วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2564

ราชมรรคาเมืองพิมาย

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

เรื่องเล่าในกาลเวลา “ราชมรรคา” เมืองพิมาย–เขมรต่ำ
....กลางฤดูหนาว ในปี พ.ศ. 2495
....“คิด คงควร” นายเกวียนมือใหม่วัย 14 ฤดูฝน ตวัดเชือกสนตะพาย เร่งฝีเท้าวัวตัวหลัง ให้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกองคาราวานเกวียน ออกรอนแรมบนเส้นทางสายเปลี่ยวที่ทอดตัวยาวไกล ตัดผ่านทุ่งนาหลังฤดูเก็บเกี่ยว ดงไม้แห้งโกร๋นและหย่อมบ้านเรือน มี “กองศิลาโบราณ” ที่มีต้นไม้ขึ้นปกคลุมมีให้เห็นเป็นระยะ...
...หนุ่มน้อยวัยคะนองเรียนรู้มาจากคำเล่าลือว่า ซากปรักเหล่านั้นเคยเป็นที่พักคนเดินทางเมื่อครั้งอดีต ก่อนนำเกวียนเฉียดเข้าไปใกล้จนมองเห็นยอดเขาด้านขวามือ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นที่ตั้งของปราสาทหินโบราณขนาดใหญ่
....ย่างเข้าสู่เย็นวันที่ 10 ของการเดินทาง เด็กหนุ่มและคณะก็มาถึงหนองน้ำเล็กๆกลางดงไม้หนาทึบ จากจุดนั้น ที่หมายปลายทางของพวกเขาก็อยู่แค่เอื้อม....
....“หยุดดดดดด ๆ ๆ ” คิด คงควร ออกคำสั่งกับวัวเทียมเวียน พร้อมบังคับรถเกวียนให้เข้าไปเข้าสมทบกับกองคาราวานของคณะ ซึ่งจอดเรียงรายล้อมเป็นวงกลมอยู่ก่อนแล้ว อีก 19 เล่ม วัวเทียมเกวียนแต่ละคู่ได้หยุดพักกินหญ้าเป็นรอบที่สองของวัน ก่อนจะถูกต้อนไปผูกรวมกันไว้ตรงกลางวงล้อม....
.....กองไฟขนาดย่อมถูกสุมขึ้นเพื่อใช้หุงหาอาหารมื้อเย็น และให้คนกับวัวได้อาศัยไออุ่นช่วยขับไล่ความหนาวเหน็บในยามค่ำคืน ภารกิจของกองเกวียนกลางสายลมหนาวจาก “เมืองพิมาย” นี้ ก็คือลำเลียงเกลือสินเธาว์ที่มีอยู่ดาษดื่นในเขตเมือง โดยบรรจุไว้ในกระทอไม้ไผ่ก่อนนำขึ้นไปเรียงจนเต็มกูบเกวียนเพื่อข้ามเขตแดนไทยไปแลกปลาที่ฝั่งประเทศกัมพูชา หรือที่ชาวพิมายเรียกว่า “เมืองเขมรต่ำ” ดินแดนที่มั่งคั่งไปด้วยปลาและข้าว โดยอาศัยเส้นทางสัญจรที่นักเดินทางและนายกองเกวียน ที่ชาวพิมายรู้ต่อ ๆ กันมาในนาม “ถนนโบราณ” แต่ก็ไม่มีใครสักคนที่รู้ว่า เส้นทางดินที่กงเกวียนนับยี่สิบคู่บดอัดมาตลอดสิบวันนั้นถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่เมื่อใด....
... “ในปีที่ข้าวปลาอาหารขัดสน พวกเจ้าต้องเดินทางไปตามถนนสายนี้พร้อมกับเกลือ เจ้าถึงจะอยู่รอด”
นี่อาจเป็นคำสั่งเสียของปู่ย่าตายายที่ย้ำนักย้ำหนา เป็นเหตุผลที่สำคัญในการเดินทางของกองคาราวานนี้มากกว่าจะสนใจเรื่องถนน และแน่นอนว่า “ความอยู่รอดและมีกิน” จึงเป็นเหตุผลใหญ่ที่ทำให้คิด คงควร พ่อของเขาและชาวเมืองพิมาย ต่างตัดสินใจออกเดินทาง...ไปตามเส้นทางโบราณที่ยังไม่หายไป ....” (Ref.National Geographic)
---------------------------------------
*** ภายหลังการสวรรคตของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ถนนโบราณ-ราชมรรคาในการอุปถัมภ์ของราชวงศ์มหิธรปุระ ก็เริ่มซบเซาเพราะขาดการดูแลปกปักษ์รักษา
การอุปถัมภ์ศาสาสถานตามเส้นทางมายังเมืองพิมายเริ่มลดลง จนสิ้นสุดลงในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 เมื่อศูนย์กลางอำนาจแห่งอาณาจักรเทวราชา ได้ถูกทำลายโดยกองทัพจากอยุทธยา หนึ่งในกลุ่มแว่นแคว้นที่เคยอยู่ภายใต้จักรวรรดิเดียวกัน แต่ในวันนี้ กำลังเป็นรัฐขอมตะวันตกที่เติบโตและยิ่งใหญ่ขึ้นมาแทนที่
ซากอาคารก่อศิลามากมายตามเส้นทาง จึงได้เสื่อมสภาพลงไปตามบริบทการล่มสลายของชุมชนในอาณาจักรที่สิ้นสลายจากเหตุเพราะการสงคราม การกวาดต้อนผู้คนเพื่อนำไปใช้เป็นแรงงานทาส ความเชื่อและอำนาจการปกครองของรัฐใหม่ที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย
และเมื่อมีผู้คนกลุ่มใหม่ตระกูลไท - ลาวจากแดนอีสานเหนือและแดนลาวใต้ ชาวเขมรป่าดงจากเขมรต่ำ   อพยพเข้าสู่แผ่นดินอีสานใต้ หักร้างถางพงเพื่อทำไร่ ทำนา สร้างหมู่บ้านตั้งชุมชน เข้ามาครอบครองซากปราสาทเก่าแก่ ที่ปรักหักพังทับถมเป็นเนินดอน ชุมชนใหม่ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบนบ้านเมืองที่ถูกทิ้งให้ร้างมานานหลายร้อยปี มาอยู่ร่วมกับชาวเขมรโบราณหรือคนขะแมร์ลือ ที่ยังคงอาศัยกระจายชุมชนอยู่ทั่วอีสานใต้ยังคงได้ใช้เส้นทางโบราณเป็น “ถนน” สำหรับขบวนคาราวานเกวียน บนเส้นทางสายเก่าที่ไม่เคยมีผู้ใดรู้ที่มา
รู้แต่เพียงว่าบนถนนนี้จะมีหย่อมบ้านเรือนของผู้คนเก่าแก่ มีกองศิลาโบราณที่มีต้นไม้ขึ้นปกคลุมให้เห็นเป็นระยะ ซึ่งซากกองศิลาเหล่านั้นเคยเป็นที่พักคนเดินทางเมื่อนานแสนนานมาแล้ว
ขบวนคาราวานเกวียน จากเมืองพิมาย จะนำสินค้าประเภทต่าง ๆ ทั้ง วัว ควาย ของป่า ครั่ง นุ่นและเกลือสินเธาว์จากถิ่นอีสานใต้ เดินทางรอนแรมไปตามถนนที่มีซากปราสาท ข้ามช่องเขาพนมดองเร็กที่ช่องเสม็ด ลงไปแลกข้าว ปลาและของป่า สมุนไพร กับชุมชนเขมรรอบโตนเลสาบในเขตเขมรต่ำที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์
---------------------
*** เรื่องเล่าการเดินทางของขบวนคาราวานสินค้าทางเกวียน และตำนานนายฮ้อยแห่งอีสานบนเส้นทางถนนโบราณในช่วง 100 – 200 ปีนี้เอง ที่เป็นหลักฐานสำคัญ บอกเล่าเรื่องราวในอดีตกับร่องรอยสำคัญในวิถีชีวิตของผู้คน ที่ยืนยันการมีตัวตนของ “ถนนราชมรรคา” จากยุคจักรวรรดิบายนเคยยิ่งใหญ่ ยังคงปรากฏหลงเหลือมาจนถึงในทุกวันนี้ครับ
เครดิต ; FB
วรณัย พงศาชลากร
EJeab  Academy
.....................................................
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.....................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.
.....................................................


วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2564

คาถามหาจักรพรรดิ

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

บทบูชาพระ
พุทธัง ชีวิตัง เม ปูเชมิ
ธัมมัง ชีวิตัง เม ปูเชมิ
สังฆัง ชีวิตัง เม ปูเชมิ
กราบพระ 6 ครั้ง
พุทธัง วันทามิ (กราบ)
ธัมมัง วันทามิ (กราบ)
สังฆัง วันทามิ (กราบ)
ครู-อุปัชฌาย์-อาจาริยคุณัง วันทามิ (กราบ)
มาตาปิตุคุณัง วันทามิ (กราบ)
พระไตรสิกขาคุณัง วันทามิ (กราบ)
บทสมาทานศีล 5
นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (กราบ 3 ครั้ง)
พุทธัง สรณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ
สังฆัง สรณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ
ตติยัมปิ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ
ตติยัมปิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ
ตติยัมปิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ
ปาณาติปาตา เวระมณี สิกขาปทัง สมาทิยามิ
อทินนาทานา เวระมณี สิกขาปทัง สมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมณี สิกขาปทัง สมาทิยามิ
มุสาวาทา เวรมณี สิกขาปทัง สมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปมาทัฎฐานา เวระมณี สิกขาปทัง สมาทิยามิ
อิมานิ ปัญจะสิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ (3 ครั้ง)
สีเลนะ สุคติง ยันติ สีเลนะ โภคสัมปทา
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธเย
บทอาราธนาพระ
นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (สวด 3 จบ)
พุทธัง อาราธนานัง กโรมิ
ธัมมัง อาราธนานัง กโรมิ
สังฆัง อาราธนานัง กโรมิ
คาถาหลวงปู่ทวด
นโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติ ภควา (สวด 3 จบ)
คาถาหลวงปู่ดู่
นโม โพธิสัตโต พรหมปัญโญ (สวด 3 จบ)
บทขอขมาพระรัตนตรัย
(สวดแบ่งประโยคที่ได้ความหมายถูกต้องตามหลักไวยากรณ์บาลี พร้อมคำแปล)
โย โทโส โมหะจิตเตนะ (โทษอันใด ด้วยจิตหลงผิดไป)
พุทธัสมิง ปาปะกโต มยา (การกระทำชั่วบาปของข้าพเจ้าในพระพุทธะ)
ขะมะถะ เม กตัง โทสัง (ขอขมาแก่ข้าพเจ้าซึ่งโทษที่ได้กระทำไป)
สัพพะปาปัง วินัสสันตุ (ขอบาปทั้งปวง จงวินาสสิ้นไป)
โย โทโส โมหะจิตเตนะ (โทษอันใด ด้วยจิตหลงผิดไป)
ธัมมัสมิง ปาปะกโต มยา (การกระทำชั่วบาปของข้าพเจ้าในพระธรรม)
ขะมะถะ เม กตัง โทสัง (ขอขมาแก่ข้าพเจ้าซึ่งโทษที่ได้กระทำไป)
สัพพะปาปัง วินัสสันตุ (ขอบาปทั้งปวง จงวินาสสิ้นไป)
โย โทโส โมหะจิตเตนะ (โทษอันใด ด้วยจิตหลงผิดไป)
สังฆัสมิง ปาปะกโต มยา (การกระทำชั่วบาปของข้าพเจ้าในพระสงฆ์)
ขะมะถะ เม กตัง โทสัง (ขอขมาแก่ข้าพเจ้าซึ่งโทษที่ได้กระทำไป)
สัพพะปาปัง วินัสสันตุ (ขอบาปทั้งปวง จงวินาสสิ้นไป)

บทสวดพระคาถามหาจักรพรรดิ
นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (สวด 3 จบ)
(สวดตามกำลังวัน อาทิตย์ 6 จันทร์ 15 อังคาร 8 พุธ 17 พฤหัส 19 ศุกร์ 21 เสาร์ 10 หรือ จะสวดวันละ 9 จบก็ได้)
นโม พุทธายะ พระพุทธะไตรรัตนญาณ
มณีนพรัตน์ สีสหัสสะ สุธรรมา
พุทโธ ธัมโม สังโฆ
ยะ-ธา-พุท-โม-นะ
พุทธะบูชา ธัมมะบูชา สังฆะบูชา
อัคคีทานัง วรังคันธัง
สีวลี จะ มหาเถรัง
อหัง วันทามิ ทูรโต
อหัง วันทามิ ธาตุโย
อหัง วันทามิ สัพพโส
พุทธะ ธัมมะ สังฆะ ปูเชมิ
คำอธิษฐานสัพเพทั้งสามแดนโลกธาตุ
ข้าพเจ้า…(นามของท่าน)…ผู้เป็นผู้รับใช้พระพุทธศาสนา ขอนอบน้อมและน้อมนำบารมีรวมแห่งพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยบุคคลทุกชั้นภูมิ พระโพธิสัตว์ และพระบรมมหาจักรพรรดิทุกๆ พระองค์ โดยตั้งแต่อดีตปัจจุบันและอนาคต โดยมีบารมีรวมของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญเป็นที่สุด ขอพระบารมีอันหาที่สุดมิได้นี้ โปรดจงส่งไปให้ถึงภพภูมิต่างๆ ทั้งหลายในทั่วทั้ง 3 แดนโลกธาตุ อันประกอบไปด้วยเทพ 6 ชั้น พรหม 20 ชั้น เทพพรหมทุกชั้นฟ้ามหาสมุทร โดยทั่วทั้งหมื่นแสนโกฏิจักรวาล เทพพรหมเทวาที่เกี่ยวพันกับหลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ หลวงตาม้า เทพพรหมเทวาที่เกี่ยวพันเกี่ยวข้องกับข้าพเจ้า โดยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและอนาคต ท่านปู่พระอินทร์เจ้าฟ้า ท่านท้าวจตุมหาราชทั้ง 4 พระยายมราชพร้อมด้วยบริวารทั้งหมด พระศรีสยามเทวาธิราชทุกๆ พระองค์ วีรบุรุษและวีรสตรีทั้งหลายที่คอยปกป้องรักษาแผ่นดินสยาม โอปาติกะทั้งหลาย พระฤาษีและดาบสทั้งหลาย ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองทุกๆ จังหวัด พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระราหูวราหก เจ้ากรุงพาลี แม่พระธรณี แม่พระคงคา แม่พระโพสพ พระเพลิง พระพาย พระพิรุณ พญาครุฑ-พญานาคพร้อมด้วยบริวาร คนธรรพ์ ชาวเมืองลับแล และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้าได้เคยไปอธิษฐานไว้ ตลอดจนถึงสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย สรรพสัตว์ในดินแดนอบายภูมิทั้งหลายทั้งหมดทั้งสิ้น ขอโปรดจงได้รับมหากุศลผลบุญบารมีนี้ โดยถ้วนทั่วทุกตัวตน ทุกคนทุกท่าน เทอญ… (ตั้งใจโน้มนำบุญและแผ่บุญออกไปด้วยบทสัพเพฯ)
แผ่บุญปรับภพภูมิ
สัพเพ พุทธา สัพเพ ธัมมา สัพเพ สังฆา
พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญจะ ยัง พลัง
อรหันตานัญจะ เตเชนะ รักขัง พันธามิ สัพพะโส (สวด 5 จบ)
พุทธัง อธิฏฐามิ ธัมมัง อธิฏฐามิ สังฆัง อธิฏฐามิ
ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิษฐาน ขอให้ได้พานพบคุณงามความดีทุกๆประการจนกว่าข้าพเจ้าจะเข้าสู่นิพพาน และขอให้ข้าพเจ้าพ้นจากความทุกข์ ทุกๆประการจนกว่าข้าพเจ้าจะเข้าสู่นิพพาน นิพพานะปัจจะโยโหตุ
.....................................................
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.....................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.
.....................................................


วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2564

เทคนิคทำให้รวย

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

หลวงปู่ปานแนะเคล็ด​ทำให้ร่ำรวย
พระคุณหลวงปู่ปาน วัดบางนมโค พระนครศรีอโยธยา ท่านได้เคยเมตตาสั่งสอนแนะนำลูกหลานไว้ว่า  หากลูกหลานต้องการมีความคล่องตัวไว ร่ำรวยไว ก็ให้ปฏิบัติ ดังนี้
๑. ก่อนที่จักเดินทางไกล ให้ทำทานก่อน จักใส่บาตรพระก็ได้ มอบเงินให้พ่อแม่ก็ได้ เอาข้าวให้ลูกหมาลูกแมวก็ได้ เรียกว่าทำทานก่อนไป
๒. หากพบพระสงฆ์กำลังฉันภัตตาหารในร้าน ให้เข้าไปปวารณาถวายค่าภัตตาหารมื้อนั้นกับท่าน ฤานำปัจจัยไปจ่ายให้กับแม่ค้า แล้วจึงไปบอกกล่าวกับพระท่าน
๓. หากพบเห็นพระสงฆ์ในระหว่างที่เรากำลังเดินทาง ให้จอดรถลงไปถวายของกับท่าน เช่น​ ภัตตาหาร น้ำดื่ม เป็นต้น หากเป็นเพลาหลังเพลแล้ว​ ให้ถวายน้ำดื่ม เครื่องดื่ม ผลสมอ มะขามป้อม ฯลฯ กับท่าน
๔. ให้เป็นเจ้าภาพถวายผ้าไตร อย่างน้อย ๑ ไตร ในงานกฐินทุกปี
หากทำได้เช่นนี้ ใครอื่นจน ใครอื่นลำบาก ลูกหลานทุกคนก็จักไม่ลำบากยากจนเหมือนคนอื่นๆ เขา
แถมอีกนิด..พระคุณหลวงปู่ปาน ยังได้เคยกล่าวไว้อีกว่า
"ข้าไม่เคยเห็นใครที่ซื้อโลงศพแจกเขา ฤาทำบุญบริจาคโลงศพแล้วจักจนลงเลย เห็นมีแต่คล่องตัว ร่ำรวยขึ้นๆ"
ผู้ใดปรารถนาความคล่องตัว ร่ำรวยขึ้น ก็ให้พากันปฏิบัติตามที่พระคุณหลวงปู่ได้เมตตาแนะนำสั่งสอนนะลูก
หลวงพ่อพระธัมมสรโณ
Cr.หลวงปู่ปาน​ โสนันโท
เครดิต ; FB มหาธรรมทาน
.....................................................
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.....................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.
.....................................................


ความเข้าใจผิด

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

“ ความเข้าใจผิด ”
๑. เข้าใจผิดว่า ...ทำดี ต้องได้ดี ทำบุญต้องได้บุญ
ที่ถูก คือ ...ทำดีไม่ได้อะไร ได้แค่ละกิเลส ทำบุญ ได้แค่สบายใจ
๒. เข้าใจผิดว่า ...ดีกับใคร คนนั้นต้องดีตอบ
ที่ถูก คือ ...เรามีหน้าที่ทำดี ใครจะดีกับเรา ไม่ดีกับเรา ไม่ใช่เรื่องของเรา
๓. เข้าใจผิดว่า ...ให้อะไรใคร ต้องได้กลับคืน
ที่ถูก คือ ...การ “ให้” คือ ยินดีเสียสละ ให้แล้วคาดหวัง..ไม่ใช่การให้ อ้างบุญคุณไม่ได้
๔. เข้าใจผิดว่า ...แก่แล้วทำอะไรก็ได้
ที่ถูก คือ ...แก่แล้วต้องยิ่งสำนึก ทำชั่วไม่ได้ เวลาเหลือน้อย
๕. เข้าใจผิดว่า ...ต้องทำเพื่อความมั่นคงของชีวิตในภายหน้า ที่ถูก คือ ...ความมั่นคงไม่มีในโลก ตายได้ทุกเมื่อ
๖. เข้าใจผิดว่า ...ความต้องการของตัวเองสำคัญที่สุด เราสำคัญที่สุด ที่ถูก คือ ...ไม่มีความต้องการนั่นแหละสำคัญที่สุด ไม่มีเราต่างหากสำคัญที่สุด
๗. เข้าใจผิดว่า ...เข้าวัด ใจสงบ
ที่ถูก คือ ...วัดอยู่ในใจ..ใจสงบ
๘. เข้าใจผิดว่า ...ความสบายเลือกได้
ที่ถูก คือ ...เกิดมาก็ทุกข์แล้ว มันเลือกไม่ได้ ไม่มีใครสบายตลอดชาติ
๙. เข้าใจผิดว่า ...สิ่งของ คนของเรา ตัวตนของเรา
เราต้องยึดไว้ รักษาไว้
ที่ถูก คือ ...ไม่มีอะไร หรือใคร ให้ต้องยึด ต้องรักษา
ทุกอย่างไม่ใช่ของเรา และที่สุดแล้ว...ก็ ไม่ มี...
คำสอน ...๛ ท่านพุทธทาส ภิกขุ ๛
เครดิต ; FB ต้นสาระ
.....................................................
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.....................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.
.....................................................


วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2564

เมืองเชียงแสน

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

“พระเจดีย์วัดป่าสัก” ความงดงามที่เมืองโบราณเชียงแสน 
“คาร์ล บ็อค” (Carl Bock) นักธรรมชาติวิทยาชาวนอร์เวย์ เป็นชาวตะวันตกคนแรกที่ได้เดินทางมาเยือนเมืองเชียงแสน ในเดือนมีนาคม ปี พ.ศ. 2424  กล่าวถึงเมืองเกียงแสน (เชียงแสน) ในหนังสือ Temples and Elephants ความตอนหนึ่งว่า “...ภูมิประเทศโดยรอบเมืองเชียงแสนนี้มีความงดงามมากที่สุดนับตั้งแต่ที่ข้าพเจ้าได้เดินทางตระเวนไปทั่วแหลมอินโดจีน เมื่อมองออกไปทางด้านหลังของตัวเมืองจะเห็นเป็นภูเขาซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ต่อกันเป็นทิวยาว ทั้งเทือกเต็มไปด้วยป่าไม้สักและต้นไม้ที่ให้ยางมากมายหลายชนิด...”
“...พลเมืองส่วนใหญ่เป็นชาวยวนโยนกที่เพิ่งมาอาศัยอยู่ที่เชียงแสนนี้กันมาได้เพียง 3 ปี ภายหลังจากที่พวกเชียงใหม่มายึดเมืองคืนจากพวกเงี้ยว … เมืองนี้ตั้งฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง สูงประมาณ 700 ฟุตจากระดับน้ำทะเล .... คงเคยเป็นเมืองสำคัญมาก่อน ดังที่เห็นมีร่องรอยของซากวัดวาอารามอยู่มากมาย ....ข้าพเจ้าได้ไปดูสถานที่เก่า ๆ ซากปรักหักพังของวัดโบราณยังพอเห็นเค้าของสถาปัตยกรรมที่ดูแปลกตา เป็นงานฝีมือที่มีความประณีตงดงาม คล้ายกับที่เคยพบเห็นทางภาคใต้  พระเจดีย์บางองค์ประดับด้วยปูนปั้นที่ที่มีลวดลายสวยงาม ปั้นประดับกันทั้งภายนอกและภายในอย่างพิถีพิถัน ...แต่ทุกองค์ถูกพวกเชียงใหม่ที่เข้ามาบุกรุกทำลายลักเอาของมีค่าไปจนหมดสิ้น ทำให้เสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ไปเสียหมดแล้ว ....ตามพื้นดินยังพบพระพุทธรูปสำริดกองทิ้งอยู่กระจัดกระจาย บางองค์มีขนาดใหญ่โตมาก พวกเงี้ยวที่อยู่อาศัยใกล้เมือง ยังคงเดินทางมาสักการบูชาด้วยดอกข้าวตอก ดอกไม้ และยังคงปิดทององค์พระพุทธรูปที่เหลืออยู่...”
ในตำนานเก่าแก่ทั้ง “สุวรรณโคมคำ สิงหนติกุมารและชินกาลมาลีปกรณ์” ของแคว้นโยนกโบราณ ได้กล่าวถึงต้นกำเนิดของผู้คนและบ้านเมืองในลุ่มน้ำกกและแม่น้ำโขงว่า เริ่มต้นมาจาก “เจ้าสิงหนติราชกุมาร” โอรสของพระเจ้าเทวกาลแห่งนครไทยเทศหรือเมืองราชคฤห์ ในอินเดีย ได้ทำการอพยพผู้คน มายังดินแดนที่เคยเป็นแคว้นสุวรรณโคมคำในอดีต และได้มาพบกับพญาพันธุนาคราช จึงได้ช่วยกันสร้างเมือง “นาคพันธุสิงหนตินคร” หรือ “โยนกนคร” ขึ้นเป็นปฐม
ในกาลต่อมา กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ได้เปลี่ยนชื่อนาม “นาคพันธุสิงหนตินคร” มาเป็น “โยนกนครไชยบุรีราชธานีศรีช้างแส่น” จากนิมิตอันเป็นมงคล  ซึ่งในยุคของพญาอชุตราช  ได้โปรดให้สร้างพระธาตุดอยตุง พระธาตุดอยกู่แก้ว พระธาตุในถ้ำปุ่ม ถ้ำเปลวปล่องฟ้า จนเมื่อแผ่นดินล่มลงเป็นหนองน้ำใหญ่ด้วยเพราะฤทธาปลาไหลเผือกยักษ์จากแม่น้ำกก ชาวเมืองที่รอดชีวิตจึงได้อพยพมาสร้างเวียงเปิกสา (เวียงปรึกษา) ที่ริมฝั่งแม่น้ำโขง
ในตำนานเมืองเชียงแสน ฉบับใบลานและประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 61 เล่าว่า  ครั้นเมื่อพระพุทธเจ้านิพพานไปได้ 1182 ปี เมืองยวนเชียงแสนและเมืองไทยยวนอีกพันเมืองไม่มีเจ้าปกครองเมือง พระเจ้าอนุรุทธเป็นใหญ่กว่าเมืองทั้งหลาย จึงขอให้พระอินทร์ส่งเทวดาลงมาปกครองเมือง พระอินทร์จึงส่ง “ลาวจังกระเทวบุตต์” และเทวดาอีก 1,000 องค์ ลงมาปกครอง ชาวเมืองเวียงเปิกสาจึงได้อัญเชิญมาประทับอยู่ที่เวียงแล้วอภิเษกให้เป็นเจ้าปกครองเมืองไทยยวนทั้งมวล “ปู่ลาวจง ” (ลาวจังกระเทวบุตต์  ลวะจักกะ หรือลาวจังกราช)  ได้สร้าง “เวียงหิรัญนครเงินยางเชียงลาว” (ตีนดอยตุง) ขึ้นเป็นครั้งแรก
เวียงหิรัญนครเงินยางเชียงลาว (ในตำนาน) รุ่งเรืองสืบต่อมาหลายร้อยปี จนถึงช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 พญามังรายปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ ผู้สืบเชื้อสายจากปู่เจ้าลาวจังกราช ได้รวบรวมเมืองต่าง ๆ บริเวณที่ราบลุ่มเชียงแสน-แม่น้ำโขงไว้ในพระราชอำนาจ ทั้งยังทรงเข้ายึดเมืองหริภุญชัยในที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง สร้างเมือง“นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่” ขึ้นเป็นศูนย์กลางแห่งราชอาณาจักรล้านนา
สิ้นรัชกาลพญามังราย พญาไชยสงครามผู้เป็นพระราชโอรสขึ้นปกครองเมืองเชียงใหม่ แต่พระองค์ประทับอยู่เชียงใหม่เพียง 4 เดือน ก็เสด็จกลับปกครองเมืองเชียงราย โดยมอบเมืองเชียงใหม่ให้พญาแสนภู พระราชโอรสปกครองแทน สิ้นพญาไชยสงคราม พญาแสนภูยกเมืองเชียงใหม่ให้เจ้าคำฟู พระโอรสขึ้นปกครองแทน ส่วนพระองค์เสด็จกลับไปประทับที่เชียงราย
*** ในปี พ.ศ.1871 พระเจ้าแสนภูได้สถาปนาเมืองเชียงแสนขึ้น ซึ่งในพงศาวดารโยนกกล่าวว่า ได้สร้างขึ้นบนเมืองเวียงรอย (ดอย) ในยุคพญามังราย เพื่อใช้เป็นเมืองป้องกันศึกทางเหนือและใช้ควบคุมเมืองในเขตล้านนาตอนบน
เมืองเชียงแสน  เป็นเมืองที่มีกำแพงล้อมรอบ มีประตูเมือง 11 ประตู แต่คงเหลือให้เห็นในปัจจุบันแค่ 6 ประตู ได้แก่ ประตูยางเทิง (ด้านทิศเหนือ) ประตูดินขอ (ด้านทิศใต้) ประตูหนองมูด ประตูป่าสัก ประตูทัพม่าน (ด้านทิศตะวันตก) และป้อมมุมเมืองตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ 2 ป้อม ส่วนประตูรั้วปีก ประตูท่าอ้อย ประตูท่าสุกัม ประตูท่าหลวง ประตูท่าเสาดิน ประตูท่าคาว และป้อมมุมเมืองอีก 2 ป้อมฝั่งด้านตะวันออกติดริมแม่น้ำโขงที่ปรากฏในพงศาวดารนั้น  ได้ถูกแม่น้ำโขงกัดเซาะพังทลายลงไปในแม่น้ำทั้งหมดแล้ว มีวัดทั้งหมด 139 วัด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ วัดภายในกำแพงเมือง 76 วัด เช่น วัดเจดีย์หลวง วัดผ้าขาวป้าน วัดพระเจ้าล้านทอง วัดอาทิต้นแก้ว วัดมุงเมือง ฯลฯ และวัดนอกกำแพงเมือง จำนวน 63 วัด เช่น วัดป่าสัก พระธาตุจอมกิตติ พระธาตุสองพี่น้อง วัดป่าแดง วัดกู่เต้า ฯลฯ
ใกล้กับเมืองโบราณเชียงแสน ยังมีเมือง “โบราณเชียงแสนน้อย” ตั้งห่างไปทางทิศใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร บริเวณที่ลำนํ้ากกไหลมาบรรจบกับลำนํ้าโขง(สบกก) และยังมีเมืองโบราณเชียงเมี่ยง ตั้งห่างไปทางทิศเหนือของเมืองโบราณเชียงแสนราว 10 กิโลเมตร บริเวณที่ลำนํ้ารวกไหลมาบรรจบกับลำนํ้าโขง (สบรวก) โดยเมืองโบราณทั้ง 3 ตั้งเรียงอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขง  และยังมีเมืองโบราณที่ชาวลาวเรียกว่า "สุวรรณโคมคำ" ตั้งอยู่ริมฝั่งตรงกันข้ามกับเมืองโบราณเชียงแสนน้อยในฝั่งประเทศลาวอีกด้วย
เมืองโบราณริมแม่น้ำโขงทั้งสามแห่ง มีศาสนสถานในพุทธศาสนารวมกันกว่า 112 แห่ง กระจายอยู่ทั่วซึ่ง ส่วนใหญ่กว่า 100 แห่ง จะกระจุกตัวอยู่ในบริเวณเมืองโบราณเวียงเชียงแสน
-----------------------------------------
*** ในประชุมพงศาวดารภาคที่ 61 กล่าวถึงการสถาปนา “วัดป่าสัก” ไว้ว่า “...เมื่อ พ.ศ. 1838  ยังมีมหาเถรเจ้าองค์หนึ่งเอาพระบรมธาตุกระดูกตาตีนก้ำขวา (เบื้องขวา) แห่งพระพุทธเจ้าใหญ่เท่าเม็ดถั่วกว่าง (ถั่วเขียว) เอามาแต่เขตเมืองปาฏลิบุตรเอามาสู่พระยาราชแสนภู แล้วท่านก็พร้อมกับด้วยมหาเถรเจ้าเอาไปสร้างมหาเจดีย์บรรจุไว้ภายนอกประตูเชียงแสน ด้านเวียงแห่งตนภายตะวันตก สร้างให้เป็นพระอารามกว้าง 50 วา เอาไม้สักมาปลูกแวดล้อมกำแพง 300 ต้น แล้วเรียกว่าอารามป่าสักแต่นั้นมาแล แล้วก็สร้างกุฏิให้เป็นทานแก่มหาเถรเจ้าตนชื่อว่า พุทธโฆษาจารย์นั้น อยู่สถิตที่นั้นก็อภิเษกขึ้นเป็นสังฆราชมหาเถรอยู่ยังอารามป่าสักที่นั้น...”
“พระเจดีย์วัดป่าสัก” ประธานของวัดป่าสัก เป็นเจดีย์ทรงปราสาทแบบพุกามห้ายอดที่มีการประดับลวดลายปูนปั้นทั้งองค์ มีเรือนธาตุแผนผังสี่เหลี่ยมประกอบซุ้มจระนำตรงกลางเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปในแต่ละด้าน ถือเป็นเจดีย์ที่มีความสวยงามที่สุดองค์หนึ่งในศิลปะล้านนา ที่ได้รับอิทธิพลทางศิลปะมาจากพุกาม สุโขทัย(เขมร)และหริภุญชัย(รามัญ) 
ฐานล่างสุดรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสของเจดีย์เป็นช่องขื่อปลอม ถัดขึ้นมาเป็นฐานช่องระเบียงลูกแก้ว ด้านบนทำเป็นซุ้มจระนำด้านละ 7 ซุ้ม ภายในสามซุ้มใหญ่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นประทับยืนปางเปิดโลกและปางลีลา สลับกับซุ้มประดิษฐานรูปเทพยดา เหนือขึ้นไปเป็นฐานเขียงสอบเข้ารองรับเรือนธาตุด้านบน 3 ชั้น
ส่วนเรือนธาตุ ทำเป็นเรือนซุ้มจระนำเสาตั้งซ้อนกัน 2 ชั้น ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางเปิดโลกทั้งสี่ด้าน ตรงหน้าจั่วเรือนซุ้มเป็นใบเพกากลีบยาวแบบ “ซุ้มเคล็ก” (Clec) ในงานศิลปะพุกาม ปลายกรอบซุ้มทำเป็นรูปมกรคายนาคสามเศียรแบบเขมร ประดับด้วยปูนปั้นลวดลายวิจิตร ทั้งลายกลีบบัวคว่ำบัวหงาย ช่อดอกไม้ในกรอบกระจก ลายกระหนก ลายพรรณพฤกษา ลายเหรียญ ลายดอกโบตั๋น ลายตัวเหงา ลายครุฑ ลายประจำยามขนมเปียกปูน ลายหน้ากาลยอดซุ้ม ลายกาบบน ประจำยามอก ลายกาบล่างหน้ากาล ลายกาบล่างมกรคายสิงห์  ลายกาบล่างมกรคายช้าง และลายเทวดาบนผนังเรือนธาตุ
เหนือซุ้มจระนำขึ้นไป เป็นอาคารชั้นซ้อนที่จัดวางปูนปั้นรูปยักษ์แบกฐาน มีเจดีย์ขนาดเล็กหรือ “สถูปิกะ” ตังอยู่ที่มุมทั้ง 4 ด้าน รวมเป็นเจดีย์ 5 ยอดอันมีความหมายถึงทวีปทั้ง 4 ที่รายล้อมเขาพระสุเมรุ ช่วงบนสุดเป็นยอดองค์ระฆังฐานแปดเหลี่ยมแบบพุกาม-หริภัญไชย ชั้นกลางคั่นด้วยเสาอิงเรียงรายอยู่โดยรอบ มีบัวหงายกลีบซ้อนสับหว่างยอดลายเกสรแผ่ขยายรองรับส่วนองค์ระฆังอีกชั้นหนึ่ง  องค์ระฆังนี้เป็นรูปทรงกลมมีลายปูนปั้นประจำยามรัดอกขั้นกลาง เหนือองค์ระฆังเป็นองค์ระฆังซ้อน หม้อน้ำ บัวกลุ่ม (คุ้ม) บัวกลีบขนุนยาวเป็นเฟื่อง รองรับปล้องไฉน ปลียอด และส่วนยอดสุดที่ควรเม็ดน้ำค้างเป็นที่สุดตามลำดับ
*** เรียบเรียงจาก “เชียงแสน เชียงของ อารยธรรมล้านนาและวิถีชาติพันธุ์ไทลื้อที่ชายขอบโขง”
โดย วรณัย  พงศาชลากร ในอนุสาร อ.ส.ท. มกราคม 2562 
เครดิต ; FB
วรณัย  พงศาชลากร
EJeab  Academy
.....................................................
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.....................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.
.....................................................


วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2564

พระพุทธมหาจักรพรรดิ

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

พระพุทธมหาจักรพรรดิ วัดนางนองวรวิหาร เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องแบบพระจักรพรรดิราช ซึ่งตำนานการสร้างพระพุทธรูปปางนี้มีอยู่ด้วยกัน ๒ แนวทาง คือ
๑.มาจากพุทธประวัติในตอนโปรดพญาชมพูบดี ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่หลงใหลในทรัพย์สมบัติ รูปสมบัติ ความสวยงามอลังการของปราสาทราชวัง หากพบกษัตริย์เมืองใดที่มีปราสาทราชวังสวยกว่าก็จะใช้ศรวิเศษยิงไปร้อยหูเพื่อคุมตัวมากราบสวามิภักดิ์ต่อพระองค์ จนกระทั่งวันหนึ่ง พระเจ้าพิมพิสารได้ถูกพญาชมพูบดีคุกคาม จึงมาร้องขอให้พระพุทธเจ้าทรงช่วย พระพุทธเจ้าจึงเนรมิตพระองค์เองเป็นพระเจ้าราชาธิราช เนรมิตพระสาวกทั้งหลายเป็นขุนนางอำมาตย์ เนรมิตพระเวฬุวันมหาวิหารเป็นปราสาทราชวังที่สวยงามยิ่งกว่าของพญาชมพูบดี ครั้นพญาชมพูบดีมาถึงได้พยายามเล่นงานพระพุทธเจ้าด้วยวิธีต่าง ๆ แต่ก็ไม่สำเร็จ พระพุทธเจ้าจึงกลับคืนร่างเดิมและเทศนาพญาชมพูบดีจนเกิดดวงตาเห็นธรรม
๒.สื่อถึงพระศรีอาริยเมตไตรย ซึ่งเวลานี้เป็นเทพบุตรอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิต รอเวลาที่จะจุติลงมาบนโลกมนุษย์และตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
มงกุฎที่องค์พระสวมอยู่สามารถถอดแยกจากองค์พระได้ ซึ่งรัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้นำเอามงกุฎของพระประธานองค์นี้ไปไว้บนยอดพระปรางค์วัดอรุณ แล้วโปรดเกล้าฯ ให้สร้างมงกุฎองค์ใหม่ถวายแทน
เหตุผลที่รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้นำมงกุฎไปไว้บนยอดพระปรางค์นั้น บ้างก็ว่าเป็นธรรมเนียมแต่โบราณอยู่แล้ว แต่บ้างก็ว่าทรงต้องการสื่อเป็นนัย ๆ ว่า เมื่อสิ้นรัชกาลของพระองค์แล้ว มีพระราชประสงค์จะให้ เจ้าฟ้ามงกุฎ (ต่อมาคือรัชกาลที่ ๔) ได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระองค์
.....................................................
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.....................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.
.....................................................


พระอินทร์แปลง

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

พระอินทร์แปลง ในพระวิหารวัดเสนาสนาราม  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา                                       พระอินทร์แปลง  เป็นพระพุทธรูปสำคัญอีกองค์หนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เชิญมาจากเมืองเวียงจันทน์เมื่อปี ๒๔๐๑ ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาที่ทรงมีถึงพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า
           ...ยังมีพระที่มีชื่อเอามาแต่เมืองเวียงจันทน์อีกสองพระองค์ พระอินแปลง น่าตัก ๒ ศอกเศษ พระอรุณ น่าตักศอกเศษพระสององค์นี้องค์ที่ออกชื่อก่อนฉันจะรับประทานไปไว้เป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดมหาพฤฒาราม  วัดตะเคียนที่ให้ไปสร้างขึ้นไว้ใหม่...
  วัดมหาพฤฒารามหรือวัดตะเคียนที่ทรงออกชื่อในพระราชหัตถเลขา ว่าจะเชิญพระอินทร์แปลงไปเป็นพระประธานนี้  เป็นวัดเก่าที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงบูรณะเป็นการใหญ่ ตั้งแต่ต้นรัชกาล เล่ากันว่ามูลเหตุมาจากครั้งเมื่อยังทรงผนวชในรัชกาลที่ ๓  เสด็จมาทรงทอดผ้าป่าที่วัดซึ่งขณะนั้นยังมีชื่อว่าวัดท่าเกวียน พระอธิการแก้วเจ้าอาวาสซึ่งมีอายุถึง ๑๐๗ ปีแล้วได้ถวายพยากรณ์ว่า "จะได้เป็นเจ้าชีวิตเร็วๆนี้" มีรับสั่งตอบว่า
"ถ้าได้ครองแผ่นดินจริงจะมาสร้างวัดให้อยู่ใหม่"
เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์จึงทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดท่าเกวียนใหม่ทั้งพระอาราม ซึ่งใช้เวลายาวนานตั้งแต่ปี ๒๓๙๗ จนถึง ๒๔๐๙ เป็นเวลาถึง ๑๒ ปี ส่วนพระอธิการแก้ว  พระราชทานแต่งตั้งสมณะศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่พระมหาพฤฒารามตามสมณศักดิ์ของพระอธิการแก้ว
การที่ทรงตั้งพระทัยจะบูรณะวัดตะเคียนอย่างจริงจัง อาจเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ทรงคิดว่าจะเอา "พระที่มีชื่อ" ไปไว้ แต่จะด้วยเหตุใดไม่แจ้ง ปรากฏว่าโปรดให้ประดิษฐานพระอินทร์แปลงไว้ ณ วัดเสนาสนาราม พระนครศรีอยุธยาแทน
ขอบคุณที่มาข้อมูล
https://aya.onab.go.th/th/content/category/detail/id/110/iid/648
เครดิต ; FB ป้อม ธนะชัย
.....................................................
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.....................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.
.....................................................


วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2564

เจ้าคุณนรฯ

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

พระอริยสงฆ์กลางกรุง เจ้าคุณนร
(พระพระยานรรัตนราชมานิต ธมฺมวิตกฺโก)
     โดย. ดร.สุวิจักขณ์ ภานุสรณ์ฐากูร PhD Buddhist psychology MCU
     ขอกราบท่านเจ้าคุณ ในครั้งนี้ผมตั้งใจจะได้นำเอาประวัติของท่านเจ้าคุณมากล่าวในที่นี่ เพื่อให้เหล่าชนได้ทราบถึง พระสุปฏิปันโน รูปหนึ่งที่เกิดขึ้นในแผ่นดินแห่งรัตนโกสินทร์นี้ อีกทั้งเกิดขึ้นในใจกลางกรุงเทพมหานครนี้ด้วย...
     หากสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่กระผม อาจได้กล่าวผิดพลาดไปบ้างในบางช่วงบางตอน ขอท่านเจ้าคุณมีเมตตา งดโทษเหล่านั้นให้กับกระผมด้วยครับ ขอกราบนมัสการถึงท่านเจ้าคุณ ไม่ว่าท่านเจ้าคุณจะสถิติอยู่ ณ.ที่แห่งใดในสากลโลกนี้ หรือดำเนินเข้าสู่นิพพานแล้วก็ตาม กราบ กราบ กราบ...
     ผมเห็นรูปของท่านเจ้าคุณนรมาตั้งแต่เด็ก ๆ เห็นคนเรียกกันว่าเจ้าคุณนร รูปของท่านเจ้าคุณสะดุดในใจผมเพราะ เพราะท่านเจ้าคุณนั่งไม่เหมือนพระรูปอื่น คือเป็นการนับคล้าย ๆ กับพับเพียบ ไม่ใช่การนั่งขัตมาต อย่างที่เห็นคุ้นตา...
     ผมเห็นในรูปนั้นท่านเจ้าคุณยิ้ม เป็นยิ้มที่เปี่ยมเมตตาในขณะที่ดวงตานั้น มีความมุ่งมั่นที่แฝงอยู่ แต่นั่นก็เป็นเพียงความคิดของวัยเด็ก เพราะตอนท่านเจ้าคุณละสังขาร ผมเพิ่งจะสี่ขวบ แม้จะโตขึ้นมาหน่อยชื่อของท่านเจ้าคุณ ผมยังคงได้ยินเรื่อยมา แต่ในเรื่องประวัติของท่านเจ้าคุณนั้น ผมมีความรู้เพียงน้อยนิดมาก...
     รู้แต่เพียงท่านเจ้าคุณเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ 6 อีกทั้งบวชทดแทนคุณรัชกาลที่ 6 ตลอดชีวิตไม่ได้สึก...วันเวลาผ่านไปนำผมให้ได้รู้จักท่านเจ้าคุณเพิ่มมากขึ้น จากคำบอกเล่าของพระอาจารย์ของผมเอง...
     เรื่องมีอยู่ว่าพระอาจารย์ของผม ตอนเป็นโยมได้ขี่มอเตอร์ไซด์ผ่านไปแถวหน้าวัดเทพศิรินทร์ แล้วรถของท่านล้มในขณะที่รถสิบล้อวิ่งมาพอดี เหตุการณ์ในครั้งนั้นต้องถึงแก่ชีวิต เพราะรถสิบล้อที่วิ่งมาจะต้องทับท่านแน่นอนแต่...
     ท่านเหมือนมีใครไม่รู้ มาฉุดท่านให้ลุกขึ้นจากถนนอย่างรวดเร็ว ผ่านจากล้อของรถ ที่จะวิ่งเข้ามาทับไปได้อย่างหวุดหวิด ท่านรอดพ้นความตาย รีบหันไปทางมือที่ฉุดท่านมา...ใช่ครับภาพที่พระอาจารย์ของผมเห็นคือเจ้าคุณนร...
     พระอาจารย์ของผมบวชในเวลาต่อมา และตั้งใจอุทิศชีวิตเพื่อพระพุทธศาสนา ท่านกล่าวว่า ท่านตายไปแล้วในวันนั้น ที่เกิดใหม่มาได้เพราะเจ้าคุณนรมาช่วย นั่นคงเป็นความตั้งใจของท่านเจ้าคุณ ที่จะให้พระอาจารย์ของผมเป็นอีกหนึ่งเรี่ยวแรง ในการสืบสานศาสนาพระพุทธศาสนาก็เป็นไปได้...
ตรงนี้ขอกล่าวให้ชัด ๆ ว่า ตอนที่พระอาจารย์ของผมประสบอุบัติเหตุที่หน้าวัดเทพศิรินทร์นั้น ท่านเจ้าคุณได้ละสังขารไปหลายปีแล้ว...
     ต่อจากนี้ไปคือประวัติและเรื่องราวบางส่วนของท่านเจ้าคุณนร ผู้ที่พระอาจารย์ของพระกล่าวว่าเป็นพระอรหันต์กลางกรุง...
     ท่านเจ้าคุณเกิดในกรุงเทพ เป็นผู้ที่เรียนหนังสือเก่งมาตั้งแต่เด็ก ที่เรียนเก่งนั้นท่านกล่าวว่าท่านตั้งใจเรียน มีจิตใจที่มุ่งมั่นในความเป็นหนึ่ง เป็นหนึ่งไม่เกี่ยวกับเป็นเลิศ ท่านอธิบายว่าเป็นหนึ่งคือเป็นเอกคตาจิต จิตไม่วอกแวก มีความตื่นรู้ ระลึกในสติชอบ...
     ท่านเรียนเก่งเมื่อสำเร็จการศึกษา จึงมีโอกาสที่จะได้เข้ารับราชการ ในกระทรวง กรม กอง ต่าง ๆ หากแต่ว่า ชีวิตมีจุดเปลี่ยนที่ทำให้ท่านต้องเข้าวังเพื่อรับใช้ใกล้ชิดในหลวง เรื่องมีว่า...
     ท่านได้มีโอกาสไปฝึกเสื้อป่า ที่รัชกาลที่ 6 ทรงจัดตั้งขึ้น ในระหว่างการฝึกท่านได้รับตำแหน่งเป็นคนเดินสาร ซึ่งท่านมีรูปร่างที่เล็กและบอบบางมาก รัชกาลที่ 6 จึงมีพระดำริถามว่า ตัวเล็ก ๆ อย่างนี้ ถ้าเจอศัตรูจะสู้เขาได้หรือ ท่านได้ตอบกับรัชกาลที่ 6 ไปว่า สู้ได้ไม่ได้ก็ต้องลองสู้ดู...
     เป็นคำตอบที่ต้องพระราชหฤทัยมาก จึงชวนให้ท่านเข้ามาอยู่ในวังรับใช้เป็นมหาดเล็ก ท่านมาอยู่ในวังช่วงแรก ๆ นั้นก็โดนกลั่นแกล้งหลายอย่าง แต่ท่านก็มีขันติอดทน เพราะถือว่าเป็นผู้ที่เข้ามาใหม่...
     แต่ด้วยความที่ท่านเป็นผู้ที่ตั้งใจ สนองงานรับใจอย่างเต็มกำลังสามารถ ทำให้ท่านมียศมีตำแหน่งสูงขึ้น จนเกินจากผู้ที่เคยกลั่นแกล้งท่าน จริงแล้วท่านมีโอกาสที่จะชำระคืน แต่ท่านไม่ทำ ท่านให้อภัยทาน ซึ่งถือว่าเป็นทานอันสูงสุด ซึ่งเราทุกคนก็สามารถให้กันได้ แต่ไม่ค่อยจะให้กัน...
     ตอนที่ท่านอยู่ในวัง ท่านยังคงพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นความรู้ทางด้านภาษาศาสตร์ กายวิภาคศาสตร์ จนถึงขั้นเรียนรู้ทางด้านของการผ่าศพ ผู้ที่เป็นอาจารย์ของท่าน มอบกุญแจของเก็บศพให้ท่านถือไว้เป็นประจำ เผื่อว่ามีความประสงค์จะเรียนรู้ในการวิภาคศาสตร์ได้ตลอดเวลา...
     นั่นอาจเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้ท่านปลงในสังขารรูปมาแต่แรกเริ่ม ในขณะที่พระราชดำเนินตามเสด็จที่พระราชวังบางปะอิน ผู้อื่นเขาสนุกสนานกับงานเลี้ยง หากแต่ท่านกลับปลีกตัวไปวิเวกตามป่าช้า ซึ่งเป็นเช่นนั้นเสมอมา...
     สำหรับความสัมพันธ์ของทางกับในหลวงนั้น ได้เป็นที่วางในพระราชหฤทัยมาก มีคำกล่าวว่า ในหลวงอาจกริ้วคนอื่น แต่ไม่เคยกริ้วต่อท่านเลย ท่านทำงานใกล้ชิด เพราะอยู่ในส่วนของห้องบรรทม ในหลวงให้ยศเป็นพระยานรรัตนราชมานิต ซึ่งแปลว่า “เป็นคนดีของพระเจ้าแผ่นดิน”...
     ในหลวงรัชกาลที่ 6 ตรัสกับท่านว่า “ตรึก เราเป็นเพื่อนกันนะ แต่เมื่อออกงานเราถึงจะเป็น เจ้ากับบ่าว” ส่วนท่านเคยพูดเรื่องเช่นนี้กับในหลวงว่า “รักในหลวง และสามารถตายแทนได้ทันที” (ตรึกนั้นเป็นชื่อเล่นของท่าน)...
     24 มีนาคม 2468 ท่านได้บวชอุทิศเป็นพระราชกุศลถวายแด่ในหลวงที่ท่านรัก ตั้งใจว่าจะบวชแค่พรรษาเดียว แล้วจะกลับไปรับราชการอีกทั้งทางบ้านได้หาผู้ที่จะเป็นศรีภรรยาไว้ให้ด้วย...
     หนึ่งพรรษาผ่านไป ขอต่ออีกให้ครบ 3 พรรษา พอผ่านจาก 3 พรรษา ท่านเจ้าคุณก็ไม่คิดจะกลับมามีชีวิตอย่างผู้ครองเรือนอีกเลย ท่านเจ้าคุณ อยู่ในเพศบรรพชิต เป็นที่เคารพนับถือจากผู้คนมากมายด้วยปฏิปทาที่ตั้งมั่นด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ตลอดอายุขัยที่เหลือของท่านเจ้าคุณ...
     แต่กระนั้นท่านเจ้าคุณยังมีสัจจะ อันถือว่าเป็นหนึ่งในบารมีสิบ นั้นคือท่านเจ้าคุณสัจจะว่า ที่บวชของท่าน คือที่ตายของท่าน ดังนั้นตั้งแต่ท่านเจ้าคุณบวช จนกระทั้งละสังขาร ท่านเจ้าคุณไม่เคยก้าวเท้าออกจากวัดเทพศิรินทร์เลย หรืออาจมีเพียงครั้งเดียว ครั้งเมื่อช่วยพระอาจารย์ของผมให้รอดชีวิต ก็ต้องลองคิดกันดู...
     ก่อนที่ท่านเจ้าคุณจะละสังขาร ท่านเจ้าคุณอาพาตด้วยโรคตับ ซึ่งอยู่ภายในร่างกายมองไม่เห็น ท่านเจ้าคุณได้อธิฐานจิต ย้ายโรคภัยที่เกิดขึ้นตรงตับนั้น มาไว้บริเวณลำคอ เพื่อง่ายต่อการพิจารณาธรรม เห็นถึงความไม่เที่ยง เห็นถึงความเกิด ความแก่ ความเจ็บได้อย่างชัดเจนขึ้น...
     ท่านเจ้าคุณละสังขาร วันที่ 8 มกราคม 2514 (73 ปี 337 วัน) พรรษา 46 ในหลวงภูมิพลและพระนางเจ้าได้เสด็จ มาในงานตลอดจนปลงร่างสังขาร...
     ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามอ่านผลงานนะครับ หากเห็นว่าเป็นบทความที่มีประโยชน์ฝากแชร์ด้วยครับ...
เครดิต ; FB ต้นสาระ
.....................................................
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.....................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.
.....................................................


วัดประดู่ทรงธรรม

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

วัดประดู่ทรงธรรม พระนครศรีอยุธยา
           วัดประดู่ทรงธรรมในปัจจุบันเกิดจากการรวมพื้นที่วัดโบราณ 2 วัดคือ วัดประดู่ และ วัดโรงทาน (วัดโรงธรรม) สำหรับวัดประดู่ ถูกกล่าวถึงในพระราชพงศาวดาร ในคราวที่พระภิกษุสงฆ์ของวัดประดู่8รูป ได้ช่วยเหลือสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ให้หลบหนีจากการก่อกบฏของพวกญี่ปุ่นที่หมายปลงพระชนม์ชีพ และในบันทึกของเอนเยลเบิร์ต แกมป์เฟอร์ (Engelbert Kaempfer) ได้กล่าวว่าเจ้าพระยาพระคลัง (เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก)) ได้ทำการบูรณะวัดหนึ่งซึ่งในบันทึกของหมอแกมป์เฟอร์เรียกว่า วัดพระยาพระคลัง ซึ่งส่วนใหญ่เชื่อว่าคือวัดสมณโกฎฐารามกับวัดกุฎีดาว แต่จากการเทียบแผนที่ของหมอแกมป์เฟอร์ พบว่าตำแหน่งวัดพระยาพระคลังตรงกับวัดประดู่และวัดโรงทาน (วัดโรงธรรม)

นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงในคราวที่สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร หรือ "ขุนหลวงหาวัด" ผนวชและพำนักที่วัดประดู่นี้เป็นวันสุดท้าย ก่อนถูกกวาดต้อนไปอังวะภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310

เมื่อแรกรวมวัดเข้ากันในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเรียกชื่อวัดว่าวัดประดู่โรงธรรม ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อเป็นวัดประดู่ทรงธรรมจนถึงปัจจุบัน อนึ่ง พื้นที่ของวัดประดู่ทรงธรรมในปัจจุบันคือพื้นที่ของวัดโรงทาน (วัดโรงธรรม) ส่วนวัดประดู่ที่เป็นที่ผนวชของพระเจ้าอุทุมพรนั้น ตั้งอยู่เหนือวัดโรงทาน(วัดโรงธรรม)โดยมีคลองวัดประดู่กั้นระหว่างทั้ง2วัด ปัจจุบันวัดประดู่ยังเหลือซากวัดร้างอยู่ ส่วนคลองวัดประดู่ถูกถมบางส่วน
.....................................................
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.....................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.
.....................................................


วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2564

หลวงพ่อมงคลบพิตร

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

หลวงพ่อมงคลบพิตร พระพุทธรูปกลางศึกสงคราม
ในสยามนี้มีเรื่องเล่าตอนที่ 267
โดย ดร.สุวิจักขณ์ ภานุสรณ์ฐากูร
     ผมเป็นคนที่มักมีเหตุการณ์เดจาวู เกิดขึ้นบ่อยๆ บางที เกิดกับตัวบุคคล บางที เกิดในสถานที่ ยกตัวอย่างเช่น บางครั้งเห็นบุคคลท่านหนึ่ง ความรู้สึกของตนเอง บอกว่าเคยพบกันมาก่อน แต่ก็จำไม่ได้ว่าเคยพบกันที่ไหน
     ในทางกลับกันบุคคลที่ผมมีความรู้สึกเช่นนั้น ผมเคยถามพวกเขาเหล่านั้นอยู่เหมือนกัน ว่าเคยเห็นผมมาก่อนหรือเปล่า เคยรู้จักกันมาก่อนหรือไม่ มักได้รับคำตอบว่า เหมือนจะรู้จัก แต่จำไม่ได้เหมือนกันว่าที่ไหนเมื่อไหร่
เหตุการณ์ในลักษณะเช่นนี้ เกิดขึ้นบ่อย ตอนที่ผมเป็นพระ และได้เดินทาง ไปอยู่ที่จังหวัดอยุธยา
     ก่อนหน้าที่จะบวช และใช้ชีวิตเป็นพระอยู่ป่ามา 3 ปี ผมเขียนนิยายไว้เรื่องหนึ่ง ชื่อเรื่องว่า "ฐีติภูตัง" ซึ่งแปลว่าฐานที่มั่นแห่งจิต
     ในเรื่องนั้น เกี่ยวกับการระลึกชาติได้ ของผู้ชายคนหนึ่งซึ่งเคยเป็นทหาร ในช่วงของการเสียกรุงครั้งที่ 2
     และฉากไฮไลท์ที่สำคัญของเรื่อง เกิดขึ้น หน้าวัดมงคลบพิตร ...

     ขุนทหารกระชับดาบในมืออีกครั้ง ก่อนสุดลมหายใจลึก เลือดในกายแผ่ซ่านไปด้วยความรักชาติ
     " หากข้าต้องตายในวันนี้ ข้าจะตายอยู่ที่นี่ หน้าองค์หลวงพ่อ" ขุนไกรราชภักดิ์ ถอดถอนลมหายใจอีกครั้ง
     " ภายใต้มหาเศวตฉัตร บัลลังก์อยุธยา ขุนศึกอย่างข้า สะท้านใจอย่างที่สุดก็ครั้งนี้"....
     ภาพในอดีต วิ่งย้อนกลับมาในมโนสำนึก ขุนทหารบวชที่นี่ ชีวิตเหมือนเกิดขึ้น และเริ่มต้นใหม่ที่นี่ ถัดจากภาพของพระภิกษุในวันวาน เปลี่ยนมาเป็นภาพขุนศึกในวันนี้...
     "จงรับไป มันทำจากเหล็กน้ำดี ตีขึ้นด้วยช่างเหล็กฝีมือเยี่ยมที่สุดในอโยธยา หากเจ้าไม่เคยเห็นว่า เหล็กมันจะตัดเหล็กได้อย่างไร สิ่งที่อยู่ตรงหน้านี่แหละจะทำให้เจ้าได้ประจักษ์"
     ขุนทหาร พนมมือเข้าน้อมรับ ศาสตราวุธ จากองค์หลวงพ่อ
     " ดาบคู่นี้มีชื่อว่า ดาบคู่แสนพลพ่าย สักวันเจ้าจะได้ใช้มัน เหมือนอย่างที่เจ้าของเดิมของมัน สืบทอดกันมา ตั้งแต่ต้นกรุง"
     ขุนศึกสัมผัสได้ถึง พลังบางอย่าง ซึ่งแผนซ่าน จากดาบคู่นั้น
     "โดยแท้จริงแล้ว ผู้เป็นนาย ไม่มีโอกาสได้เลือกดาบ ดาบต่างหาก เป็นผู้เลือกเจ้านายของมันเอง"
     "ปัง ปัง"  เสียงปืนใหญ่ ฉุดให้สำนึกกลับคืนสู่ปัจจุบัน
     " ไอ้ชาติชั่ว พวกกู เคยบุกไปรุกรานมึงรือ" ตวาดพลางแหงนหน้าขึ้นมอง องค์พระพุทธรูปสูงใหญ่อีกครั้ง
     " หัวใจของข้า ฝากไว้ตรงนี้นะหลวงพ่อ" พูดเสร็จ เดินอย่างทรนงองอาจ ไปยังหน้าประตูวิหาร
     ขุนทหารหรี่สายตา คิ้วขมวด ไม่ว่าอาการของสีหน้าจะเป็นอย่างไร หากแต่หัวใจ ไม่เคยสะทกสะท้าน ต่อให้พวกมันมากันมืดฟ้ามัวดิน และต่อให้ไม่เหลือใครสักคนในที่ตรงนี้...
     ขุนทหารรู้ว่า วันนี้ชีวิตดำเนินมาจนถึงที่สุดแล้ว บางคนเกิดมาแล้วตายไปอย่างไรเกียรติ แต่วันนี้ แผ่นดิน กำลังจะมอบเกียรติสูงสุดให้กับเขาแล้ว...
     "ข้าจะสู้จนเลือดหยดสุดท้าย ขอพระเสื้อเมืองพระทรงเมืองรับรู้ หากข้าต้องตาย จะเป็นผีเฝ้าที่นี่ เพื่อปกป้องให้อยุธยาอยู่ยั้งยืนยง" คำพูดประโยคสุดท้ายของขุนศึก ก่อนวิ่งเข้าโรมรันประจันบาน ศัตรูนับร้อยตรงหน้า....

