วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2563

แผนนารีพิฆาต

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
“นางอัปสราเมนะกา” แผนนารีพิฆาต ยั่วสวาท ปลุกกำหนัด ตบะแตก
ใน “พาลกัณฑ์” (Bala Kanda) บทแรกแห่ง“มหากาพย์รามายณะ” (Rāmāyaṇa epic) สำนวนของวาลมิกิ (Vālmīki) ได้เล่าเรื่องราวของ “พระมหาฤๅษีวิศวามิตร” (Vishwamitra) หนึ่งในกลุ่มมหาฤๅษีแห่งสวรรค์ทั้ง 7 “สัปตฤๅษี” (Saptarishis) ที่ประกอบด้วย กัศยปะ(Kashap) อตริ (Atri) วศิษฐ์ (Vashistha) เกาตมะ (Gautam) อังคีรส (Angiras) ภรัทวาช (Bhardwaja) และวิศวามิตรผู้เป็นพระอาจารย์ขององค์ศรีรามและองค์ลักษมัณ
แต่เดิมนั้นพระวิศวามิตร เป็นกษัตริย์แห่งกันยากุพชะ พระนามว่า "ราชาวิศวารัส"  ครั้งหนึ่งได้เสด็จประพาสป่าเชิงเขาหิมาลัย ขณะจะเดินทางกลับ ก็ได้รับเชิญจากพระฤๅษี “วสิษฐ์” โอรสแห่งพระวรุณเทพ  ผู้เป็นทั้งเทพฤๅษีและพรหมฤษี บำเพ็ญตบะมานานกว่าหมื่นปี เป็นพระอาจารย์ของเหล่ากษัตริย์ที่ปกครองนครอโยธยา ให้ไปพำนักในอาศรมครับ 
.
เมื่อราชาไปถึงจึงได้พบกับแม่โค “สุรภี” โคสารพัดนึกอันเป็นหนึ่งในสิ่งวิเศษที่กำเนิดขึ้นมาจากการกวนเกษียรสมุทร สามารถเสกสรรอาหารเลิศรสนานาชนิดมาเลี้ยงดูผู้คนและไพร่พลจำนวนมากได้อย่างไม่มีหมดสิ้น
.
ราชาวิศวารัส จึงเกิดความต้องการครอบครองแม่วัวสุรภี จึงเอ่ยขอจากพระฤๅษีวสิษฐ์ โดยเสนอแลกเปลี่ยนกับทรัพย์สมบัติในท้องพระคลังและแผ่นดินของอาณาจักรอย่างละครึ่งหนึ่งเป็นการแลกเปลี่ยน แต่พระฤๅษีวสิษฐ์ไม่ยินยอม ด้วยเพราะแม่โคสุรภีเป็นสิ่งล้ำค่าที่เหล่าทวยเทพประทานให้แก่เหล่านักพรตดาบสมุนีผู้บำเพ็ญตบะ เพื่อจะได้ไม่ต้องใช้เวลาในการออกไปหาอาหาร 
.
ราชาวิศวารัสไม่พอพระทัย จึงสั่งให้ไพร่พลทหารจับตัว “โคนันทินี” ที่เป็นลูกของแม่โคสุรภี แต่แม่โคได้กล่าวเตือนว่า การกระทำอันหักหาญของราชานั้นเป็นการไม่ถูกต้อง และกล่าวแก่พระฤๅษีว่า ฤทธาของพราหมณ์มีมากกว่าฤทธาแห่งกษัตริย์ให้ลองใช้ดู พระฤๅษีวสิษฐ์จึงได้นึกขอเอาไพร่พลเนรมิตนับหมื่นนับแสนไม่มีวันหมดจากแม่โค ออกมาขับไล่กองทัพของพระราชาจนแตกพ่ายอย่างย่อยยับ พระราชาก็ยังไม่ยอมแพ้ พยายามจะใช้ดาบของตนสังหารพระฤๅษี แต่ดาบที่ฟันไปกระทบถูกไม้เท้าพรหมทัณฑ์ของพระมุนี  ได้แตกกระจายด้วยอำนาจแห่งฤทธิ์ตบะ
.
