วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2564

พระประธานภายในพระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุ

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.

พระประธานภายในพระอุโบสถ วัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ” เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัย มีขนาดของหน้าตักกว้าง 4.40 เมตร สูง 6 เมตร พระพุทธรูปทรงเครื่ององค์นี้ได้รับการบูรณะครั้งสำคัญในสมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 3
ลักษณะทางพุทธศิลป์ นักประวัติศาสตร์ศิลปะสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างหรือบูรณะขึ้นในช่วงสมัยพระเจ้าปราสาททอง โดยเทียบเคียงกับพระพุทธรูปปูนปั้นที่ประดิษฐานในแนวระเบียงคด วัดไชยวัฒนาราม ซึ่งวัดนี้สร้างในสมัยพระเจ้าปราสาททอง เมื่อ พ.ศ. 2173
โดยมีลักษณะทางพุทธศิลป์ที่สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากการผสมผสานคติความเชื่อแบบ “เทวราชา” ของขอม กับแบบ “ธรรมราชา” ของกรุงศรีอยุธยา ตลอดจนคติความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ โดยช่างผู้รังสรรค์ได้ถ่ายทอดแนวความคิดในการจำลองเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ให้เข้ากับปรัชญาและสิ่งแวดล้อมตลอดจนอิทธิพลของศิลปะในยุคนั้นๆ (ซึ่งเป็นยุคที่ย้อนกลับไปนิยมศิลปะแบบขอมในช่วงสมัยพระเจ้าปราสาททอง)
ลักษณะเด่นของอิทธิพลศิลปะขอมที่ชัดเจนคือ พวงอุบะที่สังวาล หรือจะเป็นรูปแบบของศิราภรณ์จากชฎาทรงเทริดแบบศิลปะขอม แต่ที่เห็นได้ชัดเจนคือช่างอยุธยาได้ประยุกต์ให้เทริดเป็นรูปกรวยแหลมสูง หรือแม้แต่ลวดลายการจำหลักต่าง ๆ ล้วนเป็นการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับรสนิยมของช่างอยุธยา
นอกจากนี้พระพักตร์ยังมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ โดยมีพระพักตร์ค่อนข้างดุ พระเนตรดุจตาหงส์ พระนาสิกโด่งงุ้ม และพระโอษฐ์กว้าง รูปแบบของพุทธศิลป์ลักษณะดังกล่าวนี้ยังปรากฏอยู่หลายแห่ง เช่น วัดใหญ่ประชุมพล วัดตูม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือที่วัดพระนอน จังหวัดเพชรบุรี
แต่ที่วัดหน้าพระเมรุ ถือได้ว่ามีความงดงามสมบูรณ์แบบมากที่สุดทั้งในเรื่องของขนาดและความงดงามทางพุทธศิลป์ ที่สะท้อนให้เห็นถึงการผสมผสานของอิทธิพลทางศิลปะจากภายนอกและศิลปะท้องถิ่นที่ปรับประยุกต์เข้าหากัน โดยมีปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ เป็นกรอบกำหนดก่อเกิดเป็นผลงานที่มีคุณค่าและเอกลักษณ์
พระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ ประทับนั่งขัดสมาธิราบ ปรางมารวิชัย จากวัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างในคติการปราบท้าวมหาชมพู สร้างในรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง ที่ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๒๑๗๒-๙๙
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


พระอานนท์ทูลขอพร ๘ ประการ

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.

พระอานนท์ทูลขอพร  ๘  ประการ

     ๑.   ขอพระองค์อย่าได้ประทานจีวรอันประณีต   ที่พระองค์ได้แล้วแก่ข้าพระองค์

     ๒.   ขอพระองค์อย่าได้ประทานบิณฑบาตอันประณีต   ที่พระองค์ได้แล้วแก่ข้าพระองค์

     ๓.   ขอพระองค์อย่าได้โปรดให้ข้าพระองค์อยู่ในที่ประทับของพระองค์

     ๔.   ขอพระองค์อย่าได้ทรงพาข้าพระองค์ไปในที่นิมนต์

     ๕.   ขอพระองค์จงเสด็จไปสู่ที่นิมนต์ที่ข้าพระองค์รับไว้

     ๖.   ขอให้ข้าพระองค์ได้พาบริษัทซึ่งมาจากที่ไกล   เพื่อเข้าเฝ้าพระองค์   เข้าเฝ้าได้ในขณะที่มาแล้ว

     ๗.   ถ้าความสงสัยของข้าพระองค์เกิดขึ้นเมื่อใด   ขอให้ได้เข้าเฝ้าทูลถามเมื่อนั้น

     ๘.   ถ้าพระองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาอันใด   ในที่ลับหลังข้าพระองค์   ขอพระองค์จงเสด็จมาตรัสบอกธรรมเทศนานั้นแก่ข้าพระองค์ด้วย

     พระอานนท์ได้รับพระราชทานพร  ๘  ประการนี้   จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว   จึงได้ยอมรับเป็นพุทธอุปัฏฐาก

ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2564

ทับหลัง

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.
ลวดลายวิจิตรบนทับหลังกลุ่มปราสาทประธาน “ปราสาทบันทายสรี” ที่หาดูได้ยาก
“ปราสาทบันทายสรี” หรือ “บันเตียเสรย” (Bantãy Srĕi) ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองเสียมเรียบไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 25 กิโลเมตร ใกล้กับเขาพนมได ในบริเวณที่ปรากฏนามในจารึกว่า “อิศวรปุระ” (Īśvarapura). สร้างขึ้นครั้งแรกในยุคของ “พระเจ้าราเชนทรวรมัน” (Rajendravarman) ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 15 โดยพราหมณ์-ราชครู “ยัชญยวราหะ”  (Yajñavarāha) ซี่งในครั้งแรกสร้างนั้น ตัวปราสาทคงเป็นเพียงปราสาทก่ออิฐ 3 หลัง มีโคปุระก่ออิฐและกำแพงอิฐล้อมรอบตามสถาปัตกรรมที่นิยมในยุคศิลปะแบบแปรรูป (Pre Rup) อย่างที่คงหลงเหลือร่องรอยเป็นซากอาคารโคปุระหลังเดิมให้เห็นอยู่ทางด้านตะวันตกของกลุ่มปราสาทประธานชั้นใน
.
ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 16  “พระเจ้าชัยวรมันที่ 5” (Jayavarman V) ผู้ทรงเป็นลูกศิษย์ของพราหมณ์ยัชญยวราหะมาตั้งแต่ยังไม่ได้ครองบัลลังก์ ได้มีการก่อสร้างปราสาทบันทายสรีขึ้นใหม่ทั้งหมด ทับซ้อนปราสาทอิฐหลังเดิม ประดิษฐานพระศิวลึงค์ “ตรีภูวนมเหศวร” (Tribhuvanamaheśvara) เพื่ออุทิศถวายแด่พระราชครูครับ 
.
ปราสาทประธานของปราสาทบันทายสรี เป็นปราสาทแบบ “วิมานเชื่อมเรือนมณฑปด้วยมุขกระสัน” ในยุคเริ่มแรก สร้างด้วยหินทรายเนื้อละเอียดสีออกแดง มีแผนผังปราสาทสามหลังตามคติตรีมูรติ (Trinity -Trimūrti) บนฐานไพทีเดียวกันกับอาคารมณฑปที่เชื่อมต่ออยู่ด้านหน้าของปราสาทประธานหลังกลาง หันหน้าไปทางทิศตะวันออกตามแนวแกนหลักยาว ฉนวนทางเดินก่อเป็นผนังทึบ มีช่องหน้าต่างหลอกประดับด้วยเสาลูกกรง-มะหวด (Balustre) ประดับตกแต่งที่ผนังด้านนอกทั้งสองข้าง    
.
อาคารมณฑป (Maṇḍapa) ของปราสาทปราสาทมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีประตูเข้า 3 ด้าน ด้านหน้าทิศตะวันออกเป็นคูหามุข “อรรธมณฑป” (Ardhamaṇḍapa) และซุ้มประตูด้านหน้า มีความยาวเท่ากับอาคารฉนวน – อันตราละ (Antarāḷa) ด้านหลังมณฑปที่ติดกับตัวปราสาทประธาน ถึงแม้แผนผังตามแกนหลักจะดูว่าอาคารมณฑปนั้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่แผนผังภายในอาคารมณฑปกลับเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยให้ฉนวนทางเดินและมุขหน้าล้ำเข้ามาภายในมณฑปครับ
.
กลุ่มปราสาทประธาน 3 หลัง มีขนาดย่อส่วน เล้กกว่าปราสาทหินโดยทั่วไป ปราสาทหลังกลางมีความสูงประมาณ 9.8 เมตร ปราสาทบริวารด้านข้างทั้งสองด้านมีขนาดเล็กกว่า ตัวปราสาทเป็นเรือนธาตุสี่เหลี่ยม ยกเก็จประธานและซุ้มประตูชั้นเดียวในแต่ละด้าน โดยด้านหน้าทำเป็นประตูเข้าออกได้จริง ส่วนที่เหลือเป็นเพียงประตูหลอกประดับผนัง ด้านบนเป็นชั้นวิมาน (เรือนจำลอง) มีซุ้มบัญชรและประตูหลอกที่กลางเก็จประธานทั้ง 4 ด้าน ลดหลั่นขึ้นไปจนถึงส่วนยอดที่ประดับด้วยบัวกลุ่มและหม้ออมลกะ (Amalaka) ซ้อนชั้นด้วยยอดหม้อกลศะ (kalaśa) ประดับบนชั้นเชิงบาตรด้วยปราสาทจำลองที่มุมหลักและบันแถลงสลักรูปเทพเจ้าวางคู่กันที่หน้าซุ้มบัญชรของแต่ละชั้น
.
--------------------------
*** ลวดลายแกะสลักของปราสาทบันทายสรีมีความวิจิตรงดงามจนได้รับการยกย่องว่าเป็น "อัญมณีชิ้นเอกของงานศิลปะเขมรโบราณ” ด้วยเพราะมีการแกะสลักลวดลายประดับแทบทุกส่วนของตัวปราสาทโดยเฉพาะรูปของนางอัปสราและพระทวารบาลประดับผนังเรือนธาตุเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางครับ
.
แต่กลุ่มปราสาทประธานก็ยังมีรูปงานศิลปะที่แกะสลักอย่างวิจิตรบรรจงบน “ทับหลัง” (Litel) ที่บอกเล่าเรื่องราวในคติความเชื่อและวรรณกรรมฮินดูที่เป็นความนิยมในช่วงเวลานั้น ประดับอยู่เหนือประตูเรือนธาตุกลุ่มปราสาทประธานในแต่ละหลัง ที่ในปัจจุบันคงยากที่จะมีโอกาสเข้าไปดูได้อย่างใกล้ชิดได้อย่างสมัยก่อน
.
*** ทับหลังของปราสาทประธานหลังกลาง ซุ้มประตูมุขอรรธมณฑปด้านหน้าสุด ภาพประธานตรงกลางสลักเป็นรูปสิงห์ทะยาน 3 ตัว คายท่อนพวงมาลัยโค้ง โดยด้านบนเป็นหน้าบันที่สลักเป็นรูปพระอินทร์ร่ายรำ ทรงช้างเอราวัณเหนือหน้ากาลในท่ามกลางลายกระหนกใบขดและเทพบริวารโดยรอบ ซึ่งยังคงแสดงอิทธิพลความนิยมจากยุคศิลปะแปรรูปมาอย่างชัดเจนครับ
.
ทับหลังประตูข้างของมณฑปทั้งสองฝั่งของปราสาทประธานหลังกลาง ภาพประธานเป็นหน้ากาลคายท่อนพวงมาลัยตรงแต่ละข้อแตกเป็นใบขาดขดขนาดใหญ่ทั้งด้านบนและด้านล่างขนานกันไปจนจบ เหมือนกันทั้งสองฝั่ง 
.
ทับหลังด้านหลัง (ทิศตะวันตก) ของเรือนธาตุปราสาทประธานหลังกลาง ภาพประธานตรงกลางสลักเป็นเรื่อง “รากษสวิราธ (Rakshasa Virādha) รากษสเฝ้าสวนชมพู่พวาทองในป่าทัณฑกะ ลักพาตัวนางสีดา” ปรากฏในภาค “อรัณยกัณฑ์” ของมหากาพย์รามายณะ  (Rāmāyaṇa Sanskrit epic) โดยมีภาพขององค์รามอยู่ที่ปลายทับหลังทางด้านขวาและองค์ลักษมัณอยู่ที่ปลายทับหลังด้านซ้ายครับ
.
ทับหลังฝั่งทิศเหนือของเรือนธาตุปราสาทประธานหลังกลาง ภาพประธานตรงกลางสลักเป็นเรื่อง “พาลีรบสุครีพ” ใน “ภาคกีษกินธากัณฑ์”ของมหากาพย์รามายณะ ปรากฏภาพองค์รามในซุ้มเหนือโค้งท่อนมาลัย มีรูปวานรบริวารอยู่ที่ปลายทั้งสองข้าง
.
ทับหลังฝั่งทิศใต้ของเรือนธาตุปราสาทประธานหลังกลาง ภาพประธานตรงกลางสลักเป็นเรื่อง "กีราตะอรชุนียะมูรติ" (Kirātārjunīya Murti) หรือการต่อสู่ระหว่างอรชุนกับองค์พระศิวะ (พรานกีรตะ – กีรตา) (Kirātā) ในวนบรรพ ของมหากาพย์มหาภารตะ (Mahābhārata Sanskrit epic)  มีภาพอสูรหมูป่า “มุกกะ” อยู่ด้านล่าง มีภาพของอรชุนง้างคันศรเล็งมาที่อสูรหมูป่าในซุ้มสามเหลี่ยมเหนือโค้งมาลัยทางซ้าย และ พระศิวะ ในรูปของพรานป่า ง้างคันศรเล็งมาที่อสูรหมูป่าในซุ้มทางด้านขวาครับ
.
*** ทับหลังฝั่งทิศตะวันออกของเรือนธาตุปราสาทบริวารหลังทิศเหนือ ภาพประธานสลักเป็นภาพพระอินทร์ร่ายรำเหนือช้างเอราวัณประกอบรูปครุฑ ซึ่งน่ามาจากเรื่องพญาครุฑต่อสู้กับพระอินทร์เพื่อแย่งชิงน้ำอมฤต ด้านบนเป็นหน้าบัน ภาพประธานแสดงเรื่องราว “นรสิงหาวรตาร” (Narasimha Avatar) พระอวตารแห่งพระวิษณุลงมาเป็นมนุษย์ครึ่งสิงห์ กำลังสังหารหิรัญยกศิปุ
.
ทับหลังฝั่งทิศเหนือของเรือนธาตุปราสาทบริวารหลังทิศเหนือ ภาพประธานเป็นภาพ “ภีมะ” (Bhīma) สังหาร “ท้าวชลาสันธะ” (Jarāsandha) กษัตริย์แห่งแคว้นมคธ ในภาคสภาบรรพ (Sabhā Parva) ของมหาภารตะครับ
.
ทับหลังฝั่งทิศใต้ของเรือนธาตุปราสาทบริวารหลังทิศเหนือ ภาพประธานตรงกลางสลักเป็นภาพภีมะ (ปลอมตัวเป็นพ่อครัวนามว่า “วัลลภ-Vallabh” ) เอาชนะนักมวยปล้ำนามว่า “ชิมูทะ (Jīmūta) ในวรรณกรรมมหาภารตะ
.
ทับหลังฝั่งทิศตะวันตก (ด้านหลัง) ของเรือนธาตุปราสาทบริวารหลังทิศเหนือ ภาพประธานตรงกลางเป็นภาพพระวิษณุทรงครุฑ (Garudarudha-Vishnu) ครับ
.
*** ทับหลังฝั่งทิศตะวันออกของเรือนธาตุปราสาทบริวารหลังทิศใต้ ภาพประธานสลักเป็นภาพพระอินทร์ร่ายรำเหนือช้างเอราวัณสามเศียร ด้านบนเป็นหน้าบัน ภาพประธานแสดงเรื่องราว “อุมามเหศวร” (Umamaheshavara) พระศิวะและพระนางปารวตีประทับอยู่บนโคนนทิ
.
ทับหลังฝั่งทิศใต้ของเรือนธาตุปราสาทบริวารหลังทิศใต้ ภาพประธานตรงกลางเป็นภาพทิศปาลกะประจำทิศใต้ (Dikpālas -Dikpālakas) อันได้แก่ พระยมทรงกระบือ  
.
และทับหลังฝั่งทิศตะวันตก (ด้านหลัง) ของเรือนธาตุปราสาทบริวารหลังทิศใต้ ภาพประธานตรงกลางเป็นภาพทิศปาลกะประจำทิศตะวันตก อันได้แก่ พระวรุณทรงหงส์ครับ
เครดิต ; FB
วรณัย  พงศาชลากร
EJeab  Academy

ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


Facebook เกิดขึ้นเมื่อใด?

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.
เฟซบุ๊ก (อังกฤษFacebook) เป็นบริการเครือข่ายสังคมสัญชาติอเมริกัน สำนักงานใหญ่อยู่ที่ เมนโลพาร์ก รัฐแคลิฟอร์เนีย เฟซบุ๊กก่อตั้งเมื่อวันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 โดยมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก และเพื่อนร่วมห้องภายในมหาวิทยาลัย และเหล่าเพื่อนในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พร้อมโดยสมาชิกเพื่อนผู้ก่อตั้ง Eduardo Saverin, Andrew McCollum, Dustin Moskovitz และ Chris Hughes ในท้ายที่สุดเว็บไซต์มีการเข้าชมอย่างจำกัด ทำให้เหล่านักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด แต่ภายหลังได้ขยายเพิ่มจำนวนในมหาวิทยาลัย ในพื้นที่บอสตัน ไอวีลีก และมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และค่อยๆรับรองมหาวิทยาลัยอื่นต่างๆ และต่อมาก็รับรองโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยเฟซบุ๊กให้การอนุญาตให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 13 ปีทั่วโลกสามารถสมัครสมาชิกได้ภายในเว็บไซต์ 

เครดิต ; วิกิพีเดีย

พระกฤษณะสังหารพญากงส์

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.
“ฉากสังหารพญากงส์” ที่ปราสาทบันทายสรีและปราสาทนครวัด
หลังจากที่ “พระกฤษณะ” และ “พระพลราม” (Krishna - Balarāma) เข้าทำลายธนูของศิวะ สังหารคนเฝ้าประตูเมือง และปราบช้าง “กุวัลยปิถะ” แล้ว 
.
เด็กหนุ่มทั้งสองเดินฝ่าเข้าไปในท้องพระโรงใหญ่ของพระราชวังแห่งมืองมถุรา พระกฤษณะและพระพลรามได้เข้าต่อสู้และสังหารนักมวยปล้ำอสูร “จาณูระ” และ “มุสติกะ”  (Cāṇūra - Muṣṭika) รวมทั้งนักมวยปล้ำผู้เป็นบริวารจนราบคาบทั้งหมด พระกฤษณะได้ทรงกระโดดขึ้นไปบนพลับพลาที่ประทับของพญากังสะอย่างรวดเร็ว ทรงยืนชี้หน้ากล่าวประณามถึงความผิดบาปและความชั่วช้าสามาลย์ที่พญากังสะได้ก่อขึ้นไว้แก่กษัตริย์อุกรเสนะ พระวาสุเทพและพระนางเทวกีผู้เป็นพระบิดามารดาของพระองค์ รวมทั้งทุกสรรพชีวิตที่ถูกสังหาร 
.
พญากังสะลุกขึ้นจากบัลลังก์ทองด้วยความโกรธ คว้าดาบและโล่พุ่งเข้ามาหมายสังหารพระกฤษณะในทันที
พระกฤษณะกระโดดขึ้น เอาศีรษะกระแทกเข้ากับหน้าผากของพระยากงส์จนมงกุฎหลุดกระเด็น แล้วคว้าผมยาวของเขาไว้ในมือ จากนั้นก็ลากพญากังสะลงมาจากท้องพระโรง ขว้างร่างอสูรไปบนพื้นดินของเวทีมวยปล้ำด้วยพละกำลังอันมหาศาล พญากังสะพยายามลุกขึ้นต่อสู้อีกครั้ง แต่ก็ไม่สามารถต้านทานพลังของหนุ่มน้อยผู้เป็นพระอวตารได้
พระกฤษณะเหยียบพระบาทบนหน้าอก กดทับพญากงส์ราบไว้กับพื้นลาน แล้วประสานมือเป็นกำปั้นใหญ่ ทุบเข้าไปที่หน้าอกเป็นครั้งสุดท้าย จนพญากังสะสิ้นชีวิตในทันที พระองค์ลากร่างพญากังสะไปรอบ ๆ ลานประลอง ผู้คนต่างตะโกนร้องปลงสังเวช และกล่าวพระนาม “กฤษณะ” ร่วมสรรเสริญยินดีในชัยชนะอย่างกึกก้อง 
.
พระองค์ได้ถวายพระราชสมบัติคืนแก่ “อุกรเสนะ” (Ugrasena)” ผู้ทรงคุณธรรม ให้คืนกลับมาปกครองบ้านเมืองมถุรา ดังเดิมครับ
.
----------------------------
*** ภาพศิลปะเรื่องราว พระกฤษณะสังหารพญากงส์ พบเห็นได้น้อยมากในงานศิลปะของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รูปที่เด่นชัดอยูู่ที่หน้าบันด้านหน้าของอาคารบรรณาลัย ฝั่งทิศเหนือของกลุ่มปราสาทประธาน ปราสาทบันทายสรี-บันเตียเสรยครับ
.
ภาพสลักอันวิจิตรบรรจง จัดวางรูปตามจินตนาการของช่างผู้แกะสลัก มุมภาพด้านล่างทั้งสองฝั่งเป็นภาพ พระกฤษณะและพระพลราม ประทับบนราชรถเทียมม้า มีสารถี หันเข้าจุดศูนย์กลาง เป็นการวางภาพแบบสมมาตร (Symmetric) ตรงกลางภาพส่วนล่างเป็นลานประลอง ที่มีภาพนักมวยปล้ำกำลังเข้ารุมสกรัมพระกฤษณะและพระพลราม
.
ด้านบน เป็นภาพปราสาทพระราชวังของพญากงส์ โดยมีภาพพระกฤษณะง้างอาวุธเตรียมสังหาร (ซึ่งเป็นไปตามจินตนาการของช่างแกะสลัก)  คว้ามวยผมและเหยียบหน้าอกพญากังสะอยู่ ด้านข้างเป็นเหล่าสนมกำนัลที่ตื่นตกใจและภาพนางสนมกำนัลที่เกาะหน้าต่าง โผล่หน้าออกมาดูเหตุการณ์ 
.
*** ภาพสลัก เรื่องพระกฤษณะสังหารพญากังสะ ยังปรากฏที่หน้าบันชั้นล่างของมุขตะวันออก ปราสาทประธานนครวัดอีกแห่งหนึ่งครับ
เครดิต ;FB
วรณัย พงศาชลากร 
EJeab Academy 

