วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

พระวังคีสะเถระ

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.

พระวังคีสเถระ
เอตทัคคะในทางผู้มีปฏิภาณ
พระวังคีสะ เกิดในตระกูลพราหมณ์ นครสาวัตถี ได้รับการศึกษาจบไตรเพท จนมี
ความชำนาญเป็นที่พอใจของอาจารย์ จึงให้เรียนมนต์พิเศษอีกอย่างหนึ่งชื่อว่า “ฉวสีสมนต์”
ซึ่งเป็นมนต์เครื่องพิสูจน์ศีรษะซากศพมนุษย์แม้จะตายไปแล้วถึง ๓๐ ปี โดยใช้นิ้วเคาะหรือดีดที่
หัวของศพ หรือกะโหลก ก็จะรู้ว่าเจ้าของศีรษะหรือกะโหลกนั้น ตายแล้วไปเกิดเป็นอะไร เกิดที่
ไหน ท่านมีความเชี่ยวชาญในมนต์นี้มาก จึงได้อาศัยมนต์นี้เป็นเครื่องเลี้ยงชีวิต และเริ่มมีชื่อ
เสียงเลื่องลือมากขึ้น
รับจ้างดีดกะโหลก
ต่อมาเขาได้ตั้งเป็นคณะมีผู้ร่วมงานทำกันเป็นระบบ มีการโฆษณาชักชวนให้คนมาใช้
บริการ และตระเวนทั่วไปตามเมืองต่าง ๆ
ด้วยวิธีการอย่างนี้ประชาชนได้นำหัวกะโหลกของญาติที่ตายไปแล้วมาให้พิสูจน์กันมาก
มาย ชาวคณะของวังคีสะได้รับสิ่งตอบแทนมากขึ้น ซึ่งมีทั้งสิ่งของ อาหาร และเงินจำนวนมาก
ทำให้มีฐานะร่ำรวยขึ้น พวกเขาได้ท่องเที่ยวไปตามเมืองต่าง ๆ แล้วย้อนกลับมายังเมืองสาวัตถี
พักอยู่ในที่ไม่ไกลจากประตูพระเชตะวันมหาวิหารมากนัก ได้เห็นประชาชนถือดอกไม้และ
เครื่องสักการะไปยังวัดพระเชตวัน จึงถามว่า “ท่านทั้งหลาย จะไปไหนกัน ?”
“พวกเรา จะไปฟังเทศน์ที่วัดพระเชตวัน” พุทธบริษัทตอบ
“ท่านทั้งหลาย มาหาวังคีสะดีกว่า เพราะท่านสามารถรู้ว่าคนที่ตายไปแล้ว ไปเกิดเป็น
อะไร ไปเกิดที่ไหน” พวกคณะของวังคีสะชักชวน
“ในโลกนี้ ไม่มีผู้ใดจะรู้เท่าเทียมพระพุทธเจ้าของพวกเราได้หรอก” พุทธบริษัทแย้งขึ้น
การโต้ตอบกลายเป็นการโต้เถียงเริ่มรุนแรงขึ้น ไม่เป็นที่ยุติ กลุ่มของวังคีสะ จึงตามไป
ที่พระเชตะวันมหาวิหารเพื่อพิสูจน์ความสามารถว่าใครจะเหนือกว่ากันพระพุทธองค์ทรงทราบ
วัตถุประสงค์ของกลุ่มวังคีสะได้ดี จึงรับสั่งให้นำกะโหลกคนตายมา ๕ กะโหลก คือ:-
๑. กะโหลกคนที่ตายไปเกิดในนรก
๒. กะโหลกคนที่ตายไปเกิดในสวรรค์
๓. กะโหลกคนที่ตายไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน
๔. กะโหลกคนที่ตายไปเกิดเป็นมนุษย์
๕. กะโหลกของพระอรหันต์
เมื่อได้กะโหลกศีรษะมาครบแล้ว ได้มอบให้วังคีสะตรวจสอบดูว่าเจ้าของกะโหลกเหล่า
นั้นไปเกิดที่ไหน
วังคีสะ เคาะกะโหลกเหล่านั้นมาตามลำดับ และทราบสถานที่ไปเกิดถูกต้องทั้ง
๔ กะโหลก แต่พอมาถึงกะโหลกสุดท้าย ซึ่งเป็นกะโหลกของพระอรหันต์ไม่สามารถจะทราบ
ได้ ไม่มีเสียงตอบจากเจ้าของกะโหลกว่าไปเกิดที่ไหน จึงนิ่งอยู่ครู่หนึ่ง พระพุทธองค์จึงตรัส
ถามว่า:-
“วังคีสะ เธอไม่รู้หรือ ?”
“ข้าพระพุทธเจ้า ไม่รู้ พระเจ้าข้า”
“วังคีสะ ตถาคตรู้”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระองค์ทรงทราบด้วยมนต์อะไร พระเจ้าข้า”
“ด้วยกำลังมนต์ของตถาคตเอง”
บวชเพื่อเรียนมนต์
ลำดับนั้น วังคีสะ ได้กราบทูลขอเรียนมนต์นั้นจากพระบรมศาสดา ซึ่งพระพุทธองค์ก็
ทรงรับจะสอนมนต์นั้นให้ แต่มีข้อแม้ว่าผู้เรียนจะต้องบวช จึงจะสอนให้ วังคีสะ คิดว่า ถ้าเรียน
มนต์นี้จบก็จะไม่มีผู้เทียมได้เลย จะเป็นประโยชน์แก่อาชีพของตนเป็นอย่างยิ่ง จึงบอกให้
พราหมณ์ร่วมคณะเหล่านั้นรอยู่สัก ๒-๓ วัน เมื่อบวชเรียนมนต์จบแล้วก็จะสึกออกไปร่วมคณะ
กันต่อไป
เมื่อวังคีสะบวชแล้ว พระบรมศาสดาประทานพระกรรมฐาน มีอาการ ๓๒ เป็นอารมณ์
รับสั่งให้สาธยายท่องบริกรรม พร้อมทั้งพิจารณาไปด้วยฝ่ายพราหมณ์ที่คอยอยู่ก็มาถามเป็นระยะ
ๆ ว่าเรียนมนต์จบหรือยัง วังคีสะ ก็ตอบว่ากำลังเรียนอยู่ โดยเวลาล่วงไปไม่นานนัก ท่านก็ได้
บรรลุพระอรหัตผล เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา พวกพราหมณ์เหล่านั้นเห็นว่าท่านไม่
หวนกลับสึกออกมาประกอบอาชีพฆราวาสเช่นเดิมอีกแล้ว จึงได้แยกย้ายกันไปตามอัธยาศัยของ
ตน ๆ
ได้รับยกย่องในตำแหน่งเอตทัคคะ
พระวังคีสะ เมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์ แล้วได้เป็นกำลังช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนา
และเมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคครั้งใด ก็จะกล่าวสรรเสริญพระพุทธคุณบทหนึ่งอยู่เสมอด้วยเหตุ
นี้ พระบรมศาสดาทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง
ผู้มีปฏิภาณ คือ ความสามารถในการผูกบทกวีคาถา
ท่านดำรงอายุสังขาร สมควรแก่กาลเวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน.....
เครดิต ;
84000.org
..........................................................
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
..........................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.
..........................................................


1 ความคิดเห็น:

  1. ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
    My blogs link 👆
    https://sites.google.com/site/dhammatharn/
    http://abhinop.blogspot.com
    http://abhinop.bloggang.com
    ..........................................................
    ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always beloved.

    ตอบลบ