วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

พระพิฆคเนศ

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.
“พระคเณศ-พระพิฆคเณศ-พระเทวกรรม” ในงานศิลปะอยุทธยา
ดูเหมือนว่าก่อนหน้ากลางพุทธศตวรรษที่ 20 จะแทบไม่ปรากฏความนิยมในการสร้างรูปงานศิลปะและคติความเชื่อเรื่อง “พระคเณศ” (Ganesha) “วินายกะ” (vināyaka) “พระคณปติ” (Ganapati) (“ปิลไลยาร์” (Pillaiyar) ในภาษาทมิฬ) ในรัฐอยุทธยาเริ่มแรก (ละโว้+สุพรรณภูมิ) นอกจากความนิยมคติฮินดูในยุคก่อนหน้าจากรูปงานศิลปะแบบเขมรโบราณ ที่พบในรัฐละโว้เท่านั้น 
.
ซึ่งก็อาจเป็นเพราะ รัฐสุพรรณภูมิและดินแดนในกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา ยังคงนิยมในคติพุทธศาสนาแบบรามัญนิกายมาตั้งแต่ยังคงอยู่ในช่วงวัฒนธรรมทวารวดี ตามด้วยอิทธิพลพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาวงศ์ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19  จึงไม่นิยมรูปเคารพในคติฮินดู ที่นิยมในรัฐขอม-ละโว้ครับ
.
จนถึงช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 ในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราช (เจ้าสามพญา-สามพระยา) ปี พ.ศ. 1974 อยุทธยาได้ตีเมืองพระนครศรียโสธระปุระ ศูนย์กลางอาณาจักรเขมรโบราณจนแตกพ่าย ถึงช่วงปี พ.ศ. 1986 อยุทธยายังส่งกองทัพใหญ่เข้าไปปราบกบฏเจ้าพระยาญาติ-เจ้ายาด–เจ้าพญาคามยาต ที่เมืองจัตุมุขอีกครั้ง  อยุทธยาได้กวาดต้อนเชลยศึกเป็นจำนวนนับแสนคน ซึ่งก็รวมถึงเจ้านายในราชสำนัก นักบวชพราหมณ์ฮินดูและช่างประติมากร-ศิลปะกรรมทั้งหมดกลับมา อีกทั้งยังขนย้ายรูปประติมากรรมสำริดจำนวนมากที่มีทั้งรูปพระศิวะ เหล่าเทพเจ้าฮินดู รูปพระโคนนทิ ช้างเอราวัณ รวมทั้งรูปทวารบาลจากเมืองพระนครธมมายังอยุทธยาอีกด้วย   
.
ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 นี้ ราชสำนักอยุทธยาที่นิยมคติเถรวาท จึงอาจได้รับอิทธิพลของคติพราหมณ์-ฮินดู จากราชสำนักหลวงเมืองพระนครเข้ามาผสมผสานในระหว่างพิธีพราหมณ์และพิธีสงฆ์ในงานพิธีกรรมหลวงและการเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ (คติรามาธิบดี – โองการแช่งน้ำ) ของราชสำนักอยุทธยาเป็นครั้งแรก ๆ ครับ  
.
เหล่านักบวชพราหมณ์หลวงจากราชสำนักเมืองพระนครเดิม จึงได้ขอให้ราชสำนักอยุทธยาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สร้าง “เทวสถาน” (Devasthāna - Place of Deities)  “พระเทวาลัย” (ศาลพระกาฬ) ใกล้กับตะแลงแกงขึ้น เพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรมและประดิษฐานรูปเคารพเฉพาะของฝ่ายตน และคงได้มีการสร้างกลุ่มเทวสถานทางตะวันออกของบึงพระรามใกล้กับสะพานชีกุน (Chikun Bridge) ริมคลองประตูจีนในเวลาไล่เลี่ยกัน 
.
ซึ่งต่อมาเมื่อพระเจ้าปราสาททองขึ้นครองราชย์ไม่นาน ทรงโปรดให้ย้ายเทวสถานมาอยู่รวมกันที่สะพานชีกุนทั้งหมด โดยสร้างโคกเทวสถาน (ใกล้กับวงเวียนโรงเรียน พร้อมกับการสร้างเสาชิงช้าตามแบบพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราชขึ้นใหม่ ดังปรากฏความในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) ว่า “...ลุศักราช 998 ปี (พ.ศ. 2179) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้รื้อเทวสถานพระอิศวร พระนารายณ์ขึ้นมาตั้งยังชีกุน ในปีนั้นให้ยกกำแพงพระราชวังออกไป ให้สร้างพระมหาปราสาท พระวิหารสมเด็จ...” 
.
ด้วยเพราะในช่วงสมัยพระเจ้าปราสาททอง กลุ่มพราหมณ์หลวงแห่งราชสำนักกรุงศรีอยุธยาได้มีความสัมพันธ์กับกลุ่มพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราชา (ตามพรลิงค์ - ลิกอร์ Ligor ในภาษาโปรตุเกส) เชื่อมต่อกับพราหมณ์เมืองรามราช (เมืองราเมศวารัม Rāmeśvaram -พาราณสีแห่งอินเดียใต้) ช่วงราชวงศ์นายกะแห่งมธุไร  (Madurai Nayakas)  ซึ่งในเวลานั้น กรุงศรีอยุธยาต้องยกกองทัพลงไปปราบกบฏเมืองนครศรีธรรมราชที่มีเชื้อสายชาวใต้-มาลายู  ที่กลับเข้ามายึดครองเมืองเตรียมสถาปนากษัตริย์แห่งอาณาจักรตามพรลิงค์ใหม่ขึ้น โดยไม่ขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา 
.
การกลับเข้ายึดครองและพัฒนาเมืองนครศรีธรรมราชในสมัยพระเจ้าปราสาททอง ปี พ.ศ. 2174 นำมาซึ่งความนิยมในคติพราหมณ์-ฮินดู และงานศิลปะ ตามแบบ “นครศรีธรรมราช-รามราช” ในราชสำนักกรุงศรีอยุธยาในเวลาต่อมาเป็นอย่างมากครับ
.
----------------------------
*** รูปประติมากรรมพระคเณศ ที่อาจเก่าแก่ที่สุดในช่วงยุคกรุงศรีอยุธยาอาจเป็นรูปพระคเณศสำริดสองกร ความสูง 31.4 เซนติเมตร จาก Metropolitan Museum of Art  ที่มีรูปแบบศิลปะในช่วงสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 21 ประทับในท่านั่งโยคีขัดสมาธิบนฐานปีฐกะขาสิงห์ยกสูง ทรงเทริดครอบประดับตาบดอกมี่กลีบ 4 ด้าน กรวยรัดเกล้าครอบด้านบน ใบพระกรรณเล็ก สวมกำไลข้อพระบาทและ พาหุรัดรูปงู  คล้องสายยัชโญปวีต (Yajñopavīta) แบบสายเส้นด้ายแต่มีปลายบนพระอังสาซ้ายเป็นรูปเศียรนาค   ถืองาหักที่พระหัตถ์ขวา  ถืออังกุศ- – ขอสับช้าง ” (Ankusha-Eelephant Goad) ในพระหัตถ์ซ้าย 
.
พระคเณศสองกรหินทรายสีเขียว จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยามี พระกรรณใหญ่บานออกด้านข้าง สวมอุณหิสทรงเทริดมีกระบังครอบ ยอดรัดเกล้าทรงกระบอกสอบเป็นกรวย คล้องสายยัชโญปวีต (Yajñopavīta)  เป็นสายตัวนาคมีพระเศียรอยู่ตรงพระอุระ พระหัตถ์ขวาถืองาหัก พระหัตถ์ว้ายถือ “ถ้วยโมฑกะพัตรา” (Modakapātra) มีส่วนปลายงวงติดอยู่ ประทับในท่าชันเข่าไขว้ข้อพระบาทแบบ “โยคาสนะ” (Yogāsana) มีสายนาคเป็นสายโยคปัฏฏ์ (Yogapaṭṭa) รัดพระชงฆ์ทั้งสองข้าง (ตามคติการทรมานเพื่อบำเพ็ญตนของฝ่ายไศวะนิกาย) นุ่งภูษสมพตสั้น มีริ้วผ้าเป็นลายเส้น อาจถูกสลักขึ้นในกลางพุทธศตวรรษที่ 21 ช่วงสมัยสมเด็จพระรามิบดีที่ 2 เพื่อประดิษฐานในพระเทวาลัย (ศาลพระกาฬ) ครับ 
.
ประติมากรรมพระคเณศ 4 พระกรหินทรายสีเขียวอีกรูปหนึ่งที่จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีความสูง 110 เซนติเมตร พระกรรณใหญ่บานออกด้านข้าง แต่แตกหักเสียหายทั้งหมด สวมอุณหิสศิราภรณ์ทรงเทริดมีกระบัง  ยอดรัดเกล้าทรงกรวยแหลมแยกแบบเป็นชั้น ๆ ที่เรียกว่า “การัณฑมงกุฎ” มีรูปดอกไม้ ทรงข้าวหลามตัดที่กลางพระนลาฏ คล้องสายยัชโญปวีตเป็นสายนาคมีพระเศียรอยู่ตรงพระอังสาซ้าย พาหุรัดรูปนาคทั้งสองพระกร นั่งยกชันเข่าข้างขวาในท่า “มหาราชะลีลาสนะ” (Mahārājalīlāsana) พระหัตถ์ขวาถืองาหัก (แตกหัก) พระหัตถ์ซ้ายถือ “ถ้วยโมฑกะพัตรา” (สภาพแตกหัก แต่มีส่วนงวงโค้งตวัดเข้าไปหาตามขนบศิลปะการถือถ้วยขนมโมทกะ) ส่วนพระกรหลังแตกหักออกไปทั้งหมด 
.
*** รูปพระคเณศ 4 กร ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม มีองค์ประกอบทางศิลปะแบบเดียวกับรูปพระคเณศ 4 กร ที่ประดิษฐานอยู่ภายในอาคารหลังกลาง เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ กรุงเทพมหานคร ด้านข้างซ้ายของรูปพระคเณศสำริดประธานทั้งสองรูปมีลักษณะทางศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากงานศิลปะราชวงศ์วิชัยนครา(Vijayanagara) ในอินเดียใต้ (พระอุทรอ้วนใหญ่ พระกรรณแผ่ออกข้าง มี 4 พระกร นั่งในท่ามหาราชาลีลาสนะ สวมการัณฑมงกุฎ มีมวยเกศาด้านหลังเป็นรูปพวงดอกไม้) ผสมผสานกับศิลปะแบบอยุธยา ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 21 เป็นอย่างเร็วครับ  
.
*** ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีหลักฐานการนับถือพระคเณศอย่างชัดเจน ดังปรากฏความในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กล่าวถึงการโปรดให้หล่อรูปพระพิฆเนศวร์ ในฐานะ “พระเทวกรรม” บรมครูแห่งคชศาสตร์ “...แลในปีวอก (จ.ศ. 1018 พ.ศ. 2199 ) นั้น ตรัสให้หล่อรูปพระเทวกรรม สูงประมาณศอกมีเศษพระองค์หนึ่ง สวมทองเครื่องอาภรณ์ประดับแหวนถมราชาวดี...”  รวมทั้งยังโปรดให้หล่อรูปประติมากรรมสำริดตามคติฮินดูองค์อื่น ๆ “...พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว บำเพ็ญพระราชกุศลนานาประการ แลให้หล่อรูปพระอิศวรเป็นเจ้ายืน สูงศอกคืบมีเศษ พระองค์หนึ่งรูปพระษิวาทิตย์ยืนสูงศอกมีเศษพระองค์หนึ่ง รูปพระมหาวิคเนศวรพระองค์หนึ่ง รูปพระจันทรธรณีศวรพระองค์หนึ่ง และ รูปพระเจ้าทั้งสี่พระองค์นี้ สวมด้วยทองนพคุณและเครื่องอาภรณ์ ประดับนั้นถมราชวดี ประดับแหวนทุกพระองค์ ไว้บูชาสำหรับการพระราชพิธี...”
.
“... ครั้นปีระกานพศก (จ.ศ. 1019 พ.ศ. 2200) ทรงพระกรุณาตรัสให้หล่อพระเทวกรรมทองยืน สูงศอกหนึ่ง หุ้มด้วยทองเหนือแล้ว และเครื่องอาภรณ์นั้นถมราชาวดีประดับด้วยแหวน ไว้สำหรับการพระราชพิธีคชกรรมสืบไป...”
.
*** ซึ่งรูปประติมากรรมสำริด พระพิฆเนศวร์-พระเทวกรรม ที่หล่อขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ควรเป็นรูปพระคเณศสำริด 2 พระกร พระหัตถ์ขวาถืองาหัก ส่วนของในพระหัตถ์ซ้ายหายไป (ซึ่งก็ควรถืออังกุศ-ขอสับช้าง) ที่ประดิษฐานเป็นองค์ประธานในอาคารหลังกลาง เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ที่ย้ายมาจากเทวาลัยในกรุงศรีอยุธยานั่นเองครับ
เครดิต ; FB
วรณัย  พงศาชลากร
EJeab  Academy

ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs links 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


วันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

นางอัปสรา พิพิธภัณฑ์แห่งชาติพระนคร

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.
เสาซุ้มประตูติดผนัง กับ “นางอัปสรา-พระทวารบาล”ปริศนา ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
ในห้องจัดแสดงโบราณวัตถุในงานศิลปะเขมรโบราณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร มีเสาซุ้มประตูติดผนังหินทราย สลักเป็นรูปของ “นางอัปสรา” (Apsarā) ถือดอกบัว ส่วนด้านข้างเป็นรูป “พระทวารบาล” (Dvārapāla) “พระนันทิเกศวร-พระนนฺทีศะ” (Nandikeśvara) พระทวารบาลในรูปพระพักตร์เทพเจ้าถือคทาวุธ (กระบอง)  โดยมีลายกระหนกพุ่มดอกไม้แตกใบแฉกต่อเนื่องขึ้นไปด้านบน
.
เสาซุ้มประตูติดผนังถูกอธิบายว่ามาจากปราสาทหินพิมาย แต่ก็เป็นที่น่าสงสัย ด้วยเพราะไม่เคยปรากฏ รูปลักษณ์ทางศิลปะของนางอัปสรา ที่นิยมกันในฝ่าย “ไวษณพนิกาย” (Vaishnavism –Vishnuism) ในงานศิลปะแบบปราสาทพิมาย ช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 17 แล้วรูปนางอัปสรา-พระทวารบาลบนเสาซุ้มประตูชิ้นนี้ ควรมาจากไหนกันแน่ 
.
ซึ่งเมื่อหากพิจารณาแบบแผนทางศิลปะที่ใกล้เคียงกันมากที่สุดเป็นอันดับแรก ก็คงต้องเริ่มจากรูปนางอัปสรา-พระทวารบาลบนเสาซุ้มประตูฝั่งทิศเหนือปราสาทประธานที่ “กลุ่มปราสาทศีขรภูมิ” (ปราสาทระแงง - ต้นติ้ว) ปราสาทก่ออิฐ 5 หลัง จังหวัดสุรินทร์ เป็นภาพสลักนางอัปสราถือดอกบัวหยอกเย้ากับนกแก้ว สลักอยู่บนเสาเดียวกับรูปพระทวารบาลครับ
.
จากภาพถ่ายเก่าหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ครั้งที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  เสด็จเยือนสุรินทร์โดยรถไฟ ในปี พ.ศ. 2472 ได้แสดงให้เห็นว่า ซุ้มประตูติดผนังที่สลักด้วยหินทราย 5 ส่วน ทั้งบัวเชิงเสา เสาซุ้มประตู บัวหัวเสา คานหินรับหน้าบันและรูปนาคปลายหน้าบัน ที่จะใช้ประกบเข้ากับช่องกรอบประตูด้านหน้าปราสาทเป็น “ซุ้มประตูติดผนัง” คงเหลือสมบูรณ์อยู่เฉพาะที่ตัวปราสาทประธานเท่านั้น ส่วนอีก 4 หลัง คงเหลือเฉพาะบัวเชิงเสา บัวหัวเสา รวมทั้งหัวนาคปลายหน้าบันและคานหินรับหน้าบันไม่กี่ชิ้น แต่ไม่มีเสาซุ้มประตูที่มีรูปนางอัปสรา-พระทวารบาลหลงเหลืออยู่เลย 
.
เสาซุ้มประตูชิ้นนี้ จึงน่าจะเป็นชิ้นส่วนซุ้มประตูติดผนังของปราสาทบริวารองค์ใดองค์หนึ่งของปราสาทศีขรภูมิ ครับ
.
*** แต่ ... ก็ปรากฏซุ้มประตูติดผนังที่ประกอบด้วย บัวหัวเสา คานรับหน้าบันและนาคปลายหน้าบัน จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย ที่ไม่ระบุที่มาอย่างชัดเจน มีเพียงคำอธิบายว่า นายอำเภอปรางค์กู่มอบให้ ที่เมื่อดูแบบผิวเผินแล้ว มีรูปแบบงานศิลปะเดียวกับซุ้มประตูของปราสาทประธานของปราสาทศีขรภูมิ 
.
อีกทั้งเมื่อพิจารณาลวดลายกระหนกพุ่มดอกไม้ต่อเนื่องที่เหลืออยู่ของส่วนปลายด้านล่างของบัวหัวเสา กับลวดลายของเสาซุ้มประตูที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร จะเห็นได้ชัดเจนว่ามีลวดลายเดียวกัน โดยมีก้าน 3 ข้อขึ้นมาจากดอกไม้ 4 กลีบ แตกยอดเป็นพุ่มสามเหลี่ยมคล้ายดอกบัว แตกก้านเป็นดอกปลายบานแบบรูปพัดทั้งสองด้าน ด้านล่างทั้งสองฝั่งเป็นกลุ่มก้านและใบขดในกรอบใบไม้แหลมเฉียงแยกลงทางด้านล่างทั้งสองฝั่ง เป็นแม่ลายหลักที่ต่อเนื่องขึ้นด้านบนเหมือนกัน
.
ทั้งยังมีรูปสลัก “ครุฑเหินไขรา” ที่บริเวณมุมลวดบัวหงายใหญ่ ที่สลักเป็นกระหนกบัวรวน-พุ่มใบขดอย่างวิจิตรและลายกลีบใบไม้ 4 ใบ ในกรอบสี่เหลี่ยมหรือดอกไม้ X และลายกลีบบัวหงายของส่วนบัวหัวเสา ที่เป็นการจัดวางลวดลายในแบบแผนเดียวกันทั้งหมด
.
จึงน่าจะเป็นการยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า เสาซุ้มประตูที่ พช.พระนคร รวมทั้งชิ้นส่วนซุ้มประตูที่ พช.พิมาย ควรเป็นชิ้นส่วนซุ้มประตูติดผนังของปราสาทบริวารองค์ใดองค์หนึ่งของปราสาทศีขรภูมิเช่นเดียวกันครับ
.
*** แต่.... เมื่อได้กลับมาพิจารณาชิ้นส่วนคานรับหน้าบันที่หักครึ่งชิ้นหนึ่ง วางจัดแสดงกลางแจ้งอยู่ที่ตัวปราสาทศีขรภูมิ ที่มีรูปแบบเดียวกับการเข้าหินของคานรับหน้าบันกับหัวนาคปลายหน้าบันของปราสาทประธาน   ก็จะพบว่ามีความแตกต่างไปจากชิ้นส่วนซุ้มประตูที่ พช.พิมาย ทั้งร่องคานหินรับหน้าบันที่แคบกว่า การวางลวดลายกรอบคอสองและการเข้าหินหัวนาคที่รูปมกรก็แตกต่างกันอย่างชัดเจน ถึงแม้ว่าจะมีส่วนคล้ายคลึงกันในลวดลายสลักบางส่วนก็ตาม
.
*** ชุดหินซุ้มประตู (ติดผนัง) ที่รวมถึงรูปนางอัปสรา-พระทวารบาลนี้ จึงไม่น่าใช่ซุ้มประตูของปราสาทบริวารองค์ใดองค์หนึ่งของปราสาทศีขรภูมิแล้วครับ
.
หรือซุ้มประตูแบบประกบติดผนังที่มีรูปนาคอัปสรา-พระทวารบาลชุดนี้ (ทั้งจาก พช.พระนคร-พช.พิมาย) จะมาจาก “ปราสาทปรางค์กู่” กลุ่มปราสาท 3 หลัง หันหน้าไปทางตะวันออกบนฐานไพทีศิลาแลงเดียวกัน 
ที่อยู่ห่างจากปราสาทศีขรภูมิไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 23 กิโลเมตร ในเขตอำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ตามข้อมูลที่ระบุว่า นายอำเภอปรางค์กู่เป็นผู้มอบให้ 
.
*** แต่ .... เมื่อได้มาพิจารณาองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของปราสาทปรางค์กู่จะพบว่า ปราสาทประธานและปราสาทหลังทิศใต้ที่ก่อสร้างด้วยอิฐในช่วงศิลปะแบบปราสาทบาปวน ต้นพุทธศตวรรษที่ 17  ในขณะที่ปราสาทฝั่งทิศเหนือก่อตัวเรือนด้วยหินศิลาแลงแตกต่างไปจากหลังอื่นอย่างชัดเจน ซึ่งก็อาจถูกสร้างขึ้นภายหลังในช่วงกลางถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 17 ในงานศิลปะแบบปราสาทพิมาย ตามรูปแบบทับหลังตอน “ศึกอินทรชิต” ที่องค์รามและองค์ลักษมัณกับเหล่าวานรถูกศรนาคบาศมัดไว้ ที่พบครับ 
.
ซึ่งผนังยกเก็จด้านหน้าของปราสาทประธานหลังกลางและปราสาทฝั่งทิศใต้ ยังคงปรากฏร่องรอยการก่ออิฐขึ้นเป็นส่วนประกอบของซุ้มประตูทั้งหมดแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องใช้ซุ้มประตูประกบติดผนังแต่อย่างใด แต่ปราสาทบริวารหลังทางทิศเหนือที่เป็นศิลาแลง ยังคงปรากฏร่องรอยการเว้นช่องสำหรับประกบซุ้มประตูติดผนังเหลือให้เห็นอยู่ รวมทั้งร่องรอยของเส้นลวดฐานบัวเชิงต่อเนื่องต่อจากหินซุ้มประตูออกไป (ชิ้นส่วนหินบัวเชิงซุ้มประตูอีก 2 ชิ้น ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ก็อาจนำมาจากปรางค์กู่เช่นเดียวกัน)
.
ถ้ากลุ่มรูปประติมากรรมซุ้มประตูหินทราย เคยประดับอยู่ที่ปราสาทบริวารทิศเหนือของปราสาทปรางค์กู่ ก็อาจได้แสดงว่า ในช่วงที่มีการสร้างปราสาทศีขรภูมิ ปลายพุทธศตวรรษที่ 17 นั้น ช่างแกะสลักหินงานประดับจากปราสาทศีขรภูมิคงได้เดินทางเข้ามาบูรณปฏิสังขรณ์ปราสาทปรางค์กู่ และปรางค์กู่สมบูรณ์ ชุมชนสฺรุกตามเส้นทางโบราณในยุคก่อนหน้าที่อยู่ไม่ห่างไกลออกมามากนัก    
.
**** แต่... ชิ้นซุ้มประตูประกบติดผนังก็อาจจะมาจากปราสาทหลังอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ทั้งปราสาทศีขรภูมิและปราสาทปรางค์กู่ แต่จะเป็นที่ไหน ก็คงต้องหาหลักฐานมา “มโน” กันต่อไปในอนาคตครับ
เครดิต ; FB
วรณัย  พงศาชลากร
EJeab  Academy

ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs links 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


สุภัททปริพาชก

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.

สุภัททปริพาชก
ขณะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรรทมอยู่ระหว่างต้นสาละคู่ในเมืองกุสินาราก่อนทรงดับขันธ์ปรินิพพาน มีปริพาชกนามว่า สุภัททะ ทราบข่าวว่าพระองค์จะปรินิพพาน จึงปรารถนาเข้าเฝ้าเพื่อทูลถามข้อข้องใจ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้เข้าเฝ้า และทรงแสดงพระธรรมเทศนา คือ อริยมรรคมีองค์ 8 และทรงย้ำว่าตราบใดที่สาวกของพระองค์ปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ 8 อย่างถูกต้อง โลกนี้จะไม่ว่างจากพระอรหันต์ สุภัททปริพาชกเลื่อมใส ทูลขออุปสมบทและบรรลุอรหันตผลในราตรีนั้น นับเป็นพุทธสาวกองค์สุดท้ายที่ได้เป็นอรหันต์ทันพระชนชีพของพระพุทธองค์
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs links 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


วิสาขปุรณมีบูชา

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.
วันนี้ วันพระใหญ่ 
พุทธศิลป์จิตรกรรมฝาผนัง “วิสาขปุรณมีบูชา” ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย
"การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" การกระทำบุญกุศลในวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือนวิสาขะหรือเดือนหก ( ในปีนี้มีเดือน 8 สองหน จึงเลื่อนมาเป็นวันเพ็ญเดือน 7  ตามปฏิทินจันทรคติไทย) เป็นกลบทที่ถูกกำหนดขึ้น เพื่อเตือนสติให้พุทธศาสนิกชนจากทุกนิกายความเชื่อ ได้ร่วมกันรำลึกและทบทวนถึงพระธรรมคำสอนอันบริสุทธิ์ ที่ได้อธิบายถึงแก่นพระธรรมความจริงแท้แห่งวัฏสงสารของความเป็นมนุษย์ จากเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติ 3 เหตุการณ์ ถูกนำมากำหนดรวมไว้ในช่วงเดือนเดียวกัน คือพุทธประวัติตอนประสูติ ตอนตรัสรู้ และการเสด็จดับขันธปรินิพพานของพระสมณโคตมพุทธเจ้า เพื่อมาใช้เป็นตัวอย่าง แสดงถึงการเกิดมีชีวิตขึ้นมาของปุถุชนบนโลก การมีชีวิตที่มีคุณค่าแก่โลกและความตายที่จะกลายเป็นความว่างเปล่า คงเหลือไว้แต่ความดีงามที่ได้กระทำไว้ให้กับผู้อื่นครั้งที่ยังมีชีวิต
.
*** ในคติความเชื่อทางพุทธศาสนา การประสูติของพระพุทธเจ้านั้น เกิดขึ้นที่ใต้ร่มสาลพฤกษ์ ในพระราชอุทยานลุมพินีวัน เมืองกบิลพัสดุ์ ซึ่งในยุคเริ่มแรกจะนิยมสร้างงานพุทธศิลป์เป็นรูป “พระพุทธบาทคู่” เป็น สัญลักษณ์แทนการประสูติ ต่อมาจึงพัฒนามาเป็นรูปพระนางมายาเหนี่ยวกิ่งต้นสาละ โดยมีรูปพระกุมารสิทธัตถะประสูติออกจากพระปรัศว์ (สีข้าง) เบื้องขวา  
.
*** ในพุทธประวัติตอนตรัสรู้ บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ เกิดขึ้น ณ ใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เมืองพุทธคยา ที่ในยุคก่อนมีการสร้างรูปเหมือนนั้น นิยมทำรูปต้นศรีมหาโพธิ์ (Sri Mahabodhi) ประดับประดาด้วยถนิมพิมพาภรณ์ เครื่องหอมดอกไม้มาลัย ต่อมาเมื่อเกิดงานศิลปะเป็นรูปบุคคล จึงมีการสร้างเป็นรูปพระพุทธรูปปางสมาธิบนดอกบัวใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ และพัฒนาทมาเป็นรูปพระพุทธเจ้าประทับนั่งใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ ในท่าภูมิสปรรศมุทรา (Bhumisparsha mudra) หรือปางมารวิชัย “การแจ้งแก่แผ่นดินโลกให้เป็นประจักษ์ในชัยชนะเหนือมาร” (Earth Bearing Witness)   
.
*** ในการเสด็จดับขันธปรินิพพานนั้นเกิดขึ้น ณ สาลวโนทยาน พระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา เติมเดิมนั้นจะสร้างงานพุทธศิลป์เป็นรูป “สถูปเจดีย์” (Stupa) ต่อมานิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปนอน–ปางมหาปรินิพพาน-นิรวาณ (Reclining Buddha MahaParinirvana-Nirvana) ขึ้นแทนความหมายของการเสด็จสู่มหาปรินิพพาน
.
-------------------------------
*** งานพุทธศิลป์ “จิตรกรรมฝาผนัง” (Mural painting)  ตามพุทธประวัติตอนประสูติ ตรัสรู้และมหาปรินิพพาน ในวัน “วิสาขปุรณมีบูชา”ที่พบในประเทศไทย ที่จัดได้ว่ามีความเก่าแก่ที่สุดและหลงเหลือเป็นหลักฐานให้พบเห็น คงเป็นภาพจิตรกรรมในห้องกรุใต้ดินของพระปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ ที่มีอายุในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 และภายในห้องครรภธาตุของปรางค์ประธานวัดมหาธาตุราชบุรี ที่มีอายุในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 21 ทั้งสองแห่งวาดภาพจิตรกรรมตามคติ “คัมภีร์พุทธวงศ์” ของฝ่ายเถรวาทลังกาวงศ์เดียวกัน โดยภาพจิตรกรรมที่ปรางค์ราชบูรณะยังคงเหลือเป็นเค้าโครงภาพให้เห็นมากกว่า เขียนเป็นภาพพระอดีตพุทธเจ้า 24 องค์ จาก 12 กัลป์ โดยมีภาพพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าสมณโคตมในช่องกรอบเส้นลวด ทั้งแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสและแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า จำนวน 30 ช่อง โดยใช้ภาพพระพุทธบาท 4 รอย และช่อดอกไม้ทั้ง 3 หรือตรีรัตนะแทนการประสูติ  ภาพตอนตรัสรู้ ภาพตอนพญามารทูลเสด็จให้พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานและภาพตอนเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน อีกทั้งภาพตอนเสวยวิมุตติสุข ภายหลังจากการตรัสรู้ และภาพของพระอสิติมหาสาวก “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” 80 องค์ครับ  
.
*** ภาพจิตรกรรมฝาผนังตอนประสูติที่มีความเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย แบบที่ยังคงมองเห็นเป็นภาพสมบูรณ์ เขาถึงได้โดยง่ายในปัจจุบัน เป็นภาพจิตรกรรมภายในอุโบสถของวัดเกาะแก้วสุทธาราม ริมแม่น้ำเพชรบุรีฝั่งตะวันออก ด้านทิศใต้ของตัวเมืองเพชรบุรี ในเขตตำบลท่าราบ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ที่ตามหลักฐานจารึกระบุว่าสร้างขึ้นในสมัยช่วงพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ  ช่วงปี พ.ศ. 2277 แสดงภาพพระนางสิริมหามายาโน้มกิ่งสาระ โดยมีภาพพระกุมารในกรอบพื้นแดงบนพานแว่นฟ้าใกล้กับพระปรัศว์ด้านขวา มุมบนซ้ายเป็นภาพท้าวมหาพรหมถือร่มฉัตร อัญเชิญพระกุมารเสด็จลงมาจุติ โดยมีภาพพระอินทร์เป่าสังข์ทางด้านขวา ด้านล่างเป็นภาพข้าบาทบริจาริกานางในและผู้ติดตามฝ่ายบุรุษ  
.
ภาพพุทธประวัติตอนตรัสรู้ ที่เก่าแก่ที่สุดแบบที่ยังพอเหลือให้มองเห็นภาพได้ เป็นภาพมารผจญของผนังสกัดภายในอุโบสถวัดช่องนนทรี แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร  อายุการวาดประมาณช่วงรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต้นพุทธศตวรรษที่ 23 ซึ่งเป็นพุทธประวัติตอน “ผจญมาร” (Assualt of Mara)  แสดงปางมารวิชัย  ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ก่อนการตรัสรู้ ซึ่งในขนบแบบแผนงานประกอบศิลป์ของไทย รูปลักษณ์ตอนตรัสรู้จะหมายถึงพระพุทธรูปที่เป็นรูปประติมากรรมประธานประธานในอุโบสถ จึงไม่มีภาพจิตรกรรมตอนช่วงตรัสรู้โดยตรง แต่จะนิยมวาดเป็นรูปตอนผจญมารไว้บนผนังสกัดหุ้มกลองแทนครับ
.
ภาพพุทธประวัติตอนปรินิพพาน ไม่หลงเหลือให้พบเห็นแล้วในงานศิลปะอยุธยา ภาพที่เก่าแก่ที่สุดและยังสามารถมองเห็นภาพได้ในปัจจุบัน  จึงเป็นภาพพุทธประวัติก่อนปรินิพพานที่ “พระที่นั่งสุทธาสวรรย์” หรือ “พระที่นั่งพุทไธสวรรย์” ภายในพระราชวังบวรสถานมงคล กรุงเทพมหานคร ที่วาดขึ้นในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์แต่ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในช่วงรัชกาลที่ 3  เป็นภาพตอนที่พระพุทธเจ้ากำลังประชวรหนักใกล้จะดับขันธ์ปรินิพพาน บรรทมอยู่ระหว่างต้นสาละคู่ในเมืองกุสินารา นายสุภัททะปริพาชก ได้เข้ามาเพื่อทูลถามข้อข้องใจในพระธรรม แต่พระอานนท์เห็นว่าจะเป็นการรบกวนพระพุทธองค์ จึงห้ามไว้ไม่ให้เข้าเฝ้า  “..อย่าเลยสุภัททะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงลำบากมากแล้ว อย่าได้เบียดเบียนพระตถาคตอีกเลย...” แต่พระพุทธเจ้าได้อนุญาตให้สุภัททะปริพาชกเข้าเฝ้า ทรงแสดงพระธรรมจนสุภัททปริพาชกบังเกิดปิติเลื่อมใสทูลขออุปสมบท ทรงเอหิภิกขุอุปสัมปทาให้เป็น "พระสุภภัททะ" และได้บรรลุอรหันตผลในคืนปรินิพพานนั้น เป็นปัจฉิมสักขิสาวก หรือสาวกองค์สุดท้ายของพระพุทธเจ้าครับ 
.
*** ขอผลบุญกุศลในความรู้เพื่อการสืบทอดพระศาสนา ในวันวิสาขปุรณมีบูชาปีนี้ จงมีสวัสดิมงคลแก่ทุก ๆ ท่านครับ
เครดิต ; FB
วรณัย พงศาชลากร
EJeab Academy

ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs links 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

พระพุทธมหาจักรพรรดิ์วัดนางนอง

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.
พระพุทธมหาจักรพรรดิ (พระหน้าหุ่น)
และงานศิลปะไทยจีนสมัยรัชกาลที่ 3 ที่วัดนางนองฯ
วัดนางนองวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าเสือแห่งกรุงศรีอยุธยา ราวปี พ.ศ. 2245–2252 ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ รัชกาลที่ 3 ได้โปรดให้บูรณะปฏิสังรณ์ขึ้นใหม่ และสถาปนาเป็นพระอารามหลวง ประกอบพิธีผูก พัทธสีมาพระอุโบสถเมื่อ พ.ศ. 2384 
.
วัดนางนอง โดดเด่นด้วยศิลปะไทยผสมจีน อันเป็นพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 มีการก่ออิฐถือปูนเป็นซุ้มประตูแบบจีน หน้าบันลวดลายปูนปั้นวิจิตรงดงาม มีการประดับกระเบื้องเคลือบตามส่วนต่างๆของวัด ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังอันสวยงาม เป็นลายไทยและจีน ได้แก่ ลายฮกลกซิ่วที่เบื้องหน้าพระประธาน ลายค้างคาวที่ขอบหน้าต่าง ลายวรรณกรรมจีนเรื่องสามก๊ก โดยเขียนเป็นลายกำมะลอ (เขียนสีบนรักแบบจีน) และยังมีลายไทยในลักษณะของลายรดน้ำ (ลงรักปิดทอง) บนบานประตู เช่น ลายครุฑ ลายนาค ฯลฯ และเนื่องจากพระประธานเป็นพระทรงเครื่องมหาจักรพรรดิราช จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถและหน้าต่างจึงเป็นภาพเกี่ยวข้องกับพระจักรพรรดิราช นอกจากนั้นลวดลายรดน้ำปิดทองประดับบนบานประตูทั้ง 4 บาน รอบพระอุโบสถแสดงรูปแก้วทั้ง 7อันเป็นสมบัติของพระจักรพรรดิราช
.
พระพุทธมหาจักรพรรดิ พุทธศิลป์ชิ้นเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 
พระพุทธมหาจักรพรรดิ เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง ปางมารวิชัย พระพักตร์เป็นพุทธศิลป์สมัยสุโขทัย โดยมีฉายาว่า “พระหน้าหุ่น” เนื่องจากพระพักตร์คล้ายหุ่นหลวงฝีพระหัตถ์ของรัชกาลที่ 2 (ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร) เครื่องทรงและเครื่องประดับตกแต่งทุกชิ้น ประดิษฐ์ขึ้นด้วยฝีมือช่างอันวิจิตร แล้วจึงนำมาสวมบนองค์พระ ฐานชุกชีปั้นลายปิดทองประดับกระจก ถือเป็นงานประติมากรรมชิ้นเอก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีความงามอย่างวิจิตรอลังการเป็นทีสุด แต่มงกุฎของพระพุทธมหาจักรพรรดิองค์ที่สวมอยู่นี้เป็นองค์ที่ 2 องค์แรกนั้นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนยอดนภศูลพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม เมื่อครั้งทรงปฏิสังขรณ์พระปรางค์วัดให้สูงขึ้นจากเดิม
.
วัดนางนองวรวิหารมีพระปรางค์คู่ ถ้ามองจากคลองด่าน ซึ่งเป็นด้านหน้าวัด พระปรางค์คู่นี้จะขนาบพระเจดีย์ประธานไม้ยี่สิบ เยื้องลงไปด้านหลังเล็กน้อย องค์แรกอยู่หลังวิหารหลวงพ่อผุดเป็นพระปรางค์ด้านเหนือ องค์ที่สองอยู่หลังวิหารศาลาการเปรียญ เป็นพระปรางค์ด้านใต้ ลักษณะทรงแปดเหลี่ยมอยู่บนฐานกลมยอดนภศูล ซุ้มประตูและกำแพงแก้ว ล้อมรอบพระอุโบสถและเป็นเขตพุทธาวาส ทำซุ้มประตูยอดโค้ง มีอิทธิพลจีนผสมฝรั่ง จึงเป็นศิลปกรรมที่ผสมผสานความงามของหลากหลายอารยธรรมไว้อย่างงดงามลงตัว
พิกัดวัดนางนอง ;
76 ถนน วุฒากาศ แขวง บางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร

ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs links 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


วัดสระเกศ

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.