วันเสาร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2564

พระกฤษณะสังหารช้าง

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.
พระกฤษณะสังหารช้าง “กุลวัลยปิถะ” 
ในมหากาพย์มหาภารตะ (The Great Epic Mahābhārata) วิษณุปุราณะ (Viṣṇu Purāṇa) อัคนีปุราณะ (Agni Purāṇa) หริวงศ์  (Harivaṃśa) และภาควัตปุราณะ (Bhāgavata Purāṇa) ได้กล่าวถึงเรื่องราวการอวตารของพระวิษณุในภาคของ “กฤษณาวตาร” (Krishna-Kṛṣṇa Avatar)  เพื่อลงมาปราบท้าว (อสูร) “กังสะ” (Kansa Kaṃsa) หรือพญากงส์ เพิ่อขจัดยุคเข็ญให้กับมวลมนุษย์ โดยเล่าถึงตอนกำเนิดว่า
.
ครั้งเมื่อ “กษัตริย์อุกรเสนา” (Ugrasenā) ผู้ครองเมืองมถุรา มีพระมเหสีคือ “พระนางปวารนะเรขา” (Pavanarekha) พระองค์เป็นกษัตริย์ผู้ทรงคุณธรรม เป็นที่รักใคร่ของไพร่ฟ้าประชาชน ปกครองบ้านเมืองร่วมกันอย่างมีความสุขมาช้านาน
.
วันหนึ่งพระนางปวารนะเรขาเสด็จออกไปประพาสป่า ถูกอสูรตนหนึ่งแปลงร่างจำแลงตนเป็นกษัตริย์อุครเสนมาร่วมเสพสังวาส เกิดเป็นพระโอรสนามว่ากังสะ กษัตริย์อุครเสนก็หลงคิดว่าเป็นโอรสของพระองค์มาโดยตลอด 
.
กังสะกุมารเมื่อเติบโตก็เริ่มแสดงออกถึงความชั่วร้าย ไม่เคารพบิดา สังหารเด็กอื่น ๆ ใช้กำลังขู่บังคับเอาธิดาทั้งสององค์ของ กษัตริย์ชรสันธะ (Jarāsandha) แห่งแคว้นมคธ มาเป็นชายาของตน สุดท้ายก็จับตัวกษัตริย์อุกรเสนะและพระมารดาไปคุมขังไว้ สถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์แทน นอกจากนี้ยังขยายอาณาเขตด้วยการสงครามออกไปอย่างกว้างขวางจนเกิดเป็นกลียุค
ทั้งยังสั่งห้ามมิให้ผู้ใดบูชาหรือกล่าวถึงพระนามแห่งพระวิษณุอย่างเด็ดขาดครับ
.
พระวิษณุจึงได้อวตารลงมาบนโลกมนุษย์เพื่อปราบท้าวกังสะหรือพญากงส์ โดยการจุติเป็นบุตรของฤๅษีวสุเทวะ (Vāsudeva) และนางเทวกี (Devakī) ธิดาองค์ที่เจ็ดของพระเจ้าเทวกา ลุงของพญากังสะ ทรงถอนเส้นพระเกศาดำของพระองค์และเส้นผมขาวของพญาอนันตนาคราช ส่งไปยังครรภ์ของนางเทวากี  โดยเส้นผมขาวของพญานาคเกิดเป็นบุตรคนที่เจ็ด นามว่า “พระพลราม” (Balarāma) ส่วนเส้นพระเกศาดำของพระองค์บังเกิดเป็นบุตรคนที่แปด นามว่า “พระกฤษณะ” (Krishna)
.
แต่กระนั้น ในหมู่เทพเจ้าก็มีเสือหมอบแมวเซาของฝ่ายมารซ่อนอยู่  ในงานสมรสของพระวาสุเทพและนางเทวกี มีเสียงกระซิบลงมาจากสวรรค์ที่ข้างหูของท้าวกังสะ “...พระวิษณุกำลังจะอวตารมาสังหารท่าน โดยจะกำเนิดเป็นบุตรแห่งนางเทวกี....” พญากงส์จึงคิดจะสังหารนางเทวากีในทันทีทันใด แต่พระวาสุเทวะได้วิงวอนขอร้องเอาไว้ โดยให้สัญญาว่าจะนำบุตรที่เกิดกับนางเทวากีทุกคนมามอบให้พญากงส์
.
พญากงส์ได้ให้จับท้าววาสุเทพและนางเทวกี ไปขังไว้ในคุกใต้ดิน
.
เมื่อนางเทวกีคลอดบุตรหกคนแรกออกมา พระวาสุเทวะได้นำบุตรของตนมาให้กับพญากงส์ ซึ่งทั้งหมดถูกสังหารจนสิ้น จนมาถึงคนที่ 7  พญาอนันตนาคราชอวตารลงมาก่อนตามคำบัญชาของพระวิษณุ เมื่อเข้าสู่ครรภ์เพื่อให้เป็นบุตรของนางของนางเทวกีแล้ว จนใกล้คลอด พระวิษณุก็ทรงใช้ฤทธิ์อำนาจสับเปลี่ยนเอาบุตรในครรภ์ของนางเทวกีไปใส่ในครรภ์ของนางโรหินี (Rohini) แทน โดยพระวาสุเทพได้ฝากให้ นันทะ (Nanda) คนเลี้ยงโค (โคปาล) เป็นผู้ดูแล ซึ่งก็ได้กำเนิดมาเป็นพระพลราม โดยพญากังสะคิดว่าบุตรของนางเทวกีเสียชีวิตในครรภ์มารดาไปแล้ว
.
พระวิษณุได้อวตารลงมาจุติเป็นโอรสองค์ที่ 8 ผู้มีผิวสีดำสนิท  เมื่อกำเนิดเป็นทารกแล้ว ท้าววาสุเทพได้แอบนำกฤษณะกุมารไปสับเปลี่ยนกับบุตรสาวของนายนันทะกับนางยโสธา (Yaśodā) ที่เพิ่งเกิดมาพร้อมกัน  ไปมอบให้พญากังสะ พญากังสะจึงได้จับทารกน้อยโยนเข้ากระแทกกองหินเพื่อให้สิ้นชีวิต แต่ทารกนั้นกลับกลายร่างเป็น “พระแม่มายา” และกล่าวกับพญากงส์ก่อนกลับสู่สวรรค์ว่า
.
“...บัดนี้ผู้ที่จะสังหารท่าน ได้ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกแล้ว (นะจ๊ะ)” 
.
------------------------------------
*** ก่อนการสังหารพญากงส์ พระกฤษณะและพระพลราม จะต้องต่อสู้กับเหล่าอสูรที่พญากงส์ส่งมาสังหารหลายครั้ง เริ่มตั้งแต่ อสูรในรูปแม่นม “ปุตนะ” (Putana)  อสูรเหินฟ้า “ศักตาสูร” (Saktasura) อสูรลมหมุน ตรีนะวัตร (Trinavasta) อสูรในรูปรถเข็น “ศากตะภังก้า”  (Śakaṭabhaṅga) อสูรในรูปแม่โค “วัตสาสูร” (Vatsasura) อสูรในรูปนกกระเรียน “บากาสูร” (Bagasura) อสูรในรูปงู “อุกราสูร” (Ugrasura) อสูรในรูปลา “เธนุกะ” (Dhenuka) อสูรยักษ์ “ประลัมพะ” (Pralamba) อสูรหอยสังข์ “สังกาสูร” (Sankhasura) อสูรรูปม้า “เกศิน” (Kesin) อสูรหมาป่าและการสังหารช้าง “กุลวัลยปิถะ” (Kuvalayāpīḍa) ครับ 
.
----------------------------------
*** ครั้นเมื่อพระกฤษณะ และพระพลราม ได้ยินเสียงประโคมดังกึงก้อง เป็นสัญญาณเริ่มต้นของการแข่งขันมวยปล้ำ ทั้งสองจึงได้เดินมุ่งหน้าเข้าสู่พระราชวังแห่งนครมถุราในทันที
.
พญากงส์ รู้แจ้งการเดินทางของพระอวตารทั้งสอง จึงเรียกนาย “อังคาระกะ” (Aṅgāraka) ควาญช้างเข้ามาพบ แล้วมีคำสั่งว่า "....เมื่อขบวนแห่เริ่มขึ้น เด็กทั้งสองจะเดินเข้าสู่ประตูแคบ ๆ ของพระราชวัง เจ้าต้องแน่ใจว่าช้างกุลวัลยปิถะ จะเข้าสังหารเด็กทั้งสองให้ได้อย่างรวดเร็ว...”
.
กุลวัลยปิถะเป็นช้างพลายใหญ่ที่มีอารมณ์ฉุนเฉียว ยิ่งได้รับยาสมุนไพรกล่อมประสาทเพื่อเพิ่มความดุร้ายด้วยแล้ว จึงอยู่ในสภาพที่พร้อมจะเข้าทำร้ายใครก็ได้ที่ผ่านมา
.
เมื่อพระกฤษณะและพระพลรามมาถึงที่ประตูวัง ควาญอังคาระกะจึงปล่อยช้างกุลวัลยปิถะจู่โจมเข้าสังหารทันที ช้างผู้ยิ่งใหญ่พยายามใช้งวงคว้าที่ลำตัวของพระองค์ แต่พระกฤษณะกลับหายตัวไปจากสายตาของสัตว์ร้าย ช้างกุลวัยปิถะพยายามแสวงหาพระองค์ด้วยกลิ่น ฟาดงวงฟาดงาไปโดยรอบ พระกฤษณะล้อเลียนและทรมานกุลวัลยปิถะได้ซักพัก จึงใช้พละกำลังกดตรึงงาของช้างไว้กับพื้น ช้างล้มลงทับควาญช้างจนตาย ทรงใช้พระหัตถ์ทุบกะโหลกจนกุลวัลยปิถะสิ้นชีพ พระองค์โรยตัวด้วยเลือดของช้าง หักงาและยกเทินไว้บนไหล่ เดินเข้าสู่สนามประลอง 
..
สนามประลองที่จาณูระและมุสติกะ (Cāṇūra - Muṣṭika) อสูรนักมวยปล้ำร่างยักษ์ รวมทั้งนักมวยปล้ำผู้เป็นบริวารจำนวนมาก กำลังรอพระกฤษณะและพระพลรามอยู่ .......
...
---------------------------
*** รูปศิลปะเรื่องพระกฤษณะสังหารช้างกุลวัลยปิถะ แทบไม่พบเห็นในงานศิลปะแบบเขมรโบราณ ที่เห็นชัดเจนคงเป็นภาพสลักนูนต่ำบนผนังกำแพงปีกโคปุระด้านในฝั่งทิศใต้ของปราสาทบาปวน ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16  ซึ่งโคปุระฝั่งทิศใต้ของปราสาทบาปวนนี้ มีภาพสลักนูนต่ำแบ่งเป็นช่อง ๆ เส้นเส้นลวดเป็นกรอบภาพสี่เหลี่ยม “ชีวประวัติแห่งพระกฤษณะ” (Krishnacaritra) ในตอนต่าง ๆ ตั้งแต่กำเนิด 
.
ส่วนในประเทศไทย ภาพพระกฤษณะสังหารช้างกุลวัลยปิถะ พบบนหน้าบันซุ้มบัญชรประดับเชิงบาตรวิมานชั้นซ้อนของปราสาทพะโค อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ศิลปะแบบปลายยุคบันทายสรี ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 16 และ ภาพ พระกฤษณะสังหารช้างกุลวัลยปิถะบนทับหลังชิ้นหนึ่งของปราสาทหินพิมาย ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 17 จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมายครับ
เครดิต ; FB
วรณัย พงศาชลากร
EJeab Academy 
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆 
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.

ปราสาทขอบแบบละโว้

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.
“ปราสาทขอมแบบละโว้” ปรางค์ไทยยุคแรกที่วัดนครโกษา 
ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 เมืองละโว้ (ลวปุระ- ละโวทยปุระ-ลพบุรี) เป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาลูกผสม นิกาย “อริยารหันตปักขะภิกขุสงฆ์” (Ariyā rahantapakkha bhikkhu sangha) หรือ “กัมโพชสงฆ์ปักขะ” (Kambojsanghapakkha) (ชื่อนาม “กัมโพช” เป็นชื่อเมืองละโว้ในตำนานชินกาลมาลีปกรณ์)  ซึ่งเป็นพุทธศาสนานิกายเถรวาท (Theravāda – Theravādin) ฝ่ายรามัญนิกาย ที่ได้รับเอาคติความเชื่อพิธีกรรมและการปฏิบัติธรรมจากนิกายมหายาน จากอิทธิพลของฝ่ายปาละ-เสนะและจีนผ่านรมาทางหริภุญชัย ผสมผสานงานศิลปะวัชรยานแบบจักรวรรดิบายน (ที่เคยมีอำนาจทางการเมืองในละโว้ระยะหนึ่ง) และเถรวาทมหาวิหารเดิมในยุคทวารวดี โดยผู้ปกครองเมืองละโว้ ได้สร้างพระปรางค์ใหญ่วัดมหาธาตุลพบุรีขึ้นใหม่ เพื่อเป็นประธานของเมืองตามคตินิกายกัมโพชสงฆ์ปักขะ
.
แต่มาถึงในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 19 กระแสความนิยมในคตินิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์  “สีหลภิกขุ” หรือ “นิกายกัลยาณีสีมา” จากเมืองพัน (เมาะตะมะ - Martaban) และลังกาทางตะวันตก ได้เข้ามามีอิทธิพลเหนือคณะกัมโพชสงฆ์ปักขะเดิมที่กำลังหมดความนิยมไปจากราชสำนักละโว้ครับ   
.
ถึงแม้ว่าราชสำนักในเมืองละโว้ จะเปลี่ยนความนิยมในคติความเชื่อมาเป็นแบบเถรวาทลังกาวงศ์ แต่ก็ยังคงนิยมสร้างงานสถาปัตยกรรมของพระเจดีย์ ตามขนบแบบแผนปราสาทเขมร ที่ยังคงรูปทรงวิมานจำลอง  (Vimana) ซ้อนลดหลั่นขึ้นไป 5 ชั้น จบที่บัวกลุ่มยอดปราสาท (หรือจอมโมฬี ตามชื่อเรียกแบบปรางค์) เรือนแต่ละชั้นยกเก็จประธานเป็นซุ้มบัญชร ประดับเครื่องบนเป็นบันแถลงและเครื่องประดับมุม (เครื่องปัก)  ตามรูปแบบงานประดับปราสาทแบบเขมรอยู่
.
---------------------------
*** วัดนครโกษา ตั้งอยู่ทางเหนือของสถานีรถไฟลพบุรีใกล้กับศาลพระกาฬ ภายในเมืองโบราณละโว้ ปรากฏพระเจดีย์ทรงปราสาท (พระปรางค์) เหลืออยู่องค์หนึ่งทางตะวันตก (ด้านหลังสุดของวัดติดกับทางรถไฟ) สร้างขึ้นในช่วงประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 19  ผสมสานศิลปะและคติความเชื่อแบบเถรวาทและกัมโพชสงฆ์ปักขะกับงานศิลปะแบบเขมรละโว้เดิม ยังคงรักษาขนบแบบแผนของลวดลายประดับทั้งส่วนบัวเชิง กรุยเชิง เฟื่องอุบะบัวชั้นรัดเกล้าและบัวชั้นเชิงบาตร (รัดประคด) ที่มีจุดเด่นของชั้น “หงส์เหิน” ในตำแหน่งลวดบัวหงายรองรับหน้ากระดานลายดอกไม้ต่อเนื่อง (ประจำยาม) ของชั้นบัวรัดเกล้า ตามแบบงานประดับขององค์ปรางค์ประธานวัดมหาธาตุลพบุรีครับ
.
หน้าบันแถลง แผ่นแบนยอดสอบแหลมคล้ายหน้ากระจังตั้ง ที่ปักวางอยู่ตรงกลางหน้าซุ้มบัญชรในแต่ละชั้นวิมานตามแบบปราสาทเขมร ได้ถูกปรับเปลี่ยนรูปศิลปะจากที่นิยมทำเป็นรูปเทพเจ้าประจำทิศ (ทิศปาลกะ  (Dikpālas -Dikpālakas) ได้ถูกเปลี่ยนมาเป็นรูป “พระพุทธเจ้า (สมณโคตม)” ปางมารวิชัยบนฐานที่มีรูปยักษ์แคระแบกและรูปพระอัครสาวกแสดงการวันทาสาธุการขนาบอยู่ด้านข้างแทน ในขณะที่รูปศิลปะของเครื่องปักประดับบนมุมของเรือนแต่ละชั้น ได้ถูกปรับเปลี่ยนรูปศิลปะของมุมหลักชั้นรัดเกล้าจากรูปนาค 5 เศียรแบบเขมรมาเป็นรูปครุฑยุดนาค ชั้นบนทำเป็นรูปพระพุทธเจ้าปางลีลา ส่วนกลีบขนุนของมุมย่อยยังคงปั้นปูนประดับตามแบบปราสาทเขมรเดิม ทำเป็นรูปทวารบาล (Dvarapala) ยืนถือกระบอง-พระขรรค์ในซุ้มเรือนแก้วที่ชั้นรัดเกล้า รูปพระพุทธรูปปางประทานอภัย (?) และเทพพนมผุดจากดอกไม้ในซุ้มเรือนแก้วบนเรือนชั้นถัดขึ้นไป (อาจปั้นขึ้นใหม่ในสมัยพระนารายณ์)
.
มุมเรือนธาตุหลักมีขนาดใหญ่ ผนังยกเก็จด้านละ 1 ชั้น ซ้อนด้วยเก็จของซุ้มประตู-หน้าบันชั้นซ้อนหน้าเก็จประธานของตัวเรือนธาตุ  ทำประตูกว้าง เหนือขึ้นไปยังคงวางโครงกรอบรวยนาคของหน้าบันเป็นแบบหยัก 5 ขยัก พวยระกาและมกรคายนาคปลายหน้าบัน 5 เศียรสวมเทริดมงกุฎ ตามรูปแบบปรางค์เขมรละโว้ แต่มีการยกชุดฐานสูงต่อเนื่องขึ้นไป 3 ชั้น แตกต่างไปจากปรางค์ละโว้แบบกัมโพชเดิมที่เป็นฐานไล่ระดับแบบพีรามิดครับ 
.
ซุ้มประตูด้านหน้าทางตะวันออก เป็นมุขยื่นออกมาเล็กน้อยแต่พังทลายลงมาทั้งหมด ด้านที่เหลือเป็นประตูหลอก ทำเป็นจระนำซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัยที่มีพุทธศิลป์บอบบาง มีพระกรและประภารัศมีประดับเป็นซุ้มเรือนแก้ว ที่พัฒนาจากแบบเขมรมาเป็นแบบละโว้-อยุธยา (อาจได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ในช่วงสมเด็จพระนารายณ์)
.
ปรางค์วัดนครโกษา เป็นตัวอย่างอันดีของปรางค์ไทยยุคเริ่มแรก ที่พัฒนารูปแบบมาจากรูปวิมานปราสาทที่มีการประดับเครื่องบนตามแบบแผนของปราสาทเขมรในช่วงยุคสุดท้าย มาใช้เป็นเจดีย์ทรงปราสาทตามคติเถรวาทในยุคแรกตามรูปแบบปราสาทเขมร  แต่ยังไม่ได้คลี่คลายปรับเปลี่ยนมาเป็นเครื่องบนแบบกลีบขนุนและวิมานรูปทรงงาเนียมแบบปรางค์ไทย-อยุธยาในทันที ลายปูนปั้นยังพัฒนามาจากการประดับในยุคปรางค์ประธานวัดมหาธาตุลพบุรีในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 19 ที่รับอิทธิพลมาจากงานปูนปั้นประดับ ปราสาท-ปรางค์สามยอดในยุคศิลปะบายนแบบละโว้ ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 โดยตรง และได้ส่งต่องานประดับมายังปรางค์ไทยยุคแรกในอยุทธยาครับ 

ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.

