วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2563

คาถาหลวงพ่ออินทร์วัดบัวโนนสูง

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
คาถาหลวงพ่อรอด.
อุตธัง อัตโธ โธอุตธัง อัตอุต

พรหมสาโร กิตติคุโณ สิทธิกิตจัง สิทธิกัมมัง
สิทธิการิยะ พรหมสาโร พุทธังโหม ธัมมังหอม
สังฆังห้อมล้อม ปะสิทธิเม พุทธังคุ้ม ธัมมังกัน
สังฆังรักษา สัพพะอันตะรายา ปิวินัสสันติฯ

นะมะพะทะ นะชาลีติ ประสิทธิลาภา
ปะสันนะจิตตา สัทธาโหนติ ปิยังปัพพะฯ,

หลวงพ่ออินท์ วัดบัว
ดีกัน
เศษข้าวหมา+แมวที่กินด้วยกัน ตากแห้งบดเป็นผง
นะเมตตา โมกรุณา พุทธปราณี ธายินดี ยะเอ็นดู
มะสมสู่ ให้เราทั้งสอง เอ่ยชื่อ ... อยู่ด้วยกัน อยู่ดีกินดี จนกระทั่งวันตาย
( นึกในใจ ... ถ้าหมากับแมวยังอยู่ด้วยกันแล้ว ข้ากับเจ้าต้องอยู่ด้วยกัน )
*******************
แม่ธรณีเจ้าข้าฯ( 3 หน)
อยู่แล้วหรือยัง ......... อยู่
ถ้าอยู่ก็ให้มาช่วยลูก
โลกังกะวิทู เมรุมุอิฯ
*******************
สีผึ้ง
พุทธังชอบ
ธัมมังชอบ
สังฆังชอบ
ขอให้เขาไม่ชอบฉันทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
พุทธะสิทธิสวาหะชอบฯ
*******************
พุทธัง จังงัง สง่า
ธัมมัง จังงัง  ราชา
สังฆัง จังงัง  เสนา
ยะหายแห่งกู
ให้คนเอ็นดู ชนะทุกที
*******************
พ่อ
คาถาเป่าฟก
พุทธัง กระจาย
ธัมมัง  กระจาย
สังฆัง  กระจาย
ทะลายด้วยนะโมพุทธายะ
*******************
คาถาเรียกเงินทองหลวงพ่อกบ 
วัดเขาสาริกา
"โอม ละลวยมหาละลวย มะอะอะ สิวังพรหมา
จิตตังมานิมามา ทองหนึ่งทอง ทองสองทอง
โอมมหาจินดา เงินทองไหลมานิมามา
******************
แม่ธรณีเอย อยู่ แล้ว หรือ ยัง  
แล้วพูดเอง...   (อยู่) ...  ขอฝากตัวข้าพเจ้าบ้าง​
สังขาตังโลกะวิธู
สารพัดศัตรูวินาศสันติ"
หยิบดินใส่หัว

คาถาหลวงพ่อพรหมสร(รอด)

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
๑ อุตธัง อัตโธ โทอุตธัง อัตอุดฯ(ของหลวงพ่อ) สำหรับใช้ในการทั่วไปแลฯ
ใช้ภาวนากลั้นใจเด็ดใบไม้ให้เป็นรูปพอพาน"พ" เวลาเข้าผจญอันตราย สู้ เหน็บไว้ข้างหน้า, ถอย ให้เหน็บไว้ด้านหลัง หรือบริกรรมควบกับเหรียญรูปเหมือนของท่านก็จะประเสริฐสุดแลฯ
.........
๒ พรหมสาโร กิตติคุโณ สิทธิกิจจัง
สิทธิกัมมัง สิทธิการิยะ พรหมสาโร
พุทธังโหม ธัมมังหอม สังฆังห้อมล้อม
ประสิทธิเม พุทธังคุ้ม ธัมมังกัน สังฆังรักษา สัพพะอันตะรายา ปิวินัสสันติฯ
สำหรับใช้ภาวนาก่อนนำเหรียญหลวงพ่อคล้องคอ ประเสริฐนักแลฯ
.........
๓ นะมะพะทะ นะชาลีติ ประสิทธิลาภา
ปะสันนะจิตตา สัทธาโหนติ
ปิยังปัพพะฯ
ใช้สวดมนต์ภาวนานอน และภาวนาหาลาภ และเศกน้ำล้างหน้าก่อนออกไปประกอบอาชีพดำเนินกิจการงานทั่วไป
ประเสริฐนักแลฯ
(อย่าลืมน้อมใจตั้ง นะโม ๓ จบ ก่อนภาวนาคาถาทุกครั้ง และทุกบทที่จะใช้คาถานี้)

กินเนื้อสัตว์บาปหรือไม่

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

เนื้อสัตว์บาปหรือไม่

วันเสาร์ที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๓
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีชวดวันลอยกระทงช
กินเนื้อสัตว์บาปหรือไม่
ปัญหา มีพุทธศาสนิกชนบางพวกเห็นว่า การกินเนื้อสัตว์เป็นบาปเพราะเป็นการส่งเสริมให้คนอื่นฆ่า ในเรื่องนี้พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าอย่างไร?
พุทธดำรัสตอบ “..... ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่าไม่ควรเป็นของบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ เนื้อที่ตนเห็น เนื้อที่ตนได้ยิน เนื้อที่ตนรังเกียจ ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่า เป็นของไม่ควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการนี้แล ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่าเป็นของควรบริโภค ด้วยเหตุ ๓ ประการคือ เนื้อที่ตนไม่ได้เห็น เนื้อที่ตนไม่ได้ยิน เนื้อที่ตนไม่ได้รังเกียจ ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่า เป็นของบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการนี้แล.....”
ชีวกสูตร ม. ม. (๕๗)
ตบ. ๑๓ : ๔๘-๔๙ ตท.๑๓ : ๑๓ : ๔๗
ตอ. MLS. II : ๓๓

คนตกปลาได้ไปสวรรค์

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
คนตกปลาได้ไปสวรรค์ คนปฏิบัติธรรมได้ไปนรก 
วันนี้เป็นวันสำคัญทางศาสนา มีการจัดงานบุญ พร้อมกับฟังเทศน์อย่างยิ่งใหญ่ ชายคนหนึ่ง ได้มานั่งฟังธรรมอยู่บนศาลาวัด และในขณะที่นั่งฟังอยู่นั้น สายตาก็เหลือบไปเห็นคนกำลังตกปลาอยู่ในบ่อน้ำที่วัด แล้วก็นั่งคิดปน ก่ น ด่ า คนตกปลาอยู่ในใจ
ว่าทำไมถึงทำเช่นนั้น ในวัดแท้ๆ ยังกล้ามาจับปลา ไม่กลัว บ า ป ก ร ร ม บ้างเลยหรืออย่างไร
แต่แทนที่ชายคนนี้มานั่งฟังธรรมจะได้บุญ กลับเอาจิตไป ด่ า ท อ ผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา
ในขณะเดียวกัน “คนตกปลา” ก็มองเห็นคนที่มานั่งฟังธรรมบนศาลาวัด ใจก็ตั้งจิตขออนุโมทนาบุญ เพราะผมมันเป็นคน บ า ป  ไม่มีโอกาสได้ไปนั่งฟังธรรมกับคนอื่นเขา ต้องเอาเวลามาตกปลาเลี้ยงชีพ เลี้ยงดูพ่อแม่ที่ ป่ ว ย หนัก เพราะเกิดมาจ น จึงไม่มีวาสนาสร้างบุญแบบคนอื่น
หากเกิดชาติหน้า ก็ขอให้มีโอกาสได้สร้างบุญเหมือนแบบท่านๆที่ได้นั่งฟังธรรมอยู่ด้วยเถิด
เกิดมาชาตินี้มี ก ร ร ม หนัก ต้องชดใช้ ก ร ร ม ที่ก่อไว้ ปลาที่มาติดเบ็ด ก็ขออย่าได้จอง เ ว ร กันเลย
ถึงแม้คนตกปลา จะกำลังตกปลาอยู่ แต่จิตก็เอาแต่ภาวนาสาธุไปกับคนที่ฟังธรรม และขออโหสิ ก ร ร ม ปลาตลอด ที่นี้ทุกคนเข้าใจหรือยังว่า ทำไมคนฟังธรรมถึงตกนรก คนตกปลาได้ขึ้นสวรรค์
ความหมายของ “ก ร ร ม ดี” และ “ก ร ร ม ชั่ ว” มาจากเจตนา การมีเจตนาที่ประกอบด้วยกุศล คือ ก ร ร ม ดี แต่การมีเจตนาที่ประกอบด้วยอกุศล คือ ก ร ร ม ชั่ ว อย่างชายที่ไปนั่งฟังธรรม ก็หลงคิดว่าตัวเองกำลังทำดีอยู่ แล้วก็เอาแต่มองคนอื่นที่ไม่ทำแบบตัวเองว่าเป็นคนไม่ดี ในใจก็เอาแต่ ด่ า ท อ คิด ร้ า ย ต่างๆนาๆ ในขณะที่คนตกปลา มีแต่เจตนาที่ดีต่อผู้อื่น เห็นผู้อื่นทำความดี ก็ยินดีด้วยเสมอ
การปฏิบัติธรรม เป็นการฝึกจิตให้สงบ เพื่อพัฒนาจิตของตนเองให้สูงขึ้น ไม่ใช่เอาไว้ไปข่มคนอื่นให้ดูต่ำลง เพราะสุดท้ายแล้วคนที่ทำแบบนี้ ย่อมต่ำกว่า
เจ้าสวดมนต์แต่ยัง “นิ น ท า “
เจ้าทำทานแต่ยัง ” เ อ า เ ป รี ย บ “
เจ้ามีความรู้แต่ชอบ  ” ดู ถู ก ค น “
เจ้าตัวสะอาดแต่ ” ใ จ ส ก ป ร ก “
เจ้าอยากได้มิตรแท้ แต่… ” เจ้ากลับเป็นมิตรเทียม “
เจ้าบอกทำกุศล แต่… ” หมายเอาชื่อเสียง “
เจ้ามีทุกสิ่ง แต่… ” ไม่คิดแบ่งปัน “
เจ้าดูแลคนอื่น แต่… ” ละเลยพ่อแม่ “
เจ้างด เ นื้ อ สั ต ว์ แต่… ” ข่ ม เ ห ง ” เพื่อนมนุษย์
เจ้าหาตัวเองไม่เจอ แต่… “ก ร ร ม ” หาเจ้าเจอ
เครดิต ;
พระไพศาล วิสาโล ได้บอกถึงพฤติกรรมที่คนเหล่านี้เป็น นั่นเพราะว่า “เหมือนในสังคมทุกวันนี้ ที่ชอบทำบุญ แต่กลับไร้น้ำใจ ทั้งๆที่การมีน้ำใจต่อเพื่อนมนุษย์ เป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายในชีวิตประจำวัน แต่บางคนกลับดั้นด้นเดินทางไปไกลๆ เพื่อที่จะไปทำบุญที่วัดอย่างเดียว แต่กับคน ทุ ก ข์ ย า ก ใกล้ตัว ไม่เคยแม้แต่จะเหลียวแลยื่นมือช่วย นั่นเป็นเพราะว่าคนเรา มักจะชอบกระทำต่อสิ่งที่อยู่สูงกว่าตน เช่น พระสงฆ์ วัดวาอาราม แต่กลับละเลยสิ่งที่คิดว่าอยู่ต่ำกว่าตนเอง เช่น คน ย า ก จ น หรือ สั ต ว์ น้อยใหญ่”
เมตตาค้ำจุนโลก

วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2563

สติปัฏฐาน ๔

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
สติปัฏฐาน 4 จะพาไปสู่นิพพาน
ณ กรุงสาวัตถี พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับเหล่าภิกษุว่า ;
แม่น้ำคงคาไหลไปทางทิศตะวันออก ฉันใด 
    ภิกษุที่ฝึกฝนพัฒนาสติปัฏฐาน 4 ให้มาก (การมีสติระลึกรู้สภาวะทางกาย รู้สภาวะทางอารมณ์ความรู้สึก รู้สภาวะทางจิต และรู้สภาวะทางธรรม) ก็จะโน้มไปสู่นิพพาน ฉันนั้น 
    สติปัฏฐาน 4 ทำอย่างไร
    คือ 
-การพิจารณาเห็นกายในกาย (เห็นกายย่อยส่วนต่างๆในกายใหญ่) 
 -ห็นเวทนาในเวทนา (เห็นความรู้สึกต่างๆ)
 -เห็นจิตในจิต (เห็นสภาวะจิตต่างๆ)
  -เห็นธรรมในธรรม (เห็นธรรมในแง่มุมต่างๆ)
    และสติปัฏฐาน 4 นี้ จะนำไปสู่การละสังโยชน์เบื้องสูง 5 อย่างได้ (1.รูปราคะ - การติดใจในรูป ตัวคน วัตถุ สิ่งของ 2.อรูปราคะ - การติดใจในนามธรรม เช่น ความรู้สึกสุข 3.มานะ - ความสำคัญว่าตัวเองเป็นนั่นเป็นนี่ 4.อุทธัจจะ - ความฟุ้งซ่านพล่านไป และ 5.อวิชชา - ความไม่รู้ถึงความเป็นจริง) 
เครดิต ;
ที่มา: พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ 30 (พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ภาค 5 เล่ม 1 สติปัฏฐานสังยุต คังคาปาจีนนินนสูตร ข้อ 839), 2559, น.480-481
 

