่องการใช้สอยทรัพย์ที่หามาได้ไว้ คือ ให้แบ่งทรัพย์ออกเป็น 4 ส่วน คือ 
1.ใช้หนี้เก่า 
2.ใช้หนี้ใหม่ 
3.ฝังดินไว้ 
4.ทิ้งลงเหว โดยแต่ละส่วนไม่จำเป็นต้องเท่ากัน แต่ให้เราพิจารณาตามความเหมาะสม ถูกต้อง ตรงธรรม ไม่แบ่งตามอำนาจของกิเลส
ต้องรู้จักประมาณ รู้ทางเจริญทรัพย์ และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ แล้วเลี้ยงชีพพอเหมาะ 
     #ใช้หนี้เก่า หมายความว่า ให้พ่อแม่ ผู้มีพระคุณ ตอบแทนบุญคุณที่ท่านเลี้ยงดูและสั่งสอนเรามา ทำให้เราสามารถมีชีวิตอยู่ได้
     #ใช้หนี้ใหม่ หมายความว่า ให้ครอบครัว ลูกเมีย หรือผู้อยู่ในปกครอง ที่เราสร้างขึ้นมาทีหลัง
     #ฝังดินไว้ หมายความว่า ให้ทำบุญ ทำทาน แบ่งปัน สร้างสาธารณะประโยชน์ ช่วยเหลือสังคม เพื่อนฝูง เผื่อภายภาคหน้าอาจจะได้พึ่งพิง เงินส่วนนี้คือเงินที่จะสร้างอนาคตที่ดีให้เราในวันหน้า จนถึงชาติหน้า
     #ทิ้งลงเหว หมายความว่า ใช้จ่ายตามจำเป็น กิน อยู่ ซื้อหาปัจจัยสี่ หรือสิ่งของที่ต้องการ สาเหตุที่ท่านเรียกว่า “ทิ้งเหว” เพราะเงินในส่วนนี้ใช้เท่าไหร่ก็ไม่เคยพอ ยิ่งใช้กิเลสก็ยิ่งงอก ท่านจึงให้ใช้แค่พอประมาณ ใช้อย่างมีสติ ไม่เป็นผู้ประมาทต่อการใช้จ่าย

เงินสี่ส่วนนี้ท่านไม่ได้จำกัดว่า ต้องแบ่งส่วนไหนมากส่วนไหนน้อย ดังนั้นจึงควรพิจารณาอย่างระมัดระวัง แบ่งไปตามเหตุผลที่ถูกต้องตรงธรรม ไม่ใช่แบ่งไปตามอำนาจของกิเลส นอกจากนี้ท่านยังกล่าวเตือนในเรื่องการกู้หนี้ยืมสินว่า เรื่องการกู้หนี้ยืมสินนั้น จะก่อให้เกิดความทุกข์ใจกับผู้ครองเรือนเป็นอย่างยิ่ง ทางที่ดีไม่ควรเป็นหนี้โดยเด็ดขาด!!!

เมื่อเรารู้วิธีการหาบริหารทรัพย์แล้ว ก็ให้นำมาใช้นะ อย่าประมาทว่าเราหาได้มาก ก็ใช้มาก เพราะถ้าเราใช้โดยไม่รู้ประมาณ เราก็ต้องเป็นทาสของทรัพย์นั้นไปตลอด คือต้องทำงานหนักเพื่อหาทรัพย์อยู่เรื่อยไป

1 ความคิดเห็น:

  1. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always be love. _/|\_

    ตอบลบ