.
*** สถาปัตยกรรมของปรางค์วัดนครโกษา หากมีสภาพสมบูรณ์ จะมีลักษณะแบบเดียวกันกับปราสาทหลังเล็ก ทางทิศใต้ของปรางค์ประธานวัดมหาธาตุลพบุรี ที่สร้างขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน 
เครดิต ; FB
วรณัย พงศาชลากร
EJeab Academy

ทำไมพระราหูจึงมีกายสีดำ

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.
#ไกด์รักษ์ไทย
#พระราหู
ทำไมพระราหูจึงมีกายสีดำ?
พระอิศวรผู้เป็นเจ้า สร้างพระราหูขึ้นโดยใช้ศีรษะผีโขมด 12 ตัวมาป่นลง แล้วประพรมด้วยน้ำอมฤต ก็บังเกิดเป็นองค์พระอสุรินทรเรืองฤทธิ์(ดำสลัว) มีวิมานเป็นสีนิล มีครุฑเป็นพาหนะ
มีตำนานกล่าวไว้ว่า ในอดีตปฐมกาลล่วงมาแล้ว พระอาทิตย์เกิดเป็นพญานาค พระพฤหัสบดีเกิดเป็นพระอินทร์ พระเสาร์เกิดเป็นพญานาค และพระอังคารเกิดเป็นพญาราชสีห์ ดำดิห์พร้อมใจกันจะสร้างสระน้ำไว้ให้เป็นที่อาศัยแก่มนุษย์และเทวดา จึงพากันไปปรึกษาพระราหู พระราหูว่าเราไม่ได้อาศัยน้ำและแผ่นดินนั้นด้วย แต่นั้นมาเทวดาทั้ง๔ก็เคียดแค้นต่อพระราหู ครั้นประชุมกันสร้างมหาสระชื่อ "สุรามฤต" เสร็จแล้วก็คิดอ่านช่วยกันรักษา ฝ่ายพระอินทร์รักษาทางด้านเขาพระสุเมรุ
พญาครุฑรับรักษาทางด้านเขาสตบริภัณฑ์ พญาราชสีห์รับรักษาทางป่าหิมพานต์ พญานาครับรักษาทางด้านมหาสมุทร 
อยู่จำเนียรกาลนานมาเกิดภัยพิบัติเหตุวันหนึ่งพญาครุฑไล่จะจิกกินพญานาคๆหนีไปพึ่งพระราหู ขอร้องให้ช่วยชีวิต พระราหูเห็นดังนั้นจึงตวาดว่า เหวยครุฑใจบาป เอ็งมาไล่พวกข้าทำไม พญาครุฑตอบว่า นาคนี้เป็นอาหารของเรา พระราหูก็โกรธทะยานเข้าวิ่งไล่ พญาครุฑก็แล่นหนีไปพึ่งพระอินทร์ พระราหูมิอาจไล่เข้าไปได้ก็หยุดอยู่และเกิดกระหายน้ำเป็นกำลังจึงลงไปกินน้ำในสระสุรามฤต พระอินทร์เห็นดังนั้น ก็ขว้างจักรไปถูกกายพระราหูขาดเป็นสองท่อน เดชะอำนาจที่ได้ดื่มน้ำสุรามฤตจึงมิตาย
#AdamGuideLine
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆 
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.

วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2564

พระอัครสาวกเบื้องซ้าย

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.
 #ท่านพระมหาโมคคัลลานะเถระเจ้า #พระอัครสาวกเบื้องซ้าย #เอตทัคคะผู้เลิศด้วยฤทธานุภาพ (ท่านนิพพานก่อนพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พรรษา และหลังวันพระสารีบุตรนิพพาน ๑๕ วัน) จึงขอน้อมนำพระธรรมคำสอนของพระมหาโมคคัลลานะ มาเผยแผ่ให้พิจารณาเป็นมรณานุสติ และสังฆานุสติครับ

     ท่านพระมหาโมคคัลลานะเถระเจ้า มีชีวิตอยู่มาจนกระทั่งถึงระยะปัจฉิมโพธิกาล (ระยะเวลาใกล้สิ้นยุคพุทธกาล) องค์ท่านนิพพานก่อนพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ๑ ปี คือนิพพาน ในปีที่พระพุทธเจ้าทรงมีพระชนมายุ ๗๙ พรรษา

     พระมหาโมคคัลลานะ นิพพานเมื่อวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ณ ถ้ำกาฬศิลา แคว้นมคธ หลังพระสารีบุตรนิพพานได้ ๑๕ วัน ดังมีเรื่องเล่าว่า... 

     พรรษาที่จะนิพพานนั้น ท่านจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำกาฬศิลา แคว้นมคธ พวกเดียรถีย์ (นักบวชนอกพระพุทธศาสนา) คณะหนึ่งได้ จ้างโจรก๊กหนึ่งให้ไปฆ่าท่าน เหตุที่เป็นดังนั้นเพราะเดียรถีย์ได้ประชุมปรึกษาหารือกันแล้วต่างลงความเห็นว่า ทุกวันนี้พวกตน เสื่อมจากลาภสักการะ มีผู้นับถือน้อยลง เป็นเพราะผู้คนพากันหันไปเลื่อมใสพระสมณโคดมเป็นส่วนใหญ่ สาวกของพระสมณโคดมองค์สำคัญที่เป็นตัวการให้คนหันไปเลื่อมใสศาสดาของตนนั้น คือพระมหาโมคคัลลานะ เนื่องจากสาวกรูปนี้มีฤทธิ์ไปนรกสวรรค์ แล้วกลับมาเทศนาสั่งสอนจนคนเกิดศรัทธาเลื่อมใส หากไม่มีสาวกรูปนี้แล้ว พระสมณโคดมก็หมดความหมาย ผู้คนก็จะหมดความเลื่อมใส แล้วพากันหันกลับมาเลื่อมใสพวกตนตามเคย ลาภสักการะก็จะมีมากเหมือนเก่า 

     ครั้นปรึกษาหารือกันแล้ว พวกเดียรถีย์ก็เรี่ยไรเงินจากผู้ที่ยังนับถือพวกตนอยู่ไปว่าจ้างโจรให้ไปฆ่าพระเถระ เวลานั้นเป็นช่วงระยะเวลาเข้าพรรษา พวกโจรได้พากันไปยังถ้ำกาฬศิลาซึ่งท่านจำพรรษาอยู่ ภายนอกถ้ำมีกุฏิหลังเล็กๆ อยู่หลังหนึ่ง ท่านพักอยู่ในกุฏิหลังนั้น และเมื่อได้ทราบว่ามีโจรมาล้อมกุฏิหมายจะฆ่าท่าน พระเถระก็เข้าฌานอธิษฐานจิตหายออกไปทางช่องลูกดาล พวกโจรไม่ทราบจึงเข้าไปค้น แต่ก็พลาดโอกาสไม่พบท่าน 

     วันต่อมา พวกโจรก็ได้มาล้อมกุฏิของท่านอีก แต่ก็ไม่สามารถจับตัวท่านได้ เพราะท่านได้ใช้อำนาจฤทธิ์หายตัวไม่ยอมให้โจรจับได้ พวกโจรพยายามอยู่อย่างนี้ ถึง ๒ เดือนเต็ม พวกเดียรถีย์รู้สึกเคียดแค้นหนักขึ้น จึงเร่งให้พวกโจรจัดการกับพระเถระให้ได้ 

     วันหนึ่ง ท่านมาหวนพิจารณาถึงการที่พวกโจรพยายามตามฆ่าท่านว่าคงจะเนื่องมาจากกรรมเก่าที่ตามมาให้ผล ครั้นพิจารณาไปก็เห็นว่าชาติหนึ่งในอดีตชาติท่านได้ทำอนันตริยกรรม คือ ฆ่าบิดามารดาตามคำยุยงของภรรยา บาปกรรมครั้งนั้นส่งผลให้ท่านไปเกิดในอเวจีมหานรกอยู่เนิ่นนาน ได้รับทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส แม้จะพ้นจากอเวจีมหานรกแล้วแต่เศษของผลบาปกรรมก็ยังมีอยู่และตามให้ผลตลอดเวลา จนมาในชาติปัจจุบันแม้จะได้บรรลุอรหัตผลสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ผลของบาปกรรมที่ยังหลงเหลืออยู่นั้นก็ยังตามอยู่ เมื่อเห็นเป็นดั่งนี้ท่านก็ไม่คิดหนีอีก พวกโจรจึงจับท่านได้และทุบตีอย่างเคียดแค้น ผลก็คือร่างกายของพระเถระแหลกเหลว กระดูกแหลกละเอียด เหลือเป็นชิ้นๆ ขนาดเท่าเม็ดข้าวสารหัก 

     เมื่อทุบจนหายแค้นแล้ว พวกโจรสำคัญว่าท่านมรณภาพจึงช่วยกันหามไปทิ้งไว้หลังพุ่มไม้แห่งหนึ่งใกล้ๆ ถ้ำกาฬศิลา นั้นแล้วหลบหนีไป 

     แม้จะได้รับทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส แต่พระเถระก็ยังไม่มรณภาพ ซึ่งเป็นธรรมดาของพระอัครสาวกหากยังไม่ได้ทูลลาพระพุทธเจ้าแล้วจะยังไม่นิพพานอย่างเด็ดขาด พระเถระยังคงมีสติมั่นคง ท่านเข้าฌานอธิษฐานจิตประสานกายให้ปกติดุจเดิมแล้วเหาะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเวฬุวัน แคว้นมคธ เพื่อทูลลานิพพาน 

     พระพุทธเจ้าทรงขอให้ท่านแสดงธรรม และแสดงฤทธิ์อย่างที่ทรงขอให้พระสารีบุตรได้ทำ ท่านได้ทำตามพุทธประสงค์ จากนั้นได้ก้มลงกราบพระบาทของพระพุทธเจ้าเป็นครั้งสุดท้าย แล้วเหาะกลับไปยังถ้ำกาฬศิลา ท่านนิพพาน ณ ที่นั่นเมื่อวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ 

     ท่านพระมหาโมคคัลลานะเถระเจ้า พระอัครสาวกเบื้องซ้าย ได้ทำงานร่วมกันกับพระสารีบุตรเถระเจ้า ตลอดอายุขัย ได้ช่วยให้พระพุทธศาสนาแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว และเป็นประโยชน์แก่มนุษยชาติทุกวรรณะในสังคมอินเดียครั้งกระนั้น


พระอัครสาวกเบื้องขวา

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.
#พระสารีบุตร
#พระอัครสาวกเบื้องขวา
#เอตทัคคะผู้มีปัญญามาก

พระสารีบุตร (สันสกฤต: ศฺริปุตฺร; บาลี: สาริปุตฺต) เป็นพระภิกษุชาวอินเดีย ผู้เป็นอัครสาวกเบื้องขวาของพระโคตมพุทธเจ้า ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเลิศกว่าพระภิกษุทั้งปวง ในด้านสติปัญญา นอกจากนี้ พระสารีบุตรยังมีคุณธรรมในด้านความกตัญญู และ การบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่พุทธศาสนาอีกด้วย จึงมีคำยกย่องภิกษุรูปนี้ว่าเป็น "ธรรมเสนาบดี" (แม่ทัพธรรม) คู่กับพระพุทธเจ้าที่เป็น "ธรรมราชา"
สถานะเดิม
พระสารีบุตรเมื่อแรกเกิดมีชื่อว่า "อุปติสสะ" เป็นบุตรของนางพราหมณี ชื่อ "สารี" และนายพราหมณ์ ผู้เป็นหัวหน้าหมู่บ้านอุปติสคามแห่งตำบลตำบลนาลกะ หรือตำบลนาลันทา ชื่อ "วังคันตะ" คำว่า "อุปติสสะ" หมายความว่า ชาวบ้านอุปติสคาม อุปติสสะนั้นมีน้องชายสามคน คือ พระจุนทะ พระอุปเสน พระเรวัตตะ และมีน้องสาวอีกสามคน คือ นางจาลา อุปจาลา และสีสุปจาลา ในวันเดียวกับที่นางพรามหณ์สารีให้กำเนิดอุปติสสะนั้น ยังเป็นวันที่ครอบครัวข้างเคียงให้กำเนิดบุตรชื่อว่า "โกลิตะ" หรือต่อมาคือพระมหาโมคคัลลานะ อีกด้วย

ครอบครัวของนางพราหมณีสารีนั้นมีความมั่งคั่งสมบูรณ์พร้อมมูลพอ ๆ กับครอบครัวของโกลิตะ นิสัยใจคอของทั้งอุปติสสะและโกลิตะก็คล้ายคลึงกัน ท่านทั้งสองได้คบหาและเล่าเรียนด้วยกันมาแต่เล็ก ๆ จนเติบใหญ่ นอกจากนี้ ครอบครัวของทั้งสองก็ยังคบหาสมาคมกันมาถึง 7 ชั่วรุ่น ทั้งสองจึงเป็นเพื่อนรักกันอย่างยิ่ง
การออกจากเพศฆราวาส
วันหนึ่ง อุปติสสะและโกลิตะไปเที่ยวเล่นในงานรื่นเริงประจำปีในกรุงราชคฤห์ ขณะชมมหรสพอยู่นั้นก็เกิดความสลดใจขึ้นมาอย่างเดียวกันว่า กิจกรรมเหล่านี้ช่างไร้สาระสิ้นดี หาประโยชน์แก่นสารมิได้เลย ควรจะหาสิ่งใดเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวและหลุดพ้นจากบ่วงเช่นนี้ อีกสองวันจึงพากันไปบวชในสำนักของสัญชัยเวลัฏฐบุตร ณ กรุงราชคฤห์นั้นเอง และสำเร็จการศึกษาในสำนักนั้นโดยใช้เวลาเพียงสองสามวัน เมื่อจบแล้วก็ออกจากสำนัก แต่ยังไม่พึงพอใจเพราะเห็นว่าความรู้จากสำนักนั้นหาใช่ที่ตนค้นหาไม่ จึงตกลงแยกกันไปตามหาครูผู้สามารถสอนความจริงของโลกให้ประจักษ์ได้อย่างแท้จริง และสัญญากันว่าถ้าใครเจอครูเช่นว่าแล้วก็จะมาบอกกันมิได้อำพราง

บรรลุโสดาบันและบวชในพระพุทธศาสนา

พระอัสสชิเถระอันเป็นหนึ่งในปัญจวัคคีย์ หลังจากได้ฟังธรรมจาก พระพุทธองค์ จนบรรลุอรหันต์แล้ว วันหนึ่งท่านถือบาตรและจีวร ไปสู่กรุงราชคฤห์เพื่อบิณฑบาตแต่เช้าตรู่ อุปติสสะได้พบพระอัสสชิเถระ ประทับใจในอิริยาบถน่าเลื่อมใส สำรวมดี ของท่านพระอัสสชิเถระ ผู้มีอินทรีย์ฝึกดีแล้ว จึงเกิดความคิดว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระอรหันต์ จึงได้ตามท่านพระอัสสชิเถระไปข้างหลัง รอคอยโอกาสอยู่ แล้วสอบถาม พระอัสสชิเถระได้แสดงความลึกซึ้งในคำสอน ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่า
"ท่านกล่าวบทอันลึกซึ้งละเอียดทุกอย่าง เป็นเครื่องฆ่าลูกศร คือ ตัณหา เป็นเครื่องบรรเทาความทุกข์ทั้งมวล ว่าธรรมเหล่าใด มีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตเจ้า ตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะเจ้ามีปกติตรัสอย่างนี้"
เมื่ออุปติสสะได้ฟังก็ได้บรรลุโสดาบัน

หลังจากนั้น อุปติสสะกราบลาพระอัสสชิเถระ แล้วนำธรรมะที่ได้รับฟังมา ไปบอกเพื่อนสนิทคือโกลิตะ จนได้บรรลุโสดาบัน เช่นเดียวกัน ทั้งสองได้ไปชวนสัญชัยปริพาชก ให้ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า แต่สัญชัยปริพาชกปฏิเสธ ทั้งสองจึงได้พาปริพาชก 250 คน ไปฟังธรรมจากพระพุทธองค์ หลังจากฟังธรรมครั้งนั้น ปริพาชก 250 คนบรรลุอรหัตผล แต่อุปติสสะและโกลิตะ ยังคงบรรลุเพียงโสดาบันเช่นเดิม พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ทั้งหมดด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา ภายหลังบวชในพระพุทธศาสนาแล้ว ท่านอุปติสสะมีชื่อเรียกใหม่ว่า"สารีบุตร"

ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


หัวใจพุทธศาสนา

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.
#ไกด์รักษ์ไทย
#JourneyIsLife
#หัวใจพุทธศาสนา
     ในวิหาร #หลวงพ่อทองคำ #วัดไตรมิตร
ด้านหลังหลวงพ่อคือพระ #อัครสาวก เบื้องซ้ายพระโมคลานะ  และพระอัครสาวกเบื้องขวาคือพระ #สารีบุตร
"ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ
พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้นและความดับแห่งธรรมเหล่านั้น
พระมหาสมณะมีปกติ ทรงสั่งสอนอย่างนี้"
     ความเป็นมาของพระคาถาบทนี้ปรากฏอยู่ในประวัติของพระสารีบุตร พระอัครสาวกเบื้องขวา มีเนื้อความโดยย่อคือ หลังจากที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้และแสดงธรรมสั่งสอนประกาศพระศาสนาแล้ว ครั้งหนึ่งได้เสด็จมาประทับอยู่ ณ #เวฬุวันมหาวิหาร #กรุงราชคฤห์ วันหนึ่ง #พระอัสสชิ ผู้เป็นหนึ่งในพระปัญจวัคคีย์ซึ่งตามเสด็จฯ พระพุทธองค์มาด้วย เข้าไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ระหว่างทาง #อุปติสสะ ปริพพาชก ซึ่งเดินทางมาจากสำนักปริพพาชกได้พบเห็นพระอัสสชิมีกิริยาอาการอันสงบสำรวม น่าเลื่อมใส จึงอยากทราบว่าใครเป็นศาสดาของพระอัสสชิและมีคำสั่งสอนเช่นไร พระอัสสชิจึงแจ้งว่าตนเป็นนักบวชในสำนักของพระมหาสมณะ ผู้เป็นโอรสแห่ง #ศากยวงศ์ พร้อมกับแสดงธรรมอันย่นย่อของพระพุทธองค์ ซึ่งก็คือ
#พระคาถาเยธัมมา
เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา
เยสํ เหตุํ ตถาคโต อาห
เตสญฺจ โย นิโรโธ จ
เอวํ วาที มหาสมโณติ ฯ
(เย-ทำ-มา-เห-ตุบ-ปะ-พะ-วา
เย-สัง-เห-ตุง-ตะ-ถา-คะ-โต-อา-หะ
เต-สัน-จะ-โย-นิ-โร-โธ-จะ
เอ-วัง-วา-ที-มะ-หา-สะ-มะ-โน-ติ)
"ธรรมทั้งหลายเหล่าใดเกิดแต่เหตุ
พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้นและความดับแห่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้นพระมหาสมณะเจ้า ทรงสั่งสอนอย่างนี้"
     จากนั้น #อุปติสสะ(พระโมคคานะ)ปริพพาชกจึงเดินทางกลับมายังสำนัก และบอกเล่าเรื่องที่ได้พบกับพระอัสสชิ ตลอดจนแสดงธรรมที่พระอัสสชิกล่าวให้แก่สหาย คือ #โกลิตตะ(พระสารีบุตร)ปริพพาชกฟัง จนกระทั่งเกิดดวงตาเห็นธรรมเช่นกัน ปริพพาชกทั้งสองพร้อมด้วยบริวารจึงพากันไปเข้าเฝ้าฯ พระพุทธองค์ยังเวฬุวันมหาวิหาร และทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์จึงประทานอนุญาตให้ปริพพาชกทั้งสองพร้อมด้วยบริวารได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ 
พระโกลิตตะปริพพาชก ซึ่งต่อมาก็คือพระโมคคัลลานะ หลังจากอุปสมบทได้ ๗ วัน ก็สำเร็จอรหัตตผล ส่วนอุปติสสะปริพพาชก หรือพระสารีบุตร บรรลุเป็นอรหันต์หลังจากอุปสมบทได้ ๑๕ วัน
.....................................................
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆 
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.....................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.
.....................................................

วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2564

พุทธสุภาษิตพร้อมคำอ่านและความหมาย

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.