พระประธาน​พระอุโบสถ
วัดสระเกศ
เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จ​พระ​พุทธ​ยอด​ฟ้า​จุฬา​โลก​มหาราช​  ทรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าพระยา​มหากษัตริย์​ศึก ขณะยกทัพไปทำสงครามที่เขมร ได้ข่าวกรุงธนบุรีเกิดจลาจล จึงยกทัพกลับพระนคร ถึงชานพระนคร เสด็จ​เข้าโขลนทวารและสรงมูรธาภิเษก​ที่วัดสระแก วันรุ่งขึ้น​เสด็จไปประทับพลับพลาหน้าวัดโพธาราม เสด็จ​ลงเรือข้ามไปพระราชวังกรุงธนบุรี​ ทรงระงับทุกข์​เข็ญแล้ว เสนาพฤฒามาตย์เชิญเสด็จ​ขึ้นผ่านพิภพเป็นพระมหากษัตริย์
พระบาท​สมเด็จ​พระ​พุทธ​ยอด​ฟ้า​จุฬา​โลก​มหาราช​ทรงย้ายพระนครจากกรุงธนบุรี​ซึ่ง​อยู่​ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา​มาสร้างกรุงเทพฯในฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา
โปรดให้ขุด​คลองพระนคร จากวัดเชิงเลน (วัดบพิตร​พิมุข)​ ข้างใต้ มาวัดบางลำภู (วัดสังเวช)​ ทางข้างเหนือ ข้างวัดสระแกโปรดให้ขุดคลองมหานาค เป็นที่เล่นเพลงเรืออย่างกรุงเก่า และโปรดให้สถาปนาวัดสระแกเป็นพระอารามหลวง พระราชทานนามใหม่ว่า วัดสระเกศ
วัดสระเกศมีปูชนีย​วัตถุ​สถานสำคัญ​ คือ พระบรมบรรพต​ ที่ใครๆเรียก ภูเขาทอง มีพระ​อัฏฐ​า​รส​ในพระวิหารที่พระบาทสมเด็จ​พระนั่งเกล้าทรงอัญเชิญ​ลงมาจากเมืองพระ​พิษณุโลก​ และมีต้นพระศรี​มหา​โพธิ์​ที่เชิญ​มาจากเมืองอนุราธ​บุรี ประเทศ​ลังกาในสมัยรัชกาลที่ 2 ต้นพระ​ศรีมหาโพธิ​นี้ ทุกวันสงกรานต์ ​สำนักพระราชวังจะเชิญน้ำพระสุคนธ์​มารดถวาย ตลอดมาเป็นเวลา 200 ปีแล้ว
พระประธาน​พระอุโบสถ​วัดสระเกศ เป็นพระพุทธรูป​ปูนปั้น​ปางสมาธิ​ ศิลปะรัตน​โกสินทร์​ตอนต้น นัยว่าปั้นพอกพระประธาน​องค์​เดิมซึ่งเล็ก​ไปเมื่อสร้างพระอุโบสถ​ใหม่ในรัชกาลที่ 1
พระอุโบสถ​วัดสระ​เกศ​ เป็นโบสถ์​แบบรัชกาลที่ 1 คือมีฐานเตี้ย แต่เนื่องจากเป็นโบสถ์​ขนาดใหญ่​ จึงมีประตูกลาง โบสถ์​เตี้ยมีประตู​กลางนี้ ทำให้สามารถ​มองเห็นพระประธาน​จากนอกวัดได้ โดยมองทะลุประตูหน้าของกำแพงวัด มองทะลุ​ซุ้มประตูพระระเบียง และมองทะลุซุ้มประตู​หน้าของพระอุโบสถ​ ไม่มีที่ไหนเหมือน
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs links 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


วันพุธที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ตลาดทุเรียนในอดีต

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.
#ตลาดทุเรียนในอดีต
      ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นภาพเก่าเชื่อว่าหลายท่านอาจจะไม่เคยเห็น ภาพนี้ถ่ายราวปี​ พ.ศ.2442​หรือ​ 121 ปีก่อน

ทุเรียนไม่ใช่ผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย แต่เป็นพืชพื้นเมืองของบรูไน อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ตามบันทึกของเมอร์ซิเออร์ เดอลาลูแบร์ (Simon de la Loubère) นักบวชนิกายเยซูอิต หัวหน้าคณะราชทูตจากประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาในสยามสมัยสมเด็จพระนารายณ์ระบุว่ามีการปลูกทุเรียนกันแล้ว
.
ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) ได้กล่าวถึงการแพร่กระจายพันธุ์ของทุเรียน จากจังหวัดนครศรีธรรมราช มายังกรุงเทพฯ ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2318 และมีการทำสวนทุเรียนในตำบลบางกร่าง ในคลองบางกอกน้อยตอนใน มาตั้งแต่ พ.ศ. 2397
.
ในระยะต้น เป็นการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และพัฒนามาเป็นการปลูกด้วยกิ่งตอน จากพันธุ์ดี 3 พันธุ์ คือ อีบาตร ทองสุก และการะเกด ผู้ที่หากิ่งตอนจากพันธุ์ดีทั้ง ๓ พันธุ์ไม่ได้ ก็ต้องใช้เมล็ดของทั้ง 3 พันธุ์นั้นเป็นพันธุ์ปลูก ทำให้เกิดทุเรียนลูกผสมขึ้นมากมาย เป็นผลดีต่อการปรับปรุงพันธุ์ทุเรียนมาจนถึงปัจจุบันนี้
.
ตลาดทุเรียนที่ขึ้นชื่อของบางกอกในยุคก่อนก็คือ ตลาดทุเรียนบางลำพูมักมีชาวสวนจากคลองบางกอกน้อย แถบบางขุนนนท์ บางขุนศรี บางยี่ขันและนนทบุรี จะนำผลไม้นานาชนิด ล่องเรือมาตามคลองบางกอกน้อย เข้าสู่ปากคลองบางลำพู ตรงป้อมพระสุเมรุ มาที่ตลาดทุเรียนซึ่งตั้งอยู่เชิงสะพานนรรัตน์สถานฝั่งใต้ แถบร้านสมใจนึกในปัจจุบัน โดยจะขายผลไม้ต่างๆ โดยเฉพาะทุเรียนจะวางเป็นขายเป็นกองใหญ่ แล้วให้พ่อค้ามาซื้อตีราคาเหมาทั้งกอง เรียกว่า "ตีกอง" แล้วนำไปขายปลีกทั่วพระนคร
.
แหล่งปลูกทุเรียนดั้งเดิมนั้นอยู่ในเขตจังหวัดนนทบุรี ธนบุรี และกรุงเทพฯ ต่อมาเมื่อประสบปัญหาน้ำท่วมในบางปี และการขยายตัวของเมือง ทำให้พื้นที่สวนกลายเป็นที่อยู่อาศัย ชาวสวนจึงต้องหาแหล่งปลูกทุเรียนใหม่ ทำให้ทุกภาคของประเทศไทยสามารถปลูกทุเรียนได้ เช่น ภาคเหนือ ที่อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดนครพนม ศีรสะเกษ หนองคาย ภาคกลางที่จังหวัด อยุธยา ลพบุรี สระบุรี หรือแม้แต่กาญจนบุรี ภาคใต้ที่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นราธิวาส และ ตรัง และภาคตะวันอกที่จังหวัดจันทบุรี ระยอง ปราจีนบุรี และตราด เป็นต้น
เครดิต ;
https://www.facebook.com/fiftyplusthailand/

ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs links 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


วันวิสาขบูชา๒๕๖๔

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.

 #วันวิสาขบูชา ๒๕๖๔
ตรงกับวันพุธที่
26เมษายน2564
(ขึ้น15ค่ำ เดือน7 ปีฉลู)
     คำว่า วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" ดังนั้น วิสาขบูชา จึงหมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน 6
การกำหนดวันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 7 หรือราวเดือนมิถุนายน
อย่างไรก็ตาม ในบางปีของบางประเทศอาจกำหนด วันวิสาขบูชา ไม่ตรงกับของไทย เนื่องด้วยประเทศเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งที่ต่างไปจากประเทศไทย ทำให้วันเวลาคลาดเคลื่อนไปตามเวลาของประเทศนั้น ๆ
ประวัติวันวิสาขบูชาและความสำคัญของ วันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่เกิด 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวียนมาบรรจบกันในวันเพ็ญเดือน 6 แม้จะมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี ซึ่งเหตุการณ์อัศจรรย์ 3 ประการ ได้แก่...
1. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ
เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางแปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ครั้นพระกุมารประสูติได้ 5 วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ" แปลว่า "สมปรารถนา"
เมื่อข่าวการประสูติแพร่ไปถึงอสิตดาบส 4 ผู้อาศัยอยู่ในอาศรมเชิงเขาหิมาลัย และมีความคุ้นเคยกับพระเจ้าสุทโธทนะ ดาบสจึงเดินทางไปเข้าเฝ้า และเมื่อเห็นพระราชกุมารก็ทำนายได้ทันทีว่า นี่คือผู้จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงกล่าวพยากรณ์ว่า "พระราชกุมารนี้จักบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เห็นแจ้งพระนิพพานอันบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ทรงหวังประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก จะประกาศธรรมจักรพรหมจรรย์ของพระกุมารนี้จักแพร่หลาย" แล้วกราบลงแทบพระบาทของพระกุมาร พระเจ้าสุทโธทนะทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์นั้นทรงรู้สึกอัศจรรย์และเปี่ยมล้นด้วยปีติ ถึงกับทรุดพระองค์ลงอภิวาทพระราชกุมารตามอย่างดาบส
2. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ
หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี จนเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา เจ้าชายสิทธัตถะก็ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดของวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย
สิ่งที่ตรัสรู้ คือ อริยสัจสี่ เป็นความจริงอันประเสริฐ 4 ประการของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปที่ต้นมหาโพธิ์ และทรงเจริญสมาธิภาวนาจนจิตเป็นสมาธิได้ฌานที่ 4 แล้วบำเพ็ญภาวนาต่อไปจนได้ฌาน 3 คือ
ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ " คือ ทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่นได้
 ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือ การรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการมีตาทิพย์สามารถเห็นการจุติและอุบัติของวิญญาณทั้งหลาย
ยามสาม หรือยามสุดท้าย : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือ รู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน 6 ซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ 35 พรรษา
3. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป)
เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมเป็นเวลานานถึง 45 ปี จนมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 6 พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวายก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน
เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้ บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน 6 นั้น
เราทั้งหลายมาร่วมรำลึกถึงมาทำความดีด้วยการให้ทานรักษาศีลเจริญสมาธิภาวนา ตามแต่จะสะดวก
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs links 👆 
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.

วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ปราสาทหินหลังสุดท้าย

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.
ปราสาทหินหลังสุดท้าย (3)
   พระเจ้าอินทรวรมันที่ 3 หรือรู้จักกันในอีกพระนามหนึ่งคือ พระเจ้าศรีนทรวรมัน (พ.ศ. 1838-1851) ผู้เป็นลูกเขยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 ได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธเถรวาทแทน และน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างศาสนสถาน เนื่องในศาสนาพุทธเถรวาทขึ้น 
    ศาสนสถานพวกนี้ที่มีจุดเด่นอยู่ที่การสร้างวิหารขนาดใหญ่ ล้อมรอบด้วยใบเสมา มีพระประธานปางมารวิชัยเป็นประธาน และมีเจดีย์หรือปราสาทเป็นองค์ประกอบสำคัญ ซึ่งสะท้อนอิทธิพลที่ได้รับจากทางลังกา ทั้งหมดนี้แตกต่างจากแนวคิดเดิมของการสร้างปราสาทในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่เน้นปราสาทขนาดใหญ่ ไม่มีวิหาร และไม่มีใบเสมาประกอบ 
    วัดพุทธเถรวาทใต้แมกไม้เมืองนครธมภายใต้แมกไม้ใหญ่ที่ปกคลุมเมืองนครธมนั้น ความจริงแล้วมีวัดในศาสนาพุทธเถรวาทกระจายตัวอยู่มากกว่า 70 วัดด้วยกัน แต่ยังไม่ได้รับการขุดแต่งขุดค้นจำนวนของวัดที่มากเท่านี้สำคัญอย่างไร คือจากเดิมที่มักจะมองกันว่า หลังจากรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ลงมานั้น การก่อสร้างต่างๆ ในเมืองนครธมนั้นแทบจะไม่มี และมักจะกล่าวกันว่า ***ปราสาทหลังสุดท้ายที่สร้างในเมืองนครธมนั้นคือ ปราสาทมังคลธะ นั้นอาจต้องมาพิจารณากันอีกครั้ง
    เพราะความจริงแล้ว ประเพณีของการทำปราสาทนั้นยังคงสืบทอดต่อมา แต่เมื่อความเชื่อเปลี่ยน รูปแบบสถาปัตยกรรมก็ย่อมเปลี่ยนไปด้วย ดังนั้น จึงพบปราสาทบางหลังที่สร้างขึ้นใหม่ แต่มีขนาดย่อม และยังสร้าง ‘วิหาร’ หรือ ‘พระวิหาร’ เป็นจำนวนมาก ทั้งหมดนี้ยังไม่นับรวมปราสาทหลายหลังที่ถูกแปลงกลายเป็นวัดพุทธเถรวาท เช่นที่มีชื่อเสียงสุดที่คือ ปราสาทนครวัด
Cr : https://thestandard.co/khmer-architecture/

ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs links 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


จารึกแผ่นทองแดงเมืองโบราณอู่ทอง

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.
“จารึกแผ่นทองแดง” ปริศนาพระนามกษัตริย์อีศานปุระ ที่เมืองโบราณอู่ทอง
เมื่อราวกว่า 60-70 ปีที่แล้ว มีการขุดหาลูกปัดและวัตถุโบราณมากมายที่เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เริ่มต้นจากเนินพลับพลาบริเวณหน้าโรงพยาบาล บ้านวังขอน บ้านปลายน้ำ บ้านสะพานดำ บ้านนาลาว สะพานท่าพระยาจักร เนินหลังพิพิธภัณฑ์ วัดช่องลม ขยายตัวไปทั่วอำเภอและต่างอำเภอทั้งในเขตบ้านนาลาว บ้านหนองหลุม บ้านโคกสำโรง บ้านสะพานดำ บ้านดอนสุโข รวมไปถึง สวนแตง ดอนระฆัง ดอนเจดีย์ จนไปทั่วจังหวัดสุพรรณบุรี
.
ในระหว่างการขุดหาวัตถุโบราณบนเนินตรงข้ามโรงเรียนอู่ทองศึกษาลัย นางแถม เสือคำ เจ้าของที่ดินได้ขุดพบ “ม้วนแผ่นทองแดง” ซึ่งในบริเวณเดียวกันยังมีชาวบ้านคนอื่นขุดพบภาชนะดินเผาใส่เหรียญกษาปณ์จำนวนกว่า 70 – 80 เหรียญ มีทั้งเหรียญเงิน ทอง ทองแดงและสำริดขนาดต่าง ๆ  มีเหรียญรูปหอยสังข์ รูปหม้อน้ำปูรณะกลศ รวมทั้งเหรียญรูปอุณาโลม-หอยสังข์ รูปพระอาทิตย์อุทัย (ขึ้นที่ขอบฟ้าตะวันออก) ที่อีกด้านหนึ่งเป็นรูปสัญลักษณ์มงคลในคติฮินดู ทั้งรูปปราสาทศรีวัตสะ สวัสดิกะ พระอาทิตย์ พระจันทร์ กลองบัณเฑาะห์ - ฑมรุ" (Damaru) เหรียญรูปวัวแม่ลูกในคติแม่โคสรุภีและลูกวัวมโนรัตถะ อีกด้านเป็นจารึกตัวอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต อ่านว่า “ศฺรีทฺวารวดีศฺวรปุณฺย”ครับ 
.
ม้วนแผ่นทองแดงที่นางแถมขุดได้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้างยาว 28*42 เซนติเมตร  มีการจารอักษร จำนวน 6 บรรทัด เมื่อข่าวการพบม้วนแผ่นทองแดงที่มีจารึกแพร่สะพัดออกไป นายเจริญ ผานุช หัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ 2 จึงได้ติดต่อนางแถม เพื่อขอรับม้วนแผ่นทองแดงที่อาจมีความสำคัญดังกล่าวมาเป็นสมบัติของแผ่นดินในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2500 
.
ต่อมาได้มีการศึกษาและแปลความอักษรที่จารึกบนแผ่นทองแดง โดย ศาสตราจารย์ฉ่ำ ทองคำวรรณ  พบว่าเป็นอักษรหลังปัลลวะในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 - 14 ถอดเนื้อความตามภาษาสันสกฤตได้ว่า “...อากิรฺณฺณากิรฺณฺติปุญฺชสฺย ราชฺญศฺ ศฺรีศานวรฺมฺมณะ นปฺตา ศฺรีหรฺษวรฺมฺมาสฺ ลพฺสึหาสนะ กฺรมาตฺ นฺฤตฺตตฺฤรฺยฺยาทิสํปนฺนํ ศิวกํ รตฺนาทิฤษิตำ ส สาตปตฺรำ ปฺรหิโน จฺ ฉฺรีมทฺ มราตเกศฺวเร ปศุจาจฺ จ ศามฺภวโกศํ วรูปฺรกรไณรฺยุยตมฺ ส ศฺรีธาเรศฺวเร ททยา นุ นาฏฺยคีตาทิสงฺกลมฺ...”
.
 “..ศรีหรรษวรมัน เป็นพระราชนัดดาของศรีอีศานวรมันผู้ทรงพระเกียรติอันแผ่ไปทั่ว ผู้ได้รับสิงหาสนะมาโดยลำดับ พระองค์ได้ส่งศรีวิกาอันประดับด้วยรัตนะเป็นต้น พร้อมกับฟ้อนรำและดนตรีเป็นอาทิ เป็นทักษิณาถวายแด่ พระศรีมัตอัมราตเกศวร และภายหลังท้าวเธอได้ถวายของควรแก่การอุปกรณ์อันประเสริฐ และหมู่คนมีความสามารถในฟ้อนรำและขับร้องเป็นต้น แด่พระศิวลึงค์ ซึ่งแทนองค์ศรีธาเรศวร...”
.
ต่อมา “ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์” (George Coedès) ได้สันนิษฐานชื่อพระนาม “พระเจ้าอีศานวรมัน-ศฺรีศานวรฺมฺมณะ” ที่พบในแผ่นจารึกนี้ ว่าควรหมายถึงพระเจ้าอีศานวรมัน (Īśānavarmman)  กษัตริย์เมือง (รัฐ) อีศานปุระ (สมโปร์ไพรกุก) ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 12 ส่วนชื่อนาม “พระศรีมัตอัมราตเกศวร” คือพระนามของพระศิวลึงค์องค์สำคัญในช่วงก่อนยุคเมืองพระนครครับ
.
แต่ศาสตราจารย์ฌ็อง บัวเซอลีเยร์ (Prof. Jean Boisselier-ฝรั่งเศส) และ ดร.ควอริช เวลล์  (H. G. Quaritch Wales-อังกฤษ) มองว่า ชื่อพระนาม “ศรีหรรษวรมัน-ศฺรีหรฺษวรฺมฺมาสฺ” ในแผ่นจารึกทองแดง ควรเป็นพระนามของกษัตริย์ฮินดู-ไศวนิกาย (Shaivism) ในท้องถิ่นลุ่มน้ำจระเข้สามพัน ไม่น่าจะเป็นชื่อพระนามกษัตริย์จากเมืองอีศานปุระ  
.
*** จากข้อสันนิษฐานว่าเป็นชื่อพระนามของกษัตริย์ในท้องถิ่น สอดรับกับร่องรอยหลักฐานของกลุ่มศาสนสถานโบราณคอกช้างดิน ติดกับแนวเขาคอก-เขาถ้ำเสือ-น้ำตกพุม่วง ห่างไปทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองโบราณอู่ทองประมาณ 3 กิโลเมตร  เหนือคุ้งน้ำโค้งของแม่น้ำจระเข้สามพันที่ไหลขึ้นมาจากทางใต้ ที่ได้พบร่องรอยของฐานอาคารกว่า 18 จุด ระบบการจัดการน้ำด้วยคันดินสูง 4 แห่งตามแนวน้ำตกพุม่วง (ที่เรียกกันว่าคอกช้างดิน) อีกทั้งยังมีการพบรูปประติมากรรมพระศิวลึงค์ (Shiva Lingam) ทั้งเอกามุขลึงค์ (มีพระพักตร์ของพระศิวะยื่นออกมา) มุขลึงค์ (ศิวลึงค์แบบติดกับฐานโยณีโทริณี) ที่ล้วนเป็นรูปประติมากรรมในคติไศวะนิกาย-ปศุปตะ (Paśupata -Pashupata Shaivism) ที่ปรากฏหลักฐานมาตั้งแต่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 -12 ครับ
.
ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ยังได้การขุดพบเหรียญกษาปณ์จำนวน 9 เหรียญ ทั้งรูปหอยสังข์-ศรีวัตสะปราสาท (แบบมีรูปหม้อกลศ ปลา แซ่จารมร ขอช้าง พระอาทิตย์ กลองบัณเฑาะห์ – ฑมรุ) เหรียญพระอาทิตย์ขึ้น-ศรีวัตสะ เหรียญรูปแม่วัวลูกวัว-จารึก “ศฺรีทฺวารวดีศฺวรปุณฺย” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์มงคลในคติฮินดู และก้อนแร่เงินแบ่งขนาดขนาดต่าง ๆ จำนวน 38 ชิ้น บรรจุอย่างตั้งใจในภาชนะดินเผาทรงคนโท บนเนินกลุ่มฐานอาคารคชด.7 ซึ่งอาจได้แสดงถึงร่องรอยพิธีกรรมของมนุษย์เพื่อการวางศิลาฤกษ์ศาสนสถานด้วยสิ่งของมีค่าอย่างเงินกษาปณ์และแร่เงิน ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 - 13    
.
แต่ถึงแม้ว่าจะมีร่องรอยของกลุ่มศาสนสถานในคติฮินดู-ปศุปตะ ที่อาจมีอายุเก่าแก่ไปถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 – 12 ก่อนอายุอักษรที่พบในจารึกแผ่นทองแดงในบริเวณใกล้เคียงเมืองโบราณอู่ทองก็ตาม แต่ในช่วงหลังปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา ได้มีการพบเหรียญกษาปณ์ที่เป็นจารึกเป็นอักษรหลังปัลลวะ ภาษาสันสกฤต มีคำว่า “ศฺรี” ในกรอบวงกลม ล้อมรอบด้วยอักษรที่เรียงเป็นคำว่า “ศานว(รฺ)มฺนาถะ” อีกด้านหนึ่งอ่านว่า “อาชญา” ที่หมายถึง “อาญา-อำนาจ” อีกเป็นจำนวนมากในเขตเมืองโบราณอู่ทองครับ
.     
รูปแบบและการเรียงอักษร “ศรี ศานว(รฺ)มฺ ...” บนเหรียญ มีความคล้ายคลึงกับการวางรูปและเรียงอักษรของ “ศฺรีศานวรฺมฺ...” ที่ปรากฏอยู่บนจารึกแผ่นทองแดง ที่มีอายุอักษรอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-14  ประกอบกับคำว่า “อาชญา-อาญา” อีกด้านหนึ่งของเหรียญ อาจเป็นหลักฐานแสดงว่า ชื่อนาม “ศรีอีศานวรมัน” นั้น เป็นพระนามของผู้มีอำนาจในเขตพื้นที่เมืองโบราณอู่ทองในช่วงระยะเวลานี้    
.
เมื่อเปรียบเทียบชื่อพระนามศรีอีศานวรมันจากจารึกกรอบประตู “ปราสาทเดิมเจร็ย” (Daem Chrei – ต้นไทร-N.18) เมืองสมโบร์ไพรกุก จังหวัดกำปงธม และจาก “จารึกกรอบประตู K.1419” ที่พบจากตรุเปรียงคะตำ (Trupeang Khtum) เขตบาเส็ท (Baset) จังหวัดกำปงสปือ (Kompong Speu) ที่มีอายุในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 12  ก็จะพบว่า มีความแตกต่างเฉพาะการวางอักษร “รี” หลังอักษร “ศ” ที่ทางอู่ทองนิยมใช้เส้นต่อแบบไม้ม้วนไว้ด้านหลังอักษร “ศ” แต่ตัวอักษรอื่นก็ยังคงวางเรียงสะกดตามแบบภาษาสันสกฤตเหมือนกัน รวมทั้งการไม่ปรากฏอักษร “อิ” นำหน้า “ศาน” และ อักษร “ร” ต่อ อักษร “ว” ในคำว่า “วรฺมฺ” แบบเดียวกันครับ
.
*** จึงเป็นไปได้ว่า ในช่วงกลาง-ปลายพุทธศตวรรษที่ 12 พระเจ้าอีศานวรมัน (ผู้ทรงพระเกียรติแผ่ไปทั่ว- ผู้ทรงเป็นราชาเหนือเหล่าราชา ในจารึก ษ.1419) จากกลุ่มลูกครึ่งIndianizations/อินเดียเมืองอีศานปุระ อาจได้เคยมีอิทธิพลทั้งในด้านความเชื่อและการเมือง เชื่อมโยงสนับสนุนกับกลุ่มชุมชนฮินดูไศวะนิกายที่เป็นกลุ่มเครือญาติสาแหรกหนึ่ง ที่ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่เชิงเขา (คอกช้างดิน) ในเขตเมืองโบราณอู่ทอง ดังปรากฏพระนามในเหรียญกษาปณ์ จนมาถึงช่วงประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 13 พระนัดดาที่มีนามว่าหรรษวรมมะ (ไม่ได้เป็นกษัตริย์) ได้เดินทางมานมัสการพระศิวลึงค์ (พระศรีมัตอัมราตเกศวร) ที่เป็นพระศิวลึงค์เก่าแก่ในยุคพระเจ้าอีศานวรมัน ได้เคยนำมาประดิษฐานไว้ พร้อมถวายศรีวิกา การฟ้อนรำและดนตรีถวายองค์พระศิวะ (ศรีธาเรศวร)       
.
*** ผู้คนและความนิยมในคติฮินดูที่คอกช้างดินได้เริ่มหายไปจากภูมิภาคเมืองโบราณอู่ทอง ประมาณตั้งแต่หลังพุทธศตวรรษที่ 13 เป็นต้นมา โดยมีกลุ่มคนที่นิยมในคติความเชื่อแบบพุทธศาสนาแบบอานธระ-ลังกา และจารึกในภาษาบาลี ในวัฒนธรรมทวารวดี (ลูกครึ่งอินเดียอีกกลุ่มหนึ่ง) ได้เข้ามาแทนที่อย่างสมบูรณ์ครับ
เครดิต ; FB
วรณัย  พงศาชลากร
EJeab  Academy

ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs links 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


ปราสาทหินหลังสุดท้าย

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.
ปราสาทหินหลังสุดท้าย (1)

       เมืองพระนครนั้นไม่ได้มีแค่ปราสาทหลังใหญ่ๆ เช่น นครวัดหรือบายนเท่านั้น หากแต่ยังมีกลุ่มของศาสนสถานที่สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของศาสนาในกัมพูชารวมถึงไทย และช่วยทำให้เห็นว่า ทั้งไทยและเขมรนั้นมีความสัมพันธ์อย่างแนบชิดกันมานานแล้วหลายร้อยปี
     ภายใต้แมกไม้ใหญ่ที่ปกคลุมเมืองนครธมนั้น ความจริงแล้วมีวัดเนื่องในศาสนาพุทธเถรวาทกระจายตัวอยู่มากกว่า 70 วัดด้วยกัน แต่ยังไม่ได้รับการขุดแต่ง ขุดค้น เพราะจำกัดด้วยงบประมาณ 
      จำนวนของวัดที่มากเท่านี้สำคัญอย่างไร คือจากเดิมที่มักจะมองกันว่า หลังจากรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ลงมานั้น การก่อสร้างต่างๆ ในเมืองนครธมนั้นแทบจะไม่มี และมักจะกล่าวกันว่า ปราสาทหลังสุดท้ายที่สร้างในเมืองนครธมนั้นคือ ปราสาทมังคลธะ นั้นอาจต้องมาพิจารณากันใหม่ 
    นอกจากปราสาทบายนและพระราชวังหลวงที่ถือเป็นจุดเด่นของเมืองนครธมแล้ว 
    ในแง่มุมของการศึกษาโบราณคดีแล้ว วัดเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นหลักฐานที่สำคัญมาก เพราะแสดงถึงการเปลี่ยนผ่านทางศาสนา จากเดิมที่นับถือพุทธศาสนามหายานไปสู่ศาสนาพุทธเถรวาท และยังสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ของอยุธยาอีกด้วย
    ยุคเปลี่ยนศาสนา ทำลายรูปเคารพ ก่อนเป็นพุทธเถรวาทในช่วง พ.ศ. 1700-1850 นับเป็นช่วงเวลาอันน่าตื่นเต้นของประวัติศาสตร์แถบกัมพูชา-ไทย เพราะมีทั้งความรุ่งเรืองของศาสนาพุทธ และการทำลายพระพุทธรูป โดยในกัมพูชาปรากฏหลักฐานค่อนข้างชัดเจน

Cr : https://thestandard.co/khmer-architecture/

ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs links 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


วาทะศิลป์

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.

วาทศิลป์ (มังสชาดก)
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวันเมืองสาวัตถี ทรงปรารภบิณฑบาตอันมีรสอร่อยที่พระสารีบุตรให้แก่พวกภิกษุผู้ดื่มยาถ่าย ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า...
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นลูกชายเศรษฐีในเมืองพาราณสี มีลูกชายเศรษฐีอีก ๓ คนเป็นเพื่อนรักกัน อยู่มาวันหนึ่ง พวกเขาชวนกันไปนั่งสนทนากันเล่นที่หนทางสี่แพร่งนอกเมือง ในขณะนั้นมีนายพรานคนหนึ่งนั่งเกวียนบรรทุกเนื้อมาเต็มลำ เพื่อจะนำไปขายในเมืองพาราณสี
ลูกชายเศรษฐีทั้ง ๔ คนเห็นเขากำลังมา จึงปรึกษากันว่าใครจะสามารถใช้วาทศิลป์ขอเนื้อจากนายพรานคนนั้นได้มากกว่ากัน เมื่อนายพรานขับเกวียนเข้ามาใกล้แล้ว
ลูกชายเศรษฐีคนที่ ๑ จึงร้องขอเนื้อขึ้นว่า " เฮ้ย..นายพราน ขอเนื้อสักชิ้นหน่อยสิ "
นายพรานพูดว่า " วาจาของท่านหยาบคายนัก เป็นเช่นกับพังผืด เราจะให้เนื้อพังผืดแก่ท่าน " แล้วให้เนื้อพังผืดแก่เขาไป
ลูกชายเศรษฐีคนที่ ๒ ร้องขอเนื้อว่า " พี่ชาย ท่านจงให้เนื้อแก่ฉันบ้างสิ "
นายพรานพูดว่า " คำว่าพี่ชายนี้ เป็นส่วนประกอบของมนุษย์ที่เรียกขานกันในโลก วาจาของท่านเป็นเช่นกับส่วนประกอบ เราจะให้เนื้อส่วนประกอบแก่ท่านนะ" แล้วก็ยื่นเนื้อส่วนประกอบแก่เขาไป
ลูกชายเศรษฐีคนที่ ๓ เอ่ยปากขอเนื้อว่า " พ่อ ท่านจงให้เนื้อแก่ฉันบ้างสิ "
นายพรานพูดว่า " บุตรเรียกบิดาว่า พ่อ ย่อมทำให้หัวใจพ่อหวั่นไหว วาจาของท่านเป็นเช่นกับน้ำใจ เราจะให้เนื้อหัวใจแก่ท่านนะ " แล้วก็ยื่นเนื้อหัวใจให้เขาไป
พระโพธิสัตว์เอ่ยปากขอเนื้อเป็นคนที่ ๔ ว่า " สหาย ท่านจงให้เนื้อแก่ฉันบ้างสิ "
นายพรานพูดเป็นคาถาว่า
" ในบ้านของผู้ใดไม่มีเพื่อน บ้านนั้นเป็นเช่นกับป่า
คำพูดของท่านเช่นกับสมบัติทั้งหมด
สหาย ข้าพเจ้าให้เนื้อทั้งหมดแก่ท่าน "
ว่าแล้วก็ชวนพระโพธิสัตว์ขึ้นเกวียนไปที่บ้านของเขามอบเนื้อให้ทั้งหมด ฝ่ายพระโพธิสัตว์ก็เชิญนายพรานพร้อมภรรยาและบุตรธิดามาอยู่ด้วยกันให้เลิกทำการล่าสัตว์ เป็นเพื่อนที่สนิทสนมกันเกื้อกูลกันจนตราบสิ้นชีวิต
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : วาทศิลป์เป็นศิลปะชนิดหนึ่งที่พึงศึกษา เพราะพูดถูกใจคนย่อมมีผลดีมากกว่าผลร้าย
ที่มา : หนังสือนิทานชาดก เล่มที่ ๒ โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม
เครดิต ; www.dhammathai.org
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs links 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.......................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.
พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 
(หรือ สุริยวรรมันที่ 2 ) กษัตริย์เขมร ครองราชย์ ในช่วง พ.ศ. 1656 - พ.ศ. 1693 เป็นพระโอรสของพระเจ้ากษิตินทราทิตย์ และพระนางนเรนทราลักษมี ทรงมีชื่อเสียงในฐานะผู้สร้างศาสนสถานและปฏิรูปศาสนา ในรัชสมัยของพระองค์ยังได้ทรงสร้างปราสาทนครวัด อันเป็นสิ่งก่อสร้างทางศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากนั้น พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ยังทรงสร้างศาสนสถานมหึมาอีกหลายแห่ง เช่น ปราสาทบึงมาลา ปราสาทพระพิธู ปราสาทเจ้าสายเทวดา ปราสาทบันทายสำเหร่ ปราสาทธัมมานน ซึ่งอยู่ในอาณาบริเวณพระนครหลวง อีกทั้งยังได้สร้างปราสาทวัดภู ในลาว เพิ่มเติมจากสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ด้วย
พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ทรงประสูติเมื่อราวคริสต์ศควรรษที่ 11 มีพระราชบิดาชื่อ กษิตินทราทิตย์ พระราชมารดาชื่อ นเรนทราลักษมี เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรขอม ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 1
ตลอดรัชสมัยของพระองค์เต็มไปด้วยการศึกสงคราม ดังภาพสลักที่ปรากฏบนระเบียงปราสาทนครวัด เช่นการทำสงครามกับอาณาจักรไดเวียด อาณาจักรจามปา และการยกทัพเข้าโจมตีอาณาจักรไดเวียดครั้งที่ 2 นี่เอง พระองค์ทรงพระประชวรในระหว่างทาง และสวรรคตกลางป่า เชื่อว่าพระองค์อยู่ในราชสมบัตินานกว่า 50 ปี และได้ทรงฉลองพระนามภายหลังสวรรคตว่า “ปรมวิษณุโลก
พระเจ้าสูรยวรมันที่ 2 ทรงเอาชนะผู้อ้างสิทธิในพระราชบัลลังก์ นั่นคือ พระเจ้าหรรษวรมันที่ 3 และพระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 1 และเสด็จขึ้นครองราชย์ ผนวกดินแดนต่างๆ หลังจากแตกแยกกันไปกว่า 50 ปี ทรงเข้าพิธีราชาภิเษกเมื่อ พ.ศ. 1656 โดยมีพระมหาราชครูผู้ทรงอำนาจ คือ ทิวกรปัณฑิต เป็นพราหมณ์ผู้ทำพิธี พระเจ้าสูรยวรมันทรงเป็นกษัตริย์ผู้ปฏิรูปศาสนา โดยผสมผสานลัทธิบูชาพระวิษณุและพระศิวะเข้าด้วยกัน และบังเกิดเป็นไวษณพนิกายขึ้น แทนที่จะเป็นพุทธศาสนามหายาน ซึ่งเคยรุ่งเรืองมาก่อนหน้านี้ไม่นาน
ปราสาทนครวัดนั้น ก็สร้างขึ้นเพื่อบูชาพระวิษณุ โดยเริ่มสร้างขึ้นในช่วงต้นของรัชสมัยของพระองค์ และก่อสร้างต่อไปกระทั่งเสด็จสวรรคต แต่ก็ยังสร้างไม่เสร็จ ปราสาทนครวัดนั้นมีกำแพงและบารายล้อม รอบ ตัวอาคารเองยังประดับประดาด้วยพระรูปของพระเจ้าสูรยวรมัน ในภาคของพระวิษณุ เป็นภาพพระองค์กำลังทอดพระเนตรกองทัพ ออกว่าราชการ และกระทำพิธีต่างๆ พระเจ้าสูรยวรมันยังโปรดเกล้าฯ ให้สร้างปราสาทหินอื่นๆ อีกหลายแห่ง ในลักษณะคล้ายนครวัด ในรัชสมัยของพระองค์ ยังได้ทรงสร้างปราสาทวัดภู (ปัจจุบันอยู่ในแขวงจำปาศักดิ์ ของ ส.ป.ป. ลาว) ต่อจากรัชสมัยพระเจ้าสูรยวรมันที่ 1 (แต่ก็ไม่สำเร็จสมบูรณ์)
พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 1693 ขณะกำลังยกทัพไปโจมตีจามปา ในภายหลัง ได้รับการสถาปนาพระนามาภิไธยเป็น พระเจ้าปรมวิษณุโลก และยังได้รับการยกย่องนับถือว่าเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่องค์หนึ่งของเขมร ในฐานะที่ได้สถาปนาและปฏิรูปศาสนาขึ้น สำหรับสงครามกับต่างประเทศนั้น ไม่ประสบความสำเร็จเลยในรัชสมัยของพระองค์ กษัตริย์ผู้ครองราชเป็นองค์ต่อไปคือ พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 2 (ธรณินทรวรรมันที่ 2)
พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 1693 ขณะกำลังยกทัพไปโจมตีจามปา ในภายหลัง ได้รับการสถาปนาพระนามาภิไธยเป็น พระเจ้าปรมวิษณุโลก และยังได้รับการยกย่องนับถือว่าเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่องค์หนึ่งของเขมร ในฐานะที่ได้สถาปนาและปฏิรูปศาสนาขึ้น สำหรับสงครามกับต่างประเทศนั้น ไม่ประสบความสำเร็จเลยในรัชสมัยของพระองค์ กษัตริย์ผู้ครองราชเป็นองค์ต่อไปคือ พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 2 (ธรณินทรวรรมันที่ 2)

ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs links 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

กำเนิดสุรา

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.

