วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

พระแสงขรรค์ชัยศรี

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
"พระแสงขรรค์ชัยศรี"
พระแสงขรรค์ชัยศรีซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์สำคัญนั้น ตามประวัติกล่าวว่า เมื่อ พ.ศ. 2327 ชาวประมงเมืองเสียมราฐได้ทอดแหในทะเลสาบเขมร และได้พระแสงขรรค์นี้ขึ้นมา เห็นว่าเป็นของโบราณที่มีความประณีตงดงามมาก เกินกว่าจะเป็นของสามัญชน กรมการเมืองเสียมราฐจึงได้นําพระขรรค์นี้ไปมอบให้กับเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) ผู้สําเร็จราชการเมืองพระตะบองและเสียมราฐ ในขณะนั้น ต่อมาเจ้าพระยาอภัยภูเบศรจึงได้นําขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
มีตำนานเรื่องเล่าเกี่ยวกับเหตุการณ์อัศจรรย์ของพระแสงขรรค์ชัยศรีไว้ว่า เมื่อวันที่เชิญพระแสงขรรค์มายังพระบรมมหาราชวังนั้นได้เกิดพายุอย่างหนัก มีอสนีบาตหรือฟ้าผ่าลงที่ศาลาลูกขุนใน และกล่าวกันว่ามีอสนีบาตตกในพระนคร ตามเส้นทางที่อัญเชิญพระขรรค์มาถึง 7 แห่ง
แม้กระทั่งในพระบรมมหาราชวังก็เกิดอสนีบาตตกที่ประตูวิเศษชัยศรี และประตูพิมานชัยศรีขณะที่อัญเชิญพระแสงขรรค์ผ่านเข้าไป พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงพระราชทานนามพระแสงขรรค์องค์นี้ว่า “พระแสงขรรค์ชัยศรี” และเนื่องด้วย “เหตุอัศจรรย์” นี้ ประตูพระบรมมหาราชวังทั้ง 2 แห่งจึงมีสร้อยนามเหมือนพระแสงขรรค์ชัยศรี
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ ให้ช่างหลวงทําด้ามและฝักของพระแสงขรรค์ชัยศรีขึ้นใหม่ ทําด้วยทองคําลงยาลายเทพนมประดับอัญมณี โคนพระแสงที่ต่อกับด้ามสลักเป็นรูปพระนารายณ์ ทรงครุฑคร่ำทอง พระแสงขรรค์องค์นี้เฉพาะส่วนที่เป็นองค์พระขรรค์ยาว 64.5 เซนติเมตร เมื่อประกอบด้ามแล้วยาว 89.9 เซนติเมตร หนัก 1,300 กรัม เมื่อสวมฝึกแล้วยาว 101 เซนติเมตร หนัก 1,900 กรัม
พระแสงขรรค์ชัยศรีจึงเป็นหนึ่งในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์อันเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงพระราชอํานาจ ความกล้าหาญ และพระราชอาญาสิทธิ์ในการปกครองแผ่นดิน
เครดิต;
ข้อมูลจาก
ผศ. ดร. พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ “เครื่องประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก”, เสวยราชสมบัติกษัตรา, สำนักพิมพ์ มติชน 2562

มหาปูริสลักษณะ

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
พระพุทธรูป  “สัญลักษณ์แห่งมหาบุรุษผู้ทรงพุทธานุภาพพิชิตมาร” ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย
“มหาปุริสลักขณะ – มหาปุริสลักษณะ” (Mahapurisalakkhana - Mahāpuruṣa Lakṣaṇa) หรือ “มหาบุรุษ” 32 ประการ  (Thirty-two Characteristics of a Great Man – Buddha) ในคติความเชื่อทางพุทธศาสนา คือลักษณะสำคัญของ "พระโพธิสัตว์"  ผู้ที่จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า  
ลักษณะแห่งมหาบุรุษ ปรากฏในพระสูตรคัมภีร์ของทั้งฝ่ายมหายาน (Mahāyāna Buddhism) และฝ่ายสถวีรวาทิน-วิภาชยวาทิน – หีนยาน ที่พัฒนามาเป็นนิกาย “เถรวาท” (Sthāvirīya - Vibhajjavāda  - Hīnayāna  - Theravāda ) ทั้ง “ลลิตวิสตระสูตร” (Lalitavistara Sūtra) คัมภีร์พุทธประวัติที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ที่มีเรื่องราวอำนาจปาฏิหาริย์ของพระมหาโพธิสัตว์-พระศากยุมนี  เริ่มต้นจาก “นิกายสรวาสติวาท” (Sarvāstivāda) ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 5 -6 พัฒนามาเป็นพุทธประวัติสำคัญของฝ่ายมหายาน จนถึงปัจจุบัน
ลักษณะแห่งมหาบุรุษ 32 ประการ ยังปรากฏใน “ลักขณสูตร” พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค  และ “คัมภีร์ชินมหานิทาน” รวมถึงข้อปลีกย่อยแห่งมหาบุรุษอีก 80 ประการ ใน “"อสีตยานุพยัญชนะ - อนุพยัญชนะ”  ของฝ่ายนิกายเถรวาท
---------------------------------------------
*** ในพุทธประวัติตอน “ผจญมาร” (Assualt of Mara) ที่ถือเป็นช่วงเวลาวิกฤตครั้งสำคัญที่พระโพธิสัตว์กำลังจะตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณเป็นพระพุทธเจ้า แต่ต้องเผชิญกับพญามารวัสวดีและพลพยุหเสนา (อวิชชาทั้งปวง) ดังความในลลิตวิสตระสูตร ว่า “...พญามารได้นำไพร่พลเข้าโจมตีพระโพธิสัตว์ “....จัดเสนาองค์ 4 ขนาดใหญ่ เลือกที่เป็นนักเลงกล้าหาญในสงครามมีกำลังมาก น่ากลัว เป็นที่น่าขนลุกขนพอง เทวดาและมนุษย์ไม่เคยเห็นไม่เคยได้ยิน เปลี่ยนแปลงหน้าตาด้วยวิธีต่าง ๆ ...” พระโพธิสัตว์ได้เรียกพระภูมิเทวีแห่งโลกมาเป็นสักขีพยานในคุณธรรม “แผ่นดินเอ๋ย ...จงให้ความเป็นพยานให้แก่เราในที่นี้” 
“....เราอยู่บนอาสนะในที่นี้ จะบรรลุโพธิอันปราศจากธุลี คือ เกลศ ดูกรมารา เราจะชนะท่านผู้ซึ่งถูกทำลายแล้วพร้อมทั้งไพร่พลพร้อมทั้งกองทัพ และเราเว้นแล้วซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดและการเกิดแห่งโลกนี้ นิรวาณเป็นความระงับทุกข์และเป็นความเย็น...”(ลลิตวิสตระ – มหายาน)
“...เทวดามากมายถึงขนาดนี้ละทิ้งเราไว้ผู้เดียวแล้วก็พากันหนีไป ในที่นี้ พระชนกพระชนนีหรือพระภาดา ตลอดจนพระประยูรญาติคนใดคนหนึ่งของเราไม่มีเลย ก็พระบารมีทั้งสิบเหล่านี้แหละเปรียบเสมือนปริชนของเรามานานนักหนา เพราะฉะนั้นเราควรเอาบารมีทำเป็นโล่กำบังแล้วรบกับพระยามารด้วยศัตราวุธ คือ บารมีแล้วกำจัดหมู่พลมารให้พ่ายแพ้ไป....” (ชินมหานิทาน – เถรวาท)  
เมื่อพญามารและเหล่าพยุหเสนาเข้าโจมตีพระโพธิสัตว์  “....เครื่องอาวุธเหล่านั้น พอยกขึ้นทุ่มก็เป็นเหมือนพวงมาลัยดอกไม้หลายอย่าง เป็นเหมือนเพดานดอกไม้สถิตอยู่ และดอกไม้แก้วมุกดาทั้งหลายก็เกลื่อนกลาดแผ่นดิน พวงมาลัยและเครื่องแขวนทั้งหลายก็ประดับต้นโพธิแล้ว...” (ลลิตวิสตระ – มหายาน)
“...พระยามารก็บันดาลให้ฝนเครื่องประหารตั้งขึ้นอีกศัตราวุธต่าง ๆ เป็นต้นว่า ดาบ หอก และมีดโกนมีคมข้างเดียว หรือสองข้างก็ลุกโพลงรุ่งโรจน์ขึ้นลอยมาทางอากาศ พอมาถึงพระโพธิสัตว์ก็ได้กลายเป็นดอกไม้ทิพย์ ถ่านเพลิงมีสีเหมือนดอกทองกวาวลอยมาทางอากาศ พอมาถึงพระโพธิสัตว์ก็กลายเป็นดอกไม้ทิพย์ ตกลงใกล้บาทมูลของพระโพธิสัตว์...” (ชินมหานิทาน – เถรวาท)   
 พญามารยังได้เพียรส่งบุตรสาวทั้ง 3 เข้าทำลายพระโพธิสัตว์  “...ครั้นนั้นแล มารชั่วร้ายได้เรียกธิดาของตนมาว่า เจ้าทั้งหลายผู้เป็นสาวงาม จงเข้าไปยังควงต้นโพธิ์ จงเข้าไปทดลองพระโพธิสัตว์ว่ายังคงนิยมในราคะอยู่หรือไม่ ครั้งนางทั้งสามเข้าไปยืนต่อหน้าพระโพธิสัตว์แล้ว จึงได้แสดงมารยาสตรี 32 ประการ....” (ลลิตวิสตระ – มหายาน)
พระโพธิสัตว์ผู้พร้อมด้วยหมาบุรุษ 32 ประการ ได้แสดงพุทธานุภาพ “...รัศมีกำจัดมณฑลสรรพมารของพระโพธิสัตว์ออกมาจากพระอุณาโลม ที่อยู่ระหว่างพระโขนง ซึ่งเป็นรัศมีฉวัดเฉวียนเขย่าแสงสว่าง ในพิภพของมารทั้งปวงในโลกธาตุ คือ เทวโลกและมนุษย์ให้สั่นสะเทือนและรัศมีนี้ได้แผ่ไปด้วยแสงสว่างอันใหญ่ยิ่งคือโลกธาตุ คือ เทวโลกและมนุษยโลกทั่วไปและมารชั่วร้ายได้ยินเสียงเช่นนี้ด้วยแสงสว่างนั้น...” (ลลิตวิสตระ – มหายาน)
“...มีตาข่ายเลิศประดับในมือขวา มีเล็บแดงงาม มีลายกงจักรซึ่งมีซี่ตั้งพันบันเทิงด้วยบุญญาอันงามเหมือนรัศมีทองชมพูนุท ตั้งแต่พระเศียรถึงพระบาทมีสัมผัสนุ่มนวล” (ลลิตวิสตระ – มหายาน)
“...ทรงลูบพระกายของพระองค์ด้วยพระหัตถ์ขวา ซึ่งสะสมเครื่องอุปกรณ์คือกุศลมูลหาประมาณมิได้ตลอดกัลป์ไม่มีสิ้นสุด พระหัตถ์ขวานั้น อ่อน นุ่ม นิ่ม ประดับด้วยเล็บแดงงามที่สุด ปกคลุมด้วยเพดานข่าย กลางพระหัตถ์ มีสังข์ ธงชัย ปลา กลศ สวัสติกะ ขอช้าง จักร คทา...” (ลลิตวิสตระ – มหายาน)
 ในมหาปุริสลักขณะ 32 ประการ  กล่าวว่า พระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ มีพื้นภายใต้ฝ่าพระบาททั้งสองข้างมีลายรูปจักรอันวิจิตร (สีขาวมีประกายเหมือนเปลวไฟ) มีซี่กำได้ข้างละพัน มีกงมีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง และที่กลางพระนลาฏ มีขนอ่อนเกิดที่ระหว่างพระขนง (อุณาโลม - อุณณาโลม) สีขาวเหมือนน้ำค้างหรือเงินยวง อ่อนนุ่มเหมือนนุ่นสำลี (อูรฺณา- ในภาษาสันสกฤตแปลว่านุ่น)  
*** สัญลักษณ์ของลักษณะความเป็นมหาบุรุษในช่วงของการต่อสู้กับพญามารนี้ จึงได้ปรากฏขึ้นอย่างเด่นชัดที่สุด
---------------------------------------------
*** พระพุทธรูปสลักหินองค์หนึ่ง พบจากจังหวัดบุรีรัมย์ เคยถูกใช้เป็นหน้าปกของงานนิทรรศการ “ศิลปะทวารวดี ต้นกำเนิดพุทธศิลป์ในประเทศไทย” ที่จัดขึ้นในช่วงปลายปี พ.ศ. 2552 ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ได้แสดงรูปแบบทางศิลปะที่สะท้อนคติพุทธประวัติตอนมารผจญ ได้อย่างงดงาม ทั้งยังเป็นปรากฏสัญลักษณ์ของมหาบุรุษ (ผู้ทรงอานุภาพ) พิชิตมาร อย่างชัดเจน
พุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งในท่าวัชรปรรยงค์ (ขัดสมาธิเพชร) แสดง “ภูมิสปรรศมุทรา” (Bhūmiśparṣa Mudrā) โดยวางพระหัตถ์เลยลงมาจากพระเพลา ให้พระองคุลี (นิ้ว) แตะที่พสุธา (ฐาน) ครองจีวรห่มเฉียง ทิ้งชายผ้าสังฆาฏิจากพระอังสาทบเป็นริ้วซ้อน อีกฝั่งหนึ่งคลี่ออกเป็นริ้วเหมือนผ้าจริง คลุมพระกรลงมาถึงพระเพลาซ้าย พระอุทรโค้งอ้วน
ส่วนพระเศียรเป็นงานพุทธศิลป์แบบวัฒนธรรมทวารวดี ที่มีใบพระพักตร์ที่ป้านกลม พระพระนลาฏ (หน้าผาก) แบนแคบ พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระเนตรโปน เบิกพระเนตรกว้าง มีเส้นพระกาฬเนตร พระนาสิกเป็นสัน พระโอษฐ์ล่างหนา ติ่งพระกรรณยาวเป็นร่อง ขมวดพระเกศาเป็นก้นหอยใหญ่วางตัวสับหว่างต่อขึ้นไป ไม่ปรากฏอุษณีษะชัดเจน   
ที่กลางพระนลาฏปรากฏสัญลักษณ์ “อุณาโลม” (Unalome)  แสดงความเป็นมหาบุรุษ ขีดรูปศิลปะเป็นเส้น “หอยสังข์” (Sankha) อันเป็นสัญลักษณ์มงคล (Sacred Symbols) จากคติฮินดูโบราณ ที่ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทยังแสดงสัญลักษณ์รูป “จักร” (Cakra) ขีดลายเส้นโค้งตวัดออกมาทั้ง 4 ด้าน ในความหมายของการเปล่ง “พลังออร่า” (Aura) หรือ “ฉัพพรรณรังสี” (Prabashvara) พลังพุทธานุภาพเพื่อกำราบพญามาร
งานศิลปะที่แสดงรูปสัญลักษณ์แห่งพลังอำนาจทั้งอุณาโลมที่กลางพระนลาฏ จักระที่กลางฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาท การแสดงภูมิสปรรศมุทรา การนั่งแบบโยคะในท่าขัดสมาธิเพชร ที่สอดรับตรงกับคติมหาปุริสลักขณะ 32 ประการ และการแสดงพุทธานุภาพแห่งมหาบุรุษในพุทธประวัติตอนมารผจญที่ปรากฏในลลิตวิสตระสูตรของฝ่ายมหายาน ล้วนเป็นหลักฐานที่ได้แสดงความสำคัญของประติมากรรมพระพุทธรูปสลักหินจากจังหวัดบุรีรัมย์องค์นี้ ว่า เป็นงานพุทธศิลป์ “มหาบุรุษผู้ทรงพุทธานุภาพพิชิตมาร” ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย และอาจเป็นเพียงพระพุทธรูปองค์เดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สร้างขึ้นตามพุทธประวัติมารผจญใน “ลลิตวิสตระสูตร” ของฝ่ายมหายาน 
เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นตามคติความเชื่อของฝ่ายมหายานที่ได้รับอิทธิพลมาจากราชวงศ์ปาละ (Pala Dynasty) วัฒนธรรมทวารวดีในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 14 ที่ได้แผ่อิทธิพลจากลุ่มน้ำเจ้าพระยาเข้าไปในดินแดนอีสานใต้พร้อม ๆ กับคติพุทธศาสนาฝ่ายคณะมหาวิหาร-ลังกา
เครดิต; FB
วรณัย  พงศาชลากร
EJeab  Academy
เพราะทุกที่มีเรื่องราวและเรื่องเล่า
Ref : สมบัติ สมศรีพลอย ลักษณะพระโพธิสัตว์จากคัมภีร์พุทธประวัติ ตอน “ผจญมาร”
ตามแนวคิดแบบเถรวาทและมหายาน 2561

วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ภาวนาปธาน

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก 
A giver is always be love.
ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
" ภาวนาปธาน "
"...คำว่า " ภาวนา " แปลว่า ทำให้เกิด ให้มี ให้เป็น คือ ทำกาย วาจา ใจ ให้เป็น สมาธิ ปัญญา หรือทำขันธสันดานของตนที่เป็นปุถุชน ให้เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา นับว่ากระทำให้เป็นไปในพระธรรมวินัยแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันต์ทีเดียว ที่มาแห่งภาวนามี ๔ ประการ คือ
๑. ปหานปธาน เพียรสละบาปอกุศล ให้ขาดจากสันดาน
๒. สังวรปธาน เพียรสำรวมระวังรักษา ไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน
๓. ภาวนาปธาน เพียรภาวนา ให้บุญกุศลเกิดขึ้นในสันดาน
๔. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษาบุญกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เสื่อมสูญอันตรธาน
การ " ภาวนาปธาน " นั้นจำเป็นต้องบำเพ็ญภาวนาปธานทุกคนตลอดไป จึงเป็นไปเพื่อพ้นจากทุกข์ในวัฏสงสาร สำเร็จมรรคผลธรรมวิเศษ บรรลุจตุปฏิสัมภิทาญาณแตกฉานในห้องพระไตรปิฏก
ถ้าไม่ได้บำเพ็ญภาวนาปธานนี้แล้ว ก็ไม่สำเร็จพระนิพพานเลยเป็นอันขาด การภาวนาปธานนี้ เป็นยอดแห่งปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทั้งปวง..."
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
เครดิต;
FB:อมตะธรรม ประเทศไทย

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

เขาพระสุเมรุ

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
เขาพระสุเมรุ
มหาคีรีกลางนทีสีทันดร

ตามหนังสือตำราของหลวงพ่อสดวัดปากน้ำ ท่านได้อธิบายถึงแผนที่จักรวาลในหนึ่งจักรวาลว่าประกอบไปด้วย

1.เขาพระสุเมรุ เป็นเขาที่สูง 84,000 โยชน์ กว้าง 84,000 โยชน์

2.ปุพพวิเทหทวีป ทวีปใหญ่ที่อยู่ตรงกับไหล่เขาพระสุเมรุทางด้านทิศตะวันออก กว้าง 2,740,000 โยชน์ มีพื้นเป็นเงิน แสงสีเงินสะท้อนไปยังทวีปซีกนั้น

3.ชมพูทวีป ทวีปใหญ่ที่อยู่ตรงกับไหล่เขาพระสุเมรุทางด้านทิศใต้ กว้าง 2,740,000 โยชน์ มีพื้นเป็นมรกต แสงสีเขียวสะท้อนไปยังทวีปซีกนั้น

4.อปรโคยานทวีป ทวีปใหญ่ที่อยู่ตรงกับไหล่เขาพระสุเมรุทางด้านทิศตะวันตก กว้าง 2,740,000 โยชน์ มีพื้นเป็นแก้วผลึก แสงใสๆ สะท้อนไปยังทวีปซีกนั้น

5.อุตตรกุรุทวีป ทวีปใหญ่ที่อยู่ตรงกับไหล่เขาพระสุเมรุทางด้านทิศเหนือ กว้าง 2,740,000 โยชน์ มีพื้นเป็นทองคำ แสงสีทองสะท้อนไปยังทวีปซีกนั้น

6.ทวีปเล็ก ซึ่งเป็นบริวารของทวีปใหญ่ทั้ง 4 ทวีป โดยทวีปเล็กด้านหนึ่งมี 125 ทวีป เมื่อรวม 4 ด้านของทวีปใหญ่เป็นทวีปเล็กบริวารจำนวน 500 ทวีป แล้วรวมทวีปใหญ่ทั้ง 4 ด้าน ด้านละ 500 ทวีป สรุปทวีปเล็กเป็นบริวารรวมทั้งหมด 2,000 ทวีป

7.ทวีปทั้ง 4 มีสีของต้นไม้ ใบไม้ น้ำในทะเล มหาสมุทร ท้องฟ้า ตามสีของรัตนะที่ไหล่เขาพระสุเมรุสะท้อนแสงมา และมนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปเล็กนั้น ก็จะมีความเป็นอยู่ต่างๆ ที่เหมือนกับผู้คนที่อยู่ในทวีปใหญ่

8.ทวีปเล็กบริวารนั้น ใน 1 ทวีป มีความกว้าง 270,000 โยชน์

9.ระยะห่างจากเขาพระสุเมรุไปถึงทวีปเล็กไกลกัน 84,000 โยชน์

10.ตั้งแต่ทวีปเล็กถึงทวีปใหญ่ไกลกัน 84,000 โยชน์ เท่ากันทุกทวีป

11.จักรวาลนี้ วัดตัดกลางเหมือนผ่าลูกมะนาวได้ 700 อสงไขยโยชน์

12.นับเขาพระสุเมรุได้ 700 อสงไขย 4 ด้าน คือ ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านขวา ด้านซ้าย ของเขาพระสุเมรุจักรวาลนี้ได้ 2,800 อสงไขยเขา

13.เขาพระสุเมรุนั้น ตั้งอยู่ตรงกันเรียงแถวยืดยาวออกไป เป็นแนวเดียวกันทั้ง 4 ด้าน ด้านละแนว แนวละ 700 อสงไขยเขา (เอาเขาพระสุเมรุจักรวาลนี้เป็นหลัก)

14.แปลนแผนที่จักรวาลนี้เป็นฉันใด แปลนแผนที่จักรวาลอื่นก็ดี แปลนแผนที่นิพพานก็ดี ทั้งกามภพ รูปภพ อรูปภพ อบายภพ นรก และโลกันตร์ก็ดี ล้วนมีแปลนแผนที่เป็นแบบเดียวกันหมด ไม่ผิดแปลกจากกันเลย

15.ขอบจักรวาล 1 จักรวาลนั้น มีภูเขาล้อมรอบเป็นขอบเขต และจักรวาล 1 จักรวาลนั้น ตั้งอยู่ใกล้กันบ้าง ไกลกันบ้าง และความว่าง (สุญญตา) ระหว่างจักรวาล 1 จักรวาลนั้น จะมีแต่อากาศที่เป็นหมอกเต็มไปหมด

