วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2563

คาถาป้องกันภัยพิบัติ

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
คาถาป้องกันภัยพิบัติ

พระอาจารย์กล่าวว่า "ในการพุทธาภิเษกช่วงเช้าที่ผ่านมา 
กับการเป่ายันต์เกราะเพชรรอบเช้าตอนสิบโมง อาตมาเอง
ก็ยังหนักใจอยู่ว่า พระท่านบอกว่าภัยธรรมชาติที่หนักๆ นั้น
จะเริ่มเข้ามาในประเทศไทยของเรา โดยเฉพาะปีนี้เรื่องน้ำ
จะมาหนัก ส่วนที่จะโดนมากก็จะเป็นปักษ์ใต้

งานพุทธาภิเษกพระขุนแผนเกราะเพชรและเหรียญพุทธบารมี
งวดนี้ ปกติในการพุทธาภิเษกแต่ละครั้งก็จะมีคาถาเฉพาะ
ที่ท่านให้ภาวนา อาตมาศึกษาคาถาการทำขุนแผนมาจาก
สายหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว ปรากฏว่าพอเริ่มภาวนาท่านบอกว่า
ไม่ต้อง ให้ภาวนาพระคาถาบารมี ๓๐ ทัศ ต่อด้วยนะโมพุทธายะ 
อธิษฐานภาพพระครอบตัวเราไว้ทุกวัน หรือว่าครอบบ้านของเรา
เอาไว้ทุกวัน ครอบคนที่เรารักเอาไว้ทุกวัน เพื่อป้องกันอันตราย
ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะอันตรายจากภัยธรรมชาติ เช่น 
น้ำท่วม เป็นต้น ดังนั้น ใครที่ใช้วัตถุมงคลทางสายวัดท่าซุง 
หรือสายวัดท่าขนุนนี้ก็ตาม ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ให้ภาวนา
พระคาถาบารมี ๓๐ ทัศ ต่อด้วยนะโมพุทธายะให้เป็นปกติ

เรื่องของกองกรรมฐานต่างๆ เราทำตามปกติของเรา พออารมณ์
ใจทรงตัวแล้วก็มาจับภาวนาคาถาทั้งสองบทนี้ต่อเนื่องกันไป 
เพื่อที่จะได้บรรเทากรรมใหญ่ของประเทศชาติและตัวเอง สิ่งที่
โดนหนักก็จะได้เป็นเบา สิ่งที่เบาจะได้เป็นหาย โดยเฉพาะบ้านเรา
เมืองเราซึ่งอยู่ได้ด้วยบารมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปัจจุบัน
พระองค์ท่านก็ทรงพระประชวร รักษาพระองค์อยู่ในโรงพยาบาล
มาโดยตลอด แล้วพระองค์ท่านก็อายุกาลผ่านวัยถึง ๘๙ พรรษา
แล้ว ซึ่งถ้าหากว่า ว่ากันตามแบบของโบราณหรือพูดกันแบบ
คนทั่วไปก็คือไม่รู้จะตายวันตายพรุ่งเมื่อไร

ปัจจุบันนี้หลายสิ่งหลายอย่างที่ดีอยู่คงอยู่ เป็นไปด้วยบารมี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา ถ้าหากว่าสิ้นพระองค์ท่าน
เมื่อไร เขาไม่มีอะไรต้องเกรงใจ สิ่งที่เคยโดนกดเอาไว้อย่างเช่น
ภัยธรรมชาติต่างๆ ก็ดี ภัยสงครามก็ตาม อาจจะประดังหนักมาก
ทีเดียว จึงเป็นเรื่องที่น่าหนักใจมาก อาตมาเองก็กล่าวเตือนญาติ
โยมได้แค่นี้ ไม่สามารถจะบอกอะไรชัดเจนไปกว่านี้ได้ จึงเป็นเรื่อง
ที่ญาติโยมจะต้องรักษาตัวเอง ด้วยการภาวนารักษากำลังใจของเรา
ให้ดี เพื่อได้ผ่อนกรรมของตัวเราและคนในครอบครัวของเราให้
เบาลง เพราะว่าเรื่องของกรรมนั้นเราไม่สามารถที่จะสะเดาะเคราะห์
แก้ไขได้ 

แต่ว่ากรรมนั้นเหมือนอย่างกับน้ำเค็ม ถ้าหากว่ามีน้ำเค็มอยู่แก้วหนึ่ง 
เราไม่สามารถจะดื่มได้เพราะน้ำนั้นเค็มมาก แต่ถ้าเราสร้างความดี
เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เคราะห์กรรมนั้นก็เหมือนกับถูกเติมด้วยน้ำจืดไปเรื่อย 
ท้ายสุดเมื่อเติมน้ำจืดมากๆ เข้า น้ำเค็มไม่ได้ไปไหนแต่รสชาติไม่มี 
ดังนั้น ในเรื่องของการแก้ไขกรรมจึงจำเป็นต้องปฏิบัติในทาน ศีล 
ภาวนาให้เข้มข้น โดยเฉพาะตัวภาวนาที่เป็นบุญใหญ่สุดใน
พระพุทธศาสนาของเรา จะได้ผ่อนคลายบรรเทากรรมของ
ประเทศชาติและตัวเรา ตลอดจนครอบครัวให้เบาลง

ถามว่าทำไมถึงต้องเป็นกรรมของคนส่วนรวมทั้งประเทศ ก็เพราะ
ว่าในอดีตชาติ หลายๆ ชาติ ในสมัยที่ยังนิยมการเผยแผ่พระราช
อำนาจด้วยการทำศึก ทำสงครามกับประเทศอื่น พวกเราก็เคยไป
ปล้นบ้านตีเมืองคนอื่นเขามา เมื่อถึงเวลากรรมส่วนนี้มาทัน ทรัพย์สินตลอดชีวิตของเราก็จะโดนทำลายด้วยภัยธรรมชาติพร้อมๆ กัน เนื่องจากรวมหัวไปทำเป็นจำนวนมากก็โดนด้วยกันพร้อมกันเป็นจำนวน
มาก ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม ไฟไหม้ แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด เป็นต้น

เพียงแต่ว่าถ้าผู้ใดมีความมั่นคงอยู่ในพระพุทธศาสนา มีการภาวนา
ไว้เป็นปกติ ก็ต้องเอาคำพูดของครูบาอาจารย์ที่อาตมาเคารพรักยิ่ง
มาตั้งแต่เด็กองค์หนึ่ง ก็คือหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อเงินท่านบอกว่า ถ้ากำลังใจเราภาวนาได้สูงสุด ปืนยิงไม่ออก ถ้ากำลังใจ
ลดต่ำลงมานิดนึง ปืนยิงออกก็ไม่ถูก ถ้ากำลังใจต่ำลงมาอีกนิดนึง 
ปืนยิงถูกก็ไม่เข้า ก็แปลว่าการอยู่ยงคงกระพันนั้นความจริงแล้วเป็น
กำลังใจที่ใช้ไม่ได้ซะด้วยซ้ำไป ถ้าหากว่ากำลังใจแย่กว่านั้นโดนยิง
เข้าก็ไม่ตาย เพราะบุญยังรักษาเราอยู่ ท้ายที่สุดถ้าเคราะห์กรรมหนัก
หลีกเลี่ยงไม่ได้ถึงโดนยิงตาย ก็ยังไปสุคติ มีโลกสวรรค์เป็นต้น 
เพราะกำลังใจของเราเกาะความดีในการภาวนา

ดังนั้น ในเรื่องภัยธรรมชาติต่างๆ ที่พระท่านกล่าวเตือนมาก็ดี อาตมา
นำมาบอกเล่าเพิ่มเติมก็ดี จำเป็นที่ท่านทั้งหลายต้องช่วยตัวเองและ
ครอบครัวตลอดจนประเทศชาติ ด้วยการภาวนาไว้ให้เป็นปกติ ถ้าใคร
ไม่รู้จักพระคาถาบารมี ๓๐ ทัศ ให้ลูกหลานที่เข้าอินเตอร์เน็ตเป็น
ไปเสิร์ซดู จะได้ตัวพระคาถามาเอง อาตมาจะบอกตรงนี้ให้ฟัง 
แต่คาดว่าคงจะจดจำไม่ได้ถ้าไม่เคยภาวนามาก่อน คาถามีว่า 
อิติปาระมิตาติงสา อิติสัพพัญญูมาคะตา อิติโพธิมะนุปปัตโต อิติปิโส
จะเตนะโม แล้วต่อด้วยนะโมพุทธายะ ภาวนาติดเป็นบทเดียวกันไป 
ทำอย่างนี้ไว้ทุกวัน อธิษฐานภาพพระให้ครอบตัวของเราหรือ
ครอบครัวของเราหรือบ้านของเราเอาไว้ จะได้ผ่อนกรรมหนักให้เป็น
กรรมเบาลง ก็แปลว่าท่านทั้งหลายจะต้องใช้อัตตาหิ อัตโนนาโถ 
คือ ตนเป็นที่พึ่งของตน

ในเรื่องของกรรมนั้น ไม่ว่าพระ หรือพรหม หรือเทวดาก็ตาม ท่าน
จะช่วยได้ไม่เกินกฎของกรรมเท่านั้น ถ้าดูตัวอย่างพระโมคคัลลานะ 
อัครสาวกเบื้องซ้ายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในอดีต
เคยทุบตีพ่อแม่ตนเองจนถึงแก่ความตาย พอมาในชาติปัจจุบันแม้
พระองค์ท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว ก็ยังโดนโจรที่พวกเดียรถีย์จ้าง
มาฆ่า ทุบจนกระดูกป่นเท่าเม็ดข้าวสาร ในตำราว่าถ้าหากว่าจับ
ปลายเท้ายกขึ้นกระดูกทั้งหมดจะไหลไปรวมกันที่ศีรษะ ถ้าจับด้าน
ศีรษะยกขึ้นกระดูกทั้งหมดจะไหลไปรวมกันทางปลายเท้า แสดงว่า
หนังเหนียวเป็นพิเศษแต่ว่าไม่สามารถจะทนความหนักได้จึงโดน
เขาทุบตาย นั่นระดับพระอรหันต์ผู้เลิศด้วยอภิญญาก็หนีกรรมไม่พ้น

ดังนั้น ในส่วนของพวกเราจำเป็นต้องพึ่งบารมีพระ เกาะพระไว้ทุกวัน
ให้เป็นปกติ ถ้าสามารถเกาะได้ทุกลมหายใจเข้าออกทั้งวันทั้งคืน
ยิ่งดี เพราะภัยธรรมชาติทั้งหลายเหล่านี้ ไม่สามารถที่จะบอกได้ว่า
จะมาถึงตัวเราเมื่อไร ถ้าเราช่วยกันบำเพ็ญภาวนา กระแสความดี
มีมากพอก็ต้านให้มาช้าลง หรือไม่ก็ผ่อนหนักเป็นเบา แต่ถ้าหาก
ว่ากำลังไม่พอโดนไปเต็มๆ ตามเวรตามกรรมที่เราสร้างเอาไว้ 
ถ้าเป็นท่านที่ไม่มีการบำเพ็ญภาวนาเลยก็อาจจะถึงแก่ชีวิต 
ทรัพย์สินสูญหายหมด คนในครอบครัวอาจจะเสียชีวิตทั้งหมด 
เป็นต้น ดังนั้น เรื่องทั้งหลายเหล่านี้เราต้องทำเพื่อตัวเราเอง ถ้าเรา
ทำเพื่อตัวเราเองคือเราทำเพื่อครอบครัว ถ้าทุกครอบครัวช่วยกันทำ
ก็จะเป็นการทำเพื่อประเทศชาติ"

งานบวงสรวงพุทธาภิเษก เป่ายันต์เกราะเพชร
พระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดท่าขนุน

พระนอนเขาพระราชทรัพย์

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
“พระนอนเขาพระราชทรัพย์” กับภาพสลักสัญลักษณ์มงคล 108 ประการตามคติอยุธยา
นครอุดงค์ (Oudong - อุดงฦาไชย หรือ อุดงมีชัย) ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดกำปงสปือ(Kampong Speu)  และห่างไปทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงพนมเปญ (เมืองจัตุมุข) ประมาณ 40 กิโลเมตร เคยเป็นที่ตั้งของราชสำนักแห่งกษัตริย์อาณาจักรกัมพูชา ที่มีอำนาจในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 22 – 24 ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขา "พนมอุดง" (Phnom Oudong) หรือ "เขาพระราชทรัพย์" (Preah Reach Trop Mountain) ที่มียอดเขาฝั่งทางเหนือเป็นที่ตั้งของวัดเขาพระราชทรัพย์ มีพระเจดีย์ขนาดใหญ่หลายองค์ตั้งอยู่ 
.
ส่วนยอดเขารองลงมาทางฝั่งทิศใต้ของเขาพระราชทรัพย์ เป็นที่ตั้งของวัดและพระเจดีย์ “พระจันทราชา” (Preah Chan Reachea) อันเป็นชื่อนามของปฐมกษัตริย์อาณาจักรละแวก ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 21 ด้านหน้าของพระเจดีย์ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีวิหารพระนอนไสยาสน์ ปางมหาปรินิพพาน-นิรวาณ (Mahaparinirvana-Nirvana)  เป็นพระนอนโบราณ อายุการสร้างประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 – 14   แบบเดียวกับ “พระองค์ธม” (Preah Ang Thom) ที่เขาพนมกุเลน  ใช้การก่อหินทรายเป็นก้อน ๆ  มาเรียงสร้างขึ้นเป็นองค์ หันพระเศียรไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ พระพักตร์หันไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ พระบาทหันมาทางตะวันตกเฉียงใต้ ตามสภาพของภูมิประเทศบนยอดเขาครับ
.
ในปัจจุบัน พระนอนวัดพระจันทราชาและตัววิหารก่อหินศิลาแลงอยู่ในสภาพถูกทำลาย คงเหลือชิ้นส่วนส่วนของพระเศียร พระหัตถ์ พระวรกายและส่วนพระบาทคู่ที่มีการสลักลวดลายมงคล 108 ประการทั้งสองฝ่าพระบาทเหลืออยู่ แต่ละชิ้นส่วนพังทลาย กระจัดกระจายไม่เป็นรูปองค์พระนอนอย่างในอดีต
.
จารึก K.1006 อักษรเขมร ภาษาไทย ที่จารขึ้นในปี พ.ศ. 2126 พบที่เขาพนมกุเลน รวมถึงจารึกภาษาเขมร K.285 และ K.465 ได้กล่าวถึงสมเด็จพระราชมุนีที่มาจากกรุงศรีอยุธยา ได้เดินทางมายังเขาพนมพระราชทรัพย์ ได้บูรณะพระพุทธรูปพระปรินิพพานที่ปรักหักพังและลงรักปิดทองอย่างสวยงามสำหรับหมู่บ้าน และได้สร้างและพระวิหารที่สมบูรณ์ เพื่อสืบรักษาพระพุทธศาสนาครับ 
.
สอดรับกับลวดลายและคติของภาพสลักมงคล 108 ประการ ที่ปรากฏอยู่บนฝ่าพระบาทของพระนอนที่ยังคงตั้งเทินกันอยู่ในจุดเดิมทั้งสองข้าง แต่ละข้างมีความยาวประมาณ 1 เมตร มีนิ้วพระบาทเท่ากัน แต่ละนิ้วสลักเป็นลวดลายดอกบัวและพรรณพฤกษา ไม่ทำเป็นปล้อง ฝ่าพระบาททสลักเป็นช่องตารางสี่เหลี่ยมแบ่งด้วยเส้นลวด 10 ช่อง * 11 ชั้น ภายในช่องเป็นรูปสัญลักษณ์มงคล ตรงกลางเป็นรูปธรรมจักร จัดวางสุคติภูมิแห่งจักรวาลในมิติด้านตั้ง (ถือนิ้วพระบาทเป็นด้านบน) มีโสฬสพรหมโลกอยู่ในระดับสูงที่สุด ไล่ลงมาเป็นเทวโลก เขาพระสุเมรุ ทวีป จักรวาลและมหาสมุทร โลกมนุษย์ ไล่ระดับลดหลั่นลงมา ซึ่งเป็นการจัดวางรูปมงคลที่เป็นความนิยมในสมัยอยุธยา
.
รูปสลักสัญลักษณ์มงคลบนฝ่าพระบาทพระนอนพระจันทราชา เริ่มจากรูปพรหมและเทวดา 24 ช่อง ในความหมายของพรหมโลกและเทวโลก ถัดลงมาเป็นเครื่องสูง เขาพระสุเมรุและเขาสัตตบริภัณฑ์คีรี 34 ช่อง รูปสัตว์ 26 ช่อง รูปพืชพรรณ 14 ช่อง พานพุ่มบายศรีขนาดใหญ่ 7 กระทง และรูปปลาในวงโค้ง ในความหมายของมหาสมุทรและแม่น้ำที่ปลายส้นพระบาทครับ
.
---------------------------------------------------------------
*** จากหลักฐานที่พระราชมุนี พระเถระผู้ใหญ่และคณะที่ได้เดินทางมาบูรณะพระนอนที่เขาพระราชทรัพย์ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 22 ยุคอาณาจักรอุดงค์ จึงน่าจะมีการแกะสลักสัญลักษณ์มงคล 108 ประการขึ้นใหม่ ตามคติพุทธศาสนาที่นิยมในกรุงศรีอยุธยาบนฝ่าพระบาทของพระพุทธรูปที่ถูกสร้างมาแล้วในยุคก่อนหน้า ด้วยงานศิลปะแบบเขมรอุดงค์ในช่วงเวลาเดียวกับการบูรณะในครั้งนั้น  ซึ่งคงได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ และมีการแกะสลักรูปประติมากรรมพระสาวกแสดงการอัญชลันมัสการในครั้งมหาปรินิพาน เรียงรายที่ด้านหน้าองค์พระนอนในยุคของนักองค์จัน-พระญาจันทราชา ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 21 มาก่อนหน้าแล้วครับ 
เครดิต :
วรณัย  พงศาชลากร
EJeab  Academy
เพราะทุกที่มีเรื่องราวและเรื่องเล่า

เที่ยวอยุธยา

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
อยุธยา
🙏 วัดมหาธาตุ
ถือเป็นสถานที่สำคัญ หรือเรียกได้ว่าเป็นแลนด์มาร์คอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดอยุธยาก็ว่าได้ค่ะ ท่านใดมาต้องถ่ายรูปกับเศียรพระพุทธรูปหินทรายอยู่ใต้ต้นไม้ มีรากต้นไม้ปกคลุมล้อมเศียรโดยรอบ วัดสร้างในสมัยพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) แล้วเสร็จในสมัยสมเด็จพระราเมศวร (เมื่อครั้งที่พระองค์กลับมาครองราชย์ครั้งที่ 2) ครั้นสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองได้ทรงปฏิสังขรณ์พระปรางค์ใหม่โดยเสริมให้สูงกว่าเดิม กรมศิลปากรได้ขุดแต่งพระปรางค์เมื่อปี 2499 พบของโบราณสำคัญมากมาย ชั้นในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และเครื่องประดับมีค่า ปัจจุบันพระบรมสารีริกธาตุนำไปประดิษฐานไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา
 
🙏 วัดราชบูรณะ
หลังจากชมวัดมหาธาตุแล้ว ถัดมาไม่ไกลเป็นวัดราชบูรณะ วัดนี้มีชื่อเสียงโด่งดังจากการลักลอบขุดกรุสมบัติในปี 2499 และหลบหนีไป ถูกดำเนินคดีได้ในเวลาต่อมา ปัจจุบันทรัพย์สินภายในกรุเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา
 
🙏 วัดหน้าพระเมรุ
สร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น สร้างในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เมื่อปี 2046 นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์คือ เมื่อคราวพระเจ้าอะลองพญามาตีอยุธยาปี 2303 พม่าได้นำปืนใหญ่มาตั้งไว้ที่วัดพระเมรุแห่งนี้ และบัญชาการรบด้วยองค์เอง คนกรุงเก่าเล่ากันว่าด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ ทำให้ดินปืนเกิดระเบิด ปากกระบอกปืนแตกโดยพระวรกายของพระเจ้าอะลองพญาบาดเจ็บสาหัส พม่าทำการยกทัพกลับ แต่ยังไม่ทันพ้นเมืองตาก พระเจ้าอะลองพญาได้สิ้นพระชนม์ระหว่างทาง วัดหน้าพระเมรุถือเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของอยุธยาที่ไม่ถูกทำลายครั้งเกิดสงคราม ยังคงความงามให้ชาวไทยได้ชมศิลปะอันวิจิตรถึงปัจจุบัน
 