พุทธศาสนสุภาษิต : พระราชา

คำบาลี = ราชา รฏฺฐสฺส ปญฺญาณํ
คำอ่าน = ราชา ระตะทัดสะ ปันยานัง
คำแปล = พระราชาเป็นเครื่องปรากฏของแว่นแคว้น

คำบาลี = ราชา มุขํ นุสฺสสานํ
คำอ่าน = ราชา มุขัง นุสสะสานัง
คำแปล = พระราชาเป็นประมุขของประชาชน

คำบาลี = สพฺพํ รฏฺฐํ สุขํ โหตุ ราชา เจ โหติ ธมฺมิโก
คำอ่าน = สับพัง ระตะถัง สุขัง โหตุ ราชา เจโหติ ธัมมิโก
คำแปล = ถ้าพระราชาเป็นผู้ทรงธรรม ราษฎรทั้งปวงก็เป็นสุข

คำบาลี = กุทฺธํ อปฺปฏิกุชฺฌนฺโต ราชา รฏฺฐสฺส ปูชิโต
คำอ่าน = กุดทัง อับปะติ กุดชันโต ราชา ระตะถัดสะ ปูชิโต
คำแปล = พระราชาผู้ไม่กริ้วตอบผู้โกรธ ราษฎรก็บูชา

คำบาลี = สนฺนทฺโธ ขตฺติโย ตปติ
คำอ่าน = สันนัดโท ขัดติโย อะปะติ
คำแปล = พระมหากษัตริย์ทรงเครื่องรบย่อมสง่า

คำบาลี = ขตฺติโย เสฏฺโฐ ชเนตสฺมิง เย โคตฺตปฏิสาริโน
คำอ่าน = ขัดติโย เสฏะโถ ชะเนตัดมิงเย โคตตะปะฏิสาริโน
คำแปล = พระมหากษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่ชนผู้รังเกียจด้วยสกุล

************************************************

พุทธศาสนสุภาษิต : สิ่งที่เป็นการยาก

คำบาลี = กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ
คำอ่าน = กิดโฉ มะนุดสะ ปะติลาโภ
แปลว่า = ความได้เป็นมนุษย์เป็นการยาก

คำบาลี = กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ
คำอ่าน = กิดฉัง มัดจานะ ชีวิตัง
คำแปล = ความเป็นอยู่ของสัตว์เป็นการยาก

คำบาลี = กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ
คำอ่าน = กิดฉัง สัดธัมมัด สะวะนัง
คำแปล = การฟังธรรมของสัตบุรุษเป็นการยาก

คำบาลี = กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท
คำอ่าน = กิดโฉ พุดทานะ มุบปาโท
คำแปล = ความเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้เป็นการยาก

คำบาลี = ทุลฺลภํ ทสฺสนํ โหติ สมฺพุทฺธานํ อภิณฺหโส
คำอ่าน = ทุนละพัง ทัดสะนัง โหติสำพุดทานัง อะพินหะโส
คำแปล = การเห็นพระพุทธเจ้าเนืองๆ เป็นการหาได้ยาก

*********************************************

พุทธศาสนสุภาษิต : ทรัพย์และอนิจจัง

คำบาลี = น จาปิ วิตฺเตน ชรํ วิหนฺติ
คำอ่าน = นะจาปิ วิดเตนะ ชะรัง วิหันติ
คำแปล = กำจัดความแก่ด้วยทรัพย์ไม่ได้

คำบาลี = น ทีฆมายุง ลภเต ธเนน
คำอ่าน = นะทีคะมายุง ละพะเต ทะเนนะ
คำแปล = คนไม่ได้อายุยืนเพราะทรัพย์

คำบาลี = สพฺเพ ว นิกฺขิปิสฺสนฺติ ภูตา โลเก สมุสฺสยํ
คำอ่าน = สับเพวะ นิกขิปิดสันติ พูตาโลเก สะมัดสะยัง
คำแปล = สัตว์ทั้งปวง จักทอดทิ้งร่างไว้ในโลก

คำบาลี = อฑฺฒา เจว ทฬิทฺทา จ สพฺเพ มจฺจุปรายนา
คำอ่าน = อัดทาเจวะ ทะลิดทา จะสับเพ มัดจุปะรายะนา
คำแปล = ทั้งคนมีทั้งคนจน ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า

คำบาลี = อปฺปกญฺจิทํ ชีวตมาหุธีรา
คำอ่าน = อับปะกันจิทัง ชีวะตะมาหุทีรา
คำแปล = ปราชญ์กล่าวว่าชีวิตนี้น้อยนัก

คำบาลี = น หิ โน สงฺครนฺเตน มหาเสเนน มจฺจุนา
คำอ่าน = นะหิโน สังคะรันเตนะ มะหาเสเนนะ มัดจุนา
คำแปล = ความผัดเพื่อนกับมฤตยู อันมีกองทัพใหญ่นั้น ไม่ได้เลย

คำบาลี = ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ
อ่านว่า = ยังกินจิ สะมุทะยะทำมัง สับพันตัง นิโรทะทำมัง
คำแปล = สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา

คำบาลี = ชรูปนีตสฺส น สนฺติ ตาณา
คำอ่าน = ชะรูปะนีตัดสะ นะสันติตานา
คำแปล = เมื่อสัตว์ถูกชรานำเข้าไปแล้ว ไม่มีผู้ป้องกัน

คำบาลี = สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
คำอ่าน = สังขารา ปะระมา ทุกขา
คำแปล = สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง

คำบาลี = ขโณ โว มา อุปจฺจคา
อ่านว่า = ขะโน โวมา อุปัดจะคา
คำแปล = ขณะอย่าล่วงท่านทั้งหลายไปเสีย

คำบาลี = อติปตฺติ วโย ขโณ ตเถว
คำอ่าน = อัดติปัดติ วะโยขะโน ตะเถวะ
คำแปล = วัยย่อมผ้านพ้นไปเหมือนขณะทีเดียว

คำบาลี = กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพาเนว สหตฺตนา
คำอ่าน = กาโล คะสะติ พูตานิ สับพาเนวะ สะหัดตะนา
คำแปล = กาลเวลาย่อมกินสรรพสัตว์กับทั้งตัวมันเอง

****************************************

พุทธศาสนสุภาษิต : ความโกรธ

คำบาลี = โกธํ ฆตฺวา น โสจติ
คำอ่าน = โกทัง คัดวานะ โสจะติ
คำแปล = ฆ่าความโกรธได้แล้วย่อมไม่เศร้าโศก

คำบาลี = โกโธ สตฺถมลํ โลเก
คำอ่าน = โกโท สัดถะมะลัง โลเก
คำแปล = ความโกรธเป็นดังสนิมศัสตราในโลก

***********************************

พระพุทธศาสนสุภาษิต : หมวดบุคคล

คำบาลี = กมฺมุนา วตฺตตี โลโก
คำอ่าน = กัมมุนา วัดตะตี โลโก
คำแปล = สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม

คำบาลี = อปฺปมาโท อมตํ ปทํ
คำอ่าน = อับปะมาโท อะมะตัง ปะทัง
คำแปล = ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย

คำบาลี = อนากุลา จ กมฺมนฺตา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
คำอ่าน = อะนากุลา จะ กัมมันตา เอตัมมัง คะละมุดตะมัง
คำแปล = การงานไม่คั่งค้างสับสน เป็นมงคลอันสูงสุด

คำบาลี = โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ
คำอ่าน = โกธัง คัดวา สุขัง เสติ
คำแปล = ฆ่าความโกรธได้แล้ว นอนเป็นสุข

คำบาลี = จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ
คำอ่าน = จิตตัง ทันตัง สุขาวะหัง
คำแปล = จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้

คำบาลี = นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา
คำอ่าน = นัดถิ ปันยาสะมา อาภา
คำแปล = แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี

คำบาลี = นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ
คำอ่าน = นิบพานัง ปะระมัง สุขัง
คำแปล = นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

คำบาลี = วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ
คำอ่าน = วิริเยนะ ทุกขะมัดเจติ
คำแปล = คนล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร

คำบาลี = สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ
คำอ่าน = สับพะทานัง ทัมมะทานัง ชินาติ
คำแปล = การให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง

คำบาลี = สีลํ อาภรณํ เสฏฐํ
คำอ่าน = สีลัง อาภะระณัง เสตะถัง
คำแปล = ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ

คำบาลี = สุขา สทฺธา ปติฏฐิตา
คำอ่าน = สุขา สัดทา ปะติตะถิตา
คำแปล = ศรัทธาตั้งมั่นแล้ว นำสุขมาให้

คำบาลี = สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺยโย
คำอ่าน = สุโข ปันยัดสะ อุดยะโย
คำแปล = การสร้างสมความดี นำสุขมาให้

คำบาลี = ยาทิสญฺจูปเสวติ โสปิ ตาทิสโก โหติ
คำอ่าน = ยาทิสันจูปะเสวะติ โสปิ ตาทิสะโก โหติ
คำแปล = คบคนเช่นใด ก็เป็นเช่นคนนั้น

ไม่คิดว่าจะมีผู้คนสนใจมากขนาดนี้
ไว้ว่างๆ จะแปลมาฝากอีกเรื่อยๆ นะคะ
(แปลมาก ตาลายได้เหมือนกัน อิอิ)
ผิดพลาดประการใดต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ ด้วยค่ะ

ทานวรรค คือ หมวดทาน


คำบาลี = นตฺถิ จิตฺเต ปสนฺนมฺหิ อปฺปกา นาม ทกฺขิณา.
คำอ่าน = นัตถิ จิตเต ปะสันนัมหิ อัปปะกา นามะทักขินา.
คำแปล= เมื่อจิตเลื่อมใสแล้ว ทักขิณาทานชื่อว่าน้อย ย่อมไม่มี.

คำบาลี = วิเจยฺย ทานํ สุคตปฺปสตฺถํ.
คำอ่าน = วิเจยยะ ทานัง สุคะตัปปะสัตถัง.
คำแปล= การเลือกให้ อันพระสุคตทรงสรรเสริญ.

คำบาลี = พาลา หเว นปฺปสํสนฺติ ทานํ.
คำอ่าน = พาลา หะเว นัปปะสังสันติ ทานัง.
คำแปล= คนพาลเท่านั้น ย่อมไม่สรรเสริญทาน.

คำบาลี = ททํ มิตฺตานิ คนฺถติ.
คำอ่าน = ทะทัง มิตตานิ คันถะติ.
คำแปล= ผู้ให้ ย่อมผูกไมตรีไว้ได้.

คำบาลี = ททํ ปิโย โหติ ภชนฺติ นํ พหู.
คำอ่าน = ทะทัง ปิโย โหติ ภะชันติ นังพะหู.
คำแปล= ผู้ให้ ย่อมเป็นที่รัก คนหมู่มากย่อมคบเขา.

คำบาลี = ททมาโน ปิโย โหติ.
คำอ่าน = ทะทะมาโน ปิโยโหติ.
คำแปล= ผู้ให้ ย่อมเป็นที่รัก.

คำบาลี = สุขสฺส ทาตา เมธาวี สุขํ โส อธิคจฺฉติ.
คำอ่าน = สุขัดสะ ทาตาเมธาวี สุขัง โส อะทิคัดฉะติ.
คำแปล= ปราชญ์ผู้ให้ความสุข ย่อมได้รับความสุข.

คำบาลี = มนาปทายี ลภเต มนาปํ.
คำอ่าน = มะนาปะทายี ละพะเต มะนาปัง.
คำแปล= ผู้ให้สิ่งที่ชอบใจ ย่อมได้สิ่งที่ชอบใจ.

คำบาลี = เสฏฺฐนฺทโท เสฏฺฐมุเปติ ฐานํ
คำอ่าน = เสตะทันทะโท เสตะทัมเปติ ทานัง
คำแปล= ผู้ให้สิ่งประเสริฐ ย่อมถึงฐานะที่ประเสริฐ.

คำบาลี = อคฺคสฺส ทาตา ลภเต ปุนคฺคํ.
คำอ่าน = อักคะสัด ทาตา ละพะเต ปุนักคัง
คำแปล= ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ย่อมได้สิ่งที่เลิศอีก

อัตตวรรค คือ หมวดตน

คำบาลี = อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ.
คำอ่าน = อัตตา หิ อัตตะโน นาโถ.
คำแปล = ตนแล เป็นที่พึ่งของตน.

คำบาลี = อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย.
คำอ่าน = อัตตา หะเวชิตัง เสยุโย.
คำแปล = ชนะตนนั่นแหละ เป็นดี.

คำบาลี = อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม.
คำอ่าน = อัตตา หิ กิระ ทัดทะโม.
คำแปล = ได้ยินว่าตนแล ฝึกได้ยาก.

คำบาลี = อตฺตา หิ อตฺตโน คติ.
คำอ่าน = อัตตา หิ อัตตะโน คะติ.
คำแปล = ตนเทียว เป็นคติของตน.


ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม


คำบาลี = ธมฺโม รหโท อกทฺทโม.
คำอ่าน = ธัมโม ระหะโท อะกัดทะโม.
คำแปล = ธรรมเหมือนห้วงน้ำไม่มีตม.

คำบาลี = มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา.
คำอ่าน = มะโน ปุบพังคะมา ธัมมา.
คำแปล = ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า.

คำบาลี = ธมฺโม หิ อิสินํ ธโช.
คำอ่าน = ธัมโม หิ อิสินัง ธะโช.
คำแปล = ธรรมแล เป็นธงชัยของพวกฤษี.

คำบาลี = สตํ ธมฺโม ทุรนฺวโย.
คำอ่าน = สะตัง ธัมโม ทุรันวะโย
คำแปล = ธรรมของสัตบุรุษ รู้ได้ยาก.

คำบาลี = สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปติ.
คำอ่าน = สะตันจะ ธัมโม นะชะรัง อุเปติ.
คำแปล = ธรรมของสัตบุรุษ ไม่เข้าถึงความคร่ำคร่า.

คำบาลี = สทฺธมฺโม สพฺภิ รกฺขิโต.
คำอ่าน = สัดธัมโม สับพิ รักขิโต.
คำแปล = ธรรมของสัตบุรุษ อันสัตบุรุษรักษา.

คำบาลี = ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ.
คำอ่าน = ธัมโม สุจินโน สุขะมาวะหาติ.
คำแปล = ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำสุขมาให้.

คำบาลี = สพฺเพสํ สหิโต โหติ สทฺธมฺเม สุปติฏฺฐิโต.
คำอ่าน = สับเพสัง สะหิโต โหติ สัดธัมเม สุปะติตะถิโต
คำแปล = ผู้ตั้งมั่นในสัทธรรม เป็นผู้เกื้อกูลแก่คนทั้งปวง.

คำบาลี = ธมฺมปีติ สุขํ เสติ.
คำอ่าน = ธัมมะปิติ สุขังเสติ.
คำแปล = ผู้มีปีติในธรรม อยู่เป็นสุข.

คำบาลี = ธมฺมจารี สุขํ เสติ.
คำอ่าน = ธัมมะจารี สุขังเสติ.
คำแปล = ผู้ประพฤติธรรม อยู่เป็นสุข.

คำบาลี = ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺจารี.
คำอ่าน = ธัมโม หะเวรักขะติ ธัมจารี.
คำแปล = ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม.

คำบาลี = น ทุคฺคติ คจฺฉติ ธมฺมจารี.
คำอ่าน = นะ ทุกคะติ คัดฉะติ ธัมจารี
คำแปล = ผู้ประพฤติธรรม ไม่ไปสู่ทุคติ.

คำบาลี = ธมฺเม ฐิตํ น วิชหาติ กิตฺติ.
คำอ่าน = ธัมเม ถิตัง นะวิชะหาติ กิตติ.
คำแปล = เกียรติ ย่อมไม่ละผู้ตั้งอยู่ในธรรม.

คำบาลี = ธมฺเม ฐิตา เย น กโรนฺติ ปาปกํ.
คำอ่าน = ธัมเม ถิตา เยนะกะโรนติ ปาปะกัง.
คำแปล = ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่ทำบาป.

คำบาลี = สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย.
คำอ่าน = สับเพ ธัมมา นาลัง อะพินิเวสายะ
คำแปล = สภาวธรรมทั้งปวง ไม่ควรถือมั่น.

คำบาลี = โยนิโส วิจิเน ธมฺมํ.
คำอ่าน = โยนิโส วิเจเน ธัมมัง.
คำแปล = พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย.

คำบาลี = ธมฺมํ จเร สุจิตํ น ตํ ทุจฺจริตํ จเร.
คำอ่าน = ธัมมัง จะเรสุจิตัง นะตังทุดจะริตัง จะเร.
คำแปล = พึงประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่ควรประพฤติให้ทุจริต.

คำบาลี = สทฺธมฺโม ครุกาตพฺโพ.
คำอ่าน = สัตธัมโม คะรุกาตับโพ.
คำแปล = ควรเคารพสัทธรรม.

คำบาลี = กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย.
คำอ่าน = กันหัง ธัมมัง วิบปะหายะ
คำแปล = บัณฑิตควรละธรรมดำเสีย.

คำบาลี = สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต.
คำอ่าน = สุกกัง พาเวถะ ปันทิโต.
คำแปล = บัณฑิตควรเจริญธรรมขาว.

********************************

ทุกขวรรค คือ หมวดทุกข์

คำบาลี = นตฺถิ ขนฺธสมา ทุกฺขา.
คำอ่าน = นัดถิ ขันทะสะมา ทุกขา.
คำแปล = ทุกข์เสมอด้วยขันธ์ ไม่มี.

คำบาลี = สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา.
คำอ่าน = สังขารา ปะระมา ทุกขา.
คำแปล = สังขาร เป็นทุกข์อย่างยิ่ง.

คำบาลี = ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา.
คำอ่าน = ทุราวาสา คะรา ทุกขา.
คำแปล = เหย้าเรือนที่ปกครองไม่ดี นำทุกข์มาให้.

คำบาลี = ทฬิทฺทิยํ ทุกขํ โลเก.
คำอ่าน = ทะลิดทิยัง ทุกขังโลเก.
คำแปล = ความจนเป็นทุกข์ในโลก.

คำบาลี = อิณาทานํ ทุกขํ โลเก.
คำอ่าน = อินาทานัง ทุกข์ขัง โลเก.
คำแปล = การกู้หนี้ เป็นทุกข์ในโลก.

คำบาลี = ทุกฺขํ อนาโถ วิหรติ.
คำอ่าน = ทุกขัง อะนาโถ วิหะระติ
คำแปล = คนไม่มีที่พึ่ง อยู่เป็นทุกข์.

คำบาลี = ทุกขํ เสติ ปราชิโต.
คำอ่าน = ทุกขัง เสติ ปะราชิโต.
คำแปล = ผู้แพ้ ย่อมอยู่เป็นทุกข์.

คำบาลี = อกิญฺจนํ นานุปตนฺติ ทุกฺขา.
คำอ่าน = อะกินจะนัง นานุปะตันติ ทุกขา.
คำแปล = ทุกข์ ย่อมไม่ตกถึงผู้หมดกังวล.

**********************************

ชยวรรค คือ หมวดชนะ


คำบาลี = ชยํ เวรํ ปสวติ.
คำอ่าน = ชะยัง เวรัง ปะสะวะติ.
คำแปล = ผู้ชนะ ย่อมก่อเวร.

คำบาลี = สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ.
คำอ่าน = สับพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ
คำแปล = การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง.

คำบาลี = สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ.
คำอ่าน = สับพะระสัง ธัมมะระโส ชินาติ
คำแปล = รสแห่งธรรม ย่อมชนะรสทั้งปวง.

คำบาลี = สพฺพรติ ธมฺมรติ ชินาติ.
คำอ่าน = สับพะระติ ธัมมะระติ ชินาติ
คำแปล = ความยินดีในธรรม ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง.

คำบาลี = ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ.
คำอ่าน = ตันหักขะโย สับพะทุกขัง ชินาติ
คำแปล = ความสิ้นตัณหา ย่อมชนะทุกทั้งปวง.

คำบาลี = ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ.
คำอ่าน = ตันหักคะโย สับพะทุกขัง ชินาติ
คำแปล = ความสิ้นตัณหา ย่อมชนะทุกทั้งปวง.

คำบาลี = น ตํ ชิตํ สาธุ ชิตํ ยํ ชิตํ อวชิยฺยติ.
คำอ่าน = นะตัง ชิตัง สาทุ ชิตังยัง ชิตัง อะวะชิยะติ
คำแปล = ความชนะใดที่ชนะแล้วกลับแพ้ได้ ความชนะนั้นไม่ดี.

คำบาลี = ตํ โข ชิตํ สาธุ ชิตํ ยํ ชิตํ นาวชิยฺยติ.
คำอ่าน = ตังโข ชิตัง สาทุ ชิตังยังชิตังนาวะชิยะติ
คำแปล = ความชนะใดที่ชนะแล้วไม่กลับแพ้ ความชนะนั้นดี.

คำบาลี = อกฺโกเธน ชิเน โกธํ.
คำอ่าน = อักโกเทนะ ชิเนโกทัง
คำแปล = พึงชนะความโกรธด้วยการไม่โกรธ.

คำบาลี = อสาธุํ สาธุนา ชิเน.
คำอ่าน = อะสาทุ สาทุนา ชิเน
คำแปล = พึงชนะคนไม่ดีด้วยความดี..

คำบาลี = ชิเน กทริยํ ทาเนน.
คำอ่าน = ชิเน กะทะริยัง ทาเนนะ
คำแปล = พึงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้.

คำบาลี = สจฺเจนาลิ กวาทินํ.
คำอ่าน = สัดเจนาลิ กะว่าทินัง
คำแปล = พึงชนะคนพูดปดด้วยคำจริง.

