วิธีปลูกกล้วยน้ำว้า และ การขยายพันธุ์
วิธีปลูกกล้วยน้ำว้าและการขยายพันธุ์แบบมืออาชีพ กำหนดระยะและขนาดหลุมปลูก โดยระยะที่เหมาะสมคือ 4×4 เมตร และควรขุดหลุม 50x50x50 เซ็นติเมตร เพราะรัศมีของรากกล้วยจะหากินไม่เกิน 50 เซ็นติเมตร การขุดหลุมขนาดนี้จะทำให้รากกล้วยหากินได้ไกลขึ้น และความลึกของหลุมจะแก้ปัญหาการขึ้นโคนหรือโคนลอย โดยการปลูกครั้งหนึ่งสามารถเก็บผลผลิตได้ 4-5 ปี เลยทีเดียว ถ้าขุดหลุมขนาดเล็กและตื้นกว่านี้
จะให้ผลผลิตแค่ปีสองปีก็ต้องรื้อปลูกใหม่แล้ว ใส่ปุ๋ยรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกผสมดินประมาณหลุมละ 2 กิโลกรัม รองหนาขึ้นมาประมาณ 30 เซ็นติเมตรแล้วจึงปลูกต้นกล้วยและกลบบริเวณโคนต้นให้แน่น ทำแอ่งดินรอบต้นเพื่อเก็บน้ำรักษาความชื้นของดิน ปลูกเสร็จให้น้ำตามทันทีให้ชุ่มชื้นพอเพียง ไม่เช่นนั้นต้นจะเหี่ยวเฉา ใบแห้งและยุบตัว บางต้นตาย บางต้นแตกต้นใหม่ขึ้นแทนทำให้อายุต้นไม่สม่ำเสมอกัน
การใส่ปุ๋ย ปุ๋ยคอก ให้ปุ๋ยอินทรีย์ประเภทปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตราการใส่ปุ๋ย 3 – 5 กิโลกรัม/ต้น/ครั้ง หรือ ปุ๋ยเคมี อัตราการใส่ปุ๋ย 100 กรัม/ต้น/ครั้ง โดยใส่ปุ๋ยหลังปลูก 1 เดือน และครั้งที่ 2 ในเดือนที่ 5 หลังปลูก หรือในช่วงก่อนกล้วยใกล้ออกปลี 2-3 เดือน – การให้ปุ๋ยเคมีทางรากควรใช้สูตร 25-7-7 จะช่วยให้ได้ใบขนาดใหญ่หนาเขียวเข้ม เป็นใบที่มีคุณภาพดีกว่าใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ -ในช่วง 6 เดือนหลังปลูกให้ปาดหน่อที่โผล่ออกมาทิ้งไป
พอหลังจากอายุ 6 เดือน ให้ไว้หน่อที่ 1 พอหน่อที่ 1 อายุ 3 เดือน ให้ไว้หน่อที่ 2 หลังจากนั้นทุกๆ 3 เดือน ให้ไว้หน่อที่ 3 และ 4, 5 ตาม โดยหน่อที่ขึ้นมาในช่วงที่ไม่ได้กำหนดให้ปาดทิ้งทั้งหมด ปรากฏว่า เมื่อจะไว้หน่อที่ 5 ต้นแม่ก็สามารถเก็บเกี่ยวเครือกล้วยได้แล้ว ฉะนั้นจะกลายว่ากอนั้นมีต้นกล้วย 4 ต้น ที่อายุห่างกัน 3 เดือน โดยมีหน่อที่ 1 ที่อายุห่าง 6 เดือน ดังนั้น เมื่อใช้ระบบนี้ต่อไปหลายๆ ปีจะทำให้กล้วยน้ำว้าในแปลงมีอายุห่าง 3 เดือน”
สาเหตุที่ไว้หน่อทุก 3 เดือน มีเหตุผลว่า ด้วยการออกผลผลิตของกล้วยน้ำว้าในแปลงนั้นจะออกไม่พร้อมกัน ถึงแม้ไว้ใกล้เคียงกัน จะมีการกระจายตัวในการเก็บเกี่ยวประมาณ 3 เดือน โดยจากข้อมูลที่ศึกษาจากการปลูกกล้วยน้ำว้าด้วยหน่อพบว่า จะมีช่วงแรกที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ ช่วงกลางๆ จะเก็บได้ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ และช่วงปลายเก็บได้ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์