ราชาวิศวารัสที่พ่ายแพ้ จึงประกาศด้วยความแค้นว่า ตนนั้นจะออกบำเพ็ญตบะเพื่อบรรลุสู่ความเป็นพรหมฤๅษี ให้เสมอกับพระฤๅษีวสิษฐ์ และจะกลับมาล้างความอับอายในครั้งนี้ 
.
ราชาวิศวารัส ได้มอบราชสมบัติให้พระราชโอรส แล้วได้ออกบำเพ็ญตบะเพื่อแสวงหาอำนาจฤทธาที่ยิ่งใหญ่ พระองค์บำเพ็ญเพียรบูชาองค์พระศิวะจนสำเร็จเป็นราชฤๅษีสวรรค์ ได้รับศาสตราวุธประทานจากองค์มหาเทพ จึงได้กลับมายังอาศรมของมหาฤๅษีวสิษฐ์อีกครั้ง แต่ก็ยังพ่ายแพ้อำนาจแห่งพรหมฤๅษี จึงออกบำเพ็ญตบะบารมียาวนานนับ 10,000 ปี ทำให้ทั้งโลกได้ความบริสุทธิ์จากผลแห่งตบะ พระพรหมเทพจึงได้ปรากฏขึ้น ประทานความเป็นพรหมฤๅษี  ทัดเทียมเสมอพรหมฤาษีวสิษฐ์ มีพระนามใหม่ว่า "พรหมฤาษีวิศวามิตร" และพระพรหมยังได้ประทานศาสตราวุธ “ศรพรหมาศ” ให้
.
ท้าวตรีศังกุสุริยวงศ์ กษัตริย์นครอโยธยา มีความปรารถนาจะใคร่ได้ขึ้นสวรรค์ทั้งที่ยังเป็นมนุษย์ จึงได้ขอให้พระฤๅษีวสิษฐทำพิธีให้ แต่พระฤๅษีไม่ยอม ท้าวตรีศังกุจึงไปหาเหล่าพราหมณ์ผู้เป็นลูกศิษย์ 100 ตนของพระฤๅษีวสิษฐ ที่บำเพ็ญพรตอยู่ในป่าช่วยทำพิธีให้   แต่พราหมณ์ก็ไม่ยอม ท้าวตรีศังกุทรงพระพิโรธ ใช้วาจาผรุสวาทแก่เหล่าพรามณ์ จนถูกสาปให้เป็นจัณฑาล
.
ท้าวตรีศังกุจึงไปขอพระฤๅษีวิศวามิตรให้ทำพิธีให้ พระฤๅษีได้สั่งให้เหล่าพราหมณ์ทั้งหมดมาร่วมทำพิธี อย่างไม่มีข้อแม้ แต่พราหมณ์มโหทัยและลูกศิษย์ของพระฤๅษีวสิษฐทั้ง 100 ไม่ยอมมา จึงถูกสาปให้ตายลงอย่างฉับพลัน ให้ไปเกิดเป็นพวกมุษฏิกลามก นุ่งผ้าบังสุกุลกินเนื้อหมา 700 ชาติ ส่วนพราหมณ์มโหทัยนั้น ให้เป็นคนป่าที่มีใจดุร้าย กินเนื้อมนุษย์เป็นอาหารตลอดไป 
.