16.ในจักรวาลแต่ละ 1 จักรวาลนั้น ก็จะมีมนุษย์ สวรรค์ นิพพาน กามภพ รูปภพ อรูปภพ อบายภพ นรก และโลกันตร์ กล่าวคือ มีเหมือนกันทุกประการ

จักรวาลมีสัณฐานกลม มีภูเขาเป็นเขตล้อมรอบ โดยภายในจักรวาลมีนิพพานอยู่ส่วนเบื้องบน เบื้องกลาง คือ ภพสาม สำหรับเบื้องล่าง คือ โลกันตร์ เป็นราก

นิพพานมีลักษณะสัณฐานกลมดังลูกกระสุน โดยรอบนอกก้อนกลมนั้น เป็นอากาศว่างสะอาดและละเอียดบริสุทธิ์ กล่าวคือ ก้อนกลมนั้นลอยอยู่กับอากาศ และมีอากาศที่สะอาดละเอียดรองรับอยู่

ภายในก้อนกลมนั้น เป็นเมืองนิพพาน เป็นที่เสด็จประทับอยู่ของพระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ขีณาสพทั้งหลาย ซึ่งมีมากกว่าเมล็ดทรายในท้องมหาสมุทรทั้งสี่

โดยมหาสมุทรทั้ง 4 นั้น ไม่ใช่มหาสมุทรที่อยู่บนโลก หากแต่เป็นมหาสมุทรทั้ง 4 แห่งจักรวาล อันประจำอยู่ในทวีปใหญ่ทั้ง 4 ได้แก่

๑.ขีรสาคร มหาสมุทรสีเงิน
(ปุพพวิเทหทวีป)

๒.ผลึกสาคร มหาสมุทรสีแก้วผลึก
(อปรโคยานทวีป)

๓.ปิตสาคร มหาสมุทรสีทอง
(อุตตรกุรุทวีป)

๔.นิลสาคร มหาสมุทรสีน้ำเงินแกมเขียว
(ชมพูทวีป)

สำหรับภพสามนั้นมีอรูปภพเป็นที่สุดอยู่เบื้องบน และมีอเวจีเป็นที่สุดอยู่เบื้องล่าง ส่วนโลกันตร์นั้น จะอยู่นอกภพสามตั้งแต่ขอบล่างจักรวาลนี้ออกไป เป็นที่รองรับสัตว์ที่ประกอบกรรมชั่วที่สุด ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิอย่างแรงกล้า แม้แต่อเวจีก็ไม่สามารถจะรองรับไว้ได้ เมื่อตายลงจึงถูกอายตนะโลกันตร์นี้ดึงดูดไป เป็นภพที่อยู่ขอบล่างสุดของจักรวาล กล่าวคือ อยู่ระหว่างล่างที่สุดของจักรวาลทั้งหลาย มีลักษณะที่มืดมิด มองไม่เห็นกัน

สัตว์โลกันตร์พวกนี้เกิดจากการกระทำกรรมหนัก เป็นมิจฉาทิฏฐิแล้วก็ทำผิดระดับหนักๆ เป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างแรงกล้า เช่น พวกสัสสตทิฏฐิที่เห็นผิดว่าโลกเที่ยง หรือพวกอุจเฉททิฏฐิที่เห็นผิดว่าโลกสูญ เป็นต้น พอตายจากกายมนุษย์ไปก็มาอยู่ที่นี่ กล่าวได้ว่า กว่าจะได้มาผุดมาเกิดในภพสามนี้อีก ก็ลืมกันได้เลยทีเดียว

อย่างดีก็แค่มาเกิดเป็นสัตว์ชั้นต่ำ สัตว์เซลล์เดียว เช่น พวกไฮดรา อะมีบา พวกเชื้อโรค พวกไวรัสต่างๆ เป็นต้น ซึ่งเจ้าพวกนี้ส่วนมากมาจากโลกันตร์ทั้งสิ้น และถ้าร้ายกาจไปกว่านั้น ก็จะไปเป็นธาตุธรรมของภาคดำที่อยู่ฝ่ายตรงกันข้ามกับภาคขาว

สำหรับจักรวาลนี้ที่โลกมนุษย์เราตั้งอยู่ในปัจจุบันนี้ชื่อว่ามงคลจักรวาล อันเป็นจักรวาลเดียวที่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก

ในมงคลจักรวาลนี้ เป็นเสมือนแกนกลาง แล้วก็ยังมีจักรวาลอื่นๆ ที่ล้อมรอบอยู่โดยรอบ เรียกว่าแสนโกฏิจักรวาล แสนโกฏิจักรวาลนี้ก็นับจากศูนย์กลางของมงคลจักรวาล โดยรัศมีออกไปถึงแสนโกฏิจักรวาล นี่ส่วนหนึ่ง แล้วเลยไปอีกเรียกว่าอนันตจักรวาล

สองส่วนนี้มีความแตกต่างกัน คือ มีความแตกต่างกันในข้อที่ว่า เมื่อเกิดกัปวินาศด้วยธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ในยุคที่เรียกว่าสังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป โลกถูกทำลาย ไม่ว่าจะเป็นกามภพขึ้นไปถึงรูปภพชั้นสุภกิณหาภูมิ ก็ล้วนถูกทำลายด้วยกันทั้งแสนโกฏิจักรวาล แต่จะไม่เลยไปถึงอนันตจักรวาล แต่ในเขตแสนโกฏิจักรวาลจะโดนไปด้วยกัน

ซึ่งในแสนโกฏิจักรวาลก็มีสภาวะความเป็นไปของสัตว์โลกที่คล้ายๆ กัน คือ มีครบทั้งกามภพ รูปภพ อรูปภพ เหมือนกัน มีมนุษย์ มีเทวดา มีพรหม มีอรูปพรหม เหมือนกัน แต่พระพุทธเจ้าจะเสด็จอุบัติเฉพาะที่มงคลจักรวาลนี้เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ พวกเราทั้งหลายนับว่ามีบุญบารมีพอสมควร ที่ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนาในมงคลจักรวาลนี้

จักรวาล 1 จักรวาลนั้น โดยเฉพาะมงคลจักรวาลนี้ มีเขาพระสุเมรุตั้งอยู่เป็นแกนกลาง บนยอดเขาพระสุเมรุเป็นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีนครแห่งเทพที่ชื่อนครไตรตรึงษ์ มีท้าวสักกะหรือพระอินทร์เป็นผู้ปกครองทำหน้าที่เป็นเทวราชผู้อภิบาลโลกและพิทักษ์คุณธรรมให้แก่มนุษย์ ที่อยู่ของพระอินทร์เรียกว่าไพชยนต์มหาปราสาท ตรงกลางเป็นที่ประดิษฐานแท่นบัณฑุกัมพล อันเป็นทิพยอาสน์ และใต้เขาพระสุเมรุลงไปอีกจะเป็นที่อยู่ของอสูร เรียกว่าอสุรกาย โดยอสูรมีอยู่ 3 ประเภท คือ

1.เทวอสุรา ได้แก่ เทวดาอสูร คือ อสูรที่เป็นเทวดา

2.เปตติอสุรา ได้แก่ เปรตอสูร คือ อสูรที่เป็นเปรต

3.นิรยอสุรา ได้แก่ นิรยอสูร คือ อสูรที่เป็นสัตว์นรก

ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นของทิพย์ ทั้งเขาพระสุเมรุทั้งภพภูมิพวกนี้ล้วนเป็นของทิพย์ คือ ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าของมนุษย์ มีเขาพระสุเมรุเป็นแกนหลัก มีความกว้างยาวลึก 168,000 โยชน์ ตั้งอยู่เป็นแกนกลางจักรวาล แล้วก็จมลงไปในมหาสมุทรสีทันดรที่ล้อมรอบอยู่อีกครึ่งหนึ่ง เหลือ 84,000 โยชน์

มหาสมุทรสีทันดรกินเขตแล้วห่างออกไปอีกครึ่งหนึ่ง คือ 84,000 โยชน์ ก็จะเป็นภูเขาล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง ชื่อ เขายุคันธร แล้วก็มีน้ำล้อมรอบลดหลั่นลงไป แล้วก็มีเทือกเขาล้อมรอบเขาพระสุเมรุ ล้อมเป็นชั้นๆ ไป

ชั้นแรกก็เขายุคันธร ห่างออกจากเขาพระสุเมรุ 84,000 โยชน์ แล้วก็จมลงไปในมหาสมุทรสีทันดรอีกครึ่งหนึ่ง แล้วต่อไป ก็มีมหาสมุทรสีทันดรอีก ก็ล้อมรอบอีกชั้นหนึ่งไปอีกครึ่งหนึ่ง ก็จะมีภูเขาต่อๆ ไป เช่น เขาอิสินธร เขากรวิก เขาสุทัศนะ เขาเนมินธร เขาวินันตกะ และเขาอัสกัณ ไปเจ็ดชั้นรวมเรียกว่าสัตบริภัณฑ์ โดยมีเทพจาตุมหาราชิกาและบริวารสถิตอยู่

ภูเขาที่เป็นเทือกเขาล้อมรอบเขาพระสุเมรุในจักรวาลนั้น จะลดหลั่นกันไปครึ่งหนึ่งกับอีกครึ่งหนึ่ง และในแต่ละเทือกเขานั้น ก็จะจมลงไปในมหาสมุทรสีทันดรอีกครึ่งหนึ่งกับอีกครึ่งหนึ่ง ซึ่งจะเห็นได้ว่าแม้แต่ระดับน้ำในมหาสมุทรก็ลดลงในแต่ละส่วนของเทือกเขา

แล้วไปจนถึงเขาอัสกัณสุดท้าย ใกล้กับขอบจักรวาล ตรงนี้เป็นผืนแผ่นดิน ซึ่งมีอยู่โดยรอบ ในส่วนทางด้านทิศใต้ชื่อว่าชมพูทวีป คือ โลกมนุษย์ของเรานี้เอง

แล้วทางด้านทิศตะวันออกเป็นปุพพวิเทหทวีป ทางด้านทิศเหนือเป็นอุตตรกุรุทวีป ทางด้านทิศตะวันตกก็เป็นอปรโคยานทวีป และทวีปทั้ง 4 ก็มีน้ำล้อมรอบ มีทะเลน้ำเค็มเหมือนกันหมด

มนุษย์ที่อยู่ในชมพูทวีปอย่างพวกเรานี้ มีหน้ารูปไข่ ส่วนมนุษย์ในปุพพวิเทหทวีป มีหน้าทรงกลม มนุษย์ในอุตตรกุรุทวีป มีหน้ารูปสี่เหลี่ยม และมนุษย์ในอปรโคยานทวีป มีหน้าครึ่งวงกลม

มนุษย์ชาวชมพูทวีปในยุคพระโคตมพุทธเจ้ามีร่างกายสูงใหญ่ประมาณ 4 ศอก (2 เมตร) ซึ่งสามารถลดลงหรือเพิ่มขึ้นได้ ส่วนอายุขัยของมนุษย์ชาวชมพูทวีปอาจยาวหรือสั้นก็ได้เช่นเดียวกัน เพราะเหตุที่บางครั้ง มนุษย์ชาวชมพูทวีปทั้งหลายบางทีมีศีลธรรม บางทีไม่มี ถ้ามนุษย์ทั้งหลายมีศีลธรรม ย่อมกระทำบุญและปฏิบัติธรรม ยำเกรงผู้อาวุโส บิดามารดา และสมณพราหมณาจารย์ อายุของมนุษย์เหล่านั้นจะยาวขึ้นๆ ส่วนมนุษย์ที่ไม่ได้จำศีล ไม่ได้ทำบุญ ไม่ยำเกรงผู้อาวุโส บิดามารดา สมณพราหมณ์อุปัชฌาย์อาจารย์นั้น อายุของคนเหล่านั้นจะสั้นลงๆ เพราะเหตุดังกล่าว ทำให้อายุขัยของมนุษย์ในชมพูทวีปนี้จึงกำหนดตายตัวไม่ได้

แต่ถ้าจะให้สรุปอายุขัยของมนุษย์ชาวชมพูทวีปอย่างตายตัว ก็ขอกล่าวง่ายๆ ว่า อายุขัยของมนุษย์ในชมพูทวีปสูงสุด คือ 1 อสงไขยปี ต่ำสุด คือ 10 ปี

มนุษย์ในปุพพวิเทหทวีปมีร่างกายสูงใหญ่ประมาณ 9 ศอก (4.5 เมตร) และมีอายุยืนได้ 700 ปี จึงตาย ส่วนมนุษย์ในอปรโคยานทวีปมีร่างกายสูงใหญ่ประมาณ 6 ศอก (3 เมตร) และมีอายุยืนได้ 500 ปี จึงตาย ส่วนมนุษย์ในอุตตรกุรุทวีปมีร่างกายสูงใหญ่ประมาณ 13 ศอก (6.5 เมตร) และมีอายุยืนได้ 1,000 ปีจึงตาย

เมื่อกล่าวโดยรวมแล้วมนุษย์ใน 3 ทวีปข้างต้น (ยกเว้นชมพูทวีป) เฉพาะแต่ละทวีป มีรูปร่าง สัณฐาน หน้าตา อยู่ในลักษณะเดียวกัน ต่างกันที่ขนาด ความได้สัดส่วน และความประณีตสวยงาม 

แล้วความสวยงามของผู้คนใน 3 ทวีปนั้น ก็มีความสวยงามไม่แตกต่างกัน เนื่องจากมนุษย์โดยทั่วไป มีคุณธรรมในจิตใจเสมอเหมือนกัน มีเพียงเฉพาะในชมพูทวีปเท่านั้นที่ผู้คนมีความสวยงามมากน้อยต่างกัน ตามแต่กุศลกรรมที่ตัวเองได้ทำไว้ในอดีต

โดยถ้าว่ากันจริงๆ แล้วนั้น ทวีปทั้ง 4 ในช่วงแรกที่โลกมนุษย์เจริญ หรือในช่วงที่มีมนุษย์ต้นกัปนั้น ไม่ว่ามนุษย์ในทวีปใด ก็ล้วนมีอายุถึง 1 อสงไขยปีทั้งสิ้น เพราะจิตใจของมนุษย์ในสมัยนั้นมีกิเลสเบาบาง ทำให้สิ่งแวดล้อม ดิน ฟ้า อากาศ และอาหารของมนุษย์สมบูรณ์ จึงเป็นเหตุทำให้อายุขัยมนุษย์ยืนยาว

ครั้นต่อมามนุษย์ในทวีปทั้ง 4 มีอกุศลจิตเกิดขึ้น ทำให้สิ่งแวดล้อมต่างๆ เริ่มเปลี่ยนแปลงผิดปกติไปจากเดิม กล่าวคือ เมื่อหนาวก็หนาวเกิน เมื่อร้อนก็ร้อนเกิน ฝนก็ไม่ตกตามฤดูกาล คุณค่าทางอาหารก็ลดน้อยลง สิ่งเหล่านี้ทำให้อายุขัยของมนุษย์ลดลงตามลำดับ เมื่ออายุขัยลดลงถึง 1,000 ปี มนุษย์ที่อยู่ในอุตตรกุรุทวีปก็คงที่เพียงนั้น ไม่ลดลงอีก เพราะไม่มีกิเลสเพิ่มขึ้นอีก ในทำนองเดียวกัน อายุขัยของมนุษย์ที่อยู่ในปุพพวิเทหทวีปจะคงที่อายุขัยไว้ที่ 700 ปี ส่วนอปรโคยานทวีป อายุขัยของมนุษย์ทวีปนี้จะคงไว้ที่ 500 ปี โดยจะมีเพียงแต่มนุษย์ในชมพูทวีปเท่านั้น ที่อายุขัยจะยังคงลดลงเรื่อยๆ เพราะมีกิเลสแกร่งกล้าไม่สิ้นสุด และจะลดลงจนกระทั่งเหลือ 10 ปี

มนุษย์ในชมพูทวีป มีความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันมาก บางคนสุขสบาย บางคนลำบาก บางคนปานกลาง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับกรรมของแต่ละคนแต่ละยุคในชมพูทวีป ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า มนุษย์ในชมพูทวีปนี้มีความแตกต่างกันมากที่สุดก็ว่าได้ในบรรดาเหล่ามนุษย์อีก 3 ทวีป

และมนุษย์โลกที่มีหน้าตาเหมือนแบบเราๆ นี้ เว้นจากอีกสามทวีปนี้ไป ก็ยังมีอีกมาก ดังนี้

ในขอบเขตจักรวาลหนึ่งมีกำหนดเท่ากับโอกาสที่พระจันทร์และพระอาทิตย์โคจรทั่วทิศสว่างไสวรุ่งโรจน์ ประกอบด้วยเขาพระสุเมรุ 1 แห่ง มหาสมุทร 4 แห่ง ทวีป 4 ทวีป คือ ชมพูทวีป อุตตรกุรุทวีป ปุพพวิเทหทวีป อปรโคยานทวีป มีสวรรค์ 6 ชั้น รูปพรหม 16 ชั้น และอรูปพรหม 4 ชั้น

อันนี้คือ 1 จักรวาล และโลกธาตุมี 3 ขนาด ได้แก่

1.สหัสสีจูฬนิกาโลกธาตุ (โลกธาตุขนาดเล็ก) มี 1,000 จักรวาล

2.ทวิสหัสสีมัชฌิมิกาโลกธาตุ (โลกธาตุขนาดกลาง) มี 1,000,000 จักวาล

3.ติสหัสสีมหาสหัสสีโลกธาตุ (โลกธาตุขนาดใหญ่) มีแสนโกฏิจักรวาล หรือ 1,000,000,000,000 จักรวาล

ซึ่งโลกธาตุขนาดเล็กจะมีพระอาทิตย์ 1,000 พระจันทร์ 1,000 โลกแบบที่เราอยู่ (ชมพูทวีป) 1,000 เขาพระสุเมรุ 1,000 และทวีปอีก 3 ทวีป คือ อุตตรกุรุทวีป ปุพพวิเทหทวีป อปรโคยานทวีป มีมหาสมุทร 4 แห่ง มีสวรรค์ 6 ชั้น รูปพรหม 16 ชั้น และอรูปพรหม 4 ชั้น ทั้งหมดอย่างละ 1,000

ดังนั้น จักรวาลในทางวิทยาศาสตร์ ถ้าเทียบกับความหมายของจักรวาลในทางพุทธศาสนาแล้วนั้น ก็เปรียบเทียบกันไม่ได้ อุปมาดั่งจงอยปากยุงที่ไม่สามารถวัดความลึกของมหาสมุทรได้

ส่วนโลกกลมๆ ที่เราอยู่นี้ ที่เดินสองขา มีสองแขน หัวตั้งอยู่บนคอเรียก “คน” หรือ “มนุษย์” ถ้ารูปร่างทำนองนี้คืออยู่ในโลกนี้ แต่ถ้าภูมิจิตต่ำไปกว่านี้ ก็มีโลกอันหนึ่งอยู่ของเขา รวมกันแบบอยู่ในโลกนี้ แต่เป็นอีกโลกหนึ่ง อยู่ในโลกเดียวกัน เช่น ภูมิจิตในระดับสัตว์เดรัจฉานก็อาศัยในโลกนี้ ทั้งในและบนแผ่นดิน ในน้ำ และในอากาศ เช่น หมู หมา กา ไก่ ช้าง ม้า วัว ควาย หลายประเภทไปจนถึงยุงอยู่ในป่า ไส้เดือนอยู่ในดิน นกบินอยู่ในท้องฟ้า ไปจนถึงวาฬที่อยู่ในมหาสมุทร เชื้อโรคจุลินทรีย์อยู่ในน้ำครำน้ำสกปรก และจุลินทรีย์ที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ นี่โลกของเขาเรียกว่าโลกของสัตว์เดรัจฉาน แต่ว่าภูมิจิตต่ำแตกต่างกันไปนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง 

เปรตก็อาศัยอยู่ในโลกนี้เหมือนกัน แต่ว่าเรามองไม่เห็น เปรตนั้นมีจริงและมีเยอะด้วย ถ้าเข้าถึงธรรมกายแล้วจะได้ดูได้รู้ว่าเปรตเป็นอย่างไร

ซึ่ง "เปรต" (Preta) นี้เป็นเผ่าพันธุ์อมนุษย์ที่พุทธอุตรนิกายจัดให้อยู่ในการปกครองของท้าววิรุฬหก โดยสามารถเรียกในภาษาตะวันตกได้ว่า "อันเดด" (Undead)

พวกเปรตมีหลายประเภท และความเป็นอยู่ของเปรตแต่ละจำพวกก็แตกต่างกันตามอกุศลกรรมที่ตนได้สร้างเอาไว้ โดยบางพวกมีตัวใหญ่โตน่ากลัว บางพวกตัวเล็กเท่ามนุษย์ บางพวกอดข้าวอดน้ำ บางพวกต้องไปหากินเศษอาหารที่ชาวบ้านทิ้งไว้ตามที่โสโครก บางพวกกินเสมหะ นํ้าลาย อุจจาระ ส่วนเปรตบางพวกอาศัยอยู่ตามภูเขา บางพวกถูกขังไว้ก็มี หรือบางพวกหยิบอาวุธเข้าต่อสู้ประหัตประหารกันก็มี เช่น อาวุธิกเปรต เป็นต้น

ส่วนสิ่งมีชีวิตหรือเผ่าพันธุ์อื่นๆ ที่อยู่อีกมิติ เช่น "ภูต" (Bhuta) อมนุษย์แห่งธรรมชาติในตำนานตะวันออกอย่างพวกภุมเทวดา อารามเทวดา รุกขเทวดา ติณเทวดา วนเทวดา นทีเทวดา อากาศเทวดา ฯลฯ ก็คือ "แฟรี่" (Fairy) ในตำนานตะวันตก

นอกเหนือจากนี้ยังมีอีกมากมายหลายเผ่าพันธุ์ที่มีอยู่ในตำนานทั่วทั้งโลก อย่างกุมภัณฑ์ (Kumbhanda) ก็คือ "โอเกอร์" (Ogre)

"รากษส" (Rakshasa) คือ "โทรลล์" (Troll) ส่วน "ยักษ์" (Yaksha) คือ "ไจแอนต์" (Giant) "หุ่นพยนต์" (Vyanta) คือ "โกเลม" (Golem)

"วิทยาธร" (Vidyadhara) คือ "วิซาร์ด" (Wizard) "วิทยาธรี" (Vidyadhari) คือ "วิช" (Witch) และ "นักสิทธิ์" (Siddha) คือ "ซอเซอเรอร์" (Socerer) โดยภาษาจีนเรียกนักสิทธิ์ว่า "เซียน" (仙)

"พมน" (Vamana) คือ "ดวอฟ" (Dwarf) "ม้าพลาหก" (Valahaka) คือ "ม้าเพกาซัส" (Pegasus) "ปีศาจ" (Pishaca) คือ "เดวิล" (Devil)

"ครุฑ" (Garuda) คือ "กริฟฟิน" (Griffin) "นกการเวก" (Karavika) คือ "นกฟีนิกซ์" (Phoenix) ไทยนำมาทำเป็นตราสัญลักษณ์ของธนาคารกรุงไทย

