วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

วัดพิชัยสงคราม

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
จุดเปลี่ยนที่สำคัญ และ ชะตาลิขิตของแผ่นดิน
ในยุคกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เกิดขึ้นที่นี่

"วัดพิชัยสงคราม" พระนครศรีอยุธยา
วัดพิชัยสงครามมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในช่วงก่อนเสีย กรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒ เมื่อ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ตีฝ่าวงล้อมของกองทัพพม่าออกไปยัง เมืองจันทบูร จากวัดแห่งนี้ซึ่งขณะนั้นเป็นวัดร้างเมื่อวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๓๐๙ หรือก่อนเสียกรุงได้ไม่นาน
โดยจากบันทึกของทางวัดกล่าวไว้ดังนี้
ณ.วันเสาร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือนยี่ ปีจอ (๒๓๐๙)
พม่าล้อมกรุงศรีอยุธยา พระยาวชิรปราการ
(สิน)เจ้าเมืองตาก ประเมินสถานะการณ์ว่า กรุงศรีอยุธยาต้องเสียแก่พม่า จึงพร้อมด้วยทหารร่วมอุดมการณ์ ๑,๐๐๐ คน (บางแห่งกล่าว ๕๐๐ คน)ตีฝ่าวงล้อมพม่าข้ามลำน้ำป่าสัก รวมพล ณ.วัดพิชัยสงคราม เวลาค่ำร่วมกันให้สัตยาธิฐานต่อหน้าพระประธานในอุโบสถ ขอให้กลับมากอบกู้อิสระภาพให้กรุงศรีอยุธยา และมีชัยชนะต่อข้าศึกอย่างเด็ดขาด
จากนั้นในสมัย กรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ ๔ – รัชกาลที่ ๕ ได้มีชาวบ้านเข้ามาบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพิชัยจนกลับมาอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์พร้อมกับเปลี่ยนชื่อวัดเป็น วัดพิชัยสงคราม เพื่อเป็นสิริมงคลและเพื่อเป็นการระลึกถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้น
วัดพิชัยสงครามได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานโดย กรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔
#ข้อมูลอ้างอิงวิกิพีเดีย
#ข้อมูลอ้างอิงจากวัดพิชัยสงคราม

1 ความคิดเห็น:

  1. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always be love. _/|\_

    ตอบลบ