พระร่วงโรจนฤทธิ์

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
พระร่วงโรจนฤทธิ์
วัดพระปฐมเจดีย์
พระ​คู่​บ้าน​คู่​เมือง​นครปฐม
พระร่วงโรจนฤทธิ์​เป็นพระยืนองค์ใหญ่​ประดิษฐานในมุขหน้าพระวิหารทิศเหนือ  ที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์​ทรงออกแบบซุ้มพระอย่างสวยงาม​ยิ่ง​  เป็นศรีสง่าแห่งพระคู่บ้านคู่เมือง​นครปฐม
ประวัติ​ความเป็นมาของพระร่วง​โร​จน​ฤทธิ์​นั้น​มีอยู่ครบถ้วนกระบวนความ​  ในประกาศของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์  เสนาบดีกระทรวงวังครั้งรัชกาลที่​ 6​ ดังนี้
ประกาศถวายพระนามพระพุท​ธปฏิมา​  ที่พระวิหารด้านอุดรแห่งองค์​พระปฐมเจดีย์
พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ​  พระมงกุฎ​เกล้าเจ้าอยู่หัว​  มีพระบรมราชโองการเหนือเกล้าฯ​ ให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า​  พระพุทธ​ปฏิมาซึ่งประดิษฐาน​อยู่​ที่​ด้านอุดรแห่งพระปฐม​เจดีย์​นั้น​  เดิมเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จ​พระ​เจ้า​อยู่​หัว​ยังทรงดำรงพระ​อิสริยยศ​เป็นสมเด็จพระย​ุพราช​  เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือใน​พ.ศ.​ 2451  ได้ทอดพระเนตรพระพุทธรูปโบราณเป็นอันมาก​  มีพระพุทธรูป​องค์​หนึ่ง​ที่เมืองศรีสัชนาลัย​โบราณราชธานี​  กอปรด้วยลักษณะงามเป็นที่ต้องพระราชหฤทัย​  แต่ชำรุดมาก​  ยังคงเหลืออยู่แต่พระเศียรพระหัตถ์และพระบาท​  ซึ่งสันนิษฐาน​ได้แน่ว่าเป็นพระพุทธ​รูป​ยืนห้าม​ญาติ​  จึงโปรดเกล้า​ให้เชิญลงมากรุงเทพ​ฯ​  แล้วให้ช่างปั้นสถาปนาขึ้น​ให้​สมบูรณ์​เต็มพระองค์​  เมื่อการทำหุ่นเสร็จ​เป็นอันจะเททองได้แล้ว​  จึงโปรดเกล้าฯ​ ให้จัดการสถาปนา​พระพุทธ​รูป​พระ​องค์​นั้น​ ณ​ วันที่​ 30​ ธันวาคม​ 2456  ตรงกับวั​นมหามงคล​สมัยฉลองและเฉลิมพระชนมพรรษา​ที่วัดพระเชตุพน​  เมื่อการหล่อสำเร็จ​แล้ว​  มีขนาดสูง​จากพระบาทถึงพระเกศ​ 12​ ศอก​ 4​ นิ้ว​ ต้องด้วยลักษณะ​บริบูรณ์​ทุก​ประการ​  จึงโปรดเกล้าฯให้เชิญไปประดิษฐาน​ไว้ยังพระวิหาร​พระ​ปฐม​เจดีย์​  จังหวัดนครปฐม​  ออกจากกรุงเทพพระมหานคร​เมื่อเดือนกรกฎา​คม​ พ.ศ.​ 2457  เจ้าพนักงาน​จัดการ​ตกแต่ง​ประกอบตั้งต่อมาจนแล้วเสร็จ​บริบูรณ์​ ณ​ วันที่​ 2​ พฤศจิกายน​  พ.ศ.​ 2458
ครั้นกาลต่อมา​  ได้ทรงพระราชอนุสรณ์​คำนึงถึงพระพุทธ​ปฏิมากร​องค์​นั้นว่า​  ยังหาได้สถาปนาพระนามให้สมพระราช​หฤทัย​ประสาทการและเป็นอัครปูชนียฐานไม่​  จึงได้ถวายพระนามพระพุทธ​ปฏิมาพระ​องค์​นั้นว่า​  "พระร่วง​โร​จน​ฤทธิ์​  ศรีอิทราทิตย์​ธรรมโมภาส​  มหาวชิราวุธ​ราชปูชนิยบพิตร"   เพื่อเป็นเครื่อง​เฉลิม​พระราชศรัทธา​สืบไป
ประกาศ​มา​ ณ​ วันที่​ ตุลาคม​ พ.ศ.​ 2466
(ลงนาม​  เจ้าพระยา​ธรรมาธิกรณ์)
มหาเสวกเอก​  เสนาบดีกระทรวงวัง
ในการปฏิสังขรณ์​พระ​ร่วง​โร​จน​ฤทธิ์​นั้น​  พระบาทสมเด็จพระมงกุฏ​เกล้าเจ้าอยู่หัว​  โปรดให้กรมศิลปากรดำเนินการ​  นับเป็นการใหญ่เพราะช่างไม่เคยหล่อพระยืนองค์ใหญ่มาก่อน​  มีข้อน่าสังเกต​ุว่า​ พระร่วง​โร​จน​ฤทธิ์​เมื่อสร้างเสร็จ​แล้ว​  ดูลงพุงเล็กน้อย​  เหมือนพระรูปโฉมของพระ​บาท​สมเด็จ​พระมงกุฏเกล้า​เจ้า​อยู่​หัว​ เป็นที่ต้องพระราชหฤทัย​ยิ่งนัก
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏ​เกล้า​เจ้า​อยู่​หัว​  ทรงมีความเลื่อมใสผูกพันกับพระร่วงโร​จน​ฤทธิ์​มาก​  ในเบื้องปลายพระชนม์ชีพ​  ได้ทรงมีพระราชพินัยกรรมในข้อสุดท้ายว่า
"พระอังคารขอให้บรรจุใต้ฐานพระพุทธ​ชิน​สีห์​ในวัดบวรส่วน​ 1​ อีกส่วนหนึ่งขอให้กันไว้บรรจุ​ใต้ฐานพระร่วงโ​รจนฤทธิ์​ที่องค์พระปฐม​เจดีย์​ ในโอกาสอันเหมาะสม​ ซึ่งไม่ติดต่อกับงานพระเมรุ" 
ปัจจุบัน​พระบรม​ราชสรีรางคาร​ส่วนหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏ​เกล้าเจ​้าอยู่หัวได้ประดิษฐาน​อยู่ในพระวิหารทิศเหนือตรงผนังด้านหลังองค์​พระร่วงโรจน์​ฤทธิ์​  แต่เป็นเรื่องแปลกที่สุด​ที่ไม่นับวัดพระปฐมเจดีย์เป็นวัดประจำรัชกาลที่​ 6​ ทั้งๆที่คุณสมบัติ​ของวัดประจำรัชกาลคือ​ เป็นวัดที่ประดิษฐาน​พระบรมอัฐิหรือพระบรมราชสรีรางคาร​  และก็เป็นเช่นนี้ทุกวัด
เมื่อพระบาทสมเด็จ​พระ​จอมเกล้า​เจ้า​อยู่​หัว​ทรงสถาปนาพระปฐมเจดีย์​  ทรงเสด็จบูชาพระปฐม​เจดีย์ในพระวิหารหลวงทิศตะวันออก​อันเป็นด้านหน้าของพระปฐมเจดีย์​  แต่ปัจจุบัน​พระร่วงโ​รจนฤทธิ์​ที่อยู​่ทิศเหนือกลายเป็นด้านหน้าไปเสียแล้ว​  ผู้คนจำนวนมากต่างมาที่พระปฐมเจดีย์เพื่อไหว้พระร่วง​โร​จน​ฤทธิ์​  โดยไม่ได้ไหว้พระปฐมเจดีย์เลย

วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2563

นครวัด

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
การเสด็จกลับสู่สวรรคาลัยของพระเจ้าสูรยวรมันที่ 2  ที่พระเมรุมาศมหาปราสาท “นครวัด”  
“บรมวิษณุโลก- พระบาทมหาวิษณุโลก” (Paramavishnuloka - Phra Bat Mahā Viṣṇuloka)  คือชื่อพระนามภายหลังการเสด็จสวรรคตของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2  (Suryavarman II) หรือ  "วรบาท กมรเตงอัญ ปรมวิษณุโลก" (Vora Bat Kamradeng An Paramavishnuloka)  ผู้สร้างมหาปราสาทนครวัด(Angkor Wat) อันยิ่งใหญ่
ภาพสลักนูนต่ำบนผนังกำแพงของระเบียงคดทิศใต้ปีกตะวันตกและตะวันออก เป็นภาพสลักต่อเนื่อง ที่กำลังบอกเล่าเรื่องราว “การเสด็จกลับคืนสู่สวรรคาลัยของพระเจ้าสูริยวรมันที่ 2”  โดยทมีการจัดเรียงลำดับภาพ เริ่มจากฝั่งตะวันตกเพื่อให้เกิดกสนเดินแบบ “อุตราวรรต” (เวียนซ้าย ทวนเข็มนาฬิกา) ไปทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นการเดินในคติความหมาย “อวมงคล” 
ภาพสลักช่วงแรกอยู่ที่ระเบียงคดปีกตะวันตก เริ่มจากผนังกำแพงที่ติดมณฑปมุมตะวันเฉียงใต้ แสดงเรื่องราวการเคลื่อนขบวน “พยุหแสนยากร-พยุหยาตราทัพ” ในพระเจ้าสูริยวรมันที่ 2  ประกอบด้วยแม่ทัพบนช้าง 20 กองทัพ ขบวนแห่พระเพลิงกลาโหม และขบวนทัพม้านำหน้า รวม 22 กลุ่มภาพ ซึ่งชื่อนามและความหมายที่จารึกไว้ในแต่ละกลุ่มภาพนั้น ล้วนเกี่ยวข้องกับเหล่าความเป็น พระญาติพระวงศ์ ผู้ภักดี และนามของผู้ปกครองบ้านเมือง “วฺร กมฺรเตง อัญ” ที่อยู่ภายในจักรวรรดิกัมพุชะเทศะอันรุ่งเรือง ในยุคสมัยของพระองค์เท่านั้น
ภาพสลักขบวนกองทัพนี้ ไม่ใช่ภาพการของการเดินทัพไปรบกับจามปาหรือการเดินสวนสนามเพื่อแสดงแสงยานุภาพ ในโลกแห่งความเป็นจริงในยุคสมัยนั้น ด้วยเพราะภาพสลักบนผนังกำแพงระเบียงระเบียงคดปีกตะวันออก ได้เล่าเรื่องราวอันมีความต่อเนื่อง คือภาพ “การพิพากษาตัดสินความดีงาม” ของพระเจ้าสูรยวรมัน พระมเหสี นางใน ขุนศึกและข้าราชบริพารของพระองค์ทั้งหมดในโลกแห่งความเป็นจริง สลักเป็นรูปขบวนเดินเท้า ช่วงเริ่มต้นภาพสลักจะเดินผ่านรูป “พระยมราชา” 18 กร ทรงกระบือ เทพเจ้าแห่งความความตาย และผู้ช่วย “ธรรมบาล - จิตรคุปต์”  โดยผู้คนชั่วร้าย/ ผู้เป็นศัตรูของพระองค์ จะถูกตัดสินความโดยเหล่าคณะยมทูต  แยกพาไปลงทัณฑ์ในนรก 33 ขุม ที่สลักไว้ในแถวล่าง
ปราสาทนครวัดก็คือ “พระเมรุมาศมหาปราสาท”  รูปภาพขบวนมหากองทัพฝั่งซีกตะวันตก ก็คือภาพเฉลิมพระเกียรติ เพื่อแสดงเรื่องราวการเสด็จคืนสู่สวรรคาลัย ด้วยขบวนกองทัพและเหล่าผู้ภักดีเป็นขบวนตามเสด็จ  
----------------------------------------------
***  เริ่มต้นภาพสลักกลุ่มแรกของการส่งเสด็จพระเจ้าสูริยวรมันสู่สวรรคาลัย ทางฝั่งซ้ายสุด เป็นภาพการตระเตรียมกองทัพ ผู้คนและพระเพลิง  บนยอดเขา “ศิวบาท” มหาสถานแห่งความเชื่อมโยงสู่ปรมาตมัน สรวงสวรรค์พระสุเมรุแห่งเทพตรีมูรติ  ปรากฏภาพของพระเจ้าสูริยวรมันที่ 2 และจารึก “สมตจ วรปาท กมรเตง อัญ ปรมวิษณุโลก” ฉลองพระองค์ด้วยเครื่องทรงกษัตริย์ พระหัตถ์ขวาถือหางแส้ พระหัตถ์ซ้ายถือผ้า ประทับนั่งบนนาคะบัลลังก์ที่แวดล้อมด้วย “ฉัตรสัปทน” 14 คัน เครื่องราชกกุธภัณฑ์ “แส้จามร” 4 ด้าม “เครื่องพัดโบก” 5 ด้าม และ“พัดวาลวิชนีหางนกยูง” 1 คู่ ท่ามกลางหมู่ข้าราชบริพารนางในแห่งราชสำนัก พราหมณ์บัณฑิตผู้ทรงเกียรติ แม่ทัพ ขุนพล นายกอง ทหาร และผู้คน 
ทรงกำลังได้รับการสรรเสริญสักการะจากเหล่าทวยราษฎร์ผู้ภักดีของพระองค์ เพื่อส่งเสด็จในครั้งสุดท้าย
ภาพสลักเหมือนกำลังเล่าว่า ...ทรงมีพระราชโองการ แก่ “วฺระ กมฺรเตง อัญ ศรีวีรสิงหวรรมม” มหาเสนาบดีผู้รับสนองพระราชโอการ “วฺระ กมฺรเตง อัญ มูล ศรีวรรทธะ - กมฺรเตง อัญ ธนัญชัย” เสนาบดี ซ้าย ขวา และ “วฺระ กมฺรเตงอัญ คุณโทษ ต ปฺวฺน” ผู้พิพากษาความเป็นคุณ (ดี) และความเป็นโทษ (ร้าย) ทั้ง 4 
“เจ้า....จงจัดเคลื่อนมหากองทัพอันเกรียงไกร ผู้ภักดีแก่เราทั้งหลาย เคลื่อนขบวนไปสู่โลกของความเป็นนิรันดรแห่งพระวิษณุเจ้า ร่วมไปพร้อมกัน...กับเราเถิด” 
*** มหากองทัพ จึงเริ่มต้นจัดขบวนขึ้นเพื่อร่วมกลับสู่สวรรค์ เริ่มจากขบวนกองทัพแรก ใกล้กับทางลงจากยอดเขาศิวบาท คือ “วฺร กมฺรเตง อัญ ศรีชเยนทรวรรมม” ผู้ปกครอง “ลเทา” สวมเกราะหนัง เหน็บมีดสั้นที่ข้าง ถือโล่และหอกซัด ยืนสง่าบนสัปคับหลังช้าง มีธงชัยยาวริ้วปลายแหลม 2 ผืน และพลม้านำขบวน ประดับด้วยฉัตรสัปทน 9 คัน อยู่ปลายขบวน 
*** ขบวนกองทัพ ที่ 2 นำโดยขุนศึก “อนัก สัญชัก วนยะ ผลาน” ตำแหน่ง“วฺร กมฺรเตง อัญ วิเรนธราธิปติวรรมม (แห่ง) โฉกวกุล” สวมเกราะหนัง ถือ “ผดาก” (พร้าแป๊ะกั๊ก) พาดไว้บนบ่า เหน็บมีดสั้นที่ไหล่ซ้าย ยืนสง่าบนสัปคับหลังช้าง ประดับด้วยฉัตรสัปทน 9 คัน และธงชัยยาวริ้วปลายแหลม 2 ผืน 
สำหรับชื่อนาม “กมฺรเตง อัญ วิเรนธราธิปติวรรมม ” ของขบวนทัพนี้ เป็นชื่อนามเดียวกันกับชื่อผู้ปกครอง “ศรีวิเรนธราศรม” หรือเมืองวิมายปุระ จากจารึกกรอบวงกบประตูของปราสาทหินพิมายที่มีการบ่งบอกเวลาไว้ในช่วงยุคเดียวกัน ขบวนทัพนี้จึงหมายถึงกองทัพจากเมืองพิมาย (โฉกวกุล - ป่าพิกุล) ผู้เป็นพระญาติสนิทแห่งราชวงศ์มหิธระปุระอย่างไม่ต้องสงสัย
*** ขบวนกองทัพ ที่ 3 นำโดยขุนศึก “อนัก สัญชัก กันจัสปรยัก” ตำแหน่ง“วฺร กมฺรเตง อัญ ศรีวีรายุทธวรรมม” สวมเกราะหนัง เหน็บมีดสั้นที่ไหล่ซ้าย ถือธนูและลูกศร ฮึกเหิมบนสัปคับหลังช้าง มีธงชัย “ครุฑพ่าห์” และพลม้านำขบวน ประดับด้วยฉัตรสัปทน 6 คัน พัดโบก 2 ผืน
*** ขบวนกองทัพ ที่ 4 นำโดยขุนศึก “อนัก สัญชัก มัตคนัน” (ผู้มีความโกรธในสายตา) ตำแหน่ง“วฺร กมฺรเตง อัญ ศรีวชยา ยุทธวรรมม” สวมเกราะหนัง เหน็บมีดสั้นที่ไหล่ซ้าย ถือ “ผดาก” (พร้าแป๊ะกั๊ก) และโล่ ยืนสง่าบนสัปคับหลังช้าง ประดับด้วยฉัตรสัปทน 8 คัน มีธงชัยกระบี่ธุชและพลม้านำขบวน พลเดินเท้าของกองทัพนี้สวมหมวกเทริดยอดหัวกวางทั้งหมด
*** ขบวนกองทัพ ที่ 5 นำโดย “วฺร กมฺรเตง อัญ ศรีมหิปตินทรวรรมม” ผู้ปกครอง “จันลัตไต” สวมเกราะหนัง เหน็บมีดสั้นที่ไหล่ซ้าย ถือ “ผดาก” (พร้าแป๊ะกั๊ก) และโล่ ยืนสง่าบนสัปคับหลังช้าง ประดับด้วยฉัตรสัปทน 6 คัน พัดวาลวิชนีหางปลา มีธงชัยกระบี่ธุชแกว่างคทาและพลม้านำขบวน
*** ขบวนกองทัพ ที่ 6 นำโดย “อนัก สัญชัก วิทยาศรม” (ผู้ให้ปัญญา) ตำแหน่ง“วฺร กมฺรเตง อัญ ศรีวีรวรรมม” สวมเกราะหนัง เหน็บมีดสั้นที่ไหล่ซ้าย ถือโล่และหอกซัด ยืนสง่าบนสัปคับหลังช้าง ประดับด้วยฉัตรสัปทน 7 คัน มีธงชัย “ครุฑพ่าห์” และพลม้านำขบวน 
*** ขบวนกองทัพ ที่ 7 ( ยังหาชื่อนามที่แปลมาแล้วไม่ได้ครับ) สวมเกราะหนัง เหน็บมีดสั้นที่ไหล่ซ้าย ถืออาวุธไว้ที่ไหล่ นั่งหันหน้ามาข้างหลัง สบาย ๆ บนสัปคับหลังช้าง ประดับด้วยฉัตรสัปทน 13 คัน มีธงชัยยาวริ้วปลายแหลม 2 ผืน และพลม้านำขบวน
*** ขบวนกองทัพ ที่ 8 มีขุนศึก “อนัก สัญชัก วนยะ ผลาน” (ผู้ทรงปัญญา) ตำแหน่ง“วฺร กมฺรเตง อัญ ศรีวิเรนทราธิปติวรรมม” สวมเกราะหนัง เหน็บมีดสั้นที่ไหล่ซ้าย ถือ “ผดาก” (พร้าแป๊ะกั๊ก) และโล่ ยืนสง่าบนสัปคับหลังช้าง ประดับด้วยฉัตรสัปทน 9 คัน คัน มีธงชัยยาวริ้วปลายแหลม 2 ผืนและพลม้านำขบวน
*** ขบวนกองทัพ ที่ 9 มีขุนศึก “อนัก สัญชัก อนักจิ ” (ผู้ชำนาญการรบ) ตำแหน่ง “วฺร กมฺรเตง อัญ ศรี นรปตีนทรวรรมม” ถือคันธนูและลูกศร ยืนบนหลังช้างดูองอาจ สง่างามบนหลังช้าง ประดับด้วยฉัตรสัปทน 10 คัน และเสาธงชัยริ้วยาวปลายแหลม 2 ผืน 
*** ขบวนกองทัพ ที่ 10 มีขุนศึก “อนัก สัญชัก วนิสัตร ” ตำแหน่ง“วฺร กมฺรเตง อัญ ศรี สูราธิปวรรมม” สวมเกราะหนัง เหน็บมีดสั้นที่ไหล่ซ้าย ถือหอกซัดและโล่ ฮึกเหิมบนสัปคับหลังช้าง ประดับด้วยฉัตรสัปทน 8 คัน และธงชัยริ้วยาวปลายแหลม 3 ผืน มีธงชัยกระบี่ธุชและพลม้านำขบวน
*** ขบวนกองทัพ ที่ 11 มี “กมฺรเตง อัญ ธนัญชัย” เสนาบดี 1 ใน 4 ขุนศึกคู่พระทัยจากเขาศิวบาท สวมเกราะหนัง เหน็บมีดสั้นที่ไหล่ซ้ายและเอว ถือ “ผดาก” (พร้าแป๊ะกั๊ก) มือรั้งเชือกยืนบนสัปคับ ประดับด้วยฉัตรสัปทน 10 คัน และธงชัยริ้วยาวปลายแหลม 3 ผืน มีธงชัยกระบี่ธุชและพลม้านำขบวน
*** ขบวนกองทัพในลำดับที่ 12 เป็นภาพของ "วรบาท กมรเตงอัญ ปรมวิษณุโลก” (ตามจารึก) สวมชุดเกราะหนัง สะพายดาบไว้ด้านหลัง ประทับยืนอยู่บนสัปคับหลังช้างศึกทรงมงกุฎทอง แวดล้อมด้วยเครื่องสูงอย่าง “ฉัตรสัปทน”ถึง 15 คัน ธงยาวปลายริ้วโค้ง 4 ผืน เครื่องราชกกุธภัณฑ์อย่าง “แส้จามร พัดโบก พัดวาลวิชนี” พระหัตถ์ขวาจับเชือกบังคับช้าง พระหัตถ์ซ้ายถืออาวุธที่เรียกว่า “พร้าแป๊ะกั๊ก” ซึ่งเป็นอาวุธที่เหมาะกับการต่อสู้แบบประชิดตัว ใช้ในการฟันกระแทกเช่นเดียวกับดาบ ขวาน ง้าว พร้า ใบมีดทำมาจากเหล็กมีคมด้านเดียวอีกด้านเป็นสันหนา โคนส่วนที่เป็นก้านมีดเสียบทะลุด้ามเพื่อให้มีความมั่นคง ส่วนใหญ่ด้ามเป็นไม้กลึงกลมค่อนข้างยาว แต่ไม่ยาวอย่างหอกหรือทวน ส่วนที่ติดกับใบมีดโค้งเว้าขึ้น 
ด้านหน้าช้างทรง เป็นยอดเสาธงชัยรูป “วิษณุครุฑพ่าห์” ในความหมายของกองทัพกษัตริย์ผู้เป็นเสมือนอวตารของพระวิษณุ. ซึ่งก็ยังใช้สืบเนื่องต่อมาในกลุ่มรัฐขอมเก่าลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในคติ “รามาธิบดี”
ด้านล่างเป็นภาพกองทัพหลวงราชองครักษ์เดินเท้า สวมชุดเกราะหนังถือหอกซัดและใช้เขนโล่ สวมเทริดหัวสัตว์และหัวลายกนกยอดแหลม เดินขนานกันเป็นคู่อย่างมีระเบียบ
*** ขบวนทัพที่ 13 นำหน้าทัพหลวง มีขุนศึกที่เปรียบเหมือนองครักษ์ “อนัก สัญชัก ไตรโลกยปุระ”(ผู้มีชัยสามโลก) เหน็บมีดสั้นที่ข้างเอวและไหล่ซ้าย มือรั้งเชือกบนสัปคับ ประดับด้วยฉัตรสัปทน 8 คัน พัดโบก 1 และธงชัยริ้วยาวปลายแหลม 5 ผืน มีธงชัยกระบี่ธุชแกว่งคทานำขบวน 
*** ขบวนทัพที่ 14 นำโดย “วฺร กมฺรเตง อัญ มูล ศรีวรรทธะ” เสนาบดี 1 ใน 4 ขุนศึกคู่พระทัยจากเขาศิวบาท สวมเกราะหนัง เหน็บมีดสั้นที่ข้างเอวและไหล่ซ้าย ถือหอกซัดและสวมเขน ยืนองอาจบนสัปคับหลังช้าง ประดับด้วยฉัตรสัปทน 12 คัน และธงชัยริ้วยาวปลายแหลม 3 ผืน มีธงชัยกระบี่ธุชแกว่งดาบฝักปลีนำขบวน
*** กองทัพที่ 15 มีขุนศึก “อนัก สัญชัก อโส (ขาว) ลนิส ” นามว่า “วฺร กมฺรเตง อัญ ศรีราเชนทร วรรมม” สวมเกราะหนัง ถือ กระบี่ พาดไว้บนบ่า เหน็บมีดสั้นที่ข้างเอว นั่งห้อนขาขวาบนสัปคับหัลงช้าง ประดับด้วยฉัตรสัปทน 8 คัน และเสาธงยาวริ้ว 3 ผืน มีธงชัยกระบี่ธุชน่ายรำและพลม้านำขบวน 
*** ขบวนที่ 16 เป็นขบวนอัญเชิญหอพระเพลิงกลาโหม-พระสังเวียนพิธีกูณฑ์ โดยมีเขบวนเหล่าพราหมณ์และราชโหตาจารย์ สวดมนตราฤคเวทบูชาเทพเจ้าด้านหลัง ราชโหตาจารย์นั่งบนเปลมีคานหามและหลังคา ประดับด้วยพัด 13 คัน ธงชัยริ้วยาวปลายแหลม 3 ผืน แวดล้อมด้วยเหล่านั้นบวช หรือ “บัณฑิต” มัดเกล้ามวยผมสูง
ด้านหน้าเป็นขบวนอัญเชิญหอ “พระเพลิง” (วฺร เวลิง) ประดับด้วยฉัตรสัปทน 10 คัน พัดวาลวิชนี 3 คน พัดโบก 4 มีธงชัยกระบี่ธุชร่ายรำนำขบวน ด้านหน้าสุดเป็นขบวนนักดนตรีประโคม สังข์ แตร ฆ้องกอลง และนักแสดง ประดับธงชัยริ้วยาวปลายแหลม 7 ผืน
*** ขบวนทัพที่ 17 มีขุนศึก “อนัก สัญชัก ตรวาง สวาย ” นามว่า “วฺร กมฺรเตง อัญ ปฤถวีนเรนทร” สวมเกราะหนัง ถือหอกซัดและโล่ เหน็บมีดสั้นที่ข้างเอว ประดับด้วยฉัตรสัปทน 6 คัน มีพลเดินเท้าใส่เทริดรูปหัวสัตว์จำนวนมากและพลม้านำขบวน
*** ขบวนที่ 18 มีขุนศึก “อนัก สัญชัก กวีศวร” (ผู้เป็นเลิศในกวี) นามว่า “วฺร กมฺรเตง อัญ มหาเสนาปติ ศรีวีเรนทรวรรมม” สวมเกราะหนัง เหน็บมีดสั้นที่ข้างเอว มือรั้งเชือกบนสัปคับ ประดับด้วยฉัตรสัปทน 7 คัน มีพลเดินเท้าใส่เทริดรูปหัวสัตว์จำนวนมากนำขบวน
*** ขบวนกองทัพที่ 19 มี “วฺร กมฺรเตง อัญ ศรีสิงหวีรวรรมม” ถือหอกซัดและสวมเขน เหน็บมีดสั้นที่ข้างเอว อาการฮึกเหิมบนสัปคับหลังช้าง ประดับด้วยฉัตรสัปทน 7 คัน ธงชัยริ้วยาวปลายแหลม 2 ผืน มีพลเดินเท้าใส่เทริดรูปหัวสัตว์จำนวนมากและพลม้านำขบวน
ขบวนกองทัพที่ 20 นำทัพโดย “วร กมรเตง อัญ ศรี ชัย สิงหวรรมม” นำพล เมืองละโว้ (โลฺว) ถือ “ผดาก” (พร้าแป๊ะกั๊ก) และโล่ ยืนสง่าบนสัปคับหลังช้าง ประดับด้วยฉัตรสัปทน 17 คัน พัดโบก 1 คัน ธงชัยริ้วยาวปลายแหลม 2 ผืน มีพลเดินเท้าใส่เทริดรูปหัวสัตว์จำนวนมากและพลม้านำขบวน
จำนวนฉัตรร่มที่มีจำนวนมากของกองทัพนี้ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเมืองละโว้ ในฐานะฐานที่มั่นสำคัญของราชวงศ์ พระญาติพระวงศ์ห่าง ๆ ผู้ปกครองดินแดนฝั่งตะวันตกอันกว้างใหญ่ไพศาล 
*** ขบวนที่ 21 นำทัพโดย “เนะ สฺยำกุกฺ” (ผู้ปกครองกลุ่มชนผิวดำ ? – ตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา) ถือธนูและลูกศร ยืนสง่าบนสัปคับหลังช้าง ถักผมเป็นลอน สวมหมวกประดับดอกไม้ พลเดินเท้าถือหอกยาวแยกเป็นแง่งแหลม สวมชุดลายดอก ประดับด้วยอุบะสร้อยระย้า
ที่น่าสนใจ แต่ไม่เคยมีการพูดถึงกันก็คือลวดลายของ “สัปคับหลังช้าง” ที่มีความแตกต่างไปจากสัปคับของนายทัพฝ่ายเขมรทั้งหมด โดยทำเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงาย พนักของสัปคับฉลุเป็นลวดลายโค้ง คล้ายดอกไม้ 4 กลีบ มีความคล้ายคลึงกับลายดอกไม้ประดับในศิลปะแบบทวารวดีของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา/หรือบ้านเมืองในเขตลุ่มน้ำมูลมากเลย
*** ขบวนกองทัพที่ 22 เป็นทัพหน้าสุดของทั้งหมด นำโดย “อนัก ราชการยย ภาค ปมญ อเชงฺญาล” (ประเทศราช พลธนูจากเมืองเชงฺญาล) เป็นพลเดินเท้าและพลม้า ไม่มีช้างประกอบขบวน ประดับด้วยฉัตรสัปทน 8 คัน พัดโบก 1 คัน ธงชัยริ้วยาวปลายแหลม 2 ผืน
--------------------------------------------------
**** ถัดไปทางตะวันออกของโคปุระกลาง ผนังระเบียงคดอีกฟากหนึ่งแกะสลักเป็นเรื่องราวการตัดสินความของพระยมราชา ขบวนเสด็จตอนต้นภาพ จะแบ่งออกไปสองทาง  ผู้จงรักภักดีของพระองค์ทุกคนจะเดินตามเส้นทางด้านบนผนังขึ้นไปสู่สวรรค์ ส่วนศัตรูผู้ชั่วร้ายและผู้คิดคดทรยศนั้น ล้วนเดินไปตามเส้นทางด้านล่าง  เพื่อรับการพิพากษาลงโทษทัณฑ์ ให้ตกลงสู่นรกในขุมต่าง ๆ อย่างน่าสยดสยอง ดังที่ปรากฏในภาพสลักส่วนล่างของผนัง
*** ในที่สุดแล้ว พระเจ้าสูริยวรมันที่ 2 ก็ได้รับการรับรองคุณงามความดี เสด็จขึ้นไปสู่สวรรคาลัย ดั้งปรากฏภาพของพระองค์ประทับในวิมาน ผนังสุดท้ายทางตะวันออกสุดของผนังภาพ พรั่งพร้อมด้วยพระมเหสี นางใน ข้าราชบริพาร ขุนทหารและผู้ภักดี ตามเสด็จขึ้นไปด้วยทั้งหมด
เครดิต ;
วรณัย พงศาชลากร
EJeab Academy
เพราะทุกที่มีเรื่องราวและเรื่องเล่า

วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2563

พระกฤษณะ

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
12 ฉาก “ชีวประวัติในวัยเด็กของพระกฤษณะ” เทวาลัยไกรลาสนาถ ถ้ำเอลโลร่าที่ 16
“เทวาลัยไกรลาสนาถ” (Kailāsanātha Temple) หรือ “ถ้ำเอลโลร่า ที่ 16” (Ellora 16) เป็นเทวาลัยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาถ้ำเจาะ (Rock-cut) เชิงหน้าผาหินบะซอลต์ กว่า 100 จุด เรียกว่า “หมู่ถ้ำเอลโลร่า” (Ellora Caves)  เขตเทือกเขาฆาฏตะวันตก (Western Ghats range) ของที่ราบสูงเดกข่าน (Deccan Plateau)  ในเขตเมืองออรังกาบัด (Aurangabad) รัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) 
เทวาลัยไกรลาสนาถ เกิดขึ้นจากการออกแบบทางสถาปัตยกรรมผสมผสานกับการสำรวจเนื้อหินภูเขา จึงเกิดเป็นการสร้างสร้างอาคารที่มีการจัดวางซุ้มประตู ระเบียง เสาประทีป มณฑป วิมานประธาน ให้มีห้องคูหาและรูปสลักในคติฮินดูมากมาย จากการเจาะเนื้อของภูเขาหินเข้าไปเพียงก้อนเดียว (Single rock) ไม่มีการตัดหินมาประกอบเป็นโครงสร้างแบบเทวาลัยอื่น ๆ 
เทวาลัยไกรลาสนาถ สร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้ากฤษณะที่ 1 (Krishna I)  ราชวงศ์ราชฐากุฏะ (Rashtrakuta) ในช่วงปลายสุดของพุทธศตวรรษที่ 13 จนถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 14 เพื่อสถาปนาเขาไกรลาส (Kailasha) ที่ประทับแห่งองค์พระศิวะ และ สถานที่สถิตของวิญญาณหลังความตายแห่งกษัตริย์ หลอมรวมกับพระศิวะ (ปราสาทหันหน้าไปทางตะวันตก) โดยมี “ห้องครรภคฤหะ” (Garbha-grihya)  หรือ “ปริมณฑลประธาน” (แซงทัม แซงทอรัม - Sanctum Sanctorum) ประดิษฐานรูปศิวลึงค์ (Shiva Lingam) บนฐานโยนีโธรณี (Yonidorini) ทรงกลมขนาดใหญ่ ใจกลางวิมานเทวาลัยประธาน รอบล้อมไปด้วยงานศิลปะรูปสลัก ปูนปั้นและภาพเขียนสีตามคติความเชื่อในวรรณกรรมเทพเจ้า
บริเวณผนังกำแพงข้างมุขหน้าฐานอาคาร “สถามณฑป” (Sabhā-maṇḍapa)  ด้านหน้าของวิมานประธาน ฝั่งทิศใต้สลักเป็นแผงแสดงเรื่องราวของมหากาพย์ “รามายณะ”  (The Epic Rāmāyaṇa Cycle)  ส่วนทางฝั่งทิศเหนือสลักเป็นแผงภาพในเรื่องราวของมหากาพย์ “มหาภารตะ” (The Epic Mahābhārata) ที่ด้านล่างนั้นเป็นเรื่องราว “ชีวประวัติแห่งพระกฤษณะ” (Krishnacaritra)  ในวัยเด็ก (Childhood of Kṛṣṇa) บนแผงภาพจำนวน 12 ฉาก ซึ่งภาพสลักบนแผงนี้เคยมีงานปั้นปูน (Stucco) เป็นรายละเอียดและมีการลงสีสันสวยงาม
--------------------------------------
*** ฉากแรกนั้น เริ่มจากมุมขวาล่างของแผงภาพคือตอน “กำเนิดพระกฤษณะ” (Kṛṣṇajanma) เป็นภาพของนางเทวกี (Devakī) ให้กำเนิดพระกฤษณะ (พระวิษณุ อวตารลงมาจุติเป็นโอรสองค์ที่ 8 )  โดยมีพระวาสุเทพ (Vasudeva)  พระบิดา กำลังเตรียมสับเปลี่ยนลูกของตนกับลูกสาวของนางยโสธา (Yaśodā) ภรรยาของนายนันทะ (Nanda) โคปาลกะ (Gopika ผู้เลี้ยงวัว) เพื่อหนีจากการตามล่าของพญากังสะ (Kaṃsa) กษัตริย์อสูรผู้ปกครองนครมถุรา
*** ฉากที่ 2 คือตอน “การพาพระกฤษณะหนีออกจากที่คุมขัง” (Deliverence from jail) เป็นภาพของพระวาสุเทพกำลังพากฤษณะกุมารหนีออกจากที่คุมขังในยามดึก โดยมีภาพของทหารยามเฝ้าอยู่ ในวรรณกรรมหริวงศ์ (Harivanśha) เล่าว่า ขณะที่พระวาสุเทพกำลังอุ้มกฤษณะกุมารที่นอนหลับอยู่ตะกร้า ตรงประตูทางออกนั้นปรากฏฝูงลา (Donkeys) นอนขวางอยู่ กำลังจะส่งเสียงร้องเมื่อเห็นเขา พระวาสุเทพจึงก้มลง “กราบลา” เพื่อไม่ให้มันตกใจจนทำให้ผู้คุมตื่น กลายมาสุภาษิตโบราณของฝ่ายฮินดูที่ว่า "ถ้าจะทำงานให้สำเร็จลุล่วง จะต้องกราบลาเสียก่อน” (To get one's work done, one has to prostrate even before a donkey) 
*** ฉากที่ 3 คือตอน “ความปิติยินดีที่โคกุลา” (Rejoicing in Gokula) เป็นภาพของเหล่า พระวาสุเทพ นำพระกฤษณะกุมมาร ข้ามแม่น้ำยมุนา (Yamuna) มายังหมู่บ้านคนเลี้ยงวัวชื่อว่า “โคกุลา” เหล่าโคปาลกะและนางโคปี (Gopis - ผู้หญิงเลี้ยงวัว) ต่างแสดงความยินดีปรีดา ในวรรณกรรมเล่าว่า มีการเล่นดนตรี เป่าขลุ่ย ตีกลองรำมะนา และการฟ้อนรำของเหล่านางโคปีอย่างอบอุ่นและยิ่งใหญ่
*** ฉากที่ 4 คือตอน “ปุตนาวธ” (Pūtanāvadha) สังหารนางอสูรที่มีชื่อว่า “ปุตนา” (Pūtanā) เป็นภาพของนางยโสธา กำลังตำข้าว โดยมีพระกฤษณะกุมารในพระอู่-เปล กำลังดูดนมจากเต้าของนางปุตนา แม่นมอสูรที่แอบเข้ามาให้นมพิษ หมายจะสังหารพระกฤษณะ แต่พิษก็ไม่สามารถทำอะไรได้ ทั้งยังถูกพระกุมารดูดพลังชีวิตของนางออกทางหน้าอกจนแห้งตาย
*** ฉากที่ 5 คือตอน “นมและการปั่นเนย” (Navanītacaurya) เป็นภาพวิถีชีวิตของชาวหมู่บ้านโคกุลา ที่เลี้ยงโคนม นางโคปีจะเป็นคนรีดนม นำน้ำนมใส่หม้อดินมาปั่นเป็นเนยสดและโยเกิร์ต
*** ฉากที่ 6 สันนิษฐานว่า คือตอน  “โควรรธนะธารณ” (Govardhanadhāraṇa) ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่พระกฤษณะกุมารกำลังยกภูเขาโควรรธนะให้เป็นที่พักพิง ช่วยเหลือเหล่าโคปาลกะและปศุสัตว์จากความพิโรธของพระอินทร์จากเหตุที่ผู้คนเลี้ยงโคไม่เซ่นสรวงบูชาพระองค์ จึงบันดาลฝนตกหนัก 7 วัน 7 คืน 
*** ฉากที่ 7 สันนิษฐานว่า คือตอน “โคโธหนะ” (Godohana) หรือ ตอนพระกฤษณะกุมารรีดนมวัว (ภาพยังสลักไม่เสร็จ) เป็นช่วงเวลาที่พระกฤษณะกุมาร ถูกนางโคปีนำมาฝึกรีดนมวัวพร้อม ๆ กับ “พระพลราม” (Balarāma) ผู้เป็นพี่ชาย และเหล่าลูกหลานของครอบครัวโคปาลกะ ในคอกวัวของ “พฤษภานุมหาราชา” (Vrishabhanu Maharaja) ที่มีวัวมากมายนับแสนตัว ซึ่งในวรรณกรรมเล่าว่า พระกฤษณะกุมารแสนซนได้หลอกให้ “นางราธา”  (Radha) เด็กสาวโคปีมาฝึกรีดนมกับพระองค์ แล้วพระกฤษณะกุมารก็ได้เล็งให้น้ำนมจากเต้าพุ่งไปใส่หน้าของเธอจนเปียกโชกให้เป็นที่ขบขันกัน 
แต่นั่นก็คือ จุดเริ่มต้นของความรักครั้งแรกในวัยเด็ก ระหว่างพระกฤษณะกับพระแม่ราธาเทวีครับ
*** ฉากที่ 8 “ พระกฤษณะกุมารแอบขโมยนมเนยมากิน” (Ulūkhalabandhana)  ภาพสลักแสดงตอนที่พระกฤษณะ กำลังแอบเข้าไปลักกินนมและโยเกิร์ตซึ่งเป็นอาหารโปรดของพระองค์ ซึ่งในวรรณกรรมเล่าว่า ด้วยเพราะพระกฤษณะกุมารชอบชักชวนพระพลรามกุมารแอบเข้าไปในห้องเก็บเนยและโยเกิร์ตเป็นประจำ เหล่านางโคปีแต่ละบ้านจะนำนม เนยสดและโยเกิร์ต ไปซ่อนไว้ในห้องมืด หากสองกุมารแอบเข้ามาก็จะมองเห็นแสงสว่างออกมาจากพระวรกายของทั้งสอง หลายบ้านยังได้แขวนหม้อเก็บเนยสดและโยเกิร์ตไว้กับเพดาน แต่ก็ไม่อาจรอดพ้นฝีมือของทั้งสอง ที่ช่วยกันวางแผ่นไม้ต่อขึ้นไปจากครกบด และถ้ายังไม่สามารถขึ้นไปถึงปากหม้อได้ พระกฤษณะกุมารก็จะเจาะรูที่ก้นหม้อและนำลงมาแบ่งกันทานอย่างเอร็ดอร่อย 
*** ฉากที่ 9 คือตอน “สังหารบากาสูร-อสูรจนกนกกระเรียน” (Killing Bakāsura)  เป็นภาพของพระกฤษณะกุมารนอนอยู่บนเตียง กำลังบีบคออสูรนกกระเรียนที่มีชื่อว่าบากาสูร และมีภาพของอสูรยักษ์กำลังแสดงท่าพ่ายแพ้อีกตนหนึ่งที่ปลายเตียงที่อาจมีความหมายถึงเหล่าอสูรอื่น ๆ ที่พญากังสะส่งมาสังหารพระกฤษณะกุมาร ทั้ง อสูรเหินฟ้า ศักตาสูร (Saktasura) อสูรลมหมุน ตรีนะวัตร (Trinavasta) หรืออสูรยักษ์ ประลัมพะ (Pralamba) 
*** ฉากที่ 10 อาจหมายถึงเหตุการณ์ตอน “เทวีผู้ชนะความตาย” (The Goddess victorious over death)  ที่ย้อนกลับไปตอนที่พระวาสุเทพได้แอบนำพระกฤษณะกุมารไปสับเปลี่ยนกับกุมารีของนายนันทะกับนางยโสธา แล้วได้นำไปมอบให้พญากังสะ ซึ่งพญากังสะจึงได้จับขาของทารกน้อยโยนเข้ากระแทกกับกำแพงเพื่อให้สิ้นชีวิต แต่ทารกนั้นกลับกลายร่างเป็นเทวีผู้ชนะความตาย มีสิงห์เป็นวาหนะ (อาจหมายถึง “พระแม่ชคัทธาตรี” (Jagaddhatri) อวตารแห่งพระแม่ทุรคา “พระแม่มายา” (Māyā Devi) หรือพระแม่กาตยายะณี" (Kātyāyanī) ที่เหล่านางโคปีบูชา เพื่อให้พระกฤษณะเลือกตนเป็นภรรยา)  เทวียังได้กล่าวกับพญากงส์ก่อนกลับสู่สวรรค์ว่า “...บัดนี้ผู้ที่จะมาสังหารท่าน ได้ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกแล้ว.."
*** ฉากที่ 11 “สังหารอสูรรถเข็น” (The smashing of the Cart Demon) ย้อนกลับไปตอนที่พระกฤษณะกุมารที่ยังเป็นทารกแรกเกิด เพิ่งผ่านพิธีรับขวัญลงพระอู่ “อุธานา” (Uthana ceremony)  นางยโสธาได้เผลอวางพระกฤษณะกุมารในเปลตะกร้าไว้บนรถเข็น ที่เป็นอสูรนามว่า “ศากตะภังก้า”  (Śakaṭabhaṅga)  โดยไม่รู้ว่าเป็นอสูรแปลงร่างมา อสูรได้แล่นล้อหมุนออกไปอย่างรวดเร็วเพื่อพาทารกไปสังหาร แต่พระกุมารที่ยังเป็นทารกน้อยก็ได้ใช้ขากระแทกด้วยพลังที่รุนแรงจนล้อแยกออกจากดุมเพลา รถเข็นพลิกคว่ำพังพินาศ สิ่งของบนรถกระจัดกระจายกระจัดกระจาย นางยโสธากับเหล่านางโคปีก็ให้งุนงงว่า รถเข็นนั้นพังได้อย่างไร เด็ก ๆ ที่เห็นเหตุการณ์ ต่างก็เล่าว่า พระกุมารเป็นผู้ทำลาย แต่ก็ไม่มีใครเชื่อว่าทารกน้อยนั้นจะมีพละกำลังมากมายได้เช่นนี้ “.. มันควรเป็นความโชคดีของพระกุมาร จากอุบัติเหตุมากกว่านะคะเด็ก ๆ ...” 
*** ฉากที่ 12  “กังสะวธ” (Kaṃsavadha) หรือ “ สังหารพญากงส์” (Killing of Kamsa) เป็นเรื่องราวตอนสุดท้ายในวัยเด็ก เมื่อพระกฤษณะและพระพลรามเติบโตขึ้น พระอวตารทั้งสองไปเดินทางข้ามแม่น้ำยมุนา ไปยังเมืองมถุรา ตามคำลวงของพญากงส์ที่ได้จับพระวาสุเทพและนางเทวกีเป็นตัวประกัน ทั้งสองเดินฝ่าเข้าไปในท้องพระโรงใหญ่ของพระราชวังแห่งมืองมถุรา เข้าต่อสู้และสังหารนักมวยปล้ำอสูร จาณูระและมุสติกะ (Cāṇūra - Muṣṭika) รวมทั้งนักมวยปล้ำผู้เป็นบริวารจนราบคาบทั้งหมด พระกฤษณะได้ทรงกระโดดขึ้นไปบนพลับพลาที่ประทับของพญากงส์อย่างรวดเร็ว ทรงยืนชี้หน้ากล่าวประณามถึงความผิดบาปและความชั่วช้าสามาลย์ที่พญากงส์ได้ก่อขึ้นไว้แก่พระวาสุเทพและพระนางเทวกีผู้เป็นบิดามารดาของพระองค์ รวมทั้งกษัตริย์อุกรเสนะและเหล่าประชาราษฏร 
พญากงส์ลุกขึ้นจากบัลลังก์ทองด้วยความโกรธ คว้าดาบและโล่พุ่งเข้ามาหมายสังหารพระกฤษณะในทันที
พระกฤษณะกระโดดเอาศีรษะกระแทกเข้ากับหน้าผากของพระยากงส์จนมงกุฎหลุดกระเด็น แล้วคว้าผมยาวของเขาไว้ในมือ จากนั้นก็ลากพญากงส์ลงมาจากท้องพระโรง ขว้างร่างอสูรไปบนพื้นดินของเวทีมวยปล้ำด้วยพละกำลังอันมหาศาล พญากงส์พยายามลุกขึ้นต่อสู้อีกครั้ง แต่ก็ไม่สามารถต้านทานพลังของหนุ่มน้อยผู้เป็นพระอวตารได้
พระกฤษณะเหยียบพระบาทบนหน้าอก กดทับพญากงส์ราบไว้กับพื้นลาน แล้วประสานมือเป็นกำปั้นใหญ่ ทุบเข้าไปที่หน้าอกเป็นครั้งสุดท้ายจนพญากงส์สิ้นชีวิตในทันที พระองค์ลากร่างพญากงส์ไปรอบ ๆ ลานประลอง ผู้คนต่างตะโกนร้องปลงสังเวช และกล่าวพระนาม “กฤษณะ ๆๆๆๆๆ” ร่วมสรรเสริญยินดีในชัยชนะอย่างกึกก้อง 
พระกฤษณะกุมารได้ถวายพระราชสมบัติคืนแก่กษัตริย์อุกรเสนะ (Ugrasena) ผู้ทรงคุณธรรม ให้คืนกลับมาปกครองบ้านเมืองมถุราดังเดิม
เครดิต ;
วรณัย  พงศาชลากร
EJeab  Academy
เพราะทุกที่มีเรื่องราวและเรื่องเล่า
Ref : Scenes from the Childhood of Kṛṣṇa on the Kailāsanātha Temple, John Stratton Hawley : 1981

วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2563

วันแห่งชัยชนะ

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
ศิลปะแห่ง “วันวิชัยทัสสมิ” พระแม่ทุรคาเทวีพิชิตมหิงษาอสูร
ในวันที่  26 ตุลาคม พ.ศ. 2563 นี้ ผู้นับถือฮินดูในประเทศไทย ถือว่าเป็นวัน “วิชัยทัสสมิ” หรือวันแห่งการเฉลิมฉลองชัยชนะของพระแม่มหาทุรคา (Goddess Durga) ที่ได้ทรงพิชิต “มหิงษาอสูร” (Mahishasura) ได้สำเร็จ 
*** เรื่องราวของ “มหิงษาอสูร มรรทินี - มหิงษาสุรมรรทินี"  (Mahishasura Mardini) หรือการปราบอสูรควายของพระแมทุรคา ปรากฏในงานวรรณกรรมเรื่อง “มหาภารตะ” (The Epic Mahābhārata)  มาตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 2 ส่วนในงานศิลปะนั้น ปรากฏชัดเจนในช่วงราชวงศ์กุษาณะ ราวพุทธศตวรรษที่ 7 และเป็นที่นิยมในช่วงราชวงศ์คุปตะ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 9 – 10 เป็นต้นมา
บทฉันทลักษณ์อันไพเราะ “มหิงษาสุรมรรทินีสโตรตรัม” (Mahishasura Mardini Stotram)  ได้พรรณนาว่า มหิงษาอสูรคือภาพลักษณ์แห่งความชั่วร้าย เป็นบุตรของ “อสูรรัมภะ” (Rambha)  แล้วย้อนเท้าความว่า เมื่อครั้งหนึ่งมีอสูรสองพี่น้อง คนพี่นามว่า “กาลัมภะ” (Karambha)  และ “รัมภะ” (Rambha) ผู้น้อง ทั้งสองอสูรปรารถนาที่จะมีพลังอำนาจและความเป็นอมตะ จึงเข้าบำเพ็ญตบะญาณบารมี โดยอสูรกาลัมภะผู้พี่ เลือกบำเพ็ญในน้ำเย็นถวายแด่พระวรุณเทพ (Varuna Deva) ส่วนอสูรรัมภะ เลือกที่จะบำเพ็ญตบะในเพลิงไฟ เพื่อขอพรจากพระอัคนีเทพ (Agni Deva) 
แต่พระอินทราเทพล่วงรู้ในแผนการ จึงแปลงร่างเป็นจระเข้ยักษ์สังหารอสูรกาลัมภะผู้พี่ในธารน้ำ (เพื่อให้ดูเหมือนว่าเป็นการตายจากสัตว์ร้ายโดยบังเอิญ) ส่วนอสูรรัมภะได้รับความช่วยเหลือจากอัคนีเทพให้รอดตาย อสูรผู้น้องเกิดความเสียใจมากและเก็บความแค้นเคืองพระอินทร์ไว้ คว้าดาบจะตัดหัวตัวเองเพื่อเป็นเครื่องเซ่นสังเวยบูชาพระอัคนีเพื่อขอพร (ในวรรณกรรมฮินดู การตัดคอตนเองสังเวย ถือเป็นการถวายสิ่งมีค่าสูงสุด) พระอัคนีเทพจึงประสาทพรให้เป็นอมตะ ไม่อาจตายได้โดยเทพเจ้า อสูร หรือมนุษย์ แต่ก็แนบท้ายพรไว้ว่า จะมีเพียง "คนตาย" และ “สัตว์” เท่านั้นที่สามารถสังหารอสูรรัมภะได้
เมื่อได้รับการประสาทพรจากพระอุคนี อสูรรัมภะได้เริ่มต้นออกอาละวาดสังหารผู้คนไปทั่วสารทิศ จนมาวันหนึ่งได้พลันมาพบกับนางควายเผือกที่ดูงดงาม เกิดความหลงรักนางควายสาว จึงแปลงร่างเป็นควายเผือกเข้าไปสมสู่อยู่กินด้วย จนนางควายสาวตั้งท้องขึ้นมา อสูรรัมภะจึงพานางควายท้องแก่เดินทางกลับไปยังเมืองของตน
ระหว่างทางได้พบกับควายหนุ่มซึ่งเป็นควายเปลี่ยวที่ชายป่าใกล้เมือง เกิดการต่อสู้ที่ยาวนานเพื่อแย่งชิงนางควายสาว อสูรรัมภะในร่างควายมีอายุมากสู้แรงของควายหนุ่มไม่ได้ จึงพลาดท่าถูกควายหนุ่มสังหารจนตาย ควายหนุ่มวิ่งไล่กวดนางควายเผือกไปถึงประตูเมืองของอสูรรัมภะ ทหารในเมืองจึงช่วยกันรุมฆ่าควายหนุ่ม แล้วนำนางควายเผือกท้องแก่และศพของอสูรรัมภะกลับเข้าเมือง
นางควายเผือกอาศัยอยู่ในเมืองจนคลอดบุตรชาย ที่สามารถเปลี่ยนร่างเป็นควายหรือร่างผสมที่จะมีหัวเป็นอสูรหรือเป็นควายก็ได้ (รูปลักษณ์ทางศิลปะ จึงมีหลายรูปแบบ ทั้งแบบที่เป็นควาย ร่างผสมควายหรือเป็นร่างอสูรโดยตรง) บุตรชายแห่งอสูรรัมภะจึงมีชื่อว่า “มหิงษาอสูร” (Mahishasura) 
ด้วยความแค้นเคืองในสายเลือดที่ถ่ายทอดมาจากบิดา มหิงษาอสูรสั่งให้สะสมไพร่พลกองทัพอสูร รากษส เพื่อเตรียมทำสงครามกับเหล่าเทพเจ้า แล้วบำเพ็ญตบะญาณบารมีเพื่อขอพรอมตะจากพระพรหมธาดา ซึ่งก็ได้รับประสาทพรให้เป็นอมตะ ไม่มีสิ่งใดและไม่มีผู้ใดสามารถสังหารได้ แม้แต่เหล่ามหาเทพ เทพเจ้า มหาเทวี มหาฤๅษี มนุษย์ อมนุษย์ หรือสรรพสัตว์ทั้งหลายที่มีอยู่แล้วในสามโลก
แต่พระพรหมธาดาก็ได้บันทึกแนบท้ายพรไว้เหมือนทุก ๆ ครั้ง ที่ต้องให้พรอันศักดิ์สิทธิ์แก่เหล่าอสูรผู้ชั่วร้าย ถึงแม้จะเป็นอมตะดังคำขอ แต่จะต้องตายเมื่อถูกอิสตรีสังหาร มหิษาอสูรจึงต่อรองพรแห่งพรหมาว่า ขอให้อิสตรีผู้นั้นจะต้องเกิดโดยผิดปกติวิสัย ไม่ได้เกิดจากครรภ์มารดพา ไม่ได้ถืออวตารมาจากเหล่าเทพเทวีบนสรวงสวรรค์ อิสตรีนั้นจะต้องมีฤทธาอานุภาพดั่งมหาเทพ มหาเทวี มหาฤๅษีทั้งปวง และมีศาตราวุธทุกอย่างที่เหล่ามหาเทพ มหาเทวี มหาฤๅษีใช้อยู่รวมกัน จึงจะสามารถสังหารตนได้
มหิงษาอสูรเชื่อมั่นว่าในสามโลกนี้ จะไม่มีอิสตรีนางใดที่จะมีคุณสมบัติได้เพียบพร้อมดังที่ได้กล่าวขอพรสกัดเอาไว้ได้อย่างแน่นอน
เมื่อได้รับประสาทพรอันยิ่งใหญ่ มหิงษาอสูรได้ออกอาละวาดรุกราน เข่นฆ่าทำลายล้างไปทั้งสามโลก นำกองทัพบุกขึ้นสวรรค์ ทำลายวิมานอินทรา (บางตำนานเล่าว่า พระอินทร์ได้ส่งวัชระให้กับควายหนุ่มกลายมาเป็นเขา จึงสามารถฆ่ารัมภะอสูรผู้เป็นบิดา อาวุธอินทราหรือ “ตรีศูล – วัชระ” จึงเป็นส่วนหนึ่งของความแค้น) ซึ่งไม่มีเทพเจ้าองค์ใดสามารถต่อกรกับมหิงษาอสูรได้เลย
เหล่าเทพเจ้าจึงรวมตัวกัน หนีมาเข้าเฝ้ามหาเทพตรีมูรติ เพื่อแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือ เหล่ามหาเทพ มหาเทวี มหาฤๅษี จึงร่วมกันทำพิธีสร้างอิสตรี ผู้ที่จะลงมาปราบมหิงษาอสูรตามคำประสาพรแห่งพระพรหม พระศิวะจึงเปิดพระเนตรที่สามบนพระนลาฏสร้างดวงไฟใหญ่ขึ้นบนท้องฟ้า ร้อนแรงและทรงพลังยิ่งกว่าอำนาจแห่งพระสุริยะ (บางปุราณะ เล่าว่า มหิษาอสูรได้รับพรจากพระศิวะ เหล่าเทวดาร่วมกันเปล่งแสงแห่งความโกธา) ให้เป็น  “ครรภคฤหะแห่งอิสตรี” อันมิได้เป็นปกติวิสัย มหาเทพ มหาเทวี และมหาฤๅษีทั้งหลาย มอบศาสตราวุธและร่วมกับส่งพลังอำนาจเข้าสู่เพลิงครรภ์ พระศิวะถวายตรีศูล พระวิษณุถวายจักร พระอินทร์ถวายวัชระ อัคนีเทพถวายหอก พระวรุณเทพถวายหอยสังข์ พระสุริยะถวายคันธนูและลูกศร พระศรีลักษมีถวายดอกบัว ฯ
*** ปุราณะฝ่ายศากตะ – ศักติ (ผู้บูชาพลังสตรี) ก็เล่าว่า พระนางทุรคานั้นเกิดขึ้นบนโลกแบบเดียวกับนางปารวตี แต่มิได้เกิดจากครรภ์สตรี เป็นภาคหนึ่งของ “อาทิศักติ” (Adi Shakti หรือ “พระตรีศักติ”) 
เพลิงครรภ์แห่งรุทรเทนตร ได้บังเกิดมหาเทวีทรุคา (นางกาตยายนี) ผู้มีความงามและแสงสว่างดุจดวงอาทิตย์พันดวง มีสามเนตร 18 กร เสด็จลงมาท้าทายและเข้าต่อสู้กับมหิษาอสูรที่เชิงเขา “วินธัย” (Vindya) กองทัพมหาอสูรและเหล่าแม่ทัพนายกองได้ถาโถมบุกเข้าใส่พระนางพร้อมกันอย่างฮึกเหิม แต่ด้วยความน่าสะพรึงและโหดร้าย เทวีทุรคาได้ซัดอาวุธที่ได้รับมาจากเหล่าเทพเข้าสังหารอสูรทั้งหมดพร้อมกันในคราวเดียว จนเลือดอสูรานองปัฐพี ด้วยความโกรธแค้น มหิงษาอสูรในร่างของควายจึงเข้าโจมตี พระนางก็จับจอมอสูรมัดไว้ด้วยเชือก อสูรหลุดจากพันธนาการเปลี่ยนร่างเป็นสิงโตแล้วกระโจนเข้าใส่ นางทุรคาจึงตัดศรีษะอสูรด้วยดาบ อสูรแทรกร่างออกมาจากส่วนหัวที่ถูกตัดแล้วใช้ดาบเข้าต่อสู้ แต่พระนางก็ตรึงร่างของจอมอสูรด้วยห่าลูกศร อสูรไม่ยอมแพ้กลายร่างเป็นช้างยักษ์ แต่ก็ถูกพระนางฟันด้วยดาบจนสาหัส ก่อนตายได้กลับกลายร่างเป็นควายเผือก เทวีทุรคาเนรมิตกายเป็นเสือโคร่งใหญ่กระโจนเข้าตะปบกัดจนควายเผือกสิ้นแรงกลับคืนร่างเป็นอสูร แล้วพระนางจึงกลับร่างเป็นอิสตรี (ที่มิได้เกิดจากครรภ์) แล้วใช้ตรีศูลแทงเข้าที่หน้าอก จนสังหารมหิงษาอสูรได้สำเร็จ 
---------------------------------------
*** เล่ากันต่อมาว่า “เสือโคร่ง” (อินเดีย) ที่ถือกำเนิดขึ้นมาจากอำนาจแห่งเทวีทุรคา จึงเป็นเสมือนตัวแทนแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของมหาเทวี จากเรื่องราว “มหิงษาอสูร – มรรทินี” นี้เอง
ส่วนในคติฮินดูสายตรีมูรติ ถือว่าเทวีทุรคาเป็นภาคหนึ่งของนางปารวตี (อุมา) จึงนิยมสร้างงานศิลปะเป็นรูปของเทวีทรงสิงโต ไม่ได้ทรงเสือโคร่งตามแบบวรรณกรรมของฝ่ายศากตะ (ศักติ) 
ในทุก ๆ ปี ประมาณเดือนตุลาคมถึงกันยายน ตามปักษ์จันทรคติของฮินดู ในอินเดียใต้จะจัดงานเทศกาลบูชาเหล่าพระแม่เทวี (Fortnight of the Goddess) โดยในระหว่างวันที่หกถึงวันที่สิบ จะมีงานเทศกาล “ทรุคาบูชา (Durga Puja)” เพื่อระลึกถึงชัยชนะของเทวีทุรคาเหนือมหิงษาอสูร อันมีความหมายถึงชัยชนะของความดีงามเหนือความชั่วร้ายและการปกป้องผู้คนที่ศรัทธาในพระองค์
------------------------------
*** งานศิลปะจากคติวรรณกรรมเรื่อง “มหิงษาสุมรรทิณี” ปรากฏความนิยมเป็นอย่างมากในหลายยุคสมัย สะท้อนความนิยมในลัทธิศักติ ที่บูชาอำนาจแห่งเพศสตรีมาแต่ในอดีต ดูตัวอย่างงานศิลปะจากรูปประกอบได้เลยนะครับ
เครดิต
วรณัย พงศาชลากร 
EJeab Academy
เพราะทุกที่มีเรื่องราวและเรื่องเล่า  