กัมมวรรค คือ หมวดกรรม



คำบาลี = กมฺมํ สตฺเต วิภชติ ยทิทํ หีนปฺปณีตตาย.
คำอ่าน = กัมมัง สัดเต วิภะชะติ ยะทิทัง หีนับปะนีตะตายะ
คำแปล = กรรมย่อมจำแนกสัตว์ คือให้ทรามและประณีต.

คำบาลี = ยงฺกิญฺจิ สิถิลํ กมฺมํ น ตํ โหติ มหปฺผลํ.
คำอ่าน = ยังกินจิ สิถิลัง กัมมัง นะตังโหติ มะหับผะลัง
คำแปล = การงานอะไร ๆ ที่ย่อหย่อน ย่อมไม่มีผลมาก.

คำบาลี = สานิ กมฺมานิ นยนฺติ ทุคฺคติ
คำอ่าน = สานิ กัมมานิ นะยันติ ทุกคะติ
คำแปล = กรรมชั่วของตนเอง ย่อมนำไปสู่ทุคติ.

คำบาลี = สาธุ ปาเปน ทุกฺกรํ.
คำอ่าน = สาธุ ปาเปนะ ทุกกะรัง
คำแปล = ความดี อันคนชั่วทำยาก.

คำบาลี = อกตํ ทุกฺกฏํ เสยฺโย.
คำอ่าน = อะกะตัง ทุกกะตัง เสยโย
คำแปล = ความชั่ว ไม่ทำเสียเลยดีกว่า.

คำบาลี = ปจฺฉา ตปฺปติ ทุกฺกฏํ.
คำอ่าน = ปัดฉา ตับปะติ ทุกกะตัง
คำแปล = ความชั่วย่อมเผาผลาญในภายหลัง.

คำบาลี = กตญฺจ สุกตํ เสยฺโย.
คำอ่าน = กะตันจะ สุกะตังเสยโย
คำแปล = ความดี ทำนั่นแล ดีกว่า.

คำบาลี = น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ.
คำอ่าน = นะตังกัมมัง กะตังสาธุ ยังกัดวา อะนุตับปะติ
คำแปล = ทำกรรมใดแล้วร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นไม่ดี.

คำบาลี = ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ.
คำอ่าน = ตันจะกัมมัง กะตังสาธุยัง กัดวานานุตับปะติ
คำแปล = ทำกรรมใดแล้วไม่ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นแลเป็นดี.

คำบาลี = สุกรานิ อสาธูนิ อตฺตโน อหิตานิ จ.
คำอ่าน = สุกะรานิ อะสาธูนิ อัตตะโน อะหิตานิจะ
คำแปล = การที่ไม่ดีและไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ทำได้ง่าย.

คำบาลี = ยํ เว หิตญฺจ สาธุญฺจ ตํ เว ปรมทุกฺกรํ.
คำอ่าน = ยังเวหิตันจะ สาทันจะตังเว ปะระมะทุกกะรัง
คำแปล = การใดแลเป็นประโยชน์ด้วย ดีด้วย การนั้นแลทำได้ยากยิ่ง.

คำบาลี = น หิ ตํ สุลภํ โหติ สุขํ ทุกฺกฏการินา.
คำอ่าน = นะหิตัง สุละพังโหติ สุขัง ทุกกะตะการินา
คำแปล = สุขไม่เป็นผลอันคนทำชั่วจะได้ง่ายเลย.

คำบาลี = กลฺยาณการี กลฺยาณํ. ปาปการี จ ปาปกํ.
คำอ่าน = กันยานะการี กันยานัง ปาปะการี จะปาปะกัง
คำแปล = สัตวโลกย่อมเป็นไปตามกรรม.

คำบาลี = นิสมฺม กรณํ เสยฺโย.
คำอ่าน = นิสัมมะ กะระนัง เสยโย
คำแปล = ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ ดีกว่า.

คำบาลี = กตสฺส นตฺถิ ปฏิการํ.
คำอ่าน = กะตัดสะ นัดถิ ปะติการัง
คำแปล = สิ่งที่ทำแล้ว ทำคืนไม่ได้.

คำบาลี = กยิรา เจ กยิราเถนํ.
คำอ่าน = กะยิราเจ กะยิราเถนัง
คำแปล = ถ้าจะทำ ก็พึงทำการนั้น (จริง ๆ).

คำบาลี = กเรยฺย วากฺยํ อนุกมฺปกานํ.
คำอ่าน = กะเรยยะ วากุยัง อะนุกัมปะกานัง
คำแปล = ควรทำตามถ้อยคำของผู้เอ็นดู.

คำบาลี = กาลานุรูปํว ธุรํ นิยุญฺเช.
คำอ่าน = กาลานุรูปังวะ ธุรังนิยุนเช
คำแปล = พึงประกอบธุระให้เหมาะแก่กาลเทียว.

คำบาลี = รกฺเขยฺย อตฺตโน สาธุํ ลวณํ โลณตํ ยถา.
คำอ่าน = รักเขยยะ อัตตะโนสาทัง ละวะนังโลนะตัง ยะถา
คำแปล = พึงรักษาความดีของตนไว้ ดังเกลือรักษาความเค็ม.

คำบาลี = กิจฺจานุกุพฺพสฺส กเรยฺย กิจฺจํ
คำอ่าน = กิดจานุกุบพัดสะ กะเรยยะกิดจัง
คำแปล = พึงทำกิจแก่ผู้ช่วยทำกิจ.

คำบาลี = นานตฺถกามสฺส กเรยฺย อตฺถํ.
คำอ่าน = นานัดถะกามัดสะ กะเรยยะอัตถัง
คำแปล = ไม่พึงทำประโยชน์แก่ผู้มุ่งความพินาศ.

คำบาลี = มา จ สาวชฺชมาคมา.
คำอ่าน = มาจะ สาวัดชะมาคะมา
คำแปล = อย่ามาถึงกรรมอันมีโทษเลย.

******************************

อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท


คำบาลี = อปฺปมาโท อมตํปทํ.
คำอ่าน = อับปะมาโท อะมะตังปะทัง
คำแปล = ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย.

คำบาลี = อปฺปมาทญฺจ เมธาวี ธนํ เสฏฺฐํว รกฺขติ
คำอ่าน = อับปะมาทันจะ เมทาวีทะนัง เสตะถังวะ รักขะติ
คำแปล = ปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์ประเสริฐสุด.

คำบาลี = อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ.
คำอ่าน = อับปะมาทัง ปะสังสันติ
คำแปล = บัณฑิตย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท.

คำบาลี = อปฺปมาเท ปโมทนฺติ.
คำอ่าน = อับปะมาเท ปะโมทันติ
คำแปล = บัณฑิตย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท.

คำบาลี = อปฺปมตฺตา น มียนฺติ.
คำอ่าน = อับปะมัดตา นะมียันติ
คำแปล = ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย.

คำบาลี = อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต ปปฺโปติ วิปุลํ สุขํ.
คำอ่าน = อับปะมัดโต หิชายันโต ปับโปติ วิปุลัง สุขัง
คำแปล = ผู้ไม่ประมาทพินิจอยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์.

คำบาลี = อปฺปมตฺโต อุโภ อตฺเถ อธิคฺคณหาติ ปณฺฑิโต.
คำอ่าน = อับปะมัดโต อุโพ อัดเถ อะทิกคะนะหาติ ปันทิโต
คำแปล = บัณฑิตผู้ไม่ประมาท ย่อมได้รับประโยชน์ทั้งสอง.

คำบาลี = อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ.
คำอ่าน = อับปะมาเทนะ สัมปาเทถะ
คำแปล = ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม.

คำบาลี = อปฺปมาทรตา โหถ.
คำอ่าน = อับปะมาทะระตา โหถะ
คำแปล = ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท.

++++++++++++++++++++++++++++


กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส

คำบาลี = สงฺกปฺปราโค ปุริสสฺส กาโม.
คำอ่าน = สังกับปะราโค ปุริสัดสะ กาโม
คำแปล = ความกำหนัดเพราะดำริ เป็นกามของคน.

คำบาลี = น สนฺติ กามา มนุเชสุ นิจฺจา.
คำอ่าน = นะสันติ กามา มะนุเชสุ นิดจา
คำแปล = กามทั้งหลายที่เที่ยง ไม่มีในมนุษย์.

คำบาลี = กาเมหิ โลกมฺหิ น อตฺถิ ติตฺติ.
คำอ่าน = กาเมหิ โลกัมหิ นะอัดถิ ติดติ
คำแปล = ความอิ่มด้วยกามทั้งหลาย ไม่มีในโลก.

คำบาลี = น กหาปณวสฺเสน ติตฺติ กาเมสุ วิชฺชติ.
คำอ่าน = นะกะหาปะนะวัดเสนะ ติดติ กาเมสุ วิดชะติ
ความอิ่มในกามทั้งหลาย ย่อมไม่มีเพราะฝนคือกหาปณะ.

คำบาลี = นตฺถิ กามา ปรํ ทุกฺขํ.
คำอ่าน = นัดถิกามา ปะรังทุกขัง
คำแปล = ทุกข์ (อื่น) ยิ่งกว่ากาม ย่อมไม่มี.

คำบาลี = นตฺถิ ตณฺหาสมา นที.
คำอ่าน = นัดถิ ตันหาสะมา นะที
คำแปล = แม่น้ำเสมอด้วยตัณหา ไม่มี.

คำบาลี = อิจฺฉา โลกสฺมิ ทุชฺชหา.
คำอ่าน = อิดฉา โลกัดมิ ทุดชะหา
คำแปล = ความอยากละได้ยากในโลก.

คำบาลี = อิจฺฉา หิ อนนฺตโคจรา.
คำอ่าน = อิดฉาหิ อะนันตะโคจะรา
คำแปล = ความอยากมีอารมณ์หาที่สุดมิได้เลย.

คำบาลี = อิจฺฉา นรํ ปริกสฺสติ.
คำอ่าน = อิดฉานะรัง ปะริกัดสะติ
คำแปล = ความอยากย่อมเสือไสซึ่งนรชน.

คำบาลี = นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ.
คำอ่าน = นัดถิ ราคะสะโม อักคิ
คำแปล = ไฟเสมอด้วยราคะ ไม่มี.

คำบาลี = โลโภ ธมฺมานํ ปริปนฺโถ.
คำอ่าน = โลโพ ธัมมานัง ปะริปันโถ
คำแปล = ความโลภเป็นอันตรายแห่งธรรมทั้งหลาย.

คำบาลี = อติโลโภ หิ ปาปโก.
คำอ่าน = อะติโลโพ หิปาปะโก
คำแปล = ความละโมบเป็นบาปแท้.

คำบาลี = นตฺถิ โมหสมํ ชาลํ.
คำอ่าน = นัดถิ โมสะหะมัง ชาลัง
คำแปล = ข่ายเสมอด้วยโมหะ ไม่มี.

คำบาลี = ภิยฺโย จ กาเม อภิปตฺถยนฺติ.
คำอ่าน = พิโยจะกาเม อะพิปัดถะยันติ
คำแปล = ผู้บริโภคกาม ย่อมปรารถนากามยิ่งขึ้นไป.

คำบาลี = อูนา ว หุตฺวาน ชหนฺติ เทหํ.
คำอ่าน = อูนาวะ หุดวานะ ชะหันติเทหัง
คำแปล = ผู้บริโภคกามเป็นผู้พร่อง ละร่างกายไป.

คำบาลี = โภคตณฺหาย ทุมฺเมโธ หนฺติ อญฺเว อตฺตนํ.
คำอ่าน = โพคะตันหายะ ทำเมโท หันติอันเว อัดตะนัง
คำแปล = ผู้มีปัญญาทราม ย่อมฆ่าตนเองเหมือนฆ่าผู้อื่น เพราะอยากได้ โภคทรัพย์.

คำบาลี = อวิชฺชานิวุตา โปสา.
คำอ่าน = อะนิดชานิวุตา โปสา
คำแปล = คนทั้งหลายอันอวิชชาหุ้มห่อไว้.

****************************

จิตตวรรค คือ หมวดจิต


คำบาลี = จิตฺเต สงฺกิลิฏเฐ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา.
คำอ่าน = จิดเต สังกิลิตะเถ ทุกคะติ ปาติกังขา
คำแปล = เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันต้องหวัง.

คำบาลี = จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา.
คำอ่าน = จิดเต อะสังกิลิตะเถ สุคะติ ปาติกังขา
คำแปล = เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้

คำบาลี = จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ.
คำอ่าน = จิดตัดสะ ทะมะโถ สาธุ
คำแปล = การฝึกจิตเป็นความดี.

คำบาลี = จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ.
คำอ่าน = จิดตัง ทันตัง สุขาวะหัง
คำแปล = จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้.

คำบาลี = จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ.
คำอ่าน = จิดตัง คุดตัง สุขาวะหัง
คำแปล = จิตที่คุ้มครองแล้ว นำสุขมาให้.

คำบาลี = จิตฺตํ อตฺตโน อุชุกมกํสุ.
คำอ่าน = จิดตัง อัดตะโน อุชุกะมะกังสุ
คำแปล = คนฉลาดได้ทำจิตของตนให้ซื่อตรง.

คำบาลี = สจิตฺตปริยายกุสลา ภเวยฺยุํ.
คำอ่าน = สะจิดตะ ปะริยายะกุสะลา พะเวยยุ
คำแปล = พึงเป็นผู้ฉลาดในกระบวนจิตของตน.

คำบาลี = เตลปตฺตํ ยถา ปริหเรยฺย เอวํ สจิตฺตมนุรกฺเข.
คำอ่าน = เตละปัดตังยะถา ปะริหะเรยยะเอวัง สะจิดตะมะนุรักเข
คำแปล = พึงรักษาจิตของตน. เหมือนคนประคองบาตรเต็มด้วยน้ำมัน.

คำบาลี = สจิตฺตมนุรกฺขถ.
คำอ่าน = สะจิดตะมะ นุรักขะถะ
คำแปล = จงตามรักษาจิตของตน.

คำบาลี = จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี.
คำอ่าน = จิดตัง รักเขถะ เมธาวี
คำแปล = ผู้มีปัญญาพึงรักษาจิต.

คำบาลี = ยโต ยโต จ ปาปกํ ตโต ตโต มโน นิวารเย.
คำอ่าน = ยะโตยะโต จะปาปะกัง ตะโตตะโต นะโม นิวาระเย
คำแปล = ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้นๆ

************************************************



โกธวรรค คือ หมวดโกรธ



คำบาลี = น หิ สาธุ โกโธ.
คำอ่าน = นะหิ สาธุ โกโธ
คำแปล = ความโกรธไม่ดีเลย.

คำบาลี = โกโธ สตฺถมลํ โลเก.
คำอ่าน = โกโธ สัดถะมะลัง โลเก
คำแปล = ความโกรธเป็นดังสนิมศัสตราในโลก.

คำบาลี = อนตฺถชนโน โกโธ.
คำอ่าน = อะนัดถะชะนะโน โกโธ
คำแปล = ความโกรธก่อความพินาศ.

คำบาลี = อนฺธตมํ ตทา โหติ ยํ โกโธ สหเต นรํ.
คำอ่าน = อันทะตะมัง ตะทาโหติ ยังโกโท สะหะเตนะรัง
คำแปล = ความโกรธครอบงำนรชนเมื่อใด ความมืดมนย่อมมีเมื่อนั้น

คำบาลี = อปฺโป หุตฺวา พหุ โหติ วฑฺฒเต โส อขนฺติโช.
คำอ่าน = อับโป หุดวา พะหุโหติ วัดทะเตโส อะขันติโช
คำแปล = ความโกรธน้อยแล้วมาก มันเกิดจากความไม่อดทนจึงทวีขึ้น.

คำบาลี = โกโธ ทุมฺเมธโคจโร.
คำอ่าน = โกโธ ทุมเมทะ โคจะโร
คำแปล = ความโกรธเป็นอารมณ์ของคนมีปัญญาทราม.

คำบาลี = โทโส โกธสมุฏฺฐาโน.
คำอ่าน = โทโส โกทะสะมุตะถาโน
คำแปล = โทสะมีความโกรธเป็นสมุฏฐาน.

คำบาลี = นตฺถิ โทสสโม คโห.
คำอ่าน = นัดถิ โทสะสะโม คะโห
คำแปล = ผู้จับเสมอด้วยโทสะ ไม่มี.
๘๙.
คำบาลี = นตฺถิ โทสสโม กลิ.
คำอ่าน = นัดถิ โทสะสะโมกะลิ
คำแปล = ความผิดเสมอด้วยโทสะไม่มี.

คำบาลี = โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ.
คำอ่าน = โกทัง คัดวา สุขังเสติ
คำแปล = ฆ่าความโกรธได้ อยู่เป็นสุข.

คำบาลี = โกธํ ฆตฺวา น โสจติ.
คำอ่าน = โกทัง คัดวา นะโสจะติ
คำแปล = ฆ่าความโกรธได้ ไม่เศร้าโศก.

คำบาลี = โกธาภิภูโต กุสลํ ชหาติ.
คำอ่าน = โกธาภิภูโต กุสะลัง ชะหาติ
คำแปล = ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมละกุศลเสีย.

คำบาลี = โกธโน ทุพฺพณฺโณ โหติ.
คำอ่าน = โกทะโน ทุบพันโน โหติ
คำแปล = คนมักโกรธ ย่อมมีผิวพรรณเศร้าหมอง.

คำบาลี = ทุกฺขํ สยติ โกธโน.
คำอ่าน = ทุกขัง สะยะติ โกทะโน
คำแปล = คนมักโกรธ ย่อมอยู่เป็นทุกข์.

คำบาลี = อโถ อตฺถํ คเหตฺวาน อนตฺถํ ปฏิปชฺชติ.
คำอ่าน = อะโถอัดถัง คะเหดวานะ อะนัดถัง ปะติปัดชะติ
คำแปล = คนมักโกรธถือเอาประโยชน์แล้ว กลับประพฤติไม่เป็นประโยชน์.

คำบาลี = โกธาภิภูโต ปุริโส ธนชานิ นิคจฺฉติ.
คำอ่าน = โกธาภิภูโต ปุริโส ทะนะชานิ นิคัดฉะติ
คำแปล = ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมถึงความเสื่อมทรัพย์.

คำบาลี = โกธสมฺมทสมฺมตฺโต อายสกฺยํ นิคจฺฉติ.
คำอ่าน = โกทะสัมมะทะ สัมมัดโต อายะสักยัง นิคัดฉะติ
คำแปล = ผู้เมามึนด้วยความโกรธ ย่อมถึงความไร้ยศศักดิ์.

คำบาลี = ญาติมิตฺตา สุหชฺชา จ ปริวชฺเชนฺติ โกธนํ.
คำอ่าน = ยาติมิดตา สุหัดชา จะ ปะริวัดเชนติ โกทะนัง
คำแปล = ญาติมิตรและสหาย ย่อมหลีกเลี่ยงคนมักโกรธ.

คำบาลี = กุทฺโธ อตฺถํ น ชานาติ.
คำอ่าน = กุดโท อัดถัง นะชานาติ
คำแปล = ผู้โกรธ ย่อมไม่รู้อรรถ.

คำบาลี = กุทฺโธ ธมฺมํ น ปสฺสติ.
คำอ่าน = กุดโทธัมมัง นะปัดสะติ
คำแปล = ผู้โกรธ ย่อมไม่เห็นธรรม.

คำบาลี = ยํ กุทฺโธ อุปโรเธติ สุกรํ วิย ทุกฺกรํ.
คำอ่าน = ยังกุดโท อุปะโรเทติ สุกะรัง วิยะทุกกะรัง
คำแปล = ผู้โกรธจะผลาญสิ่งใด สิ่งนั้นทำยากก็เหมือนทำง่าย.

คำบาลี = ปจฺฉา โส วิคเต โกเธ อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ.
คำอ่าน = ปัดฉาโสวิคะเต โกเท อักคิทัดโทวะ ตับปะติ
คำแปล = ภายหลัง เมื่อความโกรธหายแล้ว เขาย่อมเดือดร้อนเหมือน ถูกไฟไหม้.

คำบาลี = โกเธน อภิภูตสฺส น ทีปํ โหติ กิญฺจินํ.
คำอ่าน = โกเทนะ อะพิพูตัดสะ นะทีปังโหติ กินจินัง
คำแปล = ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมไม่มีที่พำนักสักนิดเดียว.

คำบาลี = หนฺติ กุทฺโธ สมาตรํ.
คำอ่าน = หันติกุดโท สะมาตะรัง
คำแปล = ย่อมฆ่ามารดาของตนได้.

คำบาลี = โกธชาโต ปราภโว.
คำอ่าน = โกทะชาโต ปะราพะโว
คำแปล = ผู้เกิดความโกรธแล้ว เป็นผู้ฉิบหาย.

คำบาลี = โกธํ ทเมน อุจฺฉินฺเท.
คำอ่าน = โกทัง ทะเมนะ อัดฉินเท
คำแปล = พึงตัดความโกรธด้วยความข่มใจ.

คำบาลี = มา โกธสฺส วสํ คมิ.
คำอ่าน = มาโกทัดสะ วะสังคะมิ
คำแปล = อย่าลุอำนาจความโกรธ.
***************************
เครดิต:baanbaimai.com ,fungdham.com/proverb.html ,96rangjai.com
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


พุทธศาสนสุภาษิต มีคำอ่าน คำแปล

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.