เหล่าพราหมณ์ฤๅษีอื่นๆ ต่างก็พากันเกรงกลัวอำนาจพระฤๅษีวิศวามิตร จึงจำใจยอมเข้าร่วมพิธีส่งท้าวตรีศังกุด้วย แต่กระนั้นเหล่าเทวดาก็ไม่ยอมรับให้ท้าวตรีศังกุขึ้นไปสู่สวรรค์ทั้งเป็น พระอินทราได้ไล่ท้าวตรีศังกุให้ตกลงมาจากฟากฟ้า พระฤๅษีวิศวามิตรก็สั่งให้ลอยขึ้นไป จนค้างอยู่กลางหาว พระฤๅษีวิศวามิตรจึงสร้างดาวสัปตฤกษ์ (ดาวจรเข้) ที่ทิศทักษิณและสร้างดาวอื่นๆ ขึ้นอีกเป็นอันมาก และประกาศว่าจะสร้างพระอินทราขึ้นใหม่อีกหนึ่งองค์  พอเริ่มสร้างเทวดาขึ้นใหม่ บรรดาเทวดา สิทธาและอสูร ต่างพากันร้องวิงวอนพระฤๅษีวิศวามิตรให้หยุดสร้าง  และยอมรับท้าวตรีศังกุขึ้นสู่สวรรค์ แต่ท้าวตรีศังกุนั้นเป็นจัณฑาล ขึ้นสวรรค์ไม่ได้ จึงต้องคงอยู่กลางหาวในท่ามกลางดาวที่สร้างใหม่เท่านั้น
.
--------------------------------------------------------------
*** ในสมัยเรียนมัธยมปลาย อาจารย์ภาษาไทยของผู้เขียน ได้เคยเล่าเรื่องแผนนารีพิฆาตเพื่อทำลายตบะพระฤๅษีวิศวามิตรด้วยการปลุกกำหนัดกามารมณ์โดยนางอัปสราสวรรค์นามว่า “เมนะกา” (Menaka)  ที่มีเนื้อความของบทอัศจรรย์ที่ผู้เขียนเองก็ยังไม่เคยอ่านพบเจอที่ไหนมากว่า 35 ปี จึงขอเขียนมโนขึ้นใหม่จากโครงเรื่องที่พอจดจำได้ครับ 
.
ภายหลังจากพระฤๅษีวิศวามิตร ได้แสดงฤทธาอำนาจของพราหมณ์ผู้ถือพรหมจรรย์ จนเป็นที่หวาดหวั่นของเหล่าเทวดา อีกทั้งพระฤๅษียังคงมุ่งมั่นบำเพ็ญตบะเพื่อแสวงหาฤทธาอำนาจอันร้อนแรง จนโลกเกิดความแห้งแล้วเป็นเวลายาวนาน ผู้คนและสัตว์น้อยใหญ่ต่างล้มตาย หากเป็นเช่นนี้โลกคงพินาศ มีเพียงทางเดียวคือการทำลายตบะญาณด้วยกามารมณ์ พระฤๅษีจะต้องถึงจุดสุดยอดจนน้ำปายะสวัต (Payasvat) หลั่งออกมาจากคุยหฐาน โลกจึงจะกลับมาอุดมสมบูรณ์เช่นเดิม พระอินทร์และเหล่าเทวดาจึงได้ส่งนางอัปสรานามว่าเมนะกา ที่มีความงดงามไม่ด้อยไปกว่านางอัปสรานางใดที่กำเนิดขึ้นจากเกษียรสมุทรพร้อมกัน ลงมาทำลายการบำเพ็ญตบะอันร้อนแรงนี้ แต่กระนั้นพระฤๅษีวิศวามิตรก็ไม่ได้ให้ความสนใจต่อการยั่วยวนใด ๆ ส่วนนางเมนะกาก็ไม่สามารถเข้าไปใกล้ ลูบไล้จับต้องเนื้อตัวเพื่อใช้กายปลุกกำหนัด หากพระฤๅษีไม่ยินยอมให้แตะต้อง นางก็จะร้อนดังไฟเผาผลาญ ก็ได้แต่ถอดเสื้อผ้าอาภรณ์ ร่ายรำเย้ายวนอยู่ได้เฉพาะตรงหน้าเท่านั้น
.