"นาค" (Naga) คือ "ดรากอน" (Dragon) อย่างนันโทปนันท์นาคราชที่เข้าต่อสู้กับพระโมคคัลลานะ สามารถเรียกในภาษาอังกฤษได้ว่า The Dragon King Nandopananda

"มังกร" (Makara) คือ "แคปริคอร์น" (Capricorn) ส่วน "กอร์กอน" (Gorgon) ของตำนานกรีกนั้น ในภาษาพุทธเรียกว่า "มโหราค" (Mahoraga) อย่างเมดูซา (Medusa) นางก็คือ Gorgon หรือ Mahoraga นั่นเอง โดยเรียกอีกแบบตามภาษาอังกฤษปัจจุบันได้ว่า Reptilian

"คนธรรพ์" (Gandharva) คือ "เอลฟ์" (Elf) และ "กินนร" (Kinnara) คือ "ครึ่งคนครึ่งสัตว์" (Half-Human, Half-Beast)

ตรงนี้ หลายคนมักจะรู้จักกินนรในรูปแบบตัวเป็นคนท่อนล่างเป็นนก (ยุโรปเรียกว่า Harpy) แต่ความจริงแล้วกินนรนั้นมีหลายชนิดมาก กล่าวคือ ถ้าสัตว์หิมพานต์ใดมีร่างกายบางส่วนเป็นมนุษย์อันชวนให้เกิดความฉงนใจว่านี่เป็นคนหรือเปล่า เราก็เรียกว่ากินนรทั้งสิ้น โดยบางชนิดก็อาจมีชื่อเรียกแยกย่อยต่างหากออกไปอีก เช่น นรสิงห์ (Narasimha) ที่ยุโรปเรียกว่า "สฟิงซ์" (Sphinx) หรืออย่าง "วานรินทร์" (Vanarinda) ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Monkey King" ภาษาจีนเรียก "孫悟空" (Sūn Wùkōng) ก็เป็นหนึ่งในประเภทกินนรเช่นกัน เป็นต้น

ลิงก์หลักฐานกินนรประเภทมฤค (Satyr) ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระไตรปิฎกบาลี
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=27&siri=504%E2%80%8E

สำหรับ "ดาวดึงส์" (Tavatimsa) ก็คือ "โอลิมปัส" (Olympus) ในตำนานกรีก เป็น "แอสการ์ด" (Asgard) ในตำนานนอร์ส และคือ "นิบิรุ" (Nibiru) ในตำนานสุเมเรียน (ไม่ได้เป็นมนุษย์ต่างดาวอะไรทั้งสิ้น เป็นเทพเป็นทิพย์ล้วนๆ)

ในศาสนานอร์ส (Norse) ต้นไม้อิกดราซิล-เขาพระสุเมรุ (Yggdrasil-Sumeru) หรือต้นไม้แกนกลางจักรวาลที่คอยเชื่อมโยงโลก (ภพภูมิ) ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน มีภพภูมิของเหล่าทวยเทพอยู่ 2 วงศ์ด้วยกัน โดยเทพทั้งสองพวกนี้ทำสงครามสู้รบกันมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ คือ "เอซีร์" (Aesir) กับ "วานีร์" (Vanir)

ซึ่งคำว่า "Aesir" (เอซีร์) มีรากคำเดียวกับ "Asura" (อสูร) ในภาษาบาลี-สันสกฤต

ส่วนคำว่า "Vanir" (วานีร์) ก็มีรากคำเดียวกับ "Deva" (เทพ) ในภาษาบาลี-สันสกฤต

กล่าวคือ เทพทั้งสองวงศ์นี้ Aesir-Vanir และ Deva-Asura มีอำนาจเท่ากันหรือศักดิ์เสมอกัน หรืออธิบายตามหลักพุทธศาสนาของเราแบบง่ายๆ ก็คือ อสูรมีบรรดาศักดิ์และอำนาจทัดเทียมเสมอกับเทพดาวดึงส์นั่นเอง เราจึงมักอ่านเห็นอสูรแห่งเขาตรีกูฏยกกองทัพขึ้นไปทำสงครามกับเทพบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์อยู่บ่อยๆ ในพระไตรปิฎก

ต่อมา เป็นเรื่องเล่าจากเด็กน้อยผู้ได้ธรรมกายแล้วไปท่องเที่ยวอวกาศ ในเว็บบอร์ด Dhammakaya.org

เรื่องมีอยู่ว่า มีครูคนหนึ่งนึกอยากสอนนักเรียนนั่งสมาธิ ก็สอนพื้นฐานไล่ฐานทั้ง 7 แต่นิมิตให้เห็นเป็นดวงดาวกับน้อง ป.6 คนหนึ่ง ซึ่งน้องเขาฝึกอยู่เดือนเดียวก็เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด (กายที่ 2 ใน 18 กาย) จนสามารถพูดคุยกับกายมนุษย์ละเอียดได้คล่องแคล่ว และไม่นานก็เข้าถึงกายทิพย์ (กายที่ 3 ใน 18 กาย) เมื่อถึงระดับนี้ครูคนนั้นจึงอยากรู้เรื่องราวจักรวาลและมนุษย์ต่างดาว จึงขอให้น้องเขาช่วยตรวจดู เริ่มจากดาวศุกร์ น้องก็เข้าสมาธิไปด้วยกายมนุษย์ละเอียด (กายที่ 2) ปรากฏว่าพื้นดินที่ดาวศุกร์นี้ไม่เสถียร คือ บางแห่งนึกจะยุบก็ยุบเอาดื้อๆ ไม่มีกายหยาบอาศัยอยู่ 

ต่อมาจึงลองให้มาดาวอังคาร น้องบอกว่าภายนอกของดาวอังคารมีบรรยากาศเบาบางเป็นสีส้ม แต่จะมีจุดหนึ่งสามารถลงไปยังใต้ดินได้ ซึ่งลึกประมาณ 10 กิโลเมตร โดยข้างในเป็นเมืองที่กว้างใหญ่เท่าๆ ทวีปเอเชีย มีความ Hi-Tech มีตึกรามบ้านช่อง มีป้ายโฆษณา มีออฟฟิศ มีห้างสรรพสินค้า แต่หน้าตาชาวดาวอังคารไม่เหมือนเรา คือ ตาโต ปากเล็ก มีสามนิ้ว สูงประมาณ 2-2.3 เมตร มีเครื่องแต่งกายใกล้เคียงกับชาวโลกเรา นักธุรกิจก็มี ทหารก็มี วัยรุ่นจับกลุ่มกินฟาสฟู้ดในห้างก็มี ที่นาวิกโยธิน ฐานยานบินทุกลำจะมีเครื่องยิงรูหนอน เพื่อย่นเวลาการเคลื่อนที่ในอวกาศ

โดยสรุปคือคล้ายโลกเราทุกอย่าง แต่เทคโนโลยีก้าวล้ำกว่าเรา น้องบอกว่าการไปด้วยกายมนุษย์ละเอียดนั้นเห็นอะไรชัดกว่าตามนุษย์หยาบมาก อยากมองอะไรไกลๆ ภาพจะซูมเข้ามาใกล้อัตโนมัติ เมื่ออ่านตัวหนังสือของชาวดาวอังคาร ก็สามารถเข้าใจได้เลยว่าเขาเขียนว่าอะไร ตอนน้องเดินไปในเมืองดาวอังคาร ไม่มีใครมองเห็นน้อง และน้องสามารถเดินทะลุตัวคนและตึกรามบ้านช่องไปได้สบายๆ

ส่วนอุตตรกุรุทวีป อปรโคยานทวีป และปุพพวิเทหทวีป ก็เคยให้น้องตรวจดู น้องก็บอกว่าเป็นกายหยาบเหมือนอย่างมนุษย์โลกเรา หน้าตาก็เหมือนชาวโลกเราแต่โครงหน้าจะเป็นสี่เหลี่ยมคล้ายทักษิณ (อันนี้น้องยกตัวอย่างเอง) หรือครึ่งวงกลม หรือเป็นวงกลมๆ น้องบอกหน้าครึ่งวงกลมดูดีสุด คือคางเขาจะแหลมๆ คล้ายสามเหลี่ยม ส่วนเทคโนโลยีความเป็นอยู่ก็ใกล้เคียงกับโลกเรา แต่จิตใจจะดีกว่าเยอะมาก (จบ)

ในตำนานกัมมาสธัมมะ พระอรรถกถาจารย์แต่โบราณได้เล่าเอาไว้ว่า อดีตกาลนานมาแล้วในยุคสมัยของพระเจ้าจักรพรรดิมันธาตุ ชาวปุพพวิเทหะ ชาวอปรโคยานะ และชาวอุตตรกุรุ รู้กันดีว่า ชมพูทวีปนี้เป็นโลกที่อุดมสมบูรณ์ เป็นสถานที่เกิดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระเจ้าจักรพรรดิ จึงขอพระเจ้าจักรพรรดิมันธาตุมาอยู่อาศัยที่ชมพูทวีป

ผู้ที่ตามมาจากปุพพวิเทหะ อปรโคยานะ และอุตตรกุรุ ไม่รู้จะไปอยู่ที่แห่งใด จึงเข้าไปหาขุนพลแก้วเอ่ยปากขอที่อาศัย ขุนพลแก้วจึงบอกให้คนเหล่านั้นแยกไปอยู่ตามชนบทต่างๆ

ผู้อพยพจากปุพพวิเทหทวีปไปอยู่ในวิเทหรัฐ ผู้อพยพจากอปรโคยานทวีปไปอยู่ในอปรันตชนบท ผู้อพยพจากอุตตรกุรุทวีปไปอยู่ในแคว้นกุรุ

ซึ่งตำนานนี้พระครูวิลาศกาญจนธรรม (เล็ก สุธมฺมปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดท่าขนุน จ.กาญจนบุรี ได้เคยมีโยมมาปุจฉาและท่านก็วิสัชนาไปว่า

ถาม : เคยเจอมนุษย์ต่างดาวไหมคะ

ตอบ : ถามว่าเคยเจอมนุษย์ต่างดาวไหม บอกได้ว่าไม่เพียงแต่อาตมาที่เคยเจอเท่านั้น โยมทุกคนก็ต้องเคยเจอมาแล้ว เพียงแต่บางทีไม่รู้ว่าเขาเป็นมนุษย์ต่างดาว พระพุทธเจ้าของเราก็มีเชื้อสายมนุษย์ต่างดาว

ถาม : อย่างนี้ต้องอธิบายยาวแล้วค่ะ

ตอบ : คือว่าในช่วงที่โลกมีพระเจ้าจักรพรรดิอยู่ โดยธรรมเนียมแล้วต้องปราบได้ในทวีปทั้ง 4 ทวีปทั้ง 4 ก็คือบรรดาดาวต่างๆ นี้เอง เมื่อปราบในทวีปทั้ง 4 ได้แล้ว ก็จะนำเอาประชากรของทวีปนั้นๆ มา เพื่อเป็นการแสดงออกถึงพระราชอำนาจ ท่านก็จะกวาดต้อนคนจำนวนหนึ่งมาไว้ในโลกมนุษย์นี้

พวกอุตตรกุรุทวีปนี้เขาก็จะอยู่ที่กัมมาสะธัมมะนิคมในแคว้นกุรุเคยได้ยินใช่ไหม ต้นกำเนิดของมหาสติปัฏฐานสูตรเลย พวกอปรโคยานทวีปจะอยู่ที่เมืองอมรปุระ พวกปุพพวิเทหทวีปจะอยู่ที่เมืองเทวทหะ เทวทหะนี่เป็นเมืองแม่พระพุทธเจ้าใช่ไหม แปลว่าพระพุทธเจ้าท่านมีเชื้อสายมาจากมนุษย์ต่างดาว เพราะเทวทหะเป็นเมืองแม่ของท่าน มนุษย์ต่างดาวเดินอยู่รอบตัวเลยจ้ะ ไม่ได้รู้เรื่องเลย

ถาม : แล้วมนุษย์ต่างดาวนี่ไม่ใช่แบบหัวโตๆ ตัวเล็กๆ แบบที่ในโทรทัศน์

ตอบ : ถ้าหากว่าคุณใส่หมวกกันน็อกไปให้เขาเห็น เขาจะว่าคุณหัวกลมเหม่งแล้วก็มีลูกตากลมๆ ใหญ่ๆ

เครื่องแต่งกายของเขาจ้ะ เราเองเห็นบางทีก็ว่าไม่ตรงเหมือนกัน ลักษณะหน้าตารูปร่างของเขาคล้ายของเรา ส่วนใหญ่จะสวยกว่าทั้งนั้น ที่เราเห็นนั่นคือชุดท่องอวกาศของเขานี่แหละ

ถาม : แล้วชาวโลกแท้หน้าตาเป็นอย่างไรครับ

ตอบ : ชาวโลกแท้มีเขาจ้ะ ...(หัวเราะ)... จำได้ไหมโฆษณาปุ๋ยไข่มุกชาวโลกแท้ต้องมีเขาจ้ะ

ชมพูทวีปของเราหน้าเป็นรูปไข่ แต่เขาบอกว่าเหมือนลูกหว้า หน้าทรงรีๆ

หลวงพ่อเล็กยังกล่าวต่ออีกว่า มีใครรู้จักปุพพวิเทหทวีปบ้าง ชาวปุพพวิเทหทวีปมีใบหน้าเหมือนจันทร์เสี้ยว ก็คือลักษณะคางแหลมๆ จมูกแหลมๆ เหมือนอย่างกับแม่มณีทุกวันนี้ ก็คือถ้าตอนนี้ชาวปุพพวิเทหทวีปท่านมาเที่ยวบ้านเรา (ประเทศไทย) ก็จะสงสัยว่าทำไมเชื้อสายตัวเองมีเยอะแท้

คราวนี้ในเรื่องของมนุษย์ทั้ง 4 ทวีป อยู่ปะปนกันมาตั้งแต่โบราณเลย ในเมื่อ 4 เชื้อสายนี้ปะปนกันมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ ใครอยากรู้ว่าดีเอ็นเอของตัวเองมีเชื้อสายดวงดาวไหน ก็สังเกตคร่าวๆ ดู ถ้าไม่ได้ไปทุบหน้ามาก็พอดูได้ ถ้าไปทุบหน้ามาแล้วก็ดูไม่ออก สมัยนี้พอทุบหน้าแล้วตกแต่งเพิ่มหน่อย ก็ออกมาเป็นเชื้อสายของปุพพวิเทหทวีปไปหมด เพียงแต่ว่าของเขาสวยตามธรรมชาติ ส่วนของเราสวยด้วยมีดหมอ จึงดูหลอกตา ดูอย่างไรก็ดูไม่ดี

หลักธรรมหลายอย่างในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนคนทั่วๆ ไป แต่ว่าสอนเฉพาะบุคคล สอนเฉพาะสถานที่นั้น อย่างเช่นมหาสติปัฏฐานสูตร พระพุทธเจ้าสอนชาวกัมมาสธัมมะนิคมแคว้นกุรุ (ชาวอุตตรกุรุ) ไม่ได้สอนคนทั่วไป

ชาวกัมมาสธัมมะนิคมแคว้นกุรุนั้น มีความฉลาดมาก สนทนาในเรื่องหลักธรรมกันทั้งวัน ขนาดนกแขกเต้าที่ภิกษุณีเลี้ยงไว้โดนเหยี่ยวโฉบไป นางภิกษุณีกระโดดปรบมือร้องเสียงดัง เหยี่ยวตกใจปล่อยนกแขกเต้าคืนมา นกแขกเต้าถ้าเราไม่รู้จัก โบราณเขาเรียกว่านกแก้วหัวแพร เป็นนกพูดได้ นางภิกษุณีถามว่ารู้สึกอย่างไรบ้าง นกแขกเต้าบอกว่า รู้สึกเหมือนร่างกระดูกกำลังจะเอาร่างกระดูกไปกิน นั่นขนาดนกยังทรงอัฏฐิกอสุภกรรมฐานเป็นปกติ แล้วชาวบ้านเขาจะขนาดไหน

เหตุที่ชาวบ้านประกอบไปด้วยความฉลาดขนาดนั้น เพราะว่าพวกเขาเป็นมนุษย์ต่างดาว ไม่ใช่คนทั่วๆ ไป ในสมัยที่โลกมีพระเจ้าจักรพรรดิราช จะต้องแสดงพระราชอำนาจด้วยการปราบทวีปทั้ง 4 นั่นคือโลกที่เราอยู่ซึ่งเรียกว่าชมพูทวีปและโลกอื่น เพราะฉะนั้น ในเมื่อพระพุทธเจ้าแสดงธรรมสอนมนุษย์ต่างดาวที่ฉลาดมาก เทคโนโลยีล้ำหน้าเราไปเป็นแสนๆ ปี ถ้าหากเราไปอ่านมหาสติปัฏฐานสูตรเราก็จะได้แค่บรรพแรกๆ อย่างกายในกาย เช่น อานาปานสติ อิริยาบถ สัมปชัญญะ พอไปถึงเวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม เราก็ไปกันไม่เป็นแล้ว ความฉลาดไม่พอ หัวสมองมีความจุแรมน้อยไปหน่อย

ในธรรมะแปดหมื่นพระธรรมขันธ์ มีหลายส่วนที่พระพุทธเจ้าท่านสอนเฉพาะ อย่างพระมหาสติปัฏฐาน ท่านก็สอนแต่เฉพาะชาวกุรุ ชาวกุรุมีพื้นฐานมาจากอุตตรกุรุทวีป ซึ่งมาจากต่างดาว พวกเขามีความฉลาดมาก ซึ่งถ้าใครไปศึกษาในมหาสติปัฏฐานหมวดท้ายๆ ถ้าเราไม่ได้ปฏิบัติมาอย่างช่ำชอง จะปฏิบัติได้ยากมาก เรียกได้ว่าเกาะไม่ติดเลย แสดงว่าเราฉลาดสู้มนุษย์ต่างดาวไม่ได้

ในเมื่อเขามีความฉลาดมากพระพุทธเจ้าก็เทศน์ธรรมะที่เหมาะแก่จริต เหมาะแก่อัธยาศัยที่เขามีอยู่ในช่วงนั้น เพราะฉะนั้น ถ้าเราไม่ได้ปฏิบัติมาในระดับที่เข้าใจในจุดนั้น ปฏิบัติไปก็ไม่รู้เรื่อง

ที่พระพุทธเจ้าท่านจำเป็นต้องสอนตั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์ ก็เพราะเป็นไปตามจริตของผู้ฟัง ในเมื่อเป็นไปตามจริตของผู้ฟัง ก็แปลว่าถึงจะเหมาะกับบุคคลประเภทหนึ่ง ก็ไม่แน่ว่าจะเหมาะกับบุคคลอีกประเภทหนึ่ง อย่างมหาสติปัฏฐานสูตร อาตมาว่าพระพุทธเจ้าท่านสอนมนุษย์ต่างดาว คนก็ว่าพระอาจารย์เล็กเพี้ยน

เราจะสังเกตว่าพอกล่าวถึงกายในกาย เราก็ได้อานาปานบรรพ คือลมหายใจเข้าออก กิริยาบถบรรพ สัมปชัญญบรรพ พวกนี้พอแตะถึง แต่พอไปถึงเวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม บางคนไปไม่เป็นเลย ก็เพราะท่านสอนเฉพาะชาวกุรุ เราเอาแค่อานาปานบรรพ คือลมหายใจเข้าออกก็พอแล้ว เพราะว่าทุกบรรพหรือว่าทุกตอน แต่ละตอนพระองค์ท่านลงท้ายจุดจบไว้ให้หมดแล้ว ทำจบก็เป็นพระอรหันต์ได้

นอกจากนี้ หลวงพ่อเล็กยังกล่าวถึงเรื่องปฏิทินว่า ถ้าว่ากันตามหลักฐานที่ค้นพบแล้ว ปฏิทินเป็นสิ่งที่ชาวมายาซึ่งเป็นชนเผ่าโบราณในอเมริกากลางคิดค้นขึ้นมาได้ก่อน

พวกชาวมายากับพวกชาวแอซเท็กเป็นอารยธรรมที่อยู่ๆ ก็โผล่ขึ้นมา แล้วอยู่ๆ ก็สูญไป จนกระทั่งเขาเชื่อว่าความเจริญต่างๆ เป็นสิ่งที่มนุษย์ต่างดาวมาแนะนำให้ เพราะว่าหลายอย่างไม่ใช่สิ่งที่ภูมิปัญญาของคนโบราณยุคนั้นจะคิดได้

อย่างเช่น ระบบประปาบนภูเขาที่มาชูปิกชู เมืองบนภูเขาแต่มีระบบประปา แต่คราวนี้วิทยาศาสตร์เขาไม่รู้ว่าต่างดาวมีมนุษย์อยู่เป็นปกติอยู่แล้ว เขาจึงพยายามอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ให้ออกมาในลักษณะที่สามารถจับต้องได้ เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ยอมรับได้ ด้วยความที่ว่าไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีมนุษย์ต่างดาว ก็เลยทำให้เขาไม่เชื่อเรื่องนี้

ชาวอินคา ชาวมายา ชาวแอซเท็ก ชาวโรมัน เป็นอารยธรรมที่รุ่งเรืองมากๆ ในที่สุดก็วกเข้าไปหาไตรลักษณ์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่มีอะไรให้ยึดถือมั่นหมายได้ รุ่งเรืองแล้วก็ดับสลาย