พุทธศาสนสุภาษิต มีคำอ่าน คำแปล
#หมวดธรรมะเบื้องต้น 
          อุฏฺฐาตา วินฺทเต ธนํ  
(อุด ถา ตา วิน ทะ เต ธะ นัง)
    คนขยัน  ย่อมหาทรัพย์ได้

          พาโล อปริณายโก
(พา โล อะ ปะ ริ ยา ยะ โก)   
    คนโง่ คนพาล ไม่ควรเป็นผู้นำ

          อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ  
(อัต ตา หิ อัต ตะ โน นา โถ)  
         ตนเป็นที่พึ่งของตน

          ปญฺญาว ธเนน เสยฺโย  
(ปัน ยา วะ ทะ เน นะ เสย โย)  
   ปัญญาย่อมประเสริฐกว่าทรัพย์

          อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย 
 (อัด ตา หะ เว ชิ ตัง เสย โย)  
    ชนะตนนั่นแหละประเสริฐกว่า

          ยถาวาที ตถาการี  
 (ยะ ถา วา ที ตะ ถา กา รี) 
    พูดอย่างไร ทำได้อย่างนั้น

          สจฺจํ เว อมตา วาจา  
(สัด จัง เว อะ มะ ตะ วา จา)  
      คำจริงเป็นสิ่งไม่ตาย

          อิณาทานํ ทุกขํ โลเก  
(อิ นา ทา นัง ทุก ขัง โล เก)  
    การกู้หนี้ เป็นทุกข์ในโลก

          อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา  
(อัด ตา นัง ทะ มะ ยัน ติ ปัน ทิ ตา)  
           บัญฑิตย่อมฝึกตน

          ททมาโน ปิโย โหติ  
(ทะ ทะ มา โน ปิ โย โห ติ) 
           ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.

          จเช ธนํ องฺควรสฺส เหตุ องฺคํ จเช ชีวิตํ รกฺขมาโน องฺคํ ธนํ ชีวิตญฺจาปิ สพฺพํ จเช นโร ธมฺมมนุสฺสรนฺโต
   (จะ เช ธะ นัง อัง คะ วะ รัด สะ เห ตุ อัง คัง จะ เช ชี วิ ตัง รัก ขะ มา โน อัง คัง ธะ นัง ชี วิ ตัน จา ปิ สับ พัง จะ เช นะ โร ธัม มะ มะ นุด สะ รัน โต) 
     พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ, เมื่อรักษาชีวิตพึงสละอวัยวะ เมื่อคำนึงถึงธรรม พึงสละอวัยวะ ทรัพย์ และแม้ชีวิตทุกอย่าง

#หมวดบุคคล 
          ธมฺมเทสฺสี ปราภโว 
 (ทำ มะ เทด สี ปะ รา พะ โว)  
    ผู้เกลียดธรรม เป็นผู้เสื่อม

        ปริภูโต มุทุ โหติ อติติกฺโข จ เวรวา 
(ปะ ริ ภู โต มุ ทุ โห ติ อะ ติ ติก โข จะ เว ระ วา)  
      อ่อนไปก็ถูกเขาหมิ่น แข็งไปก็มีภัยเวร

          นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต 
   (นัด ถิ โล เก อะ นิน ทิ โต)  
      ผู้ไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก

          ทุวิชาโน ปราภโว
     (ทุ วิ ชา โน ปะ รา ภะ โว) 
    ผู้มีความรู้ในทางชั่ว เป็นผู้เสื่อม

          โจรา โลกสฺมิมพฺพุทา  
     (โจ รา โล กัด มิ มับ พุ ทา)   
     พวกโจรเป็นเสนียดของโลก

          ธมฺมกาโม ภวํ โหติ  
  (ทำ มะ กา โม ภะ วัง โห ติ)  
       ผู้ชอบธรรม เป็นผู้เจริญ

          ครุ โหติ สคารโว  
    (คะ รุ โห ติ สะ คา ระ โว) 
    ผู้เคารพผู้อื่น ย่อมมีผู้เคารพตนเอง

          เอวํ กิจฺฉาภโต โปโส ปิตุ อปริจารโก ปิตริมิจฺฉาจริตฺวาน นิรยํ โส อุปปชฺชติ
 (เอ วัง กิด ฉา ภะ โต โป โส ปิ ตุ อะ ปะ ริ จา ระ โก ปิ ตะ ริ มิด ฉา จะ ริด วา นะ นิ ระ ยัง โส อุบ ปัด ชะ ติ)   
  ผู้ที่มีมารดาบิดาเลี้ยงมาได้โดยยากอย่างนี้ ไม่บำรุงมารดาบิดา ประพฤติผิดในมารดาบิดา ย่อมเข้าถึงนรก 

      มธุ วา มญฺญตี พาโล ยาว ปาปํ น ปจฺจติ ยทา จ ปจฺจตี ปาปํ อถ ทุกฺขํ นิคจฺฉติ  
(มะ ธุ วา มัน ยะ ตี พา โล ยา วะ ปา ปัง นะ ปัด จะ ติ ยะ ทา จะ ปัด จะ ตี ปา ปัง อะ ถะ ทุก ขัง นิ คัด ฉะ ติ)  
    ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล คนเขลายังเข้าใจว่ามีรสหวาน แต่บาปให้ผลเมื่อใด คนเขลาย่อมประสบทุกข์เมื่อนั้น 

          ยสฺส รุกฺขสฺส ฉายาย นิสีเทยฺย สเยยฺย วา น ตสฺส สาขํ ภญฺเชยฺย มิตฺตทุพฺโพ หิ ปาปโก  
 (ยัด สะ รุก ขัด สะ ฉา ยา ยะ นิ สี เทย ยะ สะ เยย ยะ วา นะ ตัด สะ สา ขัง พัน เชย ยะ มิต ตะ ทุบ โพ หิ ปา ปะ โก)  บุคคลนั่งหรือนอน (อาศัย)
ที่ร่มเงาตันไม้ใด ไม่ควรรานกิ่งต้นไม้นั้น เพราะผู้ประทุษร้ายมิตร เป็นคนเลวทราม 

          โรสโก กทริโย จ ปาปิจฺโฉ มจฺฉรี สโฐ อหิริโก อโนตฺตปฺปี ตํ ชญฺญา วสโล อิติ    
(โร สะ โก กะ ทะ ริ โย จะ ปา ปิด โฉ มัด ฉะ รี สะ โถ อะ หิ ริ โก อะ โนด ตับ ปี ตัง ชัน ยา วะ สะ โล อิ ติ)   
ผู้ใดเป็นคนขัดเคือง เหนียวแน่น ปรารถนาลามก ตระหนี่ โอ้อวด ไม่ละอาย และไม่เกรงกลัวบาป พึงรู้ว่า ผู้นั้นเป็นคนเลว

          โสจติ ปุตฺเตหิ ปุตฺติมา โคมิโก โคหิ ตเถว โสจติ อุปธีหิ นรสฺส โสจนา น หิ โส โสจติ โย นิรูปธิ  
(โส จะ ติ ปุด เต หิ ปุด ติ มา โค มิ โก โค หิ ตะ เถ วะ โส จะ ติ อุ ปะ ธี หิ นะ รัด สะ โส จะ นา นะ หิ โส โส จะ ติ โย นิ รู ปะ ธิ) 
    ผู้มีบุตรย่อมเศร้าโศกเพราะบุตร, ผู้มีโคย่อมเศร้าโศกเพราะโคเหมือนกัน, นรชนมีความเศร้าโศกเพราะอุปธิ, ผู้ใด ไม่มีอุปธิ ผู้นั้นไม่ต้องเศร้าโศกเลย

หมวดการศึกษา-ปัญญา 
          หินชจฺโจปิ เจ โหติ อุฏฺฐาตา ธิติมา นโร อาจารสีลสมฺปนฺโน นิเส อคฺคีว ภาสติ 
 (หิ นะ ชัด โจ ปิ เจ โห ติ อุด ถา ตา ธิ ติ มา นะ โร อา จา ระ สี ละ สำ ปัน โน นิ เส อัก คี วะ พา สะ ติ)  
  คนเราถึงมีชาติกำเนิดต่ำ แต่หากขยันหมั่นเพียร มีปัญญาประกอบด้วยอาจาระ และศีล ก็รุ่งเรืองได้ เหมือนไฟถึงอยู่ในคืนมืดก็สว่างไสว

          สากจฺฉาย ปญฺญา เวทิตพฺพา
(สา กัด ฉา ยะ ปัน ยา เว ทิ ตับ พา)    :     ความมีปัญญา ย่อมรู้ได้จากการสนทนา

          ทา โส ว ปญฺญาสฺส ยสสฺสิ พาโล อตฺเถสุ ชาเตสุ ตถาวิเธสุ ยํ ปณฺฑิโต นิปุณํ สํวิเธติ สมฺโมหมาปชฺชติ ตตฺถ พาโล 
(ทา โส วะ ปัน ยาด สะ ยะ สัด สิ พา โล อัด เถ สุ ชา เต สุ ตะ ถา วิ เธ สุ ยัง ปัน ทิ โต นิ ปุ นัง สัง วิ เธ ติ สำ โม หะ มา ปัด ชะ ติ ตัด ถะ พา โล)  
    คนเขลามียศศักดิ์ ก็เป็นทาสของคนมีปัญญา, เมื่อเรื่องราวต่าง ๆ เกิดขึ้น คนฉลาดจัดการข้อใดได้แนบเนียน คนเขลาถึงความงมงายในข้อนั้น

#หมวดวาจา
          นา ติเวลํ ปภาเสยฺย นตุณหี สพฺพทา สิยา อวิกิณฺ มิตํ วาจํ ปตฺเตกาเล อุทีริเย  
(นา ติ เว ลัง ปะ ภา เสย ยะ นะ ตุ นะ หี สับ พะ ทา สิ ยา อะ วิ กิน มิ ตัง วา จัง ปัด เต กา เล อุ ที ริ เย)       
ไม่ควรพูดจนเกินกาล ไม่ควรนิ่งเสมอไป เมื่อถึงเวลาก็ควรพูดพอประมาณ ไม่ฟั่นเฝือ 
          ปรสฺส วา อตฺตโน วาปิ เหตุ น ภาสติ อลิกํ ภูริปญฺโญ โส ปูชิโต โหติ สภาย มชฺเฌ ปจฺฉาปิ โส สุคติคามิ โหติ  
(ปะ รัด สะ วา อัด ตะ โน วา ปิ เห ตุ นะ พา สะ ติ อะ ลิ กัง พู ริ ปัน โย โส ปู ชิ โต โห ติ สะ พา ยะ มัด เช ปัด ฉา ปิ โส สุ คะ ติ คา มิ โห ติ)  
  ผู้มีภูมิปัญญา ย่อมไม่พูดพล่อย ๆ เพราะเหตุแห่งคนอื่น หรือตนเอง ผู้นั้นย่อมมีผู้บูชาในท่ามกลางชุมชน (สภา) แม้ภายหลังเขาย่อมไปสู่สุคติ

          ยํ พุทฺโธ ภาสตี วาจํ เขมํ นิพฺพานปตฺติยา ทุกฺขสฺสนฺตกิริยาย สา เว วาจานมุตฺตมา  
(ยัง พุด โท พา สะ ตี วา จัง เข มัง นิบ นะ ปัด ติ ยา ทุก ขัด สัน ตะ กิ ริ ยา ยะ สา เว วา จา นะ มุด ตะ มา)  
  พระพุทธเจ้าตรัสพระวาจาใด เป็นคำปลอดภัย เพื่อบรรลุพระนิพพาน และเพื่อทำที่สุดทุกข์, พระวาจานั้นแล เป็นสูงสุดแห่งวาจาทั้งหลาย

#หมวดความอดทน
          ขนฺติ ตโป ตปสฺสิโน
    (ขัน ติ ตะ โป ตะ ปัด สิ โน)   
    ความอดทน เป็นตปะ (ตบะ) ของผู้พากเพียร

          ขนฺติ สาหสวารณา 
 (ขัน ติ สา หะ สะ วา ระ นา)  
    ความอดทน ห้ามไว้ได้ซึ่งความผลุนผลัน

          มนาโป โหติ ขนฺติโก  
 (มะ นา โป โห ติ ขัน ติ โก) 
    ผู้มีความอดทน ย่อมเป็นที่ชอบใจของบุคคลอื่น

          เกวลานํปิ ปาปานํ ขนฺติ มูลํ นิกนฺตติ ครหกลหาทีนํ มูลํ ขนฺติ ขนฺติโก   
(เก วะ ลา นัง ปิ ปา ปา นัง ขัน ติ มู ลัง นิ กัน ตะ ติ คะ ระ หะ กะ ละ หา ที นัง มู ลัง ขัน ติ ขัน ติ โก)
       ความอดทน ย่อมตัดรากแห่งบาปทั้งสิ้น, ผู้มีขันติ ชื่อว่า ย่อมขุดรากแห่งความติเตียน และการทะเลาะกันได้ เป็นต้น

          ขนฺติโก เมตฺตวา ลาภี ยสสฺสี สุขสีลวา ปิโย เทวมนุสฺสานํ มนาโป โหติ ขนฺติโก    (ขัน ติ โก เมด ตะ วา ลา พี ยะ สัด สี สุ ขะ สี ละ วา ปิ โย เท วะ มะ นุด สา นัง มะ นา โป โห ติ ขัน ติ โก)
    ผู้มีความอดทน นับว่ามีเมตตา มีลาภ มียศ และมีสุขเสมอ, ผู้มีความอดทน ย่อมเป็นที่รัก ชอบใจของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย

          อตฺตโนปิ ปเรสญฺจ อตฺถาวโห ว ขนฺติโก สคฺคโมกฺขคมํ มคฺคํ อารุฬฺโห โหติ ขนฺติโก  
(อัด ตะ โน ปิ ปะ เร สัน จะ อัด ถา วะ โห ขัน ติ โก สัก คะ โมก ขะ คะ มัง มัก คัง อา รุด โห โห ติ ขัน ติ โก)  
  ผู้มีขันติ ชื่อว่า นำประโยชน์มาให้ทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น ผู้มีขันติ ชื่อว่า เป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และนิพพาน 

#หมวดความเพียร
          ขโณ โว มา อุปจฺจคา
      (ขะ โน โว มา อุ ปัด จะ คา) 
    อย่าปล่อยกาลเวลาให้ล่วงไปโดยเปล่าประโยชน์

          หิยฺโยติ หิยฺยติ โปโส ปเรติ ปริหายติ  
(หิย โย ติ หิย ยะ ติ โป โส ปะ เร ติ ปะ ริ หา นะ ติ)  
  คนที่ผัดวันว่าพรุ่งนี้ ย่อมเสื่อม ยิ่งผัดว่ามะรืนนี้ ก็ยิ่งเสื่อม

          กาลคตญฺจ น หาเปติ อตฺถํ
 (กา ละ คะ ตัน จะ นะ หา เป ติ อัด ถัง)  :     คนขยัน พึงไม่ให้ประโยชน์ที่มาถึงแล้วผ่านไปโดยเปล่า

          โภคา สนฺนิตยํ ยนฺติ วมฺมิโกวูปจียติ   (โพ คา สัน นิ ตะ ยัง ยัน ติ วำ มิ โก วู ปะ จี ยะ ติ) 
    ค่อย ๆ เก็บรวบรวมทรัพย์ ดังปลวกก่อจอมปลวก

          อตีตํ นานฺวาคเมยฺนย นปฺปฏิกงฺเข อนาคตํ
  (อะ ตี ตัง นาน วา คะ เมย นะ ยะ นับ ปะ ติ กัง เข อะ นา คะ ตัง)  
    อย่ารำพึงถึงความหลัง อย่ามัวหวังถึงอนาคต

          อสเมกฺขิตกมฺมนฺตํ ตุริตาภินิปาตินํ ตานิ กมฺมานิ ตปฺเปนฺติ อุณฺหํ วชฺโฌหิตํ มุเข   
(อะ สะ เมก ขิ ตะ กำ มัน ตัง ตุ ริ ตา พิ นิ ปา ติ นัง ตา นิ กำ มา นิ ตับ เปน ติ อุน หัง วัด โช หิ ตัง มุ เข)
     ผู้ที่ทำการงานลวก ๆ โดยมิได้พิจารณาใคร่ครวญให้ดี เอาแต่รีบร้อนพรวดพราดจะให้เสร็จ การงานเหล่านั้น ก็จะก่อความเดือดร้อนให้ เหมือนตักอาหารที่ยังร้อนใส่ปาก

          อชฺช สุวติ ปุริโส สทตฺทํ นาวพุชฺฌติ โอวชฺชมาโน กุปฺปติ เสยฺยโส อติมญฺญติ  
(อัด ชะ สุ วะ ติ ปุ ริ โส สะ ทัด ทัง นา วะ พุด ชะ ติ โอ วัด ชะ มา โน กุบ ปะ ติ เสย ยะ โส อะ ติ มัน ยะ ติ)
      คนที่ไม่รู้จักประโยชน์ตนว่า อะไรควรทำวันนี้ อะไรควรทำพรุ่งนี้ ใครตักเตือนก็โกรธ เย่อหยิ่ง ถือดีว่า ฉันเก่ง ฉันดี คนอย่างนี้ เป็นที่ชอบใจของกาลกิณี

          หิยฺโยติ หิยฺยติ โปโส ปเรติ ปริหายติ อนาคตํ เนตมตฺถีติ ญตฺวา อุปฺปนฺนจฺฉนฺทํ โก ปนุเทยฺย ธีโร   
(หิย โย ติ หิย ยะ ติ โป โส ปะ เร ติ ปะ ริ หา ยะ ติ อะ นา คะ ตัง เน ตะ มัด ถี ติ ยัด วา อุบ ปัน นัด ฉัน ทัง โก ปะ นุ เทย ยะ ธี โร)
      มัวรำพึงถึงความหลัง ก็มีแต่จะหดหาย มัวหวังวันข้างหน้า ก็มีแต่จะละลาย อันใดยังไม่มาถึง อันนั้นก็ยังไม่มี รู้อย่างนี้แล้ว เมื่อมีฉันทะเกิดขึ้น คนฉลาดที่ไหนจะปล่อยให้หายไปเปล่า

          อปฺปเกนปิ เมธาวี ปาภเฏน วิจกฺขโณ สมุฏฺฐาเปติ อตฺตานํ อณุ อคคึว สนฺธมํ    
(อับ ปะ เก นะ ปิ เม ธา วี ปา พะ เต นะ วิ จัก ขะ โน สะ มุด ถา เป ติ อัต ตา นัง อะ นุ อะ คะ คิง วะ สัน ทะ มัง)
    ผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาดย่อมตั้งตนได้ด้วยต้นทุนแม้น้อย เหมือนคนก่อไฟน้อยขึ้นฉะนั้น 

          อฏฺฐา ตา กมฺมเธยฺเยสุ อบฺปมตฺโต วิธานวา สมํ กปฺเปติ ชีวิตํ สมภตํ อนุรกฺขติ    
(อัด ถา ตา กำ มะ เทย เย สุ อับ ปะ มัด โต วิ ธา นะ วา สะ มัง กับ เป ติ ชี วิ ตัง สะ มะ ภะ ตัง อะ นุ รัก ขะ ติ)
      ผู้ขยันในหน้าที่การงาน ไม่ประมาท เข้าใจเลี้ยงชีพพอสมควร จึงรักษาทรัพย์ที่หามาได้ 

          โย จ วสฺสสตํ ชีเว กุสีโต หีนวีริโย เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย วิริยํ อารภโต ทฬฺหํ
(โย จะ วัด สะ สะ ตัง ชี เว กุ สี โต ฮี นะ วี ริ โย เอ กา หัง ชี วิ ตัง เสย โย วิ ริ ยัง อา ระ พะ โต ทัด หัง)
        ผู้เกียจคร้าน มีความเพียรเลว พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี ส่วนผู้ปรารภความเพียรมั่นคง มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวก็ประเสริฐกว่า 

#หมวดความโกรธ
          โกโธ สตฺถมลํ โลเก
  (โก โธ สัด ถะ มะ ลัง โล เก)  
    ความโกรธเป็นดังสนิมในโลก

          ยํ กุทฺโธ อุปโรเธติ สุกรํ วิย ทุกฺกรํ    (ยัง กุด โธ อุ ปะ โร เธ ติ สุ กะ รัง วิ ยะ ทุก กะ รัง)
    ผู้โกรธจะผลาญสิ่งใด สิ่งนั้นทำยากก็เหมือนทำง่าย

          อปฺโป หุตฺวา พหุ โหติ วฑฺฒเต โส อขนฺติโช    
(อับ โป หุต วา พะ หุ โห ติ วัด ทะ เต โส อะ ขัน ติ โช)
    ความโกรธน้อยแล้วมาก มันเกิดจากความไม่อดทน จึงทวีขึ้น

          ปจฺฉา โส วิคเต โกเธ อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ  
(ปัด ฉา โส วิ คะ เต โก เธ อัก คิ ทัด โท วะ ตับ ปะ ติ)
      ภายหลังเมื่อความโกรธหายแล้ว เขาย่อมเดือดร้อน เหมือนถูกไฟไหม้

