วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

เจ้าสามพระยา

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.

พระบรมราชาที่ 2 (เจ้าสามพระยา)
ราชวงศ์ : สุพรรณภูมิ ปีที่ครองราชย์ : พ.ศ.1967-1991 พระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา เป็นกษัตริย์องค์ที่ 7 ทรงเป็นโอรสของพระนครอินทร์ เจ้าสามพระยาทรงเป็นที่รู้จักในประวัติศาสตร์ไทยว่า ทรงดำเนินนโยบายในการขยายอำนาจของอยุธยาของทั้งราชวงศ์อู่ทองและราชวงศ์สุพรรณภูมิ โดยแผ่ขยายอำนาจของไทยไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกัมพูชาและที่ราบสูงโคราช และทรงปูทางในการผนวกอาณาจักรสุโขทัยเข้ากับอยุธยา(พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถในการปกครอง และการรบ ดังจะเห็นได้จากกรณีการตีอาณาจักรล้านนาและประเทศกัมพูชา นับเป็นการขยายพระราชอาณาเขตของ อาณาจักรอยุธยาตอนต้นอย่างเป็นรูปธรรม)ในสมัยของพระนครอินทร์นั้น พระองค์ได้ส่งพระโอรสไปครองเมืองต่างๆรอบอาณาจักรอยุธยาคือ เจ้าอ้าย โอรสองค์โตไปครองสุพรรณบุรี เจ้ายี่ โอรสองค์รองไปครองสวรรค์บุรี และเจ้าสามพระยาไปครองชัยนาท เมื่อพระนครอินทร์สวรรคต โอรสทั้งสามก็แย่งราชสมบัติกัน โดยเจ้าอ้ายและเจ้ายี่ทำการชนช้างและสิ้นพระชนม์ทั้งคู่ตรงบริเวณที่เรียกว่าสะพานถ่าน ด้านหน้าของวัดราชบูรณะและวัดมหาธาตุที่อยุธยา เจ้าสามพระยาจึงได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า พระบรมราชาธิราชที่ 2
    ในสมัยของเจ้าสามพระยา พระองค์ได้ยกทัพไปตีกัมพูชา และยึดเมืองพระนครหลวง (นครธม) หรือกรุงศรียโสธรปุระ นับว่าเมืองหลวงของกัมพูชาต้องเสียแก่อยุธยาถึงสามครั้ง ครั้งแรกในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ครั้งที่สองในสมัยพระราเมศวร การเสียเมืองพระนครครั้งนี้ทำให้อาณาจักรกัมพูชาได้ย้ายไปสร้างเมืองใหม่ที่เมืองปาสานและเมืองพนมเปญ ทั้งนี้เพื่อให้อยู่ห่างจากการโจมตีของกรุงศรีอยุธยา เมืองพระนครถูกทอดทิ้งให้เป็นเมืองร้างตั้งแต่นั้นมา ได้ยึดเมืองพระนครได้นั้นก็มีผลกระทบต่ออยุธยาอย่างสูง เพราะได้มีการจับขุนนางเขมร ประชาชน ตลอดจนการยึดทรัพย์สินรูปปั้นรูปหล่อทางศาสนาเข้ามาอยุธยา ทำให้อิทธิพลของเขมรด้านการปกครอง ประเพณี ตลอดจนงานศิลปะมาปรากฏชัดในอยุธยา นักประวัติศาสตร์บางท่านตีความว่าอิทธิพลของเขมรในราชสำนักอยุธยา เช่นเรื่องลัทธิเทวนิยม พิธีเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ ราชาศัพท์ (ซึ่งเต็มไปด้วยภาษาเขมรนั้น) เป็นผลอันเนื่องมาจากสงครามทั้งสามครั้งในตอนต้นอยุธยานี้เอง แต่ก็น่าเชื่อว่าอิทธิพลเขมรนั้นมีอยู่ในตอนกลางของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้วัฒนธรรมของอยุธยาแตกต่างกับกลุ่มไทยอื่นๆในการแผ่ขยายอำนาจของอยุธยาในช่วงต้นนี้ จะเป็นการใช้กำลังทหารทำสงคราม และใช้วิธีการแต่งงานเพื่อสร้างความสัมพันธ์ทางเครือญาติ ดังนั้นมเหสีของพระเจ้าสามพระยาองค์หนึ่งก็คงจะเป็นเจ้าหญิงจากราชวงศ์สุโขทัย ทำให้พระองค์สามารถส่งโอรสคือ พระราเมศวร เป็น พระบรมไตรโลกนาถ ขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก
    เจ้าสามพระยาสวรรคตในขณะที่พยายามขยายอำนาจขึ้นไปยังเชียงใหม่ ในปลายสมัยของพระองค์ได้ยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ 2 ครั้ง กวาดต้อนประชาชนของล้านนาลงมาถึง 120,000 คน แต่ก็ไม่สามารถพิชิตเมืองเชียงใหม่ได้
เครดิต ;
http://www.oceansmile.com
และ www.wikipedia.org
..........................................................
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
..........................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.
..........................................................


1 ความคิดเห็น:

  1. ททมาโน ปิิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always beloved.

    ตอบลบ