วัดธรรมศาลานครปฐม

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
“สืบจากซาก” รูปแบบเจดีย์ทวารวดี ที่วัดธรรมศาลา นครปฐม 
ภายใน "วัดธรรมศาลา" ที่ตั้งอยู่ใกล้กับถนนเพชรเกษม ก่อนถึงสะพานข้ามคลองพระยากง ที่จะแยกเข้าสู่ตัวเมืองนครปฐมประมาณ 3 กิโลเมตร มีพระวิหารจัตุรมุขยอดแหลมสูงใหญ่เป็นจุดสังเกตสำคัญทางซ้ายมือ มีสถูปเจติยะในยุควัฒนธรรมทวารวดีอยู่ภายในวัดองค์หนึ่ง   
การขุดเปิดหน้าดินที่เนินดินสถูปในช่วงปลายปี พ.ศ.2555 ได้แสดงให้เห็นร่องรอยหลักฐานสำคัญของโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม การสร้างซ้อนทับอย่างน้อยอีก 2 ยุคสมัย ปูนปั้นประดับและงานเขียนสีโบราณ ที่ยังคงเหลือติดอยู่กับผนังก่ออิฐ รูปแบบสถาปัตยกรรมการยกเก็จของชั้นฐาน ลำดับชั้นที่ซับซ้อนของการจัดวางชุดฐาน “เวทีพันธะ – อธิษฺฐานะ” (Vedībandha - Adhiṣṭhaāna)  ซึ่งก็ไม่ค่อยจะได้พบแบบชัด ๆ อย่างนี้มากนักในเขตภาคกลาง ที่เชื่อกันว่าเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมลูกผสมอินเดีย/ทวารวดี ด้วยเพราะส่วนมากจะหลุดร่อน กระจัดกระจายแตกป่นเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยไปตามสภาพอากาศร้อนชื้น แถมยังถูกขโมยเซาะไปขายหรือถูกแกะออกจากตัวอาคารภายหลังจากการบูรณะในแต่ละยุคสมัย
----------------------------------------------
*** เมื่อ “สืบจากซาก” ด้วยวิธีการมานุษย-มโนวิทยาแบบนอกกรอบ จากซากที่หลงเหลืออยู่ของสถูปธรรมศาลา พอมโนได้ว่า เจดีย์ทวารวดีองค์นี้มีผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ส่วนฐานล่างมีขนาดประมาณ 20 * 20 เมตร ( ฐานพระประโทณเจดีย์ ที่เป็นมหาธาตุเมืองนครปฐมโบราณ มีขนาดประมาณ 40 * 40 เมตร) ฐานชั้นซ้อนส่วนบนประมาณ 10 * 10 เมตร และอาจมีเส้นผ่าศูนย์กลางองค์ระฆังประมาณ 6-7เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงขึ้นไปทางเหนือเล็ก แบบเดียวกับจุลประโทนเจดีย์  มีอายุการก่อสร้างประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 13 ในช่วงเดียวกับพระประโทณเจดีย์ 
ปูนปั้นที่ยังคงฉาบติดอยู่กับผนังและที่แตกหักร่วงหล่นได้แสดงให้เห็นว่า พระเจดีย์ในยุคทวารวดีมีการก่ออิฐ และขูด-ถากผนังอิฐให้เป็นรูปทรงตามที่ต้องการ ฉาบปูนบนพื้นผิวอิฐ ปั้นลายประดับและมีการลงสีเป็นลวดลายทับบนปูนปั้นด้วยรงค์สีแดง-น้ำตาล ดำ-เทา เหลือง-ส้ม 
เมื่อนำร่องรอยหลักฐานที่เหลืออยู่มาประกอบกัน มโนขึ้นเป็นสถาปัตยกรรม จะเห็นว่าส่วนฐานและฐานชั้นซ้อนนั้นมีแผนผังรูปสี่เหลี่ยม ยกเก็จเป็นกระเปาะออกมาตรงกลาง (เก็จประธาน) และตรงมุมรวมเป็น 8 กระเปาะ ผนังของฐานยกสูง ชจัดวางเป็นชั้นแตกต่างกัน รวมเรียกว่า “เวทีพันธะ – อธิษฺฐานะ” โดยเริ่มจากชั้นล่างที่เป็นฐานเรียบหรือฐานเขียงเป็นผนังสูง เรียกว่า ฐาน “ชคตี” (Jagatī)  รองรับฐานเส้นลวดเหลี่ยม “อุปานะ” (Upāna) 2 ชั้น หน้าชั้นบนประดับลาย“ดอกสี่กลีบในกรอบสี่เหลี่ยม” หรือ “ลายประจำยามดอกจันทน์” ต่อเนื่องโดยรอบฐาน ถัดขึ้นไปเป็นฐานโค้งใหญ่ เรียกว่า “กุมุท” (Kumuda) หรือ “บัววลัย” (Bua Valai) ซึ่งเป็นเส้นลวดขนาดใหญ่จากอิทธิพลของสถาปัตยกรรมในอินเดียใต้ (ในอินเดียเหนือเรียก “กลศ” (kalasa) แต่จะเป็นทรงหม้อน้ำคอดที่ส่วนล่าง) มีการปั้นปูนปะดับเป็นลวดลายอันวิจิตร “คาดรัด” ในแนวตั้ง เป็นลายดอกไม้สี่กลีบภายในกรอบสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด (มีลายลูกปัดกลมและลายผักกูดหรือใบไม้ม้วนล้อมรอบ) สลับกับลายดอกไม้กลม ขนาบข้างด้วยลายลูกปัดกลมมีเส้นลวดคาดแบ่ง ลายนอกสุดทำเป็นกระหนกใบไม้ขนาดใหญ่  ลายคาดบนบัววลัยนี้ จัดวางตกแต่งไว้เป็นระยะที่เท่ากัน 3 ลายต่อ 1 ช่วง ทั้งช่วงที่เป็นฐานปกติและช่วงที่ยกเก็จเป็นกระเปาะออกมา
ลวดลายดอกไม้ต่อเนื่องแบบสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดสลับดอกไม้กลม ปรากฏคติความนิยมในงานศิลปะนิยมในยุคคุปตะ – วากาฏกะ ในอินเดียตะวันตก และงานศิลปะแคว้นอานธระในอินเดียใต้ ตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 – 12 
ถัดขึ้นไปเป็นลวดเหลี่ยมเรียบล่างเรียกว่า “กัมภะ” (Kampa) ยุบผนังเข้าไปเป็นท้องไม้แคบ ๆ ที่เรียกว่า  “กัณฑะ” (Kaṇṭha)  ที่เจาะเป็นช่องสลับลึกเข้าไปแบบขื่อปลอม ตกแต่งปูนปั้นเป็นรูปดอกไม้จันทน์ในกรอบสี่เหลี่ยม คาดด้านข้างด้วยลายเม็ดลูกปัด สลับช่องว่างกับลายเสากลมที่มีลักษณะคล้ายหม้อ  “กลศกฤต” (Kalasakriti) สัญลักษณ์มงคล หมายถึงความเจริญงอกงามและอุดมสมบูรณ์ เหนือขึ้นมาเป็นลวดเหลี่ยมเรียบบน ปั้นปูนประดับเป็นลายสังวาลอัญมณีสี่เหลี่ยมต่อเนื่อง
เหนือขึ้นไปเป็นฐานอุปานะรองรับผนังเรือนขนาดใหญ่ เรียกว่า “กาชา” (Gaḷa) หรือ “ปาฏะพันธะ” (Pādabandha) คั่นด้วยเสาอิงกว้างสลับช่องว่าง ภายในช่องอาจเคยมีการปั้นปูนประดับหรืออาจมีการลงสีภาพเรื่องราวทางพุทธศาสนา
ด้านบนสุดเป็นชุดหลังคาของฐานล่าง ประกอบด้วยลวดกัมภะเหลี่ยมล่าง ท้องไม้กัณฑะที่มีขื่อปลอมสี่เหลี่ยมสลับกับช่องยุบสี่เหลี่ยม ลวดเหลี่ยมปิดด้านบนสุดที่เรียกว่า “เวทิกา” (Vedikā)  หรือ “ปฺรติ” (Parti)
------------------------------------
*** ถัดขึ้นมา ปรากฏฐานบัววลัยแคบ ๆ ระหว่างฐานล่างและฐานซ้อน บริเวณมุมทิศใต้เฉียงตะวันตก เป็นฐานยกเก็จล้อตามแบบฐานล่าง เหลือร่องรอยปูนปั้นประดับที่ฐานอุปานะ ฐานล่างเป็นลายดอกไม้สี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดสลับลายดอกไม้สี่กลีบรูปสี่เหลี่ยม ฐานเป็นลายดอกไม้มีกลีบรูปกลมสลับดอกไม้ในกรอบสี่เหลี่ยม เหนือขึ้นไปเป็นบัววลัย ที่มีเส้นคาดตั้ง เป็นลายสังวาลกลมสลับเหลี่ยมขนาบด้วยลูกปัดกลมและลายใบไม้ แตกต่างจากลายคาดบัววลัยของฐานล่าง
--------------------------------------
*** ฐานชั้นซ้อน คงเหลือผนังให้เห็นทางตะวันออกและบางส่วนทางทิศใต้ มีการจัดวางชั้นลวดบัวและงานปูนปั้นลงสีประดับแบบเดียวกันกับฐานล่างแต่มีขนาดเล็กกว่า ส่วนผนังเรือน “กาชา-ปาฏะ” เว้นช่องด้วยเสาอิง มีการประดับรูปของยักษ์แบกอยู่โดยรอบ
งานปูนปั้นประดับเจดีย์ทวารวดีที่วัดธรรมศาลา เป็นงานศิลปะที่สะท้อนความเชื่อความศรัทธา ความตั้งใจในเชิงช่างเพื่อการบูชาพระสถูป ด้วยการปั้นรูปพวงมาลัย ดอกไม้มงคล (ในความหมายของกลิ่นหอม) ร้อย/คาด/รัดเข้าประดับไว้ที่ชั้นบัววลัย/บัวกุมุท แทนความหมายของความเจริญรุ่งเรืองและอุดมสมบูรณ์
-------------------------------------------
*** ฐานเหนือชั้นซ้อน เป็นฐานแคบ ๆ คงเหลือให้เห็นเป็นแนวเล็ก ๆ ทางทิศตะวันออกและทิศใต้ ชั้นล่างทำเป็นฐานเขียงสี่เหลี่ยมไม่ยกเก็จ ต่อด้วยฐานอุปานะ (เขียง) เรียบยกเก็จรองรับลวดบัววลัย ชุดลวดกัมภะยุบเป็นท้องไม้ ทำเป็นช่องสลับซี่ฟันเฟืองแบบขื่อปลอม ด้านบนเป็นหน้ากระดานเวทิกา-ปฺรติ หรือหลังคาปลอมตามแบบชุดฐานล่าง
-------------------------------------------
*** ชั้นบนสุดถูกรื้อดัดแปลงให้กลายเป็นฐานของปรางค์ในสมัยอยุธยาช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 แต่เดิมนั้น คงเป็นเนินโดมรูปโอคว่ำ หรือแบบหม้อน้ำคอดที่ส่วนฐาน (ปากระฆัง) ตามรูปแบบเจดีย์ที่พบในอินเดีย ด้านบนเนินคงมีฐานบัลลังก์ที่เรียกว่า “หรรมิกา” (Harmikā)  ขนาดใหญ่ รองรับก้าน “ฉัตรวลี” (Chatravali- Chhatri-Chattra Spire) มีฐานเป็นบัวกลุ่มรองรับหน้ากระดานลายใบม้วนใหญ่สลับช่องว่าง หม้อน้ำเชิงลายกลีบบัว ก้านฉัตรด้านบนเป็นแท่งวงแหวนต่อระยะห่างกันลดหลั่นขึ้นไปจนถึงยอดลูกแก้ว  
ด้วยเพราะมีการขุดพบส่วนประกอบของยอดฉัตรวลีที่มีส่วนของหม้อเชิงฐานและชิ้นส่วนประกอบจำนวน 5 ชุด เป็นหลักฐานแสดงว่า เจดีย์ทวารวดีที่วัดธรรมศาลาเป็นเจดีย์แบบ 5 ยอด ตามคติ ไตรภูมิ - โลกสัณฐาน (Tribhumi - lokasaṇṭhāna) ของฝ่ายคณะมหาวิหารจากลังกา  ฐานซ้อน 3 ระดับ จึงอาจมีความหมายถึงระดับภพภูมิทั้ง 3 
เครดิต;FB
วรณัย พงศาชลากร
EJeab Academy
เพราะทุกที่มีเรื่องราวและเรื่องเล่า

วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

เจดีย์ศรีธาตุวัดเตาเหล็กพนมสารคาม

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
พุทธศิลป์ลาวแบบ “พระธาตุหลวงเวียงจันทน์” ที่วัดเตาเหล็ก พนมสารคาม 
อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ได้เคยกล่าวไว้ในบทความเรื่อง “ลาวเมืองไทย” ว่า “...การเข้ามาในดินแดนไทยของคนลาวนั้น อาจจะกล่าวได้ว่าเข้ามาในลักษณะสองอย่างด้วยกัน คืออย่างแรกเป็นการอพยพเข้ามาลี้ภัยตั้งเป็นบ้านเป็นเมือง ส่วนใหญ่จะกระจายอยู่ตามท้องถิ่นต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนอย่างที่สองคือถูกกวาดต้อนเข้ามา ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะถูกนำมาอยู่ในเขตจังหวัดภาคกลาง บรรดาคนลาวที่เข้ามาสองลักษณะนี้ หากทำการศึกษาให้ละเอียดแล้วก็จะพบว่าเป็นกลุ่มคนที่มีเผ่าพันธุ์และถิ่นฐานต่าง ๆ กัน หาได้เป็นพวกเดียวทั้งหมดไม่..."
ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 23  ณาจักรล้านช้าง หรือ “กรุงศรีสัตนาคนหุต” แยกออกเป็น 3 อาณาจักรคืออาณาจักรหลวงพระบาง อาณาจักรเวียงจันทน์และอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์  จนถึงสมัยของเจ้าอนุวงศ์แห่งนครเวียงจันทน์ ในปี พ.ศ. 2369 และปี พ.ศ. 2371 จึงได้เกิดสงครามครั้งใหญ่กับอาณาจักรสยาม ฝ่ายลาวพ่ายแพ้ หลังจากสงครามยุติลง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระดำริให้ทำลายนครเวียงจันทน์ทิ้งเสีย เพื่อมิให้รวบรวมผู้คนได้อีก ดังพระราชดำรัสของสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวความว่า
 "... เมืองเวียงจันทน์นี้เป็นกบฏมาสองครั้งแล้ว ไม่ควรจะเอาไว้เป็นบ้านเป็นเมืองให้อยู่สืบไป ให้กลับไปทำลายล้างเสียให้สิ้น...” 
สงครามระหว่างราชอาณาจักรสยามและลาวในครั้งนั้นใหญ่หลวงมาก ตัวเมืองเวียงจันทน์ได้ถูกทำลายจนกลายเป็นเมืองร้าง ยกเว้นแต่วัดวาอารามบางแห่ง ผู้คนพลเมืองก็ถูกไล่กวาดเข้าต้อนเข้ามาอยู่ในประเทศสยาม    แยกกระจัดกระจายไปตามหัวเมืองต่าง ๆ  เช่น สระบุรี ลพบุรี พนัสนิคม ปราจีนบุรี นครชัยศรี ชัยนาท อุทัยธานี สุพรรณบุรี เพชรบุรี สุโขทัย ฯลฯ เพื่อลดอำนาจทางการทหารและการเมืองของล้านช้าง ทั้งยังเสริมกำลังแรงงานไพร่ให้กับทางกรุงเทพ ฯ อีกด้วย
พวกลาวจากเมืองเวียงจันทน์และเมืองพวนถูกกวาดต้อนครัวเรือนลงมาหลังสงครามเจ้าอนุวงศ์  ถูกนำไปไว้ทางตะวันออกของพระนคร โดยเฉพาะบริเวณเมืองนครนายก เมืองประจิมทบุรี (ปราจีนบุรี) เมืองฉะเชิงเทรา เมืองพนมสารคามและเมืองพนัสนิคม เพื่อใช้เป็นไพร่พลหากเกิดสงครามกับฝ่ายเขมรและญวน ซึ่งเชลยชาวลาวทุกคนจะถูกสักเลกข้อมือเพื่อสังกัดมูลนายในระบบไพร่ ตามแบบชาวสยาม โดยมีปลัดเมือง จางวางลาว นายกองลาวและปลัดกองลาวเป็นมูลนาย แต่ก็อยู่ใต้การปกครองของเสนาบดีเจ้าสังกัด เจ้าเมือง และกรมการเมืองที่เป็นชาวสยาม  เลก (ไพร่) ลาวเวียง- ลาวพวน ในเขตพนมสารคาม ได้รับหน้าที่เป็นแรงงานไพร่สม (ทำงานหลวง) เข้าเดือน ส่วยเร่ว (กระวาน - หมากแหน่ง) ส่วยทองคำ ส่วยช้าง โคกระบือ ส่วยผลผลิตจากไร่นา เป็นกองด่านรักษาเขตแดน เป็นแรงงานในการซ่อมแซมวัดและวัง
------------------------------------------------
*** กลุ่มชาวลาวที่เคยอาศัยอยู่ในเขตเมืองจันทบุรี – เวียงจันทน์ ศูนย์กลางของราชสำนักลาว ถูกเรียกว่า “ลาวเวียง” นิยมตั้งถิ่นฐานบนที่ราบลุ่มติดกับลำน้ำใหญ่เพื่อการเพาะปลูกข้าว เช่นเดียวกับการตั้งถิ่นฐานริมแม่น้ำโขง  ชาวลาวเวียงมีความเชื่อความศรัทธาในพระพุทธศาสนา  นิยมใช้ตัวไทยน้อย (ลาว) อักษรธรรม อักษรขอม ในภาษาบาลี ในการจดบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ในหนังสือผูกใบลานและสมุดไทยที่ทำมาจากกระดาษสา  ทั้งเรื่องราวเกี่ยวข้องกับพระธรรมทางพุทธศาสนา ตำนาน คาถา ยันต์ ตำรายา วิธีการรักษาโรค การดูฤกษ์ยาม โชคชะตา ชาดกและนิทานพื้นบ้าน อย่างเรื่องจำปาสี่ต้น การะเกด นางแตงอ่อน ไก่แก้วและเซียงเมี่ยง (ศรีธนญชัย)  เล่านิทานเป็นมุขปาฐะอย่างเรื่องพระรถ – เมรี ท้าวอู่ทอง - อู่ไท มีประเพณีสำคัญในอำนาจเหนือธรรมชาติและพุทธศาสนาตามคติ “ฮีต 12 คอง 14” ทั้งบุญข้าวเม่า สู่ขวัญข้าว บุญข้าวหลาม-ข้าวเกรียบ บุญบั้งไฟ บุญกลางบ้าน-เลี้ยงผีศาลปู่ตา บุญเข้าพรรษา-สู่ขวัญพระ บุญห่อข้าวประดับดิน บุญข้าวสาก บุญพระเวส บุญกฐิน บุญเข้ากำ บุญคูนลาน บุญข้าวจี่  บุญสรงน้ำ บุญซำฮะ บุญกระยาสารท (สารทลาว) บุญไต้หางประทีป (ออกพรรษา) 
ในช่วงต้นสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ พ.ศ. 2403 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เกลี้ยกล่อมชาวลาวเวียงจากถิ่นอื่น ๆ ให้ย้ายมารวมกันที่เมืองพนมสารคามเป็นกลุ่มใหญ่ เป็นการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของชาวลาวเวียงเป็นครั้งสุดท้ายในหลักฐานบันทึกทางประวัติศาสตร์
------------------------------------
*** วัดเตาเหล็ก ตั้งอยู่ที่ริมคลองท่าลาด ตำบลพนมสารคาม อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นวัดที่สร้างขึ้นโดยชาวลาวเวียง ช่วงหลังปี พ.ศ. 2371  เป็นชุมชนที่ยังคงใช้ชื่อนาม “บ้านเตาเหล็ก” ตามชื่อบ้านเดิม ที่เคยเป็นชุมชนถลุงเหล็ก เมื่อครั้งยังอาศัยอยู่ในเวียงจันทน์
จุดเด่นของความเป็นลาวเวียง ที่คงเหลืออยู่ในปัจจุบันของวัดเตาเหล็กก็คือ “สิม” หรืออุโบสถแบบลาว ตั้งติดกับริมคลองท่าลาด ที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก ปรากฏร่องรอยภาพเขียนสีบนผนังด้านนอกจากยุคเริ่มแรก เป็นเรื่องราวพระเวสสันดรชาดก ต่อมาก็มีการกลบสีและวาดรูปขึ้นใหม่ ส่วนด้านในมีร่องรอยของภาพการตั้งถิ่นฐานและขบวนภาพการขี่สัตว์นานาชนิด ที่เล่าว่าเป็นขบวนเดินทางอพยพของชาวลาวเวียง รวมทั้งภาพการต่อสู้ระหว่างควายแดงและควายดำควาย (ทรพีและทรพา) อีกทั้งยังมีพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย “หลวงพ่อสัมฤทธิ์” ยอดพระเกตุมาลาแตกปลีแทรกหน่อเป็นพุ่มขนาดใหญ่เหนือพระเมาลี (หม่อมกะโหลก) พระดัชนีเรียวยาว ประดิษฐานบนฐานไม้สูงคอดเอวแบบขันหมากลาวที่สลักลายผ้าทิพย์สามเหลี่ยมล้อมรอบด้วยลายบัวรวน และพระยืนปางเปิดโลกสลักไม้ (หลวงพ่อหลวง) พุทธศิลป์นิยมแบบลาวพื้นเมืองหลงเหลืออยู่ 
เจดีย์ “ศรีธาตุ” ของวัดเตาเหล็ก เป็นพระเจดีย์ที่แสดงความเป็นลาวเวียงจันทน์ได้อย่างชัดเจนที่สุดของชุมชนลาวเวียงในเขตเมืองพนมสารคาม ด้วยเพราะยังคงรักษาสถาปัตยกรรมระดับช่างหลวง ตามแบบพระธาตุหลวงเวียงจันทน์ หรือ “พระเจดีย์โลกะจุฬามณี” ไว้อย่างชัดเจน
ภาพเก่าสุดของพระธาตุหลวงหลวงวียงจันทน์ เป็นภาพวาดของลายเส้นโดย “หลุยส์ เดอลาพอร์ต” (Louis Delaporte) นักสำรวจและจิตรกรชาวฝรั่งเศส ในคณะนักสำรวจแม่น้ำโขงของฝรั่งเศสในช่วงปี พ.ศ. 2409- 2411  ที่บันทึกว่า “... เวียงจันทน์ขณะนี้มีสภาพเป็นป่ารกทึบ เต็มไปด้วยต้นไม้ขึ้นปกคลุม ปราศจากผู้คนอยู่อาศัย...”  ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2417 กองทัพจีนฮ่อจากทางเหนือได้ยกพวกเข้ามายึดเวียงจันทน์และข้ามแม่น้ำโขงมาตีเมืองหนองคาย เมืองเวียงจันทน์ได้ถูกกองทัพจีนเผาทำลายครั้งใหญ่ มีการปล้นสะดม ขุดเจดีย์เพื่อค้นหาของมีค่า ขุดจนพระธาตุหลวงเวียงจันทน์พังทลายลงมา แต่ในภายหลังจึงได้มีการสร้างขึ้นใหม่ตามรูปแบบเดิม    
พระธาตุหลวงเวียงจันทน์ เป็นงานสถาปัตยกรรมแบบลาว (ช่าง) หลวง มีฐานใหญ่เป็นอาคารผังสี่เหลี่ยม ขนาด 68 * 69 เมตร ลักษณะคล้ายอาคารอูบมุง ยกระเบียงขึ้นสูงโดยรอบ 2 ชั้น ประดิษฐานเจดีย์บริวารจำนวน 30 องค์  ทำให้เห็นแต่ส่วนหลังคาลาดโค้ง (หลังเต่า) มีสันสี่ด้าน เหนือหลังคาเป็นฐานบัวกลุ่ม ทำเป็นกลีบตั้งแบบกลีบบัวหงายซ้อน เหนือขึ้นไปเป็น ชุดฐาน “เอวขัน” (พาน-ขันหมากแบบลาว) คอดเอว (เอวขอดขันปากพาน) ปากพานผาย (เหวอ) ออกเป็นฐานรองรับจอมธาตุ ที่เป็นองค์ระฆังทรงโกศตั้ง – บัวเหลี่ยมหรือดวงปลี ยอดบนเป็นฝาโกศทรงโค้งหลังเต่า จบด้วยปราสาทซ้อนชั้นยอดแหลม
----------------------------------------------
*** เจดีย์ศรีธาตุที่วัดเตาเหล็ก ส่วนฐานทำเป็นพานขันหมากคอดเอว (ส่วนตีนลาดของขันหมากไม้ จะใหญ่กว่าส่วนปากพานที่ผาย-เหวอออก) เรียงซ้อนพานลดหลั่นขึ้นไป 3 ชุด รองรับฐานและองค์ระฆังทรงโกศลาว – ดวงปลี – บัวเหลี่ยม ยอดเป็นฝาสี่เหลี่ยมจบด้วยบัวกกลุ่มรองรับปลียอดแหลม
การใช้ “พาน-ขันหมากไม้แบบคอดเอว – เอวชัน (ขันธ์)”  มาประกอบในงานสถาปัตยกรรมเพื่อรองรับสิ่งของสำคัญบนยอดสุดของพาน เป็นเอกลักษณ์ของงานสถาปัตยกรรมแบบลาว (หลวง) เวียงจันทน์อย่างแท้จริง  
เจดีย์ศรีธาตุ วัดเตาเหล็ก เมืองพนมสารคาม  เป็นสถาปัตยกรรมของชาวลาวที่ถูกกวาดต้อนมาจากเมืองเวียงจันทน์ ที่พวกเขาได้สร้างพระธาตุล้อ (เลียนแบบ)  “พระธาตุหลวงเวียงจันทน์” ขึ้นเพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจในความเชื่อทางพุทธศาสนา ตามกำลังของกลุ่มชนลาวเวียงที่มีอยู่ริมลำน้ำท่าลาด ไว้ในยามคิดถึงบ้านที่ต้องพลัดพรากจากมาแสนไกล ไม่อาจจะหวนคืนกลับไป ...ได้อีกตลอดกาล
เครดิต;
วรณัย  พงศาชลากร
EJeab  Academy
เพราะทุกที่มีเรื่องราวและเรื่องเล่า  

