วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2563

นางอัปสรา

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

“นางอัปสราแสนงาม” ที่ปราสาทพระขรรค์
“ปราสาทพระขรรค์” (Preah Khan) เป็นหมู่ปราสาทแผนผังขนาดใหญ่ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โปรดฯ ให้สร้างขึ้นในบริเวณที่ทรงมีชัยชนะเหนือกองทัพจามปา ตามจารึกปราสาทพระขรรค์  (K.908) ที่กล่าวว่า “...พระองค์โปรดให้สร้างเมืองชยศรี (Jayaśrī - ปราสาทพระขรรค์) ไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ในทรงได้รับชัยชนะเหนือกองทัพจาม ที่นำทัพเรือเข้ามาตีนครยโสธรปุระ “...ทรงสถาปนาเมืองชยศรีที่มีการประดับตกแต่งด้วยทอง ดอกบัวและหิน เพื่อกลบร่องรอยคราบเลือดบนพื้นดินที่ได้เห็นในทุกวันนี้...” ( โศลก- verse 32) “...เพื่อให้นครแห่งนี้มีความศักดิ์สิทธิ์เช่นเดียวกับเมืองประยงค์ (Prayága  - เมืองอัลลาฮาบัด ในประเทศอินเดีย) ซึ่งเป็นที่แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ทั้งสอง (คงคาและยมุนา) มาบรรจบกัน (โศลก 33) 
“...ทรงโปรดให้สร้างรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร  พระนามว่า “พระศรีชยวรเมศวร” (Śrī-Jayavarmeśvara) อุทิศถวายแก่พระราชบิดา (ในรูปศิลปะของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งอานุภาพบารมี  (Bodhisattva Avalokitevara Irradiant) ที่มีเค้าพระพักตร์ของพระเจ้าศรีธรณินทรวรมันที่ 2 ในวัยหนุ่ม ประดิษฐานอยู่ที่คูหามุขทางทิศเหนือของตัวปราสาทประธาน) ...ที่รอบ ๆ “อรยาอวโลกิเตศวร” (Ārya-Avalokiteśa) ยังโปรดให้สร้างรูปเทพเจ้าจำนวน 200 และ 83 องค์  ...ด้านตะวันออกโปรดให้สร้างเทวรูป 3 องค์ องค์แรก คือ “พระศรีตรีภูวนวรเมศวร” (Śrī Tribhuvanavarmeśvara)...ทางทิศใต้ โปรดให้สร้างเทวรูป 32 องค์ องค์แรกคือ “พระศรียโศวรเมศวร” (Śrī Yaśovarmeśvara)...ทางทิศตะวันตก โปรดให้สร้างเทวรูป 30 องค์ไว้ เริ่มต้นด้วย “พระศรีจามเปศวร”(Śrī Cāmpeśvara)...ทางทิศเหนือ โปรดให้สร้างเทวรูป 30 องค์ไว้ เริ่มต้นด้วยภาพพระศิวบาท (Śivapāda) ...เทวรูปองค์หนึ่งอยู่ในยุ้งข้าว ตรงทางรอบ ๆ ที่บูชา 10 องค์ อยู่ในศาลาที่พัก 4 องค์ อยู่ที่โรงพยาบาล 3 องค์...เทวรูป 24 องค์ อยู่ในประตูทางออกทั้ง 4 ด้าน รวมทั้งหมด 430 องค์....” (โศลก 34 – 40) นอกนั้นเป็นพระเทวรูปที่สร้างไว้ตามจุดต่าง ๆ รวมเป็นพระเทวรูปทั้งหมด 515 องค์
“....รอบปราสาท...มีหมู่บ้าน 5,324 แห่ง ผู้คนชายหญิง 97,840 คน....ภายในปราสาทมีห้องเล็กทั้งหมด 439 ห้องกุฎี (kuṭis) โหราจารย์ 1 คน ผู้ช่วยอาจารย์ 15 คน นักบวช 338 คน ฝ่ายไศวะมี 39 คน และนักเรียน-ข้าวัด 1,000 คน... ....มีพ่อครัว 44 คน  ....พระองค์ได้พระราชทาน ข้าวสุก งา ถั่ว เนยเหลว นมข้น น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำมันงา น้ำมัน ผลไม้ ผ้าไหมกันยุง ผ้าสักหลาดสีขาวและสีแดง สำหรับตกแต่งรูปพระโพธิสัตว์ พร้อมด้วยผ้าสี่เหลืองแก่สำหรับคลุมเตียงและเก้าอี้ ....ยางสน  ไม้จันทน์ ไม้กฤษณา การบูร ไม้หอมและเครื่องหอมเป็นเครื่องสักการะ บูชาแก่เทวรูปที่เป็นมงคลตามคติการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในทางศาสนา...”
“....มีการแจกจ่ายให้โดยไม่คิดมูลค่าแก่ผู้ที่อยู่ในบ้านของเหล่าคุรุ นักบวชและนักเรียนเป็นส่วนบุคคล ในเวลามีงานเทศกาลสงกรานต์ และงานนักขัตฤกษ์  จะโปรดให้ตั้งโรงทาน ...ประกอบด้วยข้าวสุกคุณภาพดีเยี่ยม งา ถั่ว นมข้น น้ำผึ้ง น้ำมันงา พริกไทย ขี้ผึ้ง เกลือ ไม้จันทร์ การบูร เส้นไหม ห่วงทอง โค ภิกษุ ทอง กระป๋อง คนโทใส่น้ำ เตียงนอน หมอนอ่างทำด้วยทองแดง มุ้งแพรจีน หมอนอิง เสื่อจีน หีบจีน ตลับใส่เครื่องหอม หนังวัวสี น้ำตาล รองเท้าไม้ โคภิกษาและเขาสัตว์หุ้มทอง ผ้าคลุมผ้าสีต่างๆ ช้าง ทาสหญิง ควาย....นอกจากนี้ยังมีสิ่งของที่ทำด้วยทอง แก้วไพฑูรย์ ทับทิม   ไข่มุกทองแดง ทองสำริด ชาม ทอง  ดีบุกสีขาว  ตะกั่ว ตะกั่วสีดา
ฯลฯ...”
-------------------------------------
*** ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้มีการพบรูปสลักนูนสูงนางอัปสรา (Apsarā) มีงานรายละเอียดงานศิลปะที่งดงามมากกว่ารูปนางอัปสราที่เคยเห็นในยุคบายน ในซอกหลืบหินที่พังทลายลงมาของตัวกุฏีทรงปราสาทหลังเล็กคู่หนึ่ง ที่ตั้งอยู่ด้านในติดกับระเบียงคดชั้นนอกฝั่งทิศเหนือ ใกล้กับประตูเล็ก ๆ ช่วงปลายกำแพงเชื่อมต่อระหว่างวิหารผังกากบาทด้านหน้าของหมู่ปราสาทกับระเบียงคด
ด้วยเพราะถูกชิ้นส่วนหินก่อของยอดกุฏีพังลงมาทับ ภาพสลักนางอัปสรา 2 จึงรอดพ้นมาจากการกัดกร่อนของน้ำฝนและสภาพภูมิอากาศ ซึ่งก็ได้มีการแต่งเรื่องเล่ากันว่ารูปอัปสราที่มีความงดงามทั้ง 2 นี้ คือรูปของ “พระนางชยราชเทวี” (Jayarajadevī) และ“พระนางอินทรเทวี” (Indradevī) มเหสีของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (จากจารึกปราสาทพิมานอากาศ K.485) เวลาที่มีนักท่องเที่ยวเดินเข้ามาในโซนนี้ ก็จะมีแม่ชีเป็นพนักงานนำทาง และบริการธูปจุดเทียนให้กราบไหว้และบริจาคตามแต่กำลังศรัทธา   
*** แต่เหมือนว่าคนแต่งเรื่องนี้จะลืมชื่อพระนาม “พระนางราเชนทรเทวี” (Rājendradevī) พระมเหสีองค์แรกของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระราชมารดาใน “เจ้าชายวีรกุมาร” (Śrī-Vīírakumāra) พระโอรสที่เป็นผู้ให้จารเรื่องราวต่าง ๆ ในจารึกปราสาทพระขรรค์ที่เป็นจารึกสำคัญของปราสาทหลังนี้เอง
อาคารกุฎีที่มีรูปสลักนางอัปสรา ประดับผนังข้างซุ้มประตูที่งดงามนี้ คงเป็นอาคารที่มีความสำคัญด้วยเพราะเป็นด้านหน้า ทั้งสองรูปประดับอยู่คนละหลัง หลังทางทิศใต้ที่ยังมียอดอยู่ดูจะมีอายุมากกว่า แต่มีรายละเอียดความงดงามมากกว่ารูปบนผนังทางทิศเหนือ ที่ดูงานเครื่องประดับประดับเหมือนกับรูปสลักนางอัปสราที่ปราสาทบายน ที่เป็นงานฝีมือระดับช่างหลวงในยุคสมัยเดียวกัน (แต่ไม่ถูกฝนชะล้าง จึงไม่สึกกร่อนมากนัก)
ส่วนรูปอัปสราฝั่งด้านใต้ ที่ถูกหินหลังคาหล่นจากอีกหลังหนึ่งถล่มลงมาทับปิดไว้จนเหลือเพียงซอกหลืบเล็ก ๆ ดูมีอายุมากกว่า มีสันจมูกโด่ง มีช่องกลมที่คิ้วเหมือนเคยมีการประดับอัญมณี ขีดเส้นโค้งในตาเป็นลูกตาดำแบบเปิดตา ยิ้มที่มุมปากแบบบายน คางเป็นร่อง กรอศอและสังวาลเม็ดกลมต่อกันเป็นแถบสายใหญ่ พาดกลางร่องอกที่เต่งตึงลงมาแยกออกไปคล้องสะโพก คล้องสายมาลัยถักยาว (วนมาลา) หน้าท้องใต้สะดือ มีเส้นขีด 3 ริ้ว ในความหมายของผู้หญิงที่มีอายุ (หรือมีลูกแล้ว) นุ่งผ้าซิ่นยาวลายดอกไม้จีน ทิ้งชายพกเป็นริ้วหางปลาปลายแหลม รัดเข็มขัดมีพู่อุบะเป็นระยะ ด้านข้างรูปสลักเป็นช่องแยกของผนังหิน ที่กลายเป็นทางน้ำไหลทำให้ผนังโดนน้ำซึมจนหินสลักแตกกะเทาะออกไป
*** หากยิ่งยืนพินิจในความงดงามที่แตกต่าง ท่ามกลางความมืดสลัวของรูปอัปสรานางนี้  ก็ชวนให้เชื่อแล้วว่า นี่อาจเป็นภาพสลักที่ทำขึ้นอุทิศแก่ “พระนางราเชนทรเทวี-ชยราชเทวี” บนผนังของอาคารกุฎีปราสาท ที่ตั้งอยู่ด้านหน้าปราสาทพระขรรค์นี้จริง ๆ
เครดิต ; FB
วรณัย  พงศาชลากร
EJeab  Academy
.....................................................
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.....................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.
.....................................................


องคุลีมาล

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
ตำนานอังคุลิมาละปริตร
      พระปริตรบทนี้มีเนื้อความว่า นางพราหมณีภรรยาของปุโรหิตาจารย์อันเป็นอาจารย์ของพระเจ้าโกศลราช มีครรภ์ เมื่อวันครบกำหนดแล้วคลอดบุตร เวลาที่คลอดนั้นบังเกิดมหัศจรรย์ เครื่องศาสตราวุธของพราหมณ์ปุโรหิตและพระแสงศาสตราวุธของพระเจ้าโกศลก็ยังเกิดลุกรุ่งเรืองดั่งเปลวไฟ ปุโรหิตนั้นดูฤกษ์บนเมื่อบุตรของตนคลอดนั้นแล้ว ก็ประหลาดใจนักหนาจึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้าโกศล ทูลว่า ศาสตราวุธที่ลุกขึ้นเป็นเปลว ทั้งนี้ ด้วยอานุภาพกุมารอันบังเกิดในเรือนข้าพระองค์จะเป็นโจรมีน้ำใจหยาบช้า นานไปจะพิฆาตหมู่ชนเสียเป็นอันมาก แต่ว่าหาประทุษร้ายต่อพระนครไม่ ขอพระองค์จงจับกุมารนั้นไปประหารชีวิตเสีย
      พระเจ้าโกศลรับสั่งว่า จะฆ่ากุมารเสียบัดนี้เป็นการไม่สมควร ให้ปุโรหิตบำรุงรักษากุมารนั้นไว้เถิด ปุโรหิตก็รักษากุมารนั้นไว้ พอกุมารค่อยเจริญขึ้น จึงให้นามกรตามเหตุที่ศาสตราวุธรุ่งเรืองดังแสงเพลิงว่า “อหิงสกกุมาร”
      เมื่ออหิงสกกุมารมีอายุสมควรแก่การเล่าเรียนศิลปศาสาตร์แล้ว มารดาบิดาจึงส่งอหิงสกกุมารไปเรียนวิชาในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ณ เมือง ตักกศิลา เจ้าอหิงสกะ เป็นผู้ฉลาดเรียนวิชาศิลปะสาสตร์ได้โดยเร็ว ทั้งการปรนนิบัติอาจารย์ก็ดียิ่ง เพื่อนศิษย์ที่เรียนด้วยกันมีความริษยา จึงพากันไปกล่าวแก่อาจารย์ว่า เจ้าอหิงสกะคิดอ่านประทุษร้ายอาจารย์ ทีแรกอาจารย์ก็หาเชื่อไม่ ครั้นพวกหลังมากล่าวอีก อาจารย์ก็ตัดความรักเจ้าอหิสกะนั้นเสีย แล้วทำอุบายเพื่อจะยืมอาวุธจากคนอื่นมาประหารชีวิตเจ้าอหิงสกะเสีย จึงบอกเจ้าอหิงสกะให้ไปฆ่าคนตัดเอานิ้วมือมาคนละนิ้วให้ได้พันหนึ่ง จึงประสาทวิษณุมนต์ให้ เจ้าอหิงสกะ ตอบแก่อาจารย์ว่า การฆ่าคนผิดประเพณีแห่งพราหมณ์วงศ์ ตนมิอาจที่จะกระทำได้ อาจารย์ก็ตอบยืนยันว่า ต้องไปฆ่ามาให้ได้จึงจะประสาทอิทธิมนต์ให้ เจ้าอหิงสกะก็จำใจต้องออกไปสู่ชายป่า ฆ่าคนสัญจรไปมาตัดเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงแขวนไว้ได้ถึง ๙๙๙ นิ้ว เหตุนี้จึงเรียกกันว่า “องคุลิมาลโจร” ราษฎรได้รับความเดือดร้อนด้วยเรื่องโจรฆ่าคน จึงไปทูลพระเจ้าโกศลให้ทรงทราบ พระเจ้าโกศลก็ให้ตระเตรียมพลจะออกไปจับโจรฆ่าเสีย นางพราหมณีผู้เป็นมารดาองคุลิมาล ได้ทราบว่าอันตรายจะมีแก่บุตรของตน ก็รีบล่วงหน้าไปก่อนเพื่อจะบอกเหตุให้บุตรของตนทราบ
      ครั้น พระศาสดาทรงทราบด้วยพระญาณว่า องคุลิมาลมีอุปนิสัยแห่งพระอรหัตตผล ถ้าพระองค์ไม่ทรงทรมานเสียก่อน ก็จะทำมาตุฆาตและขาดจากมรรคผล พระองค์จึงเสด็จไปทรงทรมานองคุลิมาลโดยอำนาจพุทธปาฏิหาริย์ องคุลิมาลก็วิ่งไล่พระผู้มีพระภาคเจ้าแต่หาทันไม่ จึงต้องบอกให้พระองค์หยุด พระองค์ก็ทรงพระดำเนินอยู่แต่มีพุทธฎีกาว่า หยุดแล้ว องคุลิมาลจึงหาว่าพระองค์ตรัสมุสาวาท พระองค์ตรัสว่า เราหยุดจากบรรดาอกุศลกรรมแล้ว แต่ตัวเธอยังไม่หยุดจากบาปกรรม พระสุรเสียงนั้นทำให้องคุลิมาลได้สติเห็นโทษของตัว จึงเปลื้องอาวุธและองคุลีทั้ง ๙๙๙ ทิ้งเสีย และขออุปสมบท พระองค์ก็ทรงอนุญาต แล้วนำไปสู่พระเชตะวัน
      วันรุ่งขึ้น พระองคุลิมาลไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี ชาวเมืองก็ตกใจกลัวต่อมรณภัยพากันหนีไปสิ้น ไม่มีใครใส่บาตรท่านเลย ครั้งนั้นมีหญิงคนหนึ่งท้องแก่ เห็นพระองคุลิมาลเข้าก็มีความตกใจ จึงทำกิริยาลอดรั้วหนี ด้วยเหตุท้องใหญ่ลอดไปมิได้ และบังเอิญเจ็บท้องจวนคลอดลูกในขณะนั้น แต่ยังทนลำบากอยู่หาคลอดได้ไม่ ญาติของหญิงคนนั้นคนหนึ่งคิดขึ้นว่า ถ้าพระองคุลิมาลท่านตั้งความสัจจาธิษฐานให้หญิงนี้คลอดลูกสะดวกแล้ว ก็คงคลอดได้ง่าย จึงนิมนต์ท่านไปตั้งความสัจจาธิษฐาน พระองคุลิมาลก็ตั้งความสัตย์ เนื้อความเหมือนในคาถาสวดมนต์ หญิงนั้นก็คลอดลูกได้โดยง่าย ที่ที่พระองคุลิมาลตั้งความสัตย์ ภายหลังได้ก่อเป็นแท่นไว้ แม้ว่าสัตว์เดรัจฉานและสตรีที่คลอดบุตรมิได้สะดวก ไปนอนบนแท่นนั้นก็คลอดบุตรง่ายยิ่งนัก แม้ไปไม่ได้เอาน้ำล้างแท่นนั้น มารดศีรษะสตรีที่คลอดบุตรไม่สะดวกก็ว่าคลอดได้ง่าย และว่าเป็นวัณโรคเมื่อเอาน้ำล้างแท่นนั้นมารดศีรษะบ้าง ให้กินบ้างก็หายได้
      เมื่อพระองคุลิมาลทำสัจจาธิษฐานแล้ว ก็ได้อาหารบิณฑบาตพอฉันจึงกลับมาเจริญสมณธรรมต่อไป พระผู้เป็นเจ้าเจริญสมณธรรมได้ความกำเริบร้อนใจยิ่งนัก ให้เห็นไปว่าอสูรกายที่ฆ่าไว้มาทวงเอาชีวิตเนืองๆ ภายหลังได้รับพุทโธวาทว่า ให้กำจัดบาปกรรมให้ปราศจากสันดานเหมือนดังบุรุษเอาสาหร่ายและจอกแหนออกจากบ่อน้ำ พระผู้เป็นเจ้าก็ปฏิบัติตามพุทธฎีกา ในไม่ช้าก็ได้บรรลุแก่พระอรหัตตผลเป็นอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา
      พระคาถาที่สวด สวดแต่เฉพาะคาถาที่พระองคุลิมาลอธิษฐาน สวด ๓ จบ มีคาถาที่สวดและคำแปลดังต่อไปนี้
บทขัดอังคุลิมาละปริตร
 ปะริตตัง ยัมภะณันตัสสะ                          
แม้แต่น้ำล้างตั่งรองนั่งของ
นิสินนัฏฐานะโธวะนัง                                 พระองคุลิมาลเถระผู้กล่าวพระปริตรบทใด
อุทะกัมปิ วินาเสติ                                      ยังบันดาลให้อันตรยทั้งปวงหายไปได้
สัพพะเมวะ ปะริสสะยัง
โสตถินา คัพภะวุฏฐานัง                     
อนึ่ง พระปริตรบทใดที่พระโลกนาถเจ้า
ยัญจะ สาเธติ ตังขะเณ                      
ทรงภาษิต แก่พระองคุลิมาลเถระ
เถรัสสังคุลิมาลัสสะ                                   ย่อมยังการคลอดบุตรให้สำเร็จโดยสวัสดี
โลกะนาเถนะ ภาสิตัง                      
ทันทีทันใด
กัปปัฏฐายิ มะหาเตชัง    
เราทั้งหลาย จงสวดพระปริตรบทนั้น
ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ  
ซึ่งมีเดชมาก ตั้งอยู่ตลอดกัป เทอญ ฯ
อังคุลิมาละปริตร
(บทนี้ทำให้คลอดบุตรง่าย และป้องกันอุปสรรคอันตรายได้ดีนักแล)
ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ                        ดูก่อนพี่น้องหญิง ตั้งแต่เราเกิดแล้ว
ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ สัญจิจจะ  
โดยชาติเป็นอริยะ มิได้รู้แกล้ง
ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตา 
เพื่อจะปลงสัตว์มีชีพจากชีวิต
เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต     
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน
โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ ฯ                      
ขอความสวัสดี 
จงมีแก่ครรภ์ของท่าน ฯ
ธรรมะบูชา DhammaBoocha
ขอขอบคุณ
-         หนังสือสวดมนต์แปล วัดวงษ์ฆ้อง จ.พระนครศรีอยุธยา

