"พระป่า" หรือ "พระธุดงคกรรมฐาน" สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต มีต้นเค้าดั้งเดิม ประมาณว่า เริ่มแต่พระอาจารย์สีทา ชัยเสโน อดีตเจ้าอาวาสวัดบูรพา อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สำหรับพระเถระผู้มีบทบาทในการสร้างหลักปักธงชัยพระกรรมฐานในแผ่นดินที่ราบสูงแดนอีสาน ได้แก่ ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล วัดเลียบ อุบลราชธานี และ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งกาลต่อมาท่านได้ให้การอบรมสั่งสมบารมีธรรมแก่พระภิกษุสามเณรจนมีศิษย์เป็นพระธุดงคกรรมฐานผู้ทรงคุณธรรม สัมมาปฏิบัติ ออกจาริกธุดงค์ เผยแผ่ธรรมนำศรัทธาสาธุชนได้ผลดีเป็นอันมากต่อกิจการงานพระศาสนาสร้างสำนักป่า วัดวา ศาสนสถานในพระพุทธศาสนา ตามแบบที่เรียกว่า "วัดป่า" ที่เน้นธรรมชาติ ความเรียบง่าย สะอาด สงบ สว่างด้วยแสงธรรม
พระสายนี้ ชาวบ้านศรัทธาเรียกว่า พระธุดงคกรรมฐาน หรือ พระป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งดำเนินปฏิปทาตามแนวพ่อแม่ครูอาจารย์ พระป่าพระธุดงคกรรมฐานจะปฏิบัติต่อครูอาจารย์ที่เรียกท่านด้วยความเคารพอย่างสูงว่า "พ่อแม่ครูอาจารย์" ด้วยความเคารพนับถือ ดุจบิดรมารดาและครูอาจารย์ ผู้เป็นพ่อแม่ ครูอาจารย์ ก็จะปกครอง อบรมดูแล ลูกศิษย์ด้วยความเมตตาดุจพ่อแม่ แลครูอาจารย์เช่นกัน
ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๕๙ เป็นต้นมา พระป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เริ่มทยอยเพิ่มจำนวนมากขึ้น ขยายงานการเผยแผ่ในภาคอีสาน โดยเฉพาะทางจังหวัดอุดรธานี หนองคาย นครพนม สกลนคร อุบลราชธานี นครราชสีมา ขอนแก่น และตามภูมิภาคต่าง ๆ ที่รังสีธรรมแห่งกองทัพธรรมพระกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้แผ่ไปถึง
พระป่าทุกองค์จะต้องรักษาศีลอย่างบริสุทธิ์ในกระบวนไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญานั้น ศีล เป็นข้อที่ง่ายที่สุดและเท่ากับเป็นเครื่องทดสอบสมณะเพศ เพราะการรักษาศีลต้องการศรัทธา ความตั้งใจ ถ้าผู้ใดรักษาศีลให้บริสุทธิ์ไม่ได้ ก็อย่าหวังเลยที่จะก้าวหน้าในทางธรรมชั้นสูง
พระธุดงคกรรมฐาน หรือพระป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต แต่ละรูปตามประวัติได้เคยบุกป่าฝ่าดงไปตามป่าเขา เผชิญกับสิงสาราสัตว์ที่ดุร้าย ผจญกับภัยธรรมชาติ และมนุษย์ที่ตั้งตนเป็นศัตรู แต่ด้วยศีลที่บริสุทธิ์ของท่านได้เป็นเกราะแก้ว คุ้มกันพิทักษ์ รักษาพระคุณเจ้า ประสพสวัสดิภาพด้วยดี ด้วยศีล ด้วยบุญกุศล
พระป่าสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นพระสุปฏิปันโนที่มีปฏิปทา คือข้อวัตรข้อปฏิบัติต่างๆ ที่น่าเลื่อมใสศรัทธา เป็นปฏิปทาที่ทำได้ไม่ง่าย เพราะเป็นปฏิปทาที่ทวนกระแสโลก ทั้งทางกาย วาจา และใจ ซึ่งหลักปฏิปทานี้ คือ ธุดงควัตร ๑๓ ขันธวัตร ๑๔ เป็นเครื่องบำเพ็ญทางกาย และมี กรรมฐาน ๔๐ เป็นเครื่องบำเพ็ญทางใจสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันไปในอริยาบทต่าง ๆ ของความเพียร ทั้งนี้เพราะธุดงควัตร ๑๓ และวัตรต่าง ๆ ตลอดจนกรรมฐานทั้งมวล ล้วนเป็นธรรม เครื่องอบรมบ่มนิสัยที่ติดกายมาตั้งแต่ครั้งเป็นฆราวาส และเป็นธรรมที่จะทำลายล้างข้าศึกภายในใจ คือกิเลสตัณหาให้หมดสิ้นไป การถือธุดงค์ของพระป่าพระธุดงคกรรมฐาน เป็นเจตนาที่แสดงออกเพื่อประหารกิเลสของตน เกี่ยวกับเรื่องเครื่องนุ่งห่ม อาหารการขบฉัน ที่อยู่อาศัย และความเพียรด้วยข้อปฏิบัติ "ธุดงควัตร"
ธุดงควัตร ๑๓ คือ องค์คุณเครื่องกำจัดกิเลส เป็นชื่อข้อปฏิบัติประเภทวัตร ที่ผู้สมัครใจจะพึงสมาทานประพฤติได้ เป็นอุบายขัดเกลากิเลส ส่งเสริมความมักน้อยสันโดษ เป็นต้น มี ๑๓ ข้อ ได้แก่
๑. ถือการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
๒. ถือการนุ่งห่มผ้าสามผืนเป็นวัตร
๓. ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร
๔. ถือการบิณฑบาตไปโดยลำดับแถวเป็นวัตร
๕. ถือการฉันจังหันมื้อเดียวเป็นวัตร
๖. ถือการฉันในภาชนะเดียวคือฉันในบาตรเป็นวัตร
๗. ถือการห้ามภัตตาหารที่เขานำมาถวายภายหลังเป็นวัตร
๘. ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
๙. ถือการอยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร
๑๐. ถือการอยู่ที่อัพโภกาสที่แจ้งเป็นวัตร
๑๑. ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร
๑๒. ถือการอยู่ในเสนาสนะตามมีตามได้เป็นวัตร
๑๓. ถือเนสัชชิกังคธุดงค์ คือการไม่เอนหลังลงนอนเป็นวัตร
.....................................................
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.....................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.
.....................................................
ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
ตอบลบA giver is always be love.
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
ตอบลบMy blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
..........................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.