กำเนิดสุรา ( กุมภชาดก )
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีทรงปรารภหญิงนักดื่มสุรา ๕๐๐ คน ผู้เป็นสหายของนางวิสาขามหาอุบาสิกา ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว สมัยของพระเจ้าพรหมทัตครองเมืองพาราณสี มีนายพรานป่าคนหนึ่งชื่อสุระ ได้เข้าป่าเพื่อหาของป่าค้าขาย มีต้นไม้ต้นหนึ่งลำต้นตรงสูงขนาดเท่าคนยืน มี ๓ คาคบ ตรงกลางมีโพรงขนาดเท่าตุ่มน้ำ เมื่อฝนตกน้ำก็จะขังเต็มเปี่ยม ลูกสมอ มะขามป้อม และพริกไทยที่ขึ้นอยู่รอบข้างต้นไม้นั้น ก็จะหล่นไปหมักอยู่ในน้ำนั้น และที่ใกล้ ๆ ต้นไม้นั้นมีข้าวสาลีเกิดเองอยู่เมื่อนกคาบรวงข้าวสาลีบินไปจับกินอยู่บนต้นไม้นั้น เมล็ดข้าวสาลีก็หล่นลงไปในน้ำนั้น
เมื่อย่างเข้าฤดูร้อน ฝูงนกกระหายน้ำก็จะบินมากินน้ำที่ต้นไม้นั้น ก็มึนเมาพลัดตกลงไปที่โคนต้นไม้นั้น ม่อยหลับไปสักครู่หนึ่งก็บินขึ้นไปได้ ฝูงลิงก็เช่นกัน วันหนึ่งนายพรานสุระไปพบเห็นสิ่งแปลกประหลาดนั้นเข้า ก็คิดแปลกใจว่า "แปลกจริงหนอ..ถ้าน้ำนี้มีพิษ พวกสัตว์เหล่านี้คงตายไปแล้วละ แต่นี่มันร่วงลงมานอนสักครู่หนึ่งแล้วก็เดินหนีไปได้ น้ำนี่คงไม่มีพิษอะไร "จึงลองดื่มดูเกิดอาการมึนเมาแล้วอยากจะกินเนื้อสัตว์ จึงก่อไฟปิ้งนกที่ร่วงลงมาพื้นดินนั้นกิน มือหนึ่งฟ้อนรำ มือหนึ่งถือปิ้งนกกัดกินเขาเป็นอยู่อย่างนี้ถึง ๒ วัน จึงออกเดินหาของป่าโดยไม่ลืมตักน้ำใส่กระบอกไม้ไผ่นำไปดื่มด้วย
ในที่ไม่ไกลจากนั้น มีดาบสชื่อวรุณะบำเพ็ญพรตอยู่ นายพรานสุระเมื่อเดินหาของป่าไปพบเห็นดาบสนั้นเข้า จึงชวนให้มาดื่มน้ำที่เขาใส่กระบอกไม้ไผ่ไปด้วยนั้น คนทั้งสองจึงดื่มน้ำนั้นกับเนื้อย่างร่วมกัน เพราะเหตุนั้นน้ำนั้นเขาจึงเรียกว่าสุราบ้าง วรุณีบ้าง ตามชื่อของพรานและดาบสนั้น
เมื่อดื่มน้ำนั้นด้วยกัน คนทั้งสองจึงเกิดความคิดในการประกอบอาชีพได้อย่างหนึ่ง พากันตักน้ำใส่กระบอกไม้ไผ่แล้วหาบเข้าเมืองไปถวายพระราชา พระราชาเสวยแล้วเกิดติดใจในรสชาติจึงรับสั่งให้คนทั้งสองนำมาถวายอีก พร้อมกับประทานรางวัลให้พวกเขาทั้งสองไปนำน้ำนั้นมาถวายพระราชาอีก เมื่อหมดก็รับสั่งให้ไปนำมาถวายอีก ในระหว่างทางคนทั้งสองจึงปรึกษากันว่า "พวกเราไม่สามารถจะเทียวมาเทียวไปได้ตลอดปี หาทางปรุงสุราขึ้นเองในเมืองจะดีกว่า" จึงจดจำสิ่งประกอบในน้ำนั้นแล้ว นำมาปรุงในเมืองถวายพระราชา และขายให้แก่ประชาชนทั่วไป ชาวเมืองพากันดื่มสุราจนมัวเมาไม่ประกอบอาชีพ เลยยากจนเข็ญใจไปตามๆ กัน ไม่นานเมืองนั้นก็เป็นเหมือนเมืองร้าง มีแต่นักเลงสุราไม่มีคนทำมาหากินอะไร
คนทั้งสองเมื่อเห็นว่าไม่มีใครจะมีกำลังทรัพย์พอจะซื้อสุราได้แล้ว จึงหนีไปอยู่เมืองพาราณสี ไม่นานเมืองพาราณสีก็เป็นเช่นกันกับเมืองร้าง จึงหนึไปอยู่เมืองสาวัตถี ในสมัยนั้นพระเจ้าสัพพมิตต์ปกครองเมือง พระองค์ได้ทำการต้อนรับคนทั้งสองเป็นอย่างดี และให้ทำการปรุงสุรามาถวาย ขณะเดียวกันก็ส่งทหารสอดแนมไปสังเกตดูพฤติกรรมของคนทั้งสอง
นายพรานสุระและวรุณดาบส ทำการปรุงสุราจำนวน ๕๐๐ ตุ่มตั้งไว้เกรงว่าหนูจะมาลงตุ่ม จึงฝึกแมว ๕๐๐ ตัวไว้ข้างตุ่มนั้นเมื่อแมวหิวจึงพากันดื่มน้ำนั้นมึนเมาเหลับไป พวกหนูมาแทะหู จมูกและหางแมวก็ไม่ตื่น ขณะนั้นพวกทหารสอดแนมที่พระราชาส่งมาเฝ้าดูคนทั้งสองเห็นแมวนอนตายหมด จึงไปกราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ
พระเจ้าสัพพมิตต์เห็นว่าคนทั้งสองปรุงยาพิษหวังจะลอบปลงพระชนม์จึงมีรับสั่งให้นำไปประหารชีวิต แม้คนทั้งสองจะทูลให้ทราบว่าเป็นสุรารสอร่อยก็ไม่ทรงเชื่อฟัง เมื่อประหารชีวิตคนทั้งสองแล้ว จึงรับสั่งให้ทำลายตุ่มเหล่านั้นเสีย พวกทหารจะไปทำลายตุ่มสุรา เห็นแมวกลับมีชีวิตคืนมาเหมือนเดิมจึงกราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ พระราชาจึงรับสั่งให้จัดเตรียมสุราขึ้นมาถวายเพื่อจะทดลองดื่มดู
ในขณะที่พระราชาจะดื่มสุรานั้นเอง ท้าวสักกะเห็นความพินาศจักมีแก่ชาวเมืองสาวัตถี จึงแปลงร่างเป็นพราหมณ์มือหนึ่งถือหม้อสุรา เหาะมายืนอยู่ต่อหน้าพระพักตร์ของพระราชาร้องขายหม้ออยู่
พระราชาตรัสถามว่า "ท่านเป็นใครมาร้องขายหม้ออยู่กลางอากาศเช่นนี้ หม้อท่านใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง"
พราหมณ์ตอบว่า "ขอเดชะ หม้อใบนี้มิใช่หม้อน้ำผึ้งเป็นหม้อที่มีโทษมาก กล่าวคือผู้ใดดื่มน้ำในหม้อนี้แล้วเดินโซซัดโซเซ ตกหลุมตกบ่อ ไม่มีกฎเกณฑ์ในใจ เที่ยวหยำเปไป ฟ้อนรำ ขับร้องได้ เดินแก้ผ้าเปลือยกายตามถนนก็ได้ นอนตื่นสาย พูดคำที่ไม่ควรพูด กินอาหารที่เหลือเดนสุนัขได้ นอนจมอยู่ในอาเจียนของตน มีตาขวาง เข้าใจว่าบ้านเมืองเป็นของเราผู้เดียว ทะเลาะวิวาท เสียทรัพย์สินเงินทอง ไร่นา ด่ามารดาบิดาได้ ฆ่าสมณชีพราหมณ์ได้ ท่านจงซื้อหม้อใบนี้เสียเถิด น้ำในหม้อใบนี้ ก็เป็นสุราเช่นเดียวกัน ถ้าประสงค์จักเห็นความพินาศของตนเองและบ้านเมืองแล้ว จงดื่มเถิด"
พระราชา "พราหมณ์..ท่านมิใช่มารดาบิดาของเรายังหวังดีแก่เราปานนี้ ขอมอบบ้านเก็บภาษี ๕ ตำบล ทาสี ๕๐๐ คนวัว ๗๐๐ ตัว รถม้าอาชาไนยอีก ๑๐ คัน แก่ท่าน ขอท่านจงเป็นอาจารย์แก่ข้าพเจ้าเถิด"
พราหมณ์แสดงตนให้ทราบว่าเป็นท้าวสักกะแล้วให้โอวาทว่า " พระราชา..บ้าน ทาสี วัว และรถม้าอาชาไนยจงเป็นของท่านตามเดิมเถิดเราเป็นท้าวสักกะ ขอพระองค์จงตั้งอยู่ในธรรมอย่าประมาทเถิด" เมื่อประทานโอวาทแก่พระราชาแล้ว ท้าวสักกะก็เสด็จกลับยังสถานวิมานของพระองค์ทันที
ฝ่ายพระราชาก็ไม่ดื่มสุรานั้น รับสั่งให้ทำลายทิ้งทั้งหมด สมาทานศีลบริจาคทานแล้วในที่สุดของชีวิตไปเกิดในสวรรค์ ส่วนการดื่มสุราก็มีมาในโลกมนุษย์ แต่วันนั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : การดื่มสุราไม่มีประโยชน์ มีแต่โทษฝ่ายเดียว ทำให้เสียทรัพย์เสียของรัก และทำให้ผู้คนประกอบกรรมชั่วได้ สาธุชนเมื่อทราบเช่นนี้แล้วมิควรดื่มสุราเลย
เครดิต ; www.dhammathai.org
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs links 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.......................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


อำนาจแห่งความงาม

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.

อำนาจแห่งความงาม (มุทุลักขณชาดก)
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภสภาวะธรรมที่ทำให้คนเศร้าหมอง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า...
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นฤาษีตนหนึ่งได้อภิญญา บำเพ็ญเพียรอยู่ที่ป่าหิมพานต์ วันหนึ่งได้เดินทางเข้าไปพำนักในสวนหลวง ในเมืองพารณสี รุ่งเช้าครองผ้าเปลือกไม้ ห่มหนังเสือ เกล้าผมทรงบริขาร เที่ยวภิกขาจารไปถึงประตูพระราชวัง พระราชาทรงเลื่อมใสจึงนิมนต์ให้เข้าไปฉันในพระราชวัง และนิมนต์ให้อยู่ในสวนหลวง ฤาษีรับคำนิมนต์อยู่เป็นเวลา ๑๖ ปี
อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาเสด็จไปปราบกบฎแถบชายแดน จึงมอบหน้าที่ถวายภัตตาหารแก่พระมเหสีนามว่ามุทุลักขณา ฤาษีมักเข้าพระราชวังตามเวลาที่ตนพอใจเป็นประจำ วันหนึ่งพระนางได้เตรียมอาหารเสร็จแล้ว เข้าใจว่าฤาษีจะมาช้าจึงเอนพระกายรอที่ท้องพระโรง ขณะนั้น ฤาษีได้เหาะมาถึงพอดี พระนางเมื่อได้ยินเสียงเปลือกไม้ก็รีบเสด็จลุกขึ้น ทำให้ผ้าที่ทรงอยู่ซึ่งเป็นผ้าเนื้อเกลี้ยงหลุดลง เป็นเวลาที่พระฤาษีเหาะเข้าทางช่องพระแกลพอดีทำให้เห็นรูปกายของพระนาง อำนาจแห่งความงามเป็นเหตุให้กิเลสภายในฤาษีกำเริบขึ้น ทันใดนั้น ฌานของท่านเสื่อมลงทันที หลังจากรับอาหารแล้วท่านบริโภคไม่ได้ เดินลงจากปราสาทเข้าไปสวนหลวงนอนซมไม่แตะอาหารปล่อยให้ร่างกายซูบผอมถึง ๗ วัน
ในวันที่ ๗ พระราชาเสด็จกลับมาถึงเมืองทำประทักษิณพระนครแล้ว เสด็จตรงไปหาฤาษีทันที เห็นอาการเช่นนั้นแล้วทรงตกพระทัยจึงตรัสถามถึงสาเหตุ ฤาษีได้ตอบว่าเป็นเพราะมีจิตกำหนัดในพระนางมุทุลักขณาเป็นเหตุ พระองค์ทรงยินดีถวายพระนางให้แก่ฤาษี ก่อนถึงเวลาได้สัญญาลับกับพระนางมุทุลักขณาว่า ขอให้พระนางพยายามรักษาตนด้วยกำลัง พระนางได้บอกฤาษีว่าต้องมีเรือนหลังหนึ่ง ฤาษีขอพระราชทานจากพระราชา พระองค์มอบเรือนวัจจกุฏี(ส้วม)ให้หลังหนึ่ง พระนางไม่เข้าไปด้วยความสกปรก ดาบสจึงไปนำตะกร้ามาจากพระราชสำนักมาโกยสิ่งสกปรกและขยะไปทิ้ง พระนางให้ดาบสทำความสะอาดห้องแล้วไปนำเตียงมาและเก้าอี้มาทีละอย่าง และใช้ตักน้ำให้เต็มตุ่ม
เมื่อกำลังนั่งอยู่บนเตียงด้วยกัน พระเทวีจับสีข้างดาบสฉุดให้ก้มลงตรงหน้าพลางตรัสว่า
" ท่านไม่รู้ตัวว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์เลยหรือ "
ดาบสกลับได้สติคืนมาในเวลานั้นเอง ตลอดเวลาที่ผ่านมาท่านไม่รู้ตัวเอาเสียเลย เพราะอำนาจกิเลส จึงนำพระเทวีไปถวายพระราชาแล้วกล่าวคาถาว่า
" ครั้งก่อน เรายังไม่ได้ประสบพระนางมุทุลักขณา ความปรารถนามีอยู่อย่างเดียว
ครั้นได้พบพระนาง ผู้มีเนตรแวววาวเข้าแล้ว ความปรารถนาช่วยให้เกิดความต้องการ
ขึ้นหลายอย่าง "
ฤาษี ได้อำลาพระราชากลับเข้าป่าหิมวันตะด้วยการบำเพ็ญฌานใหม่ เหาะขึ้นสู่อากาศทันที ไม่หวนกลับมาถิ่นของมนุษย์อีกเลย
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : อำนาจแห่งความงามกิเลสตัณหาทำให้คนตาบอด
เครดิต ; www.dhammathai.org
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs links 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.......................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


คาถาปลาช่อนขอฝน

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.

ปลาขอฝน (มัจฉชาดก)
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ที่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล ทรงปรารภการบันดาลให้ฝนตกทั่วเมือง เรื่องมีอยู่ว่า ...
ในสมัยนั้น ทั่วทั้งแคว้นโกศลเกิดภัยแล้งฝนไม่ตกหลายเดือน ข้าวกล้าเหี่ยวแห้ง สระน้ำแห้งขอดเหลือแต่โคลนตม ปลาตายเกลื่อนกลาด ฝูงนก ฝูงกาบินว่อน ชาวเมืองสาวัตถีและฝูงสัตว์เกิดเดือดร้อนกันไปทั่ว แม้น้ำในสระวัดเชตวันก็เหือดแห้งเช่นกัน ปลากระเสือกระสนหนีตายเข้าไปในเปลือกตม
รุ่งเช้า พระพุทธองค์ ได้ทรงตรวจดูสรรพสัตว์ ทรงเห็นความเดือดร้อนนั้นแล้ว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อสรรพสัตว์ หลังจากเสด็จกลับมาจากบิณฑบาตแล้ว ได้ประทับยืนอยู่ที่บันไดสระในวัดเชตวัน ตรัสเรียกพระอานนท์ให้นำผ้าอาบน้ำมาถวายพระองค์ ด้วยมีพระประสงค์จะสรงน้ำในสระ
แม้พระอานนท์จะทูลว่าน้ำในสระมีแต่ตม ไม่มีน้ำมิใช้หรือ ก็ทรงตรัสว่า " อานนท์ ธรรมดากำลังของพระพุทธเจ้าใหญ่หลวงนัก เธอจงนำเอาผ้าอาบน้ำมาเถิด "
พระเถระได้นำผ้ามาถวายแล้ว พระพุทธองค์ทรงนุ่งผ้าด้วยชายข้างหนึ่ง ทรงคลุมพระสรีระด้วยชายข้างหนึ่ง ประทับยืนที่บันไดตั้งพระทัยว่า เราจักสรงน้ำในสระ
ทันใดนั้นเอง แท่นศิลาอาสน์ของท้าวสักกะก็แสดงอาการร้อน ท้าวเธอทราบเรื่องนั้นแล้วจึงบัญชาให้วลาหกเทวราชเจ้าแห่งฝน บันดาลฝนให้ตกทั่วแคว้นโกศลโดยไม่ขาดสายครู่เดียวเท่านั้น น้ำก็เต็มสระ ท้วมถึงบันไดสระ พระพุทธองค์ทรงลงสรงน้ำในสระแล้ว ทรงครองผ้าสองชั้นสีแดง คาดรัดประคต ทรงครองสุคตจีวร เฉวียงพระอังสะ เสด็จประทับในพระคันธกุฎี
ในเวลาเย็น พวกภิกษุประชุมกันในธรรมสภายกเรื่องพระพุทธองค์ทรงบันดาลให้ฝนตก ด้วยพระกรุณาในชาวเมืองและสรรพสัตว์ขึ้นมาสนทนากัน พระพุทธองค์จึงได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกดังนี้ว่า...
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ที่ห้วยแห่งหนึ่ง มีเถาวัลย์รกรุงรัง พระโพธิสัตว์เกิดเป็นปลาช่อนตัวหนึ่ง อาศัยอยู่ในห้วยนั้น สมัยนั้น เกิดภัยแล้งฝนไม่ตกเช่นเดียวกัน ฝูงปลาต่างดิ้นรนเอาชีวิตรอดด้วยเปลือกตม ฝูงนกการุมจิกกินหมู่ปลา ปลาช่อนนั้นเห็นความพินาศของหมู่ญาติ จึงทำสัจกิริยาให้ฝนตกด้วยการแหวกออกจากเปลือกตม มองดูอากาศแล้วบันลือเสียงแก่เทวราชปัชชุนนะว่า
" หมู่ปลาเดือดร้อนมาก ข้าพเจ้ารักษาศีลไม่เคยกินปลาด้วยกันตลอดชีวิต ด้วยความสัตย์นี้ขอท่านจงให้ฝนตกลงมาเถิด "
แล้วกล่าวคาถาว่า
" ปัชชุนนเทพ ท่านจงคำรณคำรามให้ฝนตกมา
ทำลายขุมทรัพย์ของฝูงกา ทำฝูงกาให้ได้รับความเศร้าโศก
และช่วยปลดเปลื้องข้าพเจ้าและหมู่ญาติ ให้พ้นจากความเศร้าโศกเถิด "
ฝนห่าใหญ่จึงตกลงมาช่วยชีวิตสัตว์ให้รอดพ้นจากความตายได้
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า คุณของศีลสามารถช่วยเหลือชีวิตของผู้อื่นให้รอดพ้นจากความตายได้
...................
พระคาถาปลาช่อนขอฝน
ปุนะ ปะรัง ยะทา โหมิ มัจฉะราชา มะหาสะเร
อุณเห สุริยะสันตา เปสะเร อุทะกัง ขียะถะ
ตะโต กากา จะ คิชฌา จะ กังกากุลาละเสนะกัง
ภักขายันติ ทิวารัตติง มัชเฌ อุปะนิสีทิยะ
เอวัง จินเตสะหัง ตัตถะ สะหะ ญาติภิปิฏฐิโต 
เกนะ นุ โข อุปาเยนะ ญาติ ทุกขา ปะโมจะยัง 
วิจินตะยิตะวา ธัมมัฏฐัง สัจจัง อัททะสะ วัสสะยัง
สะเจ ฐิตะวา ปะโมเจสิง ญาตีนัง ตัง อะติกขะยะ
อะนุสสะริตะวา สะตัง ธัมมัง ปะระมัตถัง วิจินตะยัง
อะกาสิง สัจจะกิริยัง ยัง โลเก ธุวะสัสสะตัง
ยะโต สะรามิ อัตตานัง ยะโต ปัตโตสะมิ วิญญุตัง
นาภิชานามิ สัญจิจจะ เอกะปาณัมหิ หิงสิตา
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ ปะชุนโน อะภิวัสสะตุ
อะภิตถะนายัง ปะชุนนะ นิธิง กากัสสะ นาสะยะ
กากัง โสกายะ รันเชหิ มัจเฉ โสกา ปะโมจะยะ
สะหะ กะเต สัจจะวะเร ปะชุนโน อะภิวัสสิยะ
ถะลัง นินนัญจะ ปูเรนโต ขะเณนะ อะวิวัสสิยะ
เอวะรูปัง สัจจะกิริยัง กัตะวา วิริยะมุตตะมัง
วัสสาเปสิง มะหาเมฆัง สัจจะเตชะพะลัสสิโต
สัจเจนะ เม สะโม นัตถิ เอสา เม สัจจะปาระมีติ ฯ
(ใช้สวดวันละ ๓จบ ต่อท้ายพระปริตร ก่อนเริ่มสวด อิติปิโส๑๐๘)
คำแปล
ในกาลเมื่อเราเป็นพระยาปลาอยู่ในสระ
ใหญ่น้ำในสระแห้งขอดเพราะแสงพระอาทิตย์ในฤดูร้อน 
ที่นั้นกาแร้งนกกระสานกตะกรุมและเหยี่ยว มาคอยจับปลากินทั้งกลางวันกลางคืน 
ในกาลนั้น เราคิดอย่างนี้ว่าเรากับหมู่ญาติถูกบีบคั้น จะพึงเปลื้องหมู่ญาติให้พ้นจากทุกข์ได้ด้วยอุบายอะไรหนอ 
เราคิดแล้วได้เห็นความสัตย์อันเป็นอรรถเป็นธรรมว่าเป็นที่พึ่งของหมู่ญาติได้เราตั้งอยู่ในความสัตย์แล้ว 
จะเปลื้องความพินาศใหญ่ของหมู่ญาตินั้นได้เรานึกถึงธรรมของสัตบุรุษ 
คิดถึงการไม่เบียดเบียนสัตว์ อันตั้งอยู่ในเที่ยงแท้ในโลก ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งได้แล้วได้กระทำสัจกิริยาว่า 
ตั้งแต่เราระลึกตนได้ ตั้งแต่เรารู้ความมาจนถึงบัดนี้เราไม่รู้สึกว่าแกล้งเบียดเบียนสัตว์แม้ตัวหนึ่งให้ได้รับความลำบากเลย 
ด้วยสัจวาจานี้ ขอเมฆจงยังฝนให้ตกห่าใหญ่แน่ะเมฆท่านจงเปล่งสายฟ้าคำรามให้ฝนตกจงทำขุมทรัพย์ของกาให้พินาศไป 
ท่านจงยังกาให้เดือดร้อนด้วยความโศกจงปลดเปลื้องฝูงปลาจากความโศก พร้อมกับเมื่อเราทำสัจกิริยา 
เมฆส่งเสียงสนั่นครั่นครื้น ยังฝนให้ตกครู่เดียวก็เต็มเปี่ยมทั้งที่ดอนและที่ลุ่มครั้นเราทำความเพียรอย่างสูงสุด 
อันเป็นความสัตย์อย่างประเสริฐเห็นปานนี้แล้วอาศัยกำลังอานุภาพความสัตย์ 
จึงยังฝนให้ตกห่าใหญ่ผู้เสมอด้วยความสัตย์ของเราไม่มีนี้เป็นสัจบารมีของเราฉะนี้แล.
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs links 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


ปลาขอฝน

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.