ชื่อดั้งเดิมของแต่ละจังหวัด

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

ชื่อดั้งเดิมของแต่ละจังหวัด
     ชื่อเก่าของ 77 ประเทศไทย และตราประจำจังหวัดนั้น นั้นเรียกว่าอะไร และเป็นสัญลักษณ์อย่างไรกันบ้าง เริ่มกันที่...
ภาคเหนือมี 9 จังหวัด
1 จังหวัดเชียงราย ชื่อเก่าคือ เวียงชัยนารายณ์ ตราประจำจังหวัดเป็น รูปช้างสีขาวกับเมฆลอย ที่ขอบตรามีรูปนาคเกี้ยว...
2 จังหวัดเชียงใหม่ ชื่อเก่าคือ นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ หรือ เวียงพิงค์ ตราประจำจังหวัดเป็น รูปช้างเผือกยืนอยู่ในเรือนแก้ว...
3 จังหวัดน่าน ชื่อเก่าคือ เมืองนันทบุรี เมืองน่าน เมืองนาน ตราประจำจังหวัดเป็น รูปพระธาตุแช่แห้งบนหลังโคศุภราช...
4 จังหวัดพะเยา ชื่อเก่าคือ เมืองภูกามยาว หรือ พยาว ตราประจำจังหวัดเป็นรูป พระเจ้าตนหลวงสีโคมดำ ประทับเหนือกว๊านพะเยา มีช่อรวงข้าวประดับอยู่ 2 ข้าง และลายกนกเปลว 7 ลายลอยอยู่...
5 จังหวัดแพร่ ชื่อเก่าคือ เมืองพลนคร หรือ เวียงโกศัย ตราประจำจังหวัดเป็น รูปพระธาตุช่อแฮบน หลังม้าแก้วมหาพลอัศวราช...
6 จังหวัดแม่ฮ่องสอน ชื่อเก่าคือ หมู่บ้านว่า "แม่ร่องสอน เพี้ยนเป็น "แม่ฮ่องสอน" ตราประจำจังหวัดเป็น รูปช้างเล่นน้ำ...
7 จังหวัดลำปาง ชื่อเก่าคือ เมืองเขลางค์นคร ตราประจำจังหวัดเป็นรูป ไก่ยืนอยู่ในประตูมณฑป วัดพระธาตุลำปางหลวง...
8 จังหวัดลำพูน ชื่อเก่าคือ เมืองหริภุญไชย ตราประจำจังหวัดเป็นรูปพระธาตุหิริภุญชัย...
9 จังหวัดอุตรดิตถ์ ชื่อเก่าคือ บางโพธิ์ท่าอิฐ สมัยก่อนเป็นเพียงตำบลเท่านั้น ตราประจำจังหวัดเป็นรูปมณฑปประดิษฐานพระแท่นศิลาอาสน์มีลวดลายกนกประกอบ...
ภาคกลางมี 21 จังหวัด (กรุงเทพมหานครไม่ถือเป็นจังหวัด)
10 จังหวัดกำแพงเพชร ชื่อเก่าคือ เมืองชากังราว หรือ เมืองนครชุม ตราประจำจังหวัดเป็นรูปกำแพงเมืองมีใบเสมาประดับเพชร...
11 จังหวัดชัยนาท ชื่อเก่าคือ เมืองแพรก หรือ เมืองสรรค์ ตราประจำจังหวัดเป็นรูปธรรมจักรหน้าภูเขาซึ่งหมายเอาได้ถึง เขาสรรพยา และเขาธรรมามูล...
12 จังหวัดนครนายก ชื่อเก่าคือ เมืองนายก ตราประจำจังหวัดเป็นรูปช้างชูรวงข้าวเบื้องหลังเป็นลอมฟาง...
13 จังหวัดนครปฐม ชื่อเก่าคือ เมืองนครไชยศรี หรือ ศรีวิชัย ตราประจำจังหวัดเป็นรูปพระปฐมเจดีย์ประดับด้วยเครื่องหมายเลข 4 ไทยในพระมหาพิชัยมงกุฎ...
14 จังหวัดนครสวรรค์ ชื่อเก่าคือ เมืองพระบาง หรือ เมืองชอนตะวัน ตราประจำจังหวัดเป็นรูปวิมานสามยอด...
15 จังหวัดนนทบุรี ชื่อเก่าคือ บ้านตลาดขวัญ, เมืองนนทบุรีศรีมหาสมุทร, เมืองนนทบุรีศรีมหาอุทยาน เมืองนนทบุรีศรีเกษตราราม ตราประจำจังหวัดเป็นหม้อน้ำดินเผาลายวิจิตร หมายถึงชาวจังหวัดนนทบุรีมีอาชีพทำเครื่องปั้นดินเผาซึ่งมีชื่อเสียงมาช้านาน...
16 จังหวัดปทุมธานี ชื่อเก่าคือ เมืองสามโคก หรือ เมืองประทุมธานี ตราประจำจังหวัดเป็นรูปบัวหลวง ชูรวงข้าว ข้าวชูช่อเหนือน้ำ...
17 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชื่อเก่าคือ อโยธยา, อโยธยาศรีรามเทพนคร, กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา ตราประจำจังหวัดเป็นรูปสังข์ทักษิณาวัตรประดิษฐานอยู่บนพานแว่นฟ้าในปราสาทใต้ต้นหมัน...
18 จังหวัดพิจิตร ชื่อเก่าคือ เมืองสระหลวง เมืองโอฆะบุรี เมืองชัยบวร, เมืองปากยม ตราประจำจังหวัดเป็นรูปต้นโพธิ์ริมสระหลวง...
19 จังหวัดพิษณุโลก ชื่อเก่าคือ เมืองสองแคว ตราประจำจังหวัดเป็นรูปพระพุทธชินราช พระคู่บ้านคู่เมืองพิษณุโลก...
20 จังหวัดเพชรบูรณ์ ชื่อเก่าคือ เพชบุระ ตราประจำจังหวัด เป็นรูปเพชรกับภูเขาและไร่ยาสูบ...
21 จังหวัดลพบุรี ชื่อเก่าคือ ละโว้ ตราประจำจังหวัดเป็นรูปพระนารายณ์สี่กรประทับยืนอยู่บนพระปรางค์สามยอด...
22 จังหวัดสมุทรปราการ ชื่อเก่าคือ เมืองพระประแดง, เมืองนครเขื่อนขันธ์, จังหวัดพระประแดง ตราประจำจังหวัดเป็นรูปพระสมุทรเจดีย์...
23 จังหวัดสมุทรสงคราม ชื่อเก่าคือ เมืองแม่กลอง ตราประจำจังหวัดเป็น
กลองลอยน้ำ...
24 จังหวัดสมุทรสาคร ชื่อเก่าคือ เมืองสาครบุรี ตราประจำจังหวัดเป็น รูปสำเภาจีนในแม่น้ำท่าจีน...
25 จังหวัดสิงห์บุรี ชื่อเก่าคือ เมืองสิงหราชาธิราช, เมืองสิงหราชา, เมืองสิงห์ ตราประจำจังหวัดเป็น รูปอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจันในวงกลมขอบวงกลมเป็นแถบสีธงชาติ...
26 จังหวัดสุโขทัย ชื่อเก่าคือ ศรีสัชนาลัย ตราประจำจังหวัดเป็น รูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราชประทับอยู่บนพระแท่นมนังคศิลาอาสน์...
27 จังหวัดสุพรรณบุรี ชื่อเก่าคือ เมืองทวารวดีศรีสุพรรณภูมิ, พันธุมบุรี, สองพันบุรี, อู่ทอง ตราประจำจังหวัดเป็นรูปการทำยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรกับพระมหาอุปราชามังกะยอชวา ที่ตำบลหนองสาหร่ายปีพ.ศ 2135...
28 จังหวัดสระบุรี ชื่อเก่าคือ หระรี , ปากเพรียว ตราประจำจังหวัดเป็น รูปมณฑปพระพุทธบาทสระบุรี...
29 จังหวัดอ่างทอง ชื่อเก่าคือ เมืองวิเศษชัยชาญ ตราประจำจังหวัดเป็น รูปรวงข้าว ในอ่างน้ำสีทอง...
30 จังหวัดอุทัยธานี ชื่อเก่าคือ เมืองอู่ไทย หรือ เมืองอุไทย ตราประจำจังหวัดเป็นรูปสมเด็จพระปฐมบรมหาชนก เบื้องหลังคือเขาสะแกกรัง...
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี 20 จังหวัด
31 จังหวัดกาฬสินธุ์ ชื่อเก่าคือ บ้านแก่งสำเริง หรือ บ้านแก่งสำโรง ตราประจำจังหวัดเป็นรูปติณชาติ คือหญ้า กาฬสินธุ์ บึงสีน้ำดำ ภูเขาและเมฆ...
32 จังหวัดขอนแก่น ชื่อเก่าคือ เมืองขามแก่น ตราประจำจังหวัดเป็นรูปพระเจดีย์ก่อไว้บนตอไม้หมายถึงพระธาตุขามแก่น...
33 จังหวัดชัยภูมิ ชื่อเก่าคือ บ้านหลวง ตราประจำจังหวัดเป็นรูปธง สามชาย อันเป็นธงชัยประจำกองทัพสมัยโบราณ...
34 จังหวัดนครพนม ชื่อเก่าคือ เมืองมรุกขนคร เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่กลายเป็น เมืองศรีโคตรบรูณ์ ตราประจำจังหวัดเป็นรูปพระธาตุพนม...
35 จังหวัดนครราชสีมา ชื่อเก่าคือ โคราช หรือ โคราฆะ กับเมือง เสมา ตราประจำจังหวัดเป็นอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีหน้าประตูชุมพล...
36 จังหวัดบึงกาฬ ชื่อเก่าคือ ชัยบุรี (เมืองไชยบุรี) ตราประจำจังหวัดเป็น ภูทอก บึงโขงหลงและต้นไม้...
37 จังหวัดบุรีรัมย์ ชื่อเก่าคือ โนนม่วง เมืองแปะ ตราประจำจังหวัดเป็นรูป เทพยดาฟ้อนรำหน้าปราสาทหินพนมรุ้ง...
38 จังหวัดมหาสารคาม ชื่อเก่าคือ บ้านลาดกุดยางใหญ่ ตราประจำจังหวัดเป็นรูปทุ่งนาและต้นรังมาจากชื่อเมืองมหาสาลคามหมายถึงหมู่บ้านต้นรังใหญ่ซึ่งสะกดเพี้ยนมาเป็นมหาสารคามในปัจจุบัน...
39 จังหวัดมุกดาหาร ชื่อเก่าคือ เมืองมุกดาหาร ตราประจำจังหวัดเป็นรูปปราสาทสองนางสถิตย์ประดิษฐานแก้วมุกดาหาร...
40 จังหวัดยโสธร ชื่อเก่าคือ สมัยก่อนเป็นหมู่บ้านเรียกว่า บ้านสิงห์ท่า ต่อเป็นเมืองยโสธรมีฐานะเป็นเมืองประเทศราช ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ ตราประจำจังหวัดเป็น รูปพระธาตุอานนท์พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองในวัดมหาธาตุมีสิงห์ขนาบข้าง 2 ข้าง มาจากชื่อที่ตั้งเมื่อแรกสร้างคือเมืองสิงห์ท่า รูปดอกบัวบานหมายถึงจังหวัดยโสธรแยกมาจากอุบลราชธานี รัศมีบนยอดแปดแฉก หมายถึงอำเภอทั้ง 8 ของจังหวัด...
41 จังหวัดร้อยเอ็ด ชื่อเก่าคือ สาเกตนคร หรือ เมืองร้อยเอ็จประตู ตราประจำจังหวัดเป็นรูปศาลหลักเมืองบนเกาะกลาง บึงพลาญชัยเบื้องหลังเป็นรูปพระมหาเจดีย์ชัยมงคลโดยมีกรอบรูปวงกลม เป็นรูปรวงข้าวล้อมรอบ...
42 จังหวัดเลย ชื่อเก่าคือ หมู่บ้านแฮ่ หรือ เมืองเลย ตราจังหวัดเป็นรูป พระธาตุศรีสองรัก เบื้องหลังเป็นทิวเขา...
43 จังหวัดสกลนคร ชื่อเก่าคือ เมืองหนองหานหลวง หรือ เมืองสกลทวาปี
ตราประจำจังหวัดเป็นรูป พระธาตุเชิงชุม หน้าหนองหานหลวงและดอนสวรรค์...
44 จังหวัดสุรินทร์ ชื่อเก่าคือ เมืองประทายสมันต์ ตราประจำจังหวัดเป็นรูปพระอินทร์ประทับบนแท่นศรีษะช้างเอราวัณหน้าปราสาทหินศีขรภูมิ...
45 จังหวัดศรีสะเกษ ชื่อเก่าคือ เมืองขุขันธ์ ตราประจำจังหวัดเป็นรูปปรางค์กู่มีดอกลำดวน 6 กลีบรองรับอยู่เบื้องล่าง...
46 จังหวัดหนองคาย ชื่อเก่าคือ บ้านไผ่ ตราประจำจังหวัดเป็นรูปกอไผ่ริมหนองน้ำ...
47 จังหวัดหนองบัวลำภู ชื่อเก่าคือ นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน หรือ เมืองกมุทธาสัย ตราประจำจังหวัด เป็นรูป สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประทับยืนหน้าศาลา หลังเป็น หนองบัวลำภู...
48 จังหวัดอุดรธานี ชื่อเก่าคือ บ้านหมากแข้ง หรือ บ้านเดื่อหมากแข้ง
ตราประจำจังหวัดเป็น รูป ท้าวเวสสุวรรณ หรือท้าวกุเวร เทพเจ้าประจำทิศเหนือ...
49 จังหวัดอุบลราชธานี ชื่อเก่าคือ ดอนมดแดง หรือ ดงอู่ผึ้ง ตราประจำจังหวัดเป็น รูปดอกบัวพ้นน้ำ...
50 จังหวัดอำนาจเจริญ ชื่อเก่าคือ เมืองค้อ ตราประจำจังหวัดเป็น รูปพระมงคลมิ่งเมืองพระพุทธรูปสำคัญประจำจังหวัด...
ภาคตะวันตกมี 5 จังหวัด
51. จังหวัดกาญจนบุรี ชื่อเก่าคือ ปากแพรก หรือ ศรีชัยยะสิงหปุระ
ตราประจำจังหวัดเป็นรูป ด่านพระเจดีย์สามองค์...
52 จังหวัดตาก ชื่อเก่าคือ เมืองตาก ตราจังหวัดเป็นรูป สมเด็จพระนเรศวรทรงหลั่งทักษิโณทกเหนือคอช้าง...
53 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชื่อเก่าคือ เมืองบางนารม หรือ เมืองนารัง, เมืองกุย ตราจังหวัดเป็นรูปพระที่นั่งคูหาคฤหาสน์และมีเกาะหลักอยู่เบื้องหลัง...
54 จังหวัดเพชรบุรี ชื่อเก่าคือ พริบพรี หรือ ศรีชัยวัชรบุรี ตราจังหวัดเป็นรูป ทุ่งนาต้นตาลโตนด และพระนครคีรี...
55 จังหวัดราชบุรี ชื่อเก่าคือ เมืองราชบุรี หรือ มณฑลราชบุรี ตราจังหวัดเป็นรูป เครื่องราชกกุธภัณฑ์ 2 ชนิด คือพระบาทเชิงงอนและพระแสงขรรค์ชัยศรี...
ภาคตะวันออกมี 7 จังหวัด
56 จังหวัดจันทบุรี ชื่อเก่าคือ ควนคราบุรี (เมืองกาไว), เมืองจันทบูร ตราจังหวัดเป็นรูป ตรานี้เป็นตราเดิมในธงประจำกองลูกเสือมณฑลจันทบุรี...
57 จังหวัดฉะเชิงเทรา ชื่อเก่าคือ แปดริ้ว ตราจังหวัดเป็นรูป พระอุโบสถหลังใหม่วัด โสธรวรารามวรวิหาร...
58 จังหวัดชลบุรี ชื่อเก่าคือ เมืองพระรถ, เมืองศรีพโล, เมืองพญาแร่, เมืองบางปลาสร้อย, เมืองพนัสนิคม, เมืองบางละมุง, เมืองชลบุรีศรีมหาสมุทร
ตราจังหวัดเป็นรูป เขาสามมุข และริมทะเลอ่าวไทย...
59 จังหวัดตราด ชื่อเก่าคือ เมืองกราด หรือ เมืองตราด ตราจังหวัดเป็นรูป โป๊ะเรือใบ และเกาะช้าง...
60 จังหวัดปราจีนบุรี ชื่อเก่าคือ เมืองพระรถ, เมืองศรีมโหสถ, เมืองอวัธยปุระ ตราจังหวัดเป็น รูปต้นศรีมหาโพธิ์...
61 จังหวัดระยอง ชื่อเก่าคือ ราย็อง ตราจังหวัดเป็น รูป พลับพลาที่ประทับของรัชกาลที่ 5 บนเกาะเสม็ด..
62 จังหวัดสระแก้ว แต่ก่อนไม่ได้เป็นจังหวัด เป็นกิ่งอำเภอ ชื่อมาจากสระน้ำที่อยู่กลางเมือง ตราจังหวัดเป็น รูปนี้กรมศิลป์ไม่ได้เป็นผู้ออกแบบ เป็นรูปพระ ประทับยืนอยู่บนดอกบัว...
ภาคใต้มี 14 จังหวัด
63 จังหวัดกระบี่ ชื่อเก่าคือ แขวงเมืองปกาสัย ตราจังหวัดเป็นรูปกระบี่ไขว้เบื้องหลังเป็นรูปภูเขา และทะเล...
64 จังหวัดชุมพร ชื่อเก่าคือ ชุมนุมพล ตราจังหวัดเป็น รูปเทวสตรียืนประทานพรหน้าค่ายมีต้นมะเดื่อขนาบอยู่ 2 ข้าง....
65 จังหวัดตรัง ชื่อเก่าคือ เมืองทับเที่ยง, เมืองควนธานี ตราจังหวัดเป็น รูปกระโจมไฟท่าเรือและลูกคลื่นในท้องทะเล...
66 จังหวัดนครศรีธรรมราช ชื่อเก่าคือ เมืองตามพรลิงค์, ศิริธรรมนคร, ศรีธรรมราช ตราจังหวัดเป็น รูปพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราชมี 12 นักษัตรล้อม...
67 จังหวัดนราธิวาส ชื่อเก่าคือ มะนาลอ, บางนรา, เมืองระแงะ ตราจังหวัดเป็นรูปเรือกอและกลางใบแล่นลมเต็มที่ภายในใบเรือเป็นรูปธงช้างเผือก ส่งเครื่องคชชาภรณ์ รูปช้างนั้นหมายถึงพระศรีนรารัตน์ราชกิริณี ช้างสำคัญ ซึ่งจังหวัดนราธิวาสได้น้อมถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเมื่อปีพศ 2520...
68 จังหวัดปัตตานี ชื่อเก่าคือ เมืองตานี ตราจังหวัดเป็นรูปปืนใหญ่สีปัตตานีหรือนางพญาปัตตานี...
69 จังหวัดพังงา ชื่อเก่าคือ เมืองภูงา, บ้านกระพูงา, พิงงา ตราจังหวัดเป็นรูปเรือขุดเหมืองเขารูปช้างและเกาะตะปู...
70 จังหวัดพัทลุง ชื่อเก่าคือ คูหาสวรรค์ ตราจังหวัดเป็น รูปเขาอกทะลุ...
71 จังหวัดภูเก็ต ชื่อเก่าคือ บูกิต, ภูเก็จ, จังซีลอน, ถลาง ตราจังหวัดเป็นรูปอนุสาวรีย์ ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร วาดจากของจริง...
72 จังหวัดระนอง ชื่อเก่าคือ เมืองแร่นอง ตราจังหวัดเป็น รูปปราสาทตั้งอยู่บนภูเขา มีรูปเลข 5 ไทยประดิษฐานอยู่บนพานแว่นฟ้า...
73 จังหวัดสตูล ชื่อเก่าคือ มูเก็มสโตย-ละงู, นครีสโตย, มำบังนังคะรา ตราจังหวัดเบน รูปพระสมุทรเทวาประทับนั่งบนพระแท่นหิน เบื้องหลังเป็นพระอาทิตย์อัสดง...
74 จังหวัดสงขลา ชื่อเก่าคือ สิงหนคร (สิง-หะ-นะ-คะ-ระ), สิงหลา, สิงขร ตราจังหวัดเป็น รูป ของสังข์ วางอยู่บนพานแว่นฟ้า...
75 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชื่อเก่าคือ เมืองไชยา, เมืองกาญจนดิษฐ์ ตราประจำจังหวัดเป็น รูปพระบรมธาตุไชยา...
76 จังหวัดยะลา ชื่อเก่าคือ ยาลอ ตราจังหวัดเป็นรูปคนงานทำเหมืองดีบุก...
77. จังหวัดบึงกาฬ มีชื่อเดิมว่าบ้านบึงกาญจน์ มีฐานะเป็นตำบลขึ้นกับอำเภอไชยบุรีจังหวัดนครพนม ต่อมาได้มีการย้ายที่ว่าการอำเภอไชยบุรีมาตั้งที่บ้านบึงกาฬ คงชื่ออำเภอไชยบุรีตาม ขึ้นกับจังหวัดนครพนม จนกระทั่งปี พ.ศ. 2460 ได้ถูกโอนย้ายให้ขึ้นต่อจังหวัดหนองคาย และถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น บึงกาฬ ในปี พ.ศ. 2482.

เครดิต ; FB
     ดร.สุวิจักขณ์ ภานุสรณ์ฐากูร
.....................................................
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.....................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.
.....................................................
รายชื่อ 77 จังหวัดของประเทศไทย (แบ่งตามภาคออกเป็น 6 ภาค)

 

  1. ภาคเหนือ / 9 จังหวัด 

1.จังหวัดเชียงราย 

2.จังหวัดเชียงใหม่ 

3.จังหวัดน่าน 

4.จังหวัดพะเยา 

5.จังหวัดแพร่ 

6.จังหวัดแม่ฮ่องสอน 

7.จังหวัดลำปาง 

8.จังหวัดลำพูน 

9.จังหวัดอุตรดิตถ์

............................................................................................................    

 2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ / 20 จังหวัด

1.จังหวัดกาฬสินธุ์ 

2.จังหวัดขอนแก่น 

3.จังหวัดชัยภูมิ 

4.จังหวัดนครพนม 

5.จังหวัดนครราชสีมา 

6.จังหวัดบึงกาฬ 

7.จังหวัดบุรีรัมย์ 

8.จังหวัดมหาสารคาม 

9.จังหวัดมุกดาหาร 

10.จังหวัดยโสธร 

11.จังหวัดร้อยเอ็ด 

12.จังหวัดเลย 

13.จังหวัดสกลนคร 

14.จังหวัดสุรินทร์ 

15.จังหวัดศรีสะเกษ 

16.จังหวัดหนองคาย 

17.จังหวัดหนองบัวลำภู 

18.จังหวัดอุดรธานี 

19.จังหวัดอุบลราชธานี 

20.จังหวัดอำนาจเจริญ 

............................................................................................................    