วิธีปลูกกล้วยน้ำว้า และ การขยายพันธุ์

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
วิธีปลูกกล้วยน้ำว้า และ การขยายพันธุ์
วิธีปลูกกล้วยน้ำว้าและการขยายพันธุ์แบบมืออาชีพ กำหนดระยะและขนาดหลุมปลูก โดยระยะที่เหมาะสมคือ 4×4 เมตร และควรขุดหลุม 50x50x50 เซ็นติเมตร เพราะรัศมีของรากกล้วยจะหากินไม่เกิน 50 เซ็นติเมตร การขุดหลุมขนาดนี้จะทำให้รากกล้วยหากินได้ไกลขึ้น และความลึกของหลุมจะแก้ปัญหาการขึ้นโคนหรือโคนลอย โดยการปลูกครั้งหนึ่งสามารถเก็บผลผลิตได้ 4-5 ปี เลยทีเดียว ถ้าขุดหลุมขนาดเล็กและตื้นกว่านี้
จะให้ผลผลิตแค่ปีสองปีก็ต้องรื้อปลูกใหม่แล้ว ใส่ปุ๋ยรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกผสมดินประมาณหลุมละ 2 กิโลกรัม รองหนาขึ้นมาประมาณ 30 เซ็นติเมตรแล้วจึงปลูกต้นกล้วยและกลบบริเวณโคนต้นให้แน่น ทำแอ่งดินรอบต้นเพื่อเก็บน้ำรักษาความชื้นของดิน ปลูกเสร็จให้น้ำตามทันทีให้ชุ่มชื้นพอเพียง ไม่เช่นนั้นต้นจะเหี่ยวเฉา ใบแห้งและยุบตัว บางต้นตาย บางต้นแตกต้นใหม่ขึ้นแทนทำให้อายุต้นไม่สม่ำเสมอกัน
การใส่ปุ๋ย ปุ๋ยคอก ให้ปุ๋ยอินทรีย์ประเภทปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตราการใส่ปุ๋ย 3 – 5 กิโลกรัม/ต้น/ครั้ง หรือ ปุ๋ยเคมี อัตราการใส่ปุ๋ย 100 กรัม/ต้น/ครั้ง โดยใส่ปุ๋ยหลังปลูก 1 เดือน และครั้งที่ 2 ในเดือนที่ 5 หลังปลูก หรือในช่วงก่อนกล้วยใกล้ออกปลี 2-3 เดือน – การให้ปุ๋ยเคมีทางรากควรใช้สูตร 25-7-7 จะช่วยให้ได้ใบขนาดใหญ่หนาเขียวเข้ม เป็นใบที่มีคุณภาพดีกว่าใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ -ในช่วง 6 เดือนหลังปลูกให้ปาดหน่อที่โผล่ออกมาทิ้งไป
พอหลังจากอายุ 6 เดือน ให้ไว้หน่อที่ 1 พอหน่อที่ 1 อายุ 3 เดือน ให้ไว้หน่อที่ 2 หลังจากนั้นทุกๆ 3 เดือน ให้ไว้หน่อที่ 3 และ 4, 5 ตาม โดยหน่อที่ขึ้นมาในช่วงที่ไม่ได้กำหนดให้ปาดทิ้งทั้งหมด ปรากฏว่า เมื่อจะไว้หน่อที่ 5 ต้นแม่ก็สามารถเก็บเกี่ยวเครือกล้วยได้แล้ว ฉะนั้นจะกลายว่ากอนั้นมีต้นกล้วย 4 ต้น ที่อายุห่างกัน 3 เดือน โดยมีหน่อที่ 1 ที่อายุห่าง 6 เดือน ดังนั้น เมื่อใช้ระบบนี้ต่อไปหลายๆ ปีจะทำให้กล้วยน้ำว้าในแปลงมีอายุห่าง 3 เดือน”
สาเหตุที่ไว้หน่อทุก 3 เดือน มีเหตุผลว่า ด้วยการออกผลผลิตของกล้วยน้ำว้าในแปลงนั้นจะออกไม่พร้อมกัน ถึงแม้ไว้ใกล้เคียงกัน จะมีการกระจายตัวในการเก็บเกี่ยวประมาณ 3 เดือน โดยจากข้อมูลที่ศึกษาจากการปลูกกล้วยน้ำว้าด้วยหน่อพบว่า จะมีช่วงแรกที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ ช่วงกลางๆ จะเก็บได้ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ และช่วงปลายเก็บได้ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์
ทีนี้ถ้าค่อยๆ ปลูกหรือไว้หน่อไป กล้วยที่ออกผลในช่วงปลาย 25 เปอร์เซ็นต์ จะไปรวมกับ 25 เปอร์เซ็นต์ของช่วงแรกในอีกแปลงหนึ่ง จะทำให้ได้ผลผลิตรวมเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นทั้งปีด้วยวิธีการนี้ ทำให้สามารถมีผลผลิตกล้วยน้ำว้าจำหน่ายให้กับพ่อค้าได้ตลอดทั้งปีและสามารถต่อรองราคากับพ่อค้าได้ โดยไม่ต้องถูกกดราคาเพราะจำเป็นต้องตัดขายทั้งแปลง”
วิธีขยายพันธุ์กล้วยโดยผ่าการผ่าหน่อ เหตุผล ประหยัดและโรคหนอนกอที่มากับต้นกล้วย ขั้นตอนการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ มีดังนี้
• หน่อกล้วย(ต้นสาว) อายุ 4 เดือนขึ้นไปหรือกล้วยที่ตัดเครือแล้วยิ่งดี
• มีดโต้ ใหญ่ 1 ด้าม , เล็ก 1 ด้าม
• เขียง
• กะละมัง
• น้ำสะอาด
• กระดาษ
• กระบะเพาะกล้า(ตะกร้า) สี่เหลี่ยม
• ขี้เรื่อย , แกลบดิบ , แกลบเผา
• ถุงเพาะชำ ขนาด 4 x 8 นิ้ว
ขั้นตอนการทำ ตัดรากให้หมด ให้สังเกตุตาของหน่อกล้วยที่มีลักษณะเป็นปุ่มที่พร้อมจะเจริญเติบโต
ใช้มีดผ่ากลางเหง้าเป็นแนวนอนแบ่งเป็น 2 ส่วน และผ่าแต่ละส่วนแบ่งเป็น 3 – 4 ส่วน (แล้วแต่ขนาดของหน่อกล้วย) หน่อขนาดใหญ่สามารถผ่าได้ 8 ชิ้น พยายามตัดเป็นชิ้นให้พอดี ระวังอย่าให้โดนตาหน่อตกแต่งให้ได้รูป แล้วนำไปล้างน้ำทำความสะอาด เตรียมกระบะบ่มเพาะ แล้วใช้กระดาษรองก้นถาดเพื่อป้องกันน้ำและดินไหล นำขี้เลื่อย แกลบดิบ แกลบเผา ผสม อัตราส่วน 1 : 1 : 1 (อัตราส่วนตามปริมาตร) ไม่ใช้ดิน โรยลงในกระบะเพาะให้เสมอกัน
วางหน่อกล้วยลงโดยคว่ำส่วนเนื้อลง จัดเรียงให้พอดีห่างกันสักนิด ระวังอย่าให้ทับเกยกันเพราะจะเน่า ใช้ ส่วนผสมเดิมกลบทับชั้นด้านบนอีกครั้ง เกลี่ยจนทั่ว และรดน้ำพอให้ชุ่มชื่น อย่าให้แห้งหรือแฉะจนเกินไป เป็นเวลา 1 เดือน จากนั้นจะเห็นกล้วยเริ่มแทงหน่อออกมา
สังเกตหน่อกล้วยจนมีที่นำไปเพาะเลี้ยงใบกาบจะเน่าเปื่อย หน่อกล้วยแทงหน่อมีใบ 1-2 ใบ แล้วจึงนำมาลงในถุงเพาะชำ ขนาด 4 x 8 นิ้ว หากกล้วยมี 2 หน่อ ให้ตัดแยกแล้วแบ่งถุงเพาะชำ ในถุงนั้นให้เอาหน้าดินเข้ามาเพิ่ม เพราะจะมีปุ๋ยในดิน จากนั้นเลี้ยงหน่อกล้วย ต่ออีกเป็นเวลา 1 เดือน จึงเป็นต้นพร้อมปลูก
พร้อมนำไปปลูก กำหนดระยะและขนาดหลุมปลูก โดยระยะที่เหมาะสมคือ 4×4 เมตร และควรขุดหลุม 50x50x50 เซ็นติเมตร เพราะรัศมีของรากกล้วยจะหากินไม่เกิน 50 เซ็นติเมตร
การขุดหลุมขนาดนี้จะทำให้รากกล้วยหากินได้ไกลขึ้น และความลึกของหลุมจะแก้ปัญหาการขึ้นโคนหรือโคนลอย โดยการปลูกครั้งหนึ่งสามารถเก็บผลผลิตได้ 4-5 ปีเลยทีเดียว ถ้าขุดหลุมขนาดเล็กและตื้นกว่านี้ จะให้ผลผลิตแค่ปีสองปีก็ต้องรื้อปลูกใหม่แล้ว ใส่ปุ๋ยรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกผสมดินประมาณหลุมละ 2 กิโลกรัม รองหนาขึ้นมาประมาณ 30 เซ็นติเมตร แล้วจึงปลูกต้นกล้วยและกลบบริเวณโคนต้นให้แน่น ทำแอ่งดินรอบต้นเพื่อเก็บน้ำรักษาความชื้นของดิน ปลูกเสร็จให้น้ำตามทันทีให้ชุ่มชื้นพอเพียง ไม่เช่นนั้นต้นจะเหี่ยวเฉา ใบแห้งและยุบตัว บางต้นตาย บางต้นแตกต้นใหม่ขึ้นแทนทำให้อายุต้นไม่สม่ำเสมอกัน
เมื่อกล้วยอายุ 4-6 เดือน ต้นแม่ยังไม่ออกเครือไม่ควรแยกหน่อเพราะจะทำให้กระทบกระเทือนต่อต้นแม่
ให้ตัดต้นหน่อทิ้งไปเพื่อไม่ให้ต้นแม่ต้องรับภาระส่งอาหารไปเลี้ยงหน่อซึ่งเกิดใหม่ จะทำให้ต้นแม่มีสารอาหารส่งไปเลี้ยงผลบนต้นอย่างเพียงพอ หรือหากต้องการนำไปปลูกต่อ เมื่อกล้วยแตกหน่อ 4-7 หน่อ ควรทำการปาดยอดทิ้ง โดยปาดในแนวเฉียงขึ้นกะความยาวของหน่อที่จะเหลือไว้หลังจากปาดให้สูงจากพื้นดินขึ้นมาประมาณ 20 นิ้วจากนั้นทำการปาดหน่อให้เฉียงกลับด้าน(ทิศตรงข้ามกับการปาดครั้งแรก) หน่อพัธุ์จะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆเหมาะแก่การนำไปปลูกต่อ
หลังจากที่กล้วยเริ่มแทงปลีออกมาแล้ว ก็จะใช้เวลาประมาณ 30 วัน ก็่จะสามารถเริ่มตัดปลีออกจากเครือได้ โดยให้เราสังเกตุว่าเมื่อปลีกล้วยบานจนสุดแล้ว หรือให้สังเกตุดูว่าหวีกล้วยจะไม่สามารถสร้างเป็นหวีได้แล้ว คือลูกกล้วยจะมีลักษณะรีบ ก็นับลงไปประุมาณ 1 คืบ แล้วค่อยตัดปลีออกจากเครือ ซึ่งปลีกล้วยที่ตัดออกสามารถนำไปจำหน่ายได้ หรือนำไปประกอบอาหารได้อีกด้วย การนับอายุตั้งแต่แทงปลีกล้วยจนเก็บเกี่ยวพอสังเขปมีดังนี้
หลังจากที่เราสังเกตุเห็นกล้วยแทงปลีแล้วนับไปประมาณ 30 วัน ให้สังเกตุดูว่าปลีกล้วยบานจนสุดแล้วหรือยัง ก็สามารถตัดปลีออกจากเครือได้ (1 เดือน)หลังจากตัดปลีออกจากเครือแล้วก็นับต่อไปอีก 90 วัน ก็สามารถตัดเครือกล้วยไปจำหน่ายได้ ให้สังเกตุดูที่ผลของกล้วยว่าเหลี่ยมที่ผลหายแล้วหรือยัง ผลของกล้วยจะมีลักษณะกลม (3 เดือน)เหตุผลที่ควรตัดปลีกล้วยห่างจากลูกกล้วย ประมาณ 1 คืบ
การตัดปลีกล้วยชิดลูกกล้วยเกินไป อาจก่อเกิดรูที่ปลายเครือกล้วยทำให้มดหรือแมลงไปสร้างรังซึ่งจะเป็นปัญหาต่อมาในอนาคตได้ถ้าตัดชิดกับลูกกล้วยเกินไป อาจก่อเกิดรูกลวงที่ปลายเครือ และขยายเป็นวงกว้างทำให้ลูกกล้วยไม่เจริญเติบโตและเสียหายได้เวลาตัดเครือกล้วย จะสะดวกต่อการจับและการตัดเครือกล้วย


เลขบัตรประจำตัวประชาชน

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
เลขประจำตัวประชาชนไทย
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก
เลขประจำตัวในบัตรประชาชนของคนไทย มีด้วยกัน 13 หลัก โดยแต่ละหลัก มีความหมายแตกต่างกันไป ทั้งนี้ ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่ในการกำหนดเลขประจำตัว แก่บุคคลที่อยู่ในราชอาณาจักร คนละหนึ่งเลขโดยไม่ซ้ำกัน และอาจยกเว้นแก่บุคคลบางจำพวก[1] เช่นสมเด็จพระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า เป็นต้น
โดยเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 กรมการปกครอง ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบทะเบียนราษฎร ประกาศกำหนดให้บุคคลภายในประเทศไทย ต้องมีเลขประจำตัวประชาชน ปรากฏในทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชน และกำหนดให้ต้องดำเนินการจนเสร็จสิ้นทั้งหมด ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 เนื่องจากก่อนหน้านี้ ประเทศไทยยังไม่เคยกำหนดเลขประจำตัวเช่นนี้มาก่อน ดังนั้นจึงกำหนดระยะเวลาดังกล่าว เพื่อจัดระบบทะเบียนราษฎรให้เทียบเท่านานาประเทศ โดยบุคคลภายในประเทศไทยทั้งหมด จะต้องมีเลขประจำตัวประชาชน เพื่อแสดงตนว่าเป็นบุคคลประเภทใด โดยดูตามเงื่อนไขในแต่ละกรณี
ตัวเลขหลักที่ 1
1 2345 67890 12 3
แสดงตัวเลขหลักที่ 1
หมายถึงประเภทบุคคล ซึ่งมีอยู่ 9 ประเภท ได้แก่
ประเภทที่ 1
คือคนที่เกิดและมีสัญชาติไทยและได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา หมายความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไป อันเป็นวันเริ่มแรกที่กรมการปกครอง ประกาศให้ประชาชนทุกคนต้องมีเลขประจำตัว 13 หลัก เมื่อพ่อแม่ผู้ปกครองไปแจ้งเกิดที่อำเภอหรือสำนักทะเบียนในเขตที่อยู่ภายใน 15 วัน นับแต่เกิดมาตามที่กฎหมายกำหนด เด็กคนนั้นก็ถือเป็นบุคคลประเภท 1 และจะมีเลขประจำตัวขึ้นด้วยเลข 1 เช่น เด็กหญิงส้มจี๊ด เกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2527 และพ่อไปแจ้งเกิดที่เขตดุสิตภายในวันที่ 17 มกราคม 2527 เด็กหญิงส้มจี๊ด ก็จะมีหมายเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 1 และก็ต่อด้วยเลขหลักอื่นๆ อีก 12 ตัว เป็น 1 1001 01245 29 9 เป็นต้น ซึ่งเลขนี้จะเป็นเลขประจำตัว ปรากฏในทะเบียนบ้าน และจะปรากฏบนบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อส้มจี๊ดไปทำบัตรประชาชนตอนอายุ 15 ปี
ปัจจุบัน พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 10 พฤษภาคม 2554 กำหนดให้เด็กอายุครบ 7 ปี ต้องยื่นคำขอมีบัตรประชาชนครั้งแรก ภายใน 60 วัน[3] จากเดิมคือต้องเป็นผู้มีอายุครบ 15 ปี ทั้งนี้ คำนำหน้าชื่อบนบัตรของเด็กอายุ 7-14 ปี ยังคงเป็น ด.ช. หรือ ด.ญ. ตามเดิม
ประเภทที่ 2
คือคนที่เกิดและมีสัญชาติไทยได้แจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา หมายความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไป แล้วผู้ปกครองลืมหรือติดธุระไม่สามารถไปแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตภายใน 15 วันตามกำหนด เมื่อไปแจ้งภายหลังเด็กคนนั้นก็จะกลายเป็นบุคคลประเภท 2 มีตัวเลขตัวแรกในทะเบียนบ้านขึ้นด้วยเลข 2 เช่น ในกรณีส้มจี๊ด หากพ่อไปแจ้งเกิดให้ ในวันที่ 18 มกราคม 2527 หรือเกินกว่านั้น ส้มจี๊ดก็จะมีเลขประจำตัวเป็น 2 1001 01245 29 9 ในทะเบียนบ้าน และเมื่อไปทำบัตรประชาชนในภายหน้า
ประเภทที่ 3
คือคนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในสมัยเริ่มแรก (คือตั้งแต่ก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527) หมายความว่า บุคคลใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ณ ที่ใดที่หนึ่งในประเทศไทยมาตั้งแต่ก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 คนนั้นถือว่าเป็นบุคคลประเภท 3 และก็จะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 3 เช่น ส้มจี๊ด เกิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2501 และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแล้ว ส้มจี๊ดก็จะมีเลขประจำตัวในทะเบียนบ้าน และบัตรประชาชนเป็น 3 1001 01245 29 9
ประเภทที่ 4
คือคนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญคนต่างด้าว แต่แจ้งย้ายเข้าโดยยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชนในสมัยเริ่มแรก หมายความว่า คนไทยหรือคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญคนต่างด้าว ที่อาจจะเป็นบุคคลประเภท 3 คือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดิมอยู่แล้ว แต่ยังไม่ทันได้เลขประจำตัวก็ขอย้ายบ้านไปเขตหรืออำเภออื่นก่อนช่วง 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 ก็จะเป็นบุคคลประเภท 4 ทันที
ประเภทที่ 5
คือคนไทยที่ได้รับอนุมัติให้เพิ่มชื่อเข้าไปในทะเบียนบ้านในกรณีตกสำรวจหรือกรณีอื่น ๆ เช่น คนที่ถือ 2 สัญชาติ
ประเภทที่ 6
คือผู้ที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผู้ที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแต่อยู่ในลักษณะชั่วคราว กล่าวคือ คนที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทยแต่ยังไม่ได้สัญชาติไทยเพราะทางการยังไม่รับรองทางกฎหมาย เช่น ชนกลุ่มน้อยตามชายแดนหรือชาวเขา กลุ่มนี้ถือว่าเป็นผู้เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนบุคคลที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแต่อยู่ชั่วคราว เช่น นักท่องเที่ยวหรือชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย แม้บางคนจะถือพาสปอร์ตประเทศของตน แต่อาจจะมีสามีหรือภรรยาคนไทยจึงไปขอทำทะเบียนประวัติเพื่อให้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านสามีหรือภรรยา คนทั้งสองแบบที่ว่านี้ถือว่าเป็นบุคคลประเภท 6
ประเภทที่ 7
คือบุตรของบุคคลประเภทที่ 6 ซึ่งเกิดในประเทศไทย คนกลุ่มนี้ในทะเบียนประวัติจะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 7
ประเภทที่ 8
คือคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย คือผู้ที่ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหรือคนที่ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทย และคนที่ได้รับการให้สัญชาติไทยตั้งแต่หลังวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไปจนปัจจุบัน
คนทั้งแปดประเภทนี้จะมีเพียงประเภทที่ 3, 4 และ 5 เท่านั้นที่จะมีบัตรประจำตัวประชาชนได้เลย ส่วนประเภทที่ 1 และ 2 จะมีบัตรประจำตัวประชาชนได้ก็ต่อเมื่อมีอายุถึงเกณฑ์ทำบัตรประจำตัวประชาชน คืออายุ 7 ปี แต่สำหรับบุคคลประเภทที่ 6, 7 และ 8 ที่ยังไม่ได้รับสัญชาติไทย จะมีเพียงทะเบียนประวัติเล่มสีเหลืองเท่านั้น จะไม่มีการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้ บุคคลประเภทที่ 8 ที่ได้รับสัญชาติไทยจะมีบัตรประจำตัวประชาชนได้
ประเภทที่ 9
หมายถึงบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร ไม่มีสัญชาติและยังไม่ได้รับการให้สัญชาติไทย ได้รับการผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้ชั่วคราว
ตัวเลขหลักที่ 2 ถึงหลักที่ 5
1 2345 67890 12 3
แสดงตัวเลขหลักที่ 2-5
หมายถึงรหัสของสำนักทะเบียนหรืออำเภอที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนขณะที่ให้เลข กล่าวคือ เลขหลักที่ 2 เป็นเขตการปกครองของไทยโดยอ้างตามเขตรับผิดชอบของกรมการปกครองและตำรวจ ที่มีตั้งแต่ภาค 1-9 และ เลขหลักที่ 3 จะหมายถึงจังหวัดที่อยู่ในภาคนั้น ๆ ส่วนหลักที่ 4 และ 5 หมายถึงเขตหรืออำเภอในจังหวัดนั้น ๆ โดยที่เลขอำเภอจะเริ่มจากเลข 01ไล่ลงไป เช่นเลข 01 คืออำเภอเมือง และถ้าเป็นเขตเทศบาลจะเริ่มจากเลข 99 ย้อนลงมา
ตัวเลขหลักที่ 6 ถึงหลักที่ 10
1 2345 67890 12 3
แสดงตัวเลขหลักที่ 6-10
หมายถึงกลุ่มของบุคคลแต่ละประเภทตามหลักแรก ซึ่งทางสำนักทะเบียนในแต่ละแห่งก็จะจัดกลุ่มเรียงไปตามลำดับหรือหากเป็นเด็กเกิดใหม่ในปัจจุบันเลขดังกล่าวก็จะหมายถึงเล่มที่ของสูติบัตร (ใบแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตออกให้) ซึ่งก็คือเลขประจำตัวในทะเบียนบ้านของเด็กที่แต่ละอำเภอหรือเขตออกให้ และจะปรากฏในบัตรประชาชนเมื่อถึงอายุต้องทำบัตรนั่นเองแต่ถ้ายังไม่ถึงเกณฑ์เลขนี้ก็จะปรากฏอยู่แค่ในทะเบียนบ้านของเด็กเท่านั้น
ตัวเลขหลักที่ 11 ถึงหลักที่ 12
1 2345 67890 12 3
แสดงตัวเลขหลักที่ 11-12
หมายถึงลำดับที่ของบุคคล
ตัวเลขหลักที่ 13
ตัวเลขหลักที่ 13 เป็นตัวเลขตรวจสอบความถูกต้องของเลขทั้ง 12 หลักแรก
การคำนวณเลขหลักที่ 13 ของเลขประจำตัวประชาชน ใช้หลักการคำนวณเลขคณิตมอดุลาร์ จากเลข 12 หลักแรก
ให้เลขหลักแรกทางซ้ายคือ N1 หลักต่อไปคือ N2 ไปเรื่อย ๆ
N13 คือหลักที่ต้องการคำนวณ
1 2345 67890 12 3
แสดงตัวเลขหลักที่ 13
จากสมการแสดงให้เห็นว่า x ได้จากการ 13×เลขหลักที่ 1 โดยตัวตั้งจะลดลงมาถึงเลข 2 และตัวคูณคือเลขประชาชนตั้งแต่หลักแรกถึงหลักที่ 12 ตามลำดับ จากนั้นนำผลคูณแต่ละหลักรวมกันแล้วนำไปหารด้วย 11 โดยผลลัพธ์จะได้ค่ามอดูลัส นั่นหมายถึงเศษของผลหารที่ได้จากการนำผลรวมจากการคูณแต่ละหลักหารด้วย 11 เช่น 200 หารด้วย 11 จะเหลือเศษคือ 2 นั่นคือผลของมอดูลัส x จะมีค่าเป็นจำนวนเต็มตั้งแต่ 0 ถึง 10 จากนั้นก็ทำตามเงื่อนไขโดย
ถ้าค่า x น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 ให้ 1−x จะได้ผลของเลขหลักที่ 13 เช่น 1−1 = 0ถ้าค่า x มากกว่า 1 ให้ 11−x จะได้ผลของเลขหลักที่ 13 เช่น 11−2 = 9
ตัวเลขหลักที่ 6 ถึงหลักที่ 13
หมายเหตุ
อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2 ปีก่อนโดย MildyManUnited