          อนฺธตมํ ตทา โหติ ยํ โกโธ สหเต นรํ    
(อัน ธะ ตะ มัง ตะ ทา โห ติ ยัง โก โธ สะ หะ เต นะ รัง)
      ความโกรธครอบงำนรชนเมื่อใด ความมืดมนย่อมมีขึ้นเมื่อนั้น 

#หมวดการชนะ
          ชิเน กทริยํ ทาเนน  
(ชิ เน กะ ทะ ริ ยัง ทา เน นะ) 
  พึงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้

          อสาธํ สาธุนา ชิเน
  (อะ สา ธัง สา ธุ นา ชิ เน)  
    พึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดี

          อกฺโกเธน ชิเน โกธํ  
     (อัก โก เธ นะ ชิ เน โก ธัง)  
    พึงชนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ

          สจฺเจนาลิกวาทินํ  
    (สัด เจ นา ลิ กะ วา ทิ นัง)  
    พึงชนะคนพูดปด ด้วยคำจริง

#หมวดประมาท
          เย ปมตฺตา ยถา มตา  
   (เย ปะ มัด ตา ยะ ถา มะ ตา)  
    ผู้ประมาท เหมือนคนตายแล้ว

          เต ทีฆรตฺตํ โสจนฺติ เย ปมชฺชนฺติ มาณวา  
(เต ที คะ รัด ตัง โส จัน ติ เย ปะ มัด ชัน ติ มา นะ วา)
      คนประมาท ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน

          โย จ ปุพฺเพ ปมชฺชิตฺวา ปจฺฉา โส นปฺปมชฺชติ โสมํ โลกํ ปภาเสติ อพฺภา มุตฺโต ว จนฺทิมา  
(โย จะ ปุบ เพ ปะ มัด ชิต วา ปัด ฉา โส นับ ปะ มัด ชะ ติ โส มัง โล กัง ปะ ภา เส ติ อับ ภา มุด โต วะ จัน ทิ มา)
       เมื่อก่อนประมาท ภายหลังไม่ประมาท เขาชื่อว่ายังโลกนี้ให้สว่าง เหมือนพระจันทร์พ้นจากเมฆหมอกฉะนั้น

          ยญฺหิ กิจฺจํ ตทปวิทฺธํ อกิจฺจํ ปน กยีรติ อุนฺนฬานํ ปมตฺตานํ เตสํ วฑฺฒนฺติ อาสวา  
(ยัน หิ กิด จัง ตะ ทะ ปะ วิด ธัง อะ กิด จัง ปะ นะ กะ ยี ระ ติ อุน นะ ลา นัง ปะ มัด ตา นัง เต สัง วัด ทัน ติ อา สะ วา)
      คนทอดทิ้งกิจที่ควรทำ ไปทำกิจที่ไม่ควรทำ เมื่อเขาถือตัวประมาท อาสวะย่อมเจริญ

          พหุมฺปิ เจ สํหิต ภาสมาโน น ตกฺกโร โหติ นโร ปมตฺโต โคโปว คาโว คณยํ ปเรสํ น ภาควา สามญฺญฺสฺส โหติ  
(พะ หุม ปิ เจ สัง หิ ตัง ภา สะ มา โน นะ ตัก กะ โร โห ติ นะ โร ปะ มัต โต โค โป วะ คา โว คะ นะ ยัง ปะ เร สัง นะ ภา คะ วา สา มัน ยัด สะ โห ติ)
      หากกล่าวพุทธพจน์ได้มาก แต่เป็นคนประมาท ไม่ทำตามพุทธพจน์นั้น ก็ไม่มีส่วนแห่งสามัญญผล เหมือนคนเลี้ยงโค คอยนับโคให้ผู้อื่นฉะนั้น

#หมวดไม่ประมาท 
          อปฺปมาทรตา โหถ 
    (อับ ปะ มา ทะ ระ ตา โห ถะ)
    ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท

    อปฺปมาทญฺจ เมธาวี ธนํ เสฏฺฐฺ รกฺขติ  
(อับ ปะ มา ทัน จะ เม ธา วี ธะ นัง เสด ทะ รัก ขะ ติ)  
    ปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์ประเสริฐสุด

          อุฏฺฐฺานวโต สติมโต สุจิกมฺมสฺส นิสมฺมการิโน สญฺญฺตสฺส จ ธมฺมชีวิโน อปฺปมตฺตสฺส ยโสภิวฑฺฒติ    
(อุด ทัด ถา นะ วะ โต สะ ติ มะ โต สุ จิ กำ มัด สะ นิ สำ มะ กา ริ โน สัน ยัน ตัด สะ จะ ธัม มะ วี วิ โน อับ ปะ มัด ตัด สะ ยะ โส ภิ วัด ทะ ติ)
    ยศย่อมเจริญแก่ผู้มีความหมั่น มีสติ มีการงานสะอาด ใคร่ครวญแล้วทำ ระวังดีแล้ว เป็นอยู่โดยธรรม และไม่ประมาท

          อปฺปมาทรตา โหถ สจิตฺตมนุรกฺขถ ทุคฺคา อุทฺธรถตฺตานํ ปงฺเก สนฺโนว กุญฺชโร     :     ท่านทั้งหลายจงยินดีในความไม่ประมาท จงตามรักษาจิตของตน จงถอนตนขึ้นจากหล่มคือกิเลสที่ถอนได้ยาก เหมือนช้างที่ตกหล่ม ถอนตนขึ้น ฉะนั้น

          อุฏฺฐาเนนปฺปมาเทน สญฺญเมน ทเมน จ ทีปํ กยิราถ เมธาวี ยํ โอโฆ นาภิกีรติ     :     ผู้มีปัญญา พึงสร้างเกาะที่น้ำหลากมาท่วมไม่ได้ ด้วยความหมั่น ความไม่ประมาท ความสำรวมระวัง และความข่มใจ

          อปฺปมตฺโต ปมตฺเตสฺ สุตฺเตสุ พหุชาคโร อพลสฺสํว สีฆสฺโส หิตฺวา ยาติ สุเมธโส     :     คนมีปัญญาดีไม่ประมาทในเมื่อผู้อื่นประมาท มักตื่นในเมื่อผู้อื่นหลับ ย่อมละทิ้งคนนั้น เหมือนม้าฝีเท้าเร็ว ทิ้งม้าไม่มีกำลังไป ฉะนั้น

#หมวดตน-การฝึกตน 

          อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย
 (อัด ตา หะ เว ชิ ตัง เสย โย)  
  ชนะตนนั่นแหละ เป็นดี

          ลพฺภา ปิยา โอจิตฺเตน ปจฺฉา 
 (ลับ ภา ปิ ยา โอ จิต เต นะ ปัด ฉา)  
    ตระเตรียมตนให้ดีเสียก่อนแล้ว ต่อไปจะได้สิ่งอันเป็นที่รัก

          ยทตฺตครหิ ตทกุพฺพมาโน  
(ยะ ทัด ตะ คะ ระ หิ ตะ ทะ กุบ พะ มา โน)  
  ติตนเองเพราะเหตุใด ไม่ควรทำเหตุนั้น

          สทตฺถปสุโต สิยา 
 (สะ ทัด ถะ ปะ สุ โต สิ ยา)  
  พึงขวนขวายในเป้าหมายของตน

          กลฺยาณํ วต โภ สกฺขิ อตฺตานํ อติมญฺญสิ  
(กัน ละ ยา นัง วะ ตะ โภ สัก ขิ อัด ตา นัง อะ ติ มัน ยะ สิ)  
    ท่านเอ๋ย ! ท่านก็สามารถทำดีได้ ไยจึงมาดูหมิ่นตัวเองเสีย

          สนาถา วิหรถ มา อนาถา 
(สะ นา ถา วิ หะ ระ ถะ มา อะ นา ถา)   
    จงอยู่อย่างมีหลักยึดเหนี่ยวใจ อย่าเป็นคนไร้ที่พึ่ง

          ปเร สํ หิ โส วชฺชานิ โอปุนาติ ยถาภุสํ อตฺตโน ปน ฉาเทติ กลึว กิตวา สโฐ
(ปะ เร สัง หิ โส วัด ชา นิ โอ ปุ นา ติ ยะ ถา พุ สัง อัต ตะ โน ปะ นะ ฉา เท ติ กะ ลิง วะ กิ ตะ วา สะ โถ)
        โทษคนอื่นเที่ยวกระจาย เหมือนโปรยแกลบ แต่โทษตนปิดไว้ เหมือนพรานนกเจ้าเล่ห์แฝงตัวบังกิ่งไม้

          อตฺตตฺถปัญฺญา อสุจี มนุสฺสา 
 (อัด ตัด ถะ ปัน ยา อะ สุ จี มะ นุด สา)  
      มนุษย์ผู้เห็นแก่ประโยชน์ตน เป็นคนไม่สะอาด 

          อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา ยถญฺญมนุสาสติ 
 (อัด ตา นัน เจ ตะ ถา กะ ยิ รา ยะ ถัน ยะ มะ นุ สา สะ ติ) 
    ถ้าพร่ำสอนผู้อื่นฉันใด ก็ควรทำตนฉันนั้น 

#หมวดมิตร
          มาตา มิตฺตํ สเก ฆเร
(มา ตา มิด ตัง สะ เก คะ เร)    
    มารดาเป็นมิตรในเรือนตน

          พฺรหฺมาติ มาตาปิตโร  
(พรม มา ติ มา ตา ปิ ตะ โร)  
    มารดาบิดา ท่านเรียกว่าเป็นพรหม

          มิตฺตทุพฺโก หิ ปาปโก 
(มิด ตะ ทุบ พะ โก หิ ปา ปะ โก)   
    ผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวแท้

          ภริยา ปรมา สขา  
 (พะ ริ ยา ปะ ระ มา สะ ขา) 
    ภริยาเป็นเพื่อนสนิท

          นตฺถ พาเล สหายตา
(นัด ถะ พา เล สะ หา ยะ ตา)    
    ความเป็นสหายไม่มีในคนพาล 

          สเจ ลเภถ นิปกํ สหายํ จเรยฺย เตนตฺตมโน สติมา โน เจ ลเภถ นิปกํ สหายํ เอโก จเร น จ ปาปานิ กยิรา   
(สะ เจ ละ เพ ถะ นิ ปะ กัง สะ หา ยัง จะ เรย ยะ เต นัด ตะ มะ โน สะ ติ มา โน เจ ละ เพ ถะ นิ ปะ กัง สะ หา ยัง เอ โก จะ เร นะ จะ ปา ปา นิ กะ ยิ รา)
      ถ้าได้สหายผู้รอบคอบ พึงพอใจมีสติเที่ยวไปกับเขา ถ้าไม่ได้สหายผู้รอบคอบ พึงเที่ยวไปคนเดียว และไม่พึงทำความชั่ว

#หมวดการคบหา
          ยํ เว เสวติ ตาทิโส  
 (ยัง เว เส วะ ติ ตา ทิ โส)
  คบคนเช่นใด ย่อมเป็นคนเช่นนั้น

          วิสฺสาสา ภยมนฺเวติ
 (วิด สา สา พะ ยะ มัน เว ติ)   
    เพราะความไว้ใจภัยจึงตามมา 

          อติจิรํ นิวาเสน ปิโย ภวติ อปฺปิโย  
 (อะ ติ จิ รัง นิ วา เส นะ ปิ โย ภะ วะ ติ อับ ปิ โย)
  เพราะอยู่ด้วยกันนานเกินไป คนที่รักกันก็มักหน่าย 

          ทุกฺโข พาเลหิ สํวาโส อมิเตเนว สพฺพทา
 (ทุก โข พา เล หิ สัง วา โส อะ มิ เต เน วะ สับ พะ ทา)   
    อยู่ร่วมกับคนพาลนำทุกข์มาให้เสมอไป เหมือนอยู่ร่วมกับศัตรู 

          ธีโร จ สุขสํวาโส ญาตีนํว สมาคโม
  (ธี โร จะ สุ ขะ สัง วา โส ยา ตี นัง วะ สะ มา คะ โม)  
    อยู่ร่วมกับปราชญ์นำสุขมาให้ เหมือนสมาคมกับญาติ 

          สงฺเกเถว อมิตฺตสฺมึ มิตฺตสฺมิมฺปิ น วิสฺสเส  
(สง เก เถ วะ อะ มิด ตัด สะ มิม ปิ นะ วิด สะ เส) 
    ควรระแวงในศัตรู แม้ในมิตรก็ไม่ควรไว้ใจ 

          ตครํ ว ปลาเสน โย นโร อุปนยฺหติ ปตฺตาปิ สุรภี วายนฺติ เอวํ ธีรูปเสวนา
(ตะ คะ รัง วะ ปะ ลา เส นะ โย นะ โร อุ ปะ นัย หะ ติ ปัด ตา ปิ สุ ระ ภี วา ยัน ติ เอ วัง ธี รู ปะ เส วะ นา)
          คนห่อกฤษณาด้วยใบไม้ แม้ใบไม้ก็หอมไปด้วยฉันใด การคบกับนักปราชญ์ก็ฉันนั้น 

          ปูติมจฺฉํ กุสคฺเคน โย นโร อุปนยฺหติ กุสาปิ ปูติ วายนฺติ เอวํ พาลูปเสวนา  
(ปู ติ มัด ฉัง กุ สัก เค นะ โย นะ โร อุ ปะ นัย หะ ติ กุ สา ปิ ปู ติ วา ยัน ติ เอ วัง พา ลู ปะ เส วะ นา)
       คนห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคา แม้หญ้าคาก็พลอยเหม็นเน่าไปด้วยฉันใด การคบคนพาลก็ฉันนั้น 

#หมวดการสร้างตัว
          อลาโภ ธมฺมิโก เสยฺโย ยญฺเจ ลาโภ อธมฺมิโก 
 (อะ ลา โภ  ทำ มิ โก เสย โย ยัน เจ ลา โภ อะ ทำ มิ โก)
    ถึงไม่ได้ แต่ชอบธรรม ยังดีกว่าได้โดยไม่ชอบธรรม

          ปฏิรูปการี ธุรวา อุฏฺฐาตา วินฺทเต ธนิ  
(ปะ ติ รู ปะ กา รี ทุ ระ วา อุด ถา ตา วิน ทะ เต ทะ นิ) 
    ขยัน เอาธุระ ทำเหมาะจังหวะ ย่อมหาทรัพย์ได้

          โภคา สนุนิจยํ ยนฺติ วมฺมิโกวูปจียติ  
(โภ คา สะ นุ นิ จะ ยัง ยัน ติ วำ มิ โก วู ปะ จี ยะ ติ) 
  ทรัพย์สินย่อมพอกพูนขึ้นได้ เหมือนดังก่อจอมปลวก

          อนากุลา จ กมฺมนฺตา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ  
(อะ นา กุ ลา จะ กำ มัน ตา เอ ตำ มัง คะ ละ มุด ตะ มัง)  
    การงานไม่คั่งค้างสับสน เป็นมงคลอย่างสูงสุด

          น หิ จินฺตามยา โภคา อิตฺถิยา ปุริสสฺส วา  
(นะ หิ จิน ตา มะ ยา โพ คา อิด ถิ ยา ปุ ริ สัด สะ วา)  
  โภคะของใคร ไม่ว่าสตรีหรือบุรุษ ที่จะสำเร็จเพียงด้วยคิดเอา ย่อมไม่มี

        สกมฺมุนา โหติ ผลูปปตฺติ  
(สะ กำ มุ นา โห ติ ผะ ลู ปะ ปัด ติ)  
  ความอุบัติแห่งผล ย่อมมีได้ด้วยการกระทำของตน

        ยหึ ชีเว ตหึ คจฺเฉ น นิเกตหโต สิยา
    (ยะ หิง ชี เว ตะ หิง คัด เฉ นะ นิ เก ตะ หะ โต สิ ยา)
  ชีวิตจะอยู่ได้ที่ไหน พึงไปที่นั้น ไม่พึงให้ที่อยู่ฆ่าตนเสีย

หมวดการปกครอง
        สพฺพํ รฏฺฐํ สุขํ เสติ ราชา เจ โหติ ธมฺมิโก 
(สับ พัง รัด ถัง สุ ขัง เส ติ รา ชา เจ โห ติ ธัม มิ โก)    
  ถ้าผู้ปกครองทรงธรรม ประเทศชาติก็เป็นสุข

        สพฺพํ ปรวสํ ทุกฺขํ  
(สับ พัง ปะ ระ วะ สัง ทุก ขัง) 
  การอยู่ในอำนาจของผู้อื่น เป็นทุกข์ทั้งสิ้น

        สงฺเกยฺย สงฺกิตพฺพานิ    
(สัง เกย ยะ สัง กิ ตับ พา นิ)
    พึงระแวง สิ่งที่ควรระแวง

        ปคฺคณฺเห ปคฺคหารหํ  
(ปัก คัน เห ปัก คะ หา ระ หัง)
    พึงยกย่องคนที่ควรยกย่อง

        ปมาทา ชายเต ขโย  
(ปะ มา ทา ชา ยะ เต ขะ โย)
      เมื่อมีความประมาท ก็เกิดความเสื่อม

        ขยา ปโทสา ชายนฺติ   
(ขะ ยา ปะ โท สา ชา ยัน ติ)
      เมื่อมีความเสื่อม ก็เกิดโทษประดัง

        สกฺกาโร กาปุริสํ หนฺติ  
(สัก กา โร กา ปุ ริ สัง หัน ติ)
       สักการะฆ่าคนชั่วได้

        รกฺเขยฺยานาคตํ ภยํ    
(รัก เขย ยา นา คะ ตัง ภะ ยัง)
    พึงป้องกันภัยที่ยังมาไม่ถึง

หมวดสามัคคี
        สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี  
(สุ ขา สัง คัด สะ สา มัก คี)
     สามัคคีของหมู่ทำให้เกิดสุข

        สูกเรหิ สมคฺเคหิ พฺยคฺโฆ เอกายเน หโต     :     สุกรทั้งหลายพร้อมเพรียงกันยังฆ่าเสือโคร่งได้ เพราะใจรวมเป็นอันเดียว

        สาม คฺยเมว สิกฺเขถ พุทฺเธเหตํ ปสํสิตํ สามคฺยรโต ธมฺมฏฺโฐ โยคกฺเขมา น ธํสตํ     :     พึงศึกษาความสามัคคี, ความสามัคคีนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลาย 

        เอโส หิ อุตฺตริตโร ภาราวโห ธุรนฺธโร โย ปเรสาธิปนฺนานํ สยํ สนฺธาตุมรหติ     :     ผู้ใดเมื่อคนอื่นล่วงเกินกันอยู่ ตนเองกลับหาทางเชื่อมเขาให้คืนดีกันได้ ผู้นั้นแล ชื่อว่าเป็นคนเอาภาระ เป็นผู้จัดธุระที่ดียอดเยี่ยม

        สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี สมคฺคานญฺจนุคฺคโห สมคฺครโต ธมฺมฏฺโฐ โยคกฺเขมา น ธํสติ     :     ความพร้อมเพรียงของหมู่เป็นสุข และการสนับสนุนคนผู้พร้อมเพรียงกันเป็นสุข, ผู้ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน ตั้งอยู่ในธรรมย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ

หมวดพบสุข

        น หึสนฺติ อกิญฺจนํ     :     ไม่มีอะไรเลย ไม่มีใครเบียดเบียน

        สุขิโน วตารหนฺโต     :     ท่านผู้ไกลกิเลส มีความสุขจริงหนอ

        สกิญฺจนํ ปสฺส วิหญฺญมานํ     :     คนมีห่วงกังวล ย่อมวุ่นวายอยู่

        ยาวเทวสฺสหู กิญฺจิ ตาวเทว อขาทิสํ     :     ตราบใดยังมีชิ้นเนื้อคาบไว้นิดหน่อย ตราบนั้นก็ยังถูกกลุ้มรุมยื้อแย่ง

        ลาโภ อลาโภ ยโส อยโส จ นินฺทา ปสํสา จ สุขํ จ ทุกฺขํ เอเต อนิจฺจา มนุเชสุ ธมฺมา มา โสจิ กึ โสจสิ โปฏฺฐปาท     :     ได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และทุกข์ สิ่งเหล่านี้เป็นธรรมดาในหมู่มนุษย์ ไม่มีความเที่ยงแท้แน่นอน อย่าเศร้าโศกเลย ท่านจะโศกเศร้าไปทำไม

        นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ     :     ความสุข (อื่น) ยิ่งกว่าความสงบไม่มี 

หมวดทาน

        อคฺคสฺส ทาตา ลภเต ปุนคฺคํ     :     ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ย่อมได้สิ่งที่เลิศอีก

        ธีโร จ ทานํ อนุโมทมาโน     :     คนฉลาด พลอยยินดีการให้ทาน

        นิวตฺตยนฺติ โสกมฺหา     :     คนใจการุณ ช่วยแก้ไขคนให้หายโศกเศร้า

        เสฏฐนฺทโท เสฏฐมุเปติ ฐานํ     :     ผู้ให้สิ่งประเสริฐ ย่อมถึงฐานะที่ประเสริฐ 

        ปุพฺเพ ทานาทิกํ ทตฺวา อิทานิ ลภตี สุขํ มูเลว สิญฺจิตํ โหติ อคฺเค จ ผลทายกํ     :     ให้ทานเป็นต้นก่อน จึงได้สุขบัดนี้ เหมือนรดน้ำที่โคนให้ผลที่ปลาย 