     ครับทั้งหมดคือ ความรู้สึกของผม ในการเขียนบทประพันธ์ อ้างอิงเอาจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ผนวกร้อยเรียน กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หลวงพ่อมงคลบพิตร พระพุทธรูป ที่ผมเห็นครั้งแรก เมื่อหลายปีที่แล้ว ก็ให้สะท้านในหัวใจ 
     ประวัติของหลวงพ่อมงคลบพิตรนั้น เล่ากันว่า น่าจะสร้างขึ้นในช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา คือในระหว่างปีค.ศ 1991 ถึงประมาณ ปีพ.ศ 2145 สันนิษฐานเช่นนั้น เพราะลักษณะ พระพักตร์ขององค์หลวงพ่อ มีลักษณะที่ใกล้เคียงกับศิลปะสุโขทัย
     ช่วง Timeline ของอาณาจักรสุโขทัย และอาณาจักรอยุธยานั้น มีความต่อเนื่อง ไม่ได้สูญหาย ดังนั้นแล้ว โดยวัฒนธรรมก็ดี โดยความรู้ ศิลปะวิชาการต่าง ๆ ก็ดี ย่อมเกิดการถ่ายทอด จากอาณาจักรหนึ่งสู่อีกอาณาจักรหนึ่ง โดยไร้รอยต่อของกาลเวลา
     นอกจากนั้น ยังมีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับการย้ายองค์หลวงพ่อ จากทางด้านตะวันออก ของพระราชวังยังด้านตะวันตก ซึ่งคือที่ประดิษฐานอยู่ในปัจจุบัน โดย พระเจ้าทรงธรรม ในปีพ.ศ 2146 ด้วย
     ต่อมาในสมัยของพระศรีสรรเพชญ์ที่ 8 พูดอย่างนี้หลายท่านอาจจะงงว่าเป็นท่านไหน เฉลยเลยล่ะกันครับ พระศรีสรรเพชญ์ที่ 8 ก็คือพระเจ้าเสือ 
     คราวนี้พอพูดถึงพระเจ้าเสือ ก็น่าจะรู้จักกันแล้วนะครับ อาจจะมีคำถามรัวๆมาอีกว่าพระเจ้าเสือคือโอรสของใคร พระเจ้าเสือ เป็นโอรสในทางเปิดเผย ของพระเพทราชา แต่เป็นโอรสในทางลับ ของพระนารายณ์มหาราช คือต้องบอกว่า เราจะพูดกันในมุมไหน
     ทางด้านของประวัติศาสตร์ ว่ากันมาเช่นนี้ ก็เอาเท่าที่เรามีข้อมูลครับ คำว่าโอรสลับนั้น หมายถึงเป็นโอรสที่ ไม่ได้ถูก เลี้ยงอย่างออกหน้าออกตา ซึ่งอาจมีเหตุผลบางอย่างทำให้เป็นเช่นนั้น
     มาต่อเรื่องของหลวงพ่อครับ ได้เกิด ฟ้าผ่ามาต้องมณฑป ทำให้ มณฑปพังลงมา เป็นเหตุให้ พระซอองค์หลวงพ่อชำรุด พระเจ้าเสือจึงโปรดเกล้าให้ ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ ต่อมาในสมัยของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และทรงโปรดเกล้าให้เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ เป็นแม่กลอง ทำการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ได้ทำการรื้อเปลี่ยนหลังคา จนมีรูปทรงเหมือนในปัจจุบัน
     พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศนั้น พระองค์คือโอรสของใคร พระองค์คือโอรสของพระเจ้าเสือ พระองค์มีพระเชษฐาเป็นพระเจ้าแผ่นดินเหมือนกัน มีนามว่าพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ซึ่งครองราชย์ก่อน
     ส่วนเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ คือโอรสองค์โต เคยได้รับตำแหน่งเป็นมหาอุปราชวังหน้า ของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในเชิงช่าง อีกทั้งทางด้านของศิลปะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เชิงชั้นแห่งอักษรภาษา กล่าวก็คือเป็นกวีนั่นเอง
     มาลองฟังดูสักบทไหมครับเดี๋ยวจะด้นสดให้ฟัง บทกลอนต่อไปนี้ แต่งโดยเจ้าฟ้ากุ้งธรรมธิเบศร
.....ปางพี่มาดหมายสมานสุมาลย์สมร
ดั่งหมายดวงหมายเดือนดารากร
อันลอยพื้นอัมพรโพยมพราย
แม้พี่เหินเดินได้ในเวหาสน์
ถึงจะมาตร์ก็ไม่เสียซึ่งแรงหวัง
มิได้ชมก็พอได้นำเนินชาย
เมียงมาดหมายรัศมีพิมานมอง.....
     เรื่องของเจ้าฟ้ากุ้งธรรมาธิเบศ อาจจะให้ลงลึกในรายละเอียด เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ดังนั้นแล้วจึงขอเป็นโอกาสต่อไป นะครับ
     ต่อมาในปีพ.ศ 2474 พระยาโบราณราชธานินทร์ พระยาท่านนี้นับว่ามีอายุยืนจริง ๆ เพราะผมเคยเขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องของพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นผ่านที่อยุธยา และพระยาโบราณราชธานินทร์นั้น ก็เป็นผู้ให้การรับเสด็จเป็นอย่างดีเนื่องจากเป็นเจ้าเมืองของอยุธยานั้นเอง
     คิดดูว่า ผ่านมาตั้งแต่รัชกาลที่ 5 จนกระทั่งถึงรัชกาลที่ 7 ทั้ง ๆ ที่เจ้าพระยาท่านนี้ก็มีอายุมากแล้วในขณะที่พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นที่อยุธยา    
     เรื่องมีอยู่ว่า ท่านเจ้าพระยานั้นต้องการจะบูรณปฏิสังขรณ์ องค์หลวงพ่อมงคลบพิตร ซึ่งเมื่อคราวเสียกรุงนั้น ถูกพม่าข้าศึกทำลายแตกหักเสียหายเป็นอย่างมาก
     แต่ทางรัฐบาล กลับไม่อนุญาตให้มีการ บูรณะ เรื่องนั้นถูกตีตกไป ต่อมาในปีพ.ศ 2499 ได้เริ่มที่จะทำการบูรณะ จนกระทั่งในปีพ.ศ 2500 กรมศิลปากร จึงเข้ารับหน้าที่ซ่อมแซม
     ซึ่งในเวลานั้น ได้พบพระขนาดเล็ก ที่บรรจุไว้ในพระอุระด้านขวาของหลวงพ่อมงคลบพิตรเป็นจำนวนมาก
ทางกรมศิลปากรได้นำออกมาแล้วเก็บเอาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา และพิพิธภัณฑ์แห่งชาติจันทรเกษม
     แปลกแต่จริงเรื่องหนึ่ง ในคราวที่จะบูรณะปฏิสังขรณ์องค์หลวงพ่อนั้นต้องใช้เงินจำนวนมาก แต่เมื่อหลายปีมาแล้วเงินไม่พอ ก็ไม่รู้ว่าจะหาเงินมาจากไหน ในขณะนั้นเอง นายอูนุ นายกรัฐมนตรีสหภาพพม่าในขณะนั้นได้บริจาคเงินจำนวน 200,000 บาทร่วมกับฝ่ายรัฐบาลไทยอีก 250,000 บาท
ทำการบูรณะ จนแล้วเสร็จ
     เรียนทราบว่าในความคิดของผม ตอนที่พม่าเข้ามา ตีกรุงศรีอยุธยาจนสามารถบุกเข้ามาถึงในเขตพระราชฐานและวัดหลวงพ่อมงคลบพิตร  
     ซึ่งเล่ากันว่า ถูกพม่าทำลาย ให้แตกหักเสียหาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริเวณพระเมาฬี และพระกรด้านขวานั้นเสียหายเป็นอย่างมาก
     การที่นายกรัฐมนตรี ของพม่าได้มาบริจาคเงิน ช่วยการบูรณปฏิสังขรณ์ ผมซึ้งในน้ำใจอยู่ จริง ๆ เหมือนกับว่า บรรพบุรุษของพวกเขาได้มาทำร้ายองค์หลวงพ่อเอาไว้ ตัวของเขาได้มีโอกาส มาบูรณะปฏิสังขรณ์ คืน
     ข้อมูลขององค์หลวงพ่อนะครับ ชื่อเต็มว่า พระมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูป มีความกว้างหน้าต่าง 9 เมตร 55 เซนติเมตร สูง 12 เมตร 45 เซนติเมตร ทั้งนี้ไม่รวมฐานบัว วัสดุที่ใช้ก่อสร้างนั้น เป็นอิฐแกนกลางและบุด้วยทองสำริดห่อหุ้มทอง นับว่าเป็นพระพุทธรูปหล่อขนาดใหญ่ที่สุดองค์หนึ่งของประเทศไทย
     ขอบคุณครับที่ติดตามผลงาน หากเห็นว่ามีประโยชน์ ฝากแชร์ด้วยนะครับ
เครดิต; FB ต้นสาระ
.....................................................
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.....................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.
.....................................................


วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2564

หลวงพ่อดำอู่ทอง

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

“หลวงพ่อดำ” พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองอู่ทอง กับธรรมจักรตั้งสันตรง ศิลปะจากยุคกุษาณะ คุปตะ-วากาฏกะ 
ในห้องจัดแสดงธรรมสตัมภะ (ตั้งเสา) ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ด้านหน้าของรูปประติมากรรมธรรมจักร มีแท่งหินใหญ่สลักเป็นโกลนพระพุทธรูปปางสมาธิ ที่ดูจะไม่มีความงดงามในเชิงศิลปะ จึงไม่ค่อยเป็นที่น่าสนใจมากนัก
แท่นหินสลักร่างโกลนพระพุทธรูปปางสมาธินั้น คือ “หลวงพ่อดำ” พระพุทธรูปที่ถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่รับรู้กันสำหรับผู้คนอู่ทองในอดีตมากว่า 50 – 60 ปีที่แล้ว
หลวงพ่อดำ เป็นพระพุทธโบราณคู่วัดเขาพระศรีสรรเพชญาราม สลักขึ้นจากหินในท้องถิ่นประเภทหินแปร (Metamorphic rock) ที่เรียกว่า “หินแคลซิลิเกต” (Calc-silicate) ซึ่งเป็นชั้นหินด้านบนสุดของเทือกเขาในเขตอำเภออู่ทอง ลักษณะเป็นการสลักเจาะเข้าไปในแผ่นหน้าหิน ส่วนที่ไม่ได้เจาะจึงกลายเป็นแผ่นหลัง สลักเป็นรูปร่างโกลนพระพุทธรูปปางสมาธิ  พื้นผิวหินแตกกะเทาะสึกกร่อนเพราะตากแดดตากฝนมาเป็นเวลายาวนาน มีร่องรอยของการปูนปั้นฉาบผิวลงรักปิดทองตกแต่งเป็นพระพุทธรูปโดยสมบูรณ์  แต่ก็กะเทาะออกจนหมด มีรอยคราบรักให้เห็นอยู่บ้าง
แต่เดิมนั้น หลวงพ่อดำจะตั้งอยู่ที่หน้าถ้ำบริเวณด้านล่างของหน้าเขาพระ ที่มีพระพุทธรูปสลักหินอีกหลายชิ้น อยู่ในถ้ำในบริเวณใกล้เคียงกัน ชาวบ้านในสมัยก่อนเลยเรียกนามวัดนี้ว่า “วัดเขาพระ” ตามที่พบเห็นพระโบราณจำนวนมากที่หน้าเขาและในถ้ำ
เล่ากันว่าในสมัยก่อนนั้น วัดเขาพระนั้นอยู่ในสภาพรกร้างไม่ได้มีการสร้างอาคารถาวรวัตถุอย่างในปัจจุบัน ในราวปี พ.ศ. 2464 พระครูสัทธานุสารีหรือหลวงปู่เปี้ยน ได้เดินทางจากวัดโพธาราม (วัดจรเข้)  นำสาธุชนขึ้นมาตั้งสำนักสงฆ์ เห็นพระพระพุทธรูปหินบนถ้ำชั้นบน ที่เล่าว่าเดิมเป็นพระนอนแบบศิลปะทวารวดีแต่ถูกน้ำฝนกัดกร่อนจนแตกกะเทาะออกเป็นสามชิ้นใหญ่ จึงได้รวบรวมแรงงานและปัจจัยทำการบูรณะพระพุทธไสยาสน์โบราณโดยสร้างเป็นพระนอนก่ออิฐถือปูนอิงผนังถ้ำตามแบบวัดป่าโมก ขึ้นครอบซากพระนอนแบบทวารวดีเดิมไว้ ปลายพระกรรณและยอดพระรัศมีหรือโลกุตตระสลักขึ้นจากไม้ จนแล้วเสร็จในราวปี พ.ศ. 2465 ถวายพระนามว่า “หลวงพ่อสังฆ์ศรีสรรเพชญ์”
ซึ่งลักษณะของการประดิษฐ์ฐานพระพุทธรูปและสัญลักษณ์ไว้ในถ้ำเขาพระ โดยแกะสลักขึ้นจากหินภายในถ้ำเองนั้น เหมือนกับคติแบบแผนของ “วิหาร-เจติยะถ้ำ” ทางพุทธศาสนา อย่างหมู่ถ้ำอชันต้า- เอลโลร่า ในรัฐมหาราษฎร์ และที่หมู่ถ้ำเขางู จังหวัดราชบุรี ที่มีการดัดแปลงถ้ำด้วยงานศิลปะในคติความเชื่อทางพุทธศาสนา  จำหลักรูปหรือการแกะโกลนผนังหินแล้วใช้ปูนปั้นประดับทับ อาจเคยมีการนำรูปเคารพเช่น ธรรมจักร พระพุทธรูปเข้ามาประดิษฐานไว้ตามจุดต่าง ๆ ของเทือกเขาและภายในถ้ำ เพื่อการ “สมมุติ” ทำ (อภิเษก) ให้ถ้ำและปริมณฑลใกล้เคียงกันนั้นกลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เพื่อการจาริกแสวงบุญไปสู่ “สังเวชนียสถานสมมุติ” (ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา ปรินิพพาน) วิหารถ้ำจึงได้กลายเป็น “เจติยสถาน” (Chaitya Hall) สถานที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ในดินแดนที่อยู่ห่างไกลจากสังเวชนียสถานอันแท้จริงในอินเดียเหนือ
หลักฐานของวิหารถ้ำที่เขาพระคงได้ถูกเคลื่อนย้ายเปลี่ยนแปลง ทำลายและสูญหายไปตามกาลเวลา แต่หากได้ย้อนกลับมาพิจารณาร่องรอยบางอย่างที่เป็นเรื่องราวภาพสลักบนแท่งหินหลวงพ่อดำ จะพบว่า ส่วนล่างของแท่งหินนั้น ตรงกลางแกะสลักเป็นรูปธรรมจักรตั้งเป็นแบบขวางจนมองเห็นเป็นสันตรง รูปทรงเหมือนเม็ดข้าว มีดุมล้ออยู่ด้านข้าง มีกวางหมอบเหลียวหลังทั้งสองฝั่ง ซึ่งเป็นภาพสลักที่แสดงความหมายถึงพุทธประวัติตอนปฐมเทศนา ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี เป็นเรื่องราว “ปฐมเทศนา” แบบพิเศษ ซึ่งในประเทศไทยจะพบได้เพียงที่หลวงพ่อดำองค์นี้เพียงองค์เดียวเท่านั้น
การวางธรรมจักรแบบหันด้านข้างประกอบรูปกวางหมอบตามคติปฐมเทศนา จะพบเห็นได้น้อยมากในงานพุทธศิลป์โบราณทั่วโลกปรากฏครั้งแรก ๆ  ในงานศิลปะมถุรา ยุคพระเจ้ากนิษกะ ราชวงศ์กุษาณะ  ตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 7 และปรากฏชัดเจนที่พระพุทธรูปปางเทศนาธรรม–ปฐมเทศนา สลักหินทรายที่พบจากวัดสารนาถ เมืองพาราณาสี สังเวชนียสถานของการปฐมเทศนา ซึ่งเป็นงานศิลปะระดับเอกอุในยุคราชวงศ์คุปตะ ราวพุทธศตวรรษที่  10 และพระพุทธรูปประธานในถ้ำเจติยะ-วิหาร ของหมู่ถ้ำอชันต้า ศิลปะแบบราชวงศ์วากาฏกะ ที่มีอายุการสร้างในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11  ซึ่งพระพุทธรูปทั้งสองแสดงธรรมจักรมุทรา ในพุทธประวัติตอนปฐมเทศนา ในคติมหายาน
หลวงพ่อดำและพระนอน (?) ที่เคยมีอยู่ที่หน้าเขาพระ ได้แสดงให้เห็นถึงร่องรอยความพยายามของผู้คนในยุคพุทธศตวรรษที่ 12 – 13 ที่พยายามจะสร้างวิหารถ้ำ-เจติยสถาน ตามความนิยมในยุคราชวงศ์คุปตะ-วากกาฏกะ สร้าง “สังเวชนียสถาน-สมมุติ” ตามแบบแผนวิถีปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา  ขึ้นในดินแดนใหม่ที่โพ้นทะเลแห่งนี้
--------------------------------------------------
*** หลวงพ่อดำ ตั้งอยู่หน้าถ้ำมาเป็นเวลายาวนาน จนในปี พ.ศ. 2510 – 2512  กรมศิลปากรจึงได้ทำหนังสือมาขอยืมองค์หลวงพ่อดำจากวัดเขาพระเพื่อไปจัดแสดง แต่ไม่ได้ส่งกลับคืนมาจนถึงในทุกวันนี้ ด้วยคงเพราะเป็นโบราณวัตถุที่มีความสำคัญ เพียงองค์เดียวที่พบในประเทศไทย
แต่เรื่องราวของวิหารถ้ำ สังเวชนียสถานและความสำคัญของหลวงพ่อดำ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองอู่ทอง เหล่านี้ กำลังถูกลืมเลือนหายไปจากความทรงจำของผู้คนแล้วครับ
เครดิต ; FB
วรณัย พงศาชลากร
EJeab Academy
.....................................................
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.....................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.
.....................................................


วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2564

ที่มาเชตุพน

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

     คำว่า "เชตุพน" นั้นเป็นนามเก่าแก่ มาจากชื่อ เจ้าเชตุ ( อ่านว่า เจ้า-เชด)  ราชกุมารองค์หนึ่ง ที่ร่วมถวายที่ดิน(ทางเข้าวัด)เป็นพุทธบูชา
    เรื่องเริ่มเมื่อ #อนาถบิณฑิกเศรษฐี ต้องการจะสร้างพระอารามถวายพระพุทธเจ้า พบว่าสวนเจ้าเชตุมีทำเลดี สงบร่มรื่น แต่เจ้าเชตุไม่ขายที่ดินให้ เล่นแง่ตั้งราคาว่าให้เอาทรัพย์สินเงินทองมาปูให้เต็มสิ จึงจะขายให้ อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้แสดงศักยภาพทางการเงิน ได้ปูทองคำเต็มพื้นที่ที่จะซื้อ (บ้างก็ว่าปูด้วยเหรียญเงิน ) แต่เงินทองมาหมดเกลี้ยงตรงทางเข้าสวนของเชตุพอดี
เจ้าเชตุเห็นความตั้งใจของอนาถบิณฑิกเศรษฐี
ก็ใจอ่อน เกิดศรัทธาขอร่วมถวายที่ดินตรงทางเข้าวัดให้ และขอให้ตั้งชื่อวัดเป็นชื่อตัวเองด้วย
.....................................................
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.....................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.
.....................................................


พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

“พระพุทธรูปปางปฐมเทศนางดงามที่สุดในโลก” พิพิธภัณฑ์แห่งสังฆารามสารนาถ
“พิพิธภัณฑ์แห่งสารนาถ” (Sarnath Museum) เมืองพาราณสี เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดเก็บโบราณวัตถุที่ขุดพบจาก “สังฆารามแห่งสารนาถ” (Sarnath Monastery) ที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่เคยป่าอิสิปตนมฤคทายวัน (Isipatana Migadava) สถานที่บำเพ็ญพรตของเหล่ามุนีฤๅษี เขตแคว้นกาสี ในสมัยพุทธกาล ทางทิศเหนือของเมืองพาราณสี (Varanasi) รัฐอุตตรประเทศ
ชื่อนามของสารนาถมาจากคำว่า “สารงฺค+นารถ – สารังคนาถ” หมายถึงที่อยู่ของฝูงกวาง ซึ่งในวรรณกรรมทางพุทธศาสนา สังฆารามสารนาถนี้  ถือเป็น “สังเวชนียสถานแห่งการปฐมเทศนา” เป็นสถานที่พระพุทธองค์ได้เสด็จมาพบกับ “ปัญญวัคคีย์ทั้ง 5” (Pañcavaggiya) ประกอบด้วย “โกณฑัญญะ” (Kondanna) “วัปปะ” (Vappa) “ภัททิยะ” (Bhaddiya) “มหานามะ” (Mahanama) และ “อัสสชิ” (Assaji) และได้ทรงแสดง “เทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” (Dhammacakkappavattana Sutta) จนโกณฑัญญะได้บรรลุธรรม ขอบวชเป็นพระสงฆ์องค์แรกในโลก
สังฆารามสารนาถจะถูกทำลายอย่างย่อยยับในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 โดยแม่ทัพอิสลามเตอร์ก นามว่า “กุดบัดดิน ไอบัค (Qutb al-Din Aibak –kutbuddin Aybeg) ได้นำกองทัพกว่า 120,000 คน ของ สุลต่านแห่งราชวงศ์คูริด (Ghurid Dynasty) ที่มีพระนามว่า “โมฮัมหมัด โฆรี-ฆอร์” (Mu'izz ad-Din Muhammad Ghori) เข้ายึดครองและทำลายบ้านเมืองในอินเดียเหนือไปจรดแค้วนพิหาร ได้เผาทำลายวัดวาอารามในพุทธศาสนาและเทวาลัยพราหมณ์ฮินดู เข่นฆ่าผู้คนและพระภิกษุสามเณรล้มตายหลายหมื่นรูป
ในปี พ.ศ. 2377 จึงได้เริ่มมีการขุดค้นซากปรักหักพังของสังฆารามสารนาถที่ถูกทิ้งร้างเป็นป่ารกชัฏโดย “เซอร์อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม” (Sir Alexander Cunningham) ซึ่งก็ได้มีการรื้ออิฐและแผ่นหินสลักจำนวนมากไปสร้างอาคารในยุคอาณานิคม เขื่อนใหญ่กั้นตลิ่งริมแม่น้ำกว่า 40 จุด เขื่อนและสะพานข้ามแม่น้ำวรุณา (Varuna) และสถานีรถไฟที่พาราณสี ทั้งยังขนย้ายรูปประติมากรรมที่ยังมีสภาพสวยงามไปตามพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ จนในที่สุด ท่านอนาคาริก ธรรมปาละ (Anagarika Dhammapala) ผู้ศรัทธาพุทธศาสนาชาวลังกาได้ใช้ความพยายาม ฝ่าฟันอุปสรรคมากมายเพื่อฟื้นฟูพระพุทธศาสนาและนำสังฆารามสารนาถ (รวมทั้งสังเวชนียสถานอีกหลายแห่ง) ที่ได้กลายเป็นป่ารกและสถานที่เลี้ยงสัตว์ของเศรษฐีชาวฮินดูภายหลังการขุดค้นของอังกฤษ กลับคืนมาได้สำเร็จในช่วงปี พ.ศ. 2444
ในปี พ.ศ. 2447 เซอร์จอห์นมาร์แชล (Sir John Marshall) ผู้อำนวยการใหญ่ด้านโบราณวิทยาในอินเดีย  ได้เริ่มโครงการจัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ ในพื้นที่ใกล้เคียงกับสถานที่ขุดค้น เพื่อจัดแสดงโบราณวัตถุชิ้นสำคัญเปิดใช้งานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2453
ห้องด้านหน้าห้องแรกของอาคารจัดแสดง เป็นห้องโถงไฮไลท์สำคัญ แสดงรูปประติมากรรม “เสาอโศก” (Ashoka's Pillar) ชิ้นที่มีความงามและสมบูรณ์ที่สุด เป็นเสาสิงห์ (Lions Capital) แบบจตุรทิศ (หันหน้าไป 4 ทิศ) ในความหมายของการประกาศพระสุรเสียงแห่งธรรมจักรกัปปวัตนสูตรของพระพุทธองค์
“ราชสีห์”(lion) เป็นสัญลักษณ์แสดงความยิ่งใหญ่ของ “ศากยะวงศ์” วงศ์วานแห่งพระพุทธองค์ (หรือแสดงความยิ่งใหญ่ของพระเจ้าจักรพรรดิอโศกเองด้วย) และยังอาจความหมายถึงอำนาจแห่ง “พระจักรพรรดิแห่งโลกและธรรม” (พระเจ้าอโศก- พระพุทธเจ้า) ที่ดำรงอยู่ทุกหนแห่ง หรือในความเชื่อทางพุทธศาสนาได้อธิบายว่า เสาสลักรูปสิงห์ทั้ง 4 คือสัญลักษณ์ของคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่องอาจดุจพญาราชสีห์ และแผ่ไปไกลดุจเสียง “สีหนาท”แห่งราชสีห์
เหนือบัวหัวเสา ประกอบไปด้วยสัญลักษณ์ของ “สระอนวตัปตา- อโนดาต” (Anavatapta) สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่สูงสุดบนสรวงสวรรค์ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ เป็นต้นกำเนิดแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 4 สายใหญ่แห่งโลกอันได้แก่ คงคา ยมุนา พรหมบุตร และสินธุ ที่ปากน้ำแต่ละสายนั้นจะเป็นที่ตั้งของดินแดนสรรพสัตว์ ทั้งสี่ทิศ คือ ดินแดนแห่งราชสีห์ ดินแดนคชสาร ดินแดนม้า และดินแดนแห่งแดนโคอุสภะ สลับรูปของวงล้อมธรรมจักรแบบมีกงซี่ถี่ ในความหมายของการเคลื่อนไปข้างหน้า (ล้อหมุน) ที่มีพลวัต (พลัง)
รูปเสาอโศก จึงแทนความหมายของอำนาจแห่งศากยวงศ์ที่อยู่บนยอดเขาพระสุเมรุ ศูนย์กลางแห่งจักรวาลนั่นเอง
ด้านใน อาคารทางปีกซ้ายเป็นห้องจัดแสดงประติมากรรมพุทธศิลป์ในพระพุทธศาสนา ที่พบจากสังฆารามสารนาถแห่งนี้ ซึ่งไฮไลท์สำคัญก็คงเป็นรูปประติมากรรมพระพุทธเจ้าปางแสดงปฐมเทศนา และห้องเครื่องทองที่จัดแสดงอยู่ในห้องด้านหลัง
รูปประติมากรรม “พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา” แห่งสังฆารามสารนาถนี้ ขุดพบที่บริเวณหน้า "พระมูลคันธกุฏี” หรือ “พระมูลคันธกุฏีวิหาร” (Mulgandha kuti – vihar) ใกล้กับเสาอโศก นับว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงและได้รับการยกย่องว่าเป็นพุทธศิลป์ที่มีความงดงามที่สุดของอินเดีย
และก็คงเป็นพระพุทธรูปที่งดงามที่สุดของโลก ไปด้วยโดยปริยาย
พุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปนั่งปางสมาธิ แบบขัดสมาธิเพชร “วัชระ-สาสนะ” (เห็นฝ่าพระบาททั้งสองข้าง) ปางแสดงปฐมเทศนา แสดงท่ามือ “ธรรมจักรมุทรา” โดยยกพระหัตถ์ขวาขึ้นระดับพระอุระ แสดงวิตรรกะมุทรา  พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้น ชี้ไปยังวงนิ้วโอเคของพระหัตถ์ขวา อันหมายถึงการแสดง (สั่งสอน-เทศนา)ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร  ในศิลปะแบบราชวงศ์คุปตะ ตระกูลช่างสารนาถ อายุการสร้างในราวพุทธศตวรรษที่  10
ด้านข้างและด้านบนหลังพระพุทธรูป สลักเป็นแผ่นหลังประภาวลี (Altarpiece) โดยด้านข้างนั้นสลักเป็นรูปสัตว์เทพผู้ปกป้อง ที่เรียกว่า “ยาลิ” (Yāḻi) แบบตัว “สิงหวยาล” (Simha-Vyala สิงห์มีเขา) และรูป “มกร” ( Makara-มะกะระ สัตว์ผสมแห่งคงคา) ด้านบนเป็นประภามณฑลรูปกลม มีรูปวิทยาธรทั้งสองฝั่งวางตัวแบบสมมาตร
ลักษณะของการสร้างรูปประติมากรรมลอยตัวแบบมีแผ่นหลังนี้ เป็นการทำรูปประติมากรรมเพื่อใช้วางพิง แนบหรือฝังเข้าไปในช่อง-ผนังกำแพง
ด้านล่างเป็นฐานที่มีช่องท้องไม้แสดงพุทธประวัติตอนปฐมเทศนา ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน โดยมีรูปธรรมจักรแบบวางหันข้าง (เห็นเป็นสัน) แบ่งตรงกลางภาพ มีรูปกวางอันเป็นสัญลักษณ์ของป่ามฤคทายวัน รูปปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 โดยมีรูปสตรีและเด็ก ที่อาจหมายถึงผู้อุปถัมภ์ – ผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา อยู่ทางด้านซ้ายสุดของภาพ
ความงดงามในพุทธศิลป์แบบคุปตะที่สำคัญบนรูปพระพุทธรูปองค์นี้ คือลวดลายก้านเถาและใบขดที่อยู่ในประภามณฑลรูปกลมหลังพระเศียร เป็นลายพรรณพฤกษาที่มีก้านต่อช่อ-ต่อก้าน พลิ้วเป็นวงโค้งขึ้นลงไปตามแนวกลม ด้านข้างของเส้นก้านนำ จะแตกเป็น กนกใบม้วนสลับกับดอกไม้บาน มีลักษณะแบบแผนเดียวกับแผ่นหินสลักลวดลายประดับสถูป “ธรรมเมกขสถูป” (Dhamekh Stupa) พระเจดีย์ใหญ่ ประธานแห่งสังฆารามสารนาถ อันเป็นลวดลายสำคัญของยุคสมัยศิลปะคุปตะ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10 
ลวดลายเถาของพระสถูปนั้นจะเน้นไปที่ลายดอกบัว ในขณะลวดลายที่แผ่นหลังพระพุทธรูปเน้นไปที่ลายดอกไม้บานแบบดอกทานตะวัน แต่ทั้งสองก็ยังคงลักษณ์ของใบไม้ประกอบเป็นก้านต่อช่อก่านต่อก้านใหม่เลื้อยออกไปอย่างต่อเนื่อง โดยมีใบม้วนขดผลิใบและผลิดอกออกด้านข้างแบบเดียวกัน ในความหมายของความอุดมสมบูรณ์ ขนาบข้างด้วยลายลูกปัดอัญมณี โดยขอบนอกสุดเป็นรูปแฉกโค้งแหลมในความหมายของประภารัศมี
*** ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่า พระพุทธรูปและพระสถูปนั้น ถูกสร้างขึ้นในช่วงยุคสมัยเดียวกันครับ
เครดิต ; FB
วรณัย  พงศาชลากร
EJeab Academy
.....................................................
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.....................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.
.....................................................


วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2564

วัดหน้าพระเมรุ

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
บานประตูวิหารน้อย วัดหน้าพระเมรุ พระนครศรีอยุธยา
ตัววิหารตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ของพระอุโบสถ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่3 บานประตูด้านบนสลักรูปเทพพนมในกรอบซุ้มเรือนแก้วซ้อนลดหลั่นกัน3องค์ คั่นด้วยลายหน้ากระดาน ถัดลงมาสลักลายกระหนกก้านขด โดยมีลายก้านต่อดอกเป็นแกนกลาง บนสุดเป็นลายเทพพนมประทับนั่งในดอกบัว คั่นด้วยลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ถัดลงมาเป็นครุฑ และล่างสุดเป็นสิงห์ แตกตัวลายเป็นลายกระหนกขดม้วนและมีเทพพนมผุดจากดอกบัว และจบลายด้วยแถวลายกระจังชั้นหน้ากระดานและฐานสิงห์ จัดได้ว่าเป็นงานแกะสลักที่มีความงดงามมาก
.....................................................
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆 
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.....................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.
.....................................................

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2564

นารายณ์บรรทมสินธุ์

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

“นารายณ์บรรทมสินธุ์-วิษณุอนันตศายินปัทมนาภะ” กลางสายน้ำธรรมชาติ ใหญ่ที่สุดในโลก
รูปศิลปะ “นารายณ์บรรทมสินธุ์” (Reclining Vishnu) หรือ “วิษณุอนัตศายินปัทมนาภะ” (Vishnu ananta shayana padmanabha) พระวิษณุประทับนอนอยู่บนพญาอนันตนาคราชเหนือเกษียรสมุทร (Vishnu reclining on the serpent Shesha (Ananta) on Cosmic Ocean - Kṣīrasāgara) ริมฝั่งแม่น้ำพราหมณี (Brahmani River) ทางฝั่งตะวันออก ใกล้กับหมู่บ้านศารังกา (Saranga) รัฐโอริสสา (Orissa) ทางตะวันออกของคาบสุทรเดกข่าน-อินเดีย ถือเป็นรูปประติมากรรมสลักจากโขดหินธรรมชาติบนสายน้ำตามธรรมชาติที่มีความยาวมากที่สุดในอินเดีย (และในโลก) สร้างขึ้นในช่วง "ราชวงศ์เภามะกาลา" (Bhauma-Kara Dynasty) ต้นพุทธศตวรรษที่ 15 ในยุคสมัยที่คติความเชื่อแบบไวษณพนิกาย (Vaishnavism) กำลังกลับมารุ่งเรืองขึ้นอีกครั้งในอินเดีย
รูปพระวิษณุอนันตศายินปัทมนาภะ 4 กร สลักบนโขดหินทรายที่เป็นลาดผาชั้นน้ำตกเตี้ย ๆ ใกล้กับริมชายฝั่งมีขนาดความยาว  15.4 เมตร กว้างประมาณ 7 เมตร สวมกีรีฏมุกุฏ  (Kirīṭamukuṭa) คลุมพระเศียรด้วยนาคโค้งคล้ายฮูด (Hood) คลุมพระเศียร สลักรูปจักร สังข์ คทาและดอกบัว ในแต่ละพระหัตถ์ พระเพลาล่างไขว้ทับ ลาดหินด้านบนปรากฏรูปพรหม 4 กร บนดอกบัวที่มีสายบัวเชื่อมต่อลงไปยังรูปพระวิษณุ ที่แสดงว่ารูปบรรทมสินธุ์นี้ เป็นภาพมงคลที่หมายถึงตอนกำเนิดโลกใหม่ ปรากฏใน “มหาภารตะ” (Mahābhārata Sanskrit epic) ที่มีอายุการรจนาเริ่มแรกที่ประมาณ 2,500 ปี ว่า
“.....โลกเมื่อถึงคราวสิ้นกัลป์ (หนึ่งกัลป์เท่ากับหนึ่งวันของพระพรหม) ทุกสรรพสิ่งถูกทำลายล้าง พื้นดินจมลงสู่ใต้มหาสมุทรพระผู้เป็นเจ้าที่ทรงพระนามว่า “พระวิษณุ” ผู้มีพันพระเนตรและพันพระบาท บรรทมอยู่ที่ท่ามกลางมหา “เกษียรสมุทร” มีพญานาคผู้มีพันเศียรรองรับองค์พระผู้เป็นเจ้า...
“...เมื่อพระองค์ตื่นบรรทม และมองเห็นโลกที่ว่างเปล่า พระองค์ได้ตั้งสมาธิเพื่อการสร้างสรรค์สรรพสัตว์ขึ้นใหม่ ในขณะนั้น ได้เกิดดอกบัว (หมายถึงความบริสุทธิ์) ดอกหนึ่ง ผุดขึ้นจากพระนาภี (สะดือ) จากผลของสมาธินั้น แล้วพระพรหมผู้มีสี่พักตร์ก็ได้ปรากฏขึ้นบนดอกบัวนั้น.....”
เรื่องราวการกำเนิดโลกใหม่จากพระนาภี ยังปรากฏในคัมภีร์ปุราณะตามคติความเชื่อของฮินดูหลากนิกาย ในแต่ละยุคสมัย โดยเฉพาะของฝ่ายไวษณพนิกาย อย่าง คัมภีร์ หริวงศ์ (Harivaṃśa) ภาควัตปุราณะ (Bhāgavata Purāṇa) มัสยาปุราณะ (Matsya Purāṇa) และวิษณุปุราณะ (Viṣṇu Purāṇa) วราหะปุราณะ(Varāha Purāṇa) ปัทมปุราณะ (Padma Purāṇa) มารกัณเฑยะปุราณะ (Mārkaṇḍeya Purāṇa)  พราหมณะปุราณะ (Brahmāṇḍa Purāṇa)  ซึ่งต่างล้วนได้เล่าเรื่องราวของการบรรทมสินธุ์ของพระวิษณุ และการกำเนิดขึ้นของพระพรหมในดอกบัวที่ผุดขึ้นจากพระนาภีเพื่อการสร้างโลกใหม่
----------------------------------------
*** อิทธิพลของคติความเชื่อและแนวคิดการรังสรรค์งานศิลปะโดยอาศัยโขดหินธรรมชาติจากวัฒนธรรมฮินดูจากอินเดียตะวันออกนี้ ส่งอิทธิพลโดยตรงต่อศิลปะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายแห่ง อย่างรูปสลัก วิษณุอนันตศายิน บนโขดหินในแม่น้ำเสียมเรียบ ที่กบาลสเปียน บนเขาพนมกุเลนและสวายเลอ อีกทั้งยังพบรูปสลักบนโขดหินริมฝั่งแม่น้ำโดมใหญ่ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม เทือกเขาพนมดองเร็ก จังหวัดอุบลราชธานี ที่มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ใกล้เคียงกัน
---------------------------
*** ความหมายที่สำคัญในการสลักรูปพระวิษณุ (ผู้กำลัง) อนันตศายิน มีปัทมะ ผุดออกมากพระนาภี (สะดือ) หรือ นารายณ์บรรทมสินธุ์  เพราะต้องการ “สมมุติ - อุปมา” หรือ “การอภิเษก” (Abhiṣeka) เปลี่ยนให้สายน้ำตามธรรมชาติ มีความ “ศักดิ์สิทธิ์” เป็นดั่ง “เกษียรสมุทร” บนสรวงสวรรค์ไวกูณฐ์แห่งพระวิษณุ ที่อยู่บนพื้นโลกนั่นเองครับ
เครดิต : FB
วรณัย พงศาชลากร
EJeab Academy
.....................................................
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.....................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.
.....................................................


วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2564

พระมหาวิษณุ

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

“พระมหาวิษณุ-วิศวรูป” สภาวะสูงสุดแห่งองค์พระวิษณุ
“พระมหาวิษณุ” (Mahāvishnu) ในรูปกายแห่ง “วิศวรูป” (Viśvarūpa) หรือ “วิษณุมูรติ” (Vishvamurti) คือ สภาวะสูงสุดที่ยิ่งใหญ่แห่งองค์พระวิษณุ เป็นรูปกายแห่งมหาจักรวาลทั้งมวล อันไม่มีจุดเริ่มต้นหรือจุดจบ มีพระมหาวิษณุที่ปรากฏในทุกอณูภาค ทุกขุมขน ทุกมิติแห่งจักรวาล มีร่างเป็นเหล่าเทพเจ้ามหาฤๅษีทั้งมวลรวมกัน ทุกสรรพชีวิตและทุกอารมณ์ในจักรวาลเป็นส่วนหนึ่งของพระองค์ มีรูปกายที่ใหญ่โตเกินจะจินตนาการ  มีพระเศียรและพระกรมากมายนับไม่ถ้วน
“พระมหาวิษณุ-วิศวรูป-วิษณุมูรติ” ปรากฏเป็นชื่อนามครั้งแรกในคัมภีร์ (มหา) ปุราณะ (Purāṇa)  ที่มีอายุเริ่มแรกประมาณพุทธศตวรรษที่ 8 – 9 และใน “ภควัทคีตา-ภควัทคีโตปนิษัท” (Bhagavad gītā) ที่อายุการรจนาครั้งแรกประมาณ 2,200 ปี เป็นการนำคำสอนในคัมภีร์อุปนิษัท (Upaniṣads-การปฏิบัติธรรม) คำสอนของนิกาย “ปาญจราตระ” (Pāñcarātras)  และ “ภาควัตปุราณะ” (Bhāgavata Purāṇa) ของนิกายภาควัต (Bhāgavata) ที่มีพระวาสุเทพ (Vasudeva)  และพระกฤษณะ (Kṛṣṇa) เป็นเทพเจ้าสูงสุด และมารจนาเป็นวรรณกรรม การสนทนาการักษาธรรมระหว่าง “พระอรชุน” (Arjuna) กับ “พระกฤษณะ” ก่อนเริ่มต้นมหาสงครามแห่ง “ทุ่งกุรุเกษตร” (Kurukshetra) ระหว่างภารดา“เการพ” (kauravas) และภารดา “ปาณฑพ” (Pandavas) ในวรรณกรรมมหาภารตะ (Mahābhārata Sanskrit epic) ผ่านการเรียบเรียงถ้อยคำโดยสัญชัย (Sanjaya) ผู้เป็นสารถี ทูลถวายแก่ “ท้าวธฤตราษฎร์” (Dhritarashtra) ที่ตาบอดครับ 
การปรากฏร่างแห่งจักรวาลอันไม่มีที่สิ้นสุดของพระมหาวิษณุ หรือวิศวรูป-วิษณุมูรติ เกิดขึ้นในช่วงที่มหากองทัพแห่งแดนภารตะ ทั้งฝ่ายภารดาเการพและภารดาปาณฑพ 18 อักเษาหิณี ต่างได้มาประจันหน้ากันเหนือทุ่งกุรุเกษตร เมื่อพระอรชุนที่ได้พระกฤษณะมาเป็นสารถี เห็นผู้คนทั้งฝ่ายตอนเองและฝ่ายเการพ ที่ล้วนแต่จะเป็นญาติพี่น้องที่เคยมีความผูกพัน จึงเกิดเป็นความสังเวชใจที่จะต้องเห็นเหล่าพี่น้อง ญาติวงศ์และไพร่พลที่ต้องเข่นฆ่ากันเพื่ออำนาจ  ทุกฝ่ายคงจะต้องล้มตายมากมาย จึงตัดสินใจจะแล่นรถศึกออกจากสนามรบ โดยจะยอมแพ้ต่อฝ่ายเการพ เพื่อหลีกเลี่ยงการนองเลือดครั้งใหญ่
แต่พระกฤษณะ พระอวตารแห่งองค์พระวิษณุผู้เป็นสารถี ก็ได้กล่าวคำสั่งสอน เพื่อเป็นอนุสสติยั้งเตือนความสับสนในจิตใจของพระอรชุนไว้
"...รบเถิดอรชุน ในฐานะนักรบผู้ทรงธรรม การเข้ารบของเจ้านั้นคือหน้าที่เพื่อการรักษาธรรม ให้อยู่คู่โลกไปตลอดกาลนาน...โดยมินิ่งดูดาย....
“...รบเถิดอรชุน หากการรบมิประสบผลจนเจ้าจะต้องตายลงในสนามรบเพื่อรักษาธรรมอันศักดิ์สิทธิ์ สรวงสวรรค์จะเปิดประตูรอรับเจ้า ผู้ปราชัยที่ทรงเกียรติ์ไปสถิตอยู่ร่วม...
“.... รบเถิดอรชุน หากเจ้าได้รับชัยชนะเหนือศัตรูผู้เป็นอธรรม โลกจะได้บังเกิดยินดี เพราะมีมหาราชาทรงปรีชาธรรมขึ้นมาปกครอง....
แต่กระนั้น อนุสสติแห่งพระกฤษณะ ก็ยังมิอาจเปลี่ยนแปลงใจในเบื้องลึกของพระอรชุนได้ พระองค์จึงได้นิรมิตกายกลับไปเป็นพระวิษณุ 4 กร ขยายขึ้นเป็น “กฤษณะ-วิศวรูป” รูปจักรวาลอันยิ่งใหญ่เกินคณานับ จนพระอรชุนเกิดความหวั่นไหวในมหาอำนาจ จนได้ฉุกคิดในคำสอนแทนความสับสน พระองค์จึงลดกายมาเป็นพระมหาวิษณุ 4 กร  
“...อรชุน เรานั้นจะปรากฏตัวทุกครั้งเมื่อความชอบธรรมเสื่อมถอยไป เพราะความไม่ชอบธรรมมีเพิ่มมากขึ้น...”
“อรชุน เราจะปรากฏตัวในทุกยุคทุกสมัย เพื่อปกป้องคุ้มครองคนดี ทำลายคนทำความชั่ว เพื่อธำรงไว้ซึ่งความชอบธรรมแห่งโลก....”
“...อรชุน เจ้ามองเรา...ผู้เป็นวิษณุ ให้เป็นแบบอย่าง เพื่อการรักษาธรรมะให้อยู่คู่โลกเถิด”
เสียงเป่าสังข์เป็นพระเวท เพื่อเริ่มต้นการรบอันศักดิ์สิทธิ์  จึงได้เกิดขึ้นในมหาสงครามแห่งทุ่งกุรุเกษตร
------------------------------------------
*** ภาพงานศิลปะ ที่สะท้อนคติ “พระมหาวิษณุ-วิษณุมูรติ-วิศวรูป” จากภควัทคีตาและคัมภีร์ภาควัตที่เก่าแก่ ดูเหมือนจะไม่ได้รับนิยมมากนักในงานศิลปะฮินดูในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ก็ยังพบภาพสลักนูนต่ำ บนผนังอิฐด้านในของคูหาปราสาทประธานของ “ปราสาทกระวาน” (Kravan) ปราสาทก่ออิฐ 5 หลัง สร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 โดย “มหิธรวรมัน” (Mahidharavarman) ขุนนางเก่าแก่จากยุคพระเจ้ายโสธรวรมัน ช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 15 และภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง บนผนังห้องคูหาประธาน “ปราสาทเนียงเขมา”  (Neang Khmao) อำเภอสำโรง จังหวัดตาแก้ว ปราสาทก่ออิฐ 3 หลัง สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 4 (จารึกกรอบประตู K .765) ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 15 แต่ก็ได้หลุดลอกออกไปเกือบทั้งหมดแล้ว
ภาพสลักบนผนังปราสาทประธาน-ปราสาทกระวาน ได้แสดงภาพพระมหาวิษณุ-วิศวรูป 8 กร ล้อมรอบด้วยเหล่าเทพเจ้าและเทวี แสดงอัญชลีมุทรา (Añjali mudrā) จำนวนมาก โดยด้านบนสุดเป็นรูปของจระเข้ที่อาจมาจากเรื่อง “คเชนทราโมกษณะ” (Gajendramokṣaṇa) ในภาควัตปุราณะ ที่จระเข้ร้าย (Grāha) กัดขาช้างคเชนทรา (อดีตชาติคือพระเจ้าอินทรายุมมา Indradyumna กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่จากมหาภารตะ) เอาไว้ 1,000 ปี ช้างได้ถวายการบูชาจนพระวิษณุได้ทรงครุฑลงมากำราบ ส่วนภาพจิตกรรมที่ปราสาทประธาน-ปราสาทเนียงเขมาก็มีภาพของพระมหาวิษณุ-วิศวรูป 8 กร และองค์ประกอบเช่นเดียวกัน
*** รูปจระเข้ในภาพศิลปะ จึงอาจหมายถึงบาป กิเลสตัณหาและความชั่วร้าย ที่มนุษย์ทุกคนต้องประสบเจอในสังสารวัฏ ไม่สามารถหลีกหนีพ้น อาจเป็นรูปเพื่อการเตือนใจ ให้ผู้คนได้บูชาพระวิษณุ ที่ทรงเป็นผู้นำพามนุษย์ให้หลุดพ้นจากบาปเคราะห์และความชั่วร้ายบรรลุ โมกษะ-ปรมาตมัน
เครดิต ; FB
วรณัย  พงศาชลากร
EJeab  Academy
.....................................................
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.....................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.
.....................................................


นาคเกี้ยว

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

“นาคเกี้ยว” เรื่อง งู ๆ ใต้กอบัว ที่ปราสาทพระขรรค์แห่งกำปงสวาย
ภาพวาดลายเส้นภาพหนึ่งในช่วงทศวรรษที่ 2400  ของ “หลุยส์ เดอลาพอร์ต” (Louis Delaporte) นักสำรวจและจิตรกรชาวฝรั่งเศส เป็นภาพบริเวณเชิงสะพานข้ามคูเมือง ชาลาทางเดินเข้าสู่นครใหญ่ “พระขรรค์แห่งกำปงสวาย” (Preah Khan Kampog Svay) (ปราสาทบากัน เมืองขนาดใหญ่ทางตะวันออกของเมืองศรียโศธระปุระ ห่างจากเมืองเสียมเรียบประมาณ 160 กิโลเมตรตามเส้นทางถนน) ที่แสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของซากปราสาทในไพรสณฑ์ สะพานชาลาทางเดินข้ามคูน้ำและภาพแกะสลักอันวิจิตรบรรจงบนผนังด้านข้าง
ถึงแม้เดอลาพอร์ต อาจจะได้เคยเดินทางมาสำรวจที่ซากเมืองร้างแห่งนี้ แต่ภาพวาดสะพานของเขาก็ได้แสดงให้เห็นว่า เขาอาจจะไม่ได้เดินเท้าลงไปพินิจพิจารณาดูรายละเอียดด้วยตนเอง แต่คงยืนมองดูในระยะที่ห่างมากพอสมควร จึงวาดภาพออกมาแบบจินตนาการ แตกต่างไปจากความเป็นจริงเป็นอยากมาก นั่นคือ เขาได้วาดเป็นรูปบุคคลอยู่เหนืองู/หรือนาคชูคอสามตัวในรูปแบบเดียวกัน มีปากและหน้าเป็นรูปครุฑเหิน ที่มีแผงคอและไรขนตามแบบศิลปะบายน กำลังทำท่ายกแขนแบกฐานหน้ากระดานของราวบันไดด้านบนเอาไว้ หน้าอกเป็นรูปลักษณ์หน้าอกถันของผู้หญิง เหมือนจะวาดเป็นรูปครุฑยุดนาค ระหว่างรูปครุฑนั้นก็วาดเป็นรูปเทพพนม แทรกเรียงสลับกันไปจนสุดปลายสะพาน
แต่ในความเป็นจริงที่เห็นในปัจจุบัน ภาพสลักที่ผนังข้างสะพานข้ามคูเมืองพระขรรค์แห่งกำปงสวายที่มีความยาว 55 เมตร กว้างประมาณ 12 เมตรนั้น สลักเป็นรูปหงส์เหิน  ส่วนหัวมีไรขนซ้อน 3 ชั้นดูเป็นเทริด กางปีกชี้ปลายขึ้นแสดงการบินทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้า ในความหมายเชิงนามธรรมว่าสะพานข้ามเข้าสู่เมืองนั้นก็คือสะพานสวรรค์ หรือ “สะพานสายรุ้ง  หงส์ที่กำลังบินอยู่ ก็ยังอยู่ใต้ (แบก) สะพานสายรุ้งที่อยู่เหนือกว่าขึ้นไป
รูปสลักหงส์บนผนังสะพานมีรูปแบบทางศิลปะที่เหมือนกันทุกตัว อาจมีจำนวนเล็บต่างกัน 3 บ้าง 5 บ้าง เรียงรายยาวต่อเนื่องไปจนตลอดผนัง ปลายปีกด้านข้างของรูปหงส์เหินกางมาชนกัน เกิดเป็นช่องว่างพื้นที่สามเหลี่ยมด้านล่างระหว่างปีก ซึ่งช่างแกะสลักก็ได้เลือกเอารูปของ นาค-งู และกอบัวในน้ำ มาสลักคั่นระหว่างรูปหงส์เหิน
แต่รูปลักษณ์ของ “นาค-งูและกอบัว” นั้น กลับไม่ได้เป็นไปตามขนบแบบแผน ที่ต้องแกะสลักเป็นรูปแบบเหมือนกัน สลับวางกับรูปหงส์เหินตามความนิยมอย่างที่ควรเป็น แต่ช่างฝีมือที่พระขรรค์แห่งกำปงสวายนี้กลับได้ฉีกกฎเกณฑ์การจัดวางรูปสลัก ไม่เอาตามแบบแผนศิลปะช่างหลวง พวกเขาได้เอาเรื่องราวของงูและกอบัวในน้ำ ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติแวดล้อมอันอุดมสมบูรณ์ของเมืองอุตสาหกรรมถลุงเหล็กขนาดใหญ่แห่งอาณาจักร นครที่มีแหล่งน้ำ บารายและคูคลองน้ำอันอุดมสมบูรณ์  มีบัวขึ้นดาษดื่น เป็นที่อาศัยของงู โดยรอบปราสาทอย่างชุกชม รูปลักษณ์ของพญานาคมีกระบังเทริดมีแผงคอในงานศิลปะบายนชั้นสูง ได้ถูกลดมาเป็นรูปงูใหญ่น้อยธรรมดา ทั้งแบบที่มีแม่เบี้ยพังพานจนถึงแบบงูธรรมดาจริง ๆ 
ภาพสลักงูและกอบัวบนผนังสะพานแต่ละช่องนั้น ยังเป็นภาพของงูที่มีท่าทางอิริยาบถแตกต่างกันไปในแต่ละภาพ ไม่เหมือนกัน ไม่มีแบบแผน ไม่มีลำดับความสำคัญชัดเจน ภาพสลักหินจึงดูเหมือนเป็นภาพที่มีชีวิต เหมือนงูกำลังเคลื่อนไหวอยู่ใต้กอบัวอยู่ตามธรรมชาติจริง ๆ เป็นเสน่ห์และความงดงาม ที่หาได้ยากในงานศิลปะของอาณาจักรเขมรโบราณทั้งหมดครับ
--------------------------------------
*** รูปศิลปะของภาพสลักงูใต้กอบัวบนผนังสะพานมีประมาณ 15 แบบ (หรืออาจมากกว่านั้น) แตกต่างกันไปแต่ละช่อง แต่เมื่อได้นำมาจัดเรียบเรียงเพื่อมาเล่าเรื่องราวของงูตามจินตนาการของผู้เขียน ก็คงจะเล่าไปตามภาพที่เห็น โดยอิงเข้ากับเรื่องราวความรักของหนุ่มสาวและชายหญิงในเชิงสัญลักษณ์วิทยา (Symbology) ของลาย “นาคเกี้ยว-นาคเกี่ยวพัน” อันจะเป็นเนื้อความที่จะสร้างความเข้าใจได้โดยง่ายกว่า
รูปแรก เป็นแบบ “เด็กน้อยมาจีบกันใต้กอบัว” มีใบบัวมองภาพตัดทางขวาง (จึงดูเป็นเส้น) เป็นภาพสลักงูตัวเรียบหางสั้นสองตัว มีให้เห็นอยู่หลายรูป
แบบที่สอง เป็นภาพ “วัยกระเตาะมาจีบกันใต้กอบัว” เป็นภาพสลักงูตัวเรียบหางสั้นสองตัว คล้ายกับแบบแรก แต่ยกหัวสูงกว่า
แบบที่สาม “ความรักมักมีอุปสรรค” โดนผู้ใหญ่กีดกัน เป็นภาพงูขนาดเขื่อง มีเกล็ดชัดเจนสองตัว ลำตัวถูกเล็บเท้าของหงส์เหินกำลังจิกยุดเอาไว้ เอาปลายหางตวัดรัดขาหงส์ 
แบบที่สี่ “ความรักที่ไม่สมหวัง” โดนจับแยกทางกัน ปลายหางของงูทั้งสองถูกเล็บเท้าของหงส์เหินจิกเอาไว้ ลากแยกออกมาห่างจากกัน จนเห็นสายบัวชูช่อทั้งสามสาย ดูน่าสงสารจัง รูปแบบนี้มีอยู่มากที่สุด
แบบที่ห้า “บัวน้อยคอยรัก” งูหนุ่มสาวมาเจอกัน ยกหางขึ้นเหมือนกัน เหมือนจะต้องชะตาถูกใจกันและกันปากเกือบชิดกันใต้กอบัวแห่งความรัก ที่ช่างได้สลักเสลาสื่อความหมายเป็นก้านสายบัวตูมและบัวบานให้ไขว้เข้ามาสลับกันเป็นตัว X มีคู่นกบินอยู่ด้านบน
แบบที่หก “รักแรกพบ” เป็นรูปงูสองตัว ม้วนปลายหางโค้งเข้าด้านในเข้ามาหากัน ปากเกือบชิดกันใต้กอบัว
แบบที่เจ็ด “หัวใจรักเราทั้งสอง”  เป็นภาพงูหนุ่มสาวบรรจงจุ๊บ ๆ กัน เอียงตัวสลับกันเป็นรูปหัวใจ
แบบที่แปด “เชยคาง” นอกจากจะเอียงตัวสลับกันเป็นรูปหัวใจแล้ว ภาพสลักแบบนี้หลายภาพแสดงให้เห็นว่า งูฝ่ายหนึ่ง (หญิง) กำลังเงยหน้า เอียงคางขึ้นแบบเคลิ้ม ๆ ลำตัวแนบอิงกับงูอีกตัวหนึ่ง (ฝ่ายชาย)
แบบที่เก้า “คลอเคลียใต้กอบัว” รูปแบบนี้ ยังเห็นอยู่รูปเดียว เป็นรูปงูสองตัว (หนุ่มสาว) ที่กำลังมีความรักต่างกอดรัดพัดเหวี่ยงกันใต้กอบัวที่เบ่งบาน ก้านสายบัวม้วนพันตามงู
แบบที่สิบ “ดื่มด่ำอภิรมย์” ภาพงูทั้งสองตัวพันกัน แต่ส่วนหางแยกกันไปอย่างผ่อนคลาย ส่วนหัวแยกออกชูโค้งเป็นรูปหัวใจในท่าทางกำลังจุมพิต
แบบที่สิบเอ็ด “ฮันนี่มูน” เป็นงูสองตัวกำลังพันกันเป็นเกลียวใต้ดอกบัวตูมใหญ่ ตวัดหางขึ้นด้านบน พบที่ปลายสะพานขาเข้าฝั่งทิศใต้มากที่สุด
แบบที่สิบสอง “โล้สำเภา” ลักษณะคล้ายกับรูปแบบที่สิบเอ็ด เป็นงูสองตัวกำลังพันกันเป็นเกลียว แต่การพันตัวของงูทั้งสองสลับด้านกัน ตวัดหางโค้งขึ้นด้านบนคล้ายท้องเรือ ภายใต้กอบัวตูมที่มีใบบัวชูขึ้นอยู่
แบบที่สิบสาม “มือที่สาม - มีกิ๊ก !!!”เป็นภาพของงู 3 ตัว กำลังพันตูกัน โดยมีงูใหญ่ด้านขวาบนพันตัวงูอีกสองตัวไว้ (มีตัวที่สามเข้ามาในชีวิต) แบบนี้เห็นอยู่เพียง 2 รูป
แบบที่สิบสี่ “ปรองดองกันเถอะนะ” เป็นภาพสลักสลักที่อยู่ติดกันเชิงสะพานฝั่งซ้ายก่อนข้ามเข้าเกาะเมือง มีภาพงูสามตัว ตัวกลางชูคอตั้งสูง มีก้านสายบัวพันตัว (ยุ่งเหยิง – วุ่นวาย) เหมือนกำลังขวางงูอีกสองตัวที่ขดหางเป็นวง หันเข้าประจันหน้ากันอยู่ (ไม่ให้ทะเลาะกัน)
แบบที่สิบห้า “ผู้ประสบความสำเร็จ” เป็นภาพสลักที่พบบริเวณปลายสะพานฝั่งเกาะเมือง เป็นรูปงูสามตัว งูใหญ่มีพังพานแบบงูจงอางหรืองูเห่า พันรัดงูขนาดเล็กกว่าที่ขนาบอยู่ด้านข้างทั้งสองฝั่ง (งูด้านข้างมีความสูงอย่างเท่าเทียมกัน  เหมือนจะบอกว่า รักทั้งคู่นะ อยู่ด้วยกันอย่าทะเลาะกันเลย) มีรูปงูตัวเล็กหรือลูก ๆ แทรกอยู่ในกอบัวด้วย
------------------------------
*** ในทางมานุษยวิทยาและคติชนวิทยา ภาพสัญลักษณ์ “นาคเกี้ยว-นาคเกี่ยวพัน” งู กอบัว (ในน้ำ) เป็นคติที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวการสังวาสของชายและหญิง ในความหมายเรื่อง “ความอุดมสมบูรณ์” (Fertility rite) และ “ความเจริญรุ่งเรือง” ตามความเชื่อของผู้คนในยุคโบราณครับ 
เครดิต ; FB
วรณัย  พงศาชลากร
EJeab Academy
.....................................................
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.....................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.
.....................................................


วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2564

เมืองครุฑ

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

“เมืองครุฑ” เมืองบายนโบราณที่สาบสูญ กลางหุบเขาแควน้อย กาญจนบุรี  
เมื่อราวปี 2534 กรมศิลปากรได้เริ่มทำการสำรวจเนินดินขนาดไม่ใหญ่นัก บริเวณที่ราบใกล้กับช่องเขาครุฑห่างไปทางตะวันออกจากปราสาท-เมืองสิงห์ประมาณ 5 กิโลเมตร  กลางเมืองโบราณที่มีร่องรอยคูน้ำคันดินสัณฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดประมาณ 600 * 350 เมตร 
ผู้คนในท้องถิ่นแควน้อยจะเรียกบริเวณนี้ว่า “เมืองครุฑ” เพราะในสมัยก่อนนั้น เคยมีรูปประติมากรรมครุฑโผล่ขึ้นมาจากเนินดิน
เมืองครุฑ อยู่ห่างจากอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ตามเส้นทางถนนดิน ไปทางตะวันออกประมาณ 16  กิโลเมตร เข้าไปในที่โดดเดี่ยวเกือบใจกลางหุบเขาที่มีเขาเมืองครุฑ เขาแก้วใหญ่ เขาแก้วน้อยล้อมรอบ  มีลำน้ำห้วยมะไฟผ่านเมืองด้านข้างทางทิศตะวันตกฝั่งติดชายเขาเมืองครุฑ ซึ่งบริเวณลำห้วยนี้ ยังพบหินศิลาแลงที่นำมาก่อเป็นแนวกำแพงหลงเหลืออยู่บ้าง
ชาวบ้านในท้องถิ่นเล่ากันว่าได้พบเห็นร่องรอยสิ่งก่อสร้างที่เป็นหินศิลาแลงกันมานานแล้ว จนเมื่อมีคนภายนอกเข้ามาลักลอบขโมยขุดหาสมบัติโบราณตรงบริเวณเนินดินใหญ่ที่มีศาลเพียงตาเก่า ๆ ตั้งอยู่ เผอิญมีชาวบ้านนำสัตว์เลี้ยงผ่านมาพอดี เหล่าขโมยก็เลยทิ้งหลุมขุดนั้นไว้ ซึ่งก็ทำให้ได้เห็นชิ้นส่วนของรูปสลักหินทรายขนาดใหญ่ผังจมดินอยู่ในกองหินศิลาแลง แต่ส่วนหัวของครุฑที่อยู่ด้านบนของเนินนั้นได้หายไปแล้ว
หลังปี พ.ศ. 2535 กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดค้นเนินดินกลางใจเมือง ได้พบกับฐานของสิ่งก่อสร้างขนาดไม่ใหญ่นัก รวมทั้งพบชิ้นส่วนที่ประกอบกันเป็นรูป  "พญาครุฑ" จมดินอยู่จนเกือบครบทุกชิ้นส่วน เมื่อนำชิ้นส่วนมาประกอบกันและประมาณค่าความสูงของหัวรูปสลักที่หายไปแล้ว พบว่ามีความสูงรวมทั้งตัวเกือบ 3 เมตร ส่วนเนินดินนั้นเป็นอาคารส่วนฐานอัดดินและผนังแผ่นหลังของรูปครุฑที่ใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุก่อสร้าง ส่วนประกอบอื่น ๆ อย่างเครื่องไม้และภาชนะดินเผา  ได้สูญสลายแตกหักไปมากแล้ว
ประติมากรรมครุฑหินทรายนี้ แกะสลักขึ้น จากหินทรายที่หาได้ยากในท้องถิ่น อาจต้องขนมาจากที่อื่น ๆ ที่อยู่ในภาคกลาง ตามศิลปะนิยมแบบบายนในท้องถิ่น ร่วมสมัยกับปราสาทเมืองสิงห์ ในยุคคติความเชื่อแบบวัชรยาน-โลเกศวร สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7  ช่วงราวกลางพุทธศตวรรษที่ 18 อย่างไม่ต้องสงสัย
และเป็นรูปสลักครุฑแบบ "ลอยตัว" ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย
ฐานก่อศิลาแลงที่เหลืออยู่คงทำหน้าเป็นวิหาร  (Chapel) ศูนย์กลางของเมือง  เพราะปรากฏร่องรอยของเศษชิ้นส่วนเครื่องกระเบื้องจำนวนหนึ่งแตกหักกระจาย ที่อาจเคยใช้ในการประกอบพิธีกรรมและการอยู่อาศัยในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ก่อนการทิ้งร้างไปด้วยเพราะสภาพความแห้งแล้ง ธรรมชาติรอบข้างไม่เอื้ออำนวยและสงคราม
ระหว่างเมืองสิงห์ หรือ “ศรีชยสิงหปุรี” (Śrí Jaya-Siṃhapurí) ในจารึกปราสาทพระขรรค์กับเมืองครุฑ เคยมีถนนดินยกระดับตัดตรงระหว่างกันเรียกกันว่า "ถนนขาด" แต่ปัจจุบันได้แปรสภาพกลายเป็นไร่สำปะหลังไปจนหมด ไม่เห็นร่องรอยอีกแล้ว
ในอดีต เมืองครุฑคงเป็นเมืองบริวารหน้าด่านของเมืองสิงห์ ที่ขยายเข้าไปยังเขตหุบเขา ทั้งเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญป้องกันศัตรูจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  เชื่อมโยงเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างชุมชนแม่น้ำแควน้อยกับแม่น้ำแควใหญ่ที่ปากแพรก เข้าสู่ช่องเขาเมืองครุฑ รวมทั้งเป็นเมืองเพื่อเป็นฐานในการเก็บเกี่ยวทรัพยากรจากป่าในพื้นที่ใกล้เคียงให้กับเมืองสิงห์
รูปประติมากรรมครุฑขนาดใหญ่นี้ อาจมาจากคติความเชื่อเรื่อง "ครุฑ” ผู้ทรงพลานุภาพ ในความหมายของตัวแทนแห่งองค์อวตาร เป็นการประกาศพระราชอำนาจแห่งองค์พระโพธิสัตว์ชัยวรมันที่ 7 ผู้เปรียบประดุจพระวิษณุผู้พิชิต ในความหมายว่านี่คือเขตอำนาจแห่งจักรวรรดิบายนที่ได้แผ่ขยายตามเส้นทางการค้าโบราณมาถึงลุ่มน้ำแควน้อย ในเขตแดนตะวันตก
----------------------------
*** ภายหลังการล่มสลายและสาบสูญไปจนเป็นเมืองร้าง ประมาณช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 จนผู้คนกลุ่มใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มคนลาวในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ได้ย้ายเข้ามาอาศัยตั้งถิ่นฐาน จึงแต่งนิทานกำเนิดของเมืองครุฑ โดยนำโครงเรื่องจากนิทานลาว มาสวมทับชื่อของเมืองร้างที่ตนได้พบเห็น กลายมาเป็นนิทานเรื่องเมืองครุฑและเมืองสิงห์ ที่เล่ากันว่า
“....เมื่อกาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีฤๅษีองค์หนึ่งอาศัยอยู่ที่ภูเขางิ้วดำ ทางทิศเหนือของเมืองตามพรลิงค์ มีลูกศิษย์ 2 คนคือท้าวอู่ทองและท้าวเวสสุวรรณโณ พระฤๅษีห้ามมิให้ลูกศิษย์ทั้งสองไปเล่นที่บ่อเงิน บ่อทองและบ่อกรด ...วันหนึ่งฤๅษีต้องไปทำธุระข้างนอก ปล่อยให้ลูกศิษย์ทั้งสองอยู่ตามลำพัง แต่ด้วยเพราะความอยากรู้อยากเห็น จึงนำให้ทั้งสองมาที่บ่อต้องห้ามทั้งสาม แล้วตกลงกันว่า หากใครลงไป อีกคนหนึ่งจะต้องอยู่ปากบ่อเป็นคนคอยดึงขึ้น
...ท้าวอู่ทองลงไปก่อน คือลงไปในบ่อเงินและบ่อทอง พลันเมื่อขึ้นมาแล้ว น้ำในบ่อก็แห้งไปทั้งหมด ส่วนท้าวเวศสุวรรณโณ เมื่อลงไปบ่อที่สามที่เหลืออยู่ ซึ่งเป็นบ่อกรด ก็ละลายหายไป ท้าวอู่ทองตกใจ จึงหนีลงมาจากเขางิ้วดำ...
...เมื่อฤๅษีกลับมา เห็นบ่อทั้งสามถูกล่วงล้ำและพบเศษซากของท้าวสุวรรณโณ จึงช่วยเหลือโดยการชุบตัวท้าวเวสสุวรรณโณขึ้นมาใหม่ ท้าวเวสสุวรณโณแค้นใจท้าวอู่ทองมาก (เพราะทิ้งกัน.....เห็น ๆ) จึงออกตามล่าเพื่อแก้แค้น...
....ท้าวอู่ทองหนีไป ก็สร้างเมืองไป เมื่อท้าวสุวรรณโณจะมาถึง ก็หนีไปและสร้างเมืองใหม่ขึ้นอีก เมืองที่ท้าวอู่ทองสร้าง มีชื่อว่าเมืองสระสี่มุมหรือสระโกสินารายณ์ (ที่มีโบราณสถานจอมปราสาทตั้งอยู่) เมืองกลอนโก และเมืองครุฑ...
...แต่ยังสร้างไม่ทันเสร็จซักแห่ง ท้าวเวสสุวรรณโณก็ตามมาถึงทุกที จนในที่สุดท้าวอู่ทองก็ได้สร้างเมืองสิงห์ขึ้นจนสำเร็จและสร้างกำแพงเมืองไว้อย่างแน่นหนา อย่างที่หลงเหลือให้เห็นในปัจจุบัน...
...ท้าวเวสสุวรรณโณก็ใช้อุบายปลอมตัวเข้ามาในเมือง แล้วจับท้าวอู่ทองกินซะให้หายแค้น  รวมทั้งกินผู้คนในเมืองสิงห์จนสิ้น เมืองสิงห์จึงร้างไปนับแต่นั้นมา...."
---------------------------
*** ปัจจุบัน รูปสลักประติมากรรมหินทรายรูปครุฑ  จัดแสดงอยู่ที่บริเวณลานจอดรถของปราสาทเมืองสิงห์ ตรงทางเข้าศูนย์ข้อมูล ส่วนตัวอาคารศิลาแลงกลางเมืองครุฑในปัจจุบันนั้น เป็นเนินดินที่มีต้นไม้ขึ้นรกปกคลุม มีไร่อ้อย ไร่มันปลูกอยู่ล้อมรอบ เข้าไปเที่ยวตอนนี้ก็จะไม่เห็นอะไรเป็นชิ้นเป็นอันแล้ว ไปให้หนามตำเล่นเปล่า ๆ
เครดิต ; FB
วรณัย พงศาชลากร
EJeab Academy
.....................................................
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.....................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.
.....................................................


วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564

ความบังเอิญไม่มีในโลก

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

• ไม่มีคำว่า "บังเอิญ" ในทางพุทธศาสนา
โลกนี้ไม่มีอะไรที่เกิดมาด้วยความบังเอิญนะ ทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เกิดขึ้นกับชีวิตของเราทั้งดี และ ไม่ดี ไม่มีอะไรบังเอิญนะ มันมีเหตุ และ ผล ที่ทำให้เกิด
พระราชสังวรญาณ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ท่านได้เคยสอนว่า ทุกอย่างล้วนถูกจัดสรร ตามเหตุ และ ผล เปลี่ยนแปลงได้ด้วยบุญกุศล
หากศึกษาเรื่องธรรมะดีๆนะ จะเข้าใจว่า ไม่มีคำว่า "บังเอิญ" ใดๆ ทั้งสิ้น "กรรม" นี้แม่นยำยิ่งกว่าเรด้าตรวจจับของนาซ่าอีกนะ พระพุทธเจ้าเคยตรัสว่า "เราเกิดมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน น้ำตาที่เสียจากความพลัด พรากจากคนที่เรารักนับรวมกันได้มากกว่ามหาสมุทร ทั้ง 4 ดังนั้น เราจึงได้เคยพบปะผู้คนมามากมาย จนผู้คนที่เดินบนถนนไปมานี้ต่างก็เคยเกิดมาเป็นพี่น้องเราทั้งสิ้น"
     จากคำอธิบายข้างต้น เป็นเหตุให้ "กรรม" จัดสรรให้เราได้พบเจอ รู้จัก พึ่งพา มาเกิดเป็นพ่อ แม่ ลูก พี่น้อง เพื่อน แฟน คู่รัก มิตร ศัตรู ครู ลูกศิษย์ เมียหลวง เมียน้อย ฯลฯ เนื่องจาก เคยเกี่ยวพัน มีความสัมพันธ์ และประกอบกรรมร่วมกันมาก่อนนะ จึงได้มาเจอกันอีก เพื่อชดใช้กรรม หรืออาจอธิษฐานให้มาพบกันอีกในชาติต่อๆ ไป หรือเคยอาฆาตพยาบาทกันมาก่อน บางคนก็เคยอุปถัมภ์ ค้ำชู หรือเคยพึ่งพาอาศัยกันมาก่อน ดังนี้ เป็นต้น จึงไม่มีคำว่า "บังเอิญ" ในพระพุทธศาสนา
     หากใครเคยไปในสถานที่ใด แล้วรู้สึกคุ้นเคยกับสถานที่นั้นโดยไม่เคยไปมาก่อนรู้สึกคุ้นๆ กับเหตุการณ์นั้น โดยที่เราไม่เคยมีส่วนร่วมมาก่อน เคยรู้สึกประทับใจใคร รู้สึกเกลียดใคร อยากอยู่ใกล้ใคร หรืออยากหนีหน้าใคร โดยที่ไม่เคยพบเจอรู้จักกันมาก่อน สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นสัญญาเก่า (การจำได้หมายรู้) ที่ติดตัวมาแต่เก่าก่อน
     พระบาลีพุทธวจนะ เป็นภาษาเมื่อหลายพันปีมาแล้ว คำว่า "บังเอิญ" ดูเหมือนไม่มีในภาษาบาลี มีแต่คำว่า "เหตุ - ปัจจัย"
     พระพุทธศาสนา เป็นเรื่องของเหตุและผล ทุกสิ่งไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ หรือเป็นเรื่องบังเอิญ ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นล้วนมีเหตุให้เกิดขึ้นทั้งสิ้น ดังที่ท่านพระอัสสชิ แสดงธรรมแก่ท่านพระสารีบุตรว่า "ธรรมทั้งหลายย่อมเกิดจากเหตุ" นั่นคือ การที่ทุกคนเกิดมาแตกต่างกัน เป็นเพราะได้กระทำเหตุ คือ ทำกรรมมาแตกต่างกัน กรรมที่ได้กระทำไว้แล้วนั่นเอง เป็นเหตุให้มีรูปร่างหน้าตา ผิวพรรณ ฐานะ ต่างกัน มีอุปนิสัยดีเลวต่างกัน กรรมที่ได้กระทำไว้แล้วนั่นเอง เป็นเหตุให้ได้ลาภเสื่อมลาภ ได้ยศเสื่อมยศ ได้รับความสุข ทุกข์ สรรเสริญ นินทา
อนาคตเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดไว้แล้วจากกรรมในอดีตนานนับไม่ได้  แต่เป็นสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น เพราะต้องมีเหตุในปัจจุบันร่วมด้วย ความพยายามในปัจจุบันนั่นแหละ จึงจะทำให้เกิดผลในอนาคตที่สมบูรณ์ แม้จะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ทั้งหมด แต่ก็เปลี่ยน แปลงได้บางส่วน คนเราจึงไม่ควรละความพยายามตลอดชีวิตที่เกิดมานะ
     การกระทำทุกอย่างย่อมมีผล เราเรียกผลนั้นว่า "วิบาก" สิ่งใดจะเกิดได้ต้องมีเหตุปัจจัยประชุมพร้อม กรรมจึงสามารถส่งผล หรือให้วิบากได้
     ไม่มีโชคลาภเกิดขึ้นได้โดยไม่อาศัย บุญ กรรม โชคลาภ ไม่สามารถจะเกิดขึ้นลอยๆ หรือบังเอิญ โดยไม่มีเหตุปัจจัย
     ทุกปัญหาเกิดขึ้นอย่างมีสาเหตุทั้งนั้น กิ่งไม้ตกใส่หัว หกล้ม ฯลฯ ล้วนเกิดจากกรรม เหมือนกับคำว่า "ใครกินคนนั้นก็อิ่ม คนอื่นอิ่มแทนไม่ได้"
     เกลือ เค็มเหมือนกันหมด ไทย ฝรั่ง ลาว แขก กินเกลือในที่ลับ ที่แจ้งก็เค็ม เหมือนกัน เกลืออย่างไร กรรมก็อย่างนั้น ทุกชาติศาสนา
     ความบังเอิญไม่มีในโลก ทุกสิ่งถูกลิขิตจากกรรมทั้งกุศล และอกุศลที่สัตว์โลกได้กระทำไว้ทั้งในอดีต และปัจจุบัน ขึ้นอยู่กับว่า กรรมอันไหนจะส่งผลก่อนกัน
เครดิต ; FB
อมตะธรรม หลวงปู่ดู่
.....................................................
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.....................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.
.....................................................


วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2564

นภศูล

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

“นภศูล”ยอดปรางค์ (น้อย) เหนือตรีมุขปรางค์วัดพระราม เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย
ยอดโลหะ “นภศูล” (Naba Shula – Sky Spear) ประดับพระปรางค์องค์เล็กสร้างขึ้นเหนือเรือนมณฑป “ตรีมุข” หน้าเรือนธาตุของพระปรางค์ใหญ่วัดพระราม หรือวัดรามาวาส ? บนเกาะเมืองกรุงศรีอยุธยา ที่อาจสร้างขึ้นในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 21 เป็นงานศิลปะประดับยอดปรางค์ที่ยังคงรักษารูปลักษณ์ตามแบบแผนศิลปะอยุธยาตอนต้น ที่ได้รับอิทธิพลมาจากงานประดับปราสาทเขมรโบราณ เป็นนภศูลที่เก่าแก่ที่สุดจากทั้งหมดที่เหลืออยู่ในประเทศไทย จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติวังจันทรเกษม พระนครศรีอยุธยา
นภศูลยอดปรางค์จากวัดพระรามนี้ คงได้หักพังลงมาในช่วงรัชกาลที่ 5 ก่อนหน้าที่ตัวอาคารมณฑปตรีมุขที่มียอดปรางค์นี้อยู่ข้างบนจะพังทลายลงมาทั้งหมด พระยาโบราณราชธานินท์ (พร เตชะคุปต์) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า ได้ให้นำมาเก็บรักษาไว้ที่พระราชวังจันทรเกษม (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม) ประมาณทศวรรษที่ 2440 จนถึงในปัจจุบันครับ
นภศูล มาจากคำว่า “นภา” ที่แปลว่าท้องฟ้า และคำว่า “ศูล” (shula -śūl) ที่แปลว่า อาวุธที่แหลมคม เครื่องประดับส่วนยอด เป็นสัญลักษณ์ชี้พุ่งขึ้นไปบนท้องฟ้า แสดงความหมาย “ความเป็นที่สูงสุด” ของยอดปรางค์ ซึ่งก็คือสวรรค์เขาพระสุเมรุนั่นเอง
องค์ประกอบสำคัญของนภศูล ส่วนยอดสุดคือ“ศูล” หรืออาวุธ เรียกว่า “หลาว” ตัวแกนกลาง เรียกว่า “ลำภุขัน” หรือด้ามของอาวุธ มี "กิ่ง" เป็นรูป “ดาบ ฝักเพกา หรือ ลิ้นฟ้า” แยกออกจากตัวแกน ลดหลั่นขึ้นไป 3 ชั้น แต่ละชั้นมีกิ่งแยกออกไป 4 ทิศต่อชั้น
นภศูลของยอดปรางค์อยุธยา มีพัฒนาการมาจากเครื่องประดับเรือนยอดปราสาทหินในงานศิลปะเขมรโบราณ ทั้งที่เรียกว่า ตรีศูล ปัญจศูล และทศศูล ดังตัวอย่างของชิ้นส่วนนภศูลที่พบจากปราสาทกู่โพนระฆัง จังหวัดร้อยเอ็ด อโรคยศาลาในยุคจักรวรรดิบายน (อาจจัดได้ว่าเป็นชิ้นส่วนยอดนภศูลแบบเขมรที่เก่าที่สุด ที่พบเพียงชุดเดียวในประเทศไทย) จะมีกิ่งโค้งหยักเป็นรูป “แง่งขิง” หรือ “สลัดได” 5 ขยัก แตกต่างไปจากปรางค์ไทยในยุคหลัง ที่มีกิ่งเป็นรูปฝักเพกาหรือดาบครับ
นภศูลวัดพระราม มีแกนเป็นเสาโลหะปลายแหลมต่อด้วยแกนกลางเป็นลำยาว ตั้งปักเข้ากับรูเดือยมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 - 20 เซนติเมตร ยังคงมีรูปของ “กิ่ง” ตามแบบนภศูลปราสาทเขมร คือเป็นโค้งแง่งขิง (มีหนาม) 5 ขยัก แกนลำภุขันเป็นสันคม 4 มุม ต่อกันเป็นปล้องขึ้นไป 3 ชั้น ปลายเป็นรูปหลาว คล้ายพระขรรค์ 4 คม ศูลหรือหลาวของปรางค์ไทย มีลักษณะทรงชะลูดสูงรูปอาวุธ ไม่เป็นกลุ่มบัวยอดแหลมแบบที่พบจากปราสาทเขมร ซึ่งรูปแบบของยอดนภศูลนี้ เป็นลักษณะเด่นของปรางค์ไทยยุคเริ่มแรก ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 - 21 ที่ยังคงแบบแผนนภศูลของปราสาทเขมรเอาไว้ แต่ได้ดัดแปลงให้ชะลูดสูงไปตามรูปทรงงาเนียมและทรงฝักข้าวโพดของเรือนยอดปรางค์ไทย
---------------------------
*** ซึ่งในช่วงเวลาต่อมา นภศูลในงานศิลปะอยุธยาได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปทรงของส่วนแกนลำภุขัน จากสันเหลี่ยมคมแบบพระขรรค์ มาเป็นทรงกลมหรือทรงกระบอก โดยมีการเพิ่มหม้อประดับ “อมลกะ” ตรงบริเวณจุดแตกออกของกิ่งทั้ง 3 ชั้น ต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงงานศิลปะในช่วงยุคต้นรัตนโกสินทร์ ดังตัวอย่างแกนลำภุขันยอดนภศูลจากวัดมหาธาตุเพชรบุรี (ไม่มีกิ่งเหลือ) นภศูลของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก วัดมหาธาตุสุพรรณบุรี และอย่างที่ยอดปรางค์วัดอรุณฯ
เครดิต; FB
วรณัย พงศาชลากร
EJeab Academy
.....................................................
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.....................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.
.....................................................


วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2564

ท้าวเวสสุวรรณ

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

เมื่อท้าวกุเวร (ฮินดู) กลายเป็น ท้าวเวสสุวรรณ (พุทธ) ครั้งแรกในประเทศไทย
ชื่อนามของ “ท้าวกุเวร - พระกุเวร (Kubera) เทพเจ้าแห่งความมั่งคั่งและราชาแห่งเหล่าอมนุษย์ (Half-Man)  ทั้ง “ยักษา- ยักษิณี” (Yakshas – Yakshinis) “คนแคระ – คุหยกะ” (Guhyaka - Dwarf) กินระ – กิณรี (Kinnara – Kinnari) และ “คนธรรพ์” (Gandharva) ปรากฏขึ้นครั้งแรกในคัมภีร์ “อาถรรพเวท” (Atharvaveda) และ “ศัทธปถะพราหมณ์” ( Śatapathabrāhmaṇa) ที่มีอายุวรรณกรรมประมาณ 2,800 ปี ในฐานะบุตรแห่งพระเวสสุวรรณ (Vaiśravaṇa)  ผู้ปกครองภูตผี วิญญาณชั่วร้าย โจรและอาชญากร
ในเวลาต่อมา  ท้าวกุเวรผู้ปกครองนคร "อลกา" (Alaka) บนเขาหิมาลัย ถูกลำดับให้เป็นหนึ่งในกลุ่มพระโลกบาล (Lokapāla) ผู้ปกป้องทิศทั้ง 8 แห่งจักรวาล ที่เรียกว่า “อัษฏทิศปาลกะ-ทิศปาล” (Aṣṭadikpālaka -Dikpālas -Dikpālakas) จากวรรณกรรมรามายณะ  (Rāmāyaṇa Sanskrit epic) ที่มีอายุตั้งแต่ประมาณ พุทธศตวรรษที่ 2 – 5  และในคัมภีร์ “อัคนีปุราณะ” (Agni Purāṇa) มีอายุของการประพันธ์อยู่ในราวพุทธศตวรรษที่  12 เป็นคัมภีร์ของฝ่ายฮินดูที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในอินเดียเหนือ มาเป็นเทพเจ้าผู้รักษาทิศเหนือ ร่วมกับ “พระอินทร์” (Indrā) ผู้รักษาทิศตะวันออก พระวรุณ (Varuṇa) ผู้รักษาทิศตะวันตก “พระยม” (Yama) ผู้รักษาทิศใต้ “พระอีศาน” (Īśāna) ผู้รักษาตะวันออกเฉียงเหนือ “พระวายุ” (Vāyu) ผู้รักษาทิศตะวันตกเฉียงเหนือ “พระอัคนี” (Agni) ผู้รักษาทิศตะวันออกเฉียงใต้ “พระนิรฤติ” (Nairrita-Nirṛti) ผู้รักษาทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีพระพรหม – (Brahmā) เป็นผู้รักษาทิศเบื้องบน และ เศษะนาค-อนันตะนาคราช (Ananta-Shesha) รักษาทิศเบื้องล่าง
----------------------------
*** คติท้าวกุเวรผู้รักษาทิศเหนือของฝ่ายฮินดู ปรากฏครั้งแรก ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 16 ( พ.ศ. 1505) ปรากฏชื่อนามเทพทิศปาลกะทั้ง 8 ในจารึกปราสาทแปรรูป (K. 806) ที่กล่าวถึงการสถาปนารูปพระศิวลึงค์ “ราชเชนทรภัทเรศวร” (Rājendrabhadreśvara) ปรากฏเป็นรูปงานศิลปะครั้งแรก ๆ ในท่านั่งในท่านั่ง “มหาราชาลีลาสนะ” (Mahārājalīlāsana – ชันเข่าขึ้นด้านหนึ่ง อีกข้างหนึ่งงอพับ) บนบัลลังก์ปัทม์ ถือดอกบัว ดังที่พบหน้าบันทิศเหนือของปราสาทประธานหลังกลาง ปราสาทบันเตียเสรย (บันทายศรี-อิศวรปุระ) ที่สร้างขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 16
แต่การกำหนด “วาหนะ-พาหนะ” (Vāhana-Vehicle-Mount) ด้วยสัตว์ประเภทต่าง ๆ ให้กับเหล่าเทพเจ้าทิศปาลกะนั้น แต่ละคัมภีร์ปุราณะในอินเดียก็ดูจะแตกต่างกันไป และยังมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมไปตามยุคสมัย   โดยให้พระอินทร์ผู้รักษาทิศตะวันออกทรงช้างเอราวัณ  พระอีศานทรงโค พระวรุณทรงหงส์ (แต่ก็มีบางปุราณะระบุให้ไปทรงมกร หรือนาค)  พระยมทรงกระบือ-ควาย  พระอัคนีทรงระมาด-แรด  (แต่ก็มีบางปุราณะระบุให้ไปทรงแกะ) และพระนิรฤติทรงรากษส-อมนุษย์-อสูร  พระวายุทรงละมั่ง (แต่ก็มีบางปุราณะระบุให้ไปทรงแพะ ไปเหมือนกับพระอังคารในกลุ่มเทพนพเคราะห์ (Navagrahas – Nine Planets)) ส่วนท้าวกุเวรนั้น ในปุราณะหลายเล่มระบุต่างกันว่า มีทั้ง หมูป่า พังพอน (เอาชนะนาค-งู) นร (Nara-วิญญาณมนุษย์เพศชาย) ช้างสวรรค์ “สำรฺวเภำม – สำรวโภม” (sārvabhauma) และม้า (ไปเหมือนกับพระศุกร์ในกลุ่มเทพนพเคราะห์) เป็นสัตว์วาหนะ
ในงานศิลปะเขมรโบราณ ศิลปะของสัตว์วาหนะตามคติเรื่องอัษฏทิศปาลกะที่รับมาจากอินเดีย ได้จัดให้ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ พระวรุณทรงหงส์-นาค พระยมทรงกระบือ พระอีศานทรงโค พระอัคนีทรงแรด-ระมาด พระนิรฤติทรงรากษส โดยได้เปลี่ยนแปลงให้พระวายุไปทรงม้าแทนละมั่ง (อาจด้วยเหตุเพราะจะได้ไม่สับสนกับพระพฤหัสทรงกวางในกลุ่มเทพนพเคราะห์) 
*** ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 รูปท้าวกุเวรในงานศิลปะเขมร ยังคงประทับบนบัลลังก์ ไม่นิยมวางเหนือรูปสัตว์วาหนะใด ๆ
ต่อมา เพื่อป้องกันความสับสน ช่างเขมรโบราณจึงได้จัดให้“คชสีห์-คชสิงห์” (Gajasimha) มาเป็นสัตว์วาหนะประจำท้าวกุเวร  อาจเพราะเพื่อป้องกันความสับสนกับพระนิรฤติ ในกลุ่มทิศปาลกะด้วยกัน ที่มีรากษส (อมนุษย์) เป็นวาหนะแบบเดียวกับท้าวกุเวรในบางปุราณะ และ "พระเกตุ-อสุรา " (Kethu Asura) ในกลุ่มเทพนพเคราะห์ ที่มีวาหนะในงานศิลปะเป็นรูปสิงห์
รูปท้าวกุเวรผู้รักษาทิศเหนือประทับบนคชสีห์ เป็นงานศิลปะที่นิยมในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 17 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 18  อย่างที่พบจากปราสาทนครวัด ปราสาทบันทายสำเหร่-บันเตียซอมเรย (Banteay Samre)  “ปราสาทเบงมาเลีย” (Beng Mealea Pr.)  “ปราสาทธมมานนท์” (Thommanon Pr.) “ปราสาทเจ้าสายเทวดา” (Chay say Tevoda Pr.) ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทพิมายและปราสาทศีขรภูมิ
ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 17 ภาพสลักนูนต่ำผนังฝั่งทิศเหนือ ด้านปีกตะวันตกของปราสาทนครวัด ได้แสดงภาพของท้าวกุเวรมีสัตว์วาหนะเป็นรูปสิงห์  ประกอบอยู่ในเรื่องราว “ศึกเทพเจ้ากับอสูร” (Battle of Devas and Asuras)
----------------------------
*** เมื่อพุทธศาสนามหายาน – วัชรยาน ได้รับความนิยมในราชสำนักยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 18 คติเรื่อง “ท้าวเวสสุวรรณ –เวสวัณ” (Vessavana-Vaiśravaṇa) จึงได้เข้ามาแทนที่ท้าวกุเวร ถึงการก่อสร้างปราสาทในยุคนี้ ยังคงรักษาสถาปัตยกรรมแบบฮินดูเดิม รวมทั้งการประดับรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ พระยมทรงกระบือ และพระวรุณทรงหงส์ เป็นเครื่องปัก “บันแถลง” (Small Gable –Antefixes on Roof Stage -Vimāna) ตามแบบอย่างการประดับหน้า “ซุ้มบัญชร” (Palse Window) เดิมในแต่ชั้นวิมานที่เรียงซ้อนขึ้นไปแบบศิขระวิมาน (Śikhara)  แต่รูปของท้าวกุเวรเดิม อาจได้ถูกอิทธิพลจากวรรณกรรมของฝ่ายพุทธศาสนา เปลี่ยนแปลงให้เป็น “ท้าวเวสสุวรรณ” หรือ “ท้าวไพศรพณ์” โดยได้มีการเปลี่ยนรูปของสัตว์วาหนะในงานศิลปะ จากเดิมที่เคยเป็นคชสิงห์หรือสิงห์ในยุคนครวัด กลายมาเป็นรูปของบุคคล ที่เป็นได้ทั้งอมนุษย์ – นร (วิญญาณมนุษย์ชาย) หรือรากษส บนบันแถลงประดับปราสาทในช่วงยุคศิลปะบายน อย่างที่พบจากปราสาทปรางค์สามยอด หรือปราสาทโต๊ปตะวันตก
-----------------------------
*** การเปลี่ยนแปลงรูปสัตว์วาหนะของท้าวกุเวรในยุคบายนนี้ อาจเป็นการปรากฏตัวครั้งแรกของท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร) ทรงรากษส ในคติและงานศิลปะเขมรโบราณ ซึ่งต่อมาก็ได้รับความนิยมในอาณาจักรกรุงศรีอยุธยามาจนถึงในปัจจุบันครับ    
เครดิต ; FB
วรณัย  พงศาชลากร
EJeab  Academy
.....................................................
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.....................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.
.....................................................


ท้าวกุเวร

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

ท้าวกุเวร
     ท้าวกุเวรหรือท้าวเวสสุวรรณพญายักษ์ผู้เป็นเจ้าแห่งขุมทรัพย์ เป็นพี่ต่างมารดาของทศกัณฐ์ เป็นโลกบาลประจำทิศเหนือ คนจีนเรียกว่า "โต้เหวน" หรือ "โต้บุ๋น" ในศาสนาพุทธ รู้จักกันมากในนามว่า ท้าวเวสสุวรรณ  อดีตชาติ ในยุคสมัยของพระกัสสปพุทธเจ้า ท้าวกุเวรเกิดเป็นพราหมณ์ ชื่อ กุเวรพราหมณ์  ร่ำรวยขึ้นมาจากการมีไร่อ้อยจำนวนมาก ได้สร้างศาลาที่พักให้กับผู้คนที่เดินทางผ่านไปมาถึง 10 แห่ง และแจกน้ำอ้อยแก่ผู้ที่มาพัก เป็นผู้ที่ทำทานอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต แต่ด้วยเหตุที่เป็นผู้มากด้วยโทสะจึงได้ไปเกิดเป็นพญายักษ์ มีชื่อว่าท้าวกุเวร มีผิวกายสีเขียว สีทอง และสีดั่งน้ำอ้อย ปกครองพวกยักษ์ อยู่ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ทางด้านทิศเหนือ ท้าวกุเวรมีกระบอง เป็นอาวุธชื่อว่า มหากาล สามารถทำลายล้างโลกธาตุได้ มีพาหนะ ช้าง ม้า รถ ปราสาททองคำ อาภรณ์มงกุฎประดับ ดำรงอิสริยยศเป็นเจ้าแห่งยักษ์ มีบริวารแสนโกฏิ  ในทางพุทธศาสนา ท้าวกุเวร มีนามที่เรียกกันอีกหลายพระนามอาทิ พระชัมภละ พระธเนศวร พระธนบดี ฯลฯ ถือเป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง
ท้าวกุเวรสถิตอยู่ณยอดเขายุคนธรอีสานราชธานี มีสระโกธาณีใหญ่ 1 สระ ชื่อ ธรณี กว้าง 50 โยชน์ ในน้ำ ดารดาษไปด้วยประทุมชาติ และคลาคล่ำไปด้วย หมู่สัตว์น้ำต่างพรรณ ขอบสระมีมณฑปชื่อ "ภคลวดี" กว้างใหญ่ 12 โยชน์ สำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ปกคลุมด้วยเครือเถาภควดีลดาวัลย์ ซึ่งมีดอกออกสะพรั่งห้อยย้อยเป็นพวงพู ณ สถานที่นี้ เป็นสโมสรสถานของเหล่ายักษ์บริวาร และยังมีนครสำหรับเป็นที่แปรเทพยสถานอีก 10 แห่ง ท้าวกุเวรมียักษ์เป็นเสนาบดี 32 ตน ยักษ์รักษาพระนคร 12 ตน ยักษ์เฝ้าประตูนิเวศ 12 ตน ยักษ์ที่เป็นทาส 9 ตน
.....................................................
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.....................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.
.....................................................


วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2564

พระเจ้ากรุงธนบุรี

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราช
      สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราช หรือพระบรมราชาที่ 4 หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
     ชาวไทยได้ถวายการเรียกขานพระนามด้วยความจงรักภักดีสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันไม่อาจจะบรรยายออกมาได้
     จนกระทั่งใช้คำว่าพ่อตาก ที่แสดงถึงความสนิทชิดเชื้อกับพระองค์ท่านต่อมาเมื่อรู้เรื่องราวในประวัติศาสตร์มากขึ้นจึงขนานนามพระองค์ใหม่ว่า พระเจ้าตากสิน เพื่อให้สมกับ ที่เคารพบูชา
     ชาติกำเนิดพระเจ้าตากสินทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 17 เมษายนพุทธศักราช 2277 ตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น 15 ค่ำเดือน 5 ปีขาลจุลศักราช 1096 เวลาประมาณ 11:00 น
     ในแผ่นดินของกรุงศรีอยุธยาศรีรามเทพนคร พระเจ้าตากสินกำเนิดจากสามัญชนคนธรรมดาในสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 หรือสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศในพ.ศ 2275 ถึง 2301 ซึ่งในสมัยนั้นการค้ากับเมืองจีนมีความรุ่งเรืองราบรื่น อีกครั้งสัมพันธภาพระหว่าง 2 ราชสำนักนั้นมีความสนิทแน่นแฟ้นกันดี
ราชพงศาวดาร ฉบับหลวง พบว่า 
     พระเจ้าตากสินทรงเป็นสามัญชน ถือกำเนิดในตระกูลแซ่แต้ มีพระนามเดิมว่า สิน พระบิดานั้น เป็นคนจีนชื่อไหฮอง มาจากเมือง เฉาโจว แซ่แต้ เมื่อมาถึงเมืองไทย เปลี่ยนเป็น หยง
     จีนหยง อพยพมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยและได้สมรสกับหญิงไทยเมืองราชบุรีชื่อ นกเอี้ยง จีนหยงเป็นคนขยันขันแข็งและการทำอาหารกินฉลาดมีความสามารถทางการค้าต่อมาได้เข้ามาอาศัยพึ่งบุญบารมีของเจ้าพระยาจักรี (โรงฆ้อง)
     จีนหยง ได้ปลูกเรือนอยู่ตรงข้ามกับบ้านของเจ้าพระยาจักรี มีความสนิทสนมคุ้นเคยกันมาก เจ้าพระยาจักรีจึงเสนอทางการให้แต่งตั้งจีนหยงเป็นนายอากรบ่อนเบี้ย ดูแลบ่อนการพนันมีบรรดาศักดิ์เป็นขุนพัฒน์
     จึงเป็นคหบดีมีฐานะความเป็นอยู่ที่ค่อนข้างร่ำรวยมีข้าทาสบริวารหญิงชายมากมายปัจจุบันบ้านของเจ้าพระยาจักรีคือบริเวณโรงแรมศรีอยุธยาธานี บ้านขุนพัฒน์คือบริเวณที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ปรีดีพนมยงค์
     ในปีพศ. 2277 นางนกเอี้ยงฝันว่าชีปะขาวนำแก้วมณีสดใสขาววาวจับใจมามอบให้ 1 ดวงนางนั้นน้อมรับด้วยความเต็มใจ และเมื่อตั้งครรภ์ได้ครบ 10 เดือนได้คลอดออกมาเป็นเด็กผู้ชายมีรูปพรรณงดงามรูปกายนั้นมีลักษณะสี่เหลี่ยมจัตุรัส ตามตำราว่า ด้วย "มหาปุริสลักษณะ"
     กุมารบุตรจีนมีลักษณะตามตำรามหาปุริสลักษณะ กล่าวคือวัดจากฝ่าเท้าถึงศูนย์กลางสะดือเท่ากับสะดือถึงหน้าผาก วัดจากปลายสุดนิ้ว กลางมือซ้ายถึงปลายสุดนิ้วกลางมือขวาเท่ากับวัดจากฝ่าเท้าถึงหน้าผาก เรียกว่า "จัตุรัสกาย"
     และในวันคลอดฟ้าผ่าลงมาที่เสากลางเรือนที่คลอด แต่ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ ต่อมาอีก 3 วันบิดามารดาพบงูเหลือมตัวใหญ่ เท่าคนขาผู้ใหญ่ขดอยู่รอบกายกุมารในกระด้งเป็นทักษิณาวรรต (เวียนขวา)
เครดิต ; FB ต้นสาระ
ดร .สุวิจักขณ์ ภานุสรณ์ฐากูร
.....................................................
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.....................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.
.....................................................