หน้าที่เกี่ยวข้อง
หนังสือเดินทางชนิดอ่านด้วยเครื่องได้
บัตรประจำตัวประชาชนจีน
บัตรประจำตัวประชาชนไทย
เนื้อหาอนุญาตให้เผยแพร่ภายใต้ CC BY-SA 3.0 เว้นแต่ระบุไว้เป็นอื่น

นโยบายความเป็นส่วนตัวข้อกำหนดการใช้งานคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ


หลักการบริหารทรัพย์

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
#หลักการบริหารทรัพย์4ส่วน ของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าท่านสอนเรื่องการใช้สอยทรัพย์ที่หามาได้ไว้ คือ ให้แบ่งทรัพย์ออกเป็น 4 ส่วน คือ 
1.ใช้หนี้เก่า 
2.ใช้หนี้ใหม่ 
3.ฝังดินไว้ 
4.ทิ้งลงเหว โดยแต่ละส่วนไม่จำเป็นต้องเท่ากัน แต่ให้เราพิจารณาตามความเหมาะสม ถูกต้อง ตรงธรรม ไม่แบ่งตามอำนาจของกิเลส
ต้องรู้จักประมาณ รู้ทางเจริญทรัพย์ และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ แล้วเลี้ยงชีพพอเหมาะ 
     #ใช้หนี้เก่า หมายความว่า ให้พ่อแม่ ผู้มีพระคุณ ตอบแทนบุญคุณที่ท่านเลี้ยงดูและสั่งสอนเรามา ทำให้เราสามารถมีชีวิตอยู่ได้
     #ใช้หนี้ใหม่ หมายความว่า ให้ครอบครัว ลูกเมีย หรือผู้อยู่ในปกครอง ที่เราสร้างขึ้นมาทีหลัง
     #ฝังดินไว้ หมายความว่า ให้ทำบุญ ทำทาน แบ่งปัน สร้างสาธารณะประโยชน์ ช่วยเหลือสังคม เพื่อนฝูง เผื่อภายภาคหน้าอาจจะได้พึ่งพิง เงินส่วนนี้คือเงินที่จะสร้างอนาคตที่ดีให้เราในวันหน้า จนถึงชาติหน้า
     #ทิ้งลงเหว หมายความว่า ใช้จ่ายตามจำเป็น กิน อยู่ ซื้อหาปัจจัยสี่ หรือสิ่งของที่ต้องการ สาเหตุที่ท่านเรียกว่า “ทิ้งเหว” เพราะเงินในส่วนนี้ใช้เท่าไหร่ก็ไม่เคยพอ ยิ่งใช้กิเลสก็ยิ่งงอก ท่านจึงให้ใช้แค่พอประมาณ ใช้อย่างมีสติ ไม่เป็นผู้ประมาทต่อการใช้จ่าย

เงินสี่ส่วนนี้ท่านไม่ได้จำกัดว่า ต้องแบ่งส่วนไหนมากส่วนไหนน้อย ดังนั้นจึงควรพิจารณาอย่างระมัดระวัง แบ่งไปตามเหตุผลที่ถูกต้องตรงธรรม ไม่ใช่แบ่งไปตามอำนาจของกิเลส นอกจากนี้ท่านยังกล่าวเตือนในเรื่องการกู้หนี้ยืมสินว่า เรื่องการกู้หนี้ยืมสินนั้น จะก่อให้เกิดความทุกข์ใจกับผู้ครองเรือนเป็นอย่างยิ่ง ทางที่ดีไม่ควรเป็นหนี้โดยเด็ดขาด!!!

เมื่อเรารู้วิธีการหาบริหารทรัพย์แล้ว ก็ให้นำมาใช้นะ อย่าประมาทว่าเราหาได้มาก ก็ใช้มาก เพราะถ้าเราใช้โดยไม่รู้ประมาณ เราก็ต้องเป็นทาสของทรัพย์นั้นไปตลอด คือต้องทำงานหนักเพื่อหาทรัพย์อยู่เรื่อยไป

อานิสงส์ทานต่างกัน

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

ผู้ให้ทาน14ประเภท
คนบางคนในโลกนี้ เข้าใจผิด คิดว่า ให้ทานแก่ใครก็ได้บุญเท่ากัน
แต่ความจริง พระพุทธเจ้าทรงจำแนกการให้ทานแก่ ผู้รับทาน และผลของทาน ไว้ดังนี้

#พุทธวจน
คำสอนของพระพุทธเจ้า
เรื่อง การให้ทาน ในผู้รับทาน ๑๔ ประเภท
ผลบุญที่ได้ย่อมแตกต่างกัน
ดังนี้

[๗๑๐]  ดูกรอานนท์  ก็ทักษิณาเป็นปาฏิปุคคลิกมี  ๑๔  อย่าง  คือ  
- ให้ทานในตถาคต
อรหันตสัมมาสัมพุทธ  นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่  ๑  
- ให้ทานในพระปัจเจกสัมพุทธ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่  ๒  
- ให้ทานในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์  นี้เป็นทักษิณา ปาฏิปุคคลิกประการที่  ๓  
- ให้ทาน  ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง  นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก
ประการที่  ๔
- ให้ทานแก่พระอนาคามี  นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่  ๕  
- ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง  นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่  ๖  
- ให้ทาน  แก่พระสกทาคามี
 นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่  ๗  
- ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง  นี้เป็น ทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่  ๘  
- ให้ทานในพระโสดาบัน  นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่  ๙
- ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง  นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่  ๑๐
- ให้ทาน  ในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม  นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่  ๑๑
- ให้ทานในบุคคลผู้มีศีล  นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่  ๑๒
- ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล  นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่  ๑๓  
- ให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน  นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่  ๑๔  ฯ
 [๗๑๑]  ดูกรอานนท์  ใน  ๑๔  ประการนั้น  
- บุคคลให้ทานในสัตว์เดีย  รัจฉาน  พึงหวัง
ผลทักษิณาได้ร้อยเท่า  
- ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล  พึงหวังผลทักษิณาได้พันเท่า  
- ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล  พึงหวังผลทักษิณาได้แสนเท่า  
- ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม
พึงหวังผลทักษิณาได้แสนโกฏิเท่า  
- ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง  พึงหวังผลทักษิณา จนนับไม่ได้จนประมาณไม่ได้  
จะป่วยกล่าวไปไย
- ในพระโสดาบัน  
- ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง  
- ในพระสกทาคามี  
- ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง  
- ในพระอนาคามี  
- ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง  
- ในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์  
- ในพระปัจเจกสัมพุทธ  และ
- ในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ  ฯ

บุญเกิดที่ใจ

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
บุญเกิดที่ใจ
"...บุญ... เกิดที่ใจ ใช่ที่รูป
ใช่ที่ธูป ใช่ที่เทียน ใช่ดอกไม้
ใช่ที่เงิน มหาศาล ทำทานไป
ทำบุญแล้ว อวดใครใคร ไม่ได้บุญ
บุญเกิดจาก ศรัทธา ที่กล้าแกร่ง
เกิดจากแรง ภาวนา มาเกื้อหนุน
ทำสมาธิ เกิดปัญญา มาค้ำจุน
ทานและศีล คือต้นทุน หนุนจิตดี
รักษากาย วาจาใจ ให้สะอาด
อย่าให้ขาด ซึ่งศีลห้า พาสุขี
ทำบุญแล้ว แผ่เมตตา เพิ่มบารมี
อีกอย่างที่ บุญมากโข อโหสิกรรม"

วัดบ้านถ้ำท่าม่วงกาญฯ

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

#สะกิดมาพาเที่ยววัด จะพาเที่ยวชม #วัดบ้านถ้ำ ๛
🛕 วัดบ้านถ้ำ ต.เขาน้อย อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี
บันไดขึ้นถ้ำมี 269 ขั้น จากหัวนาคถึงมังกร 114 ขั้น จากปากมังกรถึงหาง 105 ขั้น เดินเข้าถ้ำ 50 ขั้น
🛕หันมองด้านล่าง จากด้านหน้าหัวมังกร  หลวงพ่อใหญ่ชินราช ในถ้ำคูหามังกรสวรรค์ หรือถ้ำนางบัวคลี่ ด้านซ้ายมีปล่องเพดานส่องแสงสว่างให้แก่ถ้ำและถ่ายเทอากาศ จุดชมวิวบนยอดเขา จากพื้นรวม 707 ขั้นบันได เบื้องหน้าคือแม่น้ำแม่กลอง 
🛕ถ้ำม่านวิจิตร อยู่เหนือถ้ำคูหามังกรสวรรค์ ทางลงจากปากถ้ำค่อนข้างแคบและเป็นแนวดิ่ง
🛕พิสูจน์แรงศรัทธา ขึ้นบันได 269 ขั้น สักการะบูชาหลวงพ่อชินราช(หลวงพ่อใหญ่)ในถ้ำคูหามังกรสวรรค์ วัดบ้านถ้ำ ต.เขาน้อย อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี เป็นวัดเก่าแก่สมัยสุโขทัย ด้านหลังจรดเขา ด้านหน้าจรดแม่น้ำแม่กลอง มีชายหาดสวยงามอยู่หน้าวัด ภูเขาที่ตั้งถ้ำสูงราวๆ 200 กว่าเมตร ภูเขาลูกนี้เป็นเทือกเดียวติดต่อกันหลายยอดเป็นพืด ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือสุดปลายเขาที่เขาแหลมและเขาตกถ้ำมังกรทอง การเที่ยวชมถ้ำให้ครบทั้งหมด วันเดียวรับรองว่าไม่หมดแน่
🛕ปูชนียวัตถุและสถานที่ควรเที่ยวชม
อุโบสถหลังเก่า ในอุโบสถมีพระพุทธรูปปางสมาธิพร้อมด้วยพระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร ซึ่งทำด้วยหินทรายลงรักปิดทองเป็นของเก่ามีมาแต่เดิม
🛕อุโบสถหลังใหม่ ซึ่งมีพระพุทธชินราชจำลอง
พิพิธภัณฑ์วัดบ้านถ้ำ มีพระพุทธรูปเก่าที่ย้ายเอาลงมาจากถ้ำใหญ่หลายองค์ ถ้วยชามของเก่า
🛕ถ้ำคูหามังกรสวรรค์ หรือถ้ำนางบัวคลี่ ในถ้ำเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่ปางมารวิชัยสมัยยุคสุโขทัยนามว่า “หลวงพ่อใหญ่ชินราช” แต่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า หลวงพ่อใหญ่ หน้าตักกว้าง 8 ศอก สูง 11 ศอกเศษ ด้านหลังหลวงพ่อใหญ่ มีซอกเศษหินเป็นโพลงใหญ่ ที่ผนังมีรอ ถูกปิดมาช้านานจนกลายเป็นหินเนื้อเดียวกัน คนแต่เก่าเล่าว่าเป็นช่องทางเดินไปใต้บาดาลของหลวงพ่อองค์ที่มาอยู่สมัยสุโขทัย(อ่านเพิ่มเติมด้านล้าง “เรื่องเล่า วัดบ้านถ้ำ”  ทางขวาของหลวงพ่อใหญ่เป็นที่เก็บชิ้นส่วนต่างๆ ของพระพุทธรูปแตกหักอยู่เกลื่อนไป ที่โขดหินใหญ่มีหินย้อยลงมาจากเพดานถ้ำใกล้ประตู ตอนส่วนบนเป็นที่ตั้งผาหินจะมีป้ายบอกว่า “เจ้าแม่บัวคลี่” มีที่ตั้งสักการบูชา ที่ผาหินจะเห็นสีนวลมีรูปร่างเป็นคนยืนมีผมยาวสูงราวเมตรเศษ รูปนี้เป็นสัญลักษณ์ของถ้ำที่ชาวบ้านนับถือว่าเป็นที่สิงสถิตดวงวิญญาณของนางบัวคลี่ เมียขุนแผนที่ถูกผ่าท้องเอาลูกทำเป็นกุมารทอง
🛕ถ้ำม่านวิจิตร ถ้ำนี้อยู่เหนือถ้ำคูหามังกรสวรรค์ไปหน่อย มีทางขึ้นวกไปวนมาจนถึงปากถ้ำ ค้นพบเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2521 ถ้ำนี้มีหินงอกหินย้อยคล้ายฉากม่านโรงละคร และรูปร่างอื่นๆ
🛕ถ้ำขุนแผน ถ้ำนี้มีทางแยกซ้ายมือตรงหน้าถ้ำม่านวิจิตร ถ้ำประวัติศาสตร์แห่งขุนแผนเมืองกาญจนบุรี ถ้ำนี้ค้นพบเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2521 ไฟฟ้าไปถึงแล้ว
🛕ถ้ำดอกจอก การเดินทางไปถ้ำนี้ต้องเดินข้ามเขาถ้ำม่านวิจิตรไปลงหุบเขาแล้วเดินไปตามไหล่เขาประมาณ ครึ่งชั่วโมงก็ถึง ในถ้ำมีหินย้อยห้อยระเกะระกะไปหมดน่าดูน่าชมถ้ำหนึ่ง ค้นพบเมื่อ 18 กันยายน 2521 ไฟฟ้ายังไปไม่ถึง
🛕อุทยานถ้ำดุสิต ถ้ำนี้เป็นถ้ำที่ใหญ่และสวยงามที่สุดในบรรดาถ้ำทั้งหลายในทิวเขานี้ มีห้องถึง 5 ห้องการเดินทางไปชมถ้ำนี้ต้องเดินทางไปเส้นทางเดียวกับถ้ำดอกจอกแต่อยู่เลยไปหน่อยหนึ่ง ทางที่ดีควรให้คนของวัดนำทางไปทั้งถ้ำดอกจอกและอุทยานหินถ้ำดุสิต เพราะไฟฟ้ายังไปไม่ถึงต้องเตรียมไฟฉายและเทียนไปด้วยพร้อมทั้งน้ำดื่ม ค้นพบเมื่อวันที่ 13 กันยายน  2521
🛕ถ้ำหมื่นหาญ อันเป็นถ้ำประวัติศาสตร์เกี่ยวกับขุนโจรหมื่นหาญ บิดาของนางบัวคลี่
🛕ถ้ำนางนวล ในถ้ำมีหินย้อยเป็นรูปหมอนข้างตั้งและหินย้อยเป็นรูปดอกไม้ที่งดงาม ทั้งสองถ้ำเป็นถ้ำเตี้ยอยู่หลังอุโบสถหลังใหม่ ไฟฟ้าเข้าถึง
🛕ถ้ำนางนอน เป็นถ้ำเปิดใหม่ล่าสุดเมื่อ 13 เมษายน 2522 ภายในมีหินงอกหินย้อยน่าชมถ้ำหนึ่งในบรรดาถ้ำเตี้ยๆ ไม่อยู่สูงเกินไปนัก 

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
วัดบ้านถ้ำ เปิดให้นักท่องเที่ยวและประชาชนเยี่ยมชมและสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกวันระหว่างเวลา 07.00 - 17.00 น.
...........................................

Madame Tussauds Bangkok

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
MamameTussaudsBangkok
หลายคนอาจจะคุ้นหู หรือรู้จักกันอยู่แล้วเป็นอย่างดีกับ พิพิธภัณฑ์ระดับโลก “มาดาม ทุสโซ” (Madame Tussauds Bangkok)ตั้งอยู่กลางใจเมืองที่ ชั้น 5 สยามดิสคัฟเวอรี่ สยาม เปิดตัวในเมืองไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งมาดามทุสโซ มีหุ่นขี้ผึ้งที่เหมือนจริง !
พิพิธภัณฑ์นั้นจะแบ่งออกเป็นหลายโซนด้วยกันคสำหรับที่นี่จะมีหุ่นมาแสดงถึง 90 ตัวด้วยกัน และมีหุ่นที่เป็นคนไทยอยู่ถึง 30 กว่าตัว
จากโซนแรกก็คือห้องจัดแสดงหุ่นของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับราชวงศ์จักรี เพราะสยามดิสคัฟเวอรี่นี้เป็นส่วนหนึ่งของวังสระปทุมนั่นเอง และแน่นอนว่ามีเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น
ถัดมาจะเป็น โซนประวัติศาสตร์ บุคคลที่มีชื่อเสียงของโลก รวมถึงของไทยเราด้วย เช่น ท่านพุทธทาสภิกขุ, จอมพล ป.พิบูลสงคราม, เจ้าหญิงไดอาน่า แห่งราชวงศ์อังกฤษ ฯลฯ ซึ่งนอกเหนือจากหุ่นขี้ผึ้งที่เหมือนจริงมากๆ อย่างไม่ผิดเพี้ยนแล้ว ยังมีเรื่องราวประวัติของบุคคลสำคัญ รวมถึงเรื่องอื่นๆ อย่างอาหารจานโปรดของท่านประธานเหมา 
โซนที่ 3 เป็น ห้องจัดแสดงหุ่นผู้นำจากประเทศต่างๆ ทั้งบารัค โอบามา, วลาดีมีร์ ปูติน, ชินโซ อาเบะ รวมไปถึง สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร และแต่ละจุดที่หุ่นจัดแสดงอยู่เราสามารถเข้าไปถ่ายรูปอย่างใกล้ชิดกับหุ่นได้ เหมือนได้กระทบไหล่คนดังเลย และที่สำคัญหุ่นขี้ผึ้งนี้เหมือนจริงมากๆ เพราะจากข้อมูลเลยจะเห็นได้ว่า จะมีจากวัดตัวผู้เป็นแบบถึง 500 จุดเพื่อให้หุ่นออกมาเหมือนตัวจริงมากที่สุด
เดินต่อไปอีกหน่อยก็จะถึงโซนที่ 4 เป็น ห้องศิลปะและวิทยาศาสตร์ ในห้องนี้จะจัดแสดงหุ่นของสุนทรภู่ กวีเอกของไทยเรา, ปิกัสโซ จิตรกรเอกของโลก, แพทย์หญิง คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์, ไอสไตน์, ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี รวมไปถึงคนดังทางดนตรีอย่างบีโธเฟนหุ่นละตัวนั้นใช้เวลาของการปั้นถึง 350 ชม. ยังไม่รวมการทำแม่พิมพ์ที่ใช้เวลาอีก 170 ชม. ทาสีดวงตาอีก 14 ชั่วโมงในแต่ละคู่ ทั้งฟัน และเส้นผม ที่เหมือนจริงมากๆ แน่นอนว่าใช้เวลายาวนานไม่แพ้กัน เส้นผมนี่ใช้เวลาถึง 140 ชม.ทีเดียว เรียกได้ว่าเหมือนยิ่งกว่าเหมือนเสียอีก
ห้องถัดมาเป็น โซนกีฬา แน่นอนว่าสาวกนักเตะต้องไม่พลาด ทั้งเวย์น รูนี่ย์, โรนัลโด, เบ็คแฮม Steven George Gerrard รวมไปถึงกีฬาอื่นๆ ทั้งเขาทราย แกแล็คซี่ และนักบาสในตำนานอย่างเหยา หมิง ก็รวมอยู่ที่นี่
จากห้องกีฬามาอีกหน่อยก็จะเป็น ห้องดนตรีแน่นอนว่า นักร้องในดวงใจอย่างพุ่มพวง ดวงจันทร์ ก็อยู่ที่นี่ด้วย และยังมีนักร้องคนอื่นๆ เช่น แอ๊ด คาราบาว, บี้ เดอะสตาร์, นิชคุณ, เจย์ โชว์, ไมเคิล แจ็คสัน และนักร้องขวัญใจมหาชนอีกมากมายทีเดียว แถมยังมีมุมแต่งตัวให้ได้สนุกๆ ถ่ายรูปเล่นกัน รวมถึงมีมุมคาราโอเกะด้วยนะ
ออกจากห้องดนตรี โซนต่อมาเอาใจคอหนังกันด้วย โซนภาพยนตร์  เข้ามาเราก็จะเห็น มาริโอ้ ที่รับบทบาทเป็นพี่มาก จากเรื่อง พี่มาก พระโขนง หลายคนที่เคยดูหนังเรื่องนี้ต้องอยากไปถ่ายรูปคู่กับพี่มากแน่ๆ  รวมไปถึงยังมีสไปร์เดอร์แมน, วูฟเวอรีน, กัปตันอเมริกา ฮีโร่ขวัญใจหลายคนอีกด้วย
ห้องสุดท้ายในการจัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งก็คือ ห้องดาราภาพยนตร์ แน่นอนว่ามีทั้งดาราแนวหน้าของไทย อย่างแอน ทองประสม, เคน ธีรเดช แล้วยังมีดาราระดับฮอลีวู้ดอีกด้วยหลายคนเลย ทั้ง จอห์นนี่ เดปป์, แองโจลิน่า และแบรด พิท, เฉินหลง :)
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง มาดาม ทุสโซ กรุงเทพฯ
สยามดิสคัฟเวอรี่ ชั้น 6
989 ถนนพระราม 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
โทร.0-2658-0060
เปิดทุกวัน เวลา 10.00-21.00 น.