ปลาขอฝน (มัจฉชาดก)
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ที่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล ทรงปรารภการบันดาลให้ฝนตกทั่วเมือง เรื่องมีอยู่ว่า ...
ในสมัยนั้น ทั่วทั้งแคว้นโกศลเกิดภัยแล้งฝนไม่ตกหลายเดือน ข้าวกล้าเหี่ยวแห้ง สระน้ำแห้งขอดเหลือแต่โคลนตม ปลาตายเกลื่อนกลาด ฝูงนก ฝูงกาบินว่อน ชาวเมืองสาวัตถีและฝูงสัตว์เกิดเดือดร้อนกันไปทั่ว แม้น้ำในสระวัดเชตวันก็เหือดแห้งเช่นกัน ปลากระเสือกระสนหนีตายเข้าไปในเปลือกตม
รุ่งเช้า พระพุทธองค์ ได้ทรงตรวจดูสรรพสัตว์ ทรงเห็นความเดือดร้อนนั้นแล้ว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อสรรพสัตว์ หลังจากเสด็จกลับมาจากบิณฑบาตแล้ว ได้ประทับยืนอยู่ที่บันไดสระในวัดเชตวัน ตรัสเรียกพระอานนท์ให้นำผ้าอาบน้ำมาถวายพระองค์ ด้วยมีพระประสงค์จะสรงน้ำในสระ
แม้พระอานนท์จะทูลว่าน้ำในสระมีแต่ตม ไม่มีน้ำมิใช้หรือ ก็ทรงตรัสว่า " อานนท์ ธรรมดากำลังของพระพุทธเจ้าใหญ่หลวงนัก เธอจงนำเอาผ้าอาบน้ำมาเถิด "
พระเถระได้นำผ้ามาถวายแล้ว พระพุทธองค์ทรงนุ่งผ้าด้วยชายข้างหนึ่ง ทรงคลุมพระสรีระด้วยชายข้างหนึ่ง ประทับยืนที่บันไดตั้งพระทัยว่า เราจักสรงน้ำในสระ
ทันใดนั้นเอง แท่นศิลาอาสน์ของท้าวสักกะก็แสดงอาการร้อน ท้าวเธอทราบเรื่องนั้นแล้วจึงบัญชาให้วลาหกเทวราชเจ้าแห่งฝน บันดาลฝนให้ตกทั่วแคว้นโกศลโดยไม่ขาดสายครู่เดียวเท่านั้น น้ำก็เต็มสระ ท้วมถึงบันไดสระ พระพุทธองค์ทรงลงสรงน้ำในสระแล้ว ทรงครองผ้าสองชั้นสีแดง คาดรัดประคต ทรงครองสุคตจีวร เฉวียงพระอังสะ เสด็จประทับในพระคันธกุฎี
ในเวลาเย็น พวกภิกษุประชุมกันในธรรมสภายกเรื่องพระพุทธองค์ทรงบันดาลให้ฝนตก ด้วยพระกรุณาในชาวเมืองและสรรพสัตว์ขึ้นมาสนทนากัน พระพุทธองค์จึงได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกดังนี้ว่า...
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ที่ห้วยแห่งหนึ่ง มีเถาวัลย์รกรุงรัง พระโพธิสัตว์เกิดเป็นปลาช่อนตัวหนึ่ง อาศัยอยู่ในห้วยนั้น สมัยนั้น เกิดภัยแล้งฝนไม่ตกเช่นเดียวกัน ฝูงปลาต่างดิ้นรนเอาชีวิตรอดด้วยเปลือกตม ฝูงนกการุมจิกกินหมู่ปลา ปลาช่อนนั้นเห็นความพินาศของหมู่ญาติ จึงทำสัจกิริยาให้ฝนตกด้วยการแหวกออกจากเปลือกตม มองดูอากาศแล้วบันลือเสียงแก่เทวราชปัชชุนนะว่า
" หมู่ปลาเดือดร้อนมาก ข้าพเจ้ารักษาศีลไม่เคยกินปลาด้วยกันตลอดชีวิต ด้วยความสัตย์นี้ขอท่านจงให้ฝนตกลงมาเถิด "
แล้วกล่าวคาถาว่า
" ปัชชุนนเทพ ท่านจงคำรณคำรามให้ฝนตกมา
ทำลายขุมทรัพย์ของฝูงกา ทำฝูงกาให้ได้รับความเศร้าโศก
และช่วยปลดเปลื้องข้าพเจ้าและหมู่ญาติ ให้พ้นจากความเศร้าโศกเถิด "
ฝนห่าใหญ่จึงตกลงมาช่วยชีวิตสัตว์ให้รอดพ้นจากความตายได้
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า คุณของศีลสามารถช่วยเหลือชีวิตของผู้อื่นให้รอดพ้นจากความตายได้
...................
พระคาถาปลาช่อนขอฝน
ปุนะ ปะรัง ยะทา โหมิ มัจฉะราชา มะหาสะเร
อุณเห สุริยะสันตา เปสะเร อุทะกัง ขียะถะ
ตะโต กากา จะ คิชฌา จะ กังกากุลาละเสนะกัง
ภักขายันติ ทิวารัตติง มัชเฌ อุปะนิสีทิยะ
เอวัง จินเตสะหัง ตัตถะ สะหะ ญาติภิปิฏฐิโต 
เกนะ นุ โข อุปาเยนะ ญาติ ทุกขา ปะโมจะยัง 
วิจินตะยิตะวา ธัมมัฏฐัง สัจจัง อัททะสะ วัสสะยัง
สะเจ ฐิตะวา ปะโมเจสิง ญาตีนัง ตัง อะติกขะยะ
อะนุสสะริตะวา สะตัง ธัมมัง ปะระมัตถัง วิจินตะยัง
อะกาสิง สัจจะกิริยัง ยัง โลเก ธุวะสัสสะตัง
ยะโต สะรามิ อัตตานัง ยะโต ปัตโตสะมิ วิญญุตัง
นาภิชานามิ สัญจิจจะ เอกะปาณัมหิ หิงสิตา
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ ปะชุนโน อะภิวัสสะตุ
อะภิตถะนายัง ปะชุนนะ นิธิง กากัสสะ นาสะยะ
กากัง โสกายะ รันเชหิ มัจเฉ โสกา ปะโมจะยะ
สะหะ กะเต สัจจะวะเร ปะชุนโน อะภิวัสสิยะ
ถะลัง นินนัญจะ ปูเรนโต ขะเณนะ อะวิวัสสิยะ
เอวะรูปัง สัจจะกิริยัง กัตะวา วิริยะมุตตะมัง
วัสสาเปสิง มะหาเมฆัง สัจจะเตชะพะลัสสิโต
สัจเจนะ เม สะโม นัตถิ เอสา เม สัจจะปาระมีติ ฯ
(ใช้สวดวันละ ๓จบ ต่อท้ายพระปริตร ก่อนเริ่มสวด อิติปิโส๑๐๘)
คำแปล
ในกาลเมื่อเราเป็นพระยาปลาอยู่ในสระ
ใหญ่น้ำในสระแห้งขอดเพราะแสงพระอาทิตย์ในฤดูร้อน 
ที่นั้นกาแร้งนกกระสานกตะกรุมและเหยี่ยว มาคอยจับปลากินทั้งกลางวันกลางคืน 
ในกาลนั้น เราคิดอย่างนี้ว่าเรากับหมู่ญาติถูกบีบคั้น จะพึงเปลื้องหมู่ญาติให้พ้นจากทุกข์ได้ด้วยอุบายอะไรหนอ 
เราคิดแล้วได้เห็นความสัตย์อันเป็นอรรถเป็นธรรมว่าเป็นที่พึ่งของหมู่ญาติได้เราตั้งอยู่ในความสัตย์แล้ว 
จะเปลื้องความพินาศใหญ่ของหมู่ญาตินั้นได้เรานึกถึงธรรมของสัตบุรุษ 
คิดถึงการไม่เบียดเบียนสัตว์ อันตั้งอยู่ในเที่ยงแท้ในโลก ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งได้แล้วได้กระทำสัจกิริยาว่า 
ตั้งแต่เราระลึกตนได้ ตั้งแต่เรารู้ความมาจนถึงบัดนี้เราไม่รู้สึกว่าแกล้งเบียดเบียนสัตว์แม้ตัวหนึ่งให้ได้รับความลำบากเลย 
ด้วยสัจวาจานี้ ขอเมฆจงยังฝนให้ตกห่าใหญ่แน่ะเมฆท่านจงเปล่งสายฟ้าคำรามให้ฝนตกจงทำขุมทรัพย์ของกาให้พินาศไป 
ท่านจงยังกาให้เดือดร้อนด้วยความโศกจงปลดเปลื้องฝูงปลาจากความโศก พร้อมกับเมื่อเราทำสัจกิริยา 
เมฆส่งเสียงสนั่นครั่นครื้น ยังฝนให้ตกครู่เดียวก็เต็มเปี่ยมทั้งที่ดอนและที่ลุ่มครั้นเราทำความเพียรอย่างสูงสุด 
อันเป็นความสัตย์อย่างประเสริฐเห็นปานนี้แล้วอาศัยกำลังอานุภาพความสัตย์ 
จึงยังฝนให้ตกห่าใหญ่ผู้เสมอด้วยความสัตย์ของเราไม่มีนี้เป็นสัจบารมีของเราฉะนี้แล.
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs links 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


ดาบสขี้โกง

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.

ดาบสขี้โกง (กุหกชาดก)
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุผู้มักหลอกลวงรูปหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า...
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในเมืองพาราณสี มีชฎิลโกงผู้หนึ่งเป็นดาบสหลอกลวง อาศัยอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ภายใต้การอุปถัมภ์ของพ่อค้าคนหนึ่ง เขาสร้างศาลาให้ดาบสและปรนนิบัติด้วยอาหารอันประณีต ด้วยเชื่อว่าดาบสเป็นผู้ทรงศีล จึงนำทองคำร้อยแท่งไปฝังไว้ใกล้ๆ ศาลาของดาบสนั้น เพื่อให้ดาบสช่วยดูแลรักษา ดาบสพูดให้เขาเกิดความสบายใจว่า
" ขึ้นชื่อว่าความโลภในสิ่งของผู้อื่น บรรพชิตไม่มีเลย "
เวลาผ่านไปสองสามวัน ดาบสได้นำทองคำไปฝังไว้เสียที่แห่งอื่น แล้วย้อนกลับมา ในวันรุ่งขึ้นฉันอาหารในบ้านของพ่อค้าแล้วกล่าวอำลาว่า
" อาตมาอาศัยท่านอยู่นานแล้ว ความพัวพันกับกับพวกมนุษย์ย่อมมี ธรรมดาการพัวพันเป็นมลทินของบรรพชิต เพราะฉะนั้น อาตมาจะขอลาไป "
แม้พ่อค้าจะอ้อนวอนอย่างไร ก็จะไม่อยู่ท่าเดียว เมื่อพ่อค้าบอกว่า
" ไปเถิดพระคุณเจ้า "
ตามไปส่งจนถึงประตูบ้านแล้วกลับเข้าบ้านไป
ดาบสนั้น เดินไปได้หน่อยหนึ่งแล้วก็เดินกลับมา พร้อมกับยื่นหญ้าเส้นหนึ่งให้แก่พ่อค้าพร้อมกล่าวว่า
" มันติดชฎาของอาตมาไป จากชายคาเรือนของท่าน ขึ้นชื่อว่า อทินนาทานไม่สมควรแก่บรรพชิต "
พ่อค้ายิ่งเลื่อมใสเข้าใจว่า
" ดาบสนี้ไม่ถือเอาสิ่งของผู้อื่น แม้เพียงเส้นหญ้า โอ! พระคุณเจ้าช่างเคร่งคัดจริง ๆ "
ก็พอดีมีชายบัณฑิตคนหนึ่งไปชนบทเพื่อต้องการสิ่งของ ได้พักแรมอยู่ในบ้านพ่อค้านั้นด้วย เห็นเหตุการณ์นั้นแล้วฉุกคิดว่า
" ต้องมีอะไรสักอย่างแน่ ๆ ที่ดาบสนี้ถือไป "
จึงถามพ่อค้าว่า
" ท่านได้ฝากอะไรไว้กับดาบสไหม ? "
พ่อค้าจึงเล่าเรื่องฝากให้ดาบสดูแลหลุมฝังทองคำ ๑๐๐ แท่ง เขาจึงบอกให้พ่อค้ารีบไปตรวจเช็คดูว่าหายหรือไม่ เมื่อพ่อค้าไปตรวจดูแล้วปรากฏว่าไม่เห็นทองคำ จึงรีบกลับมาบอกชายบัณฑิตนั้น แล้วพากันรีบติดตามดาบสจับมาทุบบ้าง เตะบ้าง ให้นำทองคำมาคืน เมื่อพบทองคำแล้ว ชายผู้เป็นบัณฑิตจึงพูดว่า
" ดาบสนี้ขโมยทองคำ ๑๐๐ แท่ง ยังไม่ข้องใจ กลับมาข้องใจในเรื่องเพียงเส้นหญ้า "
แล้วกล่าวคาถาว่า
" ถ้อยคำของท่านช่างไพเราะอ่อนหวานเสียนี่กระไร ท่านรังเกียจกระทั่งหญ้าเส้นเดียว
แต่เมื่อขโมยทองคำไปตั้ง ๑๐๐ แท่ง กลับไม่รังเกียจเลยนะ "
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน
เครดิต ; www.dhammathai.org
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs links 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.......................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


คนมีศิลปะ

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.

คนมีศิลปะ (สาลิตตกชาดก)
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุผู้ฆ่าหงส์รูปหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า...
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นอำมาตย์ในเมืองพาราณสี มีพราหมณ์ปุโรหิตผู้พูดมากคนหนึ่งประจำราชสำนัก ถ้าเขาได้พูดแล้วคนอื่นจะไม่มีโอกาสได้พูดเลย สร้างความรำคาญให้แก่ผู้คนเป็นอย่างมาก แม้กระทั่งพระราชา พระองค์จึงคิดหาวิธีสกัดคำพูดของปุโรหิตนั้น
วันหนึ่ง พระองค์เสด็จไปพระอุทยานด้วยพระราชรถ ถึงต้นไทรทอดพระเนตรเห็นพวกเด็กกลุ่มหนึ่งกำลังยืนมุงดูชายง่อยเปลี้ยผู้หนึ่ง ดีดก้อนกรวดซัดใส่ใบไม้เจาะรูเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ อยู่ จึงเสด็จเข้าไปทอดพระเนตรดู ทรงคิดได้วิธีสกัดคำพูดของปุโรหิต รับสั่งให้ชายง่อยเปลี้ยเข้าเฝ้า แล้วตรัสถามว่า
" ในราชสำนักของเรา มีคนพูดมากอยู่คนหนึ่ง เจ้า สามารถทำให้เขาหยุดพูดได้ไหม ? "
เขากราบทูลว่า
" ถ้าได้ขี้แพะถังหนึ่ง อาจทำให้เขาหยุดพูดได้ พระเจ้าค่ะ "
จึงรับสั่งให้นำชายง่อยเปลี้ยเข้าวังด้วย ให้เขานั่งภายในม่านเจาะรูตรงข้ามกับที่นั่งของพราหมณ์ปุโรหิตผู้พูดมากนั้น พร้อมให้วางขี้แพะแห้งไว้ใกล้ ๆชายง่อยเปลี้ยนั้น พอได้เวลาพราหมณ์ปุโรหิตเข้าเฝ้า เขาก็เริ่มกราบทูลพูดโดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้อื่น เมื่อเขาอ้าปากพูดคำไหน บุรุษง่อยเปลี้ยก็ดีดขี้แพะที่ทำเป็นก้อนเล็กๆ ผ่านม่านเข้าปากเขาทุกคำพูด พราหมณ์ปุโรหิตจึงได้กลืนกินขี้แพะโดยไม่รู้ตัว
พระราชาทรงทราบว่าขี้แพะหมดแล้ว จึงตรัสว่า
" ท่านอาจารย์ ท่านกลืนกินขี้แพะไปตั้งถังหนึ่งแล้ว ยังไม่รู้อีกหรือ ? ท่าน จงไปถ่ายท้องก่อนที่จะตายเสียเถิด "
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พราหมณ์ปุโรหิตปิดปากสนิท แม้ใครจะพูดด้วย ก็ไม่ค่อยจะพูด พระราชาทรงสบายพระทัยแล้วรับสั่งให้พระราชทานบ้าน ๔ หลัง อยู่ในทิศทั้ง ๔ ทิศ พร้อมทรัพย์สินแก่ชายง่อยเปลี้ยนั้น
ฝ่ายอำมาตย์ ได้เข้าเฝ้าพระราชาแล้วกราบทูลว่า
"ธรรมดาศิลปะในโลก บัณฑิตทั้งหลาย พึงเรียน แม้เพียงดีดก้อนกรวด ก็ยังช่วยให้ชายง่อยได้สมบัตินี้ "
แล้วกล่าวคาถานี้ว่า
" ขึ้นชื่อว่าศิลปะ แม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง ก็สามารถให้สำเร็จประโยชน์ได้โดยแท้
ขอพระองค์ทรงทอดพระเนตรบุรุษง่อย ได้บ้านทั้ง ๔ ทิศ ก็ด้วยการดีดขี้แพะ "
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : ศิลปะเป็นสิ่งจำเป็นกับชีวิต และไม่ควรเป็นคนพูดมาก
เครดิต ; www.dhammathai.org
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs links 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com


ปราสาทพระเทพบิดร

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.

“ปราสาทพระเทพบิดร” (วัดพระแก้ว)
กรุงเทพมหานคร
ปราสาทจตุรมุขยอดปรางค์
ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นยอดทรงมงกุฎ
ชื่อเดิมคือ “พระพุทธปรางค์ปราสาท” สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ เพื่อที่จะประดิษฐานพระแก้วมรกต แต่เนื่องจากพื้นที่ไม่เพียงพอแก่การพระราชพิธี อีกทั้งภายหลังได้มีการบูรณะในส่วนของหลังคาปราสาท โดยแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ ๖ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพกษัตริยาธิราช รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๕ และพระราชทานนามใหม่ว่า "ปราสาทพระเทพบิดร"
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs links 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

สะใภ้เศรษฐี

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.