  

  3.ภาคกลาง 

มี 21 จังหวัด (กรุงเทพมหานครไม่ถือเป็นจังหวัด) 

1.จังหวัดกำแพงเพชร 

2.จังหวัดชัยนาท 

3.จังหวัดนครนายก 

4.จังหวัดนครปฐม 

5.จังหวัดนครสวรรค์ 

6.จังหวัดนนทบุรี 

7.จังหวัดปทุมธานี 

8.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 

9.จังหวัดพิจิตร 

10.จังหวัดพิษณุโลก 

11.จังหวัดเพชรบูรณ์ 

12.จังหวัดลพบุรี 

13.จังหวัดสมุทรปราการ 

14.จังหวัดสมุทรสงคราม 

15.จังหวัดสมุทรสาคร 

16.จังหวัดสิงห์บุรี 

17.จังหวัดสุโขทัย 

18.จังหวัดสุพรรณบุรี 

19.จังหวัดสระบุรี 

20.จังหวัดอ่างทอง 

21.จังหวัดอุทัยธานี 

............................................................................................................    

   

  4. ภาคตะวันออก / 7 จังหวัด 

1.จังหวัดจันทบุรี 

2.จังหวัดฉะเชิงเทรา 

3.จังหวัดชลบุรี 

4.จังหวัดตราด 

5.จังหวัดปราจีนบุรี 

6.จังหวัดระยอง 

7.จังหวัดสระแก้ว

   ............................................................................................................    

  5. ภาคตะวันตก / 5 จังหวัด

1.จังหวัดกาญจนบุรี 

2.จังหวัดตาก 

3.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 

4.จังหวัดเพชรบุรี 

5.จังหวัดราชบุรี 

............................................................................................................    

 

   6. ภาคใต้ / 14 จังหวัด 

1.จังหวัดกระบี่ 

2.จังหวัดชุมพร 

3.จังหวัดตรัง 

4.จังหวัดนครศรีธรรมราช 

5.จังหวัดนราธิวาส 

6.จังหวัดปัตตานี 

7.จังหวัดพังงา 

8.จังหวัดพัทลุง 

9.จังหวัดภูเก็ต 

10.จังหวัดระนอง 

11.จังหวัดสตูล 

12.จังหวัดสงขลา 

13.จังหวัดสุราษฎร์ธานี 

14.จังหวัดยะลา 


สิ่งที่หาได้ยากในโลก ๕ ประการ

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา


สิ่งที่หาได้ยากในโลก ๕ ประการ
พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้
มีด้วยกัน ๕ ประการ คือ
๑. การอุบัติบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า
เป็นสิ่งที่หาได้โดยยากในโลก
ฉะนั้น การที่เราได้เกิดมาในยุคปัจจุบัน
จึงนับเป็นเรื่องน่ายินดี
เพราะยังทันคำสอนของพระพุทธเจ้า
อีกทั้งยังมีโอกาสที่บุคคล จะปฏิบัติตาม
เพื่อให้รู้ธรรม เห็นธรรม และดับทุกข์ได้
เพียงแค่นี้ก็เรียกว่าได้ถึงพระพุทธเจ้า
ดังพุทธภาษิตที่ว่า
โยธมฺมํ ปสฺสติ โสมํ ปสฺสติ
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นพระพุทธเจ้า
โดยพุทธภาวะ กล่าวคือ
ภาวะแห่งผู้บริสุทธิ์ แห่งผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ประการที่ ๒ การอุบัติบังเกิดขึ้นเป็นมนุษย์
ทุลฺลโภ มนุสฺสตฺต ปฏิลาโภ
การเกิดขึ้นเป็นมนุษย์
เป็นสิ่งที่หาได้โดยยากในโลก
การที่จะเกิดเป็นมนุษย์ได้นั้น
จึงต้องมีศีล ๕ เป็นพื้นฐาน
เรียกว่า มีกุศลกรรมบถ
มนุษย์ถือเป็นภพภูมิสัตว์ที่ดี
ตรงที่สามารถจะพิจารณาธรรมได้
เห็นธรรมได้
การจะสั่งสมบารมี
ก็ต้องมาสั่งสมกันในภพมนุษย์นี่แหละ
ประการที่ ๓ การจะถึงพร้อมด้วยศรัทธา
เป็นสิ่งที่หาได้โดยยากในโลก
ทุลฺลภา สทฺธาสมฺปตฺติ
ศรัทธาก็คือ ความเชื่อ
เชื่อในเรื่องกรรม
เรื่องผลของกรรม
เชื่อว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน
เชื่อในความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
ถ้ามีความเชื่อเช่นที่กล่าวมา
เรียกว่า เรามีศรัทธา มีกัมมสัทธา
คือเชื่อเรื่องกรรม เชื่อเรื่องการกระทำ
วิปากสัทธา เชื่อเรื่องผลของกรรม
ซึ่งถ้าดวงจิตเกิดศรัทธาขึ้น
คุณงามความดีต่างๆ ก็จะตามมา
พระพุทธเจ้าตรัสว่า
ทุลฺลภา ปพฺพชฺชา
ประการที่ ๔ การได้บวชเป็นสิ่งที่หาได้โดยยากในโลก
คนเราใช่ว่าจะมีโอกาสบวชกันได้ง่ายๆ
ถ้าไม่มีพระพุทธศาสนาดำรงอยู่
ไม่มีพระสงฆ์สืบทอด ก็บวชใม่ได้
เพราะไม่มีใครจะมาเป็นอุปัชฌาย์
ไม่มีพระคู่สวด
และเป็นการทำที่ยาก
เพราะต้องสละเพศฆราวาส
สละออกจากทุกสิ่งทุกอย่าง
มาประพฤติพรหมจรรย์
พระพุทธเจ้าตรัสว่า
ทุลฺลภํ สทฺธมฺมสฺสวนํ
ประการที่ ๕ การได้มีโอกาสฟังพระสัทธรรม
เป็นสิ่งที่หาได้โดยยากในโลก
เราอาจจะไม่ค่อยรู้สึกอะไรในสมัยนี้
เพราะเป็นยุคที่ยังมีศาสนาอยู่
เลยมีโอกาสได้ฟังธรรม
แต่ถ้าไม่มีพุทธศาสนาหรือศาสนาหมดไป
ก็จะไม่ได้ยิน ได้ฟังกันอีก
หรือบางครั้งธรรมะที่ได้ฟัง
อาจไม่ใช่พระสัทธรรม
คือฟังแล้วไม่เป็นไป
เพื่อการลด ละ สละกิเลส
สิ่งใดที่ฟังแล้วเป็นการเพิ่มกิเลส
มีแต่โลภ โกรธ หลง มากขึ้น
ถึงจะออกมาจากปากของภิกษุ
ก็ถือว่าสิ่งนั้นไม่ใช่ธรรม
ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า
คำสอนของพระพุทธองค์
ต้องเป็นไปเพื่อ ลดละ สละกิเลส
จึงจะถูกต้อง
....................................
ธัมโมวาท โดยพระวิปัสสนาจารย์
ท่านเจ้าคุณ พระภาวนาเขมคุณ
(หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี)
เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ พระนครศรีอยุธยา
.......................................
.....................................................
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.....................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.
.....................................................


วัดมหาธาตุ

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

     เมืองโบราณ​ทุกเมืองต้องมีพระมหาธาตุเป็นขวัญเมือง
พระมหาธาตุประจำเมืองย่อมสร้างเป็นพระเจดีย์หรือพระปรางค์​ตามยุคสมัย​ ดังเช่น ;
     พระมหาธาตุ​กรุงสุโขทัย​ เป็นพระเจดีย์​ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์​ 
     พระมหาธาตุ​กรุง​ศรี​อยุธยา​ เป็นพระปรางค์องค์​ใหญ่
     พระมหาธาตุ​ในภาคเหนือเป็นพระเจดีย์​ เช่น​ 
     พระธาตุหริภุญชัย​เมืองลำพูน​ 
     พระธาตุศรีจอมทอง​และ
     พระธาตุดอยสุเทพเมืองเชียงใหม่
     พระธาตุ​ลำปางหลวง​เมืองลำปาง​ 
     พระธาตุดอยตุง​ เมืองเชียงราย​ 
     พระธาตุ​ช่อแฮ​เมืองแพร่​ 
     พระธาตุแช่แห้ง​เมืองน่าน​ 
     พระธาตุดอยกองมู​เมืองแม่ฮ่องสอน​ 
     พระมหาธาตุ​ในภาคกลางเป็นพระปรางค์​ตามแบบขอมในสมัยลพบุรี​ เป็นวัดมหาธาตุ​ในเมืองต่างๆ​ เช่น​ 
     วัดพระศรีรัตน​มหาธาตุเมืองลพบุรี​ 
     วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ​เมือง​สุพรรณบุรี​ 
     วัดมหาธาตุ​เมืองเพชรบุรี​ 
     วัดมหาธาตุ​เมืองราชบุรี​ 
(วัดพระศรีรัตน​มหาธาตุ​เมืองศรีสัชนาลัย​ และเมืองพิษณุโลก​ ที่อยู่​ทางเหนือเป็นพระปรางค์​เพราะพระมหากษัตริย์​อยุธยาขึ้นไปบรูณะปฏิสังขรณ์​พระมหาธาตุ​องค์​เดิมให้เป็นพระปรางค์​ตามแบบอยุธยา)​
     สำหรับกรุงเทพ​พระมหานคร​  ได้มีวัดมหาธาตุ​ที่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท​ทรงสร้าง​ในรัชกาลที่​ 1 แต่พระมหาธาตุของกรุงเทพพระมหานคร​นั้น​ เป็นพระเจดีย์​ทององค์​เล็กสถิตในพระวิหาร​ที่เดิมเป็นพระมณฑป​ ไม่ได้เป็นพระมหาธาตุองค์​ใหญ่อย่างเมืองราชธานี  ทั้งนี้คงเพราะเมื่อต้นกรุง​รัตน​โกสินทร์​ เรายังต้องทำศึกสงครามกับพม่า​ อีกทั้งสถานที่ตั้งวัดมหาธาตุ​ก็ไม่อำนวยที่จะให้สร้างพระมหาธาตุ​องค์​ใหญ่ได้
ถึงรัชกาลที่​ 2​ ทรงมีพระราชดำริให้สร้างพระปรางค์​องค์​ใหญ่​ โดยก่อทับพระปรางค์​โบราณ​ที่อยู่ในวัดอรุณราชวราราม
พระบาทสมเด็จ​พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำเนินการสร้างพระปรางค์​องค์​ใหญ่จนเสร็จ​ในรัชกาลที่​ 3​
พระปรางค์​วัดอรุณ​ จึงเป็นพระมหาธาตุแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ที่มาเสียมเรียบ

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

#ไกด์รักษ์ไทย
#LifeIsJourney
#เสียมเรียบ
        สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้คนไทยได้เห็นความมหัศจรรย์ของปราสาทหินแบบขอม ซึ่งใช้หินล้วนๆเป็นวัสดุก่อสร้าง
พระราชดำริที่จะให้คนกรุงเทพฯได้ดู #ปราสาทขอม โปรดเกล้าฯให้พระสามภพพ่ายไปลอกแบบปราสาทนครวัดมา วัดส่วนกว้างส่วนยาวส่วนสูงอย่างละเอียด ซึ่งใช้เวลาเกือบ ๔ เดือน พระสามภพพ่ายได้วัดส่วนต่างๆของ #ปราสาทนครวัด มาทุกซอกทุกมุม รวมทั้งลวดลายต่างๆ อย่างจดไว้ตอนหนึ่งว่า
“...มียอดปรางค์ในระหว่างกลาง ๗ ศอก สูง ๑๕ วา มีประตูและบันไดขึ้นไปจากพื้นทั้ง ๔ ปราสาท มีประตูออกจากปราสาทเข้าไปปราสาทใหญ่ หลังคาพระระเบียงเอาศิลายาว ๒ ศอก หน้าใหญ่ ๑ ศอกเศษ หน้าน้อยกำมา ๑ ทับเหลื่อมกันขึ้นไปประจบเป็นอกไก่ พื้นหลังคาสลักเป็นลูกฟูก เอาศิลาแผ่นยาวๆทับหลังเหมือนอย่างทับหลังคา ไม่มีสิ่งไรรับข้างล่างก็อยู่ได้ทั้ง ๓ ชั้น ด้วยเป็นของหนัก ถัดพระระเบียงเข้าไปเป็นลานกว้าง ๑๐ วาถึงองค์ปรางค์ เขมรเรียกว่าปราสาท ฐานกว้าง ๑๑ วา สูง ๑๙ วา ๒ ศอก มีในร่วมข้างในที่หว่างมุม ๔ ด้าน กว้าง ๗ ศอกคืบ ตรงกลางนั้นก่อตัน หน้ากระดานสลักเป็นลายเขมร กลีบขนุน สลักเป็นครุฑ เป็นเทวดา ตั้งพระพุทธรูปไว้ในหว่างมุขทั้ง ๔ มุข มุขละองค์...”
จึงโปรดฯให้ช่างกระทำจำลองตามแบบที่ถ่ายเข้ามานั้น ขึ้นไว้ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามจนทุกวันนี้
       คำว่า "#เสียมเรียบ" ในภาษาเขมรมีหมายความว่า "#สยามราบ" คือ "สยาม (แพ้) ราบเรียบ ส่วน "#เสียมราฐ" ในภาษาไทยนั้น หมายถึง "ดินแดนของสยาม"
       เสียมราบ มาจากสงครามที่เกิดขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราช (เจ้าพญาจันทราชา) ซึ่งเป็นการศึกระหว่างกัมพูชากับสยามในปี พ.ศ. 2089 ซึ่งปรากฏในพงศาวดารเขมร จ.ศ. 1217 ความว่า
"...พระองค์ทรงราชย์ ลุศักราช ๑๔๖๒ (จ.ศ. ๙๐๒) ศกชวดนักษัตรได้ ๒๕ ปี พระชันษาได้ ๕๕ ปี พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา จึ่งยกทัพมาถึงพระนครหลวง ในปีชวดนั้น พระองค์ยกทัพไปถึงพระนครหลวงรบชนะพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาหนีไป พระเจ้าจันทร์ราชาจับได้เชลยไทยเป็นอันมากแล้วเสด็จกลับเข้ามาครองราชสมบัติ..."
จึงสันนิษฐานว่าสงครามครั้งนี้น่าจะเป็นที่มาของชื่อ "เสียมราบ" เนื่องจากเป็นการรบครั้งสำคัญครั้งสุดท้ายที่รบใกล้เมืองพระนคร เพราะหลังจากนี้เส้นทางการเดินทัพและสมรภูมิจะเปลี่ยนไปเป็นเส้นทางฝั่งตะวันตกของทะเลสาบ คือ แถบเมืองพระตะบอง, โพธิสัตว์, บริบูรณ์ และละแวก เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามการสงครามครั้งนี้ไม่มีการกล่าวถึงในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาแต่อย่างใด
.....................................................
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.....................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.
.....................................................


วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2563

วัดพระราม

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
"วัดพระราม" เป็นวัดโบราณศิลปะอยุธยาตอนต้นที่หาชมได้ยากยิ่ง งดงามด้วยปรางค์ประธานทรงฝักข้าวโพดที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะละโว้ และปรางค์บริวารที่มีภาพจิตกรรมฝาผนัง กับวิหารทั้ง 7 ที่ไม่เคยปรากฏที่ใดมาก่อน สมเด็จพระราเมศวรโปรดฯ ให้สร้างวัดพระรามขึ้นในปี พ.ศ. 1912 บริเวณถวายพระเพลิงพระศพพระเจ้าอู่ทอง พระราชบิดาในสมเด็จพระราเมศวร และสร้างแล้วเสร็จในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ระหว่างปี พ.ศ. 1991-2031 หน้าวัดเป็นบึงขนาดใหญ่ ซึ่งแต่เดิมเป็นหนองน้ำ ชื่อ ‘หนองโสน’ ส่วนในกฎมณเฑียรบาลเรียกว่าบึงญี่ขัน ภาษาปากเรียกบึงชีขัน ส่วนจะเปลี่ยนชื่อเป็นบึงพระรามเมื่อไหร่นั้นยังไม่มีหลักฐานปรากฏ แต่นักประวัติศาสตร์หลายท่านเชื่อกันว่าที่เปลี่ยนชื่อเพราะชาวบ้านเรียกตามวัดพระรามนั่นเอง
มีเรื่องเล่าต่อกันมาว่าแต่เดิมหนองโสนมีขนาดไม่ใหญ่ แต่เพราะทางการขุดดินริมหนองขึ้นมาถมที่ดินเพื่อสร้างวัดพระราม ขนาดของหนองโสนจึงใหญ่ขึ้นจนกลายเป็นบึง ทว่าหลักฐานทางธรณีวิทยาพบว่าบริเวณที่สร้างวัดพระรามเป็นที่ดอนเกิดจากตะกอนแม่น้ำทับถมจนสูงไม่มีเหตุผลต้องถมที่อีก จึงเป็นไปได้ว่าหนองโสนถูกขุดขยายขึ้นเป็นบึงตามหลักการจัดสมดุลธาตุในคัมภีร์พระเวทย์ เนื่องจากพระปรางค์ตามคติความเชื่อฮินดูเป็นธาตุดินต้องมีธาตุน้ำหล่อเลี้ยง ปราสาทในไทย เช่น ปราสาทเมืองต่ำ จ. บุรีรัมย์ ก็ขุดสระน้ำลักษณะนี้.......  วัดพระรามและบึงพระรามปัจจุบันได้รับการปรับภูมิทัศน์เป็นสวนสาธารณะบึงพระราม เพื่อเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ใกล้บึงประกอบไปด้วยปราสาทและวัดหลายแห่งด้วยกัน เช่น วัดมหาธาตุ วัดสังข์ปัต และปราสาทสังข์ (Cr.จากหนังสืออุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา : ข้อมูลจากเพจ talontiew )

นครธม

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
     นครธม (Angkor Thom) 
มีความหมายว่า เมืองใหญ่ ในอดีตหลายร้อยปีก่อนเคยมีสถานะเป็นเมืองหลวงของขอมโบราณ ถูกสร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในเขตนครธมมีพระราชวังและปราสาทหินมากมาย ที่โดดเด่นมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วโลกก็คือ ปราสาทบายน ที่มีรูปปั้นพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรอันโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์นั่นเอง
นครธมตั้งอยู่ห่างจากนครวัดไปทางทิศเหนือประมาณ 2 กิโลเมตร มีพื้นที่กว้างใหญ่ มีกำแพงเมืองซึ่งก่อด้วยศิลาแลงสูง 7 เมตร ยาว 3 กิโลเมตรทั้งสี่ด้าน ล้อมรอบด้วยคูน้ำกว้าง 80 เมตร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 5,625 ไร่

สีมาวัดเบญจมบพิตร

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
นิมิตขัณฑสีมารอบพระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร ผลงานการออกแบบของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (สมเด็จครู) โดยทรงกำหนดไว้เพียงสี่จุดเท่านั้น สองจุดหน้าระเบียงใช้เสาหินแกรนิตหัวบัวเป็นที่หมาย ส่วนสองจุดภายในพระระเบียงคด ใช้เป็นแผ่นหินแกรนิตสลักรูปใบเสมาทั้งสี่ด้าน ถ้าลองจินตนาการดีๆ นี่คือรูปเสมาแท่งตามแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 4
ผู้ผูกพัทธสีมาวัดนี้คือ เจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวัฑฺฒนมหาเถร) อดีตเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร รูปที่ 3 พระมหาเถระผู้เชี่ยวชาญด้านการผูกพัทธสีมาทั้งแบบขัณฑสีมาและมหาสีมา ผู้รจนาเรื่อง "สีมากถา"

วังหน้า

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
วังหน้า
#พระที่นั่งพุดตาน เป็นเป็นราชบัลลังก์เวลาเสด็จออกท้องพระโรงและพระที่นั่งราชยานสำหรับเสด็จพระราชดำเนินกระบวนพยุหยาตราทางบก เป็นชื่อของพระที่นั่งที่เรียกกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงสันนิษฐานว่า นามพระที่นั่งพุดตานอาจมาจากลวดลายแบบจีนที่พระที่นั่งสัปคับพุดตานสมัยกรุงศรีอยุธยา หรืออาจมาจากแผ่นรูปกระจังขนาดใหญ่ที่ข้างพระที่นั่ง 
"พระที่นั่งพุดตานวังหน้า" ทำด้วยไม้ปิดทองประดับกระจก สันนิษฐานว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติยศพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระที่นั่งพุดตานวังหน้า มีรูปทรงใกล้เคียงกับพระที่นั่งพุดตานทองหรือพระที่นั่งพุทธตาลกาญจนสิงหาสน์ของวังหลัง
#พระเสลี่ยง ไม้จำหลักลาย ลงรักปิดทอง ประดับมุกและกระจก ของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ เดิมอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระเสลี่ยงอย่างเจ้านายทรงกรม ถ่านไม้จำหลักประดับกระจกสีอย่างลายยา สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพโปรดให้แก้เป็นธรรมาสน์ถวายวัดบวรนิเวศวิหารพระอารามที่พระองค์ทรงสถาปนาขึ้นใหม่
#พระโธรน ไม้จำหลักลาย ของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เป็นของอยู่ในพระราชวังบวรสถานมงคลมาแต่เดิม เมื่อพุทธศักราช 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกธรรมเนียมการหมอบกราบเข้าเฝ้า วังหน้าจึงโปรดให้สร้างพระโธรน เป็นพระเก้าอี้พนักสูง สำหรับประทับให้ขุนนางยืนเฝ้าตามธรรมเนียมตะวันตก มาจากคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า throne แปลว่า บัลลังก์

วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2563

คาถาหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
เดินทางไปไหน แคล้วคลาดปลอดภัย ให้ภาวนาคาถาด้านล่างนี้
 ก่อนใช้ให้ระลึกถึงหลวงปู่ศุข ให้เป็นนิมิตรติดตาอยู่ด้านหน้ารถเรา
จะเป็นรูปท่านยืนหรือนั่งก็ได้ แล้วว่าคาถา๒บทด้านล่างนี้
คาถาบูชาหลวงปู่ศุข
ตั้งนะโม ๓ จบ ระลึกถึง(หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า) แล้วภาวนา คาถาหลวงปู่ศุข ว่าดังนี้

โอม อิติอะระหังสุคะโต เกสโรนามะเต ประสิทธิเม อิหิอะโห นะโมพุทธายะ พุทธสังมิ

คาถาหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท
ภาวนาเวลาเดินทางไปใหน ปลอดภัยตลอด
ตั้งนะโม ๓ จบ แล้ว กล่าวคาถาหลวงปู่ศุข ว่า
สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ มะอะอุ
ว่า๙จบ
หมั่นสวดภาวนาเป็นประจำ ป้องกันภัยพิบัติต่างๆ เดินทางแคล้วคลาดปลอดภัย

พระเจ้าตากสินคุยกับหลวงพ่อฤาษีลิงดํา

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงลาจากพุทธภูมิ
เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๓๓
โดยพระเดชพระคุณพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
จาก หนังสือ ตายแล้วไม่สูญ...แล้วไปไหน
"..เมื่อพ.ศ. ๒๕๐๐ อาตมาป่วยหนัก ไปนอนพักรักษาตัวที่กรมแพทย์ทหารเรือ (ปัจจุบันโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า) ไปนอนอยู่ที่ตึก ๑ เป็นห้องพิเศษ เวลาประมาณ ๔ ทุ่มเศษๆ ไฟฟ้าในห้องยังไม่ดับและประตูก็ใส่กลอนแล้ว ถึงเวลานอน นอนคนเดียวยังไม่หลับ ปรากฏว่ามีคนๆหนึ่งมายืนอยู่ข้างเตียง เป็นชายลักษณะเป็นคนล่ำๆ ท่าทางแข็งแรงทะมัดทะแมงปราดเปรียวมาก เป็นคนผิวขาว หน้าค่อนข้างจะสี่เหลี่ยมนิดๆ แต่มีเนื้อเต็ม นุ่งกางเกงขาสั้นสีขาวเหนือเข่านิดหนึ่ง ใส่เสื้อแขนสั้นสีขาวเหนือศอกหน่อย

ก่อนที่อาตมาจะเห็นท่านผู้นี้ ก็เพราะขณะที่ไปนอนป่วยอยู่ที่นั่นก็มีความรู้สึกว่า บรรดาผีทั้งหลายอาจจะแกล้งได้ง่าย เนื่องจากกำลังใจของคนป่วยความเข้มแข็งน้อย ก็นึกว่าในที่นี้เป็นเขตพระราชฐานของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงขอพึ่งบารมีท่านให้คุ้มครอง พอท่านมายืนก็มองเห็น ไม่ต้องหลับตาไม่ต้องเข้าฌาน ในเมื่อผีจะแสดงตัวให้ปรากฏ แต่ความกลัวไม่มีเพราะเรื่องนี้ชินมาตั้งแต่บวชพรรษาที่ ๑ ก็เลยถามท่านว่า "ท่านเป็นใคร" ท่านผู้นั้นก็ถามว่า "เมื่อกี้ท่านนึกถึงใคร" ก็ตอบท่านว่า "นึกถึงสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช"
ท่านก็บอกว่า "ผมนี่แหละ พระเจ้าตากสินมหาราช" ก็เลยมองไปมองมา ดูลักษณะการแต่งตัวของท่าน ท่านถามว่า "มองอะไร" ก็บอกว่า "มองดูลักษณะพระเจ้าตากสินมหาราช" ท่านถามว่า "เชื่อหรือยังว่าเป็นพระเจ้าตากสินมหาราช" ตอบว่า "ยังไม่เชื่อ ที่มองนี่เพราะยังไม่เชื่อ" ท่านถามว่า "ไม่เชื่อตรงไหน" ก็บอกว่า "ไม่เชื่อตรงกางเกงกับเสื้อเพราะพระมหากษัตริย์ไม่น่าจะนุ่งแบบนี้" ท่านถามว่า "กษัตริย์ต้องทรงเครื่องกษัตริย์นอนเชียวหรือ นี่มัน ๔ ทุ่มกว่าแล้วนะ" ก็บอกว่า "จะรู้ได้อย่างไรในเมื่อเป็นกษัตริย์ เวลาเป็นผีมาแสดงตนให้ปรากฏก็ต้องใช้เครื่องทรงแบบกษัตริย์" ท่านบอกว่า "ใช้เครื่องทรงกษัตริย์ก็ได้" พอพูดจบเครื่องทรงก็เป็นกษัตริย์ ท่านถามว่า "เชื่อหรือยัง" ตอบว่า "ตอนนี้เชื่อแล้ว"
ต่อมาก็คุยกันตั้งแต่ ๔ ทุ่มเศษๆ ถึงตี ๕ ครึ่ง คุยกันเรื่องในอดีต ความเป็นมาของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชตั้งแต่เป็นเด็กชายสินไว้หางเปีย จนกระทั่งถึงขั้นวางแผนให้รัชกาลที่ ๑ เป็นพระมหากษัตริย์ เป็นการยืนยันว่าพระองค์ไม่ได้ถูกรัชกาลที่ ๑ ประหารชีวิต เมื่อรัชกาลที่ ๑ ขึ้นเถลิงราชสมบัติแล้ว ก็นำสมเด็จพระเจ้าากสินมหาราชท่านบวชเป็นพระแล้วนั่งคานหามไปส่ง ออกทางปากท่อตอนกลางคืนไปส่งที่ถ้ำในจังหวัดนครศรีธรรมราช ลูกชายของท่านมีสองคน คนพี่ให้เป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชจะได้บำรุงพ่อ คนน้องก็ให้ทุนเป็นพ่อค้าสำเภา เป็นการหาทรัพย์สินเข้าเมือง เป็นการยืนยันว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก่อนจะสวรรคตเป็นพระสงฆ์ ไม่ได้ถูกฆ่าตาย พระองค์สวรรคตที่นครศรีธรรมราช ถ้ำที่ท่านพักก็ยังอยู่กุฏิหลังนั้นเขาทำเลียนแบบไว้ แต่ความจริงกุฏิที่อยู่จริงๆ ดีกว่านั้น เขาทำให้มีความผาสุกกว่านั้น ออกจากถํ้าท่านก็มีที่พัก มีห้องพักแบบสบายๆ ความจริงท่านไม่ได้สั่งแต่ลูกชายเป็นคนสร้างให้ ท่านอยู่ด้วยความสงบ คนที่เป็นกษัตริย์มาแล้ว เป็นทุกอย่างมาแล้ว มันก็หมดความโลภ ความโกรธ ความหลง และก็เป็นคนแก่ด้วยก็หมดความรัก ฉะนั้นการปฏิบัติธรรมของท่านก็เป็นไปด้วยความเคร่งครัดแต่ไม่ได้เคร่งเครียด คำว่า "เคร่งครัด" คือ "ปฏิบัติตรงไปตรงมาในมัชฌิมาปฏิปทา"
ก่อนท่านจะลากลับ อาตมาถามว่า "ขอหวยสัก ๒ ตัวได้ไหม" ท่านบอกว่า "สมัยผมมีแต่หวยจับยี่กี หวยแบบเลขท้าย ๓ ตัว ๒ ตัว แบบนี้ไม่มี เรื่องหวยนี่ผมไม่รู้หรอก แต่เวลานี้ผมมีสตางค์ติดกระเป๋ามาเพียงแค่ ๒๕ สตางค์ ผมขอถวายหมด" พูดแล้วท่านก็หยิบเหรียญโยนไปใต้เตียงเห็นเลข ๒๕ ใสแจ๋ว พอตอนเช้าบรรดาพยาบาลและนายทหารประจำตึกมาถามว่า "เมื่อคืนมีอะไรบ้างครับ" ก็เลยเล่าให้ฟังว่าเมื่อคืนสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาเยี่ยม ขอหวยท่าน ท่านบอกว่าไม่มี มีแต่เงินเหรียญ ๒๕ สตางค์ แล้วท่านก็โยนไปใต้เตียง ปรากฏว่าภายในวันนั้นข่าวกระจายไปทั่วกรมอู่ ทุกคนเล่นเลขท้าย ๒ ตัว ถูกกันมาก
ต่อมาวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๓ วันนั้น พ.อ.สถาพร ได้นำ
ดาบเล่มหนึ่งมาจากเมืองตาก เขาบอกว่าเป็นดาบของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เพื่อมาให้เจ้ากรมการสัตว์ทหารบกที่จังหวัดนครปฐม คืนนั้นก็นำดาบตั้งไว้ในที่มีเครื่องสักการะ พอตอนดึกเวลาประมาณสัก ๖ ทุ่ม เวลาจะนอนก็ทำจิตเป็นสมาธิตามปกติของพระ ก็เห็นภาพสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สวยงามมากมาที่ดาบ ถามท่านว่า "มาทำไม" ท่านบอกว่า "ก็เขาว่าดาบของผมนี่ครับ ผมก็มาทำให้มันหน่อย" ถามว่า "ทำแล้วจะมีประโยชน์อะไรบ้าง" ท่านก็บอกว่า "ประโยชน์มี"
หลังจากนั้นก็คุยกันถามว่า "เวลานี้ลาจากพุทธภูมิหรือยัง" ท่านบอกว่า "ยังไม่ได้ลา" จึงถามว่า "ตั้งใจจะเป็นพระพุทธเจ้าจริงๆ หรือ" ท่านบอกว่า "เวลานี้พระโพธิสัตว์ที่มีบารมีเต็มรอคิวกันยาวเหยียด ผมก็อยากจะลาพุทธภูมิเหมือนกัน แต่ก็ไม่แน่ใจว่าถ้าลาแล้วจะมีผลเป็นประการใด" ก็เลยบอกว่า "ถ้าอย่างนั้นไปคุยกับพระกันดีกว่า ไปด้วยกันไหม" ท่านบอกว่า "ไปซิ ที่มานี่ก็จะมาชวนไปหาพระด้วยกัน"
เมื่อไปถึงกราบท่านแล้วก็ถามว่า "เวลานี้เทวดาสินเป็นพระโพธิสัตว์ อยากจะทราบว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่เท่าไร หลังจากพระศรีอารย์ไปแล้ว" พระท่านก็บอกว่า "จะเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๓๐ หลังพระศรีอารย์นิพพานแล้ว" ก็เล่นเอาเทวดาสินต้องไปนั่งยิ้มที่ชั้นดุสิตอีกถึง ๓๐ พระพุทธเจ้า ก็เลยถามพระท่านว่า "ถ้าเทวดาสินจะลาจากพุทธภูมิ เมื่อไรจะไปนิพพาน" ท่านบอกว่า "เทวดาสินนี่ ถ้าหากลาจากพุทธภูมิเป็นสาวกภูมิ กำลังเต็มมานานแล้ว ก็เหลือแค่ เอหิภิกขุ เท่านั้นก็พอแล้ว ถ้าตรัสว่า เอหิภิกขุ เทวดาสินก็เป็นพระสมบูรณ์แบบ" ท่านก็เลยเข้าไปกราบพระ พระท่านก็บอกว่า "เอหิภิกขุ เจ้าจงเป็นภิกษุมาเถิด" เพียงเท่านี้ เทวดาสินก็กลับสภาพจากเทวดาเป็นวิสุทธิเทพ
นี่เป็นเรื่องของนิมิตลืมตา ไม่ใช่นิมิตหลับตา ไม่ได้เข้าฌานสมาบัติ ถ้าถามว่า "ถ้าไม่เข้าฌานสมาบัติ แล้วรู้ได้อย่างไร" ก็บอกว่า "ท่านแสดงภาพให้รู้ มันก็รู้ด้วยกันทุกคนแหละ ไม่ว่าใคร" คนที่เห็นผีเข้าฌานหรือเปล่า เดินไปแล้วก็ถูกผีหลอก ต้องเข้าฌานหรือเปล่า สภาพนี้ก็เหมือนกัน ผีไม่ได้หลอกแต่ว่าผีมาชวนคุย ผีมาบอกตามความเป็นจริง ก็ไม่จำเป็นต้องเข้าฌานสมาบัติ..."
เครดิต ; FB/BuddhaSattha
.....................................................
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.....................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.
.....................................................


วิราธรากษสผู้ลักพาตัวนางสีดา

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
“วิราธ”รากษสเฝ้าสวนชมพู่พวาทอง ผู้ลักพาตัวนางสีดา
ร่องรอยหลักฐานของคติเรื่องราวและภาพงานศิลปะของ “รากษส  วิราธ  (Rakshasa Virādha) รากษสเฝ้าสวนชมพู่พวาทองในป่าทัณฑกะ ผู้ลักพาตัวนางสีดาในภาค “อรัณยกัณฑ์” เพิ่งปรากฏครั้งแรกประมาณช่วงพุทธศตวรรษที่ 15 ในงานวรรณกรรมมหากาพย์รามายณะ  (Rāmāyaṇa Sanskrit epic) ของฝ่ายราชวงศ์โจฬะ-ทมิฬ ในอินเดียใต้ 
เรื่องราวของรากษสวิราธ ผู้เผ้าสวนชมพู่พวาทอง เป็นตอนที่พระราม พระลักษณ์และนางสีดาเสด็จออกจากเขาสัตกูฎ เพื่อหลบไม่ให้ชาวอโยธยาติดตามมาหา จึงพากันข้ามแม่น้ำอมฤตไปขึ้นฝั่งที่ป่า “ทัณฑกะ” (Dandaka) ซึ่งอยู่ระหว่างแม่น้ำโคทาวารีกับ “แม่น้ำนรรมทา” (Narmada) (สำหรับแม่น้ำนรรมทานี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เนรพุทธะ” (Nerbudda) เป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ ในคติพุทธศาสนาเชื่อว่าแม่น้ำนี้มีรอยพระพุทธบาทประทับบนหาดทราย จากพุทธประวัติตอนที่ พระพุทธเจ้านำพระสาวก 500 รูปผ่านมาทางแม่น้ำ “นรรมทานาคราช” ได้ถวายสักการะ เมื่อทรงแสดงธรรมแก่นาคราชจนเสร็จแล้ว นาคราชทูลขอพระพุทธเจ้าได้ประทานสิ่งที่พึงบูชาไว้ ณ แม่น้ำนรรมทา พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงเจติยะ เป็น รอยพระบาทไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำ) ทั้งหมดเดินหลงเข้าไปในสวนของรากษสวิราธโดยไม่รู้ตัว
แต่เดิมนั้น "รากษสวิราธ" เป็นคนธรรพ์แห่งสวรรค์ชื่อ "วิราธ" ได้บำเพ็ญตบะฌานบารมีจนเป็นฤๅษีนามว่า “พระพิราบ” พระพรหมธาดาได้ประสาทพรให้อยู่ยงคงกะพัน ศาสตราวุธใดก็ไม่สามารถสังหารให้ตายได้
แต่พระพิราบเกิดมามีสัมพันธ์สวาทกับ “นางวิรัมภา” เทพธิดาผู้รับใช้ใกล้ชิด “ท้าวกุเวร” พญายักษ์ให้พิโรธเป็นอย่างมาก จึงสาปให้พระพิราพกลายป็นรากษสผู้มีหอกยาวเป็นอาวุธ ไล่ลงมาจากสวรรค์ให้เฝ้าสวน “ชมพู่พวาทอง” (ชมพู่น้ำดอกไม้หวาน) ในป่าทัณฑกะ รอจนกว่าพระวิษณุจะอวตารมาเป็นพระราม แล้วให้พระรามและพระลักษณ์ช่วยกันสังหารรากษสวิราธด้วยพระหัตถ์เท่านั้น จึงจะพ้นจากคำสาป
หลังจากโดนคำสาปจากราชาแห่งยักษา วิราธรากษสจึงลงมาอาศัยอยู่ในป่าทัณฑกะ รอคอยเวลาที่พระรามและพระลักษณ์จะเดินทางมาถึงด้วยใจจรดจ่อ
แต่วิราธรากษสนั้นมีฤทธาอำนาจจากพรของพระพรหมธาดาให้ไม่ตายด้วยอาวุธใด ๆ ทั้งพร “กำลังมหาสมุทร” (ควบคุมน้ำ) และ “กำลังพระเพลิง” (ควบคุมไฟ) สามารถจับกินผู้คนที่หลงเข้ามาในเขตสวนได้ทั้งหมด จนเป็นที่ครั้นคร้ามเกรงกลัว ไม่มีใครกล้าเข้ามาตอแยต่อกรหรือล่วงล้ำเข้าไปในเขตป่าทัณฑกะอันกว้างใหญ่
แม้แต่พระอินทร์ที่เผลอไผลเหาะผ่านเข้ามา วิราธยังเข้าไปแย่งเอามงกุฎของพระอินทร์มาใส่เล่น 
ภายในสวนมีต้นชมพู่พวาทองต้นหนึ่งที่มีรสหวานช่ำ วิราธหวงชมพู่หวานต้นนี้มาก จึงให้บริวารรากษสเฝ้ารักษาไว้ ตนเองไปอยู่วิมานที่ภูเขาอัศกรรณเจ็ดวันจึงจะกลับมาเที่ยวสวนอีกครั้ง เป็นช่วงจังหวะเดียวกันกับที่พระราม พระลักษณ์และนางสีดา เหมือนถูกดลใจให้หลงเข้ามาในสวน พระรามเก็บชมพู่หวานจากต้นแสนรักแสนหวงของวิราธให้แก่นางสีดาทาน บริวารรากษสที่เฝ้าอยู่ ก็กรูเข้ามาจะทำร้าย พระลักษณ์จึงแผลงศรเข้าใส่จนล้มตายไปเป็นจำนวนมาก
ครบเจ็ดวันตามเวลา วิราธเดินทางกลับลงมาที่สวนพอดี พบบริวารล้มตาย ต้นชมพู่หวานก็หักล้มเป็นอันมาก จึงโกรธแค้น พอเห็นพระราม พระลักษณ์และนางสีดาก็เข้าทำร้ายหมายจับกินเป็นอาหาร จึงแอบกำบังกายด้วยอิทธิฤทธิ์เข้าไปใกล้ แล้วลักพาตัวนางสีดาแบกขึ้นไหล่ ร่ายมนตร์คาถาบันดาลให้ท้องฟ้ามืดมิด อุ้มนางสีดาหนีเข้าไปซ่อนไว้ในป่าลึก พระรามจึงแผลงศรเกิดเป็นแสงสว่างดังแสงอาทิตย์ ตามติดเข้าไปช่วย ต่อสู้กันอย่าไรก็ไม่สามารถสังหารรากษสวิราธด้วยอาวุธใด ๆ จนถึงต้องต่อสู้กันด้วยมือ จนวิราธถูกพระรามพระลักษณ์จับรั้งทั้งสองแขนไว้ ไม่สามารถขยับได้ พระรามสงสัยว่าทำไมวิราธถึงอ่อนแรงลงได้โดยง่าย ไม่แกล้วกล้าเหมือนในขณะที่รบกันด้วยอาวุธ จึงร้องถามความสงสัยแก่วิราธที่ถูกจับแขนไว้
วิราธเล่าให้ฟังว่าตนนั้นเดิมเป็นพระฤๅษีพิราพบนสวรรค์ จะสิ้นเคราะห์ตามคำสาปได้ก็ต่อเมื่อพระรามและพระลักษณ์สังหารตนด้วยมือเท่านั้น พระรามจึงแจ้งแก่วิราธว่า เรานี่แหละคือ “รามจันทราวตาร” วิราธดีใจจึงชี้ทางให้พระรามไปตามหานางสีดาที่ซ่อนไว้ แล้วขอให้ทั้งสองพระองค์ได้ช่วยปลดปล่อยตนจากคำสาป แต่ลำพังพละกำลังขององค์เทพเจ้าในร่างมนุษย์คงไม่สามารถสังหารรากษสให้ตายได้
พระรามกับพระลักษณ์จึงคิดแผนการอันแยบยลที่จะไม่ใช้อาวุธแต่ใช้เพียงมือสังหาร โดยการขุดหลุมใหญ่แล้วช่วยกันจับวิราธรากษสฝังทั้งเป็นในหลุมนั้นจนตาย
ยักษ์วิราธจึงได้คืนกลับเป็นพระฤๅษีพิราพ บนสรวงสวรรค์เช่นเดิม
เครดิต ; FB
วรณัย พงศาชลากร 
EJeab Academy 

วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2563

มโหสถบัณฑิต

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
ทศชาติมโหสถชาดก ผู้บำเพ็ญปัญญาบารมี
มโหสถชาดก ในเมืองมิถิลา มีเศรษฐีผู้หนึ่งมีนามว่า สิริวัฒกะ ภรรยาชื่อ นางสุมนาเทวี นางสุมนาเทวีมีบุตรชายคนหนึ่ง ซึ่งเมื่อคลอด ออกมานั้นมีแท่งโอสถอยู่ในมือ เศรษฐีสิริวัฒกะเคยเป็นโรค ปวดศีรษะมานาน จึงเอาแท่งยานั้นฝนที่หินบดยา แล้วนำมา ทาหน้าผาก อาการปวดศีรษะก็หายขาด ครั้นผู้อื่นที่มีโรคภัย ไข้เจ็บมาขอปันยานั้นไปรักษาบ้าง ก็พากันหายจากโรค เป็นที่เลื่องลือไปทั่ว เศรษฐีจึงตั้งชื่อบุตรว่า "มโหสถ" เพราะทารกนั้นมีแท่งยาวิเศษ เกิดมากับตัว เมื่อมโหสถเติบโตขึ้น ปรากฏว่ามีสติปัญญาเฉลียวฉลาด กว่าเด็กในวัยเดียวกัน ครั้งหนึ่งมโหสถเห็นว่า ในเวลาฝนตก ตนและเพื่อนเล่นทั้งหลายต้องหลบฝน ลำบากลำบนเล่นไม่สนุก จึงขอให้เพื่อนเล่นทุก คนนำเงินมารวมกันเพื่อสร้างสถานที่เล่น มโหสถจัดการออกแบบอาคารนั้นอย่างวิจิตรพิสดาร นอกจาก ที่เล่นที่กินและที่พักสำหรับคนที่ผ่านไปมาแล้ว ยังจัดสร้างห้อง วินิจฉัยคดีด้วย เพราะความที่มโหสถเป็นเด็กฉลาดเฉลียวเกินวัย จึงมักมีผู้คนมาขอให้ตัดสินปัญหาข้อพิพาท หรือแก้ใขปัญหาขัดข้อง ต่างๆ อยู่ เสมอ ชื่อเสียงของมโหสถเลื่องลือไปไกลทั่วมิถิลานคร ในขณะนั้น กษัตริย์เมืองมิถิลา ทรงพระนามว่า พระเจ้าวิเทหราช ทรงมีนักปราชญ์ราชบัณฑิตประจำ ราชสำนัก 4 คน คือ เสนกะ ปุตกุสะ กามินท์ และ เทวินทะ บัณฑิตทั้ง 4 เคยกราบทูลว่าจะมี บัณฑิต คนที่ห้ามาสู่ราชสำนักพระเจ้าวิเทหราช พระองค์จึงโปรดให้ เสนาออกสืบข่าวว่า มีบัณฑิตผู้มีสติปัญญา ปราดเปรื่องอยู่ที่ใดบ้าง เสนาเดินทางมาถึงบริเวณบ้านของสิริวัฒกะเศรษฐี เห็นอาคารงดงาม จัดแต่งอย่างประณีตบรรจง จึงถามผู้คนว่าใครเป็นผู้ออกแบบ คนก็ ตอบว่า ผู้ออกแบบคือมโหสถบัณฑิต บุตรชายวัย 7 ขวบ ของสิริวัฒกะ เศรษฐี เสนาจึงนำความไปกราบทูลพระเจ้าวิเทหราช พระองค์ตรัสเรียก บัณฑิตทั้ง 4 มา ปรึกษาว่าควรจะไปรับมโหสถมาสู่ราชสำนักหรือไม่ บัณฑิตทั้ง 4 เกรงว่ามโหสถจะได้ดีเกินหน้าตนจึงทูลว่า ลำพังการออก แบบตกแต่งอาคารไม่นับว่าผู้นั้นจะมีสติปัญญาสูงถึงขั้นบัณฑิต ขอให้รอดูต่อไปว่า มโหสถจะมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดจริงหรือไม่ ฝ่ายมโหสถนั้น มีชาวบ้านนำคดีความต่างๆ มาให้ตัดสินอยู่เป็นนิตย์ เป็นต้นว่า ชายเลี้ยงโคนอนหลับไป มีขโมยเข้ามาลักโค เมื่อตามไปพบ ขโมยก็อ้างว่าตนเป็นเจ้าของโค ต่างฝ่ายต่างถกเถียงอ้างสิทธิ์ ไม่มีใคร ตัดสินได้ว่าโคนั้นเป็นของใคร จึงพากันไปหามโหสถ มโหสถถามชาย เจ้าของโคว่า เรื่องราวเป็นอย่างไร ชายนั้นก็เล่าให้ฟัง มโหสถจึงถาม ขโมยว่า "ท่านให้โคของท่านกินอาหารอะไรบ้าง" ขโมยตอบว่า "ข้าพเจ้าให้กินงา กินแป้ง ถั่ว และยาคู" มโหสถถามชายเจ้าของโค ชายนั้นก็ตอบว่า"ข้าพเจ้าให้โคกิน หญ้าตามธรรมดา" มโหสถจึงให้ เอาใบไม้มาตำให้โคกินแล้วให้กินน้ำ โคก็สำรอกเอาหญ้าออกมา จึงเป็นอันทราบว่าใครเป็นเจ้าของโคที่แท้จริง พระเจ้าวิเทหราชได้ทราบเรื่องการตัดสินความของมโหสถก็ ปรารถนาจะเชิญมโหสถาสู่ราชสำนัก แต่บัณฑิตทั้งสี่ก็คอยทูล ทัดทานไว้เรื่อยๆ ทุกครั้งที่มโหสถแสดงสติปัญญาในการตัดสินคดี พระเจ้าวิเทหราชทรงทดลองสติปัญญามโหสถด้วยการตั้งปัญหา ต่างๆก็ปรากฏว่า มโหสถแก้ปัญหาได้ทุกครั้ง เช่น เรื่องท่อนไม้ ที่เกลาได้เรียบเสมอกัน พระเจ้าวิเทหราชทรงตั้งคำถามว่า ข้างไหนเป็นข้าง ปลายข้างไหนเป็นข้างโคน มโหสถก็ใช้วิธีผูกเชือก กลางท่อนไม้นั้น แล้วหย่อนลงในน้ำ ทางโคนหนักก็จมลง ส่วนทาง ปลายลอยน้ำ เพราะน้ำหนักเบากว่าไม้ มโหสถก็ชี้ได้ว่า ทางไหน เป็นโคนทางไหนเป็นปลาย นอกจากนี้มโหสถยังแก้ปัญหาเรื่องต่างๆ อีกเป็นอันมาก จนในที่สุดพระราชาก็ไม่อาจทนรอตามคำ ทัดทานของ บัณฑิตทั้งสี่ อีกต่อไป จึงโปรดให้ราชบุรุษไปพาตัวมโหสถกับบิดามา เข้าเฝ้าพร้อมกับให้นำ ม้าอัสดรมาถวายด้วย มโหสถทราบดีว่าครั้งนี้ เป็นการทดลองสำคัญ จึงนัดหมายการอย่างหนึ่งกับบิดา และ ในวันที่ไปเฝ้าพระราชา มโหสถให้คนนำลามาด้วยหนึ่งตัว เมื่อเข้าไปถึงที่ประทับ พระราชาโปรดให้สิริวัฒกะเศรษฐีนั่งบนที่ อันสมควรแก่เกียรติยศ ครั้นเมื่อมโหสถเข้าไป สิริวัฒกะก็ลุกขึ้น เรียกบุตรชายว่า "พ่อมโหสถ มานั่งตรงนี้เถิด" แล้วก็ลุกขึ้นจากที่นั่ง มโหสถก็ตรงไปนั่งแทนที่บิดา ผู้คนก็พากันมองดูอย่างตำหนิ ที่มโหสถทำเสมือนไม่เคารพบิดา มโหสถจึง ถามพระราชาว่า "พระองค์ไม่พอพระทัยที่ข้าพเจ้านั่งแทนที่บิดาใช่หรือไม่" พระราชาทรงรับคำ มโหสถ จึงถามว่า " ข้าพเจ้าขอทูลถามว่า ธรรมดาบิดาย่อมดีกว่าบุตร สำคัญกว่าบุตรเสมอไปหรือ" พระราชา ตรัสว่า "ย่อมเป็นอย่างนั้น บิดาย่อมสำคัญกว่าบุตร" มโหสถทูลต่อว่า "เมื่อข้าพเจ้ามาเฝ้า พระองค์มีพระกระแส รับสั่งว่าให้ข้าพเจ้านำม้าอัสดรมาถวายด้วย ใช่ไหมพระเจ้าค่ะ" พระราชาทรงรับคำ มโหสถจึงให้คนนำลาที่เตรียมเข้ามา ต่อพระพักตร์ แล้วทูลว่า "เมื่อพระองค์ตรัสว่าบิดาย่อมสำคัญ กว่าบุตร ลาตัวนี้เป็นพ่อของม้าอัสดร หากพระองค์ทรงเห็น เช่นนั้นจริง ก็โปรดทรงรับลานี้ไปแทนม้าอัสดรเถิดพระเจ้าค่ะ เพราะม้าอัสดรเกิดจากลานี้ แต่ถ้าทรงเห็นว่า บุตรอาจดีกว่าบิดา ก็ทรงรับเอาม้าอัสดรไปตามที่ทรงมีพระราชประสงค์ ถ้าหากพระองค์เห็นว่าบิดาย่อมประเสริฐกว่าบุตรก็ทรงโปรด รับเอาบิดาของข้าพเจ้าไว้ แต่หากทรงเห็นว่าบุตรอาจประเสริฐ กว่าบิดา ก็ขอให้ทรงรับข้าพเจ้าไว้" การที่มโหสถกราบทูลเช่นนั้น มิใช่จะลบหลู่ดูหมิ่นบิดา แต่เพราะ ประสงค์จะให้ผู้คนทั้งหลายตระหนักใน ความเป็นจริงของโลก และเพื่อแก้ไขปัญหาที่มีผู้จงใจผูกขึ้น คือบัณฑิตทั้งสี่นั้นเอง พระราชาทรงพอพระทัยในปัญญาของมโหสถจึงตรัสแก่ สิริวัฒกะเศรษฐีว่า "ท่านเศรษฐี เราขอมโหสถไว้ เป็นราชบุตร จะขัดข้องหรือไม่" เศรษฐีทูลตอบว่า "ข้าแต่พระองค์ มโหสถยังเด็กนัก อายุ เพิ่ง 7 ขวบ เอาไว้ให้โตเป็นผู้ใหญ่ก่อนน่าจะดีกว่าพระเจ้าค่ะ" พระราชาตรัสตอบว่า "ท่านอย่าวิตกในข้อที่ว่ามโหสถยังอายุ น้อยเลย มโหสถเป็นผู้มี ปัญญาเฉียบแหลมยิ่งกว่าผู้ใหญ่ จำนวนมาก เราจะเลี้ยงมโหสถในฐานะราชบุตรของเรา ท่านอย่ากังวล ไปเลย" มโหสถจึงได้เริ่มรับราชการกับ พระเจ้าวิเทหราชนับตั้งแต่นั้นมา ตลอดเวลาที่อยู่ในราชสำนัก มโหสถได้แสดงสติปัญญา และความสุขุมลึกซึ้งในการพิจารณาแก้ไขปัญหา ข้อขัดข้อง ทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่พระราชาทรงผูกขึ้นลองปัญญา มโหสถ หรือที่บัณฑิตทั้งสี่พยายาม สร้างขึ้นเพื่อให้มโหสถ อับจนปัญญา แต่มโหสถก็แก้ปัญหาเหล่านั้นได้ทุกครั้งไป มิหนำซ้ำในบางครั้ง มโหสถยังได้ช่วยให้บัณฑิตทั้งสี่นั้น รอดพ้นความอับจน แต่บัณฑิตเหล่านั้นมิได้กตัญญูรู้คุณ ที่มโหสถกระทำแก่ตน กลับพยายามทำให้พระราชาเข้า พระทัยว่ามโหสถด้อยปัญญา พยายามหาหนทางให้พระราชา ทรงรังเกียจมโหสถ เพื่อที่ตนจะได้รุ่งเรืองในราชสำนัก เหมือนสมัยก่อน มโหสถรุ่งเรืองอยู่ในราชสำนักของพระเจ้าวิเทหราช ได้รับการ สรรเสริญจากผู้คนทั้งหลายจนมีอายุได้ 16 ปี พระมเหสีของ พระราชาผู้ทรงรักใคร่มโหสถเหมือนเป็นน้องชาย ทรงประสงค์ จะหาคู่ครองให้ แต่มโหสถขอพระราชทานอนุญาตเดินทาง ไปเสาะหาคู่ครองที่ตนพอใจด้วยตนเอง พระมเหสีก็ทรงอนุญาต มโหสถเดินทางไปถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ได้พบหญิงสาวคนหนึ่ง เป็นลูกสาวเศรษฐีเก่าแก่ แต่ได้ยากจนลง หญิงสาวนั้นชื่อว่าอมร มโหสถปลอมตัวเป็นช่างชุนผ้า ไปอาศัยอยู่กับบิดามารดาของนาง และได้ทดลอง สติปัญญาของนางด้วยประการต่างๆเป็นต้นว่า ในครั้งแรกที่พบกันนั้น มโหสถถามนางว่า "เธอชื่ออะไร" นางตอบว่า "สิ่งที่ดิฉันไม่มีอยู่ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต นั่นแหล่ะ เป็นชื่อ ของดิฉัน" มโหสถ พิจารณาอยู่ครู่หนึ่งก็ตอบว่า "ความไม่ตายเป็นสิ่ง ไม่มีอยู่ในโลก เธอชื่อ อมร ( ไม่ตาย ) ใช่ไหม " หญิงสาวตอบว่า ใช่ มโหสถถามต่อว่า นางจะนำข้าวไปให้ใคร นางตอบว่า นำไป ให้บุรพเทวดา มโหสถก็ ตีปริศนาออกว่า บุรพเทวดาคือเทวดา ที่มีก่อนองค์อื่นๆ ได้แก่ บิดา มารดา เมื่อมโหสถได้ทดลองสติปัญญาและความประพฤติต่างๆของ นางอมรจนเป็นที่พอใจแล้ว จึงขอนางจาก บิดา มารดา พากลับ ไปกรุงมิถิลา เมื่อไปถึงยังเมือง ก็ยังได้ทดลองใจนางอีกโดย มโหสถแสร้งล่วงหน้าไปก่อน แล้วแต่งกายงดงามรออยู่ในบ้าน ให้คนพานางมาพบ กล่าวเกี้ยวพาราสีนาง นางก็ไม่ยินดีด้วย มโหสถจึงพอใจนาง จึงพาไปเฝ้าพระราชาและพระมเหสี พระราชาก็โปรดให้มโหสถแต่งงานอยู่กินกับ นางอมรต่อมา บัณฑิตทั้งสี่ยังพยายามที่จะกลั่นแกล้งมโหสถด้วยประการ ต่างๆ แต่ก็ไม่เป็นผล แม้ถึงขนาดพระราชาหลงเข้าพระทัยผิด ขับไล่มโหสถออกจากวัง มโหสถก็มิได้ขุ่นเคือง แต่ยังจงรักภักดี ต่อพระราชา พระราชาจึงตรัสถามมโหสถว่า "เจ้าเป็นผู้มีสติปัญญา หลักแหลมยิ่ง หากจะหวังช่วงชิงราชสมบัติจากเราก็ย่อมได้ เหตุใดจึงไม่คิดการร้ายต่อเรา" มโหสถทูลตอบว่า "บัณฑิตย่อม ไม่ทำชั่ว เพื่อให้ได้ความสุข สำหรับตน แม้จะถูกทับถมให้เสื่อมจาก ลาภยศ ก็ไม่คิดสละธรรมะด้วยความหลงในลาภยศ หรือด้วย ความรักความชัง บุคคลนั่งนอนอยู่ใต้ร่มไม้ ย่อมไม่ควรหัก กิ่งต้นไม้นั้น เพราะจะได้ชื่อว่าทำร้ายมิตร บุคคลที่ได้รับการ เกื้อหนุนอุปการะจากผู้ใด ย่อมไม่ทำให้ไมตรีนั้นเสียไปด้วย ความโง่เขลา หรือความ หลงในยศอำนาจ บุคคลผู้ครองเรือน หากเกียจคร้าน ก็ไม่งาม นักบวชไม่สำรวม ก็ไม่งาม พระราชา ขาดความพินิจพิจารณาก็ไม่งาม บัณฑิตโกรธง่าย ก็ไม่งาม" ไม่ว่าบัณฑิตทั้งสี่จะกลั่นแกล้งมโหสถอย่างใด มโหสถก็ สามารถเอาตัวรอดได้ทุกครั้ง และมิได้ตอบแทน ความชั่วร้าย ด้วยความชั่วร้าย แต่กลับให้ความเมตตากรุณาต่อบัณฑิต ทั้งสี่เสมอมา นอกจากจะทำหน้าที่พิจารณาเรื่องราว แก้ไขปัญหาต่างๆ มโหสถยังได้เตรียมการป้องกันพระนครใน ด้านต่างๆ ให้พร้อมเสมอด้วย และยังจัดผู้คนไปอยู่ตามเมืองต่างๆ เพื่อคอยสืบข่าวว่า จะมีบ้านเมืองใด มาโจมตีเมืองมิถิลาหรือไม่ มีพระราชาองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า จุลนีพรหมทัต ครองเมือง อุตรปัญจาล ประสงค์จะทำสงครามแผ่ เดชานุภาพ จึงทรงคิด การกับปุโรหิตชื่อ เกวัฏพราหมณ์ หมายจะลวงเอากษัตริย์ ร้อยเอ็ดพระนครมา กระทำสัตย์สาบานแล้วเอาสุราเจือยาพิษ ให้กษัตริย์เหล่านั้นดื่ม จะได้รวบรวมพระนครไว้ในกำมือ มโหสถ ได้ทราบความลับจากนกแก้วที่ส่งออกไปสืบข่าว จึงหาทางช่วย ชีวิตกษัตริย์ทั้งร้อยเอ็ดไว้ได้ โดยที่ กษัตริย์เหล่านั้นหารู้ตัวไม่ พระเจ้าจุลนีทรงเห็นว่ามิถิลา เป็นเมืองเดียวที่ไม่ยอมทำ สัตย์สาบาน จึงยกทัพใหญ่มุ่งไปโจมตีมิถิลา มีเกวัฏพราหมณ์ เป็นที่ปรึกษาใหญ่ แต่ไม่ว่าจะโจมตีด้วยวิธีใด มโหสถ ก็รู้ทัน สามารถตอบโต้และแก้ไขได้ ทุกครั้งไป ในที่สุดพระเจ้าจุลนีทรงส่งเกวัฏพราหมณ์มาประลองปัญญา ทำสงครามธรรมกับมโหสถ มโหสถออกไป พบเกวัฏพราหมณ์ โดยนำเอาแก้วมณีค่าควรเมืองไปด้วย แสร้งบอกว่า จะยกให้ พราหมณ์ แต่เมื่อจะส่ง ให้ก็วางให้ที่ปลายมือพราหมณ์เกวัฏ เกรงว่าแก้วมณจะตกจึงก้มลงรับแต่ก็ไม่ทัน แก้วมณีตกลงไป กับพื้นเกวัฏก้มลงเก็บด้วยความโลภ มโหสถจึงกดคอเกวัฏไว้ ผลักให้กระเด็นไป แล้วให้ทหารร้องประกาศว่า เกวัฏปราหมณ ์ก้มลงไหว้มโหสถ แล้วถูกผลักไปด้วยความรังเกียจ บรรดาทหารของพระเจ้าจุลนีมองเห็นแต่ภาพเกวัฏพราหมณ์ ก้มลงแทบเท้า แต่ไม่ทราบว่าก้มลงด้วยเหตุใด ก็เชื่อตามที่ ทหารของมโหสถป่าวประกาศ พากันกลัวอำนาจมโหสถ ถอยหนีไปไม่เป็นกระบวน กองทัพพระเจ้าจุลนีก็แตกพ่ายไป เกวัฏพราหมณ์คิดพยาบาทมโหสถอยู่ไม่รู้หาย จึงวางอุบายให้ พระเจ้าจุลนีส่งทูตไปทูลพระเจ้าวิเทหราชว่าจะขอทำสัญญาไมตรี และขอถวายพระราชธิดาให้เป็นชายา พระเจ้าวิเทหราชทรงมี ความยินดี จึงทรงตอบรับเป็นไมตรี พระเจ้าจุลนีก็ขอให้ พระเจ้าวิเทหราชเสด็จมาอุตรปัญจาล มโหสถพยายาม ทูลคัดค้าน พระราชาก็มิได้ฟังคำ มโหสถก็เสียใจว่าพระราชา ลุ่มหลงในสตรี แต่กระนั้นก็ยังคงจงรักภักดี จึงคิดจะแก้อุบาย ของพระเจ้าจุลนี มโหสถจึงทูลขออนุญาตไปจัดเตรียมที่ประทับ ให้พระราชในเมืองอุตรปัญจาล ก็ได้รับอนุญาต มโหสถจึงให้ ผู้คนไปจัดสร้างวังอันงดงาม และที่สำคัญคือจัดสร้างอุโมงค์ใต้ดิน เป็นทาง เดินภายในอุโมงค์ประกอบด้วยกลไกและประตูลับ ต่างๆซับซ้อนมากมาย เมื่อเสร็จแล้วมโหสถจึงทูลเชิญ ให้พระเจ้าวิเทหราชเสด็จไปยังอุตรปัญจาล ขณะที่พระเจ้าวิเทหราชประทับอยู่ในวัง รอที่จะอภิเษกกับ พระธิดาพระเจ้าจุลนี พระเจ้าจุลนีทรงยก กองทหารมาล้อมวังไว้ มโหสถซึ่งเตรียมการไว้แล้ว ก็ลอบลงไปทางอุโมงค์เข้าไปใน ปราสาทพระเจ้าจุลนี ทำอุบายหลอกเอาพระชนนี พระมเหสี พระราชบุตร และราชธิดาพระเจ้าจุลนีมากักไว้ใต้วังที่สร้างขึ้น นั้นแล้วจึงกลังไปเฝ้าพระเจ้าวิเทหราช พระเจ้าวิเทหราชตกพระทัยว่ากองทหารมาล้อมวัง ตรัสปรึกษา มโหสถ มโหสถจึงทูลเตือนพระราชาว่า "ข้าพระองค์ได้กราบทูล ห้าม มิให้ทรงประมาท แต่ก็มิได้ทรงเชื่อ พระราชบิดาพระเจ้าจุลนี นั้น ประดุจเหยื่อที่นำมาตกปลา การทำไมตรีกับผู้ไม่มีศีลธรรม ย่อมนำความทุกข์มาให้ ธรรมดาบุคคลผู้มี ปัญญา ไม่พึงทำ ไมตรีสมาคมกับบุคคลผู้ไม่มีศีล ซึ่งเปรียบเสมือนงู ไว้วางใจ มิได้ย่อมนำความเดือดร้อน มาสู่ไมตรีนั้น ไม่มีทางสำเร็จผลได้" พระเจ้าวิเทหราชทรงเสียพระทัยที่ไม่ทรงเชื่อคำทัดทาน ของมโหสถแต่แรก มโหสถจัดการนำพระเจ้า วิเทหราช ไปพบพระชนนี พระมเหสี และพระโอรสธิดาของพระเจ้าจุลนี ที่ตนนำมาไว้ในอุโมงค์ใต้ดิน แล้วจัดการให้กองทัพที่เตรียมไว้ นำเสด็จกษัตริย์ทั้งหลายกลับไปมิถิลา ส่วนตัวมโหสถเองอยู่ เผชิญหน้า กับพระเจ้าจุลนี เมื่อพระเจ้าจุลนีเสด็จมา ประกาศว่าจะจับพระเจ้าวิเทหราช มโหสถจึงบอกให้ทรงทราบว่า พระเจ้าวิเทหราช มโหสถจึงบอก ให้ทรงทราบว่า พระเจ้าวิเทหราชเสด็จกลับมิถิลาแล้วพร้อมด้วย พระราชวงศ์ ของพระเจ้าจุลนี พระราชาก็ทรงตกพระทัย เกรงว่าพระญาติวงศ์จะเป็นอันตราย มโหสถจึงทูลว่า ไม่มีผู้ใด จะทำอันตราย แล้วจึงทูลเชิญพระเจ้าจุลนีทอดพระเนตรวังและ อุโมงค์ที่จัดเตรียมไว้อย่างวิจิตรงดงาม ขณะที่พระเจ้าจุลนีกำลัง ทรงเพลิดเพลิน มโหสถก็ปิดประตูกลทั้งปวง และหยิบดาบที่ซ่อนไว้ ทำทีว่าจะ ตัดพระเศียรพระราชา พระราชาตกพระทัยกลัว มโหสถจึงทูลว่า "ข้าพระองค์จะไม่ทำร้ายพระราชา แต่หากจะฆ่า ข้าพระองค์เพราะแค้นพระทัย ข้าพระองค์ก็จะถวายดาบนี้ให้" พระราชาเห็นมโหสถส่งดาบถวาย ก็ทรงได้สติ เห็นว่ามโหสถ นอกจากจะประกอบด้วยความสติปัญญาประเสริฐแล้ว ยังเป็น ผู้ไม่มีจิตใจมุ่งร้ายพยาบาทผู้ใด พระเจ้าจุลนีจึงตรัสขออภัยที่ ได้เคยคิดร้ายต่อเมืองมิถิลา ต่อพระเจ้าวิเทหราช และต่อมโหสถ มโหสถจึงทูลลากลับไปมิถิลา จัดให้กองทหารนำเสด็จพระชนนี พระมเหสี และ พระราชบุตร ของพระเจ้าจุลนีกลับมายัง อุตรปัญจาล ส่วนราชธิดานั้นคงประทับอยู่มิถิลา ในฐานะ พระชายาพระเจ้า วิเทหราชต่อไป พระเจ้าจุลนีทรงตรัสขอให้มโหสถมาอยู่กับพระองค์ มโหสถ ทูลว่า "ข้าพระองค์รับราชการรุ่งเรืองในราช สำนักของพระเจ้า วิเทหราช ผู้เป็นเจ้านายของข้าพระองค์แต่เดิม ไม่อาจจะไปอยู่ที่ อื่นได้หากเมื่อใด พระเจ้าวิเทหราชสวรรคต ข้าพระองค์จะไป อยู่เมืองอุตรปัญจกาล รับราชการอยู่ในราชสำนัก ของ พระองค์" เมื่อพระเจ้าวิเทหราชสิ้นพระชนม์ มโหสถก็ทำตามที่ ลั่นวาจาไว้ คือไปรับราชการอยู่กับพระเจ้าจุลนี และยังถูก กลั่นแกล้งจากเกวัฏพราหมณ์คู่ปรับเก่า แต่มโหสถก็ เอาตัวรอดได้ทุกครั้ง มโหสถนอกจากจะมีสติปัญญา เฉลียวฉลาดแล้ว ยังประกอบด้วยคุณธรรมอันประเสริฐ มีความสุขุมรอบคอบ มิได้หลงใหล ในลาภยศสรรเสริญ ดังนั้นมโหสถจึงได้รับยกย่องสรรเสริญว่าเป็น บัณฑิตผู้มี ความรู้อันลึกซึ้ง มีสติ ปัญญานั้นประกอบด้วยคุณธรรมอันประเสริฐ ที่กำกับให้ผู้มีสติปัญญาประพฤติปฏิบัติในทางที่ถูกที่ควร
คติธรรม : บำเพ็ญปัญญาบารมี
ปัญญาอันล้ำเลิศนั้นย่อมทำคุณให้แก่บุคคล ยิ่งกว่ามีทรัพย์นับแสน แม้มิมีปัญญาดั่งปราชญ์ แต่ถ้าเป็นผู้รู้จักคิดให้รอบคอบก่อน ก็ย่อมเป็นผู้มีปัญญาและประพฤติชอบแล้ว


วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2563

อลัมพุสาชาดก

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
อลัมพุสาชาดก ว่าด้วยอิสิสิงคดาบสถูกทำลายตบะ 
ครั้งนั้น พระอินทร์ผู้เป็นใหญ่ ผู้ทรงครอบงำวัตรภูอสูรเป็นพระบิดา แห่งเทพบุตรผู้ชนะ ประทับนั่งอยู่ ณ สุธรรมาเทวสภา รับสั่งให้เรียกนาง อลัมพุสาเทพกัญญามาแล้วตรัสว่า. 
  แน่ะนางอลัมพุสาผู้เจือปนด้วยกิเลส สามารถจะเล้าโลมฤาษีได้ เทวดา ชั้นดาวดึงส์พร้อมด้วยพระอินทร์ขอร้องเจ้า เจ้าจงไปหาอิสิสิงคดาบส เถิด. [๒๔๘๐] ดาบสองค์นี้มีวัตร ประพฤติพรหมจรรย์ ยินดียิ่งในนิพพาน เป็นผู้รู้ อย่าเพิ่งล่วงเลยพวกเราไปก่อนเลย เจ้าจงห้ามมรรคของเธอเสีย. 
ข้าแต่เทวราช พระองค์ทรงทำอะไร ทรงมุ่งหมายแต่หม่อมฉันเท่านั้น รับสั่งว่า แน่ะเจ้าผู้อาจจะเล้าโลมฤาษีได้ เจ้าจงไปเถิดดังนี้ นางเทพ อัปสรผู้ทัดเทียมหม่อมฉัน และผู้ประเสริฐกว่าหม่อมฉัน ก็มีอยู่ใน นันทนวัน อันหาความเศร้าโศกมิได้ วาระคือการไปจงมีแม้แก่นางเทพ อัปสรเหล่านั้น แม้นางเทพอัปสรเหล่านั้นจงไปประเล้าประโลมเถิด 
เจ้าพูดจริงโดยแท้แล นางเทพอัปสรอื่นๆ ที่ทัดเทียมกับเจ้า และ ประเสริฐกว่าเจ้า มีอยู่ในนันทนวันอันหาความโศกมิได้. ดูกรนางผู้มี อวัยวะงามทุกส่วน ก็แต่ว่า นางเทพอัปสรเหล่านั้นไปถึงชายเข้าแล้ว ย่อมไม่รู้จักการบำเรออย่างยิ่งที่เจ้ารู้. แม่งามเอ๋ย เจ้านั่นแหละจงไป เพราะว่าเจ้าเป็นผู้ประเสริฐกว่าหญิงทั้งหลาย เจ้าจักนำดาบสนั้นมาสู่ อำนาจได้ ด้วยผิวพรรณและรูปร่างของเจ้าเอง. 
หม่อมฉันอันท้าวเทวราชทรงใช้ จักไม่ไปหาได้ไม่ แต่ว่าหม่อมฉันกลัว ที่จะเบียดเบียนดาบสนั้น เพราะท่านเป็นพราหมณ์มีเดชฟุ้งเฟื่อง. ชน ทั้งหลายมิใช่น้อย เบียดเบียนฤาษีแล้วต้องตกนรก ถึงสังสารวัฏเพราะ ความหลง เพราะเหตุนั้น หม่อมฉันขนลุกขนพอง. 
  นางอลัมพุสาเทพอัปสร ผู้มีวรรณะน่ารักใคร่ ผู้เจือปนด้วยกิเลส ปรารถนาจะยังอิสิสิงคดาบสให้ผสม ครั้นกราบทูลอย่างนี้แล้วก็หลีกไป. ก็นางอลัมพุสาเทพอัปสรนั้น เข้าไปยังป่าที่อิสิสิงคดาบสรักษา อัน ดาดาษไปด้วยเถาตำลึงโดยรอบประมาณกึ่งโยชน์. นางได้เข้าไปหา อิสิสิงคดาบสผู้กำลังปัดกวาดโรงไฟ ใกล้เวลาอาทิตย์อุทัย ก่อนเวลา อาหารเช้า. เธอเป็นใครหนอ มีรัศมีเหมือนสายฟ้า หรือเหมือนดาวประกายพฤกษ์ มีเครื่องประดับแขนงามวิจิตร สวมใส่กุณฑลแก้วมณี. คล้ายกับแสง พระอาทิตย์ มีกลิ่นจุรณจันทร์ วรรณะดังทองคำ ลำขางามดี มีมารยา มากมาย กำลังรุ่นสาวน่าดู น่าชม. เท้าของเธอไม่เว้ากลาง อ่อนละมุน สะอาดตั้งลงด้วยดี การเยื้องกรายของเธอน่ารักใคร่ ดึงจิตใจของเราได้ ทีเดียว. อนึ่ง ลำขาของเธอเรียวงาม เปรียบเสมอด้วยงวงช้าง ตะโพก ของเธอผึ่งผายเกลี้ยงเกลาดังแผ่นทองคำ. นาภีของเธอก็ตั้งอยู่เป็นอย่างดี เหมือนกับฝักดอกอุบล ย่อมปรากฏแต่ที่ไกลคล้ายเกสรดอกอัญชันเชียว. ถันทั้งคู่เกิดที่ทรวงอกหาขั้วมิได้ ทรงไว้ซึ่งขีรรส ไม่หดเหี่ยว เต่งตั้ง ทั้ง ๒ ข้าง เสมอด้วยผลน้ำเต้าครึ่งซีก. คอของเธอดังเนื้อทราย ยาว คล้ายหน้าสุวรรณเภรี มีริมฝีปากเรียบงดงาม เป็นที่ตั้งแห่งมนะที่ ๔ คือ ลิ้น. ฟันของเธอทั้งข้างบนข้างล่างขาวสะอาด เป็นของหาโทษมิได้ ดูงาม นัก นัยน์ตาทั้ง ๒ ข้างของเธอดำขลับ มีสีแดงเป็นที่สุด สีดังเม็ด มะกล่ำ ทั้งยาวทั้งกว้างดูงามนัก ผมที่งอกบนศีรษะของเธอไม่ยาวนัก เกลี้ยงเกลาดี หวีด้วยหวีทองคำ มีกลิ่นหอมฟุ้งด้วยกลิ่นจันทน์. กสิกรรม โครักขกรรม การค้าของพ่อค้า และความบากบั่นของฤาษีทั้งหลายผู้ สำรวมดี มีตบะมีประมาณเท่าใด. เราไม่เห็นบุคคลมีประมาณเท่านั้นใน ปฐพีมณฑลนี้ จะเสมอเหมือนกับเธอ เธอเป็นใคร หรือเป็นบุตรของ ใคร เราจะรู้จักเธอได้อย่างไร? 
ดูกรท่านกัสปะผู้เจริญ เมื่อจิตของท่านเป็นไปอย่างนี้แล้วก็ไม่ใช่กาลที่จะ เป็นปัญหา มาเถิดท่านที่รัก เราทั้งสองจักรื่นรมย์กันในอาสนะของเรา มาเถิดท่าน ฉันจักเคล้าคลึงท่าน ท่านจงเป็นผู้ฉลาดในความยินดีด้วย กามคุณ. 
นางอลัมพุสาเทพอัปสร ผู้มีผิวพรรณน่ารักใคร่ผู้เจือปนด้วยกิเลส ปรารถนาจะให้อิสิสิงคดาบสผสม ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วก็หลีกไป. 
ส่วนอิสิสิงคดาบสนั้นรีบเดินออกไปโดยเร็ว ตัดความก้าวไปช้าเสีย ไป ทันเข้าก็จับที่มวยผมอันอุดมของนางไว้. นางอัปสรผู้มีรูปสวยงาม หมุน กลับมาสวมกอดดาบสนั้น อิสิสิงคดาบสเคลื่อนจากพรหมจรรย์ ตาม ที่ท้าวสักกเทวราชทรงปรารถนา. ภายหลังนางเทพกัญญาก็มีใจยินดี นึก ถึงพระอินทร์ผู้ประทับอยู่ในนันทนวัน ท้าวมัฆวานเทพกุญชรทรงทราบ ความดำริของนางแล้ว จึงทรงส่งบัลลังก์ทองพร้อมทั้งเครื่องบริวาร. ผ้า เครื่องปกปิดทรวง ๕๐ ผืน เครื่องลาด ๑,๐๐๐ ผืนโดยเร็ว นางอลัมพุสา เทพอัปสรกอดดาบสแนบทรวงอก. บนบัลลังก์นั้นตลอด ๓ ปี ดูเหมือน ครู่เดียวเท่านั้น พราหมณ์ดาบสสร่างเมาแล้วรู้สึกได้โดยล่วงไป ๓ ปี ได้เห็นหมู่ไม้เขียวชะอุ่มโดยรอบเรือนไฟ ผลัดใบใหม่ ดอกบาน อัน ฝูงนกกระเหว่าร้องอยู่อื้ออึง. เธอตรวจดูโดยรอบแล้ว ร้องไห้น้ำตาไหล ปริเทวนาการว่า เรามิได้บูชาไฟ มิได้ร่ายมนต์ อะไรมาบันดาลให้การ บูชาไฟต้องเสื่อมลง. ผู้ใดใครหนอ มาประเล้าประโลมจิตของเราด้วย การบำเรอในก่อน ยังฌานอันเกิดพร้อมกับเดชของเราผู้อยู่ในป่าให้พินาศ ดุจบุคคลยึดเรืออันเต็มด้วยรัตนะต่างๆ ในมหาสมุทรฉะนั้น.    ดิฉันอันท้าวเทวราชทรงใช้มาเพื่อบำเรอท่าน จึงได้ครอบงำจิตของท่าน ด้วยจิตของดิฉัน ท่านไม่รู้สึกเพราะประมาท. เดิมที ท่านกัสสปดาบสผู้บิดา ได้พร่ำสอนเราถึงสิ่งเหล่านี้ว่า ดูกรมาณพ สตรีอันเสมอด้วยนารีผล เจ้าจงรู้จักสตรีเหล่านั้น. ดูกรมาณพ เจ้าจงรู้ จักสตรีผู้มีเขาที่อก เจ้าจงรู้จักสตรีเหล่านั้น บิดาเหมือนเอ็นดูเราเฝ้า พร่ำสอนเราดังนี้. เรามิได้ทำตามคำสั่งสอนของบิดาผู้รู้นั้น วันนี้ เรา ซบเซาอยู่แต่ผู้เดียวในป่าอันหามนุษย์มิได้. เราจักทำอย่างที่เราเป็นผู้เช่น เดิมอีก หรือจักตายเสีย ประโยชน์อะไรด้วยชีวิตที่น่าติเตียน.  นางอลัมพุสาเทพกัญญารู้จักเดช ความเพียรและปัญญาอันมั่นคงของ อิสิสิงคดาบสนั้นแล้ว ก็ซบศีรษะลงที่เท้าของอิสิสิงคดาบส. กล่าวว่า ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอท่านอย่าได้โกรธดิฉันเลย ข้าแต่ท่านผู้แสวงหา คุณใหญ่ ขอท่านอย่าโกรธดิฉันเลย ดิฉันได้ก่อประโยชน์อันใหญ่แล้ว เพื่อเทวดาชั้นไตรทศผู้มียศ เพราะว่าเทพบุรีทั้งหมดอันท่านได้ทำให้ หวั่นไหวแล้วในคราวนั้น.  ดูกรนางผู้เจริญ ขอทวยเทพชั้นดาวดึงส์ ท้าววาสวะจอมไตรทศ และ เธอ จงมีความสุขเถิด ดูกรนางเทพกัญญา เชิญไปตามสบายเถิด.  นางอลัมพุสาเทพกัญญา ซบศีรษะลงที่เท้าแห่งอิสิสิงคดาบส และทำ ประทักษิณแล้ว ประคองอัญชลีหลีกออกไปจากที่นั้น. ขึ้นสู่บัลลังก์ ทองพร้อมด้วยเครื่องบริวาร เครื่องปิดทรวง ๕๐ ผืน และเครื่องลาด ๑,๐๐๐ ผืน แล้วกลับไปในสำนักของเทวดาทั้งหลาย. ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงปีติโสมนัสปลาบปลื้มพระทัย ได้พระราชทานพรกะนางเทพกัญญานั้น ซึ่งกำลังมาอยู่ ราวกะว่า ดวงประทีปอันรุ่งเรือง หรือเหมือนสายฟ้า ฉะนั้น. 
ข้าแต่ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าภูตทั้งปวง ถ้าพระองค์จะประทานพรแก่ หม่อมฉันไซร้ ขออย่าให้หม่อมฉันไปเล้าโลมฤาษีอีกเลย ข้าแต่ท้าวสักกะ หม่อมฉันขอพรอันนี้.