วัดมังกรกมลาวาส

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
วัดมังกรกมลาวาส หรือ วัดเล่งเน่ยยี่ เป็นวัดในสังกัด
คณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุง
เป็นที่คุ้นเคยในหมู่ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวจีนจาก
ต่างประเทศ นักแสวงบุญมักมาขอพรเพื่อสิริมงคล 
สะเดาะเคราะห์สำหรับผู้ที่เกิดปีชงในแต่ละปี
วัดนี้ บางคนเรียกว่า "วัดมังกร" เพราะคำว่า "เล่ง" หรือ 
"เล้ง" ในภาษาจีนแต้จิ๋ว แปลว่ามังกร (คำว่า “เน่ย” แปล
ว่า ดอกบัวและคำว่า “ยี่” แปลว่า วัด) ชื่อวัดอย่างเป็น
ทางการคือ "วัดมังกรกมลาวาส" พระราชทานจาก
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 
16 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 130
วัดนี้ก่อตั้ง เมื่อปี พ.ศ. 2414 ใช้เวลาก่อสร้าง 8 ปีกว่า
จะแล้วเสร็จ มีลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบทางจีนตอน
ใต้ของสกุลช่างแต้จิ๋ว โดยวางแปลนตามแบบวัดหลวง คือ 
มีวิหารท้าวจตุโลกบาลเป็นวิหารแรก ตรงกลางเป็นพระ
อุโบสถ ข้างหลังพระอุโบสถเป็นวิหารเทพเจ้า การสร้าง
ใช้ไม้และอิฐเป็นวัสดุสำคัญ
จากประตูทางเข้า เข้าไปจะถึงวิหารท้าวโลกบาลทั้ง 4 
มีเทวรูปเทพเจ้า 4 องค์ (ข้างละ 2 องค์) ในชุดนักรบจีน
และถืออาวุธและสิ่งของต่าง ๆ กัน เช่น พิณ ดาบ ร่ม เจดีย์
 ชาวจีนเรียกว่า "ซี้ไต๋เทียงอ้วง" หมายถึงเทพเจ้าที่ปกปักษ์
รักษา คุ้มครอง ทิศต่างๆ ทั้ง 4 ทิศ ถัดจากวิหารท้าวจตุ
โลกบาล คือ อุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานของพระประธาน
ของวัด คือ พระโคตมพุทธเจ้า พระอมิตาภพุทธะ 
พระไภษัชยคุรุพุทธะ ทั้งหมด 3 องค์ หรือ "ซำป้อหุกโจ้ว" 
พร้อมพระอรหันต์อีก 18 องค์ หรือที่เรียกว่า 
"จับโป๊ยหล่อหั่ง"
ทางด้านขวามีเทพเจ้าต่าง ๆ หลายองค์ เช่น เทพเจ้า
คุ้มครองดวงชะตา หรือ "ไท้ส่วย เอี๊ยะ" เทพเจ้าแห่งยา
หรือหมอเทวดา "หั่วท้อเซียงซือกง" และที่นิยมไหว้ขอพร
มากคือ เทพเจ้าแห่งโชคลาภ "ไฉ่ซิ้งเอี๊ยะ" เทพเจ้าเฮ่งเจีย 
หรือ "ไต่เสี่ยหุกโจ้ว" พระเมตไตรยโพธิสัตว์หรือ "ปู๊กุ่ยหุก
โจ้ว"ซึ่งคล้ายกับพระมหากัจจายนะ "กวนอิมผู่สัก" 
(หรือพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์) "แป๊ะกง" และ "แป๊ะม่า" 
รวมเทพเจ้าในวัด จะมีทั้งหมด 58 องค์

อานิสงส์การให้ทาน

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
อานิสงส์การให้ทาน
ในกินททสูตร สัง. สคาถ. ข้อ ๑๓๘ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
การให้ข้าวและน้ำ ชื่อว่าให้กำลัง
การให้ผ้า เครื่องนุ่งห่ม ชื่อว่าให้ผิวพรรณ
การให้ยานพาหนะ ชื่อว่าให้ความสุขทั้งกายและใจ
การให้ประทีบดวงไฟ ชื่อว่าให้ดวงตา
การให้ที่อยู่อาศัย ชื่อว่าให้ทุกอย่าง คือให้กำลัง ให้ผิวพรรณ ให้ความสุขและให้ดวงตา
แต่การพร่ำสอนธรรม คือการให้ธรรมะ ชื่อว่าให้สิ่งที่ไม่ตาย เพราะบุคคลจะพ้นจากความตาย ไม่ต้องเกิดอีกได้ ก็เพราะอาศัยการได้สดับตรับฟังธรรม ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า การให้ธรรมะชนะการให้ (สิ่งอื่น) 

พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพญาช้างหัตถี

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพญาช้างหัตถี
พระพุทธเจ้าเล่านิทาน.
"หัตถีชาดก - พญาช้างสละชีวิตเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น"
เมื่อครั้งพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพญาช้าง(หัตถี) อาศัยอยู่ในป่าแห่งหนึ่งใกล้กับทะเลทราย วันหนึ่งเขาได้ยินเสียงร้องคร่ำครวญ พญาช้างได้มาพบผู้คนจำนวนมาก จึงถามว่า เหตุใดจึงได้เดินทางมาถึงทะเลทรายแห่งนี้ได้ พวกเขาจึงได้เล่าว่าถูกกษัตริย์เนรเทศออกมาจากบ้านเมืองของเขา เดินทางกันมา 1,000 คน ตอนนี้เหลืออยู่ 700 คน แต่ละคนไม่ได้ดื่มน้ำหรือได้กินอาหารกันมาหลายวัน หลายคนกำลังจะอดตาย 
ผู้คนต่างวิงวอนขอน้ำและอาหารอย่างน่าเวทนาในความทุกข์ พญาช้างโพธิสัตว์ทรงเกิดความสงสาร ด้วยรู้ว่า ไม่มีอาหารใดสำหรับมนุษย์ในทะเลทรายแห่งนี้ จึงกล่าวแก่ผู้ถูกเนรเทศทั้ง 700 คนว่า 
“ ...พวกเจ้าจงเดินไปทางนั้น ใต้หน้าผาแห่งนั้นที่อยู่ใกล้ทะเลสาบ เจ้าจะพบกับซากช้างตายที่เพิ่งตกจากภูเขาลงไปตาย พวกเจ้าจงนำเนื้อของช้างนั้นมากินเพื่อประทังชีวิต จงแล่เนื้อช้างทั้งหมดเพื่อใช้เป็นเสบียงกรังและจงได้นำกระเพาะอาหารของช้างนั้นไปใช้เป็นถุงเก็บน้ำจากทะเลสาบ มันจะพอเพียงสำหรับพวกเจ้าทุกคน ....”
.
“ พวกเจ้าต้องให้สัตย์สัญญาแก่เรา...ต้องกินเนื้อช้างและต้องมีสติ รอดออกไปจากทะเลทรายอันกันดารแห่งนี้...”
ผู้ถูกเนรเทศทั้งหมดต่างดีใจ ถึงจะก็ยังสงสัยคาใจว่าทำไมต้องให้สัตย์สัญญา โดยหารู้ไม่ว่า พญาช้างโพธิสัตว์ที่เดินจากไปนั้น กลับได้มุ่งหน้าขึ้นไปบนยอดเขาสูงและได้กระโดดลงมาสิ้นชีวิตที่ใต้หน้าผาแห่งนั้น เมื่อผู้คนเดินทางมาตามที่พญาช้างแจ้งไว้ ก็ได้มาพบซากของพญาช้าง ต่างก็จำได้ว่าเป็นพญาช้างตัวเดียวกับที่ได้ช่วยชี้ทางให้แก่พวกเขาไว้ 
ทุกคนต่างก็เสียใจ แต่กระนั้นคำสัตย์สัญญาที่พญาช้างได้ขอให้รักษาไว้ พวกเขาจึงได้ตัดสินใจกินเนื้อของพญาช้างนั้นด้วยหัวใจที่ปิติยินดีและเศร้าโศก 
“...พญาช้าง ท่านได้เสียสละชีวิตเพื่อรักษาเราทั้ง 700 ชีวิตไว้ พวกเราขอให้คำสัตย์สัญญาว่า จะขอเสียสละชีวิตเพื่อรักษาผู้อื่นด้วยความเมตตากรุณา อย่างที่ท่านได้กระทำบารมีด้วยชีวิตนี้ไว้...”
----------------------------------
*** “หัตถีชาดก” (Hasti Jātaka) เป็นวรรณกรรมนิทานชาดกที่ไม่ได้อยู่ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาบาลีของฝ่ายเถรวาทที่เริ่มตั้งแต่เอกนิบาต (ekanipāta) ไปจนถึงมหานิบาต (mahānipāta) รวมทั้งสิ้น 547 เรื่อง แต่ไปปรากฏในบทกวีสันสกฤต “ชาดกมาลา” (Jātaka-mālā)  ที่รจนาขึ้นโดยท่าน “อารยศูร” (Ᾱryaśūra)  จำนวน 34 เรื่อง เป็นชาดกเก่าแก่ที่นิยมใช้ในคติพระพุทธศาสนานิกาย “สถวีรวาท” (Sthāvirīya nikāya)  ยุคราชวงศ์คุปตะ-วากาฏกะ (Gupta-Vakataka)  ช่วงพุทธศตวรรษที่ 9 – 12 ในอินเดียเหนือครับ
 .
---------------------------------------------
*** งานศิลปะเรื่องหัตถีชาดกนั้นพบเห็นได้ไม่มากนัก โดยมีภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง มุมตะวันตกเฉียงใต้ (ทางซ้ายมือจากประตูทางเข้า) วิหารถ้ำอชันตาหมายเลข 17 ศิลปะในราชวงศ์วากาฏกะ ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 11  เป็นภาพวาดต่อเนื่อง ด้านบนเป็นตอนที่พญาช้างโพธิสัตว์พบกับกลุ่มผู้ถูกเนรเทศ ส่วนภาพด้านล่างเป็นตอนที่ผู้คนกำลังแล่เนื้อพญาช้างกิน และภาพผู้คนกำลังสรรเสริญในความเสียสละของพญาช้าง
.
ในประเทศไทย พบงานศิลปะเรื่องหัตถีชาดกเพียงแห่งเดียว เป็นภาพปูนปั้น 2 แผ่น ประดับผนังฐานประทักษิณด้านตะวันตกเฉียงใต้พระสถูปจุลประโทนเจดีย์ จังหวัดนครปฐม  อายุในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 12 ที่ถูกสร้างขึ้นตามคติความเชื่อของนิกายมูลสรรวาสสติวาท (สถวีรวาทิน) ที่นิยมใช้เรื่องราว “ชาดกมาลา” และนิทานคติธรรมอย่าง “โพธิสัตวอวทาน” (Bodhisattva-avadāna)  เป็นเครื่องมือสำคัญในการเผยแพร่คติธรรมทางพุทธศาสนาในช่วงต้นวัฒนธรรมทวารวดี แผ่นหนึ่งเป็นตอนที่ผู้ถูกเนรเทศกำลังขอความช่วยเหลือจากพญาช้าง (แตกพังไปแล้ว) และภาพตอนที่เหล่าผู้ถูกเนรเทศกำลังแล่เนื้อพญาช้างกิน ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐมครับ
เครดิต :
วรณัย พงศาชลากร
EJeab Academy
เพราะทุกที่มีเรื่องราวและเรื่องเล่า

พระพุทธรูปที่พระระเบียงพระมหาเจดีย์สี่รัชกาล วัดโพธิ์

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

พระพุทธรูปที่พระระเบียงพระมหาเจดีย์สี่รัชกาล วัดโพธิ์
     
            ในการปฏิสังขรณ์พระอารามได้มีการย้ายพระพุทธรูปเหล่านี้ออก เนื่องจากมีการสร้างพระเจดีย์เพิ่มจึงต้องรื้อพระระเบียงเดิมออก ครั้นสร้างใหม่แล้วพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าให้นำมาประดิษฐานไว้เป็นกลุ่มๆละ ๓ องค์ดังปรากฏในสำเนาศิลาจารึกว่า9
      " พระระเบียงซึ่งล้อมสามด้านนั้นมีเฉลียงเข้าไปภายในหลังคามุงกระเบื้องเคลือบศรีเหลืองเพดาน แลตพานพื้นแดงปิดทองลายแบบเปนลายแย่ง ประดิษถานพระพุทธรูปยืนร้อยสามสิบห้าพระองค์ ซึ่งอัญเชิญย้ายมาแต่เฉลียงพระทังแปดแห่งที่ชำรุดรื้อเสียนั้น ให้ก่อถานปั้นเปนบัวกลุ่มลงรักปิดทองประดับกระจกไว้พระเจ้าถานละสามพระองค์เปนระยะเรียงไป"
      พระพุทธรูปทั้ง ๑๓๕ พระองค์นี้เข้าใจว่ามีมาแต่ครั้งรัชกาลที่ ๑ ครั้นต่อมา พระบาทสมเด็จฯพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯให้อัญเชิญมาประดิษฐานอยู่รอบบริเวณพระมหาเจดีย์สี่รัชกาล ในคราวที่มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่และในคราวเดียวกันนี้ทรงโปรดฯให้มีการปิดทองพระพุทธรูปองค์อื่น ทั่วทั้งพระอารามอีกด้วยฯ

แหล่งข้อมูล📄หนังสือพระพุทธปฏิมาวัดโพธิ์

วัดช้างใหญ่อยุธยา

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
วัดช้างใหญ่ อยุธยา

เป็นวัดที่มีความเกี่ยวข้องกับชาวมอญที่มีความสามารถพิเศษในการเลี้ยงช้างฝึกถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในสมัยกรุงศรีอยุธยา ช้างที่สำคัญคือ เจ้าพระยาไชยยานุภาพระวางสูงสุดที่เจ้าพระยาปราบหงสาวดี

เดิมทีวัดช้างใหญ่มีชื่อเสียงว่าเกี่ยวข้องกับชาวมอญผู้เลี้ยงช้างศึกถวายพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการรักษาเอกราชของชาติ แต่เพิ่งจะมีการค้นพบใหม่ คือพระพุทธรูปอันเป็นศิลปะล้ำค่าหายาก อายุกว่า 600 ปี ที่วัดแห่งนี้เพิ่มขึ้นมาไม่นานมานี้ ด้วยชาวมอญในย่านนี้รับราชการสนองพระเดชพระคุณพระมหากษัตริย์ไทยด้วยการฝึกช้าง อันเป็นความชำนาญพิเศษมาช้านาน กระทั่งหัวหน้าชาวมอญผู้หนึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นจัตุลังคบาทควบคุมช้างศึก และได้เลื่อนยศเป็นทหารเอกแม่ทัพหน้าชนะศึกหลายครั้ง จนได้รับแต่งตั้งเป็นพระยาราชมนู มีตำแหน่งสูงสุดเป็นถึงเจ้าพระยาอัครมหาเสนาธิบดีสมุหกลาโหม โดยมีช้างที่สำคัญคือ เจ้าพระยาไชยยานุภาพ ระวางสูงสุดที่เจ้าพระยาปราบหงสาวดี เป็นช้างพระที่นั่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และเจ้าพระยาปราบไตรจักร เป็นช้างพระที่นั่งของสมเด็จพระเอกาทศรถ ดังนั้น เพื่อเป็นอนุสรณ์แรงกายแรงใจของชาวมอญและความสามารถของพระยาช้าง จึงได้สร้างวัดขึ้นและให้ชื่อว่า วัดช้างใหญ่ โดยจัดสร้างอนุสาวรีย์ช้างศึก เจ้าพระยาปราบหงสาวดี ซึ่งเป็นช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระบรมรูปของพระองค์ให้ประชาชนได้สักการะ และยังได้ชมวิหารหลวงพ่อโต สะท้อนสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังซึ่งวาดตามขนบแบบอยุธยา คือด้านหลังพระประธานวาดภาพพระพุทธเจ้าผจญมาร ส่วนด้านที่มีหน้าต่างปรากฏภาพเทพชุมนุม ส่วนสถานที่สักการะยอดนิยมแห่งใหม่คือพระอุโบสถเก่า ซึ่งเมื่อ พ.ศ. 2554 บรรดาพระและสามเณรกำลังทำความสะอาดองค์พระภายในพระอุโบสถหลังเก่า เพื่อเตรียมจัดงานมหาสงกรานต์ เมื่อเช็ดทำความสะอาดพระพุทธรูปพระบริวารที่ประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระประธาน พบว่าพระพุทธรูปปางมารวิชัยเนื้อปูนปั้น หน้าตัก 20 และ 29 นิ้ว ฝั่งซ้ายขวารวม 8 องค์ ประดิษฐานอยู่บนแท่นสูงราว 50 เซนติเมตร ทุกองค์ยิ้มมากน้อยต่างกันไป แต่ปากทาสีแดงสดทั้ง 8 องค์ สันนิษฐานว่าญาติโยมที่มาทำบุญปิดทองไหว้พระหลวงพ่อโตมาช้านาน คงปิดทองทับปากพระบริวารทั้ง 8 องค์ จึงไม่มีผู้ใดเคยเห็นปากพระพุทธรูปสีแดงนี้มาก่อน อันเป็นศิลปะของชาวมอญหรือพม่า ซึ่งจะนิยมทาปากสีแดงเป็นเอกลักษณ์ คาดว่าพระพุทธรูปทั้ง 8 องค์นี้ มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