ท้าวกุเวร

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
ท้าวเวสสุวรรณโณ  หรือ  ท้าวเวสสุวรรณ  หรือ ท่านท้าวกุเวร นั้น ส่วนมากเราจะพบเห็นในรูปลักษณ์ของยักษ์ ยืนถือกระบองยาว หรือ คทา (ไม้เท้าเป็นรูปกระบอง) กันซะส่วนใหญ่ แต่แท้ที่จริงแล้ว ยังมีรูปเคารพของท่านในรูปของชายนั่งในท่า มหาราชลีลา มีลักษณะอันโดดเด่นคือ พระอุระพลุ้ย อีกด้วย กล่าวกันว่า ผู้มีอาชีพสัปเหร่อ หรือ มีอาชีพประหารชีวิตนักโทษ มักพกพารูปท้าวเวสสุวรรณ สำหรับคล้องคอเพื่อเป็นเครื่องรางของขลัง ป้องกันภัย จากวิญญาณร้าย ที่จะเข้ามา เบียดเบียน ในภายหลัง ภาพลักษณ์ของท้าวกุเวร ที่ปรากฎในรูปของชายพุงพลุ้ย เป็นที่เคารพนับถือ ในความเชื่อว่า เป็นเทพแห่งความร่ำรวย แต่ท้าวกุเวรในรูปของท้าวเวสสุวรรณ ซึ่งมาในรูปของยักษ์ เป็นที่เคารพ นับถือว่า เป็นเครื่องราง ของขลัง ป้องกัน ภูติผีปีศาจ
“สารานุกรมไทย” ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน เล่มที่ 3 หน้า 1439
กล่าวถึง ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณ ไว้ว่า กุเวร-ท้าว พระยายักษ์ผู้เป็นเจ้าแห่งขุมทรัพย์ มียักษ์ และคุยหกะ (ยักษ์ผู้เฝ้าขุมทรัพย์) เป็นบริวาร ท้าวกุเวรนั้น บางทีก็เรียกว่า ท้าวไวศรวัน (เวสสุวรรณ) ภาษาทมิฬ เรียก กุเวร ว่า กุเปรัน ซึ่งมีเรื่องอยู่ในรามเกียรติ์ว่า เป็นพี่ต่างมารดาของ ทศกัณฐ์ และทศกัณฐ์ไปแย่งบุษบก ของท้าวกุเวรไป ท้าวกุเวรมีรูปร่างพิการ ผิวขาว มีฟัน 8 ซี่ และมีขาสามขา (ภาพท้าวเวสสุวรรณจึงมักเขียนท่ายืนแยงแย ถือไม้กระบองยาว อยู่หว่างขา) เมืองท้าวกุเวร ชื่อ อลกาอยู่ บนเขาหิมาลัย มีสวนอุทยานอยู่ไหล่เขาแห่งหนึ่ง ของเขาพระสุเมรุ ชื่อว่า สวนไจตรต หรือ มนทร มีพวกกินนร และคนธรรพ์เป็นผู้รับใช้ ท้าวกุเวรเป็นโลกบาล ประจำทิศเหนือ จีน เรียกว่า โต้เหวน หรือ โต้บุ๋น ญี่ปุ่น เรียก พสมอน
ท้าวกุเวรนี้ สถิตอยู่ยอดเขายุคนธรอีสานราชธานี มีสระโกธาณีใหญ่ 1 สระ ชื่อ ธรณี กว้าง 50 โยชน์ ในน้ำ ดารดาษไปด้วยประทุมชาติ และคลาคล่ำไปด้วย หมู่สัตว์น้ำต่างพรรณ ขอบสระมีมณฑป ชื่อ ภคลวดี กว้างใหญ่ 12 โยชน์ สำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ปกคลุมด้วยเครือเถาภควดีลดาวัลย์ ซึ่งมีดอกออกสะพรั่งห้อยย้อยเป็นพวงพู ณ สถานที่นี้ เป็นสโมสรสถาน ของเหล่ายักษ์บริวาร และยังมีนครสำหรับเป็นที่แปรเทพยสถานอีก 10 แห่ง ท้าวกุเวรมียักษ์ เป็นเสนาบดี 32 ตน ยักษ์รักษาพระนคร 12 ตน ยักษ์เฝ้าประตูนิเวศ 12 ตน ยักษ์ที่เป็นทาส 9 ตน
นอกจากนี้ยังมีกล่าวว่า ท้าวเวสสุวรรณยังมีกายสีเขียว สัณฐานสูง 2 คาวุต ประมาณ 200 เส้น มีอาวุธเป็นกระบอง มีพาหนะ ช้าง ม้า รถ บางทีปราสาท อาภรณ์มงกุฎประดับรูปนาค ดำรงอิสริยศเป็นเจ้าแห่งยักษ์ มีบริวารแสนโกฏิ ถือโล่แก้ว ประพาฬ หอกทอง
ลัทธิความเชื่อของพราหมณ์
กล่าวถึงประวัติของท้าวเวสสุวรรณไว้ว่า ทรง เป็นโอรสของ พระวิศรวิสุมนี กับ นางอิทาวิทา แต่ในมหาภารตะว่า เป็นโอรสของพระปุลัสต์ ซึ่งเป็นบิดาของ พระวิศรวัส กล่าวว่า ด้วยเหตุที่ท้าวกุเวร ใฝ่ใจกับท้าวมหาพรหม เป็นเหตุทำให้บิดาโกรธ จึงแบ่งภาคเป็น พระวิศวรัส หรือ มีนามหนึ่งว่า เปาลัสตยัม ซึ่งรามเกียรติ์ไทยเรียกว่า ลัสเตียน
ท้าวลัสเตียน หรือ พระวิศวรัสซึ่งเป็นภาคหนึ่งของ พระวิศรวิสุมนี นั้น ได้นางนิกษา บุตรีท้าวสุมาลีรักษา เป็นชายา มีโอรสด้วยกันคือ ทศกัณฐ์ กุมภกรรณ พิเภก และ นางสำมะนักขา ดังนั้น ท้าวกุเวร จึงเป็นพี่ชายต่างมารดา และร่วมบิดาเดียวกับทศกัณฐ์ เหตุที่ท้าวกุเวรผิดใจกับผู้เป็นพ่อ เพราะไปฝักใฝ่กับท่านท้าวมหาพรหม ซึ่งเป็นเทวดา ทำให้ผู้เป็นพ่อ คือ พระวิศรวิสุมนีโกรธ เพราะถือทิฐิว่า ตนเป็นยักษ์ ที่เป็นเทวดาต่ำศักดิ์กว่า ไม่ควรไปยุ่งกับเทวดา ที่บนสวรรค์ชั้นสูงกว่า เห็นคนอื่นดีกว่าพ่อของตน ก็เลยแบ่งภาคออกไปมีเมียใหม่ ลูกใหม่ ซะเลย ที่ท้าวกุเวร มีใจฝักใฝ่กับท่านท้าวมหาพรหมนั้น เป็นเพราะท้าวกุเวรนั้น ต้องการบำเพ็ญตบะบารมี หรือ สร้างสมความดี ด้วยการเข้าฌาน และบำเพ็ญทุกรกิริยา นานนับพันปี จนท่านท้าวมหาพรหมโปรดปราน ประทานบุษบกให้ อันบุษบกนี้ หากใครได้ขึ้นไปแล้ว สามารถล่องลอยไปไหนมาไหนได้ตามต้องการ
เดิมทีนั้น ท้าวกุเวรครองกรุงลงกา ซึ่งมีพระวิศกรรม เป็นผู้สร้างให้ แต่นางนิกษา ได้ยุยงให้ทศกัณฐ์ ชิงกรุงลงกา มาจากท้าวกุเวร ทั้งยังชิงเอาบุษบกอันพระพรหมได้ประทานแก่ท้าวกุเวรมาด้วย ดังที่ได้บอกเอาไว้แล้วว่า บุษบกนี้ สามารถลอยไปไหนมาไหนได้ดังใจนึก แต่มีข้อห้ามมิให้หญิงที่ถูกสมพาส (แปลว่า การอยู่ร่วม การร่วมประเวณี) จากชาย 3 คน นั่ง ซึ่งต่อมานางมณโฑ ได้นั่งบุษบก จึงไม่สามารถ ที่จะลอยไปไหนมาไหน ได้อีกเลย สำหรับ นางมณโฑ ที่แต่เดิมเป็นนางฟ้า ที่พระอิศวรประทานให้กับทศกัณฐ์ ต้องกลายมาเป็นหญิงสามผัว ด้วยเหตุที่ว่า เมื่อทศกัณฐ์ได้รับตัวนางมณโฑจากพระอิศวรมาแล้ว ก็อุ้มพานางเหาะกลับมายังกรุงลงกา ขณะที่เหาะข้าม มาระหว่างทาง ได้เหาะข้ามเมืองขีดขิน ซึ่งมี “พาลี” เป็นเจ้าเมือง พาลีโกรธ ที่ทศกัณฐ์บังอาจ อุ้มหญิงสาว เหาะข้ามหัว โดยไม่เกรงใจ จึงเหาะขึ้นไปรบกับทศกัณฐ์ ทศกัณฐ์สู้ไม่ได้ เพราะพาลีได้รับพร จากพระอิศวรว่า หากรบด้วยผู้ใด ศัตรูผู้นั้นจะมีกำลังลดลงครึ่งหนึ่ง หรือมีความสามารถลดน้อยกว่าเดิมครึ่งหนึ่ง เมื่อทศกัณฐ์ เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ จึงถูกพาลีแย่งชิงเอานางมณโฑไปเป็นมเหสี ต่อมา เมื่อพาลีคืนนางมณโฑ ให้กับทศกัณฐ์แล้ว เมื่อตอนที่หุงน้ำทิพย์ “หนุมาน” ได้เข้าไปทำลายพิธี โดยปลอมตัวเป็นทศกัณฐ์ แล้วร่วมสังวาส กับนางมณโฑ นางมณโฑ จึงเป็นหญิงที่ผ่านการสมพาสชายมาถึง 3 คน คือ พาลี ทศกัณฐ์ และ หนุมาน เมื่อทศกัณฐ์ ให้นางมณโฑ ขึ้นนั่งบุษบกนี้ทีหลัง บุษบกก็เกิดการขัดข้องทางเทคนิค ไม่ลอยไปไหนมาไหน ตามต้องการ เหมือนเก่า
ครั้นเมื่อท้าวกุเวรต้องเสียกรุงลงกาไปแล้ว ท้าวมหาพรหมท่านก็สร้างนครให้ใหม่ ชื่อ “อลกา” หรือ “ประภา” อันตั้งอยู่ที่เขาหิมาลัย มีสวนชื่อ “เจตรรถ” อยู่บนเขามันทรคีรี อันเป็นกิ่งแห่งเขาพระสุเมรุ บ้างก็ว่า ท้าวกุเวร อยู่ที่เขาไกรลาส ซึ่งพระวิษณุกรรมเป็นผู้สร้างให้
ความเชื่อตามพระพุทธศาสนา
ในพระสูตรที่ชื่อว่า “อาฏานาฏิยะ” กล่าวว่า ท้าวกุเวร ตั้งเมืองอยู่ในอากาศ ข้างทิศที่อุตรกุรุทวีป (เหนือ) และ เขาพระสุเมรุ ยอดสุทัศน์ (ที่เป็นผาทอง) ตั้งอยู่ มีราชธานี 2 ชื่อ คือ อาลกมันทา และ วิสาณา มีนครอีก 8 นคร
ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณนั้น ยังมีชื่ออีกหลายชื่อ เช่น ธนบดี หมายถึง ผู้เป็นใหญ่ในทรัพย์ ธเนศวร หมายถึง ผู้เป็นเจ้าแห่งทรัพย์ อิจฉาวสุ หมายถึง มั่งมีได้ตามใจ ยักษ์ราชหมายถึง เจ้าแห่งยักษ์ มยุราช หมายถึง เป็นเจ้าแห่ง กินนร รากษเสนทร์ หมายถึง ผู้เป็นใหญ่ในพวกรากษส ส่วนในเรื่องรามเกียรติ์ เรียกท้าวเวสสุวรรณว่า ท้าวกุเรปัน
ในทางพระพุทธศาสนา ได้กล่าวถึงอดีตชาติของท้าวกุเวร เอาไว้ใน พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม 3 ภาค 2 - หน้าที่ 151 ว่า ในสมัยที่โลกยังว่าง จากพระพุทธศาสนา ไม่มี พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัตินั้น มีพราหมณ์ ผู้หนึ่ง นามว่า กุเวร เป็นคนใจดีมีเมตตากรุณา ประกอบสัมมาชีพ ด้วยการทำไร่อ้อย นำต้นอ้อย ตัดใส่ลงไปในหีบยนต์ แล้วบีบน้ำอ้อยขายเลี้ยงชีวิตตน และบุตรภรรยา ต่อมากิจการ เจริญขึ้น จนเป็นเจ้าของ หีบยนต์สำหรับบีบน้ำอ้อยถึง 7 เครื่อง จึงสร้างที่พักสำหรับ คนเดินทาง และบริจาคน้ำอ้อย จากหีบยนต์เครื่องหนึ่ง ซึ่งมีปริมาณน้ำอ้อยมากกว่าหีบยนต์เครื่องอื่น ๆ ให้เป็นทาน แก่คนเดินผ่านไปมา จนตลอดอายุขัย ด้วยอำนาจ แห่งบุญกุศลที่บริจาคน้ำอ้อยให้เป็นทานนั้น ทำให้กุเวรได้ไปอุบัติเป็นเทพบุตร บนสวรรค์ชั้น จาตุมหาราชิกา มีนามว่า"กุเวรเทพบุตร" ต่อมากุเวรเทพบุตร ได้เทวาภิเษกเป็นผู้ปกครองดูแล พระนครด้านทิศเหนือ จึงได้มีพระนามว่า "ท้าวเวสสุวรรณ"
ตามหลักฐานในคัมภีร์ทางพุทธศาสนา ยืนยันว่า "ท้าวกุเวร" หรือ "ท้าวเวสสุวรรณ" เทวราชพระองค์นี้ ได้สำเร็จเป็น พระอริยบุคคลชั้นโสดาบันเมื่อครั้ง "จุลสุภัททะ ปริพาชก" เกิดความสงสัยในความเป็นมาแห่ง องค์สมเด็จ พระพุทธเจ้า ท่าน "ท้าวเวสสุวรรณ" องค์นี้แหละ ที่ได้เสด็จไปร่วมต้อนรับด้วย และ ยังเป็นประจักษ์พยาน เรื่องพระมหาโมคคัลลานะ ใช้เท้าจิกพื้นไพชยนตวิมาน ของพระอินทร์จนเกิดการ สั่นสะเทือนไป ทั้งดาวดึงส์ เทวโลก อันเป็นการเตือนสติสักกะเทวราชอีกด้วย และก็เชื่อกันตาม ฎีกามาลัยเทวสูตร พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม 1 ภาค 2 - หน้าที่ 435 ว่า "คทาวุธ" ของ "ท้าวเวสสุวรรณ" นั้น เป็นยอดศัสตราวุธ มีอานุภาพสามารถทำลายโลกใบนี้ให้เป็น จุณวิจุณภายในพริบตา
จะเห็นได้ว่า ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณนั้น ท่านเป็นเทพที่สำคัญยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง ที่พิทักษ์รักษา พระพุทธศาสนา ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า ท่านท้าวสักกะเทวราช หรือ พระอินทร์เลยทีเดียว ตามวัดวาอารามต่าง ๆ จะมีรูปปั้นยักษ์ 1 ตน บ้าง 2 ตนบ้าง ยืนถือกระบองค้ำพื้น ส่วนมากจะมี 2 ตน เฝ้าอยู่หน้า ประตูโบสถ์ หรือ วิหารที่เก็บของมีค่า มีพระพุทธรูป และโบราณสมบัติล้ำค่าของทางวัดบรรจุอยู่ ด้านละ 1 ตน หรือไม่ก็บริเวณลานวัด หรือที่ที่มีคนผ่านไปมาแล้วเห็นโดยง่าย บ้างก็สร้างเอาไว้ในวิหาร หรือ ศาลาโดยเฉพาะก็มี ซึ่งยักษ์เหล่านั้น ถ้าเป็น ตนเดียว ก็จะหมายถึง รูปเคารพของท้าวเวสสุวรรณ แต่ถ้าเป็น 2 ตนก็จะเป็นบริวารของท่านท้าวเวสสุวรรณ คอยทำหน้าที่ ปกปักรักษา ดูแลบริเวณวัด
ท้าวเวสสุวรรณ เป็นอธิบดีแห่งอสูรย์หรือยักษ์ หรือเป็นเจ้าแห่งผี เป็นหนึ่งในบรรดาท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ผู้คุ้มครองและดูแลโลกมนุษย์ สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุ ทรงอิทธิฤทธิ์อานุภาพมากประทับ ณ โลกบาลทิศเหนือมียักษ์เป็นบริวาร คนไทยโบราณนิยมนำผ้ายันต์รูปยักษ์ผูกไว้ที่หัวเตียงเด็ก เพื่อป้องกันวิญญาณชั่วร้ายไม่ให้มารังควาญแก่เด็กว ท้าวกุเวรองค์นี้มีกล่าวถึงในอาฏานาฏิยปริตว่านำเทวดาในสวรรค์ชั้นจตุมหา ราชิกา มาเฝ้าพระพุทธเจ้าและได้ถวายสัตย์ที่จะดูแลพระพุทธเจ้าและเหล่าสาวก ไม่ให้ยักษ์หรือบริวารอื่นๆ ของท้าวจตุโลกบาลไปรังควาญ
ท้าวเวสสุวรรณ เป็นหนึ่งในบรรดาท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ผู้คุ้มครองและดูแลโลกมนุษย์สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ซึ่งมีท้าวมหาราชทั้งสี่ปกครอง คือ ท้าวธตรัฏฐะ ท้าววิรุฬหกะ ท้าววิรูปักชะ และท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร) ประจำทิศต่างๆ ทั้งสี่ทิศโดยเฉพาะท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร) เป็นใหญ่ปกครองบริวารทางทิศเหนือ ว่ากันว่าอาณาเขตที่ท้าวเธอดูแลปกครองรับผิดชอบมีอาณาเขตใหญ่โตมหาศาล กว้างขวาง และเป็นใหญ่ (หัวหน้าท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 ) กว่าท้าวมหาราชองค์อื่น
ท้าวเวสสุวรรณ เป็น เทพแห่งขุมทรัพย์ เป็น มหาเทพแห่งความร่ำรวย มั่งคั่ง รักษาสมบัติของเทวโลก ทั้งเป็นเจ้านายปกครองดูแลพวกยักษ์ ภูตผีปีศาจทั้งปวง (ในคัมภีร์เทวภูมิ กล่าวไว้ว่า ท้าวเวสสุวรรณได้บำเพ็ญบารมี มาหลายพันปี รับพรจาก พระอิศวร พระพรหม ให้เป็นเทพแห่งความร่ำรวย ) นอกจากนี้หน้าที่ของท้าวเวสสุวรรณมีมากมาย เช่น การดูแลปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนา, ปกป้องคุ้มครองแก่ผู้นั่งสมาธิปฏิบัติพระกรรมฐาน เป็นต้น
ท้าวเวสสุวรรณมีทั้งหมด_4_ภาค
- ท้าวเวสสุวรรณพรหมาสูติเทพ ชั้นพรหม มีรูปกายสีทอง ภูษาสีทอง
- ท้าวเวสสุวรรณเทพบุตรสูติเทพ ชั้นดาวดึงค์ มีรูปกายสีทอง ภูษาสีแดง
- ท้าวเวสสุวรรณ จาตุมมหาราช มีรูปกายสีเขียวหรือดำ ภูษาสีเขียว
- ท้าวเวสสุวรรณ ชั้นมนุษย์ มาในรูปแบบมนุษย์

วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2563

การไหว้ขอขมา๗ครั้ง

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
“ การไหว้ขอขมา 7 ครั้งก่อนนอน ”
ของ.."สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี"

1. ไหว้ครั้งแรก เพื่อบูชาและขอขมา"พระพุทธเจ้า" น้อมระลึกถึงคุณงามความดีของท่านที่ช่วยชี้ทางสว่างให้สัตว์โลก พร้อมสำนึกน้อมรับในสิ่งที่พระพุทธองค์ฝากเราไว้ให้ปฏิบัติได้แก่ "ทาน ศีล ภาวนา"
2. ไหว้ครั้งที่สอง เพื่อบูชาและขอขมา"พระธรรม" น้อมระลึกถึงคุณงามความดีของพระธรรมคำสั่งสอนที่เป็นสัจธรรมที่ช่วยรื้อถอน กิเลสให้สัตว์โลกและนำพาสัตว์โลกสู่ความสุขอย่างแท้จริง พร้อมสำนึกและน้อมรับพระธรรมที่พอจะนึกออกมาพิจารณาเนือง ๆ
3. ไหว้ครั้งที่สาม เพื่อบูชาขอขมา"พระสงฆ์" สาวกผู้มีพระคุณสานต่อจากพระพุทธเจ้าในการช่วยกันนำพาสัตว์โลกสู่ทางสว่าง ระลึกถึงพระที่ท่านเคารพรักนับถือแล้วอธิษฐานให้มาเป็นครูบาอาจารย์เพื่อปก ปักรักษาท่าน พร้อมสำนึกและน้อมรับในการช่วยส่งเสริมสถาบันสงฆ์ เพื่อช่วยการสานต่อศาสนาเช่น บำรุงสงฆ์ น้อมรับคำสอน ทำบุญตักบาตร และช่วยเผยแพร่ธรรม เป็นต้น
4. ไหว้ครั้งที่สี่ เพื่อ กราบไหว้บูชาขอขมา"พ่อ-แม่" ไม่ว่าท่านทั้งสองจะล่วงลับหรือยังอยู่ การกราบไหว้ท่านก่อนนอนเป็นประจำจะช่วยสร้างสิริมงคลให้ชีวิตและส่งเสริมให้ ผู้กราบได้บุตรที่ดีในอนาคต การงานและชีวิตส่วนตัวของผู้กราบจะเจริญรุ่งเรือง "ด้วยอานุภาพแห่งความกตัญญู" ขอให้ท่านน้อมระลึกถึงพระคุณของพ่อแม่ในขณะที่กราบพร้อมขอขมาท่านด้วยใจจริง น้อมสำนึกว่าจะไม่ทำความผิดต่อพ่อแม่อีกทั้งในภพนี้และภพหน้า
5. ไหว้ครั้งที่ห้า เพื่อกราบไหว้บูชาขอขมา"พระสยามเทวาธิราชและพระมหากษัตริย์" ท่านเหล่านี้ล้วนมีบุญบารมีในการปกปักรักษาบ้านเมือง บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้บ้านเมืองของพวกเรา พึงกราบไหว้ก่อนนอนเพื่อขอขมาและขอบารมีท่านมาปกปักรักษาสร้างสิริมงคลให้ ชีวิต ขณะกราบพึงน้อมระลึกสำนึกในหน้าที่ที่ท่านต้องทำเพื่อประเทศชาติ สิ่งศักดิ์สิิทธิ์จะมาอนุโมทนาและคอยส่งเสริมกิจการงานท่านให้เจริญ รุ่งเรือง
6. ไหว้ครั้งที่หก เพื่อกราบไหว้บูชาขอขมา"ครูบาอาจารย์ทั้งทางโลกและทางธรรม"ทั้งหลาย ไม่ว่าท่านเหล่านั้นจะมาในรูปแบบไหน ( เช่น เป็นเพื่อน เป็นครู เป็นคนรู้จัก เป็นเจ้านาย ฯลฯ ) พึงน้อมระลึกสำนึกในบุญคุณของพวกท่านเหล่านั้นและขอขมาต่อสิ่งที่ได้ทำผิด พลาดลงไป
7. ไหว้ครั้งที่เจ็ด เพื่อ กราบไหว้ขอขมา"เจ้ากรรมนายเวร" ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และเป็นดวงวิญญาณจากหลายภพหลายชาติ ( แม้แต่สัตว์ที่ท่านทานเข้าไป ) ให้ท่านน้อมระลึกในความทุกข์ของท่านที่กำลังประสบอยู่ ยิ่งทุกข์มาก แสดงว่ากรรมท่านก็มาก เพราะเคยทำผิดไว้มาก ตาม"กฏแห่งกรรม"ธรรมดาโลก
ให้ท่านขอขมาเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายที่ท่านเคยล่วงเกินไว้ไม่ว่าจะในภพนี้ หรือภพที่ผ่านๆมา เพื่อขออโหสิกรรมจากเจ้ากรรมนายเวร พึงน้อมสำนึกว่าจะไม่ก่อกรรมร้ายใดๆอีกตราบเท่าที่จะพยายามทำได้เพื่อไม่ให้ เป็นภาระในกาลข้างหน้าอีก ( การไม่ก่อกรรมชั่ว คือการไม่สร้างหนี้สินให้ตัวเอง )
หลังจากไหว้ครบ 7 ครั้ง พึงน้อมจิตแผ่เมตตาดังนี้
“ พรหมโลก เทวโลก มนุษยโลก นรกโลก มารโลก ตลอดทั่วขอบรอบจักรวาล ทุกรูปทุกนาม จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรซึ่งกันและกันเลย ขอให้ทุกรุปทุกนาม จงมีแต่ความสุขกาย สุขใจ อย่าได้มีความทุกข์กายทุกใจเลย ขอให้ทุกรูปทุกนาม จงมีแต่ความสบายจิตสบายใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งหลายทั้งสิ้นเทอญ ”

** อานิสงค์จากการไหว้บูชาขอขมา 7 ครั้งก่อนนอน **
1. ทำให้เป็นที่รักใคร่ของมวลสัตว์โลก และโลกวิญญาณทั้งเบื้องล่างและเบื้องบน
2. หน้าที่การงานเจริญรุ่งเรือง ทำมาค้าขึ้น ยศตำแหน่งรุ่งเรือง เจ้านายเมตตา
3. สิ่งศักดิ์สิิทธิ์คุ้มครอง ไปที่ไหนก็แคล้วคลาดจากอันตรายต่าง
4. จิตแจ่มใส มีสติ มีความเมตตาและความอ่อนโยนอยู่เนือง ๆ
5. สติปัญญาดี ไม่อับจนหนทาง
6. ปราศจากเจ้ากรรมนายเวรอาฆาตพยาบาท
7. เงินทองไหลมาเทมาด้วยอานุภาพของสิ่งทั้ง 7 ที่กราบไหว้
8. จิตเกิดสมาธิได้เร็ว จิตไม่มีมารมาคอยทำให้ฟุ้งซ่าน
9. ปัญหาชีวิตคลี่คลาย จากหนักเป็นเบา
10. ครอบครัวเจริญรุ่งเรือง รักใคร่ปรองดอง

คติธรรมคำสอน…."สมเด็จพระพุฒาจารย์" (โต พฺรหฺมรํสี)
ธรรมะมหัศจรรย์ ตามรอยธรรมสมเด็จโต

หลวงปู่ดู่

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
#อมตะธรรม ธรรมะสอนใจ ลำดับที่ 22 '' สมบัติน้ำแข็ง ''
- ฟังจบชีวิตของคุณจะมีคุณค่ามากขึ้น และ มีความสุข -
ถ้าหากญาติธรรมทุกท่านเห็นว่ามีประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์
#ร่วมเผยแพร่ธรรมทานให้เพื่อนมนุษย์ร่วมกันนะคับ

สิ่งที่หาไว้ในโลก จะมากมายสักเพียงไร 
ตายไปก็เอาอะไรไปไม่ได้ แม้แต่ร่างกายที่เราคิดว่า ตัวกูของกู ก็ต้องถูกเค้าเอาไปเผาไฟ กลายเป็นเถ้ากระตูก ถูกหลงลืมไปตามกาลเวลา ไม่มีค่าอะไร 

ในตอนที่ได้ฟังโอวาทของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ 
ที่บอกว่า "ที่แกทำ ๆ ไปน่ะ มันสูญเปล่า ชีวิตจะมีค่าก็ตอนไหว้พระ สวดมนต์ ภาวนาเท่านั้น" ตอนนั้นก็ยังนึกแย้งท่านในใจว่า มันสูญเปล่าที่ไหนกัน เราทำงาน ทำกิจกรรมต่าง ๆ เราก็ได้ผลงาน ได้เงินได้ทองมาเลี้ยงชีวิตตัวเรา แถมยังเอาไปสงเคราะห์ญาติได้อีก
จากประสบการณ์ชีวิตของแต่ละท่าน หากนึกทบทวนและพิจารณาให้ดีก็จะเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น ๆ ว่า ที่ทำ ๆ ไป ไม่ว่าจะดูซับซ้อน วิจิตรเพียงใด มันก็แค่ หาอยู่หากิน เลี้ยงอัตภาพร่างกายเท่านั้น อย่างมากก็เพิ่มความภาคภูมิใจในผลงาน พอหมดลมแล้วก็หมดกัน เอาติดตัวไปไม่ได้ ไม่เหมือนอย่างบุญกุศลหรือทาน ศีล ภาวนา ซึ่งเป็นงานพัฒนายกระดับจิตใจ มันกินลึกและเอาติดตัวข้ามภพข้ามชาติไปได้ 