พญาช้างฉัททันต์

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

          ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุณีสาวรูปหนึ่ง ผู้นั่งฟังธรรมระลึกถึงอดีตชาติได้แล้วแสดงอาการเดี๋ยวหัวเราะเดี๋ยวร้องไห้ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...
          กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีช้างประมาณ ๘,๐๐๐ เชือกมีฤทธิ์เหาะไปในอากาศได้ อาศัยสระฉันททันต์อยู่ในป่าหิมพานต์ครั้งนั้น พระโพธิ์สัตว์เกิดเป็นลูกช้างของช้างหัวหน้าโขลง มีสีขาวปลอด ปากและเท้าสีแดง เมื่อเติบโตขึ้นมีร่างกายใหญ่โตมากกว่าช้างเชือกอื่น ๆ ที่งามีแสงรัศมี ๖ ประการเปล่งประกายออกมา
          อยู่ต่อมาเมื่อบิดาเสียชีวิตแล้ว พระโพธิสัตว์ได้เป็นหัวหน้าช้างแทน มีชื่อว่า พญาช้างฉัททันต์ มีภรรยา ๒ เชือก คือมหาสุภัททาและจุลลสุภัททา วันหนึ่งในฤดูร้อน ป่ารังมีดอกบานสะพรั่ง พญาช้างฉัททันต์ได้พาบริวารไปหากินที่ป่ารัง ใช้กระพองชนต้นรังให้ดอกหล่นลงมา นางช้างจุลลสุภัททายืนอยู่เหนือลมจึงถูกใบรังเก่า ๆ ติดกับกิ่งไม้แห้งมีมดดำมดแดงตกใส่ร่างกาย ส่วนนางช้างมหาสุภัททายืนอยู่ใต้ลมเกสรดอกไม้และใบสด ๆ จึงโปรยปรายใส่ร่างกาย นางช้างจุลลสุภัททาเห็นเช่นนั้นจึงเกิดความน้อยใจว่าสามีโปรดปรานและรักใคร่แต่นางช้างมหาสุภัททา ส่วนตนมีแต่มดดำมดแดงร่วงใส่ จึงผูกความอาฆาตในพญาช้างฉัททันต์
          ต่อมาอีกวันหนึ่ง พญาช้างฉัททันต์เมื่ออาบน้ำในสระเสร็จแล้ว ขึ้นมายืนบนฝั่งขอบสระ มีนางช้างทั่งสองยืนเคียงข้าง ขณะนั้นมีช้างเชือกหนึ่งได้นำดอกบัวมีกลีบ ๗ ชั้นดอกหนึ่งขึ้นมามอบให้พญาช้าง พญาช้างโปรยเกสรลงบนกระพองแล้ว ยื่นดอกบัวให้แก่นางช้างมหาสุภัททา เป็นเหตุให้นางช้างจุลลสุภัททาเห็นแล้วคิดน้อยใจว่า "พญาช้างให้ดอกบัวแก่ภรรยาที่รักและโปรดปรานเท่านั้น ส่วนเราไม่เป็นที่รักที่โปรดปรานจึงไม่ให้" จึงผูกเวรในพญาช้างอีก
          อยู่มาวันหนึ่งเป็นวันอุโบสถ พญาช้างได้ไปอุปัฏฐากถวายน้ำผึ้งแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า นางช้างจุลลสุภัททาถวายผลไม้แล้วตั้งความปรารถนาไว้ว่า "สาธุ ถ้าดิฉันตายไปแล้วขอให้ไปเกิดเป็นอัครมเหสีของพระราชาผู้มีอำนาจ สามารถฆ่าพญาช้างนี้ได้ด้วยเทอญ" นับแต่วันนั้นนางก็อดหญ้าอดน้ำ ร่างกายผ่ายผอม ไม่นานก็ล้มป่วยตายไปเกิดเป็นธิดาของพระราชาในแคว้นมัททรัฐ เมื่อเจริญวัยแล้ว ก็ได้เป็นอัครมเหสีของพระเจ้าเมืองพาราณสี เป็นที่รักใคร่โปรดปรานมาก ระลึกชาติหนหลังได้ วันหนึ่งจึงทำทีเป็นประชวรไข้หนักบรรทมอยู่ พระราชาเสด็จมาตรัสถามว่า "น้องนางดูนัยน์ตาเจ้าก็แจ่มใส แต่เหตุไรหนอ น้องนางจึงดูโศกเศร้าซูบผมไปละจ๊ะ"
          มเหสี "เสด็จพี่ หม่อมฉันแพ้ครรภ์ ฝันเห็นสิ่งที่หาได้ยากพระเจ้าคุณ แต่ถ้าไม่ได้สิ่งนั้น ชีวิตของหม่อมฉันคงอยู่ไม่ได้เช่นกัน"
          พระราชา "น้องนาง มีอะไรในโลกนี้ที่หาได้ยากบอกพี่มาเถิดจะจัดหามาให้"
          มเหสี "เสด็จพี่ ถ้าจะกรุณาหม่อมฉัน โปรดรับสั่งให้ประชุมนายพรานป่าทุกสารทิศเข้าประชุมกันที่ท้องพระโรง มีนายพรานป่าประมาณ ๖๐,๐๐๐ คนมาประชุมกัน พระเทวีเมื่อพระราชาเปิดโอกาส จึงตรัสว่า "ท่านนายพรานทั้งหลาย ฉันฝันเห็นช้างเผือก ที่งามีรัศมี ๖ ประการ ฉันต้องการงาคู่นั้น ถ้าไม่ได้ชีวิตฉันก็คงอยู่ไม่ได้ ขอให้พวกท่านนำมาถวายเถิด"
          พวกนายพรานทูลว่า "ขอเดชะอาญาไม่พ้นเกล้า ตั้งแต่เป็นพรานมาก็ไม่เคยได้ยินปู่ทวดกล่าวถึงพญาช้างเผือก งามีรัศมี ๖ ประการเลย ขอพระองค์ได้ตรัสบอกที่อยู่ของพญาช้างด้วยเถิดพะยะค่ะ"
          พระเทวีได้ตรวจดูพรานป่าทั้งหมด เห็นพรานป่าคนหนึ่งชื่อโสณุตระ มีเท้าใหญ่ เข่าโต หนวดดก เคราแดง ตาเหลืองเป็นสัญลักษณ์ของพรานผู้โหดร้าย จึงมีรับสั่งให้เข้าเฝ้าแล้วตรัสบอกทิศทางไปว่า "จากนี้ไปทางทิศเหนือ ข้ามภูเขา ๗ ลูก มีภูเขาสูงที่สุดลูกหนึ่งชื่อ สุวรรณปัสสคีรี เจ้าจงขึ้นไปบนภูเขาลูกนั้นมองดูตามเชิงเขา จะเห็นต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่งมีกิ่งก้านสาขาหนาทึบมีพญาช้างเผือกเชือกหนึ่งอาศัยอยู่ มีงาสวยงามมาก มีบริวารอยู่มาก เจ้าจงระวังตัวให้ดี พวกมันระวังรักษาแม่แต่ธุลีก็ไม่ให้แตะต้องพญาช้างได้"
          นายพรานเกิดความกลัวตายทูลว่า "ข้าแต่พระเทวี พระแม่เจ้าทรงประสงค์จะฆ่าพญาช้าง เอางามาประดับหรือว่าจะให้พญาช้างฆ่าพวกนายพรานเสียกระมัง"
          พระเทวี "นายพราน..เรามีความริษยาและความน้อยใจเมื่อนึกถึงความหลัง ขอเพียงท่านทำตามคำของเรา จะได้บ้านส่วยเก็บภาษี ๕ ตำบล ไปเถิดอย่ากลัวเลย" พร้อมกับชี้แจงที่อยู่ของพญาช้างให้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น มอบทรัพย์ให้พันหนึ่งแล้วนัดให้มาอีก ๗ วัน แล้วรับสั่งช่างเหล็กให้ทำอาวุธ ช่างหนังให้ทำกระสอบหนังใส่สัมภาระ ในวันที่ ๗ นายพรานโสณุตระเข้าเฝ้าทูลอำลาเข้าป่าไป
          นายพรานปีนยอดเขา ๗ ลูก จนเข้าไปถึงที่อยู่ของพญาช้างเห็นพญาช้างเผือกงามีรัศมี ๖ ประการ ลงอาบน้ำในสระอยู่ เมื่อถึงเวลากลางคืนจึงขุดหลุมสี่เหลี่ยมเพื่อใช้เป็นที่แอบดักยิงพญาช้างในเวลาใกล้รุ่ง คลุมร่างกายมิดชิดด้วยผ้าเหลืองแล้วลงไปยืนถือธนูมีลูกอาบยาพิษแอบอยู่ในหลุมนั้น รอการมาของพญาช้าง
          วันนั้น พญาช้างได้พาบริวารออกหากินตามปกติ เมื่อลงอาบน้ำแล้วก็ขึ้นมายืนบนฝั่งใกล้หลุมนั้น ทันใดนั้นเองก็ร้องขึ้นสุดเสียงเมื่อถูกลูกศรของนายพราน ฝูงช้างได้ยินเสียงร้องของพญาช้างต่างตกใจวิ่งหนีเข้าป่าไป พญาช้างตัวเดียวเหลียวดูที่มาของลูกศรแล้วพลิกกระดานขึ้นเห็นนายพรานเท่านั้น คิดจะจับขึ้นมาฆ่าพอเห็นผ้าเหลืองพันกายนายพรานเท่านั้น ความโกรธก็หายไป ด้วยตระหนักว่า "ผ้าเหลืองคือธงชัยแห่งพระอรหันต์ บัณฑิตไม่ควรทำลาย ควรสักการะเคารพอย่างเดียวโดยแท้" จึงกล่าวเป็นคาถาว่า
          "ผู้ใดยังไม่หมดกิเลส ปราศจากทมะ และสัจจะ ผู้นั้น ไม่ควรจะนุ่งห่มผ้าเหลือง ส่วนผู้ใดคลายกิเลสได้แล้วตั้งมั่นอยู่ในศีลประกอบด้วยทมะและสัจจะ ผู้นั้นแล ควรนุ่งห่มผ้าเหลือง"
          แล้วถามนายพรานว่า "เพื่อนเอ๋ย ท่านยิงเราเพื่อต้องการอะไร เพื่อตนเอง หรือคนอื่นใช้ให้มาฆ่าเรา" นายพรานตอบว่า "พญาช้าง พระนางสุภัททามเหสีของพระเจ้ากาสีกราช ได้ทรงสุบินเห็นท่าน จึงใช้ให้ข้าพเจ้ามาเพื่อประสงค์งาทั้งคู่ของท่าน"
          พญาช้างก็ทราบโดยทันทีถึงการผูกเวรของนางจุลลสุภัททา จึงกล่าวว่า "เพื่อนเอ๋ย พระนางสุภัททามิใช่จะต้องการงาทั้งสอง ของเราดอก ประสงค์จะฆ่าเราเท่านั้น ถ้าเช่นนั้นก็เชิญเถิดนายพราน จงหยิบเลื่อยมาตัดงาเราขณะที่ยังมีชีวิตอยู่เถิด"
          นายพรานจึงใช้เลื่อยตัดงาทั้งคู่แล้วรับถือกลับเมืองไป พญาช้างมอบงาให้นายพรานแล้วตั้งจิตอธิษฐานให้ได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ แล้วตั้งจิตเมตตาให้นายพรานเดินทางกลับเมืองด้วยความปลอดภัย แล้วก็ล้มลงขาดใจตาย
          ฝ่ายนางช้างมหาสุภัททาพร้อมฝูงช้างวิ่งหนีไปได้ระยะทางหนึ่ง เมื่อไม่เห็นศัตรูตามมาก็พากันกลับเห็นพญาช้างสิ้นใจตายแล้ว ก็พากันร่ำไห้คร่ำครวญอยู่ ณ ที่ตรงนั้น ส่วนนายพรานก็นำงาทั้งคู่เข้าถวายพระนางสุภัททาพระนางรับคู่งาอันวิจิตรมีรัศมี ๖ ประการวางไว้ที่พระเพลาทอดพระเนตรดูงาของสามีสุดที่รัก เกิดความเศร้าโศกสลดในอย่างยิ่งทันใดนั้นเองดวงหทัยของพระนางก็ได้แตกสลายสวรรคตในวันนั้นเช่นกัน

มหากปิชาดก

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

มหากปิชาดก
ผลบาปของผู้ทำร้ายผู้มีคุณ
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภการกลิ้งศิลาของพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี ดังนี้
ความโดยย่อว่า เมื่อภิกษุทั้งหลายพากันกล่าวติเตียนพระเทวทัต เพราะใช้นายขมังธนู เพราะกลิ้งศิลาในเวลาต่อมา พระศาสดาจึงตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในชาติก่อน พระเทวทัตก็กลิ้งศิลาเพื่อฆ่าเราเหมือนกัน แล้วทรงนำอดีตนิทานมาตรัสแสดงดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ ในพระนครพาราณสี ในหมู่บ้านกาสิกคาม พราหมณ์ชาวนาผู้หนึ่ง ไถนาเสร็จแล้วปล่อยโคไป เริ่มทำการงานขุดหญ้าพรวนดินด้วยจอบ ฝูงโคเคี้ยวกินใบไม้ที่พุ่มไม้แห่งหนึ่งแล้วก็พากันหนีเข้าไปสู่ดงไปหมด พราหมณ์นั้นคะเนว่าถึงเวลาแล้ว ก็วางจอบเหลียวหาฝูงโคไม่พบ เกิดความโทมนัส จึงเที่ยวค้นหาในดงเข้าไปจนถึงป่าหิมพานต์ พราหมณ์นั้นหลงทิศทางในป่าหิมพานต์ อดอาหารถึงเจ็ดวัน เดินไปพบต้นมะพลับต้นหนึ่ง จึงขึ้นไปเก็บผลรับประทาน พลัดตกลงมาจากต้นมะพลับ เลยตกลงไปในเหวดุจขุมนรกลึกตั้ง ๖๐ ศอก พราหมณ์ตกอยู่ในเหวล่วงไปได้สิบวัน
คราวนั้น พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดวานร กำลังเคี้ยวกินผลาผล เหลือบเห็นบุรุษนั้นเข้า จึงผูกเชือกเข้าที่หิน ช่วยบุรุษนั้นขึ้นมาได้ แต่เมื่อวานรโพธิสัตว์กำลังหลับอยู่นั้น พราหมณ์นั้นก็ได้เอาหินมาทุ่มลงที่ศีรษะพระโพธิสัตว์ แม้เมื่อพระมหาสัตว์เจ้ารู้การกระทำของเขาอย่างนั้นแล้วแต่ก็ยังช่วยเหลือเขาผู้นั้นโดยกระโดดขึ้นไปบนกิ่งไม้ แล้วกล่าวว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ ท่านจงเดินไปตามพื้นดิน ข้าพเจ้าจักเดินบอกหนทางแก่ท่านบนกิ่งไม้ แล้วพาบุรุษนั้นออกจากป่าจนถึงหนทาง แล้ววารพระโพธิสัตว์จึงเข้าไปสู่บรรพตตามเดิม
บุรุษนั้นล่วงเกินพระมหาสัตว์เจ้าแล้วเกิดโรคเรื้อน กลายเป็นมนุษย์เปรตในปัจจุบันทันตาเห็นทีเดียว เขาถูกความทุกข์เบียดเบียนอยู่เจ็ดปี เที่ยวเร่ร่อนไปถึงมิคาชินอุทยาน เขตพระนครพาราณสี ลาดใบตองลงภายในกำแพง นอนเสวยทุกขเวทนา คราวนั้น พระเจ้าพาราณสีทรงแวดล้อมไปด้วยมิตรและอำมาตย์ เสด็จไปยังมิคาชินอุทยาน.ณ ที่นั้นได้ทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์ ซึ่งเป็นโรคเรื้อน ขาวพราวเป็นจุด ๆ ตามตัว มากไปด้วยกลากเกลื้อน เรี่ยราดด้วยเนื้อที่หลุดออกมาจากปากแผล เช่นกับดอกทองกวาวที่บาน ในเรือนร่างทุกแห่งมีเพียงกระดูกซูบผอม สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น.แล้วดำรัสถามว่า เจ้าเป็นใคร ทำกรรมอะไรไว้ จึงต้องรับทุกข์เช่นนี้? ฝ่ายเปรตนั้นได้กราบทูลเรื่องราวทั้งมวลโดยพิสดารดังนี้
ขอเดชะ เมื่อข้าพระพุทธเจ้า เที่ยวตามโคที่หายไปคนเดียวได้หลงทางเข้าไปในป่าหิมพานต์ อันแสนจะกันดารเงียบสงัด อันหมู่กุญชรชาติท่องเที่ยวไปมา.ข้าพระองค์หลงทางเข้าไปในป่าทึบ อันหมู่มฤคร้ายกาจท่องเที่ยวไปมา ต้องทนหิวระหาย เที่ยวไปในป่านั้นตลอด ๗ วัน
ณ ป่านั้น ข้าพระพุทธเจ้ากำลังหิวจัด ได้เห็นต้นมะพลับต้นหนึ่ง ตั้งอยู่หมิ่นเหม่ เอนไปทางปากเหวมีผลดกดื่น
ทีแรก ข้าพระพุทธเจ้า เก็บผลที่ลมพัดหล่นมากินก่อน เมื่อข้าพระพุทธเจ้ากินผลที่หล่นมาเหล่านั้นรู้สึกพอใจ ยังไม่อิ่มจึงปีนขึ้นไปบนต้น ด้วยหวังใจว่าจะกินให้สบายบนต้นนั้น
ข้าพระพุทธเจ้ากินผลที่หนึ่งเสร็จแล้ว ปรารถนาจะกินผลที่สองต่อไป เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเหยียดมือคว้าเอาผลที่ต้องการ ทันใดนั้น กิ่งไม้ที่ขึ้นเหยียบอยู่นั้น ก็หักขาดลง ดุจถูกตัดด้วยขวานฉะนั้น
ข้าพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยกิ่งไม้นั้น ตีนชี้ฟ้าหัวหกตกลงไปในห้วงเหวภูเขาอันขรุขระ ซึ่งไม่มีที่ยึดที่เหนี่ยวเลย
ข้าพระพุทธเจ้าหยั่งไม่ถึงเพราะน้ำลึก ต้องไปนอนไร้ความเพลิดเพลิน ไร้ที่พึ่งอยู่ในเหวนั้น ๑๐ราตรีเต็ม ๆ
ภายหลังมีลิงตัวหนึ่ง มีหางดังหางโค เที่ยวไปตามซอกเขา เที่ยวไต่ไปตามกิ่งไม้ หาผลไม้กิน ได้มาถึงที่นั้น มันเห็นข้าพระพุทธเจ้าผอมเหลือง ได้เอ็นดูกรุณาในข้าพระพุทธเจ้า.ถามว่า พ่อชื่อไร ทำไมจึงมาทนทุกข์อยู่ที่นี่อย่างนี้ เป็นมนุษย์หรืออมนุษย์ ขอได้โปรดแนะนำตนให้ข้าพเจ้าทราบด้วย
ข้าพระพุทธเจ้าจึงได้ประนมอัญชลีไหว้ลิงตัวนั้นแล้วกล่าวว่า เราเป็นมนุษย์ถึงแล้วซึ่งหายนะ เราไม่มีหนทางที่จะไปจากที่นี่ได้ เพราะเหตุนั้น เราจึงบอกให้ท่านทราบไว้ ขอท่านจงมีความเจริญ อนึ่ง ขอท่านโปรดเป็นที่พำนักของข้าพเจ้าด้วย
ลิงนั้นเที่ยวไปหาก้อนหินก้อนใหญ่ในภูเขามา แล้วผูกเชือกไว้ที่ก้อนหิน ร้องบอกข้าพระพุทธเจ้าว่า มาเถิดท่าน จงขึ้นมาเกาะหลังข้าพเจ้า เอามือทั้งสองกอดคอไว้ เราจักพาท่านกระโดดขึ้นจากเหวโดยเต็มกำลัง
ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังคำของพญาพานรินทร์ตัวนั้นแล้ว จึงขึ้นเกาะหลัง เอามือทั้งสองโอบคอไว้.ลำดับนั้น พญาวานรก็พาข้าพระพุทธเจ้ากระโดดขึ้นจากเหว โดยความยากลำบากทันที
ครั้นขึ้นมาได้แล้ว พญาวานรได้ขอร้องข้าพระพุทธเจ้าว่า แน่ะสหาย ขอท่านจงคุ้มครองข้าพเจ้าด้วย ข้าพเจ้าจักงีบสักหน่อย.ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี และเสือดาวสัตว์เหล่านั้น พึงเบียดเบียนข้าพเจ้าซึ่งกำลังหลับอยู่ ถ้าท่านเห็นพวกมันจงป้องกันเราไว้จากสัตว์เหล่านั้น
เพราะข้าพระพุทธเจ้าช่วยป้องกันให้อย่างนั้น พญาวานรจึงหลับไปสักครู่หนึ่ง คราวนั้น โดยที่ข้าพระพุทธเจ้าขาดความคิด กลับได้มีความคิดเห็นอันลามกว่า ลิงนี้ก็เป็นอาหารของมนุษย์ทั้งหลาย เท่ากับมฤคอื่น ๆ ในป่านี้เหมือนกัน อย่ากระนั้นเลย เราควรฆ่าวานรนี้กินแก้หิวเถิด.อนึ่ง อิ่มแล้ว จักถือเอาเนื้อไปเป็นเสบียงเดินทาง เราจักต้องผ่านทางกันดาร เนื้อก็จักได้เป็นเสบียงของเรา
ทันใดนั้น ข้าพระพุทธเจ้า จึงได้หยิบเอาหินมาทุ่มศีรษะลิง แต่เนื่องจากข้าพระพุทธเจ้าลำบากเพราะอดอาหาร กำลังก้อนหินที่ข้าพระพุทธเจ้าทุ่มลงจึงมีแรงน้อย
ลิงนั้นผลุดลุกขึ้น ทั้ง ๆ ที่ตัวอาบไปด้วยเลือด ร่ำไห้มองดูข้าพระพุทธเจ้า ด้วยตาอันเต็มไปด้วยน้ำตา พลางกล่าวว่า นายอย่าทำข้าพเจ้าเลย ขอท่านจงมีความเจริญ แต่ท่านได้ทำกรรมอันหยาบช้าเช่นนี้ และท่านก็รอดตายมีอายุยืนมาได้เพราะข้าพเจ้า สมควรจะห้ามปรามสัตว์อื่นมิให้มาทำร้ายข้าพเจ้า แน่ะ ท่านกลับเป็นผู้กระทำกรรมอันยากที่บุคคลจะทำลงได้ น่าอดสูใจจริงๆ ข้าพเจ้าช่วยให้ท่านขึ้นจากเหวลึก ซึ่งยากที่จะขึ้นได้เช่นนี้
ชีวิตท่านท่านนั้นเหมือนข้าพเจ้านำกลับมาจากปรโลก ยังคิดจะฆ่าข้าพเจ้าเสีย ด้วยจิตอันเป็นบาปธรรม แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ท่านเป็นผู้ไม่มีธรรม ข้าพเจ้าต้องประสบทุกขเวทนาเช่นใด เวทนาอันเผ็ดร้อนเช่นนี้อย่าถูกต้อง ท่านเลย บาปกรรมนั้นอย่าฆ่าท่าน ดังขุยไผ่ฆ่าไม้ไผ่เลย ขอเดชะพระมหาราชเจ้า พญาวานรเอ็นดูข้าพระพุทธเจ้าอย่างบุตรสุดที่รักด้วยประการฉะนี้
ทีนั้น ข้าพระพุทธเจ้ากล่าวกะพญาวานรว่า ข้าแต่เจ้า ท่านอย่ากระทำสิ่งที่ ข้าพเจ้ากระทำเลย ท่านอย่าให้ข้าพเจ้าผู้เป็นอสัตบุรุษต้องฉิบหายเสียในป่าอย่างนี้เลย ข้าพเจ้าหลงทิศไม่รู้หนทาง โปรดอย่าทำให้กุศลกรรมที่ท่านทำไว้แล้วให้พินาศเสีย โปรดให้ชีวิตเป็นทานแก่ข้าพเจ้า ช่วยนำข้าพเจ้าออกจากป่า ไปดำรงอยู่ในถิ่นฐานแดนมนุษย์เถิด
เมื่อข้าพระพุทธเจ้ากล่าวอย่างนี้แล้ว พญาวานรนั้นจึงกล่าวว่า นับแต่วันนี้ไป เรากับท่านไม่มีความคุ้นเคยกัน แน่ะบุรุษผู้เจริญ เราจะไม่เดินทางไปกับท่าน แต่ท่านจงมาเถิด ท่านจงเดินไปพอเห็นร่างไม่ห่างจากหลังเรา เราจักเดินไปทางปลายยอดไม้ เท่านั้น
ขอเดชะมหาราชเจ้า ลำดับนั้น พญาวานร ได้นำข้าพเจ้าออกจากป่าแล้วกล่าวว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ ท่านพ้นจากเงื้อมมือสัตว์ร้ายแล้ว.มาถึงถิ่นของมนุษย์แล้ว นี่ทาง ท่านจงไปตามทางนั้นเถิด
วานรนั้น ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็ล้างเลือดที่ศีรษะ เช็ดน้ำตาเสร็จแล้วก็กระโดดขึ้นไปยังภูเขา.ข้าพระพุทธเจ้า เป็นผู้อันวานรนั้นอนุเคราะห์แล้ว ถูกความกระวนกระวายเบียดเบียน ร้อนเนื้อตัวได้ลงไปยังห้วงน้ำแห่งหนึ่งเพื่อจะดื่มกินน้ำ.ห้วงน้ำก็เดือดพล่าน เหมือนถูกต้มด้วยไฟ นองไปด้วยเลือด คล้ายกับน้ำเลือดน้ำหนองฉะนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างปรากฏแก่ข้าพระพุทธเจ้าอย่างเห็นชัด
หยาดน้ำตกต้องกายของข้าพระพุทธเจ้ามีเท่าใดฝีก็ผุดขึ้นเท่านั้น มีสัณฐานเหมือนมะตูมครึ่งลูก ฝีก็แตกในวันนั้นเอง น้ำเลือดน้ำหนองของข้าพระพุทธเจ้าก็ไหลออกมา มีกลิ่นเหม็นดุจซากศพ
อนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้าจะเดินไปทางไหน ในบ้านและนิคมทั้งหลาย พวกมนุษย์ทั้งหญิงแลชาย พากันถือท่อนไม้ห้ามกันข้าพระองค์ ผู้ฟุ้งไปด้วยกลิ่นเหม็นว่า อย่าเข้ามาข้างนี้นะ
บัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้าได้เสวยทุกขเวทนา เห็นปานนี้ อยู่ ๗ ปี ซึ่งเป็นผลกรรมชั่วของตนในปางก่อน เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงกราบทูลให้พระองค์ทรงทราบ ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลายที่มาประชุมกันอยู่ในที่นี้ ขอพระองค์อย่าได้ประทุษร้ายมิตร เพราะว่าผู้ประทุษร้ายมิตรจัดเป็นคนเลวทราม ในโลกนี้ ผู้ที่ประทุษร้ายมิตร ย่อมเป็นโรคเรื้อนเกลื้อนกลาก เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรก
เมื่อบุรุษนั้น กำลังกราบทูลพระราชาอยู่ แผ่นดินก็แยกช่องให้ เขาก็จุติไปบังเกิดในอเวจีมหานรก ในขณะนั้นเอง พระราชาก็เสด็จออกจากพระราชอุทยาน เสด็จสู่พระนคร
พระบรมศาสดา ครั้นทรงนำอดีตนิทานนี้มาแสดงจบแล้ว ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในชาติก่อน พระเทวทัตก็กลิ้งศิลา ประทุษร้ายเราเหมือนกันแล้วทรงประชุมชาดกว่า บุรุษผู้ประทุษ ร้ายมิตรในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระเทวทัต พญาวานร ได้มาเป็นเราผู้ ตถาคต ฉะนี้แล