แผนนารีพิฆาต

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
“นางอัปสราเมนะกา” แผนนารีพิฆาต ยั่วสวาท ปลุกกำหนัด ตบะแตก
ใน “พาลกัณฑ์” (Bala Kanda) บทแรกแห่ง“มหากาพย์รามายณะ” (Rāmāyaṇa epic) สำนวนของวาลมิกิ (Vālmīki) ได้เล่าเรื่องราวของ “พระมหาฤๅษีวิศวามิตร” (Vishwamitra) หนึ่งในกลุ่มมหาฤๅษีแห่งสวรรค์ทั้ง 7 “สัปตฤๅษี” (Saptarishis) ที่ประกอบด้วย กัศยปะ(Kashap) อตริ (Atri) วศิษฐ์ (Vashistha) เกาตมะ (Gautam) อังคีรส (Angiras) ภรัทวาช (Bhardwaja) และวิศวามิตรผู้เป็นพระอาจารย์ขององค์ศรีรามและองค์ลักษมัณ
แต่เดิมนั้นพระวิศวามิตร เป็นกษัตริย์แห่งกันยากุพชะ พระนามว่า "ราชาวิศวารัส"  ครั้งหนึ่งได้เสด็จประพาสป่าเชิงเขาหิมาลัย ขณะจะเดินทางกลับ ก็ได้รับเชิญจากพระฤๅษี “วสิษฐ์” โอรสแห่งพระวรุณเทพ  ผู้เป็นทั้งเทพฤๅษีและพรหมฤษี บำเพ็ญตบะมานานกว่าหมื่นปี เป็นพระอาจารย์ของเหล่ากษัตริย์ที่ปกครองนครอโยธยา ให้ไปพำนักในอาศรมครับ 
.
เมื่อราชาไปถึงจึงได้พบกับแม่โค “สุรภี” โคสารพัดนึกอันเป็นหนึ่งในสิ่งวิเศษที่กำเนิดขึ้นมาจากการกวนเกษียรสมุทร สามารถเสกสรรอาหารเลิศรสนานาชนิดมาเลี้ยงดูผู้คนและไพร่พลจำนวนมากได้อย่างไม่มีหมดสิ้น
.
ราชาวิศวารัส จึงเกิดความต้องการครอบครองแม่วัวสุรภี จึงเอ่ยขอจากพระฤๅษีวสิษฐ์ โดยเสนอแลกเปลี่ยนกับทรัพย์สมบัติในท้องพระคลังและแผ่นดินของอาณาจักรอย่างละครึ่งหนึ่งเป็นการแลกเปลี่ยน แต่พระฤๅษีวสิษฐ์ไม่ยินยอม ด้วยเพราะแม่โคสุรภีเป็นสิ่งล้ำค่าที่เหล่าทวยเทพประทานให้แก่เหล่านักพรตดาบสมุนีผู้บำเพ็ญตบะ เพื่อจะได้ไม่ต้องใช้เวลาในการออกไปหาอาหาร 
.
ราชาวิศวารัสไม่พอพระทัย จึงสั่งให้ไพร่พลทหารจับตัว “โคนันทินี” ที่เป็นลูกของแม่โคสุรภี แต่แม่โคได้กล่าวเตือนว่า การกระทำอันหักหาญของราชานั้นเป็นการไม่ถูกต้อง และกล่าวแก่พระฤๅษีว่า ฤทธาของพราหมณ์มีมากกว่าฤทธาแห่งกษัตริย์ให้ลองใช้ดู พระฤๅษีวสิษฐ์จึงได้นึกขอเอาไพร่พลเนรมิตนับหมื่นนับแสนไม่มีวันหมดจากแม่โค ออกมาขับไล่กองทัพของพระราชาจนแตกพ่ายอย่างย่อยยับ พระราชาก็ยังไม่ยอมแพ้ พยายามจะใช้ดาบของตนสังหารพระฤๅษี แต่ดาบที่ฟันไปกระทบถูกไม้เท้าพรหมทัณฑ์ของพระมุนี  ได้แตกกระจายด้วยอำนาจแห่งฤทธิ์ตบะ
.
ราชาวิศวารัสที่พ่ายแพ้ จึงประกาศด้วยความแค้นว่า ตนนั้นจะออกบำเพ็ญตบะเพื่อบรรลุสู่ความเป็นพรหมฤๅษี ให้เสมอกับพระฤๅษีวสิษฐ์ และจะกลับมาล้างความอับอายในครั้งนี้ 
.
ราชาวิศวารัส ได้มอบราชสมบัติให้พระราชโอรส แล้วได้ออกบำเพ็ญตบะเพื่อแสวงหาอำนาจฤทธาที่ยิ่งใหญ่ พระองค์บำเพ็ญเพียรบูชาองค์พระศิวะจนสำเร็จเป็นราชฤๅษีสวรรค์ ได้รับศาสตราวุธประทานจากองค์มหาเทพ จึงได้กลับมายังอาศรมของมหาฤๅษีวสิษฐ์อีกครั้ง แต่ก็ยังพ่ายแพ้อำนาจแห่งพรหมฤๅษี จึงออกบำเพ็ญตบะบารมียาวนานนับ 10,000 ปี ทำให้ทั้งโลกได้ความบริสุทธิ์จากผลแห่งตบะ พระพรหมเทพจึงได้ปรากฏขึ้น ประทานความเป็นพรหมฤๅษี  ทัดเทียมเสมอพรหมฤาษีวสิษฐ์ มีพระนามใหม่ว่า "พรหมฤาษีวิศวามิตร" และพระพรหมยังได้ประทานศาสตราวุธ “ศรพรหมาศ” ให้
.
ท้าวตรีศังกุสุริยวงศ์ กษัตริย์นครอโยธยา มีความปรารถนาจะใคร่ได้ขึ้นสวรรค์ทั้งที่ยังเป็นมนุษย์ จึงได้ขอให้พระฤๅษีวสิษฐทำพิธีให้ แต่พระฤๅษีไม่ยอม ท้าวตรีศังกุจึงไปหาเหล่าพราหมณ์ผู้เป็นลูกศิษย์ 100 ตนของพระฤๅษีวสิษฐ ที่บำเพ็ญพรตอยู่ในป่าช่วยทำพิธีให้   แต่พราหมณ์ก็ไม่ยอม ท้าวตรีศังกุทรงพระพิโรธ ใช้วาจาผรุสวาทแก่เหล่าพรามณ์ จนถูกสาปให้เป็นจัณฑาล
.
ท้าวตรีศังกุจึงไปขอพระฤๅษีวิศวามิตรให้ทำพิธีให้ พระฤๅษีได้สั่งให้เหล่าพราหมณ์ทั้งหมดมาร่วมทำพิธี อย่างไม่มีข้อแม้ แต่พราหมณ์มโหทัยและลูกศิษย์ของพระฤๅษีวสิษฐทั้ง 100 ไม่ยอมมา จึงถูกสาปให้ตายลงอย่างฉับพลัน ให้ไปเกิดเป็นพวกมุษฏิกลามก นุ่งผ้าบังสุกุลกินเนื้อหมา 700 ชาติ ส่วนพราหมณ์มโหทัยนั้น ให้เป็นคนป่าที่มีใจดุร้าย กินเนื้อมนุษย์เป็นอาหารตลอดไป 
.
เหล่าพราหมณ์ฤๅษีอื่นๆ ต่างก็พากันเกรงกลัวอำนาจพระฤๅษีวิศวามิตร จึงจำใจยอมเข้าร่วมพิธีส่งท้าวตรีศังกุด้วย แต่กระนั้นเหล่าเทวดาก็ไม่ยอมรับให้ท้าวตรีศังกุขึ้นไปสู่สวรรค์ทั้งเป็น พระอินทราได้ไล่ท้าวตรีศังกุให้ตกลงมาจากฟากฟ้า พระฤๅษีวิศวามิตรก็สั่งให้ลอยขึ้นไป จนค้างอยู่กลางหาว พระฤๅษีวิศวามิตรจึงสร้างดาวสัปตฤกษ์ (ดาวจรเข้) ที่ทิศทักษิณและสร้างดาวอื่นๆ ขึ้นอีกเป็นอันมาก และประกาศว่าจะสร้างพระอินทราขึ้นใหม่อีกหนึ่งองค์  พอเริ่มสร้างเทวดาขึ้นใหม่ บรรดาเทวดา สิทธาและอสูร ต่างพากันร้องวิงวอนพระฤๅษีวิศวามิตรให้หยุดสร้าง  และยอมรับท้าวตรีศังกุขึ้นสู่สวรรค์ แต่ท้าวตรีศังกุนั้นเป็นจัณฑาล ขึ้นสวรรค์ไม่ได้ จึงต้องคงอยู่กลางหาวในท่ามกลางดาวที่สร้างใหม่เท่านั้น
.
--------------------------------------------------------------
*** ในสมัยเรียนมัธยมปลาย อาจารย์ภาษาไทยของผู้เขียน ได้เคยเล่าเรื่องแผนนารีพิฆาตเพื่อทำลายตบะพระฤๅษีวิศวามิตรด้วยการปลุกกำหนัดกามารมณ์โดยนางอัปสราสวรรค์นามว่า “เมนะกา” (Menaka)  ที่มีเนื้อความของบทอัศจรรย์ที่ผู้เขียนเองก็ยังไม่เคยอ่านพบเจอที่ไหนมากว่า 35 ปี จึงขอเขียนมโนขึ้นใหม่จากโครงเรื่องที่พอจดจำได้ครับ 
.
ภายหลังจากพระฤๅษีวิศวามิตร ได้แสดงฤทธาอำนาจของพราหมณ์ผู้ถือพรหมจรรย์ จนเป็นที่หวาดหวั่นของเหล่าเทวดา อีกทั้งพระฤๅษียังคงมุ่งมั่นบำเพ็ญตบะเพื่อแสวงหาฤทธาอำนาจอันร้อนแรง จนโลกเกิดความแห้งแล้วเป็นเวลายาวนาน ผู้คนและสัตว์น้อยใหญ่ต่างล้มตาย หากเป็นเช่นนี้โลกคงพินาศ มีเพียงทางเดียวคือการทำลายตบะญาณด้วยกามารมณ์ พระฤๅษีจะต้องถึงจุดสุดยอดจนน้ำปายะสวัต (Payasvat) หลั่งออกมาจากคุยหฐาน โลกจึงจะกลับมาอุดมสมบูรณ์เช่นเดิม พระอินทร์และเหล่าเทวดาจึงได้ส่งนางอัปสรานามว่าเมนะกา ที่มีความงดงามไม่ด้อยไปกว่านางอัปสรานางใดที่กำเนิดขึ้นจากเกษียรสมุทรพร้อมกัน ลงมาทำลายการบำเพ็ญตบะอันร้อนแรงนี้ แต่กระนั้นพระฤๅษีวิศวามิตรก็ไม่ได้ให้ความสนใจต่อการยั่วยวนใด ๆ ส่วนนางเมนะกาก็ไม่สามารถเข้าไปใกล้ ลูบไล้จับต้องเนื้อตัวเพื่อใช้กายปลุกกำหนัด หากพระฤๅษีไม่ยินยอมให้แตะต้อง นางก็จะร้อนดังไฟเผาผลาญ ก็ได้แต่ถอดเสื้อผ้าอาภรณ์ ร่ายรำเย้ายวนอยู่ได้เฉพาะตรงหน้าเท่านั้น
.
อาจารย์เล่าต่อว่า นางเมนะกาจึงได้เปลี่ยนแผนจากการยั่วสวาทด้วยเรือนร่างเพื่อปลุกกำหนัดกามารมณ์ มาใช้แผนนารีพิฆาต โดยใช้การอ้อนวอนด้วยเหตุผลที่มีความน่าสงสาร นางได้ร้องอย่างเจ็บปวดที่ริมน้ำ แล้วบอกแก่พระฤๅษีว่า นางนั้นเป็นแผลฉีกแยกที่ระหว่างขา เจ็บปวดทรมานเป็นยิ่งนัก จึงขอวอนให้พระฤๅษีช่วยรักษาด้วยการส่งร่างเนื้อเข้าไปขยายภายในให้หายทรมาน ซึ่งแผนการก็เริ่มเข้าเค้า เมื่อพระฤๅษีขอดูแผลแยกที่อยู่ระหว่างง่ามขา ก็ให้ตกใจ ไฉนรอยแยกของแผลประหลาดนี้จึงมีความชื้นแฉะ นางเมนะกาจึงแสร้งว่ามันเจ็บปวดภายในมาก ขอให้ท่านฤๅษีช่วยรักษาด้วยการแหวกเข้าไป
.
เมื่อได้เห็นสิ่งที่อ้างว่าเป็นรอยแผล กำหนัดแห่งกามารมณ์ของพระฤๅษีจึงได้เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติจนคุยหฐานแข็งตัว นางเมนะกาไม่รอช้า  “พระฤๅษีเจ้าขา ได้โปรดเมตตานำความเข้มแข็งของพระองค์ แทรกแหวกเข้าไปรักษาแผลลึกด้านในกายของข้าด้วยเถิด เพราะ...ข้านั้นจับของพระองค์ไม่ได้”
.
เสียงขอร้องที่เย้ายวนประกอบกับภาพของแผลประหลาดจากมารยาของนางเมนะกา ได้ทำให้พระฤๅษีใช้คุยหฐานแทรกเข้าไปกลางแผลที่ชื้นแฉะ ลึกลงไป ๆ จนเกิดเป็นบทอัศจรรย์ น้ำปายะสวัตหลั่งพุ่งเข้าสู่ภายในแผลมารยาอันหฤหรรษ์
.
ในเพลาอันสุดยอดนั้น ฝนห่าใหญ่จึงได้ตกไปทั่วทั้งจักรวาล ความสุขสมบูรณ์ได้กลับคืนมาสู่โลก ส่วนพระฤๅษีวิศวามิตรที่พลาดท่า “ตบะแตก” จึงได้อยู่กินกับนางเมนะกา ตบะอำนาจที่เคยแกร่งกล้าได้ลดลงไปมาก ซึ่งในมหาภารตะ (Mahābhārata Epic) ได้เล่าต่อว่า นางเมนะกาให้กำเนิดบุตรี พระฤๅษีวิศวามิตรเกิดความไม่สบายใจ จึงได้สั่งให้นางเมนะกากลับสู่สวรรค์ แล้วได้ออกจากตำบลบุษกรไปยังป่าหิมพานต์เพื่อหาที่สงบตั้งต้นบำเพ็ญตบะญาณครั้งใหม่  นางเมนะกาจึงจำต้องทิ้งกุมารีไว้ในป่า เหล่านกสกุณาต่างมาดูแล จน “พระกัณวะดาบส” (Sage Kanva) ได้ผ่านมา จึงเก็บกุมารีไปเลี้ยง ตั้งชื่อว่า “ศกุนตลา” (Shakuntala) ที่แปลว่า “นางนก” ครับ 
เครดิต :
วรณัย  พงศาชลากร
EJeab Academy
เพราะทุกที่มีเรื่องราวและเรื่องเล่า

พระสองปางในองค์เดียวกัน

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
“พระสองปางในองค์เดียวกัน” พุทธศิลป์ลุ่มเจ้าพระยาในช่วง 100 ปี หลังยุคบายน
ภาพหลังการสิ้นอำนาจทางการเมืองของจักรวรรดิบายนในยุคของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และ พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 พระราชโอรส ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา อิทธิพลของเมืองพระนครในเขตตะวันตกเสื่อมถอยลง พระญาติพระวงศ์ “พระบาทกมรเตง”  ผู้ปกครองดินแดน  “ขอมเจ้าพระยา -รัฐลูกครึ่งเขมร-รามัญ” ทั้ง ศรีจานาศะ- ลโวทยปุระ (หลอหู่) สุวรรณปุระ (เสียน กั๋ว กวั่น) และ ศรีชยเกษมปุรี(ซั่งสุ่ยสูกูตี่ - สุโขทัย) ได้ลดความสัมพันธ์เชิงอำนาจและเศรษฐกิจกับราชสำนักใหม่ในเมืองพระนคร หันไปนิยมงานศิลปะและคติความเชื่อจากฝั่งตะวันตก ผ่านอ่าวเบงกอล พุกาม รามอญ ตะนาวศรี เมืองพันนคร มีพัฒนาการของสังคมและวัฒนธรรม คติความเชื่อ ศิลปะ พุทธศิลป์ เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง  
.
ลูกหลานพระญาติพระวงศ์ทั้งสามกลุ่มรัฐยังคงรักษาความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น มีความเป็นญาติมิตรเกี่ยวดองกัน มีการติดต่อทั้งทางการค้า เศรษฐกิจและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ทั้งสามรัฐยังคงใช้แบบแผนจารีต คติความเชื่อ ศิลปะและภาษาทางการ (เขมร)  จากยุคก่อนหน้าเหมือนกัน  ต่อเนื่องมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 หรือที่เรียกว่า “ยุคหลังบายน” (Post-Bayon Period) ครับ 
.
ในขณะที่ราชสำนักเมืองพระนครหลวงศรียโสธรปุระได้หันกลับไปนิยมศรัทธาตามคติความเชื่อ “ไศวะนิกาย-ปศุปตะ” (Saivism) ฟื้นฟูงานศิลปะฮินดู ในยุคสมัยอันยาวนานของพระเจ้าชัยวรมันที่ 8  ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 พุทธศาสนาสายมหายาน (วัชรยาน -กาลจักรตันตระ) ที่เคยนิยมในราชสำนักสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ถูกลดบทบาทและถูกทำลายล้างจนหายไปจากอาณาจักร แต่ราชสำนักของกลุ่มสามรัฐขอมลุ่มเจ้าพระยาที่เคยนิยมพุทธศาสนาแบบวัชรยานตันตระตามอำนาจเมืองพระนคร ก็ได้แต่เพียงลดความนิยมลง ไม่มีการสร้างรูปเคารพแบบลัทธิโลกเศวร (บูชาพระโพธิสัตว์) คงสืบทอดมาแต่ความนิยมในการสร้างพระพุทธรูปที่มีนาคปรกตามแบบบายนอยู่ช่วงระยะหนึ่งเท่านั้น
.
ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 และพุทธศตวรรษที่ 19  กลุ่มบ้านเมืองในรัฐขอมเจ้าพระยาได้รับอิทธิพลใหม่ ๆ จากภายนอก ทั้งคติความเชื่อและพุทธศิลป์จากอาณาจักรปาละ – เสนะ ในเบงกอล และศิลปะจีน ผ่านมาทางพุกาม ทั้งที่เป็นพุทธศาสนาในคติเถรวาทและคติมหายาน ทั้งยังได้รับอิทธิพลพุทธศาสนาแบบเถรวาทลังกาวงศ์ผ่านรามัญประเทศ (มอญ) มาทางเมืองนครพัน อ่าวเมาะตะมะ เข้ามาผสมผสานกับคติและศิลปะพุทธศาสนาแบบวัชรยานตันตระเดิมจากยุคจักรวรรดิบายน กลายมาเป็นคติความเชื่อและรูปลักษณ์ทางพุทธศิลป์ลูกผสม ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นลุ่มน้ำเจ้าพระยา จนเกิดเป็นพุทธศาสนาในคติเถรวาท (Theravāda – Theravādin) นิกาย “อริยะ” หรือ “อริยารหันตปักขะภิกขุสงฆ์” (Ariyā rahantapakkha bhikkhu sangha) มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองลพบุรี (ละโว้) นิยมเรียกพุทธศิลป์ที่พบในนิกายนี้ว่า “กัมโพชสงฆ์ปักขะ” (Kambojsanghapakkha) ตามความหมายในตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ ที่เรียกเมืองละโว้- ลวะปุระว่ากัมโพชครับ
.
คณะกัมโพชสงฆ์ปักขะเป็นพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ที่ได้รับเอาคติความเชื่อพิธีกรรมและการปฏิบัติธรรมจากนิกายมหายาน (ปาละเสนะ- จีน) วัชรยาน (ตันตระยาน – บายน) และเถรวาทมหาวิหารเดิม (ทวารวดี-มอญ-พุกาม) มาผสมกับขนบแบบแผนทางบาลีของรามัญนิกาย เกิดเป็นงานพุทธศิลป์ที่ความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของยุคหลังบายนก่อนเกิดกรุงศรีอยุธยาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 
.
ในยุคนี้เกิดการปรับเปลี่ยนดัดแปลงงานพุทธศิลป์รุ่นก่อนหน้าครั้งใหญ่ ด้วยเพราะคติเถรวาทจะไม่นิยมสร้างพระนาคปรกแบบศิลปะบายน จึงเกิดการแกะสลักแก้ไขรูปจีวรเดิมให้มีเป็นผ้าสังฆาฏิ เดินเส้นจีวรเฉียงพาดพระอุระ เดินเส้นขอบจีวรที่พระเพลาแบบพระภิกษุ บางรูปเปลี่ยนเครื่องประดับอย่างอุณหิสศิราภรณ์ แก้ไขขมวดพระเกศา เอากุณฑล (ตุ้มหู) ออก บางรูปเอาขนดนาคและนาคปรกด้านหลังออกทั้งหมดครับ
.
พุทธศิลป์หลังบายนคณะกัมโพชสงฆ์ปักขะ นิยมสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์ สวมอุณหิสกระจังรูปกลีบบัวหรือพระพุทธรูปสวมเทริดขนนก (Crowned Buddha) ที่พระกรรณประดับกรรเจียกจอนโค้งลงมาด้านล่าง สายก้านด้านบนสั้นโค้งมาหยุดทำเป็นปลายงอนที่กุณฑล ทิ้งชายเป็นริ้วลงมาที่พระอังสาทั้งสองข้าง นอกจากนั้น กรองศอทับจีวร บนปัทมบัลลังก์ บางรูปมีแผ่นประภาวลี (Altarpiece) ขอบกระหนกเปลวเพลิงเป็นแผ่นหลัง มีธงทิวหรือมีก้านพระศรีมหาโพธิ์อยู่ใต้ฉัตรด้านบน หรือประกอบแผ่นเรือนแก้ว รูปรัตนปราสาทหรือรูปรัตนโพธิบัลลังก์ ซึ่งเป็นพุทธศิลป์ที่ได้รับอิทธิพลมาจากราชวงศ์ปาละเสนะ ผ่านมาทางพุกาม-หริภุญชัย มาตั้งแต่ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 18 แล้ว
.
อีกทั้งยังนิยมสร้างงานประติมากรรมสำริด แบบหมายชิ้นส่วนมาประกอบเดือยเข้าติดกัน ทั้งสถูปเจติยะสำริดขนาดเล็กที่มียอดหม้อบัวตูม-กัลปลตา พระพุทธรูป 3 องค์ (Trinity) มีพระเนตรที่พระนลาฏตามคติวัชรยานตันตระเดิม เทวดาทูนแผงรูปพุทธประวัติ พระพุทธเจ้าไมเตรย พระสมณโคตมในซุ้มเรือนแก้วปรกโพธิ์ โดยยังคงนิยมสร้างพระพุทธรูปตามแบบเดิม อย่างแบบประทับขัดสมาธิราบปางสมาธิ (ธยานะมุทรา) ตามแบบบายน ประทับขัดสมาธิราบปางมารวิชัยตามแบบเถรวาทลังกา ประทับขัดสมาธิราบปางมารวิชัยถือตาลปัตรตามคติรามัญนิกาย ประทับขัดสมาธิราบปางมารวิชัยนาคปรกตามแบบศิลปะบายน ประทับขัดสมาธิราบปางมารวิชัย และพระทรงเครื่องพระจักรพรรดิราชตามแบบศิลปะปาละเสนะและศิลปะจีนครับ
.
ส่วนพระพุทธรูปยืน ก็ยังคงนิยมทำเค้าพระพักตร์เหลี่ยมแบบบายน พระขนงเชื่อมกันเป็นเส้นตรง พระเกศาถัก พระเมาลีแบนรัดด้วยพวงประคำหรือทรงกรวย รัศมีเป็นต่อมกลมหรือลูกแก้ว หรือพระอุษณีษะเป็นฐานรองรับ พระรัศมีทรงกรวยเรียบ ครองจีวรห่มดอง ชายจีวรเป็นแถบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ชายผ้าเป็นแถบใหญ่ ขอบสบงด้านบนคาดด้วยรัดพระองค์เป็นแถบคาดประดับลาย สบงมีแถบพับหน้านางซ้อนตรงกลางแบบเรียบและแบบ ลวดลาย  ทั้งปางประทานอภัยแบบยกพระหัตถ์ขึ้นทั้งสองข้างตามแบบศิลปะบายน และปางประทานอภัย (ห้ามพระญาติ-ห้ามพยาธิ) แบบยกขึ้นพระหัตถ์ขึ้นเพียงข้างเดียว และปางแสดงธรรมพระหัตถ์แสดงวิตรรกะมุทรา  ซึ่งปางทั้งหมดแสดงด้วยพระหัตถ์เพียงข้างเดียว  
.
ในพุทธศิลป์กัมโพชสงฆ์ปักขะนี้ ได้ปรากฏคติความนิยมในการสร้างพุทธศิลป์ที่มีลักษณะ “พระสองปางในองค์เดียวกัน” ตามแบบคติมหายานของฝ่ายปาละที่ส่งอิทธิพลผ่านมาทางพุกาม-หริภุญชัย คือมีการแสดงท่าพระหัตถ์ 2 ปาง ในพระพุทธรูปองค์เดียวกัน อย่างการแสดงท่าปางประทานอภัยที่พระหัตถ์ขวา แต่พระหัตถ์ซ้ายทิ้งลงด้านข้าง หงายแบออกแสดงท่าปางประทานพร หรือ พระหัตถ์ขวาแสดงท่าวิตรรกะมุทรา (แสดงธรรม) พระหัตถ์ซ้ายหงายแบบออกทิ้งลงด้านข้างพระวรกายแสดงปางประทานพร และ พระหัตถ์ขวายกขึ้นแสดงท่าวิตรรกะมุทรา แต่พระหัตถ์ซ้ายทิ้งลงข้างพระวรกายแต่แสดงท่ามือวิตรรกะมุทราเช่นเดียวกันครับ   
.
---------------------
*** พุทธศิลป์พระสองปางในองค์เดียวกันจากเมืองละโว้ คงได้ส่งต่ออิทธิพลเข้าไปยังเมืองพระนคร ดังปรากฏการสร้างพระยืนใหญ่ตามคติรามัญ  “พระจัตุรมุข” วิหารพระยืน 4 ทิศ ที่แสดงท่าปางแสดงธรรม (วิตรรกะมุทรา)ทั้งสองพระหัตถ์ โดยพระหัตถ์ซ้ายทิ้งลงแบหงายออกตามแบบหริภุญชัย ที่ปราสาทพระขรรค์แห่งกำปงสวาย สร้างขึ้นในช่วงกลางถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 19 สมัยของพระเจ้าศรีนทรวรมัน หรือ ศรีนทรชัยวรมัน ผู้เป็นพระโอรสที่ขึ้นเป็นกษัตริย์สืบต่อ เป็นช่วงเวลาที่มีความนิยมในคติพุทธศาสนาแบบเถรวาทขึ้นเป็นครั้งแรกในอาณาจักรเขมรครับ 
เครดิต :
วรณัย  พงศาชลากร
EJeab  Academy
เพราะทุกที่มีเรื่องราวและเรื่องเล่า