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

พระสทาศิวะ

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
ประติมากรรม “พระสทาศิวะ” คติฮินดูในอยุธยา 
“พระสทาศิวะ” (Sadāshiva –Sadāśiva) หรือ “สทาศิวะมูรติ” (Sadāśivamūrti)  คือ “องค์ปรเมศวร (Paraméshvara) - เทพผู้เป็นปฐมนิจนิรันดร์” ทรงเป็น “วิทยาเทศะ” (Vidyādeha) ผู้บริสุทธิ์ปราศจากมลทิน 
คติพระสทาศิวะในอินเดียโบราณ จะหมายถึงพลังทั้ง 3 อันประกอบ “ผู้สร้าง ผู้พิทักษ์และผู้ทำลาย”  ปรากฏรูปลักษณ์ทางศิลปะครั้งแรกเป็นรูปพระสทาศิวะ 3 พระพักตร์ ถือตรีศูล บนภาพวาดบนแผ่นดินเผา (Panel fragment) ในงานศิลปะแบบคันธาระ ยุคราชวงศ์กุษาณะ ในพุทธศตวรรษที่ 7 - 8  ซึ่งในเวลานั้น พระศิวะยังคงมีพระนามว่าเทพ Oesho 
ต่อมาเมื่อเกิดคณะอิศวร (Ishvara - Īśvara) ที่พัฒนาเป็น “ไศวะนิกาย” (Shaivism) ในช่วงต้นราชวงศ์คุปตะในอินเดียเหนือ คติความนิยมและรูปลักษณ์ทางศิลปะของพระสทาศิวะ (พระผู้เป็นปฐมปรมาตมันอันเป็นนิจนิรันดร์ – พระศิวะผู้เป็นใหญ่) ได้แตกออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือแบบ 3 พระพักตร์ตามแบบเดิมและแบบ 5 พระพักตร์ ที่พัฒนารายละเอียดในคติพระสทาศิวะมากขึ้นกว่าเดิม  โดยพระพักตร์ทั้ง 5 “ปัญจมุข” (Panchavaktra – Pancha mukha) หมายถึง “ เทพทั้ง 5 - ปัญจพราหมณ์ทั้ง 5 (Panchabrahmas) -ธาตุทั้ง 5-พลังทั้ง 5 (ปัญจกฤตยะ  – Panchakritya) -ทิศทั้ง 5 และปรัชญาทั้ง 5”  
1 พระพักตร์บนยอดเศียรคือพระพักตร์แห่ง “พระสทาศิวะ” (วรรณะสีคริสตัลใส)- พราหมณ์ อิศานมูรธะ (Īśānamūrdha) - อากาศธาตุ- พระภาคแห่งผู้ประทานพรศักดิ์สิทธิ์–ผู้ประทับอยู่เหนือสุด (ทิศบน) 
2. “พระมเหนทร-มหาเทพ” (Mahādeva- วรรณะขาวอมเหลือง) พราหมณ์ตัตปรุษศวัคตรา (Tatpuruṣavaktra) - ลม (วายุ –Vāyu)  พระภาคแห่งผู้ปกปักษ์รักษา- มองไปทางทิศตะวันออก
3. “พระไภรวะ” (Bhairava- วรรณะฟ้า) -พรามหณ์อโฆระหารัทยะ (Aghorahṛdaya) – ไฟ – พระภาคแห่งผู้ทำลาย-มองไปทางทิศใต้
4. “พระศักติ” (śakti – วรรณะม่วงหญ้าฝรั่น) พราหมณ์วามเทพคุหยะ (Vāmadevaguhya) – น้ำ – พระผู้สร้าง (ครรภะ) – มองไปทางทิศเหนือ
5.  “พระนนทิ” (Nandi – วรรณะแสงแห่งจันทรา) - พราหมณ์สัทโยชาตะมูรติบาท  (Sadyojātamurti (Pāda)-ดิน-พระผู้เป็นมายา-มองไปทางทิศตะวันตก
---------------------------------------------
*** ในอินเดียโบราณ กลับปรากฏความนิยมในรูปลักษณ์ทางศิลปะของพระสทาศิวะ-พระปฐมปรเมศวร ในรูปแบบ 3 พระพักตร์ แทบทั้งหมด อย่างรูปสลักประธานขนาดใหญ่ใน “ถ้ำเอเลเฟนต้า” (Elephanta Cave 1) บนเกาะช้าง ใกล้เมืองมุมไบ รัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) ในยุคพระเจ้าภูตราราชา (Buddharāja) ราชวงศ์ฮินดูกาลาจูลี ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 12 สลักผนังถ้ำเฉพาะส่วนพระเศียร 3 พระพักตร์ ลงมาแค่พระอุระ พระพักตร์กลางคือพระภาคของพระศิวะ ในความหมายแห่งผู้สร้าง ถือ “ผลมาตุฤงคะ” (Matulunga - มะนาวควาย ส้มมะงั่ว) ด้านขวาเป็นพระภาคของพระศักติ ผู้ดูแลรักษา ถือ “ดอกบัว” (Padma) และทางซ้ายเป็นพระภาคพระรุทระ ผู้ทำลาย ถือ “งูใหญ่ ” (Bhujanga)  อีกทั้งยังมีรูปประติมากรรมพระสทาศิวะ 3 พระพักตร์ 4 กร ปรากฏไปทั่วอินเดีย ทั้งรูปศิลปะหลังคุปตะจากปากีสถาน ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 13 รูปศิลปะจากยุคการาโคตา , (Karakota) แคชเมียร์ พุทธศตวรรษที่ 14  รูปศิลปะจากยุคราชวงศ์ปาฏิหาริย์ (Partihara Dynasty) ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 15  จนถึงยุคราชวงศ์โจฬะ (Chola Dynasty) ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 16 และยังปรากฏประติมากรรมพระสทาศิวะแบบ 3 พระพักตร์ ในศิลปะแบบชวา ยุคราชวงศ์สัญชัย (Sanjaya Dynasty) ต้นพุทธศตวรรษที่ 15 
งานศิลปะแบบ 5 พระพักตร์ ดูเหมือนจะเริ่มปรากฏความนิยมในช่วงราชวงศ์ปาละ – เสนะ ในเขตอินเดียตะวันออก ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมา โดยทำเป็นรูป 5 พระพักตร์ 10 พระกร มีพระรุทรเนตรกลางพระนลาฏ ถือสิ่งมงคลแตกต่างกันไป ตามความนิยมในแต่ละท้องถิ่น-ศิลปะ ทั้งตรีศูล (Trishula -Triśūl)  วัชระ (Vajra) ผลมาตุฤงคะ (Matulunga - มะนาวควาย ส้มมะงั่ว) ขวานคทา-ขัฏวางคะ (Khatavanga) ลูกประคำ-อักษมาลา (Akshamala) ประคำเมล็ดรุทรักษะ (Rudraksha rosary)  กลองบัณเฑาะห์ - ฑมรุ" (Damaru)  ดอกบัวนิโลทบล (Nilotpala) งูใหญ่ - ภุชังคะ (Bhujanga)  บ่วงบาศ-ปาศะ (Pasha) ขวาน-ปรศุ (Parasu) ขัฑคะ (Khadga)  ขอสับช้าง – อังกุศะ  (Ankusha)  กระดิ่ง-ฆัณฏะ (Ghanta) ไฟ-อัคนี (Agni)  การแสดงท่าอภัยมุทรา (Abhaya) และ วรทมุทรา-ประทานพร (Vāraḍa-Varadam)  
อิทธิพลงานศิลปะพระสทาศิวะ 5 พระพักตร์ จากอินเดียตะวันตก ในความหมายแห่งพระศิวะผู้สูงสุด (องค์ปฐม) ได้รับความนิยมในงานศิลปะเขมรโบราณตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ดังปรากฏรูปพระศิวะ 5 พระพักตร์ในรูปลักษณ์ต่าง ๆ ทั้งแบบเดี่ยวใน “ศิวนาฏราช” (Shiva Natarāja) หรือ “นฤตตมูรติ – นาฏะ มูรติ” (Nṛtyamūrti)  “สัณธยา ตาณฑวะมูรติ-ร่ายรำอย่างงดงาม” (Sandhya Tāṇḍavamūrti) ที่เคยอยู่ภายในคูหาซุ้มประตูปราสาทกรอฮอม (Prasat Krahom) ศิลปะแบบเกาะแกร์ ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 15  และรูปลักษณ์ของผู้เป็นพระปฐม (ให้กำเนิดพระพรหมและพระวิษณุ) หรือผู้เป็นใหญ่สูงสุดในอำนาจทั้งสาม ตามคติ “ตรีมูรติ” (Trinity -Trimūrti) อย่างรูปประติมากรรม ที่พบจากเมืองเกาะแกร์ (ลึงคปุระ – โฉกครรกยาร์) จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรุงพนมเปญ และ รูปสลักพระสทาศิวะ ผู้เป็นใหญ่เหนือพระตรีมูรติ ที่ผนังโขดหิน ประธานของอาคารเครื่องไม้ข้างมหาตีรถะแห่งปราสาทวัดพู ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 17 
รูปพระสทาศิวะ 5 พระเศียร 10 พระกร ประธาน (ผู้เป็นใหญ่)แห่งพระตรีมูรติในงานศิลปะเขมรยังคงความนิยมมาอย่างต่อเนื่องจนถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 ในยุคการฟื้นฟูลัทธิฮินดู ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 และคงได้ลดความนิยมจากราชสำนักลงไป ด้วยเพราะอิทธิพลของพุทธศาสนาแบบเถรวาท จนในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 เมื่อเสียเมืองพระนครให้แก่อาณาจักรอยุทธยา ได้มีการกวาดต้อนผู้คนในเมืองพระนครชยศรี (นครธม) กลับไปเป็นจำนวนมาก 
งานศิลปะเขมรเมืองพระนครยุคหลังบายน (พระปิถุ) ได้มาปรากฏความนิยมในอยุทธยาในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 21 ด้วยเพราะเชลยที่เป็นนักบวชพราหมณ์และช่างฝีมือในชุมชมเขมรที่ยังคงศรัทธาในลัทธิฮินดู คงได้มีการสร้างรูปประติมากรรมพระสทาศิวะขึ้น โดยสลักหินทรายเป็นรูปนูนสูง มีแผ่นหลังยอดซุ้มโค้งคลื่นแบบเมฆ เพื่อวางประดิษฐานกับกำแพง เป็นรูป 10 กร 5 พระเศียร 3 พระเนตร คล้องสายยัชโญปวีต นุ่งผ้าชักชายผ้าปลายแหลมทิ้งเป็นทบด้านหน้าตามแบบศิลปะพระปิถุ แต่วางลวดลายประกอบเป็นงานศิลปะแบบอยุธยา สอดรับกับรูปประติมากรรมพระสทาศิวะสำริด 8 กร ขนาดเล็ก จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาอตพระนคร ที่มีศิลปะการนุ่งภูษาสมพตขาสั้น ทิ้งชายผ้าเป็นชั้นทบปลายแหลมแบบเดียวกัน 
ต่อมา คติ “พระศิวะ – สทาศิวะ” จากฝ่ายเขมรคงได้หมดความนิยมลงในอยุธยา  ปรากฏพระนาม “พระอิศวร” ของฝ่ายพราหมณ์จากเมืองศรีธรรมราชเข้ามามีบทบาทแทนที่พระนาม “อิศวร – ปรเมศวร” ในช่วงก่อนหน้า  มีการสร้างรูปพระอิศวรสำริดที่มีเพียงพระพักตร์-เศียรเดียวมาโดยตลอด ไม่มีการสร้างรูปพระสทาอิศวร ส่วนในวรรณกรรมก็เริ่มปรากฏพระนามพระอิศวรที่ฐานรูปสำริดพระอิศวรเมืองกำแพงเพชร ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 21 และปรากฏพระนามในวรรณกรรมของอยุธยาอย่างชัดเจนในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 22 
เครดิต;
วรณัย  พงศาชลากร
EJeab  Academy
เพราะทุกที่มีเรื่องราวและเรื่องเล่า

วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

วัดตระพังทองหลาง

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
ประติมากรรมปูนปั้น “มหาปาฏิหาริย์” ที่วัดตระพังทองหลาง กรุงสุโขทัย
วัดตระพังทองหลาง ตั้งอยู่ทางตะวันออกนอกเมืองโบราณสุโขทัย ห่างจากประตูเมืองประมาณ 1 กิโลเมตร บนเกาะกลางน้ำของตระพังทองหลางที่ได้ตื้นเขินไปมากแล้ว จึงทำให้ดูเหมือนว่าเป็นเพียงแค่คูน้ำล้อมรอบ ซากอาคารที่เหลืออยู่มีวิหารผนังโปร่งด้านหน้า มีเจติยะประธานรูปทรงมณฑปเรือนกล่องสี่เหลี่ยม (Cella – Cube) ไม่ลดสันมุม ภายในมีซากโกลนศิลาแลงพระพุทธรูปปางมารวิชัยนั่งเต็มพื้นที่ระหว่างผนัง 
ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 ราชสำนักสุโขทัยเกิดความนิยมในสถาปัตยกรรมเรือนปราสาทผังสี่เหลี่ยม ที่มียอดหลังคาก่ออิฐหน้าจั่ว-หลังคาลาด แทรกเข้าไประหว่างกลางตัววิหารและพระเจดีย์ที่เป็นประธานของวัด อย่างวัดสวนแก้วอุทยานน้อย เมืองโบราณศรีสัชนาลัย และมณฑปหลังคาทรงกรวยเหลี่ยม ซ้อนชั้นด้วยเครื่องไม้มุงกระเบื้องยอดแหลมเดี่ยว อย่างที่วัดศรีชุม ประดิษฐานพระพุทธรูปภายในอาคารแบบเต็มพื้นที่จนดูคับแคบตามคติ  “พระคันธกุฏี” (Gandha kuti) ที่ประทับของพระพุทธเจ้า จากอิทธิพลของงานสถาปัตยกรรมพุกาม – รามัญและล้านนา ผสมผสานงานศิลปะสุโขทัยเดิม ที่มีอิทธิพลของฝ่ายเขมรและเถรวาท-ลังกา จากยุคโปโลนารุวะ
คติความนิยมในพุทธประวัติแบบเถรวาทจากลังกาผสมผสานกับคติพุทธประวัติแบบ “อัษฏมหาปาฏิหาริย์ – อัฐฏมหาปาฏิหาริย์” (Aṣṭa Mahā Pāṭihāriya) จากสังเวชนียสถาน 8 แห่ง ที่เรียกว่า “อัษฏมหาสถาน” (Aṣṭa  Mahā sthāna- caitya) ที่เริ่มต้นความนิยมในยุคราชวงศ์คุปตะ ส่งต่อมายังราชวงศ์ปาละในอินเดียตะวันออก เข้าสู่อาณาจักรพุกามและล้านนา จนเกิดการสร้างศิลปะแบบ “ผสมผสาน” (Assimilation) ระหว่างคติและศิลปะจากลังกากับปาละขึ้นที่กรุงสุโขทัยอย่างกลมกล่อม
นอกจากการสร้างมณฑปเพื่อเป็นประธานของวัดแทนพระเจดีย์แล้ว ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 21  ยังมีความนิยมในการสร้างเจดีย์เรือนกล่องสี่เหลี่ยมแบบพุกาม ยอดทรงปราสาทย่อมุมปลายยอดเป็นพุ่มดอกบัวตูมหรือเจดีย์ลังกาขึ้นหลายแห่ง ทั้งที่เจดีย์ราย วัดเจดีย์เจ็ดแถว เมืองโบราณศรีสัชนาลัย เจดีย์รายข้างเจดีย์ประธานวัดมหาธาตุสุโขทัย รวมทั้งการสร้างมณฑปที่มีความสูงใหญ่เพื่อประดิษฐาน “พระอัฏฺฐารส” ที่นิยมในรัฐสุโขทัยมาตั้งแต่ยุคก่อนหน้า
--------------------------------------
*** เจติยะทรงมณฑป เรือนธาตุทรงกล่องสี่เหลี่ยมแบบพุกามที่วัดตระพังทองหลาง ตั้งบนฐานบัว ลวดลูกฟักเหลี่ยมแคบคาดที่ท้องไม้ ด้านหน้าทำเป็นมุขอาคารยื่นออกมาเล็กน้อย ซ้อนชั้นด้วยซุ้มประตูชั้นลด ยอดซุ้มประตูโค้งแหลม (Arch) แบบใบหอก กลางผนังเรือนอีก 3 ด้าน ยกซุ้มแคบ ๆ ออกมาจากผนัง ในระดับต่ำกว่าซุ้มประตู โดยไม่ยกเก็จประธานที่ฐาน ซ้อนด้วยจระนำซุ้มเป็นชั้นลด ยอดซุ้มโค้งหน้านางในงานศิลปะลังกา ภายในช่องปั้นปูนประดับ เป็นเรื่องราวในพุทธประวัติที่เกี่ยวเนื่องกับกับกระทำปาฏิหาริย์-อภินิหารของพระพุทธเจ้าเจ้าในอัษฏมหาปาฏิหาริย์ ที่เป็นคติความนิยมจากอิทธิพลฝ่ายปาละผ่านมาทางพุกาม 
ซุ้มฝั่งตะวันออกด้านหน้าเป็นซุ้มประตูใหญ่เข้าสู่เรือนธาตุ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยหรือภูมิสปรศมุทรา ตามพุทธประวัติ ตอนผจญมาร (Assualt of Mara)  ที่ทรงกระทำปาฏิหาริย์ แสดงพลังอำนาจกำราบกองทัพพญามารท้าววสวัตตีจนพ่ายแพ้
ซุ้มฝั่งทิศใต้ปั้นปูนเป็นรูปปางลีลา-เดิน (พระเจ้าหย่อนตีน) เส้นขวางในความหมายของบันได ที่มีพระอินทร์และพระพรหม 4 พักตร์ ถือเศวตรฉัตรกั้นที่ด้านข้าง เหล่าเทพยดา แสดงสาธุการอัญชลี  เป็นพุทธประวัติตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (Buddha Descending from Tavatimsa - Trayastrimsa) โดยบันไดแก้วมณี ที่เมืองสังกัสสะ (Sankassa) ทรงกระทำปาฏิหาริย์เปิดโลกทั้งสาม เชื่อมพรหมโลก อเวจีมหานรก โลกมนุษย์และจักรวาลหลายแสนเป็นเนื้อเดียวกัน เทพยดาจึงได้แลเห็นพวกมนุษย์และสัตว์นรก มนุษย์ได้เห็นเทพยดาและสัตว์นรก สัตว์นรกได้เห็นมนุษย์และเทพยดา
ซุ้มฝั่งทิศตะวันตกปั้นปูนเป็นรูปพระพุทธเจ้าและพระอัครสาวก ในพุทธประวัติตอนโปรดช้างนาฬาคีรี (Nalagiri Elephant) ที่กรุงราชคฤห์ (Rajgriha) พระพุทธเจ้ายืนในปางประทานอภัยหรืออภยมุทรา (Abhaya Mudra) ในประภามณฑลยอดโค้งกลม พระรัศมีด้านในเป็นข้อสังวาลกลมและสี่เหลี่ยมต่อเนื่อง ด้านนอกเป็นเปลวเพลิวปลาย 5 แฉก คล้ายปลายพู่-ธงลู่ลม ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของงานศิลปะแบบโปโลนาลุวะ (Polonnaruwa) จากลังกา พื้นหลังเป็นดอกมณฑารพ – มนฺทารว - มณฑาทิพย์ (Mandāra) ดอกไม้ทิพย์จากสวรรค์ คล้ายคลึงกับงานศิลปะดอกไม้ของล้านนาจากอิทธิพลจีน  โดยมีรูปช้างขนาดเล็กที่มุมล่างแต่กะเทาะหายไป ด้านหลังเป็นรูปพระอานนท์เถระแสดงอัญชลี
ด้านบนของซุ้มทางทิศตะวันตกนี้ ยังคงเหลือลวดลายปูนปั้นประดับแบบโค้งหน้านาง ตรงกลางเป็นหน้ากาลคายมาลัยที่ปลายเป็นรูปกินร – กินรี ตวัดกระหนกหางเป็นพุ่มใหญ่ ตามอิทธิพลของงานศิลปะลังกา ในขณะที่ปลายซุ้มมุขด้านบนยังคงนิยมทำเป็นหัวนาคปลายหน้าบันตามงานศิลปะสุโขทัย-เขมรเดิม   
ซุ้มทางฝั่งทิศใต้ ปั้นปูนเป็นรูปพระพุทธเจ้าปางลีลาในกรอบรัศมีโค้งบนยอดต้นมะม่วง (มีใบเรียวยาว) ในท่ามกลางเหล่าเทพยดาและนางฟ้า (มีประภามณฑลยอดแหลม) ควรเป็นพุทธประวัติตอน “มหาปาฏิหาริย์”  (Mahā Pāṭihāriya)  ที่เมืองสาวัตถี (Sravasti)  ความว่า เมื่อพระพุทธองค์ได้รับคำท้าทายจากเดียรถีย์ ทรงได้แสดงพระประสงค์จะอาศัยร่มไม้มะม่วงทำกระทำปาฏิหาริย์ เมื่อพวกเดียรถีย์รู้  ก็รีบพากันโค่นล้มต้นมะม่วงทั้งในเมืองและนอกเมืองจนหมดสิ้น แต่มีมะม่วงทวายมีมดแดงทำรังหุ้มอยู่กำลังสุกลูกหนึ่ง ที่นายคัณฑะ ผู้ดูแลพระราชอุทยานของพระเจ้าปเสนทิโกศลนำมาถวาย เมื่อพระพุทธเจ้าได้ฉันน้ำปานะที่เกิดแต่ผลมะม่วงแล้ว ได้ทรงส่งเมล็ดมะม่วงให้นายคัณฑะนำไปปลูก บังเกิดมหาปาฏิหาริย์ เป็น “ต้นคัณฑามพฤกษ์” ใหญ่ สูง 12 วา 2 ศอกแผ่กิ่งก้านยาวออกไปถึง 50 ศอก แต่ละช่อตกดอกออกผล ทั้งผลดิบและผลสุกแลอร่ามไปทั้งต้น ร่วงหล่นจนเกลื่อนไปทั่ว ซึ่งในบ่ายวันเดียวกันนั้น จึงทรงได้แสดง “ยมกปาฏิหาริย์” (Yamaka- Pāṭihāriya) กำราบพวกเดียรถีย์ที่ต้นคัณฑามพฤกษ์นี้
รูปปูนปั้นทรงกลมที่ล้อมรูปต้นมะม่วง จึงควรหมายถึงเมล็ดมะม่วงที่พระพุทธเจ้าได้แสดงมหาปาฏิหาริย์ปลูกขึ้น ส่วนปางลีลานั้น หมายถึงการเสด็จออกจากคันธกุฏี ไปยังต้นคัณฑามพฤกษ์ เพื่อแสดงยมกปาฏิหาริย์นั่นเอง
----------------------------------------------
*** ที่วัดตระพังทองหลาง ช่างผู้สร้างงานประติมากรรมปูนปั้นและพระพุทธรูปประธานภายในมณฑป ได้ เลือกพุทธประวัติตอนที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงมหาปาฏิหาริย์  4 เหตุการณ์ จากคติของฝ่ายปาละ–พุกาม-ล้านนา มาผสมผสานกับงานศิลปะนิยมแบบลังกา-สุโขทัย–เขมร ได้อย่างงดงามลงตัว    
เครดิต;
วรณัย พงศาชลากร 
EJeab Academy 
เพราะทุกที่มีเรื่องราวและเรื่องเล่า

วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

วัดพระสี่อิริยาบถ

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
ปูนปั้น “นารายณ์ทรงครุฑ” ที่หายไปจากวัดพระสี่อิริยาบถ กำแพงเพชร
ในปี พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสต้นในเขตอรัญวาสี – อรัญญิก (Āraṇya-vāsī -Buddhist forest monastery - Forest renunciates) หรือวัดป่านอกเมือง ทางเหนือของเมืองป้อมกำแพงเพชรโบราณ ทรงมีพระราชนิพนธ์ ถึงวัดพระสี่อิริยาบถไว้ว่า           
“...ตั้งชื่อไว้ว่าวัดพระยืน มีสะพานข้ามคู...ชิ้นกลางเห็นจะเป็นวิหารยอดจัตุรมุข แต่สูงใหญ่เหลือเกิน มุขหน้าเป็นพระเดิน มุขหลังเป็นพระยืน มุขซ้ายเป็นพระนอน มุขขวาเป็นพระนั่ง ที่มุมปั้นเป็นรูปนารายณ์ขี่ครุฑใหญ่มาก จะรับหลังคาอย่างไรน่าคิด แต่พระเหล่านี้เป็นพระปั้นด้วยปูน ใครจะมาซ่อมมาทำเพิ่มเติมอย่างไรภายหลัง แต่รูปพรรณสัณฐานคงเป็นพระกำแพง ไม่ใช่ช่างเมืองอื่นมาทำ พระยืนนั้นขนาดพระโลกนาถวัดเชตุพน แต่ประเปรียวกว่า เห็นว่าให้ชื่อว่าวัดพระยืนไม่เข้าเค้า จึงเปลี่ยนให้เรียกว่าวัดพระเชตุพนไปพลาง กว่าจะมีชื่ออื่นดีกว่า เหตุด้วยเมืองสุโขทัยมีวัดเชตุพน บางทีเขาจะตั้งชื่อซ้ำกันบ้าง...”
ภาพถ่ายเก่าในครั้งเสด็จประพาสต้น ปรากฏรูปปูนปั้นนารายณ์ทรงครุฑขนาดใหญ่ในท่ามกลางรากไม้ใหญ่ชอนไชที่ยอดของสันมุมด้านหนึ่งฝั่งขวาของพระยืน อาจเป็นปางแสดงธรรม หรือปางประทานอภัย (พระกรฝั่งซ้ายตั้งฉาก มีร่องรอยของรูเดือยยึดโครงไม้ แต่ได้แตกหักหายไปทั้งหมด) อย่างชัดเจนครับ
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรงพระยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวิชราวุธ มกุฏราชกุมาร ได้เสด็จประพาสวัดในเขตอรัญวาสีนอกเมืองกำแพงเพชร ในปี พ.ศ. 2450 ได้ทรงมีพระราชนิพนธ์ ถึงวัดพระสี่อิริยาบถความว่า 
“…ที่วัดพระสี่อิริยาบถนั้น มีชิ้นสำคัญอยู่ คือวิหารสี่คูหา มีพระยืนด้านหนึ่ง พระนั่งด้านหนึ่ง พระลีลาด้านหนึ่ง พระไสยาสน์ด้านหนึ่ง พระยืน พระนั่ง พระลีลา ยังอยู่พอเป็นรูปร่างเห็นได้ถนัด แต่พระนอนนั้นชำรุดจนไม่เป็นรูป รอบวิหารมีผนังลูกกรงโปร่ง มองเข้าไปได้ทั้งสี่ด้าน แต่วัดนี้เหมือนวัดเชตุพนที่สุโขทัยเกือบจะไม่มีผิด…”
จากภายถ่ายเก่าเมื่อครั้งเสด็จประพาส ที่มุมสันของผนังแกนฝั่งขวาของพระพุทธรูปนั่ง ปางมารวิชัย (ที่ยังไม่พังทลายลงมา) ยังคงมีรากไม้ชอนไชอยู่เช่นเดิม ซึ่งนั้นก็ได้แสดงว่ารูปปูนปั้นพระนารายณ์ทรงครุฑยังไม่ได้หักพังหายไป 
แต่ภาพถ่ายเก่าประมาณปี พ.ศ. 2510 - 11 ภายหลังจากการบูรณะเมืองกำแพงเพชรเป็นครั้งแรก กลุ่มรากไม้ที่ชอนไชปกคลุมบริเวณมุมสันอาคารประธานและรูปปูนปั้นนารายณ์ทรงครุฑได้หายไปทั้งหมดครับ    
-----------------------------------------
*** วัดพระสี่อิริยาบถ  ตั้งอยู่ในเขตอรัญวาสี ทางทิศเหนือนอกเมืองป้อมกำแพงเพชร มีอาคารเจติยะประธาน เป็นมณฑปยอดเครื่องไม้หลังคาแหลม (?) ตรงกลางก่อเป็นผนังทึบระหว่างเสาใหญ่สี่ต้นบนฐานสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยกสูง กลายเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมแท่งสูงรองรับเรือนหลังคาเครื่องไม้ด้านบน มีเสาขนาดใหญ่รองรับคานโครงสร้างเครื่องไม้หลังคาออกไปด้านหน้าของผนังแต่ละด้านเป็นผังจัตุรมุข โดยทำผนังโค้งเว้าเข้าทั้ง 4 ด้าน ประดิษฐานพระพุทธรูป 4 อิริยาบถ คือ ปางเดิน (ลีลา) ทางด้านหน้าทิศตะวันออก ในพุทธประวัติตอนเสด็จลงจากดาวดึงส์ ปางยืน (แสดงธรรม) ทางตะวันตก ในพุทธประวัติตอนปฐมเทศนา (หรือปางประทานอภัย) ปางนั่ง (มารวิชัย) ทางทิศใต้ ในพุทธประวัติตอนตรัสรู้ และปางนอน (ไสยาสน์) ทางทิศเหนือ ในพุทธประวัติตอนปรินิพพาน
-----------------------------------------------
*** คติการสร้างพระ 4 อิริยาบถ ปรากฏในรัฐสุโขทัยครั้งแรกในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 20  จากอิทธิพลการสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ทั้ง 4 ที่ “กัลวิหาร”(Gal Vihara) - กัลวิหารรายา (Gal Viharaya) วัดอุตตราราม (Uttararama)  เมืองโปโลนนารุวะ (Polonnaruwa) ที่สร้างขึ้นตามคติสังเวชนียสถานในพุทธประวัติของพระสมณโคตม (Samaná Gautama) ฝ่ายเถรวาท-ลังกาวงศ์ ซึ่งได้มีการสังคยนาครั้งใหญ่โดยพระเจ้าปรากรมพาหุมหาราช (Parakramabahu I) ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 18 
แตกต่างไปจาก พระ 4 ทิศของฝ่ายรามัญนิกาย – พุกาม ที่มีความหมายถึงพระพุทธเจ้าทั้ง 4  ในภัทรกัลป์ (Bhadda-Kalpa) หรือในยุคปัจจุบัน ที่ประกอบด้วย พระกกุสันโธพุทธเจ้า พระโกนาคมนะพุทธเจ้า พระกัสสปะพุทธเจ้าและพระสมณโคตมพุทธเจ้าครับ
ความนิยมในคติพระ 4 อิริยาบถ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 ยังพบที่วัดพระเชตุพนและวัดพระพายหลวง เขตเมืองโบราณสุโขทัย และยังส่งอิทธิพลไปยังงานศิลปะอยุธยาในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 23 ที่ปรางค์วัดเชิงท่า
--------------------------------------------
*** รูปนารายณ์ทรงครุฑประดับยอดสันมุม คงได้ถูกปั้นปูนขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 21  เมื่อพระบรมไตรโลกนาถได้กลับเข้ามายึดเมืองกำแพงเพชรคืนจากอาณาจักรล้านนา เป็นงานศิลปะในคติพระวิษณุทรงครุฑตามแบบคติเขมร ที่เปรียบกษัตริย์ประดุจพระอวตารแห่งพระวิษณุ พัฒนามาเป็นคติ “พระรามาธิบดี” (พระราม) นิยมในงานศิลปะอยุธยามาตั้งแต่ช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 20 ดังปรากฏลวดลายปูนปั้นพระนารายณ์ทรงครุฑ (ยุดนาคน้อย) ประดับปลายหน้าบันตามแบบศิลปะละโว้ – เขมร ที่ปรางค์วัดจุฬามณี เมืองพิษณุโลก 
------------------------------
*** รูปนารายณ์ทรงครุฑจึงเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งที่แสดงถึงอำนาจของกรุงศรีอยุทธยา ในการเข้าครอบครองดินแดนของรัฐสุโขทัยเดิมทั้งหมดได้โดยสมบูรณ์
เครดิต;
วรณัย  พงศาชลากร
EJeab  Academy
เพราะทุกที่มีเรื่องราวและเรื่องเล่า

วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร
สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยเจ้าพระยานิกรบดินทร์ หรือเจ้าสัวโต (ต้นสกุล กัลยาณมิตร) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นพระยาราชสุภาวดี เจ้ากรมพระสุรัสวดีกลาง ได้อุทิศบ้านเรือนและซื้อที่ดินบริเวณใกล้เคียง แล้วสร้างวัดขึ้นใน พ.ศ. 2368  โดยรัชกาลที่ 3 ทรงโปรดฯ ช่วยสร้างพระวิหารหลวงและพระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปก่อพระฤกษ์ให้ ต่อมาทรงพระราชทานนามวัดแห่งนี้ว่า “วัดกัลยาณมิตร” 
ภายในวัดกัลยาณมิตร มีหลายจุดสำคัญที่มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์คือ;
1. พระเจดีย์ทรงยอดปรางค์ เป็นพระเจดีย์แบบจีน ออกแบบสร้างเป็นอาคารแปดเหลี่ยมซ้อนกัน ส่วนยอดทำเป็นปรางค์แบบไทย ส่วนฐานมีซุ้มที่มีประติมากรรมศิลารูปพระอรหันต์ 16 องค์
2. พระวิหารหลวง สักการะ “พระพุทธไตรรัตนนายก” หรือหลวงพ่อโต (ซำปอกง) พระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ ปางมารวิชัย ซึ่งรัชกาลที่ 3 ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปก่อพระฤกษ์ในวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2380 ด้วยมีพระราชประสงค์จะให้เหมือนกรุงเก่า คือมีพระโตอยู่นอกกำแพงเมืองอย่างเช่นวัดพนัญเชิงวรวิหาร พร้อมเกร็ดประวัติศาสตร์ ต้นกำเนิด “ใบเซียมซีภาษาไทย” ที่แรกในประเทศไทย ณ วัดกัลยาณมิตร
3. พระอุโบสถ  สักการะพระประธานปางปาลิไลย์ ซึ่งรัชกาลที่ 3 ทรงสร้างพระราชทานเจ้าพระยานิกรบดินทร์ ถือเป็นพระอารามเดียวในประเทศไทย ที่มีพระพุทธรูปหล่อสำริดปางปาลิไลย์ประดิษฐานเป็นพระประธานภายในพระอุโบสถ จากนั้นชมจิตรกรรมฝาผนังที่ไม่ได้เขียนขึ้นเป็นแค่เพียงภาพนิทานพุทธประวัติ แต่ช่างเขียนยังได้บันทึกเหตุการณ์ระทึกในหน้าประวัติศาสตร์ถึง 2 เหตุการณ์ ที่เป็นเรื่องโจษจันกันไปทั่วทั้งพระนครในสมัยรัชกาลที่ 3  
4. พระวิหารน้อย สักการะพระพุทธดิลกโลกเชษฐ์ พระพุทธรูปประธานปางมารวิชัย พร้อมชมจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพระอดีตพุทธเจ้า และประวัติการค้นพบภาพเขียนบุคคลสำคัญในสมัยรัชกาลที่ 3 คือ “หมอบรัดเลย์และภรรยา” มิชชันนารีชาวอเมริกันคนสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์สยาม
5. หอพระธรรมมณเฑียรเถลิงพระเกียรติ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เพื่อเป็นหอเก็บพระไตรปิฎกและคัมภีร์ของวัด โดยตั้งอยู่บนตำแหน่งที่เคยเป็นที่จอดแพของเจ้าขรัวเงินและกรมพระศรีสุดารักษ์ ผู้เป็นขรัวตาขรัวยายของพระองค์ จากนั้นชม ตู้พระไตรปิฎก ทรงจตุรมุขขนาดใหญ่ที่ประดับตกแต่งด้วยลวดลายพรรณพฤกษาแบบตะวันตกงานช่างหลวงสมัยรัชกาลที่ 4

วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

พระประโทนเจดีย์

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
วัดพระประโทณเจดีย์วรวิหาร
วัดพระประโทณเจดีย์วรวิหาร ตำบลพระประโทน อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ที่ตั้งของพระสถูปใหญ่ในคติ “มหาธาตุกลางนคร” อิทธิพลจากพุทธศาสนานิกายสถวีรวาท -หินยาน (Sthāvirīya - Hīnayāna) ที่นิยมในแคว้นอานธระ–อมราวดี ที่มีความสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยนกันกับคณะมหาวิหาร–เถรวาท (Maha-vihāra - Theravāda) ในศิลปะแบบอนุราธปุระ (Anuradhapura)  จากลังกา ที่สร้างขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 13 
-----------------------------------
*** ที่ด้านหน้าเขตสังฆาวาส มีเจดีย์ขนาดเล็กองค์หนึ่ง ที่สร้างขึ้นโดยพระครูสมถกิตติคุณ (ชุ่ม) เจ้าอาวาสวัดพระประโทณเจดีย์ ในช่วงปี พ.ศ. 2474 โดยได้มีการนำโบราณวัตถุที่พบโดยรอบวัดพระประโทณเจดีย์ และในเมืองนครปฐมมาฝังผนังปูนซีเมนต์และวางไว้ ทั้ง โกลนพระพุทธรุปหินปูนเทา ใบเสมาหินทรายแดงศิลปะอยุธยา ศิวลึงค์แบบเขมร เศียรพระพุทธรูปดินเผา เศียรพระพุทธรูปปูนปั้น เศียรพระพุทธรูปหินทราย ศีรษะปูนปั้นบุคคล เศียรปูนปั้นพระพุทธรูป และลวดลายปูนปั้นประดับสถูป อีกทั้งยังมีถ้วยชามสังคโลก เครื่องลายครามติดผนังเจดีย์ไว้ด้านในซุ้มครับ
ที่ผนังกำแพงเจดีย์เล็ก ยังมีเครื่องใช้ที่ทำจากหิน ทั้งแม่พิมพ์เครื่องประดับ หินพิมพ์แผ่นดุนทองรูปบัว 8 กลีบ
หินบดผงมงคลรูปสี่เหลี่ยมและชิ้นส่วนของแผ่นหินมงคลใส่ “ผงจุณเจิม” เพื่อใช้ในพิธีกรรม
ผงจุณเจิม แปลว่า “ผงที่มีขนาดเล็ก” เป็นผงที่เกิดขึ้นจากการบดเครื่องบูชา ที่ผ่านการจุดไฟ (ภัสมะ- ขี้เถ้า) ในพิธียัชญะ ผงจากการบดดินขาว (โคปีจันทน์) มูลวัว (โคมัย) ไม้จันทน์หอม กระแจะจันทน์  ต้นตุลสี (กระเพรา) ใบมะตูม เครื่องหอม ขมิ้นผง (หริทฺรา) สนิมแดง (สินฺทูร) กุงกุมหรือโรลี ที่ทำจากพืชและแร่ (สีแดง – เลือด) แร่ไมก้า (อภรัก) ข้าวสาร (อกฺษตฺ) และอัษฏคัณธะ (ผงหอม 8 กลิ่น 8 สี) คล้ายคลึงกับ “ผงวิภูติ” (Vibhūti) ของฝ่ายฮินดู ที่จะใช้นิ้วกดผงวิภูติผสมน้ำศักดิ์สิทธิ์ (น้ำอบหอม) ให้ติดที่ปลายนิ้ว แล้วกดลง (เจิม) บนกลางหน้าผาก ที่เชื่อว่าเป็นศูนย์รวมจิตวิญญาณของมนุษย์ ในงานพิธีกรรมอันถือเป็นมงคลต่าง ๆ ทั้งในการอภิเษก การบูชาเทพเจ้า-การบูชาพระแม่เทวี งานมงคลสมรส ฯ 
----------------------------------
*** ชิ้นส่วนแตกหักของแผ่นหินที่ติดมุมตะวันออกเฉียงใต้ของเจดีย์เล็ก ได้แสดงให้เห็นหลุมใส่ผงจุณเจิม-วิภูติที่มุม มีรูปหัวช้างและธงไชย (หางปลา ?) เช่นเดียวกับ ภาพสลักบนแผ่นหินปูนที่พบจากพระปฐมเจดีย์ มีอายุตามคติประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 – 12 ที่ยังคงมีความสมบูรณ์เพียงชิ้นหนึ่งในประเทศไทย
แผ่นหินนี้สลักภาพสัญลักษณ์ตามคติฮินดูและพุทธที่พบในอินเดียโบราณ รูปประธานตรงกลางเป็นสัญลักษณ์”คชลักษมี” (Gajalakshmi)  หรือ “อภิเษกพระศรี” ในความหมายของการอภิเษกด้วยน้ำบริสุทธิ์ เพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นผู้บริสุทธิ์อย่างแท้จริง (ผู้อยู่เหนือปัทมะ) เป็นรูปพระเทวีลักษมี ประทับนั่งบนดอกบัว ถือก้านดอกบัวตูมทั้งสองพระหัตถ์ ขนาบข้างด้วยพญาช้าง 2 ช้าง สวมเครื่องคชาธารชูงวงถือหม้อน้ำปากพวยสูง เทน้ำลงมาเป็นรูปดอกบัวตูม 4 ก้าน
ขนาบข้างรูปคชลักษมีด้วย “สัญลักษณ์มงคล” (Sacred Symbols) จัดวางเป็นคู่แบบสมมาตร (Symmetry) ทั้งสองด้านตามรูปศิลปะ โดยมีสัญลักษณ์เครื่องสูงแห่งกษัตริย์ ประกอบด้วยแส้จามรคู่ (แส้ขนจามรี) ฉัตรคู่ พัดวาลวิชณี-บังสูรย์ สัญลักษณ์มงคลแห่งอำนาจ อันได้แก่รูปอังกุศคู่ (ขอสับช้าง) วิชราวุธ ปาศะ (บ่วงบาศ) สัญลักษณ์มงคลศักดิ์สิทธิ์ รูปมัตสยยุคมะ (ปลาคู่) ในความหมายของชายหญิง - ความอุดมสมบูรณ์ และหอยสังข์คู่ ในความหมายแห่งความศักดิ์สิทธิ์แห่งพระเวท 
มุมทั้งสี่ด้านมีช่องหลุมโค้งรับกับมุมฉาก ล้อมรอบด้วยกลีบบัวรวน (ฟันยักษ์) ตรงกลางแผ่นเป็นรูปบัวบาน โดยตรงกลางขูดเนื้อลงไปเป็นช่องหลุมกลม ล้อมรอบด้วยกลีบบัวรวน 2 ชั้น รองรับด้วยรูป “หม้อปูรณฆฏะ” (Pūrṇa-ghạta) ในความหมายแห่งความอุดมสมบูรณ์ที่พร้อมสรรพ (Perfects) 
รูปสัญลักษณ์และหลุมทั้ง 5 ที่ปรากฏบนแผ่นหินนี้ อาจเป็นคติที่ได้ได้แสดงความสำคัญของตัวงานศิลปะว่า เป็นแผ่นหินเพื่อใช้ในการ “เจิม” โดยใช้ผงจุณเจิม-วิภูติ เกี่ยวเนื่องกับอำนาจและความเป็นใหญ่ที่จะต้องเป็นพิธีกรรมที่มีความสูงส่งในระดับกษัตริย์-จักรพรรดิราช ที่ประกอบด้วยความอุดมสมบูรณ์ ความพรั่งพร้อม ความศักดิ์สิทธิ์และความเป็นมงคลในเวลาเดียว ซึ่งหากมีการใช้ผงจุณเจิม – วิภูติในหลุมทั้งสี่ของแผ่นหิน ก็อาจหมายถึง ผงศักดิ์สิทธิ์ – มงคลที่ได้มาจากแผ่นดินทั้ง 4 ทิศ โดยหลุมตรงกลางเป็นหลุมใส่น้ำเครื่องหอมศักดิ์สิทธิ์เพื่อใช้ในการผสมผงจุณเจิมจากหลุมทั้ง 4 มุม เจิมที่พระนลาฏของบุคคลสำคัญที่กำลังผ่านพิธีกรรมเพื่อ “การอภิเษก-บรมราชาภิเษก” (Abhiṣeka) หรือพิธีราชสูรยะตามขนบแบบแผนในอินเดีย เป็นกษัตริย์ของรัฐอินเดียโพ้นทะเลในลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน
----------------------------
เครดิต;
วรณัย  พงศาชลากร
EJeab  Academy
เพราะทุกที่มีเรื่องราวและเรื่องเล่า

นรก สวรรค์มีจริงหรือ?