ทีนี้ถ้าค่อยๆ ปลูกหรือไว้หน่อไป กล้วยที่ออกผลในช่วงปลาย 25 เปอร์เซ็นต์ จะไปรวมกับ 25 เปอร์เซ็นต์ของช่วงแรกในอีกแปลงหนึ่ง จะทำให้ได้ผลผลิตรวมเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นทั้งปีด้วยวิธีการนี้ ทำให้สามารถมีผลผลิตกล้วยน้ำว้าจำหน่ายให้กับพ่อค้าได้ตลอดทั้งปีและสามารถต่อรองราคากับพ่อค้าได้ โดยไม่ต้องถูกกดราคาเพราะจำเป็นต้องตัดขายทั้งแปลง”
วิธีขยายพันธุ์กล้วยโดยผ่าการผ่าหน่อ เหตุผล ประหยัดและโรคหนอนกอที่มากับต้นกล้วย ขั้นตอนการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ มีดังนี้
• หน่อกล้วย(ต้นสาว) อายุ 4 เดือนขึ้นไปหรือกล้วยที่ตัดเครือแล้วยิ่งดี
• มีดโต้ ใหญ่ 1 ด้าม , เล็ก 1 ด้าม
• เขียง
• กะละมัง
• น้ำสะอาด
• กระดาษ
• กระบะเพาะกล้า(ตะกร้า) สี่เหลี่ยม
• ขี้เรื่อย , แกลบดิบ , แกลบเผา
• ถุงเพาะชำ ขนาด 4 x 8 นิ้ว
ขั้นตอนการทำ ตัดรากให้หมด ให้สังเกตุตาของหน่อกล้วยที่มีลักษณะเป็นปุ่มที่พร้อมจะเจริญเติบโต
ใช้มีดผ่ากลางเหง้าเป็นแนวนอนแบ่งเป็น 2 ส่วน และผ่าแต่ละส่วนแบ่งเป็น 3 – 4 ส่วน (แล้วแต่ขนาดของหน่อกล้วย) หน่อขนาดใหญ่สามารถผ่าได้ 8 ชิ้น พยายามตัดเป็นชิ้นให้พอดี ระวังอย่าให้โดนตาหน่อตกแต่งให้ได้รูป แล้วนำไปล้างน้ำทำความสะอาด เตรียมกระบะบ่มเพาะ แล้วใช้กระดาษรองก้นถาดเพื่อป้องกันน้ำและดินไหล นำขี้เลื่อย แกลบดิบ แกลบเผา ผสม อัตราส่วน 1 : 1 : 1 (อัตราส่วนตามปริมาตร) ไม่ใช้ดิน โรยลงในกระบะเพาะให้เสมอกัน
วางหน่อกล้วยลงโดยคว่ำส่วนเนื้อลง จัดเรียงให้พอดีห่างกันสักนิด ระวังอย่าให้ทับเกยกันเพราะจะเน่า ใช้ ส่วนผสมเดิมกลบทับชั้นด้านบนอีกครั้ง เกลี่ยจนทั่ว และรดน้ำพอให้ชุ่มชื่น อย่าให้แห้งหรือแฉะจนเกินไป เป็นเวลา 1 เดือน จากนั้นจะเห็นกล้วยเริ่มแทงหน่อออกมา
สังเกตหน่อกล้วยจนมีที่นำไปเพาะเลี้ยงใบกาบจะเน่าเปื่อย หน่อกล้วยแทงหน่อมีใบ 1-2 ใบ แล้วจึงนำมาลงในถุงเพาะชำ ขนาด 4 x 8 นิ้ว หากกล้วยมี 2 หน่อ ให้ตัดแยกแล้วแบ่งถุงเพาะชำ ในถุงนั้นให้เอาหน้าดินเข้ามาเพิ่ม เพราะจะมีปุ๋ยในดิน จากนั้นเลี้ยงหน่อกล้วย ต่ออีกเป็นเวลา 1 เดือน จึงเป็นต้นพร้อมปลูก
พร้อมนำไปปลูก กำหนดระยะและขนาดหลุมปลูก โดยระยะที่เหมาะสมคือ 4×4 เมตร และควรขุดหลุม 50x50x50 เซ็นติเมตร เพราะรัศมีของรากกล้วยจะหากินไม่เกิน 50 เซ็นติเมตร