ชื่อจังหวัดเดิมในไทย

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
ภาคเหนือ
1. เชียงราย – เวียงชัยนารายณ์
2. เชียงใหม่ – นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ หรือ เวียงพิงค์
3. น่าน – นันทบุรี เมืองน่าน เมืองนาน
4. พะเยา – เมืองภูกามยาว พยาว
5. แพร่ – พลนคร เวียงโกศัย
6. แม่ฮ่องสอน – แม่ร่องสอน
7. ลำปาง – เขลางค์นคร
8. ลำพูน – หริภุญไชย
9. อุุตรดิตถ์ – บางโพธิ์ท่าอิฐ (สมัยก่อนเป็นแค่ตำบล ไม่ได้เป็นจังหวัด)
ภาคอีสาน
10. กาฬสินธุ์ – บ้านแก่งสำเริง หรือบ้านแก่งสำโรง
11. ขอนแก่น – ขามแก่น
12. ชัยภูมิ – บ้านหลวง
13. นครพนม – มรุกขนคร และเปลี่ยนเป็น ศรีโคตรบูรณ์
14. นครราชสีมา – โคราช โคราฆะ เสมา
15. บึงกาฬ – ชัยบุรี
16. บุรีรัมย์ – โนนม่วง เมืองแปะ
17. มหาสารคาม – บ้านลาดกุดยางใหญ่
18. มุกดาหาร – เมืองมุกดาหาร
19. ยโสธร – สมัยก่อนเป็นหมู่บ้านชื่อบ้านสิงห์ท่า
20. ร้อยเอ็ด – สาเกตนคร ร้อยเอ็จประตู
21. เลย – หมู่บ้านแฮ่ เมืองเลย
22. สกลนคร – หนองหานหลวง สกลทวาปี
23. สุรินทร์ – ประทายสมันต์
24. ศรีสะเกษ – ขุขันธ์
25. หนองคาย – บ้านไผ่
26. หนองบัวลำภู – นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน เมืองกมุทธาสัย
27. อุดรธานี – บ้านหมากแข้ง หรือ บ้านเดื่อหมากแข้ง
28. อุบลราชธานี – ดอนมดแดง ดงอู่ผึ้ง
29. อำนาจเจริญ – เมืองค้อ
ภาคตะวันตก
30. กาญจนบุรี – ปากแพรก ศรีชัยยะสิงหปุระ
31. ตาก – เมืองตาก
32. ประจวบคีรีขันธ์ – บางนารม หรือ นารัง เมืองกุย
33. เพชรบุรี – พริบพรี หรือ ศรีวัชรบุรี
34. ราชบุรี – ราชบุรี หรือ ภาคกลาง
35. กำแพงเพชร – ชากังราว นครชุม
36. ชัยนาท – เมืองแพรก หรือเมืองสรรค์
37. นครนายก – นายก
38. นครปฐม – นครไชยศรี หรือศรีวิชัย
39. นครสวรรค์ -พระบาง ชอนตะวัน
40. นนทบุรี – บ้านตลาดขวัญ เมืองนนทบุรีศรีมหาสมุทร เมืองนนทบุรีศรีมหาอุทยาน เมืองนนทบุรีศรีเกษตราราม
41. ปทุมธานี – สามโคก ประทุมธานี
42. อยุธยา – กรุงเก่า มณฑลกรุงเก่า มณฑลอยุธยา
43. พิจิตร – สระหลวง โอฆะบุรี 
44. พิษณุโลก – สองแคว
45. เพชรบูรณ์ – เพชบุระ
46. ลพบุรี – ละโว้
47. สมุทรปราการ – พระประแดง นครเขื่อนขันธ์
48. สมุทรสงคราม – แม่กลอง
49. สมุทรสาคร – บ้านท่าจีน สาครบุรี
50. สิงห์บุรี – สิงหราชาธิราช สิงหะราชา สิงห์
51. สุโขทัย – ศรีสัชนาลัย
52. สุพรรณบุรี – ทวารวดีศรีสุพรรณภูมิ หรือพันธุมบุรี สองพันบุรี อู่ทอง
53. สระบุรี – สระบุรี
54. อ่างทอง – วิเศษชัยชาญ
55. อุทัยธานี – อู่ไทย อุไทย
ภาคตะวันออก
56. จันทบุรี – ควนคราบุรี กาไว จันทบูร
57. ฉะเชิงเทรา – แปดริ้ว
58. ชลบุรี – พระรถ ศรีพโล พญาแร่ บางปลาสร้อย พนัสนิคม บางละมุง
59. ตราด – กราด หรือ ตราด
60. ปราจีนบุรี – พระรถ ศรีมโหสถ อวัธยปุระ
61. ระยอง – ราย็อง
62. สระแก้ว – แต่ก่อนเป็นกิ่งอำเภอ ตั้งชื่อจากสระน้ำกลางเมือง
ภาคใต้
63. กระบี่ – แขวงเมืองปกาสัย
64. ชุมพร – ชุมนุมพล
65. ตรัง – ทับเที่ยง
66. นครศรีธรรมราช – ตามพรลิงค์ ศิริธรรมนคร ศรีธรรมราช
67. นราธิวาส – มะนาลอ บางนรา ระแงะ
68. ปัตตานี – ตานี
69. พังงา – ภูงา หรือ บ้านกระพูงา พิงงา
70. พัทลุง – คูหาสวรรค์
71. ภูเก็ต – บูกิต ภูเก็จ จังซีลอน ถลาง
72. ระนอง – แร่นอง
73. สตูล – มูเก็มสโตย-ละงู นครีสโตย มำบังนังคะรา
74. สงขลา – สิงหนคร สิงหลา สิงขร
75. สุราษฎร์ธานี – ไชยา กาญจนดิษฐ์
76. ยะลา – ยาลอ

วัดราชนัดดา

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

พระเสฏตมมุนี
พระประธาน​พระอุโบสถ
วัดราชนัดดาราม
วัดราชนัดดารามเป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่​หัว​โปรดให้สร้างพระราชทานแก่พระเจ้าหลานเธอ​ พระองค์​เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี​ เป็น​1​ใน​ 3​ วัด​ ที่ทรง​สร้างขึ้นใหม่
พระประธาน​พระอุโบสถ​วัดราช​นัดดา​ราม​นี้​ หล่อพร้อมกันกับพระประธาน​พระอุโบสถ​วัด​เฉลิมพระ​เกียรติ​ ด้วยทองแดงที่ขุดได้จากอำเภอจันทึก​ เมืองนครราชสีมา
พระเสฏตมมุนี​ เป็นพระพุทธรูป​องค์​ใหญ่ขนาดหน้าตัก​ 6​ ศอก​ มีพุทธ​ลักษณะ​ที่เป็นเอกลักษณ์​ของพระพุทธ​รูป​ที่พระบาทสมเด็จ​พระ​นั่ง​เกล้า​เจ้า​อยู่​ทรงสร้างคือ​ นิ้วพระหัตถ์​ที่เสมอกันนั้นกลมเป็นลำเทียน​ และทรงนุ่งห่มเป็นปริมณฑล​คือ​ ห่มจีวรแนบพระกัจฉา(รังแร้)​ ปิดพระถัน(นม)​เรียบร้อย​ ไม่เหมือนพระพุทธ​รูป​สมัยอื่นๆอย่างพระสุโขทัย​เชียงแสนอู่ทอง​ ฯลฯ​ ซึ่ง​ห่มจีวรตกลงมาเห็นหัวนมอย่างเท่ๆ
เมื่อชักลากพระพุทธรูป​นี้จากโรงหล่อในพระ​บรมมหาราชวังมาที่วัดราชนัดดาราม​ ได้เกิดอุบัติเหตุ​เจ้าพระยายมราช​ (บุนนาค)​ ซึ่งเป็นผู้​อำนวยการชักพระ​ ถูกตะเฆ่รองรับองค์​พระทับถึงแก่ความตาย
วัดราชนัดดารามมีชื่อเสียงเป็นพิเศษ​ เนื่องมาจากมีโลหะปราสาทแห่งเดียวในโลก

15 วิธีฝึกสมาธิ

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
15 วิธีฝึกสมาธิ 
สำหรับคนไม่ชอบนั่งสมาธิ 
1. ฝึกอ่านหนังสือ หรือบทความยาวๆ เป็นประจำ
2. ฝึกเขียนบันทึกประจำวัน 
   หรือเขียนอะไรด้วยดินสอ และปากกา
3. ปิดโทรทัศน์ วิทยุ อินเทอร์เน็ต และเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด
   แล้วอยู่กับตนเองเงียบๆ ทำทุกวันให้เป็นนิสัย
4. ฟังเพลงบรรเลงที่ไม่มีเนื้อร้อง (ทั้งในรถยนต์ และที่บ้าน)
5. วิ่งหรือออกกำลังกายแบบนับลมหายใจไปด้วย
6. ฟังคลิปธรรมะ ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เป็นประจำ
7. หาอุปกรณ์ที่สร้างจังหวะมาวางข้างๆ
   แล้วหลับตาฟัง เช่นฟังเสียงเข็มนาฬิกา เป็นต้น
8. ทำทุกอย่างให้ช้าลง เดินให้ช้าลง เคลื่อนไหวให้ช้าลง
    แล้วรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของตนเอง
9. จินตนาการถึงการทำงานของโครงกระดูกของตนเอง
    ในขณะที่เคลื่อนไหว ว่าแต่ละครั้งที่เคลื่อนไหวนั้น
    โครงกระดูกของเราอยู่ในลักษณะใด
10. รับประทานสิ่งใด กินให้รู้รสของสิ่งนั้น
      อยู่กับสิ่งที่เรากำลังกิน อย่าพูดคุยขณะที่อาหารเข้าปาก
      แต่ให้สังเกตการรับรู้ของลิ้นและความรู้สึก
11. ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างเหมาะสม
      มีเวลาจำกัด อย่าใช้ทุกเวลาตามที่ใจต้องการ
12. หาต้นไม้มาปลูกที่บ้าน รดน้ำ พรวนดิน
      และสังเกตความเปลี่ยนแปลงของต้นไม้
13. พูดให้น้อยลง สังเกตสิ่งรอบตัวให้มากขึ้น
14. เปลี่ยนจากเดินห้าง ไปเดินสวนสาธารณะ
      ชมงานศิลปะ หรือชมธรรมชาติในสถานที่เงียบๆ
15. ศึกษา ค้นคว้า จนเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า
      สมาธิมีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตของเราอย่างไร
      เพราะเมื่อเรารู้เข้าใจอย่างแท้จริง เราจะเห็นถึงคุณประโยชน์
      เปิดใจรับ และตัดสินใจลงมือทำมันด้วยตนเอง
เครดิต ;
พศิน อินทรวงค์
Prasop Dhammachot

วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2563

พระพุทธมหาจักรพรรดิวัดนางนอง

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

พระพุทธมหาจักรพรรดิ (พระหน้าหุ่น)
และงานศิลปะไทยจีนสมัยรัชกาลที่ 3 ที่วัดนางนองฯ
วัดนางนองวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าเสือแห่งกรุงศรีอยุธยา ราวปี พ.ศ. 2245–2252 ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ รัชกาลที่ 3 ได้โปรดให้บูรณะปฏิสังรณ์ขึ้นใหม่ และสถาปนาเป็นพระอารามหลวง ประกอบพิธีผูก พัทธสีมาพระอุโบสถเมื่อ พ.ศ. 2384 
วัดนางนอง โดดเด่นด้วยศิลปะไทยผสมจีน อันเป็นพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 มีการก่ออิฐถือปูนเป็นซุ้มประตูแบบจีน หน้าบันลวดลายปูนปั้นวิจิตรงดงาม มีการประดับกระเบื้องเคลือบตามส่วนต่างๆของวัด ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังอันสวยงาม เป็นลายไทยและจีน ได้แก่ ลายฮกลกซิ่วที่เบื้องหน้าพระประธาน ลายค้างคาวที่ขอบหน้าต่าง ลายวรรณกรรมจีนเรื่องสามก๊ก โดยเขียนเป็นลายกำมะลอ (เขียนสีบนรักแบบจีน) และยังมีลายไทยในลักษณะของลายรดน้ำ (ลงรักปิดทอง) บนบานประตู เช่น ลายครุฑ ลายนาค ฯลฯ และเนื่องจากพระประธานเป็นพระทรงเครื่องมหาจักรพรรดิราช จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถและหน้าต่างจึงเป็นภาพเกี่ยวข้องกับพระจักรพรรดิราช นอกจากนั้นลวดลายรดน้ำปิดทองประดับบนบานประตูทั้ง 4 บาน รอบพระอุโบสถแสดงรูปแก้วทั้ง 7อันเป็นสมบัติของพระจักรพรรดิราช
พระพุทธมหาจักรพรรดิ พุทธศิลป์ชิ้นเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 
พระพุทธมหาจักรพรรดิ เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง ปางมารวิชัย พระพักตร์เป็นพุทธศิลป์สมัยสุโขทัย โดยมีฉายาว่า “พระหน้าหุ่น” เนื่องจากพระพักตร์คล้ายหุ่นหลวงฝีพระหัตถ์ของรัชกาลที่ 2 (ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร) เครื่องทรงและเครื่องประดับตกแต่งทุกชิ้น ประดิษฐ์ขึ้นด้วยฝีมือช่างอันวิจิตร แล้วจึงนำมาสวมบนองค์พระ ฐานชุกชีปั้นลายปิดทองประดับกระจก ถือเป็นงานประติมากรรมชิ้นเอก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีความงามอย่างวิจิตรอลังการเป็นทีสุด แต่มงกุฎของพระพุทธมหาจักรพรรดิองค์ที่สวมอยู่นี้เป็นองค์ที่ 2 องค์แรกนั้นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนยอดนภศูลพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม เมื่อครั้งทรงปฏิสังขรณ์พระปรางค์วัดให้สูงขึ้นจากเดิม
วัดนางนองวรวิหารมีพระปรางค์คู่ ถ้ามองจากคลองด่าน ซึ่งเป็นด้านหน้าวัด พระปรางค์คู่นี้จะขนาบพระเจดีย์ประธานไม้ยี่สิบ เยื้องลงไปด้านหลังเล็กน้อย องค์แรกอยู่หลังวิหารหลวงพ่อผุดเป็นพระปรางค์ด้านเหนือ องค์ที่สองอยู่หลังวิหารศาลาการเปรียญ เป็นพระปรางค์ด้านใต้ ลักษณะทรงแปดเหลี่ยมอยู่บนฐานกลมยอดนภศูล ซุ้มประตูและกำแพงแก้ว ล้อมรอบพระอุโบสถและเป็นเขตพุทธาวาส ทำซุ้มประตูยอดโค้ง มีอิทธิพลจีนผสมฝรั่ง จึงเป็นศิลปกรรมที่ผสมผสานความงามของหลากหลายอารยธรรมไว้อย่างงดงามลงตัว
ที่อยู่วัดนางนอง
76 ถนน วุฒากาศ แขวง บางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร

คาถาหลวงพ่ออินทร์โนนสูง

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
หลวงพ่ออินท์ วัดบัว
คาถาให้แฟนคืนดีกัน
หาเศษข้าวหมา+แมวที่กินด้วยกัน ตากแห้งบดเป็นผง
ตั้งนะโม ๓ จบ
นะเมตตา โมกรุณา พุทธปราณี ธายินดี ยะเอ็นดู
มะสมสู่ ให้เราทั้งสอง เอ่ยชื่อ ... อยู่ด้วยกัน อยู่ดีกินดี จนกระทั่งวันตาย
( นึกในใจ ... ถ้าหมากับแมวยังอยู่ด้วยกันแล้ว ข้ากับเจ้าต้องอยู่ด้วยกัน )
*******************
คาถาเรียกแม่ธรณี
แม่ธรณีเจ้าข้าฯ( 3 หน)
อยู่แล้วหรือยัง .........(ตัวเองตอบเองว่า... อยู่)
ถ้าอยู่ก็ให้มาช่วยลูก
โลกังกะวิทู เมรุมุอิฯ
*******************
เศกสีผึ้งหลวงพ่อ
พุทธังชอบ
ธัมมังชอบ
สังฆังชอบ
ขอให้เขาไม่ชอบฉันทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
พุทธะสิทธิสวาหะชอบฯ
*******************
คาถาเมตตา
พุทธัง จังงัง สง่า
ธัมมัง จังงัง  ราชา
สังฆัง จังงัง  เสนา
ยะหายแห่งกู
ให้คนเอ็นดู ชนะทุกที
*******************
#หลวงปู่อินทร์ หรือ #หลวงตาอินทร์ #วัดบัว ที่ชาวโคราชเรียกกัน หาใช่พระธรรมดาหลวงตาพรรษาน้อยไม่ แท้จริงคือกระบี่คมในฝักแห่งเมืองโคราช สืบวิชาจากครูบาอาจารย์รุ่นใหญ่มาครบถ้วน หลวงปู่บวชตั่งแต่อายุได้ 20 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2491 รวม 65 พรรษา อายุ 85 ปี สมัยเป็นพระหนุ่มเข้าไปขอเรียนวิชาจาก หลวงพ่อพรหมสร(รอด) วัดบ้าไพ โดยตกกลางคืนก็เข้าไปบีบนวดให้ท่าน ท่านก็ให้คาถามาหนึ่งบท ทำอย่างนี้ทุกคืน จนได้วิชามาพอสมควร ต่อมาเข้าไปเรียนวิชากับหลวงปู่แจ้ง วัดใหม่สุนทร ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุง หลวงลุงก็สอนวิชาให้จนหมด เข้าไปเรียนกับหลวงพ่อเกิด หลวงปู่เสี่ยง วัดเสมาใหญ่ ท่านเหล่านี้ก็สอนให้จนหมดไม่มีอะไรจะสอนแล้ว สุดท้ายไปขอเรียนวิชากับหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ หลวงพ่อคูณสอนให้เยอะโดยเฉพาะวิชาทำเครื่องรางของขลัง และวิชาหาของหาย วิชานี้เมื่อเรียนเสร็จหลวงปู่อินทร์กลับมาที่วัด พอดีมีลูกศิษย์ทำของหาย หลวงปู่อินทร์ก็ลองวิชาเลย ปรากฏว่าของที่หายหาได้จริงภายในสามวัน ไปเล่าให้หลวงพ่อคูณฟัง หลวงพ่อคูณหัวเราะชอบใจใหญ่ บอกกูลองครั้งแรกตั้งเจ็ดวันกว่าจะได้คืน จึงนับได้ว่าในบรรดาศิษย์สายหลวงพ่อคูณที่เป็นพระสงฆ์ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน หลวงปู่อินทร์อาวุโสที่สุด ที่เป็นพี่ใหญ่ในศิษย์สายหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ โดยสมัยก่อนผู้คนที่มาจากโนนสูง ขอนแก่น ไปกราบหลวงพ่อคูณ ท่านจะกล่าวว่า " พวกมึงนี่โง่ ที่โนนสูงมีพระเก่ง พระดี เป็นไข่มุกดำแห่งภาคอีสานเลยเชียว มาหากูทำไม " และเมื่อถามว่าพระสงฆ์รูปนั้นคือใคร หลวงพ่อคูณจะกล่าวตอบว่า " หลวงตาอินทร์ วัดบัว ที่โนนสูงไง เก่งไม่แพ้กูเลย " ซึ่งสมัยนั้นหลวงปู่อินทร์ยังไม่มีชื่อเสียง เมื่อหลวงพ่อคูณพูดถึงท่านบ่อยๆ จริงทำให้หลายๆคน ตามเข้าไปกราบนมัสการหลวงปู่อินทร์ และเรียกท่านว่า หลวงตาอินทร์ วัดบัวตามที่หลวงพ่อคูณพูดประจำ ทุกวันนี้แม้หลวงปู่อินทร์ จะมีอายุถึง 85 ปี แต่ยังคงรับศรัทธาสาธุชนอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเจิมรถ ลงนะหน้าทอง(อันนี้ขอบอกว่าสุดยอด ไปกราบท่านอย่าลืมเด็จขาด) พรมน้ำมนต์ ปลุกเสกวัตถุมงคล เป่าหัว ท่านทำให้หมด ขออะไรท่านทำให้ด้วยเมตตา แต่ท่านไม่ค่อยพูด วันหนึ่งพูดไม่กี่ประโยค ถ่อมตัวไม่โอ้อวด เหมือนดังคนโบราณมีคำพูดว่า " ของจริงนิ่งเป็นใบ้ ของพูดได้คือของไม่จริง !!! "