อาจารย์เล่าต่อว่า นางเมนะกาจึงได้เปลี่ยนแผนจากการยั่วสวาทด้วยเรือนร่างเพื่อปลุกกำหนัดกามารมณ์ มาใช้แผนนารีพิฆาต โดยใช้การอ้อนวอนด้วยเหตุผลที่มีความน่าสงสาร นางได้ร้องอย่างเจ็บปวดที่ริมน้ำ แล้วบอกแก่พระฤๅษีว่า นางนั้นเป็นแผลฉีกแยกที่ระหว่างขา เจ็บปวดทรมานเป็นยิ่งนัก จึงขอวอนให้พระฤๅษีช่วยรักษาด้วยการส่งร่างเนื้อเข้าไปขยายภายในให้หายทรมาน ซึ่งแผนการก็เริ่มเข้าเค้า เมื่อพระฤๅษีขอดูแผลแยกที่อยู่ระหว่างง่ามขา ก็ให้ตกใจ ไฉนรอยแยกของแผลประหลาดนี้จึงมีความชื้นแฉะ นางเมนะกาจึงแสร้งว่ามันเจ็บปวดภายในมาก ขอให้ท่านฤๅษีช่วยรักษาด้วยการแหวกเข้าไป
.
เมื่อได้เห็นสิ่งที่อ้างว่าเป็นรอยแผล กำหนัดแห่งกามารมณ์ของพระฤๅษีจึงได้เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติจนคุยหฐานแข็งตัว นางเมนะกาไม่รอช้า  “พระฤๅษีเจ้าขา ได้โปรดเมตตานำความเข้มแข็งของพระองค์ แทรกแหวกเข้าไปรักษาแผลลึกด้านในกายของข้าด้วยเถิด เพราะ...ข้านั้นจับของพระองค์ไม่ได้”
.
เสียงขอร้องที่เย้ายวนประกอบกับภาพของแผลประหลาดจากมารยาของนางเมนะกา ได้ทำให้พระฤๅษีใช้คุยหฐานแทรกเข้าไปกลางแผลที่ชื้นแฉะ ลึกลงไป ๆ จนเกิดเป็นบทอัศจรรย์ น้ำปายะสวัตหลั่งพุ่งเข้าสู่ภายในแผลมารยาอันหฤหรรษ์
.
ในเพลาอันสุดยอดนั้น ฝนห่าใหญ่จึงได้ตกไปทั่วทั้งจักรวาล ความสุขสมบูรณ์ได้กลับคืนมาสู่โลก ส่วนพระฤๅษีวิศวามิตรที่พลาดท่า “ตบะแตก” จึงได้อยู่กินกับนางเมนะกา ตบะอำนาจที่เคยแกร่งกล้าได้ลดลงไปมาก ซึ่งในมหาภารตะ (Mahābhārata Epic) ได้เล่าต่อว่า นางเมนะกาให้กำเนิดบุตรี พระฤๅษีวิศวามิตรเกิดความไม่สบายใจ จึงได้สั่งให้นางเมนะกากลับสู่สวรรค์ แล้วได้ออกจากตำบลบุษกรไปยังป่าหิมพานต์เพื่อหาที่สงบตั้งต้นบำเพ็ญตบะญาณครั้งใหม่  นางเมนะกาจึงจำต้องทิ้งกุมารีไว้ในป่า เหล่านกสกุณาต่างมาดูแล จน “พระกัณวะดาบส” (Sage Kanva) ได้ผ่านมา จึงเก็บกุมารีไปเลี้ยง ตั้งชื่อว่า “ศกุนตลา” (Shakuntala) ที่แปลว่า “นางนก” ครับ 
เครดิต :
วรณัย  พงศาชลากร
EJeab Academy
เพราะทุกที่มีเรื่องราวและเรื่องเล่า

1 ความคิดเห็น:

  1. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always be love. _/|\_

    ตอบลบ