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
นรก สวรรค์ มีจริงหรือ?
โดยหลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง
จากหนังสือ "สู่แสงธรรม" โดย พล.อ.ต.มนูญ ชมภูทีป
"...ถ้ายังงั้นนรก สวรรค์ ที่เขาพูดๆ กันนั้น ก็มีจริงใช่ไหมครับ"
...หลวงพ่อพูดยิ้มๆ แล้วกล่าวต่อ "ถ้าฉันบอกคุณในขณะนี้ว่า 
นรก สวรรค์ พรหม มีจริง คุณจะเชื่อหรือ? ยิ่งฉันบอกต่อไปว่า
มิใช่มีแต่โลกมนุษย์เพียงแห่งเดียว หากแต่ยังมีอบายภูมิ ๔
ซึ่งเป็นภูมิต่ำกว่ามนุษย์ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์
เดียรัจฉานอีก และภูมิที่สูงกว่ามนุษย์ ก็ยังมีสวรรค์ภูมิ อีกถึง
๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี
และปรนิมมิตวสวัสดี นอกจากนั้นยังมีพรหม อีกถึง ๒๐ ชั้น
คือ รูปพรหม ๑๖ ชั้น และ อรูปพรหมอีก ๔ ชั้น รวมกันแล้ว
เขาเรียกว่าไตรภูมิน่ะ คุณจะเชื่อหรือ?"

ยิ่งหากฉันบอกต่อไปว่า ยังมีแดนสูงสุดที่สูงยิ่งกว่าพรหม
คือพระนิพพานเข้าไปอีก คุณก็ยิ่งจะไม่เชื่อเข้าไปใหญ่
ทั้งนี้เพราะคุณยังเป็นมนุษย์ปุถุชนทั่วๆ ไป หลงคิดเอาว่า
มีแต่โลกมนุษย์ที่คุณอยู่เพียงแห่งเดียวเท่านั้น ใครจะ
พูดถึง นรก สวรรค์ พรหม นิพพาน แล้วเป็นไม่ยอมเชื่อ
เด็ดขาด เปรียบดังเช่นฝูงปลาที่หลงหนองน้ำเน่าไม่มีผิด
ไม่ว่าเต่าจะพูดชักชวนไปอยู่ที่ห้วยหนอง บึง ทะเลสาบ
ที่ดีกว่าเพียงไร ปลาเหล่านั้นก็หาเชื่อไม่ ด้วยคิดเอาว่า
โลกอันกว้างใหญ่ไพศาลของพวกตนนั้น ก็คือหนองน้ำ
เก่าที่ตนอยู่เพียงแห่งเดียวเท่านั้นเอง คุณเองก็เป็นเช่น
ปลาหลงหนองน้ำเน่านะ ที่ยังคิดว่ามีเพียงโลกมนุษย์
ที่คุณอยู่เพียงแห่งเดียว"
ข้าพเจ้าโดนหลวงพ่อสรุปให้เป็นปลาหลงหนองน้ำเน่า
เข้าให้แล้วอย่างจัง แต่ก็ไม่ยอมถอย หัวเราะแหะๆ ถาม
ย้ำเพื่อความแน่ใจอีกครั้งว่า "ผมอยากฟังจากปากของ
หลวงพ่อมากกว่าที่จะฟังจากคนอื่นน่ะครับ รวมความว่า
นรก สวรรค์ พรหม และนิพพาน นั้นมีจริงๆ ใช่ไหมครับ"
"เอ! คุณมนูญ นี่จะบังคับให้ฉันเป็นเต่าให้ได้นะ" หลวงพ่อ
พูดยิ้มๆ "เต่าน่ะเวลามันเดินคุณเห็นไหมว่ามันเดินส่ายหัว
และคุณรู้ไหมว่ามันส่ายหัวทำไม?" หลวงพ่อย้อนถามอีก
"เป็นธรรมชาติของเต่ามังครับ" ข้าพเจ้าตอบ
"ไม่ใช่! เต่าส่ายหัวเพราะมันเอือมระอาปลาหน้าโง่ ที่หลง
หนองน้ำเน่ายังไงล่ะ คุณจะให้ฉันต้องเดินส่ายหัว เพราะ
เอือมระอามนุษย์หลงโลกอย่างพวกคุณ เหมือนเต่าหรือ
ยังไง?" หลวงพ่อหัวเราะพอเห็นข้าพเจ้าหน้าเสีย ก็เมตตา
พูดต่อไปว่า
"เรื่อง นรก สวรรค์ พรหม และ นิพพาน มีจริงหรือไม่นั้น
ฉันในฐานะเป็นสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ขอยืนยันตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่ามีจริง และฉันเองก็
ตั้งใจไว้ว่าอีกไม่นาน ฉันจะพูดถึงเรื่องไตรภูมิ ออกอากาศ
ที่สถานีวิทยุกระจายเสียง ๐๔ ตาคลี ซึ่งคุณรับผิดชอบอยู่
คุณเตรียมจัดเวลาออกอากาศให้ฉันก็แล้วกัน หากคุณ
สนใจก็อัดเทปไว้ จะได้รู้โดยละเอียดถึงนรกขุมต่างๆ
สวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น พรหมทั้ง ๒๐ ชั้น และพระนิพพานด้วย
ดีไหมล่ะ?"
"ดีซีครับหลวงพ่อ" ข้าพเจ้าตอบรับด้วยความดีใจ ในขณะที่
ข้าพเจ้าถามเรื่องนรก สวรรค์นี้ หนังสือเรื่องไตรภูมิ ยังมิได้
ออกอากาศที่สถานีวิทยุ ๐๔ และทันทีที่หลวงพ่อพูด
ออกอากาศ ข้าพเจ้าก็ให้พันจ่าอากาศเอกกริช บำรุงพงษ์
บันทึกเทปไว้ฟัง และต่อมาพลอากาศโท ม.ร.ว. เสริม ศุขสวัสดิ์
จึงได้มาขอเทปจากสถานีวิทยุ ๐๔ ไปถอดแล้วจัดพิมพ์
เป็นรูปเล่ม ให้ศิษย์รุ่นหลังๆ ได้อ่านกันมาจนทุกวันนี้
ซึ่งข้าพเจ้าเองก็แอบภาคภูมิใจ อยู่ลึกๆ เพราะด้วยคำถาม
เรื่องนรก สวรรค์ ของข้าพเจ้าข้อนี้เองได้มีส่วนช่วยผลักดัน
ให้หลวงพ่อต้องพูดถึงเรื่องไตรภูมิ
ดังนั้นท่านผู้สนใจเกี่ยวกับเรื่องนรก สวรรค์ พรหม และนิพพาน 
ก็จงรีบหาหนังสือเรื่องไตรภูมิ ของหลวงพ่อพระมหาวีระ ถาวโร 
อ่านเสีย แล้วจงใช้วิจารณญาณของท่านพิจารณาด้วยตนเอง
ต่อไปเถิด
เครดิต;
FB // BuddhaSattha

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
สนในปีพ.ศ.2309-2310 ช่วงเวลาที่แสนทุกข์ทรมาณ ตลอดระยะเวลา 5 เดือนที่บ้านเมืองเสียหายหนักจากข้าศึกที่ล้อมและทำลายราชธานีที่อยู่ยาวนานกว่า 417 ปีสิ้นสุดลง ท่ามกลางแสงเพลิงที่ลุกโชติช่วงเห็นได้ระยะไกล แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นสีเลือด ชาวบ้านต่างวิ่งหนีเอาตัวรอด บ้างก็ถูกฆ่า ถูกจับเป็นเชลย ถูกข่มขืน ท้องฟ้ามืดดำ 
     แต่ก็ก่อเกิดวีรกรรมพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ พร้อมนายทหารคู่พระทัย ที่นำพาบ้านเมืองให้รอดพ้นจากข้าศึกที่มีจุดประสงค์เพียงเพื่อทำลายบ้านเมืองเราให้พินาศสิ้นเป็นเถ่าธุลี พระปรีชาสามารถที่ยิ่งใหญ่นำพากองทหารอันน้อยนิด ตีฝ่าวงล้อมไปทางตะวันออก เพื่อรวบรวมกำลังกองกู้บ้านเมืองให้มีได้จนถึงวันนี้ นั้นคือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระมหากษัตริย์เป็นที่รักและเคารพ ของประชาชนชาวไทย บิดาแห่งกองทหารม้า และ กองทัพเรือ ให้คงอยู่จวบจนปัจจุบัน
     สมเด็จพระเจ้าตากฯทรงเข้าตีเมืองจันทบูร หวังที่จะรวบรวมกำลังกอบกู้บ้านเมือง โดยทรงส่งคนไปเจรจาขอความร่วมมือกับพระยาจันทบูร แต่สุดท้ายพระยาจันทบูรทะนงตัวว่า เมืองจันทบูรเป็นเมืองใหญ่มาช้านาน จะให้ใครมากำกับแค่พระยามีชื่อ จะเป็นการลดเกียรติ์ของเจ้าเมืองที่มั่นคง ไม่มีข้าศึกใดทำลายเมืองนี้ได้ จึงตอบปฎิเสธไป 
      พระเจ้าตากฯทรงเข้าตีเมืองจันทบูรเป็นหลายครั้ง ก็ไม่อาจหักเอาเมืองนี้ได้ จึงได้เรียกขวัญกำลังใจจากทหารเหลืออยู่ โดยให้กินข้าวกินปลา และทุบหม้อข้าวทิ้ง โดยประกาศว่า จะไปกินข้าวกันที่เมืองจันทบูร พระเจ้าตากทรงช้างพังสิริกุญชร ไสชนประตูเมืองจันทบูรหักพักทลายลง ทหารตรู่เข้าจับพระยาจันทบูรยึดเมืองได้สำเร็จ 
      จึงทรงให้ทหารต่อเรือรบ ประมาณร้อยลำ ณ ที่นี้ และรวบรวมกำลังพล เคลื่อนทรงทะเล ย้อนกลับไปทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านป้อมวิชัยประสิทธิ์ เข้าตั้งค่ายประชิดพม่า ณ ต.ค่ายโพธิ์สามต้น เป็นสามค่ายในเวลากลางคืน ด้วยสถานการณ์ที่หละหลวมของการตรวจการณ์ของพม่าหลังจากพิชิตกรุงศรีอยุธยา ก็มีเพียงทหารพม่าเพียงไม่มาก รักษาค่าย โดยสุกี้พระนายกองเป็นแม่ทัพเช่นเดิม การวางแผนของพระเจ้าตากฯที่จะพิชิตค่ายใหญ่พม่า ณ โพธิ์สามต้นต้องเป็นไปอย่างรัดกุม 
      การปิดล้อมค่ายใหญ่ ณ โพธิ์สามต้นด้วยกำลังของพระเจ้าตากมีเวลาจำกัด จึงทรงส่งทัพไปก่อกวนตีปล้นค่ายแบบกองโจรในเวลากลางคืนนานหลายวัน แต่ก็ไม่อาจหักเอาค่ายใหญ่ได้ พระเจ้าตากจึงทรงวางแผนใช้หน่วยทะลวงฟันแบ่งกำลังไปตัดลำเลียงเสบียงอาหารที่จะส่งไปในค่าย ทำให้ทหารพม่าเริ่มอดอยาก จึงต้องฆ่าม้า ฆ่าควายมากินแทน 
     แต่โชคของพระองค์ก็เข้าข้าง เมื่อทหารพม่าจำนวนหนึ่งกำลังสาละวนกับ พวกครัวมอญที่อพยพล่วงแดนเข้ามา พวกพม่านับร้อยคุมพวกมอญเข้าค่าย พระเจ้าตากจึงแบ่งกำลังแฝงตัวเข้าไปตามครัวมอญ และส่งหน่วยกองทะลวงฟันเข้าตีค่ายพม่าพร้อมกันรอบด้าน โดยที่พม่าไม่ทันได้ตั้งตัว การโจมตีโกลาหลพม่ามิอาจรับมือได้ทัน ต่างหนีเข้าไปในค่าย เกิดตะลุมบอนทั้งสองฝ่าย จนไปถึงค่ายหลวง ไม่นานสุกี้พระนายกองตายที่รบ พระเจ้าตากและทหารไล่ฆ่าพม่าแตกหนีไปไม่เป็นขบวน เมื่อค่ายใหญ่แตก ก็ทรงเคลื่อนไปขับไล่พวกพม่าที่เหลือในเกาะกรุงศรีอยุธยาสำเร็จ
     สิ่งที่ทรงเห็น ณ ตอนนั้น มีแต่ซากปรักหักพังของราชธานีที่มีมายาวนานกว่า 400 ปี จึงทรปรารภว่า คงมิอาจเป็นดั่งเก่าได้อีกแล้ว จึงทรงตั้งพระทัย อพยพชาวบ้านและกำลังพระองค์ลงมาทางใต้ เพื่อสร้างราชธานีใหม่ จนมาถึงธนบุรีก็ใกล้รุ่ง จึงทรงสร้างวัดอรุณฯขึ้น และทรงสร้างพระราชวังเดิมธนบุรีทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาในปีพ.ศ. 2310  
ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์พระนามว่า สมเด็จพระเจ้าตากสิน แห่งกรุงธนบุรี บัดนั้นเป็นต้นมา
เครดิต ;fb
จิรชาติ เวชโชติ

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

พ่อขุนเม็งราย

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
พ่อขุนเม็งราย
“พ่อขุนเม็งราย” หรือที่คนล้านนารู้จักกันในนาม “พญามังราย” เป็นราชโอรสของ “พระเจ้าลาวเมง” แห่งราชวงศ์ลวจักราช ผู้ครองหิรัญนครเงินยาง กับ
“พระนางอั้วมิ่งจอมเมือง” หรือ “พระนางเทพคำ” ขยาย ราชธิดาของท้าวรุ่งแก่นชายเจ้าเมืองเชียงรุ้ง พระองค์ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ แรม 9 ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุนเอกศกจุลศักราช 601 ตรงกับพุทธศักราช 1781 เมื่อมีพระชนม์ได้ 16 พรรษา พระบิดาได้สู่ขอ ธิดาเจ้าเมืองเชียงเรืองมาเป็นคู่อภิเษกแล้วโปรดให้เมงรายเป็นมหาอุปราช เมื่อพระเจ้าลาวเมงสวรรคตในปี พ.ศ.1802 เมงรายราชโอรสจึงได้ครอง “เมืองหิรัญนครเงินยาง” สืบแทน ในขณะที่มีพระชนม์ 21 พรรษา
คนล้านนาถือ “พญามังราย” เป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์มังรายและสร้างความรุ่งเรืองให้กับอาณาจักรล้านนาก่อนที่จะถูกพม่าปกครองเป็นเวลา 200 กว่าปี พญามังรายมีพระราชกรณียกิจที่สำคัญทั้งหมด 4 เรื่อง ดังต่อไป
1. ทรงสร้างเมืองเอกในแว่นแคว้นถึง 3 เมืองได้แก่
-เมืองเชียงราย เมื่อ พ.ศ.180
-เมืองกุมกาม (ปัจจุบันคืออำเภอสารภีจังหวัดเชียงใหม่) เมื่อ พ.ศ.1829
-เมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.1834
นอกจากนั้น พระองค์ยังได้ทรงบูรณะ “เมืองหิรัญนครเงินยาง” และในปี พ.ศ.1811 ได้บูรณะเมืองฝางเพื่อใช้เป็นที่ชุมนุมไพร่พลของพระองค์ (ซึ่งแต่เดิมเมืองฝางตกเป็นเมืองขึ้นของเมืองหิรัญนครเงินยางมาก่อน) และโปรดให้ “ขุนอ้ายครือคำลก” หรือ “ขุนเครื่อง” ราชโอรสองค์ใหญ่ไปครองเมืองฝาง
2. ทรงแผ่พระเดชาในทางการรบ
กล่าวคือหลังจากได้ส่งกองทัพไปปราบเมืองมอบ เมืองไร และเมืองเชียงคำได้แล้ว ในปี พ.ศ.1824 ตีเมืองหริภุญชัยจาก “พระยายีบา” กษัตริย์ขอม พระยายีบาหลบหนีไปอยู่กับพระเบิกที่นครเขลางค์พ.ศ.1828 พระยายีบา และพระยาเบิกยกทัพขอมมาเพื่อตีเมืองหริภุญชัยคืน พ่อขุนเมงรายจึงทรงแต่งตั้งพระโอรสคือ ขุนคราม ยกทัพออกไปต้านทาน ได้รบกับ “พระยาเบิก” และจับพระยาเบิกสำเร็จโทษ พระยายีบารู้ข่าวว่าเสียบุตรจึงทิ้งเมืองเขลางค์หนีไปพึ่งพระยาพิษณุโลก เจ้าขุนครามจึงได้เมืองเขลางค์อีกเมืองหนึ่งนับว่าดินแดนภาคเหนือทั้งหมดพ่อขุนเมงรายได้ครอบครองโดยทั่วอาณาจักรลานนาในรัชสมัยของพระองค์มีอาณาเขตกว้างไกลดังนี้
ทิศเหนือ จรด สิบสองปันนา
ทิศใต้ จรด อาณาจักรสุโขทัย
ทิศตะวันออก จรด แคว้นลาว
ทิศตะวันตก จรด แม่น้ำสาละวิน
พ.ศ.1829 ยกทัพไปตีเมืองหงสาวดี “พระเจ้าหงสาวดีเจงพยุเจง” เกรงพระบารมีจึงแต่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายขอเป็นไมตรีโดยยกพระราชธิดาพระนามว่า “นางปายโค” (ตะละแม่ศรี) ให้เป็นบาทบริจาริกาแด่พ่อขุนเม็งราย พ.ศ.1832 ยกทัพไปตีเมืองพุกาม พระเจ้าอังวะให้ราชบุตรนำเครื่องบรรณาการมาต้อนรับขอเป็นไมตรี
3. ทรงนำความเจริญในด้านศิลปกรรม เกษตรกรรม และพาณิชยกรรมมาสู่แคว้นลานนา
โดยเมื่อครั้งที่ยกทัพไปตีเมืองพุกาม พระองค์ได้นำช่างฝีมือต่างๆ เช่น ช่างฆ้อง, ช่างทอง และช่างเหล็ก ชาวพุกามเข้ามาฝึกสอนชาวลานนาไทย จึงเข้าใจว่าศิลปต่างๆ ของพุกามที่มีเหลืออยู่ในปัจจุบันน่าจะเริ่มมาแต่นั้นเมื่อจำนวนไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระองค์มีมากขึ้น ก็ทรงจัดหาทำเลที่เหมาะสมในการเกษตร และการค้าเพื่อให้มีอาชีพทั่วหน้า
4. ทรงเป็นนักปกครองที่สามารถและประกอบด้วยคุณธรรมสูงส่ง
“พ่อขุนเมงราย” ทรงเลื่อมใน และศรัทธาในพระพุทธศาสนา โดยเป็นองค์ศาสนูปถัมภก และทรงนำหลักธรรมทางศาสนามาใช้ในการปกครองราษฎรของพระองค์ได้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขมีศีลธรรมอันดีมีอัธยาศัยโอบอ้อมอารี แก่คนทั่วไปซึ่งเป็นมรดกด้านคุณธรรมที่ตกทอดถึงลูกหลานชาวลานนา จนตราบเท่าทุกวันนี้ แม้ว่าพระองค์ทรงเป็นนักรบผู้แกล้วกล้า แต่การใดที่เป็นทางนำไปสู่ความหายนะเป็นเหตุให้เสียเลือดเนื้อระหว่างคนไทยด้วยกัน พระองค์จะทรงหลีกเลี่ยง ดังจะเห็นได้จากการที่พระองค์ทรงรับไมตรีจากเจ้าผู้ครองนครต่างๆ และการกระทำสัตย์ปฏิญาณระหว่างสามกษัตริย์ดังกล่าว
พระปรีชาสามารถในด้านการปกครองอีกเรื่องหนึ่งได้แก่ การวางระเบียบการปกครองหรือกฎหมายที่ทรงตราขึ้นไว้เป็นพระธรรมศาสตร์ ใช้ในการปกครองแผ่นดิน เรียกว่า “กฎหมายมังรายศาสตร์” เพื่อให้ลูกขุนใช้เป็นบรรทัดฐานในการพิจรณาในการพิพากษาผู้กระทำผิดสมควรแก่โทษานุโทษโดยมิให้เลือกเห็นแก่หน้าว่าจะเป็นผู้ใหญ่ ผู้น้อย หัวหมู่ หรือไพร่น้อยเมื่อกระทำผิดย่อมต้องได้รับโทษเช่นเดียวกัน
วัดเชียงมั่น วัดแห่งแรกของจังหวัดเชียงใหม่
กล่าวโดยสรุปแล้วพระราชกรณียกิจที่สำคัญทั้ง 4 เรื่องที่พญามังรายได้ทำให้อาณาจักรล้านนามีความเจริญรุ่งเริ่มได้ทำเป็นขั้นเป็นตอน โดยเริ่มจากการขยายอาณาจักรสร้างเมืองต่างๆ ที่สำคัญได้แก่ เวียงกุมกามและเมืองเชียงใหม่ ต่อมาเมื่อพระองค์ขยายอาณาจักรล้านนาไปครบทั้ง 4 ทิศแล้วก็ได้นำศิลปวัฒนธรรมจากเมืองต่างๆ ที่พระองค์ได้ไปตีมานำมารวมกันไว้ที่ศูนย์กลางของอาณาจักร สุดท้ายพญามังรายยังถือว่าเป็นกษัตริย์นักปกครองที่ใช้หลักธรรมทางศาสนาเชกเช่นกับพญาร่วง (พ่อขุนรามคำแหง) สิ่งเหล่านี้ทำให้อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก และปัจจุบันยังคงเหลือรากอารยธรรมล้านนาให้ลูกหลานสืบสานต่อไปในอนาคต

