วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2564

ที่มาของชื่อเชตุพน

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.
#ไกด์รักษ์ไทย
#JourneyIsLife #ชีวิตคือการเดินทาง
#วัดโพธิ์
วันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม 2560
     คำว่า "#เชตุพน" นั้นเป็นนามเก่าแก่ มาจากชื่อ #เจ้าเชตุ ( อ่านว่า เจ้า-เชด)  ราชกุมารองค์หนึ่ง ที่ร่วมถวายที่ดิน(ทางเข้าวัด)เป็นพุทธบูชา
    เรื่องเริ่มเมื่อ #อนาถบิณฑิกเศรษฐี ต้องการจะสร้างพระอารามถวายพระพุทธเจ้า พบว่าสวนเจ้าเชตุมีทำเลดี สงบร่มรื่น แต่เจ้าเชตุไม่ขายที่ดินให้ เล่นแง่ตั้งราคาว่าให้เอาทรัพย์สินเงินทองมาปูให้เต็มสิ จึงจะขายให้ อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้แสดงศักยภาพทางการเงิน ได้ปูทองคำเต็มพื้นที่ที่จะซื้อ (บ้างก็ว่าปูด้วยเหรียญเงิน ) แต่เงินทองมาหมดเกลี้ยงตรงทางเข้าสวนของเชตุพอดี
เจ้าเชตุเห็นความตั้งใจของอนาถบิณฑิกเศรษฐี
ก็ใจอ่อน เกิดศรัทธาขอร่วมถวายที่ดินตรงทางเข้าวัดให้ และขอให้ตั้งชื่อวัดเป็นชื่อตัวเองด้วย (รวมเงินค่าที่ดินและจัดงานเฉลิมฉลองอารามเป็นเงินกว่า 54 โกฏิ (1 โกฏิ = 10 ล้าน) (540,000,000)
.....................................................
     กว่าจะเป็นวัดโพธิ์
ภายหลัง #สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ 8 ปี
รัชกาลที่1 ทรงมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯให้ #ปฏิสังขรณ์ วัดโพธิ์ให้งดงามบริบูรณ์กว่าเก่า การปฏิสังขรณ์ใช้เวลา 7 ปี 5 เดือน 28 วัน ระหว่างปี พ.ศ.2336 -2344 เหตุที่ใช้เวลานานเช่นนี้เพราะการปฏิสังขรณ์ครั้งนั้น มิใช่เพียงการบูรณะซ่อมแซมเสนาสนะ และถาวรวัตถุที่มีอยู่เดิมเท่านั้น แต่เป็นการขยายอาณาเขตวัดเพื่อปลูกสร้างอาคารขึ้นใหม่เกือบทั้งหมด ซึ่งภายหลังการปฏิสังขรณ์ ได้โปรดเกล้าฯให้มีการฉลองพระอารามอย่างยิ่งใหญ่เป็นเวลา 7 วัน 7 คืน
#AdamGuideLine
.....................................................
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆 
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.....................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.
.....................................................

1 ความคิดเห็น:

  1. ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always beloved.

    ตอบลบ