วังปารุสกวัน

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
เมื่อ พ.ศ. 2446 (ร.ศ. 122) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระสถิตนิมานกร เจ้ากรมโยธาธิการ ดำเนินการก่อสร้างพระตำหนักขึ้น 2 หลัง ได้แก่พระตำหนักสวนจิตรลดา และพระตำหนักสวนปารุสกวัน ในเขตวังปารุสกวัน เพื่อเตรียมไว้ให้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร และจอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ขณะดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมขุนพิษณุโลกประชานาถ ซึ่งทั้งสองพระองค์ทรงจบการศึกษาจากประเทศในยุโรปและกำลังจะเสด็จนิวัติพระนคร
โดยทรงพระราชทานพระตำหนักสวนจิตรลดาแด่พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวิชราวุธ ส่วนพระตำหนักสวนปารุสกวันทรงพระราชทานแด่จอมพลสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ทรงย้ายไปประทับที่พระราชวังดุสิต ทรงพระราชทานตำหนักสวนจิตรลดาแลกเปลี่ยนกับที่บริเวณท่าวาสุกรีของจอมพลสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ และโปรดฯ ให้รวมตำหนักทั้งสองเข้าด้วยกันและรื้อกำแพงที่คั่นกลางออก ส่วนกำแพงที่สร้างใหม่ ทรงให้ประทับรูปจักรและรูปกระบอกซึ่งเป็นตราประจำพระองค์ของจอมพลสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถไว้ที่ประตูกำแพง

ชื่อวังปารุสกวัน ได้มาจากชื่อสวนของพระอินทร์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มี 4 แห่งคือ สวนมิสกวัน สวนปารุสกวัน สวนจิตรลดาวัน และสวนนันทวัน

เมื่อสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสด็จทิวงคต เมื่อ พ.ศ. 2463 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระราชอำนาจตามกฎหมายระงับพินัยกรรมของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ที่ทรงระบุให้ยกทรัพย์สินทั้งหมดแก่หม่อมเจ้าหญิงชวลิตโอภาสชายาพระองค์ใหม่ โดยมีพระบรมราชโองการให้โอนวังปารุสกวันกลับคืนเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ลักษณะพระตำหนัก
พระตำหนักสวนจิตรลดา และพระตำหนักสวนปารุสกวัน สร้างโดยใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมคลาสสิก นายเปโรเลวี (BEYROLEYVI) สถาปนิกชาวอิตาเลียนเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง

พระตำหนักสวนจิตรลดา (พระตำหนักหลังเหนือ) เป็นพระตำหนัก 2 ชั้น ก่ออิฐฉาบปูน ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบตะวันตกมีลวดลายปูนปั้นประดับอย่างวิจิตร ชั้นล่างประกอบด้วยห้องต่าง ๆ ที่สำคัญคือ ห้องโถงใหญ่ซึ่งคงใช้เป็นท้องพระโรงในสมัยก่อน มีการตกแต่งฝา ประดับด้วยไม้จำหลักลายงดงาม ส่วนชั้นบนปีกด้านใต้เป็นห้องชุดประกอบด้วยห้องบรรทม ห้องทรงพระอักษร หรือห้องรับรองแขกส่วนพระองค์ ห้องแต่งพระองค์ และห้องสรง ห้องชุดดังกล่าวมีการตกแต่งลวดลายบัวที่ฝา ฝ้าเพดาน บานประตูและกรอบประตูอย่างงดงาม

พระตำหนักสวนปารุสกวัน (พระตำหนักหลังใต้) เดิมเป็นตึก 2 ชั้น ก่ออิฐฉาบปูน ลักษณะเป็นตำหนักแบบตะวันตก ต่อมาได้ต่อเติมเป็น 3 ชั้น โดยชั้นที่สามเป็นห้องชุด ประกอบด้วยห้องบรรทม ห้องแต่งพระองค์ และห้องสรง ห้องพระและห้องพระบรมอัฐิ ส่วนชั้นที่สองเป็นห้องพระชายา ลักษณะเป็นห้องชุดประกอบด้วย ห้องนอน ห้องแต่งตัว ห้องน้ำ และห้องนั่งเล่นส่วนตัวของพระชายา ต่อมาได้มีการดัดแปลงเฉลียงกั้นเป็นห้องทรงพระอักษรของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ชั้นล่างเป็นห้องรับแขกและห้องพักผ่อน ประกอบด้วยห้องโถงใหญ่ใช้เป็นท้องพระโรง ห้องรับแขกส่วนพระองค์ และของพระชายา ห้องเสวย มีเฉลียงใหญ่สำหรับพักผ่อนและเล่นกีฬาในร่ม และยังมีห้องชุดสำหรับรับแขกด้วย

พระตำหนักทั้งสองมีมุขเทียบรถ ที่เป็นลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมยุคนั้น เนื่องจากเริ่มมีการใช้รถเป็นพาหนะแล้ว ซุ้มพระแกลชั้นบน เน้นด้วยลายปูนปั้นแบบตะวันตก ชั้นล่างเน้นด้วยลายรูปโค้ง ลวดลายคล้ายกับพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต สันนิษฐานว่าสร้างในเวลาใกล้เคียงกัน บานพระแกลไม่ได้เป็นกระจกแต่เป็นบานเกล็ดไม้ ตอนล่างเปิดเป็นบานกระทุ้งได้ ตอนบนเป็นช่องแสงไม้ฉลุลายทุกบาน

ความสำคัญ
วังปารุสกวันหลังการเสด็จทิวงคต

ปี พ.ศ. 2463 – 2464 หลังจากที่จอมพลสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถเสด็จทิวงคตเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2463 ณ ประเทศสิงคโปร์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้ใช้วังปารุสกวันเป็นที่รับรองแขกเมืองที่สำคัญ ๆ หลายครั้ง รวมทั้งได้ซ่อมแซมวังปารุสกวัน เพื่อประกอบพิธีพระราชทานพระสุพรรณบัตรสถาปนาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ ขึ้นเป็นพระนางเธอลักษมีลาวัณ เมื่อปี พ.ศ. 2464 (พระนามเดิม หม่อมเจ้าหญิงวรรณพิมล วรวรรณ พระธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงษ์)

ระหว่างปี พ.ศ. 2470 – 2475 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมพระตำหนักปรับปรุงสวนบริเวณวังปารุสกวัน และซื้อเครื่องเรือน รวมทั้งพรมที่ใช้ปูพระตำหนักทุกห้องจากต่างประเทศเพื่อให้เป็นที่ประทับของดุ๊กเดอบรามังค์มกุฎราชกุมารเบลเยี่ยมและพระชายา และเป็นที่รับรอง ฯพณฯ ปอล เรโนด์ เสนาบดีว่าการเมืองขึ้นของฝรั่งเศส

วังปารุสกวันหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

หลังจากที่คณะราษฎรได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 แล้ว ปรากฏว่าวังปารุสกวันได้ใช้เป็นสถานที่ราชการและที่พักของบุคคลสำคัญตลอดมา เช่น

วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้วังปารุสกวันเป็นสถานที่ทำการและที่พัก โดยการปรับปรุงและดัดแปลงพระตำหนักจิตรลดาเป็นสถานที่อยู่ของคณะราษฎร และใช้ตำหนักปารุสกวันเป็นที่อยู่ของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา (นามเดิม ก้อน หุตะสิงห์) ประธานคณะกรรมการราษฎร กับเป็นที่ทำการและที่ประชุมของคณะกรรมการราษฎร

วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้ประกาศในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ให้นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ซึ่งพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้พำนักอยู่ในวังปารุสกวันสืบต่อไปจนตลอดชีพ ทั้งนี้เพื่อเป็นเกียรติสำหรับรัฐบุรุษผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ และดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาของนายพันเอกหลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีคนใหม่ พระยาพหลพลหยุหเสนา ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490

พ.ศ. 2490 – 2501 กรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้รับพระบรมราชานุญาต ให้ใช้วังปารุสกวันเป็นสถานที่ทำงานและเมื่อได้ส่งมอบสถานที่คืนแล้ว สำนักพระราชวังได้จัดเจ้าหน้าที่มาประจำคอยดูแล และได้ใช้เป็นที่รับแขกของรัฐบาลเป็นครั้งคราว

ต่อมานายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ได้ทำหนังสือขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตขอใช้พระตำหนักปารุสกวัน (ตึก 3 ชั้น) เป็นสถานที่พักของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เข้ามาประชุมรัฐสภา โดยให้เหตุผลว่าเพื่อเป็นเกียรติแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเรื่องที่พักของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

พ.ศ. 2492 คณะกรรมการเศรษฐกิจเอเซียและตะวันออกไกล (ECAFE) ได้ขอใช้ตำหนักปารุสกวันเป็นที่ทำงานเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2492 สำนักพระราชวังได้นำความเรียนคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งคณะผู้สำเร็จราชการได้มีมติอนุญาตให้ใช้ได้ ต่อมา ECAFE ได้ขอดัดแปลงแก้ไขพระตำหนักปารุสกวัน หรือที่เรียกว่า ตึกพลเรือนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้พอ สำนักพระราชวังได้มอบให้กรมศิลปากรส่งเจ้าหน้าที่มาร่วมพิจารณาการดัดแปลงแก้ไขพระตำหนักด้วย

พ.ศ. 2495 หน่วยงาน ECAFE ได้ย้ายสถานที่ทำงานไปอยู่ที่อื่น สภาเศรษฐกิจแห่งชาติได้เตรียมที่จะขอเข้ามาใช้สถานที่แทน หากแต่คณะรัฐมนตรีโดยการอนุมัติของ จอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้มอบพระตำหนักปารุสกวันให้กรมตำรวจใช้ราชการ และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495

ปัจจุบันตำหนักปารุสกวันเป็นที่ทำการของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ส่วนตำหนักจิตรลดาเป็นที่ทำการของกองบัญชาการตำรวจนครบาล และพิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน

อ้างอิง
บุญชัย ใจเย็น. 15 พระราชวังสำคัญในเมืองไทย. กรุงเทพฯ: ปราชญ์,2554, หน้า 61-63.
บุญรักษ์ นาครัตน์ และปัทมาวดี ทัศนาญชลี. วังปารุสกวัน. กรุงเทพฯ: สำนักข่าวกรองแห่งชาติ.2539, หน้า 17,24,28 และหน้า 68 – 80.

พาลีสอนน้อง

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
ศิลปะแห่ง “พาลีรบสุครีพ- พาลีสอนน้อง” ความตายเพื่อการรักษาความถูกต้อง
“พาลีรบสุครีพ – พาลีสอนน้อง” เป็นเรื่องราวในวรรณกรรมรามายณะ (Rāmāyaṇa Sanskrit epic) ตอน “กีษกินธากัณฑ์” (Kishkindha Kanda)  ที่ได้นำเอาเรื่องราวมาใช้เป็นเครื่องมือในการสั่งสอนสาธุชนในของการปฏิบัติคุณความดี โดยการสอดแทรกปรัชญาและตัวอย่างผ่านเนื้อหาเรื่องราวของ “พญาวานรพาลี” (Vaali - Vali) และ “สุครีพ” (Sugriva) วานร (Vānara ) สองพี่น้อง ในงานศิลปะหลายยุคสมัย