สะใภ้เศรษฐี (สุชาตาชาดก)
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวันเมืองสาวัตถี ทรงปรารภนางสุชาดาน้องสาวของนางวิสาขาซึ่งเป็นลูกสะใภ้ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เรื่องมีอยู่ว่า...
นางสุชาดาสำคัญตนว่าเป็นลูกสาวของตระกูลใหญ่ จึงไม่ยอมก้มหัวให้กับใคร ๆ ในครอบครัวสามี แม้กระทั่งปู่และย่า เที่ยวดุด่าเฆี่ยนตีทาสรับใช้ในเรือนของสามีอยู่เป็นประจำ
ต่อมาวันหนึ่ง พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์เข้าไปฉันที่บ้านของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ขณะที่กำลังแสดงธรรมอยู่นั่นเอง ได้ยินเสียงเอะอะโวยวาย จึงตรัสถามท่านเศรษฐี เมื่อเศรษฐีกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว พระองค์จึงรับสั่งให้เรียกนางมาเข้าเฝ้า และตรัสถามนางว่า
" สุชาดา ภรรยามี ๗ จำพวก เธอเป็นภรรยาจำพวกไหน "
นางสุชาดาไม่ทราบจึงกราบทูลว่า
" ข้าพระองค์ไม่ทราบว่าพระองค์ตรัสหมายถึงอะไร โปรดอธิบายด้วยเถิดพระเจ้าข้า "
พระพุทธเจ้าจึงตรัสแสดงภรรยา ๗ จำพวกว่า
" สุชาดา ภรรยาจำพวกที่ ๑ มีจิตคิดประทุษร้ายสามี มิได้ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สามี รักใคร่ในชายอื่น ดูหมิ่นล่วงเกินสามี ขวนขวายเพื่อจะฆ่าสามี นี่เรียกว่า วธกาภริยา ภรรยาเสมือนดังเพชฌฆาต
ภรรยาจำพวกที่ ๒ สามีได้ทรัพย์มามอบให้ภรรยาเก็บรักษาไว้ แต่ภรรยาไม่รู้จักเก็บรักษา ปรารถนาแต่จะใช้ทรัพย์นั้นให้หมดไป นี่เรียกว่า โจรีภริยา ภรรยาเสมือนดังโจร
ภรรยาจำพวกที่ ๓ เกียจคร้านทำงาน กินจุ มักโกรธ มักดุด่า กดขี่คนใช้ นี่เรียกว่า อัยยาภริยา ภรรยาเสมือนดังเจ้านาย
ภรรยาจำพวกที่ ๔ โอบอ้อมอารี ทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลทุกเมื่อ ตามรักษาสามีเหมือนแม่รักษาลูก รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ไว้ นี่เรียกว่า มาตาภริยา ภรรยาเสมือนดังมารดา
ภรรยาจำพวกที่ ๕ มีความเคารพสามี มีความละอายใจ ทำตามความพอใจสามี คล้ายน้องสาวเคารพพี่ชาย นี่เรียกว่า ภคินีภรรยา ภรรยาเสมือนดังน้องสาว
ภรรยาจำพวกที่ ๖ เห็นหน้าสามีย่อมร่าเริงยินดี คล้ายกับเพื่อนรักมาเยี่ยมเยือนบ้าน รักษาชื่อเสียงวงศ์ตระกูล มีศีลมีวัตรปฏิบัติต่อสามี นี่เรียกว่า สขีภริยา ภรรยาเสมือนดังเพื่อน
ภรรยาจำพวกที่ ๗ เป็นคนที่ไม่มีความขึงโกรธ ถึงจะถูกคุกคามก็ไม่มีจิตคิดประทุษร้าย อดกลั้นต่อสามี เอาใจสามีเก่ง นี่เรียกว่า ทาสีภริยา ภรรยาเสมือนดังทาส
สุชาดา ภรรยา ๓ จำพวกแรกต้องตกนรก ส่วนภรรยา ๔ จำพวกหลังไปเกิดในเทวโลกชั้นนิมมานรดี ภรรยา ๗ จำพวกนี้ เธอจะเป็นจำพวกไหน "
เมื่อพระพุทธองค์เทศนาเรื่องภรรยา ๗ จำพวกจบเท่านั้น นางสุชาดาได้เป็นพระโสดาปัตติผลทันที จึงกราบทูลว่า
" ข้าพระองค์ขอเป็นทาสีภริยา ภรรยาเสมือนดังทาส พระเจ้าข้า"
ถวายบังคมขอขมาพระพุทธเจ้าแล้วก็ไป
เมื่อกลับถึงวัดเชตวันพวกภิกษุพากันสนทนาถึงนางสุชาดาที่เป็นหญิงสะใภ้ผู้ดุร้าย พอได้ฟังธรรมของพระพุทธองค์แล้วกลับเป็นหญิงเรียบร้อยไปได้
พระพุทธเจ้าเพื่อคลายความสงสัยของพวกภิกษุได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าพรหมทัต เมืองพาราณสี พอเจริญวัยได้ไปศึกษาศิลปะที่เมืองตักกสิลา เมื่อพระราชบิดาสวรรคตแล้วก็ได้ขึ้นครองราชย์สืบมา พระองค์ทรงปกครองบ้านเมืองโดยธรรม แต่พระมารดาเป็นผู้มักโกรธดุร้าย ชอบด่าข้าทาสบริวารอยู่เสมอ พระองค์คิดหาวิธีจะตักเตือนพระมารดาแต่ก็ยังหาไม่ได้
วันหนึ่ง พระองค์เสด็จไปสวนหลวงพร้อมด้วยพระมารดา มีบริวารแวดล้อมไปด้วยคณะใหญ่ พวกข้าทาสบริวารพอได้ยินเสียงนกต้อยตีวิดร้องก็พากันปิดหูพร้อมกับบ่นว่า
" เจ้านกบ้า เสียงไม่ไพเราะก็ยังร้องอยู่ได้ ไม่อยากฟัง"
ลำดับนั้นได้ยินเสียงนกดุเหว่าร้องสำเนียงไพเราะก็พากันชื่นชมว่า " เสียงเจ้าช่างไพเราะจริงๆ ร้องต่อไปเรื่อยๆ อย่าได้หยุดนะ"
พระองค์คิดว่าได้โอกาสตักเตือนพระมารดาแล้ว จึงตรัสเป็นพระคาถาว่า
" ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายที่สมบูรณ์วรรณะ มีเสียงอันไพเราะ น่ารักน่าชม
แต่พูดจาหยาบกระด้าง ย่อมไม่เป็นที่รักของใครๆ ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
พระองค์ก็ได้เห็นมิใช่หรือว่า นกดุเหว่าสีดำตัวนี้มีสีไม่สวย ลายพร้อยไปทั้งตัว
แต่เป็นที่รักของสัตว์ทั้งหลายจำนวนมาก เพราะร้องด้วยเสียงอันไพเราะ
เพราะฉะนั้น บุคคลควรพูดคำอันสละสลวย คิดก่อนพูด พูดพอประมาณไม่ฟุ้งซ่าน
ถ้อยคำของผู้ที่แสดงเป็นอรรถเป็นธรรม เป็นถ้อยคำอันไพเราะ เป็นถ้อยคำที่เป็นภาษิต "
พระมารดาได้สดับแล้วก็กลับได้สติ จำเดิมแต่วันนั้นมาก็กลายเป็นคนเพียบพร้อมด้วยมารยาทอันดีงามไม่ดุด่าว่าร้ายใครๆ ครองชีวิตโดยธรรมเสด็จไปตามยถากรรม
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : สะใภ้ที่ดีควรเลือกทำตามภรรยา ๔ จำพวกหลัง และควรเป็นคนเจรจาด้วยคำไพเราะอ่อนหวามเหมือนกับเสียงนกดุเหว่าที่ใครๆ ก็ลุ่มหลงอยากฟัง
เครดิต ; www.dhammathai.org
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs links 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.......................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


บุญที่ให้ทานแก่ปลา

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.

บุญที่ให้ทานแก่ปลา (มัจฉทานชาดก)
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวันเมืองสาวัตถี ทรงปรารภพ่อค้าโกงชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นลูกชายของพ่อค้าตระกูลหนึ่งในเมืองพาราณสี มีน้องชายอยู่คนหนึ่ง เมื่อบิดาเสียชีวิตแล้วสองพี่น้องได้ปรึกษาหารือกันเรื่องบริหารกิจการค้าขาย ตกลงกันเดินทางไปสะสางบัญชีการค้าที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ได้เงินพันหนึ่งแล้วก็เดินทางกลับมานั่งกินข้าวห่อรอเรือข้ามฟากที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา
หลังจากกินข้าวเสร็จแล้ว พระโพธิสัตว์ได้ให้อาหารที่เหลือแก่ปลาในแม่น้ำแล้วอุทิศส่วนบุญกุศลให้สรรพสัตว์รวมถึงเทวดาที่แม่น้ำนั้นด้วย เทวดาพออนุโมทนารับส่วนบุญเท่านั้น ก็เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยลาภยศอันเป็นทิพย์
เมื่อให้อาหารปลาหมดแล้วเขาก็ลาดผ้าบนหาดทรายล้มตัวลงนอนหลับไป ส่วนน้องชายของเขามีนิสัยเป็นหัวขโมยมาตั้งแต่เด็ก นั่งคิดวางแผนฉกเอาทรัพย์จึงห่อก้อนหินขึ้นห่อหนึ่งขนาดเท่ากับถุงห่อเงินนั้น
เมื่อเรือข้ามฟากมาถึง เขาก็ปลุกพี่ชายแล้วถือถุงสองถุงขึ้นเรือไปก่อน เมื่อเรือไปถึงกลางแม่น้ำ เขาก็ทำให้เรือโครงเครงทำทีเป็นเสียหลักโยนถุงหนึ่งลงน้ำไปพร้อมกับพูดขึ้นว่า
" พี่ ถุงห่อเงินตกน้ำไปแล้ว เราจะทำอย่างไรละทีนี้ "
" เมื่อมันตกน้ำไปแล้วก็ช่างมันเถอะ อย่าคิดถึงมันเลยหาเอาใหม่ได้มากกว่านี้ " พี่ชายตอบ
เทวดาประจำแม่น้ำคงคาเห็นเหตุการณ์นั้นตลอดจึงบันดาลให้ปลาปากกว้างตัวหนึ่งมากลืนกินถุงเงินนั้นไป
ฝ่ายน้องชายเมื่อกลับถึงบ้านแล้วก็รีบแก้ถุงเงินอีกถุงหนึ่งออกดูด้วยความกระหยิ่มใจ แต่พอแก้ห่อดูกลับเป็นถุงห่อก้อนหินจึงได้แต่นั่งคร่ำครวญเสียใจอยู่คนเดียวที่หลงทิ้งถุงห่อเงินลงน้ำไป ฝ่ายพี่ชายก็กลับไปบ้านของตนโดยไม่คิดอะไร
หลายวันต่อมา พวกชาวประมงไปหาปลาจับได้ปลาปากกว้างตัวนั้น จึงเที่ยวเดินขายปลาอยู่ว่า
" ปลาสดๆ จ้า ตัวนี้ขายตัวละ ๑,๗๐๐ บาท สนไหมครับ "
ชาวบ้านพากันหัวเราะเยาะว่า " ปลาอะไรจะแพงขนาดนั้นละ "
จึงไม่มีใครซื้อไป พวกเขาเดินขายไปจนถึงประตูร้านบ้านของพระโพธิสัตว์ได้ร้องขายปลาอยู่หน้าร้านนั้น
พระโพธิสัตว์เดินออกมาดูปลา สนใจปลาปากกว้างตัวนั้นจึงถามราคาว่า
" ปลาตัวนี้ราคาเท่าไหร่จ้ะ "
" ผมขายให้ ๒๘ บาทละกันครับ " ชาวประมงตอบ
เขาจึงซื้อปลาตัวนั้นไปมอบให้ภรรยาปรุงอาหาร พอภรรยาผ่าท้องปลาเท่านั้นก็พบถุงเงินจึงมอบให้เขา เขาเปิดดูเห็นตราประทับห่อของตนก็จำได้ จึงนั่งคิดแปลกใจอยู่คนเดียวว่า
" แปลกจัง ชาวประมงร้องขายปลาให้คนอื่น ๑,๗๐๐ บาท แต่ขายให้เราเพียง ๒๘ บาท เราได้เงินคืนมาเพราะอะไรหนอ "
ขณะนั้น เทวดาได้ปรากฏร่างยืนอยู่ในอากาศพูดว่า
" เราเป็นเทวดาประจำแม่น้ำคงคา ท่านให้อาหารปลาวันนั้นแล้วอุทิศส่วนบุญแก่เรา เราจึงขอมอบทรัพย์แก่ท่านคืน ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะแผนการณ์ของน้องชายท่านเอง ชื่อว่าความเจริญย่อมไม่เกิดแก่คนผู้มีจิตคิดร้ายผู้อื่น "
แล้วได้กล่าวคาถาว่า
" ผู้ใดทำกรรมชั่ว ล่อลวงเอาทรัพย์สมบัติของพี่น้องและของพ่อแม่
ผู้นั้นจัดว่าเป็นผู้มีจิตชั่วร้าย ย่อมไม่มีความเจริญ แม้เทวดาก็ไม่นับถือเขา "
กล่าวคาถาจบก็หายร่างไป
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : ผลบุญกุศลช่วยให้ผู้มีจิตไม่ประทุษร้ายได้รับของคืน แม้เทวดาก็สรรเสริญยกย่อง
เครดิต ; www.dhammathai.org
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs links 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.......................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


ผลของคนอกตัญญู

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.

ผลของคนอกตัญญู (อกตัญญูชาดก)
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภอนาถบิณฑิกเศรษฐี เรื่องมีอยู่ว่า...
มีเศรษฐีชาวบ้านนอกคนหนึ่ง เป็นสหายผู้ไม่เคยเห็นกันของอนาถบิณฑิกเศรษฐี วันหนึ่ง ได้บรรทุกสิ่งของมาขายเมืองสาวัตถี ด้วยขบวนเกวียนสินค้า ๕๐๐ เล่ม มอบให้คนงานนำมาขาย พร้อมฝากคำมาหาอนาถบิณฑิกเศรษฐีด้วย
ฝ่ายท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้ทำการต้อนรับด้วยความยินดี สั่งให้หาที่พักและเสบียงแก่คนเหล่านั้น ไต่ถามถึงความสุขของเศรษฐีผู้สหาย รับซื้อแลกเปลี่ยนสินค้าทั้งหมดแล้วส่งกลับบ้าน พวกคนงานแจ้งเนื้อความนั้นแก่เศรษฐีเจ้านายของตน
ต่อมาอนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ส่งเกวียนบรรทุกสินค้าจำนวน ๕๐๐ เล่ม พร้อมนำเครื่องบรรณาการไปเยี่ยมเยือนเศรษฐีผู้สหายนั้น ฝ่ายเศรษฐีนั้นรับเครื่องบรรณาการแล้ว บอกว่าไม่รู้จักอนาถบิณฑิกเศรษฐีไม่จัดที่พักและเสบียงให้คนงานเหล่านั้นเลย ไม่รับซื้อสินค้าอีกด้วย คนเหล่านั้นต้องขายสินค้ากันเองแล้วกลับคืนเมืองสาวัตถี เล่าเรื่องนั้นแก่อนาถบิณฑิกเศรษฐีฟัง
อยู่ต่อมา เศรษฐีนั้น ได้บรรทุกสินค้ามาขายที่เมืองสาวัตถีซ้ำอีก นำบรรณาการมอบให้อนาถบิณฑิกเศรษฐีแล้ว พวกคนงานของอนาถบิณฑิกเศรษฐีเห็นพวกนั้นแล้ว ขออาสาต้อนรับเอง ให้ปลดเกวียนไว้นอกเมือง พอถึงเวลากลางคืนได้นำพวกเข้าปล้นสินค้าแย่งเอาแม้กระทั่งผ้านุ่ง พวกบ้านนอกไม่เหลือแม้กระทั่งผ้านุ่งต่างกลัวตาย พากันหนีไปสู่บ้านของตน
ฝ่ายคนของอนาถบิณฑิกเศรษฐีพากันบอกเรื่องนั้นแก่เศรษฐี ท่านเศรษฐีจึงนำความนี้ไปกราบทูลพระพุทธเจ้า พระองค์จึงตรัสพระคาถาว่า
" ผู้ใด ไม่รู้จักคุณความดีและประโยชน์ให้ที่ผู้อื่นกระทำไว้ก่อน
ผู้นั้น เมื่อมีกิจการเกิดขึ้นภายหลัง ย่อมไม่ได้ผู้ช่วยเหลือ "
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : บุญคุณคนต้องทดแทน
เครดิต ; www.dhammathai.org
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs links 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.......................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


นกกระยางเจ้าเล่ห์

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.

นกกระยางเจ้าเล่ห์ (พกชาดก)
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้ล่อลวงถือเอาผ้าจีวรรูปหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า ...
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ที่สระน้ำแห่งหนึ่งซึ่งไม่ใหญ่มากนัก มีปลาอาศัยอยู่มาก ในฤดูร้อน น้ำในสระจะลดน้อยลงจนเกือบแห้งขอด ทำให้ปลาอยู่อย่างลำบาก ในที่ไม่ไกลจากสระนี้ มีนกกระยางอยู่ตัวหนึ่ง เห็นปลามีอยู่จำนวนมาก จึงคิดหาอุบายลวงกินปลาขึ้นมาได้อย่างหนึ่งแล้วไปยืนอยู่ที่ริมสระน้ำนั้น ทำทีเป็นเศร้าสร้อยหงอยเหงา ยืนเซื่องซึมอยู่ ปลาเห็นนกกระยางเป็นเช่นนั้นจึงถามว่า
" ท่านเป็นอะไร ถึงดูซึมเศร้าไป "
นกกระยางจึงบอกว่า
" เรากำลังสลดใจ สงสารพวกท่าน ที่น้ำในสระนี้มีน้อย มีที่เที่ยวน้อยและความร้อนมีมาก ในที่ไม่ไกลจากนี้ มีสระใหญ่อยู่สระหนึ่งทั้งลึก มีน้ำมากและมีดอกบัวเต็มสระ ถ้าพวกท่านไว้ใจเราๆ จะอาสาพาพวกท่านไปด้วยจงอยปาก คาบพวกท่านไปทีละตัว "
ปลากล่าวว่า
" เจ้านาย ไม่เคยได้ยินว่า นกกระยางคิดดีต่อปลาเลย ท่านต้องการกินปลาทีละตัวมากกว่า พวกเราไม่เชื่อท่าน "
นกกระยางกล่าวว่า
" ถ้าพวกท่านไม่เชื่อเรา พวกเจ้าจงส่งปลาตัวหนึ่งไปดูสระน้ำพร้อมกับเราซิ "
ปลาจึงคัดเลือกได้ปลาดำใหญ่ตัวหนึ่ง ที่มีความสามารถทั้งทางน้ำและทางบก เป็นตัวแทนไปดูสระน้ำนั้นกับนกกระยาง นกกระยางได้นำปลาตัวนั้นไปชมสระน้ำนั้นบินวน ๓ รอบ แล้วนำกลับมาปล่อยยังสระเดิม ปลานั้นได้พรรณนาถึงสระน้ำที่ไปเห็นมาให้ปลาทั้งหลายฟัง พวกปลาจึงตกลงใจจะไปอยู่ที่สระใหม่ตามคำแนะนำของนกกระยางนั้น
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นกกระยางก็คาบปลาทีละตัวไปและกินเสียที่ต้นไม้กุ่มใกล้สระนั้น จนปลาหมดสระ ในสระนั้นยังมีปูใหญ่อยู่ตัวหนึ่ง นกกระยางอยากจะกินปูนั้น จึงไปใช้อุบายนั้นอีก ส่วนปูฉลาดกลับเสนอว่า เนื่องจากปูตัวใหญ่ เกรงว่านกจะคาบไปไม่ไหว จึงขอใช้ก้ามปูคีบคอนกไปแทนก็แล้วกัน ด้วยอำนาจแห่งความหิว ทำให้นกกระยางตกลงตามนั้น พอบินไปถึงต้นกุ่มนกกระยางก็ไปจับที่ต้นไม้นั้นหวังจะกินปู
ปูเห็นก้างปลาที่โคนต้นกุ่มนั้น กองอยู่อย่างมากมาย ทำให้ทราบความจริง จึงสั่งให้นกกระยางบินกลับไปส่งที่สระตามเดิม นกกระยางจะไม่ไป ปูจึงหนีบคอนกกระยางให้แน่นขึ้น พร้อมกับขู่จะหนีบคอนกให้ขาด นกกระยางกลัวตายจึงบินกลับไปที่สระน้ำนั้น พอบินไปถึงกลางสระน้ำ ปูจึงตัดสินใจหนีบคอนกกระยางขาดตายกลางสระนั่นเอง
รุกขเทวดา เห็นเหตุการณ์นั้นแล้ว จึงกล่าวเป็นคาถาว่า
" บุคคล ผู้ใช้ปัญญาหลอกลวงผู้อื่น จะพบความสุขอยู่ได้ไม่นาน
เพราะผู้ใช้ปัญญาหลอกลวงคนอื่น ย่อมประสบผลแห่งบาปกรรมที่ตนทำไว้
เหมือนนกกระยางถูกปูหนีบคอตาย ฉะนั้น "
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : ไม่ควรใช้ปัญญาหลอกลวงผู้อื่น เพราะจะประสบความพินาศในภายหลัง
เครดิต ; www.dhammathai.org
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs links 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.......................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


คนอกตัญญู

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.