การขุดหลุมขนาดนี้จะทำให้รากกล้วยหากินได้ไกลขึ้น และความลึกของหลุมจะแก้ปัญหาการขึ้นโคนหรือโคนลอย โดยการปลูกครั้งหนึ่งสามารถเก็บผลผลิตได้ 4-5 ปีเลยทีเดียว ถ้าขุดหลุมขนาดเล็กและตื้นกว่านี้ จะให้ผลผลิตแค่ปีสองปีก็ต้องรื้อปลูกใหม่แล้ว ใส่ปุ๋ยรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกผสมดินประมาณหลุมละ 2 กิโลกรัม รองหนาขึ้นมาประมาณ 30 เซ็นติเมตร แล้วจึงปลูกต้นกล้วยและกลบบริเวณโคนต้นให้แน่น ทำแอ่งดินรอบต้นเพื่อเก็บน้ำรักษาความชื้นของดิน ปลูกเสร็จให้น้ำตามทันทีให้ชุ่มชื้นพอเพียง ไม่เช่นนั้นต้นจะเหี่ยวเฉา ใบแห้งและยุบตัว บางต้นตาย บางต้นแตกต้นใหม่ขึ้นแทนทำให้อายุต้นไม่สม่ำเสมอกัน
เมื่อกล้วยอายุ 4-6 เดือน ต้นแม่ยังไม่ออกเครือไม่ควรแยกหน่อเพราะจะทำให้กระทบกระเทือนต่อต้นแม่
ให้ตัดต้นหน่อทิ้งไปเพื่อไม่ให้ต้นแม่ต้องรับภาระส่งอาหารไปเลี้ยงหน่อซึ่งเกิดใหม่ จะทำให้ต้นแม่มีสารอาหารส่งไปเลี้ยงผลบนต้นอย่างเพียงพอ หรือหากต้องการนำไปปลูกต่อ เมื่อกล้วยแตกหน่อ 4-7 หน่อ ควรทำการปาดยอดทิ้ง โดยปาดในแนวเฉียงขึ้นกะความยาวของหน่อที่จะเหลือไว้หลังจากปาดให้สูงจากพื้นดินขึ้นมาประมาณ 20 นิ้วจากนั้นทำการปาดหน่อให้เฉียงกลับด้าน(ทิศตรงข้ามกับการปาดครั้งแรก) หน่อพัธุ์จะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆเหมาะแก่การนำไปปลูกต่อ
หลังจากที่กล้วยเริ่มแทงปลีออกมาแล้ว ก็จะใช้เวลาประมาณ 30 วัน ก็่จะสามารถเริ่มตัดปลีออกจากเครือได้ โดยให้เราสังเกตุว่าเมื่อปลีกล้วยบานจนสุดแล้ว หรือให้สังเกตุดูว่าหวีกล้วยจะไม่สามารถสร้างเป็นหวีได้แล้ว คือลูกกล้วยจะมีลักษณะรีบ ก็นับลงไปประุมาณ 1 คืบ แล้วค่อยตัดปลีออกจากเครือ ซึ่งปลีกล้วยที่ตัดออกสามารถนำไปจำหน่ายได้ หรือนำไปประกอบอาหารได้อีกด้วย การนับอายุตั้งแต่แทงปลีกล้วยจนเก็บเกี่ยวพอสังเขปมีดังนี้
หลังจากที่เราสังเกตุเห็นกล้วยแทงปลีแล้วนับไปประมาณ 30 วัน ให้สังเกตุดูว่าปลีกล้วยบานจนสุดแล้วหรือยัง ก็สามารถตัดปลีออกจากเครือได้ (1 เดือน)หลังจากตัดปลีออกจากเครือแล้วก็นับต่อไปอีก 90 วัน ก็สามารถตัดเครือกล้วยไปจำหน่ายได้ ให้สังเกตุดูที่ผลของกล้วยว่าเหลี่ยมที่ผลหายแล้วหรือยัง ผลของกล้วยจะมีลักษณะกลม (3 เดือน)เหตุผลที่ควรตัดปลีกล้วยห่างจากลูกกล้วย ประมาณ 1 คืบ
การตัดปลีกล้วยชิดลูกกล้วยเกินไป อาจก่อเกิดรูที่ปลายเครือกล้วยทำให้มดหรือแมลงไปสร้างรังซึ่งจะเป็นปัญหาต่อมาในอนาคตได้ถ้าตัดชิดกับลูกกล้วยเกินไป อาจก่อเกิดรูกลวงที่ปลายเครือ และขยายเป็นวงกว้างทำให้ลูกกล้วยไม่เจริญเติบโตและเสียหายได้เวลาตัดเครือกล้วย จะสะดวกต่อการจับและการตัดเครือกล้วย
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
ตอบลบA giver is always be love. _/|\_