การต่อสู้ระหว่างพี่น้องพญาวานร หรือ “ศึกสองพญาวานร” ในรามายณะ ฉบับวาลมิกิ (Vālmīki) เล่าว่าองค์รามได้กระทำสัตย์สัญญาต่อหน้าไฟที่จะช่วยสุครีพสังหารพาลี จากความบาดหมางเรื่องอสูรควาย “ทุนทุพะ” (Dundub) เพื่อชิงเมืองกีษกินธ์คืนให้กับสุครีพ โดยสุครีพจะมอบกองทัพวานรไปรบกับ “ท้าวราพณ์” หรือ “ราวณะ” (Ravana) ที่ชิงตัวนางสีดาไปครับ
.
แตกต่างต่างจากวรรณกรรม “รามเกียรติ์” (Ramakian)  ที่เล่าถึงเหตุของการต่อสู้ ว่าเกิดขึ้นจากการไม่รักษาสัตย์สัญญาในครั้งที่พญาพาลีได้เอา “เทวีดารา” ที่เป็นรางวัลของสุครีพในคราวกู้เขาพระสุเมรุไปครอบครองไว้เอง แต่กระนั้น เหล่าทวยเทพก็ได้เคยกำชับแก่พาลีไว้แล้วว่า “หากเจ้าแย่งชิงเอารางวัลของน้องรักของเจ้าไปครอบครองด้วยกิเลสราคะเสียเอง เจ้าจะตายด้วยศรแห่งพระวิษณุ” 
.
ความผิดใจกันระหว่างพี่น้องก็ยังไม่เกิดขึ้น จนเมื่อพาลีเข้าใจผิดคิดว่าสุครีพหักหลังตน ในครั้งที่ปราบควายทรพี ที่สุครีพเอาหินปิดถ้ำแก้วสุรกานต์ด้วยเพราะน้ำฝนเจือสีเลือดจนจาง พาให้สุครีพคิดว่าพาลีเสียทีแก่ทรพีไปแล้ว จึงขับไล่ออกจากเมืองขีดขินนครครับ
.
ศึกสายเลือดพญาลิงจึงเกิดขึ้น สุครีพมาพบพระรามผู้เป็นอวตารแห่งองค์พระวิษณุและได้ขอให้พระรามคืนความเป็นธรรมให้กับตน ทั้งสองพญาลิงเข้าต่อสู้กันหลายครั้ง แต่พาลีผู้มีฤทธาอำนาจจากพรแห่งพระศิวะ “หากต่อสู้กับผู้ใด ผู้นั้นจะสิ้นพลังไปกึ่งหนึ่งและพลังนั้นจะมาอยู่ที่เจ้า” พาลีจึงเป็นพญาลิงที่ไม่เคยพ่ายแพ้แก่ใคร แม้แต่ท้าวทศกัณฐ์ผู้ยิ่งใหญ่ก็ยังกลายเป็นของเล่นของพาลีหลายครั้งหลายคราว ที่น่าเจ็บใจที่สุดก็คงเป็นตอนที่พาลีชิงนางมณโฑไปเชยชมจนมีลูกคนแรก (องคต - Angada) ไปก่อน
.
ในรามายณะ องค์รามไม่ได้ต้องการสังหารพาลี แต่สุครีพได้ยกคำสัญญาที่องค์รามได้ให้ไว้ องค์รามจึงยิงศรสังหารแค่ “เท่าเส้นผมผ่าเจ็ด”แต่พญาพาลีได้ขอตายเพื่อไถ่โทษที่เข้าใจผิดในตัวสุครีพและแย่งชิงนางรูมา (Rumā)  มเหสีของสุครีพมาเป็นของตนอย่างไม่ถูกต้อง โดยได้มอบคำสอนแก่สุครีพน้องและทูลขอโทษ องค์รามจึงได้ประทานพรให้พญาพาลีไปเกิดบนสวรรค์ครับ
.
แตกต่างจากรามเกียรติ์ที่เล่าถึงการต่อสู้ของมหาวานรทั้งสองจบลงด้วยการช่วยเหลือขององค์ราม แต่ลูกศรพรหมมาสตร์ของพระรามนั้นก็ไม่อาจทำร้ายพาลีได้ แต่ด้วยเพราะพาลีได้เห็นภาพอวตารขององค์พระวิษณุในพระราม จึงได้เกิดสำนึกถึงความไม่ถูกต้องที่ตนได้แย่งนางดาราเทวีจากสุครีพน้องของตนมาครอบครองไว้เอง
.
“ ....พระรามเจ้าข้า หาใช่ว่าลูกศรอันทรงอานุภาพของพระองค์จะปักเข้าเพียงผิวกายของข้าได้โดยง่าย แต่ลูกศรของพระองค์นั้น ได้ย้ำเตือนในสิ่งที่ข้าได้กระทำผิดพลาดในอดีตมาทั้งหมด ซึ่งจะชำระล้างด้วยลูกศรแห่งพระวิษณุเจ้าอันยิ่งใหญ่เท่านั้น
.
...ข้าจึงรำลึกได้ ถึงคำสัตย์ของข้าได้ถวายไว้แด่องค์ศิวะเจ้าและทวยเทพ หากข้าแย่งชิงเอารางวัลของน้องรักมาครอบครองด้วยกิเลสราคะ ก็ขอให้ตายด้วยศรพระวิษณุเจ้าเถิด... และข้าก็ได้กระทำผิดคำสัตย์นั้น...”
.
เมื่อพระรามเห็นว่า พญาพาลีได้สำนึกผิดด้วยความจริงใจจึงหวังจะรักษาไว้ โดยแนะนำว่า ให้เอาหัวศรสะกิดเป็นแผลเล็ก ๆ ให้พอเลือดไหลเท่าปลายเส้นผม ความผิดก็จะหายไป แต่พญาพาลีมิยินยอม
.
“พระราม อวตารแห่งพระวิษณุเจ้าข้า ถึงแม้แผลจากลูกศรของพระองค์จะเกิดขึ้นเพียงน้อยนิด แต่มันจะเป็นรอยแผลของตราบาปที่จะฝังลึกในใจของข้าไปตลอดกาล ข้าจึงขอเลือกล้างความผิดด้วยความตายเสียดีกว่าจะมีชีวิตอยู่ ...”
.
แล้วพญาพาลีก็ได้เรียกสุครีพเข้ามาสั่งเสีย สอนน้องให้จงรักภักดีต่อพระราม
.
“...สุครีพน้องรักของข้า ขอให้เจ้าจงเป็นข้ารองพระบาทให้เหนือเกล้า รับใช้พระรามผู้เป็นพระอวตารด้วยความจงรักภักดียิ่งชีวิต สิ่งใดที่ข้าได้เคยล่วงเกินเจ้าไว้นั้น ขอเจ้าได้โปรดให้อภัยในความผิดพลาดของข้าที่ได้กระทำต่ำช้าแก่เจ้า น้องรักของข้า...
.
....พระรามเจ้าข้า โปรดได้รับน้องข้าและเหล่าราษฎรแห่งนครขีดขีน ไว้ใต้เบื้องพระยุคลบาทด้วยพระเมตตาด้วยเถิด...”
.
พญาพาลีสั่งเสียแก่สุครีพด้วยความอ่อนโยน ดั่งเมื่อครั้งในอดีตที่ทั้งสองได้เคยร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา น้ำตาของทั้งสองพี่น้องวารนรยิ่งไหลนอง
.
เมื่อสิ้นคำสั่งเสียอันยิ่งใหญ่ พาลีได้จับลูกศรปักย้ำเข้าไปในอกของตนเอง จนสิ้นใจกลับคืนไปเกิดเป็นเทพบุตรพาลีบนสรวงสวรรค์แห่งองค์พระอิศวร
.
“...ความตายของข้า จะเป็นการรักษาความถูกต้องให้คงอยู่คู่โลกตลอดกาล”
.
ในรามเกียรติ์เล่าว่า สุครีพได้ขึ้นปกครองเมืองขีดขินแทนพญาพาลี รับนางดาราเป็นมเหสี ตั้งองคตเป็นพระยุพราช พร้อมกับจัดงานพิธีถวายพระเพลิงศพให้แกพญาพาลีอย่างสมเกียรติ โดยพระรามได้พระราชทานศรอัคนิวาตเพื่อทำการปลงศพพญาพาลี ไปสู่สรวงสวรรค์ครับ 
ส่วนรามายณะเล่าว่า เมื่อพญาสุครีพได้ปกครองเมืองกีษกินธ์ก็เกิดลืมตัว มัวเพลิดเพลินอยู่กับการเสวยสุข องค์ลักษมัณจึงเดินทางมาหมายทำลายนครวานรทิ้งเสีย แต่นางดาราเทวีผู้เป็นชายาได้ขอให้พญาสุครีพทำตามคำสัญญา
ภาพศิลปะจากเรื่องราวศึกสองพญาวานร ใน“กีษกินธากัณฑ์” จึงถูกนำมาใช้เล่าขานเป็นคติธรรมคำสอนแก่ผู้คนตามแบบจารีตของฮินดู ทั้งในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รับอิทธิพลทางวรรณกรรมและความเชื่อกันมาอย่างกว้างขวางครับ
เครดิต:
วรณัย พงศาชลากร
EJeab Academy
เพราะทุกที่มีเรื่องราวและเรื่องเล่า
..............................................
พาลีสอนน้อง(ย่อ)
ในวรรณคดีเรื่อง “รามเกียรติ์” นอกเหนือไปจากหนุมาน  พญาลิงเผือกซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว  ยังลิงอีกตัวหนึ่งที่ถูกกล่าวขวัญถึงอยู่เสมอ  นั่นคือพาลี ผู้ครองนครขีดขิน  พาลีนี้เป็นลูกของพระอินทร์กับนางกาลอัจนา เดิมมีกำเนิดเป็นคน แต่เพราะถูกฤาษีโคดม  สามีของแม่จับได้ว่าเป็นลูกชู้เลยถูกสาปให้เป็นลิง เช่นเดียวกับสุครีพ ที่เป็นลูกของพระอาทิตย์  (ชู้อีกคนของแม่) ทั้งคู่มีศักดิ์เป็นน้าของหนุมาน เพราะเป็นน้องชายของ นางสวาหะ แม่หนุมานที่เป็นพี่สาวร่วมแม่ แต่ต่างพ่อกัน โดยนางสวาหะเป็นลูกสาวแท้ๆของฤาษีโคดมและเป็นลูกคนแรกของนางกาลอัจนา  ลักษณะของพาลี    เป็นลิงที่มีกายสีเขียวส่วนสุครีพมีกาย  สีแดง ทั้งสองเมื่อถูกสาปก็ซัดเซพเนจรอยู่ในป่า พระอินทร์พระอาทิตย์ผู้พ่อ เกิดความสงสารลูกตัวจึงได้สร้างเมืองที่ชื่อว่าขีดขิน  ให้ลูกไปอยู่ โดยพาลีมีชื่อเดิมที่พ่อตั้งให้ว่า “พระยากากาศ” เป็นเจ้าเมือง   ส่วนสุครีพน้องชายให้ดำรงตำแหน่งเป็นมหาอุปราช                                                                                                                  

    พาลีเป็นลิงที่ทั้งเจ้าชู้และเจ้าอารมณ์ไม่น้อย เพราะเมื่อทศกัณฑ์พานางมณโฑเหาะผ่านมา พาลีก็ไปแย่งชิงมาเป็นเมีย ต่อมาสุครีพได้ทำความดีความชอบโดยช่วยยกเขาพระสุเมรุที่ทรุดเอียงให้ตั้งตรงใหม่ได้ พระอิศวรก็เลยปูนบำเหน็จฝากผอบแก้ว (ที่มีนางฟ้าดาราอยู่ข้างใน)  ให้พาลีเอาไปให้สุครีพซึ่งไม่ได้มาด้วย ส่วนพาลีในฐานะพี่และเจ้านายก็ได้ชื่อใหม่ว่า “พาลีธิราช”  พร้อมทั้งได้ตรีเพชรเป็นอาวุธ และพรที่ว่าหากสู้กับใคร ก็จะได้พลังของฝ่ายนั้นมาอีกครึ่งหนึ่ง แต่กระนั้น เมื่อพาลีเปิดผอบ เห็นนางดาราก็เกิดอาการ หลงรักแล้วยึดนางเป็นเมียทันที สุครีพก็พูดไม่ออก  ครั้นต่อมาทรพี ควายโหด  ฆ่าทรพาผู้พ่อได้ ก็เกิดอาการฮึกเหิมท้ารบไปทั่ว จนมาเจอกับพาลี ก็ไปสู้กันในถ้ำ ปรากฏว่าพาลีชนะ แต่บังเอิญฝนตกทำให้เลือดทรพีที่ไหลออกมาเจือจางเป็นสีใส สุครีพเข้าใจผิดคิดว่าพี่ตาย ก็ทำตามคำสั่งคือให้ปิดถ้ำ พอพาลีออกจากถ้ำได้ก็โกรธ คิดว่าน้องทรยศ จึงขับไล่ออกจากเมืองไป                                                                     

        ครั้นต่อมาเมื่อหนุมานได้ไปรับใช้พระราม ก็มาชักชวนสุครีพน้าชายให้มารับราชการกับพระรามด้วย สุครีพก็เลยแนะว่า หากต้องการกำลังพลไปสู้กับทศกัณฑ์ต้องไปฆ่าพาลีเพื่อยึดเอาเมืองขีดขินมา พระรามก็ต่อว่าสุครีพว่าเป็นน้องชายคิดฆ่าพี่ชายได้อย่างไร สุครีพก็เลยท้าวความว่าที่ฆ่าได้เพราะพาลีผิดคำสาบานที่เอานางดารามาเป็นเมีย แทนที่จะนำมาให้ตน ดังนั้น จึงต้องตายด้วยศรของพระรามตามคำสัตย์ที่ให้ไว้กับพระนารายณ์ตอนรับผอบมา พาลีเมื่อต้องศรพระรามก็รู้ตัวว่าต้องตายแน่ ก็รู้สึกเสียใจที่ไม่มีโอกาสอยู่ช่วยพระรามปราบยักษ์ ส่วนพระรามเองก็เสียดายความสามารถของพาลี จึงแนะว่าให้เอาเลือดพาลีสักครึ่งหยดๆลงไปบนศรพรหมาสตร์ก็จะพ้นคำสาบานไม่ต้องตาย เพียงแต่จะมีแผลเป็นขนาดเส้นผมผ่าเจ็ดที พาลีคิดแล้วเห็นว่าแม้แผลจะเล็กน้อย แต่ก็ดูเสียศักดิ์ศรี เสียสัตย์สาบาน น่าอับอาย เลยยอมตายดีกว่า ว่าแล้วก็เรียกสุครีพ และองคตลูกชายมาสั่งลา พร้อมกับแนะนำสุครีพถึงการปฏิบัติตนในการรับใช้พระรามและคำสอน
........................


ประเภทเจดีย์

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
เจดีย์ (1)
คำว่า "เจดีย์" มีความหมาย 2 อย่าง
ความหมายที่ 1 แปลว่า
"สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการเคารพบูชา"

ความหมายที่ 2 แปลว่า
"รูปแบบหนึ่งของสถูป"

ในความหมายที่ 1
สิ่งเป็นที่ีตั้งแห่งการเคารพบูชา  ในพระพุทธศาสนาเรียก "พุทธเจดีย์" มี 4 อย่างคือ

1. ธาตุเจดีย์  คือพระธาตุ
2. บริโภคเจดีย์  คือสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้า 
3. ธรรมเจดีย์  คือพระธรรม 
4. อุทเทสิกเจดีย์  คือสิ่งที่สร้างอุทิศพระพุทธเจ้า  

(ขุทฺทก. อ.247)

ธาตุเจดีย์  ได้แก่พระบรมสารีริกธาตุ

บริโภคเจดีย์  ได้แก่สังเวชนียสถาน 4 และต้นพระศรีมหาโพธิ์

ธรรมเจดีย์  ได้แก่พระไตรปิฎกและอรรถกถา

อุทเทสิกเจดีย์  ได้แก่พระพุทธรูป  รอยพระพุทธบาท  พระพุทธฉาย

ภาพ  :  พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย  องค์ "ทิดไสหง" เป็นพระพุทธรูปที่งามที่สุดองค์หนึ่ง  ซึ่งเป็นอุทเทสิกเจดีย์

พระร่วงโรจนฤทธิ์

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
พระร่วงโรจนฤทธิ์ 
 "พระร่วงโรจนฤทธิ์" มีชื่อเต็ม คือ "พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ ธรรโมภาส มหาวชิราวุธ ราชปูชนียบพิตร" ตามประกาศกระแสพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 12 ตุลาคม พุทธศักราช 2466 แต่ประชาชนทั่วไป เรียกขานว่า "หลวงพ่อพระร่วง" หรือ "พระร่วงโรจนฤทธิ์"

เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ทำด้วยทองเหลืองหนัก 100 หาบ ศิลปะสุโขทัย สูง 12 ศอก 4 นิ้ว ประทับยืนบนฐานโลหะทองเหลืองลายบัวคว่ำบัวหงาย ทำวงพระพักตร์ตามยาว พระหนุเสี้ยมนิ้วพระหัตถ์ พระบาทไม่เสมอกัน ห้อยพระหัตถ์ซ้ายลงข้างพระวรกาย แบฝ่าพระหัตถ์ขวายกตั้งขึ้น ยื่นไปข้างหน้า มีพระอุทรพลุ้ย บ่ายพระพักตร์สู่ทิศเหนือ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระยุพราช เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือในปี พ.ศ.2451 ได้ทอดพระเนตรพระพุทธรูปโบราณเป็นอันมาก แต่มีพระพุทธรูปองค์หนึ่งที่เมืองศรีสัชนาลัย กอปรด้วยพระลักษณะงามเป็นที่ต้องพระราชหฤทัย แต่ชำรุดมาก เหลืออยู่แต่พระเศียร พระหัตถ์และพระบาท

จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญลงมากรุงเทพฯ แล้วให้ช่างปั้นสถาปนาขึ้นมาบริบูรณ์เต็มพระองค์ และโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีเททองหล่อ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2456 ณ วัดพระเชตุ พนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ โดยมีผู้ออกแบบ คือ กรมหลวงนเรศร์วรฤทธิ์ (พระองค์เจ้ากฤษฎาภินิหาร)

จากนั้นได้อัญเชิญมาสู่จังหวัดนครปฐม เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2457 ทางรถไฟ ประดิษฐาน ณ พระวิหารด้านทิศเหนือ องค์พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราช วรมหาวิหาร จนถึงปัจจุบัน

เมื่อครั้งอัญเชิญพระร่วงฯ มาประดิษฐานยังองค์พระปฐมเจดีย์ จำเป็นต้องแยกชิ้นมาประกอบเข้าด้วยกัน เสร็จเป็นองค์สมบูรณ์ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2458

หลังจากรัชกาลที่ 6 เสด็จสวรรคต ตามความในพระราชพินัยกรรมของพระองค์ระบุว่า ให้บรรจุพระอังคารของพระองค์ไว้ใต้ฐานพระร่วงฯ ที่องค์พระปฐมเจดีย์ ในวันที่ 31 สิงหาคม 2469 จึงได้ทำพิธีบรรจุพระบรมราชสรีรังคาร ณ ใต้ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ ตามพระราชประสงค์

แม่น้ำชี

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
แม่น้ำชี
แม่น้ำชี เกิดจากที่ราบด้านตะวันออกของเทือกเขาเพชรบูรณ์นับตั้งแต่เขาสันปันน้ำ เขาแปปันน้ำ เขาเสลียงตาถาด เขาอุ้มน้ำ เขายอดชี เขาครอก จนถึงเขาเทวดา ซึ่งเป็นแนวภูเขาชายเขตแดนด้านตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดชัยภูมิ โดยมีสาขาหลัก 5 ลำน้ำซึ่งประกอบไปด้วย ลำน้ำพรม ลำน้ำพอง ลำน้ำเซิน ลำน้ำปาว และลำน้ำยัง แม่น้ำชีถือว่าเป็นแม่น้ำที่มีความยาวมากที่สุดในประเทศไทย ไหลผ่านอำเภอหนองบัวแดง อำเภอบ้านเขว้า อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอจัตุรัส อำเภอเมืองชัยภูมิ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ , อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา อำเภอแวงน้อย อำเภอแวงใหญ่ อำเภอโคกโพธิ์ไชย อำเภอมัญจาคีรี อำเภอชนบท อำเภอบ้านไผ่ อำเภอบ้านแฮด อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น , อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอกันทรวิชัย อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม , อำเภอฆ้องชัย อำเภอกมลาไสย อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ , อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอเชียงขวัญ อำเภอธวัชบุรี อำเภอทุ่งเขาหลวง อำเภออาจสามารถ อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด , อำเภอเมืองยโสธร อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร , อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี , อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ และไหลไปบรรจบกับแม่น้ำมูลที่บ้านวังยาง ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ รอยต่อจังหวัดศรีสะเกษ กับจังหวัดอุบลราชธานี มีความยาวทั้งสิ้น 765 กิโลเมตร

