วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ถ้ำดงคสิริ

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved. ดงคสิริ สถานที่บำเพ็ญทุกรกิริยาของเจ้าชายสิทธัตถะ ก่อนที่จะทรงตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ตำบลพุทธคยา จังหวัดคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย (ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในสมัยพุทธกาล) หลังจากทรงผนวชแล้ว เจ้าชายสิทธัตถะจึงทรงมุ่งไปที่แม่น้ำคยา แคว้นมคธ ได้พยายามเสาะแสวงทางพ้นทุกข์ ด้วยการศึกษาค้นคว้าทดลองในสำนักอาฬารดาบส กาลามโครตร และอุทกดาบส รามบุตร เมื่อเรียนจบทั้งสองสำนัก (บรรลุฌาณชั้นที่ ๘) ก็ทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ตามที่มุ่งหวังไว้ จากนั้นจึงเสด็จไปที่แม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (ในปัจจุบันสถานที่แห่งนี้เรียกว่า ดงคสิริ) เมื่อบำเพ็ญทุกรกิริยาโดยขบฟันด้วยฟัน กลั้นหายใจและอดอาหาร หลังจากทดลองมา ๖ ปี ก็ยังไม่พบทางพ้นทุกข์ จึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา หันมาบำรุงพระวรกายโดยปกติตามพระราชดำริว่า “เหมือนสายพิณควรจะขึงพอดี จึงจะได้เสียงที่ไพเราะ” ซึ่งพระอินทร์ได้เสด็จลงมาดีดพิณ ๓ สายถวาย พิณสายหนึ่งขึงไว้ตึงเกินไป พอถูกดีดก็ขาดผึงออกจากกัน พิณสายที่สองหย่อนเกินไป ดีดไม่ดัง พิณสายที่สามไม่หย่อนไม่ตึงนัก ดีดดัง ไพเราะ จึงพิจารณาเห็นทางสายกลางว่าเป็นหนทางที่จะนำไปสู่พระโพธิญาณได้ ถ้ำดงคสิริ เป็นถ้ำหินแข็งมีขนาดประมาณ ๙ ตารางเมตร (คงเป็นขนาดเดียวกันกับสมัยที่พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญเพียร) ต้องเดินขึ้นเชิงเขาดงคสิริขึ้นไป มีวัดธิเบตตั้งอยู่ใกล้ถ้ำ เห็นธงหลากสีของชาวธิเบตผูกติดกับเชือกเป็นสายยาวระโยงระยาง ทั้งยังเป็นหน้าผาชันตัดตรงลงมา มีช่องประตูพอให้คนเข้าไปได้ เพราะเหตุที่ถ้ำนี้เป็นถ้ำจากผนังเขา ไม่ใช่ถ้ำที่อยู่ติดดิน พอนานปีก็มักมีดินพอกพูนจนพื้นถ้ำตื้นเขินทำให้ถ้ำมีขนาดเล็กลง ภายในถ้ำดงคสิริเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปพระโพธิสัตว์ ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา ประทับนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย มองเห็นพระวรกายซูบผอมจนพระอัฐิ (กระดูก) และพระนหารุ (เส้นเอ็น) ปรากฏ ลักษณะพระวรกายผ่ายผอมเห็นหนังติดกระดูก พระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ตรงกลางถ้ำ ตั้งเด่นเป็นสง่าเหลืองอร่ามไปทั้งองค์ เพราะมีผู้ศรัทธามาปิดทองด้วยความเชื่อว่าจะเป็นสิริมงคล ป่วยเป็นโรคภัยไข้เจ็บอยู่ที่ไหนของร่างกาย หากปิดทององค์พระตรงนั้นก็จะหายเป็นปกติ “ดงคสิริ” หรือตุงคสิริ หรือทุกรกิริยาบรรพต สถานที่บำเพ็ญทุกรกิริยาของเจ้าชายสิทธัตถะ ก่อนที่จะทรงตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ คำว่าบำเพ็ญทุกรกิริยา แปลตามรูปศัพท์ได้ว่า “การกระทำที่ทำได้ยาก” ที่เน้นไปทางการทรมานร่างกายเสียส่วนใหญ่ ตั้งอยู่ห่างจากพระมหาเจดีย์พุทธคยาหรือพระมหาโพธิเจดีย์ ไปประมาณ ๑๖ กิโลเมตร อยู่ระหว่างหลักไมล์ที่ ๔ จากเมืองคยา ต้องข้ามแม่น้ำเนรัญชราไปไกลพอสมควร ปัจจุบันอยู่ในตำบลพุทธคยา อำเภอคยา จังหวัดคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ในสมัยพุทธกาล เป็นสถานที่ตั้งอาศรมเดิมของพระอุรุเวลกัสสปะ อดีตพี่ชายใหญ่ในชฎิล ๓ พี่น้อง ซึ่งในปัจจุบันตั้งอยู่ห่างจากพระมหาเจดีย์พุทธคยาหรือพระมหาโพธิเจดีย์ ไปทางทิศใต้ประมาณ ๑ กิโลเมตร อยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา และมีบ่อน้ำเก่าแก่เป็นอนุสรณ์ ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ My blogs link 👆 https://sites.google.com/site/dhammatharn/ http://abhinop.blogspot.com http://abhinop.bloggang.com ................................ ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved. ............................................

2 ความคิดเห็น:

  1. ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always beloved.

    ตอบลบ
  2. ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
    My blogs link 👆
    https://sites.google.com/site/dhammatharn/
    http://abhinop.blogspot.com
    http://abhinop.bloggang.com
    ..........................................................
    ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always beloved.

    ตอบลบ