สมาธิรักษาโรค

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
การใช้สมาธิในการรักษาโรค
โดยหลวงพ่อพุธ​ ได้เมตตาแนะนำไว้ดังนี้
วิธีนั่งสมาธิเพื่อรักษาโรคภายในภายนอก
ก่อนอื่นหลังจากที่เราไหว้พระสวดมนต์เสร็จแล้ว ให้อธิษฐานจิตว่า
“ขอบารมีสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จงดลบันดาลให้โรคภัยไข้เจ็บของข้าพเจ้าหายไป ณ บัดนี้”
แล้วก็มานึกในใจ พุทโธ ธัมโม สังโฆ พุทโธ ธัมโม สังโฆ แล้วก็นึกว่าพระพุทธเจ้าอยู่ที่จิตของเรา​ พระธรรมอยู่ที่จิตของเรา พระสงฆ์อยู่ที่จิตของเรา เราจะสำรวมเอาจิตอย่างเดียว
แล้วก็นั่งขัดสมาธิ ตั้งกายให้ตรง ตั้งสติให้ดี สูดลมหายใจช้าๆ เบาๆ สัก ๔ – ๕ ครั้ง สูดเข้า-ปล่อยออก นับเป็น ๑ ครั้ง
พอทำถึง ๕ ครั้งแล้ว ก็นั่งทำใจให้เฉยๆ อย่าไปตั้งใจคิดอะไร กำหนดสติรู้ใจของเราอยู่เฉยๆ
ในช่วงนั้น ลมหายใจจะปรากฏในความรู้สึกของเรา ก็ดูลมหายใจเรื่อยไป อันนี้ถ้าเราทำได้
จิตสงบ จะมองเห็นลมหายใจขาว วิ่งออก วิ่งเข้า พอมองเห็นลมหายใจขาววิ่งออกวิ่งเข้า
เราเป็นโรคภัยไข้เจ็บอยู่ที่ไหน จิตมันจะวิ่งไปที่ตรงนั้น ลมจะวิ่งตามไป เช่น เป็นแผลในกระเพาะ ลำไส้
พอลมหายใจขาวสะอาดดีแล้ว มันจะวิ่งไปสู่จุดที่มันรู้สึกเจ็บนั่นแหละ พอจิตวิ่งไปตรงนั้น ลมก็ตามไป แล้วมันจะไปสัมผัสขึ้น สัมผัสลง อยู่ที่ตรงนั้น แล้วจะทำให้แผลในกระเพาะ หรือลำไส้หายได้
อันนี้มีคนเขาทำหายมาหลายคนแล้ว อันนี้วิธีทำสมาธิรักษาโรค
เมื่อจิตของเราไปรวมอยู่ที่ลมหายใจ มองเห็นลมหายใจวิ่ง ออก วิ่งเข้า ขาวเหมือนปุยนุ่น ปุยฝ้าย
ในช่วงนั้นจิตสงบเป็นสมาธิ มันจะดึงดูดเอาพลังรอบข้างเข้าไปรวมอยู่ที่จุดนั้น เรียกว่า พลังจักรวาล
พอหลังจากนั้น จิตเขาจะทำหน้าที่ของเขาเอง เราไม่ต้องไปบังคับเขา เราเจ็บที่ตรงไหน ปวดที่ตรงไหน ขัดข้องที่ตรงไหน
เช่น​ อย่างเกิดความมึนตึงในสมอง ปวดศีรษะบ่อยๆ ตึงเครียด มันจะคลายเบาบางลง แล้วในที่สุดจะหายขาด
บางคนไปทำเพียง ๓ วันก็หาย
อันนี้คือวิธีทำสมาธิรักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยตนเอง
โอวาท​ธรรมคำสอนของพระราชสังวรญาณ​ (หลวงพ่อพุธ​ ฐายิโย)​
หลวงพ่อพุธ​ ฐานิโย​ วัดป่าสาลวัน​ อ.เมือง​ จ.นครราชสีมา
เครดิต;
FB มหาธรรมทาน

พระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
พระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์
"พระพุทธนิมิตรวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ”
 เป็นชื่อนามของพระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์ พระประธานภายในพระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุราชิการามวรวิหาร ที่ตั้งอยู่ทางเหนือนอกเกาะเมืองกรุงศรีอยุธยาใกล้กับคูเมืองแม่น้ำลพบุรี เป็นชื่อที่เพิ่งถูกถวายพระนามขึ้นใหม่โดย “พระยาไชยวิชิตสิทธิสาตรามหาประเทศราชชาติเสนาบดี” (เผือก)  ผู้รักษา (รั้ง) กรุงเก่า แม่กองในการบูรณปฏิสังขรณ์วัดหน้าพระเมรุฯ ในปี พ.ศ. 2378 เพื่อเป็นการเฉลิมพระยศพระเกียรติล้นเกล้า ฯ รัชกาลที่ 3 ไปพร้อมกับการใส่ชื่อนาม “วิชิต” ของตน ร่วมในการพระราชกุศลอันมงคลเพื่อเป็นพุทธบูชาประกอบไปพร้อมกันด้วย 
การสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์-จักรพรรดราชที่เก่าแก่ที่สุด ปรากฏหลักฐานจากคติพุทธศาสนาฝ่าย “นิกายสรวาสติวาท” (Sarvāstivāda)  ที่เริ่มปรากฏงานพุทธศิลป์ครั้งแรกในช่วงพุทธศตวรรษที่ 5 - 6 มีความหมายถึง “พระโพธิสัตว์” (Bodhisattva) ทั้ง “เจ้าชายสิทธัตถะ” (Siddhartha) ที่ยังไม่บรรลุโพธิสมภาร และ “พระโพธิสัตว์ไมเตรยะ” (Bodhisattva Maitreya) ปรากฏความในคัมภีร์ “ลลิตวิสตระสูตร” (Lalitavistara Sūtra) ว่า เป็นกษัตริย์อยู่บนสวรรค์ รอการมาประสูติเป็นอนาคตพุทธเจ้า
ในคติมหายาน (Mahāyāna Buddhism) และพุทธตันตระ (Tantric Buddhism - Vajrayana Tantra) พุทธศิลป์ทรงเครื่องจะหมายถึง “พระมหาไวโรจนะ – พระอาทิพุทธ – พระวัชรสัตว์พุทธะ” (Mahāvairocana- Ādi-Vajrasattva Buddha) พระพุทธเจ้าผู้เป็นราชาเหนือเหล่าพระตถาคต – พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าพระองค์แรกที่ให้กำเนิดพระฌานิพุทธเจ้า “ปัญจสุคต” (Paῆca Sugatā) ในพุทธภาวะ “สัมโภคกาย” (Sambhoga-kāya)  ทั้ง 5 พระองค์ ที่เริ่มปรากฏรูปประติมากรรมทางศิลปะในปาละ – พุกาม – กัมพุชเทศะ มาตั้งแต่ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 14  
ส่วนคติฝ่าย “สถวีรวาท-วิภาชยวาทิน” (Sthāvirīya -Vibhajjavāda) - หีนยาน (Hīnayāna) หรือเถรวาท (Theravāda)  พระพุทธรุปทรงเครื่องกษัตริย์จะหมายความถึง “พระศรีอาริยเมตไตรย” (Phra Sri Ariya Metteyya) ครั้งที่ยังคงเป็นพระโพธิสัตว์ที่กำลังบำเพ็ญสมาธิประทับอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิต เพื่อรอการเสด็จลงมาประสูติเป็นพระอนาคตพุทธเจ้าพระองค์สุดท้ายในภัทรกัปป์ ปรากฏรูปประติมากรรมพระศรีอาริยเมตไตรยทรงเครื่องกษัตริย์ในลังกา รามัญและพุกาม ตั้งแต่ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 15 อีกทั้งยังหมายถึงคติ “ท้าวชมพูบดี” (Jambupati)  พระสูตรนอกนิบาตที่เล่าถึงเรื่องราวพระพุทธเจ้าสมณโคตม (Samaná Gautama) กำราบพระยาชมพูบดี ที่ถูกแต่งขึ้นในเขตรามัญ-พม่า-ล้านนา ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 – 20 แต่เพิ่งปรากฏรูปประติมากรรมทางศิลปะในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 – 22 
ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 – 19 ได้เกิดคติ “พุทธราชา” (Buddharāja) ที่ได้รับอิทธิพลจากคติ “จักรวาทิน” (Cakravartin)  ในความหมายที่พระพุทธเจ้าทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวาล จากฝ่ายปาละ – พุกาม และลัทธิเทวราชา (Devarāja) จากฝ่ายกัมพุชะเทศะ พัฒนาเป็นคติ “จักรพรรดิราชา” (Chakravartirāja)  จักรพรรดิผู้เป็นใหญ่เหนือเหล่าพระราชา   
ลัทธิเถรวาทในกลุ่มรัฐลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้สร้างคติ “พระจักรพรรดิราช” ที่กษัตริย์สามารถเป็นพระพุทธจักรพรรดิราชผู้ครองชมพูทวีปทั้ง 4 ในกัปป์ที่พระพุทธเจ้าศรีอาริยเมตไตรยยังไม่ได้ลงมาจุติได้ ดังปรากฏในวรรณกรรม "ไตรภูมิพระร่วง" เพียงแต่กษัตริย์ที่ต้องการเป็นพระจักรพรรดินั้นจะต้องครอบครองแก้วจักรพรรดิ 7 ประการ จึงจะเป็นพระจักรพรรดิราชผู้ครอบครองชมพูทวีป ที่ถูกนำมาใช้ใน เป็นข้ออ้างในการพระราชสงครามเพื่อการขยายอาณาจักรทั้งของฝ่ายพุกาม หงสาวดี อังวะ กรุงศรีอยุธยา หลวงพระบาง เวียงจันทน์ และละแวก มาตั้งแต่ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 18-22 
แล้วพระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์ที่วัดหน้าพระเมรุ ควรมาจากคติอะไร เป็นพระราชนิยมในสมัยไหน ?
----------------------------------
*** พระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์ ประธานแห่งวัดหน้าพระเมรุ เป็นพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ครองจีวรห่มดอง มีชายผ้าสังฆาฏิทิ้งเป็นแถบยาวหน้าพระนาภี ประดับด้วยอุณหิสเทริดทรงมงกุฎยอดชัย (เดินหน) ทัดด้วยครีบข้าง (หูเทริด) ปลายแหลมคั่นหน้าพระกรรณ (หู) ประดับกระจก แบบครอบพระเศียรไม่ใช่แบบผูกด้านหลังอย่างงานศิลปะเขมร สวมกรองศอ สังวาลไขว้ประดับด้วยกระจังและตาบทับทรวง พาหุรัดทองข้อพระกรและข้อพระบาท สวมพระธำมรงค์ทุกนิ้วพระหัตถ์ (อาจหายไปตอนบูรณะใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 3) ตามแบบ “ทรงเครื่องใหญ่” ของกษัตริย์หรือพระจักรพรรดิราชา
ส่วนพระพักตร์เป็นรูปกลมไข่ พระขนงโก่งโค้งเป็นสันคมมาบรรจบกันที่ตรงกลางเหนือพระนาสิกทรงชมพู่โด่ง เว้นช่องกลางพระนลาฏไว้เพื่อต่อเป็นสันคมของพระนาสิก พระเนตรเหลือบมองต่ำ (ตานกนอน) ปลายพระเนตรชี้ขึ้นสูง  โปนพระเนตรโค้งใหญ่รับกับพระขนง พระเนตรล่างที่เปิดเหลือบเป็นลอนโค้งปลายแหลม แอ่นโค้งที่ตรงกลางพระกาฬเนตร ริมพระโอษฐ์บาง ปลายแหลมโค้งขึ้นตรงกับพระกาฬเนตรแบบแย้มพระสรวล พระหนุนูนกลมตรงกลางรับกับพระนาสิก พระกรรณกลมซ้อนยอดแหลมบายศรี ติ่งพระกรรณเว้าโค้งออกเจาะเป็นช่องยาวปลายประดับด้วยกุณฑลที่โค้งออกตามติ่งพระกรรณ ตามแบบงานศิลปะช่างหลวงสมัยพระเจ้าปราสาททอง 
เมื่อครั้งแรกสร้างในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 (พระบรมไตรโลกนาถถึงพระรามาธิบดีที่ 2 พิจารณาประกอบกับการปรากฏครีบข้าง (หูเทริด) รูปแบบใบเสมาคู่ในคติสีมันตริกและรูปแบบพระอุโบสถ) เป็นพระหล่อด้วยสำริดขนาดใหญ่ ส่วนพระเพลากว้างประมาณ 4.5 เมตร สูงประมาณ 6 เมตร เล็กกว่าเศียรพระใหญ่สำริดที่พบจากวัดพระศรีสรรเพชญเพียงเล็กน้อย (อัตราส่วนเมื่อเทียบจากส่วนพระเศียร พระเพลากว้า 55 เมตร สูง 7 เมตร) ซึ่งอาหล่อเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่ไม่ทรงเครื่อง หรืออาจเป็นพระทรงเครื่องตามคติพระศรีอาริยเมตไตรย ซึ่งต่อมาในสมัยพระเจ้าปราสาททองได้มีการพอกปูนประดับลวดลายลงรัก ปั้นรักปิดทององค์พระสำริด ปรับเปลี่ยนแก้ไขเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องตามคติที่นิยมในยุคสมัยของพระองค์ มีพุทธศิลป์เดียวกับพระพุทธรูปทรงเครื่องภายในพระเมรุทิศ เมรุรายที่วัดไชยวัฒนารามและพระพุทธรูปทรงเครื่องสำริดขนาดเล็ก มีพุทธศิลป์เดียวกันที่พบเป็นจำนวนมาก
------------------------------------------
*** ในคำฉันท์สรรเสริญพระเกียรติฯ พระเจ้าปราสาททอง ได้กล่าวถึงสาเหตุที่พระองค์จะตั้งพระราชพิธีลบศักราชเมื่อจุลศักราช 1000 ว่าเป็นไปตามพุทธทำนายที่กล่าวว่า “...ในภายภาคหน้า กษัตริย์กรุงศรีอยุธยา (พระโพธิสัตว์) จักได้ประกอบพระราชพิธีลบศักราช...” ซึ่งพระองค์ก็อ้างพระองค์ว่าเป็นพระโพธิสัตว์  (ผู้มีบุญญาธิการ) พระองค์นั้น ที่ได้จุติลงมาเป็นพระมหากษัตริย์เพื่อการลบศักราช นำมาซึ่งความร่มเย็นเป็นสุขของโลก ทั้งยังระบุว่าพระชาติที่แล้วของพระองค์นั้นเป็นช้างปาลิไลยก์ในครั้งพุทธกาล ที่ได้รับพุทธพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าสมณโคตมว่า ช้างปาลิไลยก์นั้นจะได้ตรัสรู้เป็น “อนาคโตทศพุทธ” ที่หมายความถึง “พระสุมังคลพุทธเจ้า” พระอนาคตพุทธเจ้าองค์ที่ 10 ในอนาคต ดังความปรากฏใน “คัมภีร์อนาคตวงศ์” ว่า
“...ในลำดับนั้น อันว่าช้างปาลิไลยหัตถีตัวนั้น ก็เป็นพระโพธิสัตว์ สร้างบารมีมาเป็นอันมาก จักได้ตรัสเป็นสมเด็จพระพุทธเจ้า ทรงพระนามชื่อว่าพระสุมงคลในอนาคต พระสุมงคลทศพลญาณเจ้านั้น มีพระองค์สูงได้ 60 ศอก พระชนมายุยืนประมาณแสนปี กำหนดไม้กากะทิงเป็นพระศรีมหาโพธิ ประดับด้วยพระพุทธรัศมีรุ่งเรือง...”
พุทธศิลป์พระสุมังคลพุทธเจ้า พระอนาคตพุทธเจ้าองค์ที่ 10 จึงควรจะเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์ ตามรูปแบบศิลปะเดียวกับพระศรีอาริยเมตตไตรย ที่ถือว่าเป็นอนาคตพุทธเจ้าพระองค์แรก
คติความเชื่อของพระเจ้าปราสาททอง ทำให้เกิดพระราชนิยมในการสร้างพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์และพระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์ รวมทั้งพระพุทธรูปทรงเครื่อง “ผสม” ปางป่าเลไลยก์ในองค์เดียวกัน (ที่พบจากวัดสะแก จัดแสดงอยู่ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมหาวีรวงศ์ นครราชสีมา)    
-----------------------------------------
*** พระพุทธรูปทรงเครื่องประธานวัดหน้าพระเมรุ ฯ จึงเป็นงานพุทธศิลป์ที่สร้างขึ้นตามคติ “พระอนาคตสุมงคลพุทธเจ้า” ทรงเครื่องกษัตริย์ตามแบบพุทธศิลป์พระศรีอาริยเมตไตรย ที่เคยเป็นความนิยมของราชสำนักกรุงศรีอยุธยามาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 20 - 21  รับกับความที่ปรากฏในฉันท์สรรเสริญพระเกียรติฯ พระเจ้าปราสาททอง 
เป็นพระพุทธรูปเพื่อการฉลองพระองค์ของพระเจ้าปราสาททอง ที่สะท้อนคติความเชื่อที่ว่า เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต พระองค์จะได้ไปจุติเป็นพระอนาคตสุมงคลพุทธเจ้า (ศรีอาริยเมตไตรยแบบเถรวาท้องถิ่น) มิได้ถูกแปลงขึ้นใหม่ตามคติจักรพรรดิราชา (พระจักรพรรดิเหนือเหล่าราชา) หรือ พุทธศิลป์ทรงเครื่องตามคติท้าวชมพูบดีตามแบบพม่า-ล้านนา แต่อย่างใด
เครดิต ;
วรณัย  พงศาชลากร
EJeab  Academy
เพราะทุกที่มีเรื่องราวและเรื่องเล่า

ป้อมสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
ป้อมพระสุเมรุ ป้อมพระสุเมรุอยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา ปากคลองบางลำภูหรือคลองรอบกรุงด้านเหนือ สร้างเมื่อ พ.ศ.2326 ในสมัยรัชกาลที่ 1 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นป้อมปราการป้องกันพระนครสร้างขึ้นมาทั้งหมด 14 ป้อม แต่ปัจจุบันเหลือเพียงป้อมพระสุเมรุและป้อมมหากาฬ ลักษณะรูปทรงของป้อมเป็นแปดเหลี่ยมมีฐาน 2 ชั้น ฐานชั้นแรกมีบันไดทางขึ้นได้สองทางและมีทางโดยรอบฐานชั้นนี้ กำแพงของฐานชั้นที่ 2 ทำเป็นรูปใบเสมา ประตูหน้าต่างเจาะเป็นช่องสี่เหลี่ยม และเจาะช่องลมรูปวงโค้งแหลมเป็นระยะ บริเวณผนังมีการเจาะเป็นช่องรูปกากบาทโดยรอบ หลังคาเป็นโครงไม้ฉาบปูน
ยุทธวิธีการศึกสงครามป้องกันบ้านเมืองในสมัยโบราณจะต้องอาศัยภูมิสถาน ซึ่งประกอบด้วย คลองคูเมือง กำแพงเมือง และ ป้อมปราการ เป็นสำคัญ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดสถาปนากรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงนั้น ก็โปรดให้ทำตามประเพณีโบราณ คือ ขุดคลองคูเมือง สร้างกำแพง และป้อมปราการ และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บ้านเมืองพัฒนาเจริญรุ่งเรือง ประชาชนเพิ่มจำนวนมากขึ้น จึงโปรดให้ขยายอาณาเขตเมืองหลวง ซึ่งก็ทรงทำตามประเพณีโบราณเช่นกัน คือ ขุดคูเมืองและสร้างป้อมปราการ
           ปัจจุบันป้อมปราการที่สร้างขึ้นทั้ง ๒ รัชสมัย หมดความจำเป็นในการใช้สอย จึงถูกรื้อถอนใช้เนื้อที่สร้างสถานที่อื่นๆ ตามความจำเป็น เหลือเป็นอนุสรณ์อยู่เพียง ๒ ป้อม คือ ป้อมพระสุเมรุ และป้อมมหากาฬ ส่วนป้อมอื่นๆ บางป้อมก็ไม่ปรากฎทั้งตัวป้อมและชื่อ บางป้อมก็เหลือเพียงแต่ชื่อ แต่ก็ได้นำมาใช้เป็นชื่อสถานที่ต่างๆ ซึ่งก่อสร้างขึ้นในบริเวณที่เคยเป็นป้อม เช่น ถนน อำเภอ เป็นต้น
ป้อมปราการที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มี ๑๔ ป้อม คือ 
1.ป้อมพระสุเมรุ 
2.ป้อมยุคุณธร 
3.ป้อมมหาปราบ 
4.ป้อมมหากาฬ 
5ป้อมหมูทลวง 
6.ป้อมเสือทยาน 
7.ป้อมมหาไชย 
8.ป้อมจักรเพชร 
9.ป้อมผีเสื้อ 
10.ป้อมมหาฤกษ์ 
11.ป้อมมหายักษ์ 
12.ป้อมพระจันทร์ 
13.ป้อมพระอาทิตย์ และ
14.ป้อมอิสินธร
           ป้อมปราการที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบามสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มี ๘ ป้อม คือ ป้อมปัจจามิตร ป้อมปิดปัจจนึก ป้อมฮึกเหี้ยมหาญ ป้อมผลาญไพรีราบ ป้อมปราบศัตรูพ่าย ป้อมทำลายปรปักษ์ ป้อมหักกำลังดัษกร และป้อมมหานครรักษา
           ปัจจุบันคงเหลือชื่อป้อมที่เป็นชื่อสถานที่ต่างๆ คือ
           1. ป้อมพระสุเมรุ เป็นชื่อถนนพระสุเมรุ
             2. ป้อมมหาไชย เป็นชื่อถนนมหาไชย
             3. ป้อมจักรเพชร เป็นชื่อถนนจักรเพชร
            4.  ป้อมพระจันทร์ เป็นชื่อท่าน้ำ คือ ท่าพระจันทร์
            5.  ป้อมพระอาทิตย์ เป็นชื่อถนนพระอาทิตย์
           6.   ป้อมปราบศัตรูพ่าย เป็นชื่อเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
เครดิต;
หนังสือ "ชื่อบ้าน นามเมือง" โดย คุณ ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย 

ป้อมในกรุงรัตนโกสินทร์

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว รวมถึง พระบรมมหาราชวัง สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี ในปีพ.ศ.2325 โดยให้ พระยาธรรมาธิกรณ์ (บุญรอด) และ พระยาวิจิตรนาวี เป็นผู้สร้างและออกแบบ โดยทรงรื้อถอนกำแพงอิฐ และเขตพระราชวังกรุงศรีอยุธยา มาสร้างพระนครแห่งใหม่ ณ กรุงเทพมหานคร ที่มีให้เห็นปัจจุบัน ซึ่งอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อง่ายต่อการป้องกันพระนคร ป้อมที่เก่าแก่ที่สุดกลางแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 มีทั้งหมด 14 ป้อม 
คือ 
1. ป้อมมหาไชย     ทุบทิ้งในปีพ.ศ.2469
2. ป้อมพระสุเมรุ  อยู่ทางเหนือของเกาะรัตนโกสินทร์                
3. ป้อมยุคุนธร     อยู่หน้าวัดบวรนิเวศ มีเพียงกำแพง
4. ป้อมมหากาฬ   อยู่เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ
5. ป้อมหมู่ทลวง   ทุบทิ้งในปีพ.ศ.2440
6. ป้อมมหาปราบ อยู่แถวแยกผ่านฟ้าลีลาศ 
7. ป้อมเสือทยาน อยู่ใกล้สะพานดำรงสถิต 
8. ป้อมอิสินธร     ปัจจุบันพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย
9. ป้อมจักรเพชร  อยู่ทางใต้สุด แถวสะพานพุทธ
10. ป้อมผีเสื้อ         อยู่ทางใต้ปากคลองตลาด
11. ป้อมมหาฤกษ์   อยู่ตรงข้ามป้อมวิไชยประสิทธิ์ 
12. ป้อมมหายักษ์   อยู่บริเวณท่าเตียน 
13. ป้อมพระจันทร์  อยู่แถวม.ธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์
14. ป้อมพระอาทิตย์ อยู่เชิงสะพานพระปิ่นเกล้า....