ขอม-ขแมร์ แลเขมร

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
“ขอม” ขแมร์ แล เขมร 
“ชื่อนามดั้งเดิม” (Toponyme) ที่ปรากฏในแต่ละหลักฐานและถูกนำมาใช้กันนั้น ล้วนมีบริบท (context) ของการนำเสนอชื่อนามนั้นแตกต่างไปจากกัน การนำมาใช้ ก็ควรที่จะต้องศึกษาทำความเข้าใจบริบทของหลักฐานที่พบชื่อนามนั้นมาประกอบด้วย ซึ่งชื่อนามของคำว่า “ขอม” ก็ได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง แต่แปลกตรงที่ว่า กลับไม่นำบริบทจากหลักฐานที่พบของคำนั้น มาใช้ประกอบในการอธิบายด้วยในเบื้องต้น คงมีแต่การตีความ สันนิษฐานหรือมโนชื่อนามนั้นไปอย่างไร้ขอบเขต โดยใช้บริบทของความเป็น “โลกทัศน์หรือมุมมองในปัจจุบัน” ของผู้ตีความ มากกว่าจะทำความเข้าในชื่อนามและบริบทของชื่อนามนั้นจากหลักฐานชั้นต้น
ซึ่งชื่อนาม “ขอม” นั้น มี 2 บริบทสำคัญที่ต้องศึกษาจากตัวหลักฐานชั้นต้น ในบริบทแรกต้องทำความเข้าใจก่อนว่า 1. เป็นชื่อนามที่ใช้เรียกตนเอง (ขะแมร์-เขมร ใช้มาตั้งแต่ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 14) หรือ 2. เป็นชื่อนามที่ใช้เรียกผู้อื่น (ขอม) ซึ่งผู้ถูกเรียกไม่ได้ใช้ชื่อนามนี้เรียกตนเอง และ 3. เป็นนามที่ถูกเรียกมาจากอิทธิพลของแดนไกลออกไป (เจินละ) ครับ
บริบทที่ 2 คือการไล่ Timeline เวลามีการบันทึกชื่อนาม “ขอม” โดยนำไปศึกษาร่วมกับประวัติศาสตร์ คติความเชื่อ สังคมและวัฒนธรรมของผู้คนในช่วงเวลาเดียวกันกับหลักฐานที่ปรากฏชื่อนามนั้น โดยไม่เอามาใช้แบบยำข้ามเวลากันอย่างขาดความเข้าใจแบบที่เป็นอยู่   
------------------------------------
*** หลักฐานของชื่อนาม “ขอม” ที่เก่าที่สุดที่พบในประเทศไทย พบใน “จารึกวัดศรีชุม” ที่มีอายุไม่เกินปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ขึ้นไป ระบุชื่อนาม "ขอมสบาดโขลญลำพง" และ" ขอมเรียกพระธม" รวมทั้ง “จารึกปู่ขุนจิตขุนจอด” อายุในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 20  ที่บันทึกว่า “....มหาศักราชได้ 1314  ขอมปีวอก ไทยปีเต่าสัน เดือนสี่ปูณมี ขอมวันพฤหัสบดี ไทยวัน เต่าเม็ด...” ซึ่งเป็นการนับเวลาแบบอาณาจักรเขมร-ขะแมร์ – กัมโพช – กัมพุชเทศะในเวลานั้น
.
ชื่อนาม “ขอม” ในจารึกสุโขทัยเป็นชื่อนามที่ใช้เรียกผู้อื่น ไม่ได้เรียกตนเอง ขอมจึงไม่ใช่คนสุโขทัยหรือคนไท ซึ่งก็ได้มีการตีความจากเสียง “ขอม” ว่ามาจาก “กรอม” ในคำตระกูลไท และคำว่า “กรอม” (Krom) ในภาษาเขมร ที่หมายถึงผู้คนที่อยู่ในต่ำ ด้านล่าง หรือภาคใต้ของรัฐสุโขทัยลงไป ซึ่งก็รวมถึงกลุ่มรัฐในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาไปจนถึงเมืองพระนคร ที่ในพุทธศตวรรษที่ 19 นั้น คือ ผู้คนชาวขะแมร์ – เขมร ยังไม่ได้เป็นผู้คนตระกูลไท
*** คำว่า “ขอม” ที่เก่าแก่ที่สุดจากหลักฐานจารึกสุโขทัย ปลายพุทธศตวรรษที่ 19 จึงหมายความถึงชาวขะแมร์ – เขมรที่ยังคงมีอิทธิพลในเขตทางใต้ของกรุงสุโขทัย  ปรากฏร่องรอยหลักฐานสิ่งก่อสร้างมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 - 19 จากลุ่มรัฐลุ่มเจ้าพระยา แม่กลอง เพชรบุรี ไปจรดเมืองพระนครหลวงทางตะวันออก ยังไม่ได้เป็นลูกครึ่งตระกูลไทเขมรทั้งหมดครับ
----------------------------------
*** ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 20  ชื่อนาม “ขอม” ปรากฏใน “กฎหมายตราสามดวง” ได้กล่าวว่า 
“...อนึ่ง พิริยะหมู่แขก ขอม มอญ พม่า เมง มอญ มสุม แสง จีน จาม ชวา นานาประเทษทังปวง แลเข้ามาเดินยังท้ายสนมก็ดี ทั้งนี้ไอยการขุนสนมห้าม...” 
.
ขอม ในกฎหมายตราสามดวง ใช้แทนความหมายของชาติขะแมร์-เขมรครับ
.
ในช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา ยังปรากฏชื่อนาม “ขอม” ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ฉบับบริติชมิวเซียม ที่บันทึกว่า 
.
“... แล้วให้ขึ้นไปเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระราเมศวรลงมาแต่เมืองลพบุรี ซึ่งกรุณาตรัสว่า “ขอมแปรพักตร์” จะให้ออกไปกระทำเสีย พระราเมศวรได้ฤกษ์ยกพลห้าพันไปถึงกรุงกัมพูชาธิบดีเพลาพลบค่ำ..”  
.
และฉบับ“จุลยุทธการวงศ์” ที่แต่งโดยสมเด็จพระพนรัตน์วัดพระเชตุพนฯ 
.
“ ....สมเด็จพระเจ้าอู่ทองมีพระราชประสงค์จะตีเมืองกัมพูชาจึงโปรดให้หาพระราเมศวราชบุตรซึ่งอยู่ ณ เมืองละโว้เข้าเฝ้าแล้วมีพระราชดำรัสว่า เจ้าผู้เป็นราชบุตรเจ้าจงคุมพลโยธาที่กล้าแข็งให้มาก ยกไปตีเมืองเขมรแปรพักตร์...”
.
ชื่อนาม “ขอม” ในประโยค “ขอมแปรพักตร์” และการยกทัพไปตีกรุงกัมพูชา จึงหมายความถึงชาวขะแมร์ – เขมร ตามการเรียกชื่อนามผู้อื่น (เขมร) ตามแบบสุโขทัยครับ
.
ร่องรอยของการสงครามระหว่างอาณาจักรอยุทธยากับกรุงกัมพูชาธิบดี ในช่วงพุทธศตวรรษที่  20 ในเอกสารของฝ่ายไทย สอดรับกับ “พงศาวดารฉบับนักองค์เอง”ของฝ่ายเขมร ที่บันทึกไว้ว่า กรุงศรีอยุทธยาได้ส่งทูตมา แต่ถูกฝ่ายกัมพูชาฆ่าทิ้ง สมเด็จพระเจ้ารามาธิบดีจึงให้ยกทัพมาตีเมืองพระนคร กองทัพอยุทธยาล้อมเมืองพระนครไว้หนึ่งปีจึงตีเมืองพระนครได้สำเร็จ  กวาดต้อนเชลยกรุงกัมพูชาธิบดีกลับไปยังกรุงศรีอยุทธยา 90,000 คน แล้วได้ส่งพระราชบุตรของพระองค์เองไปปกครองเมืองพระนครแทนที่เจ้าเขมรเดิม
.
*** ในต้นพุทธศตวรรษที่ 20 นี้  เอกสารฝ่ายขะแมร์-เขมร ก็ไม่เคยเรียกตัวเองว่า “ขอม” แต่เป็นชื่อนามที่ฝ่ายอยุทธยาเรียกผู้อื่น (เขมร) ครับ 
------------------------------------
*** ชื่อนาม “ขอม” ยังพบในหลักฐานพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ อายุราวต้นพุทธศตวรรษ 22 ได้บันทึกเหตุการณ์ในสมัยพระนเรศวร ว่า
 “....ศักราช ๙๖๔ ขาลศก (พ.ศ. 2145) เสด็จไปประพาสลพบุรี ...ศักราช ๙๖๕ เถาะศก (พ.ศ. 2146) ทัพพระเจ้าฝ่ายหน้าเสด็จไปเอาเมืองขอมได้...” 
.
*** ความหมายของ “ขอม” ที่พบในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ในพุทธศตวรรษที่ 22 นี้ ยังคงเป็นชื่อนามที่กรุงศรีอยุธยาเรียกผู้อื่น ที่หมายถึงชาวขะแมร์ – เขมรครับ 
.
---------------------------------------
*** มาถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 23  สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ปรากฏชื่อนาม “ขอม” ในหนังสือจินดามณี ความว่า 
.
“....ศักราช ๖๕๕ มะแมศก ปีมแมศก พญาร่วงเจ้าได้เมืองศรีสัชนาไลย แล้วแต่งหนังสือไทย แลแม่อักษรทังหลาย ตามพากยทังปวง อันเจรจาซึ่งกันแลกัน ... แลอนึ่งแม่หนังสือแต่ ก กา ถึง กน ฯลฯ จนถึงเกยนั้น เมืองขอมก็แต่งมีอยู่แล้ว พญาร่วงเจ้าจึงแต่งรูปอักษรไทต่างต่าง แลอักษรขอม คำสิงหลพากยนั้น เดิมมีแต่ดั่งนี้ พระอาจาริยะเจ้าผู้มีปัญญาจะให้วิจารณ จึงแต่งกำกับไว้ดั่งนี้ เพื่อจะให้กลบุตรอันเล่าเรียนพิจารณาเหนแต่เดิมมีแต่แม่อักษรขอมดั่งนี้...” 
*** ความหมายของคำว่า “ขอม” ในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา ยังคงหมายถึง ชาวขะแมร์-เขมร และ อักษรเขมรครับ  
--------------------------------------
*** หลักฐานฝ่ายไทยเริ่มมาใช้ชื่อนาม “เขมร” ร่วมกับคำว่า “ขอม”เป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 3 ปรากฏใน  “จารึกโคลงภาพคนต่างภาษา แผ่นที่ 31” ที่ติดอยู่กับผนังเฉลียง ศาลารายวัดพระเชตุพนฯ แต่งโดยหลวงลิขิตปรีชา อธิบายถึงลักษณะของชนชาติต่าง ๆ  32 ชนชาติ โดยจารึกใช้คำว่า “ภาพเขมร” เป็นหัวเรื่องของบทโคลงที่มีความว่า 
“ขอมขําดําสะดวกแท้    ธรรมดา 
ถือพุทธเพียรตามโอ    วาทไหว้ 
กัมพุชประเทศสิมา    เมืองทิศ บูรพ์พ่อ 
โผอนภพนบน้อมไท้    ถิ่นสยาม ฯ...” 
.
มีความหมายว่า ชนชาติขอม (เขมร) นั้นมีผิวดำ นับถือพุทธศาสนา ประเทศกัมพูชาเป็นเมืองขึ้นของสยาม ชาวเขมรแต่งกายโดยนุ่งผ้าปูม สวมเสื้อสีคราม คาดแพรญวนที่เอว และไว้ผมทรงดอกกระทุ่มครับ 
.
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4  จึงปรากฏชื่อนาม “เขมร” ร่วมกับคำว่า “ขอม” ใน “ประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔ ภาคปกิณณกะ ภาค ๑” ความว่า
.
 “....แผ่นดินเขมรเป็น ๔ ภาค คือส่วนที่โบราณเรียกว่าขอมแปรพักตร์ และจะว่าให้รู้ง่ายอีกอย่างหนึ่ง เขมรไทย คือเขตแขวงตั้งแต่ฝั่งน้ำปะดงข้างตะวันออกไปจนฝั่งข้างตะวันตกของทะเลสาบ ชื่อบ้านเมืองเหล่านี้เป็นชื่อไทยบ้างชื่อเขมรบ้าง เป็นสองชื่อทั้งไทยทั้งเขมรบ้าง อย่างเมืองฉะเชิงเทราเป็นชื่อเขมร เมืองแปดริ้วเป็นชื่อไทย เมืองประจิมเป็นชื่อเขมร เพราะอยู่ทิศตะวันตกของพระนครหลวง เมืองบางคางเป็นชื่อไทย เมืองนครนายกเป็นชื่อสันสกฤตเขมรตั้ง บ้านนาเป็นชื่อไทย ด้วยนัยนี้ ที่ต่างๆ เป็นตลอดไป เป็นชื่อไทยบ้างชื่อเขมรบ้าง คนที่อยู่ในเมืองเหล่านั้น ก็เป็นไทยบ้างเขมรบ้างปนกันมาแต่โบราณจนทุกวันนี้...” 
“...เหมือนอย่างเมืองนครเสียมราฐ ทุกวันเขมรเรียกว่านักกร แต่คำโบราณเขมรเรียกว่าเสียมเงียบบ้าง เสียมเรียบบ้าง ไทยเรียกว่าเสียมราฐ ตามคำเขมรโบราณ ก็คำนั้นแปลว่าเมืองไทยทำปลาแห้ง คือแต่ก่อนเป็นบ้านเมืองไทยทำปลาแห้งขาย อย่างเมืองฉะเชิงเทราที่ไทยเรียกว่าเมืองแปดริ้วนั้น เขมรก็มามีอยู่มากจนทุกวันนี้ ...”
.
“....ในจังหวัดวงเขมรเจือไทยนี้ เมื่อใดไทยมีกำลังมาก ก็ครอบงำออกไปจนหมดบ้างไม่หมดบ้าง เมื่อไรเขมรมีอำนาจขึ้นก็ครอบงำเข้ามาจนถึงเมืองนครนายก เมืองประจิม เมืองฉะเชิงเทรา ที่ไทยเรียกว่าบ้านนา บางคาง แลแปดริ้วนั้นบ้าง ไพร่บ้านพลเมืองสองอย่างปะปนกันอยู่ดังนี้มานาน แต่จังหวัด “ขอมแปรพักตร์” นี้ ได้ตกเป็นของไทยทั้งสิ้นขาดทีเดียว จนเจ้านายฝ่ายเขมรหรือญวนก้ำเกินเข้ามาไม่ได้เลยทั้งสิ้น ตั้งแต่เมืองปัตบอง เมืองนครเสียมราฐเข้ามาดังนี้นั้น ตั้งแต่ต้นพระบรมราชวงศ์นี้ เมื่อปีขาล จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๔๔ ตรงกับคริสตศักราช ๑๗๘๒ นั้นมาจนบัดนี้ ในเขตแขวงแผ่นดินขอมแปรพักตร์ที่ว่ามานี้ ไทยได้ไปตั้งบ้านตั้งเมืองลงใหม่หลายเมือง คือมงคลบุรี ศรีโสภณ วัฒนานคร อรัญญประเทศ ถึงเมืองปัตบอง เมืองเสียมราฐ แต่ก่อนก็ไม่มีป้อมและกำแพง ฝ่ายไทยได้ไปสร้างขึ้นเกือบสามสิบปีมาแล้ว ส่วนนี้เป็นส่วนที่หนึ่ง....”
----------------------------------
*** ชื่อนาม “ขอม” หรือ “กรอม” จึงเป็นคำเรียกผู้อื่นในภาษาตระกูลไท เพื่อใช้เรียกผู้คนที่อยู่อาศัยทางใต้ของรัฐสุโขทัย หรือผู้คนในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 20 นั้น ยังคงเป็นผู้คนเชื้อสายขแมร์และยังคงใช้ภาษาเขียนและพูดในตระกูลเขมรโบราณอยู่ครับ 
จากต้นพุทธศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา บริบททางประวัติศาสตร์ คติความเชื่อ สังคมและวัฒนธรรมของผู้คนในช่วงเวลานั้นเปลี่ยนแปลงไป ผู้คนในกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาตระกูลไทได้ลงมามีอิทธิพลในราชสำนักเดิมของชาวขอมในรัฐละโว้ อาณาจักรลูกครึ่งอย่างกรุงศรีอยุทธยาจึงยังคงใช้คำในตระกูลไทเรียกชาวขะแมร์-เขมรโบราณว่า “ขอม” ตามแบบอักษร-เสียงสุโขทัย ที่หมายถึงชาวเขมรในกรุงกัมพูชาต่อเนื่องมาอย่างชัดเจน
.
ถึงชาวขะแมร์-เขมรโบราณ ในอาณาจักรกัมพุชะเทศะในอดีตจะไม่เคยเรียกตัวเองว่า “ขอม” แต่ชื่อนามนี้ก็เป็นชื่อนามแบบที่คนตระกูลไท ลูกครึ่งในอาณาจักรลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้ใช้เรียกชาวเขมรในประเทศกัมพูชา มาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ครับ
เครดิต :
วรณัย พงศาชลากร
EJeab  Academy
เพราะทุกที่มีเรื่องราวและเรื่องเล่า 

คาถารวย

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
คาถารวย
อุ-อา-กะ-สะ
- อุฏฐานสัมปทาแปลว่า ขยันหา 
- อารักขสัมปทา แปลว่า รักษาทรัพย์ 
- กัลยาณมิตตตาแปลว่า คบคนดี
- สมชีวิตา รู้จักใช้เงินใช้ทองให้เหมาะสมกับฐานะตัวเอง ไม่ฟุ่มไม่เฟือย ให้รู้จักพอ

วิธีแก้ไขเจ้ากรรมนายเวร

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
วิธีแก้ไขเจ้ากรรมนายเวร
ที่ปิดทางโชคลาภ 
การเงินติดขัด
ให้กลับมาได้!

การที่ไม่มีโชคลาภ การเงินติดขัด มีแต่เรื่องเดือดร้อนเรื่องการเงินนั้นมีหลายสาเหตุ ทั้งจากกรรมเก่าและกรรมใหม่

เริ่มจากไม่เคยสร้างบุญทำทานอะไรมาเลย หรือทำทานมาก็หวังผล ทำทานแบบมีกิเลสครอบงำตลอดเวลา บุญที่ได้จากทานนั้นจึงน้อยนิดไม่ส่งผลมากพอที่จะให้เกิดลาภลอย โชคลาภอะไรได้

ถ้ามาจากเจ้ากรรมนายเวร คือ ไปคดโกงคนอื่นเอาไว้ ปิดทางปิดโอกาสคนอื่นให้เจริญก้าวหน้าประเภท”กูไม่ได้มึงก็อย่าได้” หรือ คอยขัดลาภขวางทางคนอื่น และยังมีเรื่องของการดูหมิ่นสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือการไปปรามาสสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วย รวมถึงการเคยไปบนบานศาลกล่าว เมื่อได้สมประสงค์แล้วไม่ไปทำตามที่เอ่ยสัจจะเอาไว้ การไม่เคารพหรือถึงขั้นดูหมิ่นทั้งกาย วาจา ใจ เรื่องนี้มีหลายสาเหตุ

ครูบาอาจารย์ท่านเมตตาสอนไว้ว่า ให้หมั่นทำบุญ ด้วยทาน ศีล ภาวนา แล้วอุทิศให้เขาบ่อยๆ แล้วจะดีเอง ทุกครั้งที่มีการสร้างบุญ ทางที่ดีต้องชวนเจ้ากรรมนายเวรที่เป็นดวงจิตวิญญาณนั้นไปสร้างบุญร่วมกัน หรือมารอโมทนาบุญที่เราอุทิศไปให้นั้นเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะทำให้เจ้ากรรมนายเวรมีบุญมากขึ้น อันเป็นเหตุให้เขาอโหสิกรรมได้ง่ายขึ้น ให้กล่าวตามใบขออสิกรรมในบทก่อนหรือแค่กล่าวว่า 

“ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทุกภพชาติไปร่วมสร้างบุญกุศล และขอให้โปรดเมตตามาร่วมอนุโมทนาบุญ เมื่อท่านยินดีในบุญกุศลนี้ขอเมตตาให้อโหสิกรรมต่อข้าพเจ้าด้วยเทอญ”

ดังที่ย้ำหลายครั้งแล้วว่า เจ้ากรรมนายเวรนั้นที่เป็นดวงจิตวิญญาณไม่มีร่าง เขาจึงสร้างบุญด้วยตัวเองไม่ได้ แต่ทุกดวงจิตวิญญาณนั้น อยากได้บุญกุศลเสมอเพราะจะทำให้ปรับภพภูมิขึ้นไปสู่ภพภูมิที่สบาย สร้างบุญใหม่ที่มาเสริมบุญเก่า เพื่อให้หนุนกรรมดี บุญที่เราสร้างนั้นมีพลังมากพอที่จะทำให้มีโชคลาภ 

ขอให้ทำแบบสม่ำเสมอ ทำเท่าที่จะทำได้และสร้างกรรมใหม่ของตนด้วย อย่างอมืองอเท้า อย่าแค่ตามเคล็ดเพียงอย่างเดียว ต้อง”ทำเหตุให้ตรง” ด้วย คือ ต้องตั้งจิตให้มั่นคงตั้งสัจจะว่าเราจะไม่ยุ่งกับเงินทองของคนอื่น ขอให้ทรัพย์ที่จะได้มานี้มาจากบุญของเรา ขอให้ถูกศีล ถูกธรรม ลงมือทำงานด้วยความเพียร อดทน อดกลั้น ซื่อสัตย์สุจริต แสวงหาความรู้และโอกาสดีๆในชีวิต

สาเหตุจากรรมใหม่นั้นเรารู้ตัวเองอยู่แล้ว ต้องสำรวจตรวจตราตนเอง ทั้งในเรื่องกรรมทางวาจา คือ การพูดจาที่ไม่ดี ที่ไปขวางโชคลาภตัวเอง การชอบไปสัญญาอะไรแล้วไม่ทำตาม เรื่องความโลภ เห็นแก่ตัว การเกียจคร้าน การเข้าใจอะไรผิดๆ เมื่อเข้าใจผิดก็จึงทำอะไรที่ผิดที่ผิดทางไม่ถูกต้อง เราต้องแก้ไขกรรมใหม่เหล่านี้ ยิ่งแก้ไขได้มากก็จะดีมากๆกับตนเอง
เครดิต :
ธ.ธรรมรักษ์


คาถาดับพิษสัตว์

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
คาถาดับพิษสัตว์ 
พระคาถาของหลวงพ่อเดิม
ตั้งนะโม ๓ จบ

พุทธัง กากๆ 
ธรรมมัง กากๆ 
สังฆัง กากๆ

ให้เอาใบมะนาว ๗ ใบเคี้ยวพ่นและทา บริเวณทีโดนพิษ สัตว์กัดต่อย

ถ้ำฤๅษีเขางูราชบุรี

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
ถ้ำฤาษีเขางูราชบุรี
ผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ชื่อว่า Gunkavee Sirisuwanno Sila ได้มีการโพสต์รูปภาพพร้อมทั้งระบุข้อความเอาไว้ว่า “พระปุญณะ พระรูปเเรกของประเทศไทย ทูลเชิญองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมา ณ สถานที่นี้ พระพุทธทรงแสดง เงาพระพุทธเจ้า เพื่อเป็นอนุสรณ์ ครั้งนึงพระองค์เสด็จมา ได้รับคำยืนยันเป็นพระพุทธรูปองค์แรกของประเทศไทย อายุราว 2600 ปี”
ปรางค์พรหมเทศนาธรรม องค์เหนือหัว ร.9 พร้อมสมเด็จย่า อีกทั้งเชื้อพระวงศ์เสด็จการส่วนพระองค์ สถานที่นี้น้อยคนจะรู้ เรื่องราวต้นกำเนิด ศาสนาพุทธ ของประเทศไทย ในดินแดนสุวรรณภูมิเเห่งนี้ ณ วัดราชสิงขร (ถ้ำฤาษีเขางู) จ.ราชบุรี”
สำหรับ ประวัติถ้ำฤๅษีเขางู จ.ราชบุรี กำเนิดศาสนาพุทธ ในประเทศไทย (คัดลอกจากหนังสือตามรอยพระพุทธบาท เล่ม ๑)
ณ ถ้ำแห่งนี้เคยเป็นสถานที่สำคัญมาก่อนคือ เป็นสถานที่ พระปุณณเถระ นำเสด็จ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับและบรรทม เมื่อเดือนอ้าย ขึ้น 10 ค่ำ พุทธพรรษา 22 (หลังตรัสรู้ได้ 22 ปี) (คราวนั้น พระพุทธองค์เสด็จมาโปรดประทานธรรมเทศนาแก่ชาวไทยเป็นเวลา 8 วัน เมื่อเดือนอ้าย ขึ้น 8 ค่ำ ถึง 15 ค่ำ พุทธพรรษา 22 เริ่มที่บ้านแม่กุน พริบพลี คือที่บริเวณ วัดเพชรพลี จ.เพชรบุรี ในปัจจุบันนี้)
เรื่องถ้ำฤาษีเขางูนี้ สมเด็จพระบรมศาสดาได้ทรงพยากรณ์ไว้กับ “พระปุณณเถระ” อีกว่า “คูหาที่ตถาคตอาศัยนี้ ต่อไปจะมีชื่อว่า “ถ้ำฤๅษี” จะมีคนเชื่อถือมาเคารพในวันข้างหน้าและ “พุทธเงา” ในถ้ำนี้ เมื่อคนทำเป็น “พุทธนิมิต” ขึ้น… ”
ฉาย (พุทธเงา) สลักองค์พระพุทธรูปองค์ใหญ่กลางภายในถ้ำ ในพุทธลักษณะประทับนั่งห้อยพระบาทแสดงธรรม ยกพระหัตถ์ขวาวงเป็น ” วงล้อธรรมจักร ” จึงนับว่าเป็น ” พระพุทธรูปไทย ” องค์แรกของประเทศไทย ภายในแกะสลักคือ เงาพระพุทธเจ้าโดยตรง เเต่ถูกแกะสลักทับไว้ เพื่อรักษาเงา และบูรณะตามยุค ตามสมัย ตามกาลเวลา