คนอกตัญญู (สัจจังกิรชาดก)
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ ทรงปรารภพระเทวทัต ผู้พยายามตะเกียกตะกายเพื่อปลงพระชนม์ของพระองค์ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า...
กาลครั้งหนึ่งนานามาแล้ว ในเมืองพาราณสี พระเจ้าพรหมทัต มีพระราชโอรสผู้มีสันดานกักขฬะ หยาบคายอยู่พระองค์หนึ่งนามว่าทุฏฐกุมาร พระกุมารไม่ได้ทุบตีใครแล้วจะไม่ยอมตรัสกับใคร จึงไม่เป็นที่ชอบใจทั้งคนภายในและภายนอกพระราชวัง
วันหนึ่ง ท้าวเธอปรารถนาจะเล่นน้ำในแม่น้ำ จึงไปที่แม่น้ำด้วยขบวนบริวารหมู่ใหญ่ ปรากฏว่า วันนั้น มีพายุฝนตกอย่างหนัก พวกทาสจึงพากันทิ้งพระองค์ให้ลอยไปตามลำน้ำ หนีกลับเข้าเมือง กราบทูลพระราชาว่าไม่พบพระกุมาร พระราชารับสั่งให้ทหารออกติดตามค้นดูให้ทั่วบริเวณก็ไม่พบ
ฝ่ายพระกุมารได้เกาะขอนไม้ลอยไปตามแม่น้ำ ไม่นานก็มีงู หนูและนกแขกเต้าหนีตายมาอาศัยเกาะขอนไม้นั้นตามลำดับ สัตว์ทั้ง ๔ ชนิดได้อาศัยขอนไม้ลอยไปตามแม่น้ำนั้น ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำนั้น มีอาศรมของฤาษีอยู่ตนหนึ่ง ท่านกำลังเดินจงกรมในเวลาเที่ยงคืน ได้ยินเสียงพระกุมารร้องไห้ จึงไปที่ฝั่งน้ำ พบเห็นสัตว์ทั้ง ๔ ชนิดนั้นจึงได้ช่วยขึ้นฝั่งมา ก่อไฟให้สัตว์ที่อ่อนแอกว่าผิงไฟก่อน ให้พระกุมารผิงทีหลัง เมื่อจะให้อาหารก็ให้สัตว์ทั้ง ๓ ชนิดก่อน ให้พระกุมารทีหลัง
พระกุมารผูกโกรธในฤาษีหาว่าไม่ให้เกียรติตน พอผ่านไปสองสามวัน น้ำเหือดแห้งแล้ว สัตว์ทั้งสามก็ร่ำลาฤาษี พร้อมบอกที่อยู่ของตน หากฤาษีเดือดร้อนอะไรจงบอก ส่วนพระกุมารก็ร่ำลาฤาษีเช่นกัน กลับไปถึงเมืองไม่นานก็ได้ขึ้นครองราชสมบัติ
ฝ่ายฤาษี ต้องการจะทดสอบสัตว์ทั้ง ๔ ชนิด จึงไปที่อยู่ของงู หนูและนกแขกเต้าตามลำดับ สัตว์เหล่านั้นต่างก็ยินดีให้การต้อนรับเป็นอย่างดี แล้วเข้าเมืองพักอยู่ที่สวนหลวง เพื่อทดสอบพระราชา รุ่งเช้าจึงออกเที่ยวภิกขาจาร
ฝ่ายพระราชา ในขณะนั้น กำลังประทับบนหลังช้างออกตรวจเมือง ทอดพระเนตรไปเห็นฤาษีแต่ไกลก็จำได้ รับสั่งให้ทหารจับฤาษีไปเฆี่ยนตีทุก ๔ แยกเมือง แล้วน้ำไปตัดศีรษะเสีย พวกทหารได้ทำเช่นนั้น ฤาษีไม่สะทกสะท้านอ้อนวอนอะไร เมื่อถูกเฆี่ยนตีทุก ๔ แยกเมือง กลับกล่าวคาถาว่า
" ได้ยินว่า คนบางพวกในโลกนี้ ได้กล่าวความจริงไว้อย่างนี้ว่า
ไม้ลอยน้ำยังดีกว่า ส่วนคนบางคนที่ประทุษร้ายมิตรไม่ดีเลย "
พวกราชบัณฑิตได้ฟังคำนั้นทุก ๔ แยก จึงถามเหตุนั้น พอฤาษีเล่าความจริงให้ฟังแล้ว เกิดความสลด จึงพากันกบฏจับพระราชาสำเร็จโทษเสียบนคอช้างนั้นเอง ทำการยกฤาษีขึ้นเป็นพระราชาแทน ฤาษีครั้นขึ้นครองราชย์แล้วต้องการทดสอบสัตว์อีก จึงไปที่อยู่ของงูและหนู สัตว์ทั้งสองได้มอบสมบัติจำนวน ๗๐ โกฏิให้พระราชา ส่วนนกแขกเต้าก็จะนำข้าวสาลีมาให้ในฤดู พระราชานำสัตว์ทั้งสามเข้าเมืองบำรุงเลี้ยงอย่างดี ครองราชโดยธรรม ประสบความร่มเย็นเป็นสุขตลอดอายุขัย
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : เกิดเป็นคนต้องรู้จักบุญคุณของคน
เครดิต ; www.dhammathai.org
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs links 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.......................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


ธรรมสำหรับต้นไม้

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.

ธรรมสำหรับต้นไม้ (รุกขธัมมชาดก)
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภถึงความพินาศใหญ่ที่กำลังจะเกิดแก่พระประยูรญาติของพระองค์ เพราะทะเลาะกันเรื่องน้ำ ขอให้สมานสามัคคีร่วมใจกัน ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า...
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ท้าวเวสวรรณมหาราชถึงคราวจุติ จึงส่งข่าวไปยังเทพยดาให้จับจองต้นไม้ กอไผ่ พุ่มไม้และเครือไม้ทำเป็นวิมานสถานที่อยู่ รุกขเทวดาตนหนึ่ง จึงประกาศในท่ามกลางหมู่ญาติ ให้จับจองต้นไม้ทำเป็นวิมานสถานที่อยู่ อย่าไปอยู่บนเนิน ให้อยู่รวมกันที่ป่ารัง พวกเทพยดาที่เป็นบัณฑิตต่างก็ทำตามคำสั่งของรุกขเทวดานั้น ส่วนพวกเทพยดาผู้ไม่ใช่บัณฑิตไม่เชื่อคำ จึงพากันไปจับจองวิมานอยู่ตามประตูบ้าน ประตูเมือง ถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ด้วยหวังในลาภยศอันเลิศ ได้เลือกต้นไม้ใหญ่บนเนินเป็นวิมานที่อยู่อาศัย
อยู่มาวันหนึ่ง เกิดลมพายุฝนห่าใหญ่ถอนรากโคนต้นไม้ใหญ่ล้มลงหมด เหลือไว้แต่ป่ารังซึ่งอยู่ติดชิดกันหนาแน่น พวกเทพยดาที่อยู่ต้นไม้ใหญ่ต่างจูงลูกไปหาพวกรุกขเทวดาที่ป่ารัง ขออาศัยอยู่ด้วย รุกขเทวดาที่ป่ารังจึงกล่าวว่า
" ชื่อว่า ผู้ไม่เชื่อถือคำของหมู่บัณฑิต แล้วพากันไปสู่สถานที่อันหาปัจจัยมิได้ ย่อมเป็นอย่างนี้ทั้งนั้น "
แล้วกล่าวคาถาว่า
" ญาติยิ่งมีมากยิ่งดี แม้ต้นไม้เกิดในป่า ยิ่งมีมากก็ยิ่งดี (เพราะ)
ต้นไม้ที่ยืนต้นอยู่โดดเดี่ยว ถึงจะใหญ่โต ลมย่อมพัดให้หักโค่นได้ "
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : ทุกคนควรมีญาติพี่น้องเป็นที่พึ่งพิง
เครดิต ; www.dhammathai.org
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs links 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.......................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


นกคุ่มโพธิสัตว์

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.

นกคุ่มโพธิสัตว์ (วัฏฏกชาดก)
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า เมื่อคราวเสด็จเที่ยวจาริกไปในมคธชนบททั้งหลาย ทรงปรารภการดับไฟป่า
เรื่องมีอยู่ว่า วันหนึ่ง พระพุทธองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ได้ไปบิณฑบาตในหมู่บ้านชาวมคธแห่งหนึ่ง ฉันเสร็จแล้วเสด็จไปตามทาง วันนั้น เกิดไฟป่ารอบด้าน พวกภิกษุปุถุชนต่างกลัวตายจึงพากันจะดับไฟ ถูกพวกภิกษุห้ามไว้และให้อยู่ในอาการที่สงบ ไฟป่าไหม้มารอบด้าน พอใกล้เข้ามาหาพื้นที่พระพุทธองค์และหมู่สงฆ์อยู่ก็ดับไปเอง สร้างความแปลกประหลาดใจแก่ภิกษุทั้งหลาย เพื่อคลายความสงสัยของพวกภิกษุ พระพุทธองค์จึงได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีนกคุ่มผัวเมียคู่หนึ่งกำลังมีลูกน้อยตัวหนึ่ง ทุกวันนกคุ่มผัวเมียจะออกจากรังไปหาอาหารมาป้อนลูกนกอยู่เป็นประจำ
วันหนึ่ง เกิดไฟไหม้ป่ารอบข้าง นกต่างๆ รวมทั้งนกคุ่มสองผัวเมีย ได้บินออกจากรังไป เพราะกลัวตาย ปล่อยให้นกคุ่มลูกน้อยนอนผจญภัยอยู่ตามลำพัง นกคุ่มน้อยเมื่อเห็นไฟไหม้ใกล้เข้ามา จึงรำลึกถึงคุณแห่งศีลว่า
" คุณแห่งศีลมีอยู่ในโลก ความสัจ ความสะอาด และความเอ็นดู มีอยู่ในโลก
ด้วยความสัจนั้น ข้าพเจ้าจักทำสัจกิริยาอันยอดเยี่ยม ข้าพเจ้าพิจารณากำลังแห่งธรรม
ระลึกถึงพระชินเจ้าทั้งหลายในปางก่อน อาศัยกำลังสัจจะ ขอทำสัจจกิริยา "
แล้วกล่าวเป็นคาถาว่า
" ปีกของเรา มีอยู่ แต่ก็บินไม่ได้ เท้าทั้งสองของเรา มีอยู่แต่ก็เดินไม่ได้
มารดาและบิดาของเรา ออกไปหาอาหาร นี่ไฟป่า ท่านจงถอยกลับไปเสีย "
ด้วยอำนาจแห่งการทำสัจกิริยาของลูกนกคุ่มไฟป่าได้ดับลงไปหมดสิ้น
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : คุณของศีลทำให้รอดพ้นภัยวิบัติได้
เครดิต ; www.dhammathai.org
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs links 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.......................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


การทำเกินประมาณ

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.

การทำเกินประมาณ (เภริวาทชาดก)
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวันเมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุผู้ว่ายากรูปหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า...
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในเมืองพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดเป็นช่างตีกลอง อาศัยอยู่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ในช่วงเทศกาลงานประจำปีในเมืองพาราณสี เขาได้ชวนลูกชายไปแสดงตีกลองเก็บเงินค่าดูได้จำนวนมาก
ในวันสุดท้ายของวันงานจึงเดินทางกลับบ้าน ลูกชายด้วยความคะนองและดีใจที่ได้เงินมาก จึงตีกลองไปตลอดทาง พอไปถึงดงโจรในระหว่างทาง พ่อจึงกล่าวว่า
" ลูกเอ๋ย เจ้าอย่าตีกลองไม่หยุดระยะ จงตีเป็นระยะ เหมือนกลองของทหารเดินทางสิ "
ลูกชายกลับพูดว่า
" ผมจักไล่พวกโจรให้หนีไปด้วยเสียงกลองนี้ " แล้วยิ่งกระหน่ำตีกลอง ไม่หยุดระยะเลย
ฝ่ายพวกโจรพอได้ยินเสียงกลองครั้งแรกก็คิดจะหนีไปเพราะนึกว่ากลองทหาร พอฟังนานๆไปก็เอ๊ะใจว่าไม่ใช่ จึงซุ่มดูอยู่ข้างทางเห็นมีเพียงสองพ่อลูกเท่านั้น จึงรุมทุบตีแย่งชิงทรัพย์เอาไปหมดสิ้น พ่อจึงกล่าวสอนลูกชายด้วยคาถาว่า
" เมื่อจะตีกลองก็ตีเถิด แต่อย่าตีเกินประมาณ เพราะการตีเกินประมาณ
เป็นการเสียหายของเรา ทรัพย์ตั้งร้อยที่ได้มาเพราะการตีกลอง ได้สูญเสียไป
เพราะเจ้าตีกลองเกินประมาณ "
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : อย่าทำอะไรให้เกินประมาณเพราะจะสร้างความลำบากให้ภายหลัง
เครดิต ; www.dhammathai.org
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs links 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.......................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


คนที่เหมาะสมกับเหตุการณ์

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.

คนที่เหมาะสมกับเหตุการณ์ (มหาสารชาดก)
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภพระอานนทเถระ เรื่องมีอยู่ว่า ครั้งนั้น พระสนมของพระเจ้าโกศล มีความประสงค์จะศึกษาธรรมะ จึงขอโอกาสพระราชา นิมนต์พระสงฆ์รูปหนึ่งเข้ามาสอนธรรมะในพระราชวัง พระราชาทรงเห็นดีด้วย จึงกราบทูลแด่พระพุทธเจ้า พระพุทธองค์จึงจัดส่งพระอานนทเถระเข้าไปแสดงธรรมในพระราชวัง
ต่อมาวันหนึ่ง พระจุฬามณีของพระราชาเกิดสูญหาย พระราชาจึงรับสั่งให้อำมาตย์ตรวจค้นผู้คนในพระราชวังทั้งหมด แต่ก็ไม่พบ ทำให้ผู้คนเกิดความเดือดร้อน
วันนั้น พระเถระเข้าไปพระราชวัง พบเห็นความผิดปกติของพระสนม ซึ่งทุกวันพอเห็นพระเถระมา จะพากันร่าเริงยินดี ตั้งใจเรียนธรรม แต่วันนั้น กลับดูเหงาหงอย ซึมเซา จึงถามดู เมื่อทราบความแล้ว จึงขอเข้าเฝ้าพระราชา และให้คำแนะนำว่า
" อุบายที่จะไม่ทำให้มหาชนลำบาก แล้วให้เขานำพระจุฬามณีมาคืน พอมีอยู่ โดยใช้บิณฑทาน กล่าวคือ พระองค์สงสัยคนเท่าใด ก็จับคนเท่านั้น แล้วให้ฟ่อนฟางหรือก้อนดินไปคนละก้อน บอกให้นำมาโยนทิ้งไว้ที่ห้องหนึ่ง คนที่ถือเอาพระจุฬามณีไป ก็จักซุกมากับฟ่อนฟางหรือก้อนดินนั้นนำมาโยนไว้ แล้วให้อำมาตย์ตรวจค้นดู วันแรกถ้ายังไม่พบ ก็พึงให้ทำเช่นนี้สัก ๓ วัน ผู้คนส่วนใหญ่ก็จะไม่พลอยลำบากด้วย "
พระราชารับสั่งให้ทำเช่นนั้นตลอด ๓ วัน ไม่มีใครนำแก้วจุฬามณีมาคืนเลย พระเถระถวายพระพรอีกว่า
" ถ้าเช่นนั้น โปรดรับสั่งให้ตั้งตุ่มใหญ่บรรจุน้ำเต็มไว้ในท้องพระโรง ทำม่านกั้นบังไว้แล้วให้ผู้คนทุกคนในพระราชวัง ห่มผ้าแล้วเข้าไปในม่านล้างมือที่ตุ่มทีละคนแล้วออกมา "
พระราชารับสั่งให้ทำเช่นนั้นปรากฏว่า ได้แก้วจุฬามณีกลับคืนมา ทรงดีพระทัยยิ่งนัก ผู้คนอาศัยพระเถระจึงพ้นจากทุกข์ได้ เรื่องนี้ทราบไปถึงพระพุทธองค์ พระองค์จึงได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า...
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์ เกิดเป็นอำมาตย์ในเมืองพาราณสี วันหนึ่ง พระราชา เสด็จประภาสอุทยาน เมื่อจะทรงอุทกกีฬา รับสั่งให้พวกสตรีเปลื้องอาภรณ์เครื่องประดับไว้กับหญิงรับใช้ แล้วลงสู่สระน้ำ ขณะนั้น มีนางลิงขาวตัวหนึ่ง อาศัยอยู่ในอุทยานนั้น ขณะหญิงรับใช้หลับ ได้ลักเอาสร้อยมุกดาแล้วกระโดดขึ้นต้นไม้นำไปซุกซ่อนไว้ในโพรงไม้แห่งหนึ่ง
ครั้นนางหญิงรับใช้ตื่นขึ้นมาไม่เห็นสร้อยมุกดา ก็ตัวสั่นจึงร้องตะโกนว่า
" มีคนแย่งสร้อยมุกดาของพระเทวีหนีไปแล้ว "
พวกทหารจึงรีบวิ่งตามจับโจร ขณะนั้น มีชายบ้านนอกคนหนึ่งเดินผ่านมา พอได้ยินเสียงนั้นก็ตกใจวิ่งหนี พวกทหารเห็นเขาหนีจึงวิ่งตามจับมาได้ ด้วยความกลัวตายชายคนนั้น จึงยอมรับว่า ได้ขโมยไปจริง เมื่อถูกถามหาว่านำไปไว้ไหน ก็บอกว่า มอบให้เศรษฐีไปแล้ว พระราชารับสั่งให้เศรษฐีมาเฝ้า เศรษฐีก็กราบทูลว่าได้มอบให้ปุโรหิตไปแล้ว ฝ่ายปุโรหิตก็กราบทูลว่าได้มอบให้คนธรรพ์ไปแล้ว คนธรรพ์ก็กราบทูลว่าได้มอบให้นางวัณณทาสีไปแล้ว ส่วนนางวัณณทาสีกราบทูลว่า มิได้รับไว้ เมื่อสอบสวนคนทั้ง ๕ คนกว่าจะทั่วทุกคน พระอาทิตย์ก็ลับขอบฟ้าไปแล้ว พระราชาจึงรับสั่งว่า
" ต้องรู้เรื่องในวัน พรุ่งนี้ " จึงมอบคนทั้ง ๕ ให้อำมาตย์แล้วเสด็จกลับเข้าสู่พระนคร
ฝ่ายอำมาตย์คิดว่า " เครื่องประดับหายภายในสวน ส่วนคนเหล่านี้เป็นคนภายนอก การอารักขาก็เข้มแข็ง โอกาสที่คนข้างนอกหรือคนรับใช้ในสวนจะลักไม่มีวี่เเววเลย คำยอมรับของพวกเหล่านี้ ก็เพื่อปลดเปลื้องตนจากความผิดเท่านั้น สวนนี้มีลิงอาศัยอยู่มาก เครื่องประดับคงตกอยู่ในมือของลิงตัวหนึ่งเป็นแน่ "
จึงขอให้มอบโจรทั้ง ๕ คนแก่ตน แล้วนำไปขังไว้ในห้องเดียวกัน สั่งให้ทหารแอบฟังดูว่า
" พวกโจรนี้จะปรึกษาอะไรกันบ้าง "
พอตกดึก เศรษฐีจึงถามชายบ้านนอกว่า
" มึงเคยพบกูที่ไหน มึงเคยให้เครื่องประดับกูตั้งแต่เมื่อไร ? "
ส่วนชายบ้านนอกรีบขอโทษแล้วกล่าวว่า
" ผมก็ไม่รู้จักสร้อยมุกดาด้วยซ้ำไป ที่อ้างท่านก็เพราะจะอาศัยท่านรอดพ้นจากอันตราย "
ฝ่ายปุโรหิตก็ถามเศรษฐีว่า
" เมื่อชายคนนั้นไม่ได้มอบเครื่องประดับแก่ท่าน แล้วท่านเอามามอบให้ข้าพเจ้าตั้งแต่เมื่อใด "
เศรษฐีจึงกล่าวว่า
" ข้าพเจ้ากล่าวไปก็เพราะเราทั้งสองเป็นคนใหญ่คนโต ช่วยกันพูดการงานก็จะสำเร็จด้วยดี "
ปุโรหิตก็พูดกับคนธรรพ์ว่าที่ข้าพเจ้ากล่าวตู่ท่าน ก็เพื่อที่จะอาศัยท่านอยู่เป็นสุขในห้องขัง ส่วนคนธรรพ์ก็กล่าวกับนางวัณณทาสีว่า ที่ข้าพเจ้ากล่าวตู่ท่านก็เพื่อที่จะอาศัยท่านในเรื่องเพศสัมพันธ์ พวกเราจักไม่ต้องหงอยเหงาอยู่ร่วมกันอย่างสบาย
อำมาตย์ ฟังคำรายงานนั้นจากทหารแล้ว ก็ทราบแน่ชัดว่าคนทั้ง ๕ นั้นไม่ใช่โจร จึงสั่งให้ทำเครื่องประดับยางไม้ เสร็จแล้วให้จับลิงมาประดับหลายตัวแล้วปล่อยไป สั่งให้ทหารสังเกตดู พวกลิงที่ได้เครื่องประดับไปแล้วก็อวดเครื่องประดับกันเกรียวกราว นางลิงนั้น พอเห็นเพื่อนมีเครื่องประดับก็ทนไม่ได้ จึงไปนำสร้อยมุกดามาประดับอวดตน พวกทหารเห็นเช่นนั้น จึงนำกลับมามอบให้แก่อำมาตย์
อำมาตย์ ได้นำสร้อยมุกดาเข้ากราบทูลแด่พระราชาและกราบทูลความจริงให้ทรงทราบ พระราชาทรงดีพระทัย เมื่อจะชมเชยอำมาตย์จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า
" ยามคับขัน ประชาชนต้องการผู้กล้าหาญ
ยามปรึกษาการงาน ต้องการคนไม่พูดพล่าม
ยามมีข้าวน้ำ ต้องการคนเป็นที่รักของตน
ยามเกิดปัญหา ต้องการบัณฑิต "
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : ใช้คนให้ถูกกับสถานการณ์
เครดิต ; www.dhammathai.org
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs links 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.......................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.