        ยถา วาริวหา ปูรา ปริปูเรนฺติ สาคร เอวเมว อิโต ทินฺนํ เปตานํ อุปกปฺปติ     :     ห้วงน้ำที่เต็ม ย่อมยังสาครให้เต็มได้ฉันใด ทานที่ให้แต่โลกนี้ ย่อมสำเร็จแก่ผู้ละไปแล้วฉันนั้น 

        โส จ สพฺพทโท โหติ โย ททาติ อุปสฺสยํ อมตนฺทโท จ โส โหติ ธมฺมมนุสาสติ     :     ผู้ใดให้ที่พักอาศัย ผู้นั้นชื่อว่าให้สิ่งทั้งปวง ผู้ใดสอนธรรม ผู้นั้นชื่อว่าให้อมตะ 

        อนฺนโท พลโท โหติ วตฺถโท โหติ วณฺณโท ยานโท สุขโท โหติ ทีปโท โหติ จกฺขุโท     :     ผู้ให้ข้าวชื่อว่าให้กำลัง ผู้ให้ผ้าชื่อว่าให้ผิวพรรณ ผู้ให้ยานพาหนะชื่อว่าให้ความสุข ผู้ให้ประทีปโคมไฟชื่อว่าให้จักษุ 

        มนาปทายี ลภเต มนาปํ อคฺคสฺส ทาตา ลภเต ปุนคฺคํ วรสฺส ทาตา วรลาภี จ โหติ เสฏฺฐนฺทโท เสฏฺฐมุเปติ ฐานํ     :     ผู้ให้ของชอบใจ ย่อมได้ของชอบใจ ผู้ให้ของเลิศ ย่อมได้ของเลิศ ผู้ให้ของดี ย่อมได้ของดี ผู้ให้ของประเสริฐ ย่อมถึงฐานะอันประเสริฐ

หมวดศีล

        สีลํ โลเก อนุตฺตรํ     :     ศีล เป็นเยี่ยมในโลก

        โย จ วสฺสสตํ ชีเว ทุสฺสีโล อสมาหิโต เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย สีลวนฺตสฺส ฌายิโน     :     ผู้ไม่มีศีล ไม่มั่นคง ถึงจะเป็นอยู่ตั้งร้อยปี, ส่วนผู้มีศีล เพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่วันเดียวประเสริฐกว่า

        น เวทา สมฺปรายาย น ชาติ นปิ พนฺธวา สกญฺจ สีลสํสุทฺธํ สมฺปรายสุขาวหํ     :     เวทมนตร์ ชาติกำเนิด พวกพ้อง นำสุขมาให้ในสัมปรายภพไม่ได้ ส่วนศีลของตนที่บริสุทธิ์ดีแล้ว จึงนำสุขมาให้ในสัมปรายภพได้

        อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย     :     ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์ 

        สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ     :     ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์ 

        สี ลํ เสตุ มเหสกฺโข สีลํ คนฺโธ อนุตฺตโร สีลํ วิเลปนํ เสฏฺฐํ เยน วาติ ทิโส ทิสํ     :     ศีลเป็นสะพานอันสำคัญ ศีลเป็นกลิ่นที่ไม่มีกลิ่นอื่นยิ่งกว่า ศีลเป็นเครื่องลูบไล้อันประเสริฐสุด เพราะศีล (มีกลิ่น) ขจรไปทั่วทุกทิศ 

หมวดจิต

        จิตฺเตน นียติ โลโก     :     โลกถูกจิตนำไป

        จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ     :     จิตที่ฝึกแล้วนำสุขมาให้ 

        วิหญฺญตี จิตฺตวสานุวตฺตี     :     ผู้ประพฤติตามอำนาจจิตย่อมลำบาก 

        เตลปตฺตํ ยถา ปริหเรยฺย เอวํ สจิตฺตมนุรกฺเข     :     พึงรักษาจิตของตน เหมือนคนประคองบาตรที่เต็มด้วยน้ำมัน 

        ยโต ยโต จ ปาปกํ ตโต ตโต มโน นิวารเย     :     ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้น ๆ 

        อานาปานสฺสติ ยสฺส อปริปุณฺณา อภาวิตา กาโยปิ อิญฺชิโต โหติ จิตฺตมฺปิ โหติ อิญฺชิตํ     :     สติกำหนดลมหายใจเข้า-ออก อันผู้ใดไม่อบรมให้บริบูรณ์ ทั้งกายทั้งจิตของผู้นั้นก็หวั่นไหว 

        เสโล ยถา เอกฆโน วาเตน น สมีรติ เอวํ นินฺทาปสํสาสุ น สมิญฺชนฺติ ปณฺฑิตา     :     ภูเขาหินแท่งทึบ ไม่สั่นสะเทือนเพราะลมฉันใด บัณฑิตย่อมไม่หวั่นไหวในนินทาและสรรเสริญฉันนั้น 

หมวดกรรม

        สาธุ ปาเปน ทุกฺกรํ     :     ความดี อันคนชั่วทำยาก 

        ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ     :     ทำกรรมใดแล้วไม่ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำนั้นแลเป็นดี 

        ยา ทิสํ วปเต พีชํ ตาทิสํ ลภเต ผลํ กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ     :     บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว 

        นิสมฺม กรณํ เสยฺโย     :     ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำดีกว่า 

        รกฺเขยฺย อตฺตโน สาธุ ลวณํ โลณตํ ยถา     :     พึงรักษาความดีของตนไว้ ดังเกลือรักษาความเค็ม 

        โย ปุพฺเพ กตกลฺยาโณ กตตฺโถ นาวพุชฺฌติ ปจฺฉา กิจฺเจ สมุปฺปนฺเน กตฺตารํ นาธิคจฺฉติ     :     ผู้อื่นทำความดีให้ ทำประโยชน์ให้ก่อน แต่ไม่นึกถึง (บุญคุณ) เมื่อมีกิจเกิดขึ้นภายหลัง จะหาผู้ช่วยทำไม่ได้

หมวดความตาย

        สพฺพํ เภทปริยนฺติ เอวํ มจฺจาน ชีวิตํ     :     ชีวิตของสัตว์เหมือนภาชนะดิน ซึ่งล้วนมีความสลายเป็นที่สุด 

        น มิยฺยมานํ ธนมนฺเวติ กิญฺจิ     :     ทรัพย์สักนิดก็ติดตามคนตายไปไม่ได้ 

        อฑฺฒา เจว ทฬิทฺทา จ สพฺเพ มจฺจุ ปรายนา     :     ทั้งคนมีคนจน ล้วนมีแต่ความตายเป็นเบื้องหน้า 

        ยถา วาริวโห ปูโร วเห รุกฺเข ปกูลเช เอวํ ชราย มรเณน วุยฺ หนฺเต สพฺพปาณิโน     :     ห้วงน้ำที่เต็มฝั่ง พึงพัดต้นไม้ซึ่งเกิดที่ตลิ่งไปฉันใด สัตว์มีชีวิตทั้งปวง ย่อมถูกความแก่และความตายพัดไปฉันนั้น 

        อจฺเจนติ กาลา ตรยนฺติ รตฺติโย วโยคุณา อนุปุพฺพํ ชหนฺติ เอตํ ภยํ มรเณ เปกฺขมาโน ปุญฺญานิ กยิราถ สุขาวหานิ     :     กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป ผู้เล็งเห็นภัยในมรณะนั้น พึงทำบุญอันนำความสุขมาให้

หมวดบุญ
        ปญฺญํ สุขํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ  
(ปุน ยัง สุ ขัง ชี วิ ตะ สัง ขะ ยำ หิ)
       บุญนำสุขมาให้ในเวลาสิ้นชีวิต 

        ปุญฺญานิ ปรโลกสฺมึ ปติฏฺฐา โหนฺติ ปาณินํ    
(ปุน ยา นิ ปะ ระ โล กัส หมิง ปะ ติด ถา โหน ติ ปา นิ นัง)
      บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ในโลกหน้า 

        มาวมญฺเญถ ปุญฺญสฺส น มตฺตํ อาคมิสฺสติ อุทพินฺทุนิปาเตน อุทกุมฺโภปิ ปูรติ อาปูรติ ธีโร บุญฺญสฺส โถกํ โถกํปิ อาจินํ     :     ไม่ควรดูหมิ่นต่อบุญว่ามีประมาณน้อยจักไม่มีมาถึง แม้หม้อน้ำย่อมเต็มได้ด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมาฉันใด ผู้มีปัญญาสั่งสมบุญแม้ทีละน้อย ๆ ย่อมเต็มได้ด้วยบุญฉันนั้น 

        สหาโย อตฺถชาตสฺส โหติ มิตฺตํ ปุนปฺปุนํ สยํ กตานิ ปุญฺญานิ ตํ มิตฺตํ สมฺปรายิกํ     :     สหายเป็นมิตรของคนผู้มีความต้องการเกิดขึ้นบ่อย ๆ บุญทั้งหลายที่ตนทำเองนั้น จะเป็นมิตรในสัมปรายภพ

หมวดกิเลส

        สงฺกปฺปราโค ปุริสสฺส กาโม     :     ความกำหนัดเพราะดำริ เป็นกามของคน

        น สนฺติ กามา มนุเชสุ นิจฺจา     :     กามทั้งหลายที่เที่ยง ไม่มีในหมู่มนุษย์

        กุหา ถทฺธา ลปา สิงฺคี อุนฺนฬา จาสมาหิตา น เต ธมฺเม วิรูหนฺติ สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิเต     :     ผู้คนหลอกลวง เย่อหยิ่ง เพ้อเจ้อ ขี้โอ่ อวดดี และไม่ตั้งมั่น ย่อมไม่งอกงามในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว 

        นิทฺทํ น พหุลีกเรยฺย ชาคริยํ ภเชยฺย อาดาปี ตนฺทึ มายํ หสฺสํ ขิฑฺฑํ เมถุนํ วิปฺปชเห สวิภูสํ     :     ผู้มีความเพียรไม่พึงนอนมาก พึงเสพธรรมเครื่องตื่น พึงละความเกียจคร้าน มายา ความร่าเริง การเล่น และเมถุน พร้อมทั้งเครื่องประดับเสีย 

        อิ จฺฉาย พชฺฌตี โลโก อิจฺฉาวินยายุ มุจฺจต อิจฺฉาย วิปฺปหาเนน สพฺพํ ฉินฺทติ พนฺธนํ     :     โลกถูกความอยากผูกพันไว้ จะหลุดได้เพราะกำจัดความอยาก เพราะละความอยากเสียได้ จึงชื่อว่าตัดเครื่องผูกทั้งปวงได้ 

        อุเปกฺขโก สทา สโต น โลเก มญฺญตี สมํ น วิเสสี น นีเจยฺโย ตสฺส โน สนฺติ อุสฺสทา     :     ผู้วางเฉยมีสติทุกเมื่อ ไม่สำคัญตนว่าเสมอเขา ดีกว่าเขา หรือต่ำกว่าเขาในโลก ผู้นั้นชื่อว่าไม่มีกิเลสเฟื่องฟูขึ้น 

        ปุราณํ นาภินนฺเทยฺย นเว ขนฺติมกุพฺพเย หิยฺยมาเน น โสเจยฺย อากาสํ น สิโต สิยา     :     ไม่พึงเพลิดเพลินของเก่า ไม่พึงทำความพอใจในของใหม่ เมื่อสิ่งนั้นเสื่อมไป ก็ไม่พึงเศร้าโศก ไม่พึงอาศัยตัณหา

        มูฬฺโห อตฺถํ น ชานาติ มูฬฺโห ธมฺมํ ปสฺสต อนฺธตมํ ตทา โหติ ยํ โมโห สหเต นรํ     :     ผู้หลงย่อมไม่รู้อรรถ ผู้หลงย่อมไม่เห็นธรรม ความหลงครอบงำคนใดเมื่อใด ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น 

        ยสฺส นตฺถิ อิทํ เมติ ปเรสํ วาปิ กญฺจนํ มมตฺตํ โส อสํวินฺทํ นตฺถิ เมติ น โสจติ     :     ผู้ใดไม่กังวลว่า นี่ของเรา นี่ของผู้อื่น ผู้นั้น เมื่อไม่ถือว่าเป็นของเรา จึงไม่เศร้าโศกว่าของเราไม่มี ดังนี้ 

หมวดบาป

        มลา เว ปาปกา ธมฺมา อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ     :     บาปธรรมเป็นมลทินแท้ ทั้งโลกนี้และโลกหน้า

        อิธ โสจติ เปจฺจ โสจติ ปาปการี อุภยตฺถ โสจติ โส โสจติ โส วิหญฺญติ ทิสฺวา กมฺมกิลิฏฺฐมตฺตโน     :     ผู้ทำบาป ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ ละไปแล้วก็เศร้าโศก ชื่อว่าเศร้าโศกในโลกทั้งสอง เขาเห็นกรรมอันเศร้าหมองของตน จึงเศร้าโศกและเดือดร้อน 

        ปาณิ มฺหิ เจ วโณ นาสฺส หเรยฺย ปาณินา วิสํ นาพฺพณํ วิสมนฺเวติ นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต     :     ถ้าฝ่ามือไม่มีแผล ก็พึงนำยาพิษไปด้วยฝ่ามือได้ ยาพิษซึมเข้าฝ่ามือไม่มีแผลไม่ได้ฉันใด บาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำฉันนั้น 

        วาณิโชว ภยํ มคฺคํ อปฺปสตฺโถ มหทฺธโน วิสํ ชีวิตุกาโมว ปาปานิ ปริวชฺชเย     :     ควรงดเว้นบาปเสีย เหมือนพ่อค้ามีพวกน้อยมีทรัพย์มาก เว้นหนทางที่มีภัย และเหมือนผู้รักชีวิตเว้นยาพิษเสียฉะนั้น 

หมวดทุกข์
        สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา  
(สัง ขา รา ปะ ระ มา ทุก ขา)
     สังขาร เป็นทุกข์อย่างยิ่ง 

        ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา 
   (ทุ รา วา สา คะ รา ทุก ขา)
    เหย้าเรือนที่ปกครองไม่ดี นำทุกข์มาให้

        ทฬิทฺทิยํ ทุกฺขํ โลเก  
   (ทะ ลิด ทิ ยัง ทุก ขัง โล เก)
      ความจน เป็นทุกข์ในโลก 

        อิณาทานํ ทุกฺขํ โลเก  
   (อิ นา ทา นัง ทุก ขัง โล เก)
      การเป็นหนี้ เป็นทุกข์ในโลก 

        ทุกฺขํ อนาโถ วิหรติ  
(ทุก ขัง อะ นา โถ วิ หะ ระ ติ)
       คนไม่มีที่พึ่ง อยู่เป็นทุกข์ 

        ทุกฺขํ เสติ ปราชิโต  
(ทุก ขัง เส ติ ปะ รา ชิ โต)
       ผู้แพ้ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ 

        อกิญฺจนํ นานุปตนฺติ ทุกฺขา  
(อะ กิน จะ นัง นา นุ ปะ ตัน ติ ทุก ขา)
      ทุกข์ ย่อมไม่ตกถึงผู้หมดกังวล 

        ปิยานํ อทสฺสนํ ทุกฺขํ  
(ปิ ยา นัง อะ ทัด สะ นัง ทุก ขัง)
      การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก เป็นทุกข์ 

หมวดเบ็ดเตล็ด  
        อวนฏฺฐิตจิตฺตสฺส ลหุจิตฺตสฺส ทุพฺภิโน นิจฺจํ อทฺธุวสีลสฺส สุขภาโว น วิชฺชติ
(อะ วะ นัด ทิ ตะ จิต ตัด สะ ละ หุ จิต ตัด สะ ทุบ ภิ โน นิด จัง อัด ธุ วะ สี ลัด สะ สุ ขะ ภา โว นะ วิด ชะ ติ)     :     เมื่อมีจิตใจไม่หนักแน่น เป็นคนใจเบา มักประทุษร้ายมิตร มีความประพฤติกลับกลอกเป็นนิตย์ ย่อมไม่มีความสุข

        อิตฺถีธุตฺโต สุราธุตฺโต อกฺขธุตฺโต จ โย นโร ลทฺธํ ลทฺธํ วินาเสติ ตํ ปราภวโต มุขํ  
(อิด ถี ทุด โต สุ รา ทุด โต อัก ขะ ทุด โต จะ โย นะ โร ลัด ธัง วิ นา เส ติ ตัง ปะ รา ภะ วะ โต มุ ขัง)
     คนใดเป็นนักเลงหญิง นักเลงสุรา และนักเลงการพนัน ย่อมล้างผลาญทรัพย์ที่ตนได้แล้ว ๆ, ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งผู้ฉิบหาย

        อุป นียติ ชีวิตมปฺปมายุ ํ ชรูปนีตสฺส น สนฺติ ตาณา เอตํ ภยํ มรเณ เปกฺขามาโน โลกามิสํ ปชเห สนฺติเปกฺโข  
(อุ ปะ นี ยะ ติ ชี วิ ตะ มับ ปะ มา ยุง ชะ รู ปะ นี ตัด สะ นะ สัน ติ ตา นา เอ ตัง พะ ยัง มะ ระ เน เปก ขา มา โน โล กา มิ สัง ปะ ชะ เห สัน ติ เปก โข)
       ชีวิตคืออายุอันน้อยนี้ ถูกชรานำเข้าไป เมื่อสัตว์ถูกชรานำเข้าไปแล้ว ย่อมไม่มีเครื่องต้านทาน ผู้เล็งเห็นภัยในมรณะนั้น มุ่งความสงบ พึงละโลกามิสเสีย

        น ปเรสํ วิโลมานิ น ปเรสํ กตากตํ อตฺตโน ว อเวกฺเขยฺย กตานิ อกตานิ จ 
(นะ ปะ เร สัง วิ โล มา นิ นะ ปะ เร สัง กะ ตา กะ ตัง อัด ตะ โน วะ อะ เวก เขย ยะ กะ ตา นิ จะ)
        ไม่ควรฟังคำก้าวร้าวของคนอื่น, ไม่ควรมองดูการงานของคนอื่นที่เขาทำแล้วและยังไม่ได้ทำ, ควรพิจารณาดูแต่การงานของตนที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำเท่านั้น

        ยถา ปิ มูเล อนุปทฺทเว ทฬฺเห ฉินฺโนปิ รุกฺโข ปุนเรว รูหติ เอวฺมปิ ตณฺหานุสเย อนูหเต นิพฺพตฺตติ ทุกฺขมิทํ ปุนปฺปุนํ
(ยะ ถา ปิ มู เล อะ นุ ปัด ทะ เว ทัน เห ฉิน โน ปิ รุก โข ปุ นะ เร วะ รู หะ ติ เอว มะ ปิ ตัน หา นุ สะ เย อะ นู หะ เต นิบ พัด ตะ ติ ทุก ขะ มิ ทัง ปุ นับ ปุ นัง)   
  เมื่อรากยังมั่นคงไม่มีอันตราย ต้นไม้แม้ถูกตัด แล้วย่อมงอกได้อีกฉันใด เมื่อตัณหานุสัยยังไม่ถูกกำจัดแล้ว ทุกข์นี้ย่อมเกิดร่ำไปฉันนั้น

       หิริโอตฺตปฺปญฺเญว โลกํ ปาเลติ สาธุกํ    (หิ หริ โอด ตับ ปัน เย วะ โล กัง ปา เล ติ สา ธุ กัง)
    หิริและโอตตัปปะ ย่อมรักษาโลกไว้เป็นอันดี 

        โลโกปตฺถมฺภิกา เมตฺตา  
(โล โก ปัด ถำ พิ กา เมต ตา)
     เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก 

        อรติ โลกนาสิกา  
(อะ ระ ติ โล กะ นา สิ กา)
     ความริษยาเป็นเหตุทำโลกให้ฉิบหาย 

        อโรคฺยปรมา ลาภา  
(อะ โรค ยะ ปะ ระ มา ลา พา)  
  ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง 

        กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพาเนว สหตฺตนา    
(กา โล คะ สะ ติ พู ตา นิ สับ พา เน วะ สะ หัด ตะ นา)
      กาลเวลา ย่อมกินสรรพสัตว์พร้อมทั้งตัวมันเอง 

        สพฺพญฺจ ปฐวึ ทชฺชา นากตญฺญุมภิราธเย   
(สับ พัน จะ ปะ วิง ทัด ชา นา กะ ตัน ยุ มะ พิ รา ทะ เย)
    ถึงให้แผ่นดินทั้งหมด ก็ยังคนอกตัญญูให้จงรักไม่ได้ 

        หนนฺติ โภคา ทุมฺเมธํ  
(หะ นัน ติ โพ คา ทุม เม ธัง)
    โภคทรัพย์ ย่อมฆ่าคนมีปัญญาทราม 

        สกฺกาโร กาปุริสํ หนฺติ 
 (สัก กา โร กา ปุ ริ สัง หัน ติ)
     สักการะ ย่อมฆ่าคนชั่วเสีย 

        นตฺถิ โลเก รโห นาม ปาปกมฺมํ ปกุพฺพโต  
(นัด ถิ โล เก ระ โห นา มะ ปา ปะ กำ มัง ปะ กุบ พะ โต) 
    ชื่อว่าที่ลับของผู้ทำบาปกรรม ไม่มีในโลก 

ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.