สมบัติทางโลก ๆ จะมากมายและวิจิตรประณีตขนาดไหน มันก็เป็นแค่ "สมบัติน้ำแข็ง" อยู่ดี เพราะขณะที่เรากำมันไว้นั้น มันยังคงละลายไป ๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดหย่อน เราจึงกำสมบัติน้ำแข็งนี้ได้เพียงระยะเวลาไม่นานเลย 

หลวงปู่เคยเล่าเชิงอุปมาว่า "เด็กทารกทั่วไปเกิดมาก็กำมือมา บ่งบอกการเกิดมาพร้อมกับความยึดมั่นถือมั่น ไม่เหมือนเด็กที่จะเกิดมาเป็นพระอรหันต์ ที่แบมือมาเกิด"

จึงเป็นเรื่องที่ควรพิจารณาว่า นอกจากสมบัติต่าง ๆ จะเป็นดุจดั่งสมบัติน้ำแข็งที่ไม่จีรังแล้ว คุณค่าของมันจะมีก็ตอนเรามีลมหายใจเท่านั้น บางคนสะสมวัตถุมีค่ามีราคาจนเป็นเหมือนพิพิธภัณฑ์น้อย ๆ แต่พอเมื่อเจ้าของ (ตามสมมุติ) หมดลมหายใจ คุณค่าก็หมดไป (จากเขา) บางครั้งคนในครอบครัวที่ยังอยู่ก็ไม่รู้จักแม้แต่ชื่อเรียกของสมบัติเหล่านั้น ดูสิ เมื่อตอนมีชีวิต ขวนขวายหามันแทบแย่ อิ่มใจ สุขใจกับมัน แต่พอหมดลม คุณค่าของสมบัตินั้นต่อตัวเรามันก็หมดสิ้นไปด้วย สมบัติที่สั่งสมนั้นไว้เอาไปชื่นชมต่อไม่ได้สักอย่าง อย่าว่าแต่สมบัติที่เคยเป็นสมบัติของเรานั้นเลย แม้แต่น้ำที่เขาเอามารดศพเรา ก็ยังกำเอาไว้ไม่อยู่เลย

อาหารที่สุดแสนประณีตก็ได้แค่อิ่ม บ้านที่เป็นดุจคฤหาสน์ก็แค่ที่พักอาศัยหลับนอนไปคืนหนึ่ง ๆ มนุษย์สร้างสมมุติที่ซับซ้อนหรอกตัวเองเสียจนหลงลืมความจริงพื้นฐานซึ่งเป็นความเรียบง่ายของชีวิต

"สมบัติน้ำแข็ง" คือ ข้อที่ควรคิดคำนึงเพื่อเตือนจิตเตือนใจตนเองไว้เสมอ ๆ เพื่อให้ตระหนักว่ากิจกรรมชีวิตอันใดที่เราควรทุ่มเท กิจกรรมชีวิตอันใดที่ทำเพียงแค่พอเป็น "เครื่องอาศัย" และควรวางใจอยู่เสมอ ๆ ว่าสมบัติที่มีไม่ว่าคน ไม่ว่าสิ่งของ ล้วนไม่ใช่ของเราจริง ๆ หรอก เป็นแค่สมบัติโลกที่เราขอยืมมาชั่วคราว แล้วก็ต้องส่งคืนให้โลกไปในวันหมดลมเท่านั้น...

นะโม โพธิสัตว์โต พรหมปัญโญ 
หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ 
ผู่จุดประทีปในดวงใจ

วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2563

คาถาพระพุทธเจ้า5พระองค์เปิดโลก

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

พระคาถาพระพุทธเจ้า 5 พระองค์เปิดโลก
( นะโม 3 จบ )
พระพุทธังอาราธนา พระพุทธเจ้าเปิดโลก
พระธัมมังอาราธนา พระพุทธเจ้าเปิดโลก
พระสังฆังอาราธนา พระพุทธเจ้าเปิดโลก
นะเปิดบุญ โมเปิดบารมี พุทเปิดวาสนา ธาเปิดจิต ยะเปิดธรรม
เปิดโลกเปิดจิตครอบจักรวาล ด้วยนะโมพุทธายะ
ยะเปิดกรรมดี ธาเปิดงานดี พุทเปิดโชคดี โมเปิดลาภดี นะเปิดอำนาจดี
เปิดสิ่งดีๆทั้งหลายมาสู่ตัวข้าพเจ้า ด้วยยะธาพุทโมนะ
นะมะพะธะ พุทธัง ธัมมัง สังฆัง ขออำนาจบารมีของพระรัตนตรัย โปรดเชื่อมโยงบุญบารมี ทานบารมี ศีลบารมี วิริยะบารมี เมตตาบารมี ปัญญาบารมี วาสนาบารมี ฌาณบารมี ญาณบารมี ทั้งหลายทุกภพทุกชาติของข้าพเจ้า จงมารวมกัน ณ ปัจจุบันชาติ และขอพลังบารมีทั้งหลายมาสู่ตัวข้าพเจ้า ณ กาลบัดนี้... เปิดโลก เปิดจิต เปิดธรรม เปิดด้วยนะโมพุทธายะ ยะธาพุทโมนะ
คาถาบทเดิม
"นะโมพุทธายะ ยะธาพุทโมนะ" พลังพระเปิดโลก เป็นพระคาถาเก่าแก่มาแต่โบราณกาล เป็นพระคาถาศักดิ์สิทธิ์มากของพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ในภัทรกัปนี้ ได้แก่
นะ-คือ พระพุทธเจ้ากุกกะสันโธ องค์แรกในภัทรกัปนี้
โม-คือ พระพุทธเจ้าโกนาคม องค์ต่อมา
พุท-คือ พระพุทธเจ้ากัสสปะ องค์ถัดมา
ธา-คือ พระพุทธเจ้าพระสมณโคดม องค์ปัจจุบัน
ยะ-คือ พระพุทธเจ้าพระศรีอริยเมตไตรยในอนาคตกาลข้างหน้า
เครดิต ;
https://www.facebook.com/5Buddha/


วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2563

กำเนิดนางสีดา

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
กำเนิด  “นางสีดา”  ในรามายณะ เธอไม่ใช่ธิดาของทศกัณฐ์ 
ในมหากาพย์รามายณะ ภาษาสันสกฤตของวาลมิกิ (Valmiki) และ มหากาพย์ “รามาวาตารัม” (Ramavataram) หรือรามายณะฉบับภาษาทมิฬ ที่เขียนโดย “คามบัน” (Kamban) กวีชาวทมิฬ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 ได้เล่าถึงกำเนิดของ “นางสีดา” (Sita) คล้ายคลึงกันว่า นางสีดานั้นเป็นธิดาของ “พระแม่ภูมิเทวี” (Bhūmi Devi ) (พระแม่แห่งแผ่นดิน - Goddess Earth - Mother Earth - Mother goddess พระแม่ภูมิเทวียังมีพระนามอื่นอีกมากมาย เช่น พระแม่ธรณี (Dharani), วสุธา (Vasudha) วสุนธรา (Vasundhara) พระปฤถิวี (Prithvi) ธรติ (Dharti) เอลร่า (Ella) เอลลาวาติ (Elavaani) ฯลฯ) เป็นมารดาผู้ให้กำเนิดหล่อเลี้ยงโลกและแผ่นดิน เทวีแห่งแผ่นดินผู้อำนวยความอุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่ง ค้ำจุนสิ่งมีชีวิตทั้งหลายรวมทั้งมนุษย์อีกด้วย
แตกต่างไปจากรามเกียรติ์ และนิทานพื้นบ้านของอินเดียฉบับอื่น ๆ ที่บ้างก็เล่าว่านางสีดาเป็นอวตารของพระแม่ลักษมี ตามพระวิษณุลงมากำเนิดบนโลก
บางฉบับก็เล่าว่านางสีดาเคยเป็นนางอัปสรานามว่า “เวทวดี” (Vedavati) (บุตรีของ “พรหมรรษี” (Brahmarishi) หลานของพระพฤหัส (Brihaspati) บิดาของนางใช้เวลาตลอดชีพสวดแต่พระเวท พระเวททุกบทนี้จึงบังเกิดรูปสตรีที่มิได้เกิดจากกามารมณ์ นางเวทวดีจึงเกิดมาด้วยความงามและความบริสุทธิ์ยิ่ง บิดานางไม่ยอมยกนางให้กับผู้ใด ตั้งใจถวายนางต่อพระวิษณุเพียงผู้เดียว นางจึงได้บำเพ็ญตนภาวนาเพื่อให้พระวิษณุมารับนางเป็นชายา
แต่ท้าวราพณ์ – ทศกัณฐ์ ได้มาพบและขืนใจนาง นางจึงตั้งตบะเผาร่างตนเองจนมอดไหม้ในระหว่างที่ท้าวราพณ์กำลังข่มเหง ก่อนนางจะเผาตนเองจนสิ้นนั้น นางได้เอ่ยปากว่านางไม่เคยคิดอยากสาปแช่งเพราะจะทำให้บารมีแห่งศักติที่อุตส่าห์บำเพ็ญมาลดน้อยถอยไปด้วยใจอาฆาต
ในนิทานพื้นบ้านอินเดียใต้กลับเล่าต่างกันไปว่า นางเวทวดีที่ถูกทศกัณฐ์ข่มขืนนั้นไม่ได้เผาตัวเองจนตาย แต่ตั้งครรภ์ คลอดลูกออกมาเป็นนางสีดา จึงฝากคำสาปล้างแค้นไว้ที่บุตรสาว 
----------------------------------
*** บางสำนวนก็เล่าว่า นางสีดาเป็นพระธิดาของพระชนก – (จานัก Janaka) โดยตรง ไม่ได้ถูกเก็บมาเลี้ยง บ้างก็อธิบายว่า เป็นธิดาของท้าวราพณ์ (ทศกัณฐ์) กับนางวิทธยาธรมายา (Vidyadhara Maya) หรือนางมณโฑ (Mandodari) ทศกัณฑ์มีบุตรที่เกิดจากเมียแบบต่าง ๆ (คน สัตว์ อัปสรา เที่ยวข่มขืนสตรีทุกพันธุ์ที่พึงใจ) จำนวนมาก แต่ก็หามีพระธิดาไม่ นางมณโฑแค้นใจที่ทศกัณฐ์มากรัก รู้ใจว่าทศกัณฐ์อยากได้ลูกสาวมากจึงคิดแก้แค้น พอนางตั้งครรภ์ใหม่ สังหรณ์ว่าจะได้บุตรเป็นหญิงจึงไม่ได้บอกกับใคร ออกเดินทางทำทีเป็นกลับไปเยี่ยมบิดาของนาง แล้วได้แอบคลอดลูกฝากนางสีดาไว้ที่กับพระแม่แห่งแผ่นดิน ก่อนกลับมากรุงลงกา 
ในรามายณะ ฉบับวาลมิกิ และคามบัน เล่าว่า นางสีดานั้นถูกพบโดย “ท้าวชนก” (Janaka) กษัตริย์แห่ง มิถิลา (Mithila) แคว้นวิเทหะ (Videha) พร้อมพระมเหสี “สุเนนา” (Sunaina - นางรัตนมณี ในรามเกียรติ์) ในระหว่างการไถหน้าดินพิธีแรกนาขวัญ พระแม่แห่งแผ่นดินภูมิเทวีได้มอบนางสีดาผ่านรอยแยกของ “รอยไถ” ขึ้นมา แปลตรงตัวในภาษาสันสกฤตว่า “สีตา - สีดา” 
แต่ในฉบับ “รามเกียรติ์” ของไทยเล่าว่า เดิมนั้นนางสีดาถูกนำใส่ผอบลอยน้ำมาจากกรุงลงกา ตามคำนายของพิเภกว่าเป็น “กาลกิณี” จะทำลายเผ่าพงศ์ยักษ์จนพินาศ ผอบลอยทวนน้ำมายังอาศรมของฤๅษีชนก ฤๅษีพบพระธิดาสีดาก็ให้รักใครเอ็นดู เสกน้ำนมออกมาจากปลายนิ้วให้ดื่มกิน แต่ไม่นานนักก็ได้นำนางสีดาฝังไว้ในผอบดังเดิม นำไปฝากให้พระแม่ธรณี – ภูมิเทวี เป็นผู้ดูแล จนเวลาผ่านไป 16 ปี ฤๅษีชนกบำเพ็ญตบะไม่สำเร็จ จึงคิดกลับมาครองเมืองมิถิลา จึงได้ทำพิธีขอพระแม่ธรณี ไถผอบนางสีดากลับคืนมาเพื่อนำไปเลี้ยงเอง
“นางสีดา” ในรามายณะ จึงเป็นบุตรีของพระแม่แห่งโลก เทวีแห่งความอุดมสมบูรณ์ ความงดงามและมั่งคั่งของมนุษย์ ที่มอบเป็นธิดาบุญธรรมแก่ท้าวชนก – จานักกะ อีกทีหนึ่ง นางสีดาในรามายณะจึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า ธิดาแห่งท้าวชนก - "ชนกี" (Janaki) ครับ
ภายหลังจากที่ท้าวชนกได้รับนางสีดามาจากพระแม่ภูมิเทวี (Bhumi – Godness Earth) ทรงเลี้ยงดูนางสีดาจนเติบโตขึ้นเป็นสาวแรกรุ่น ที่มีความงดงามยิ่งกว่าหญิงนางใดในพิภพ ดังพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่ได้บรรยายความงามของนางสีดาไว้ว่า
“ งามพักตร์ดั่งดวงศศิธร
งามขนงก่งงอนดั่งเลขา
งามเนตรดั่งเนตรมฤคา
งามนิสิกแฉล้มงามกรรณ
งามโอษฐ์โอษฐ์เอี่ยมดั่งจะแย้ม
งามทั้งสองแก้มงามถัน
งามจริตกิริยาวิลาวัณย์
สารพันพริ้มพร้อมทั้งกายา”
--------------------------
*** ครั้งเมื่อถึงเวลา ท้าวชนกเห็นว่านางสีดาถึงวัยที่ควรจะมีคู่ครองได้แล้ว จึงให้จัดพิธียกศร “มหาธนูโมลี” (พินากะ – Pinaka ในรามายณะ) อันเป็นอาวุธที่พระศิวะประทานให้แก่ท้าวชนก (มหาธนูโมลี พระศิวะเคยใช้ปราบอสูรตรีบูรัม และนำมาฝากไว้ที่เมืองมิถิลา เพื่อมอบแก่พระรามอวตาร "เมื่อถึงกาลอันควร คันศรนี้จะเผยตัวบุคคลที่จะเป็นผู้ปราบยุคเข็ญออกมาให้ได้ทราบกัน") เพื่อหาผู้สมควรเป็นคู่ครองให้แก่พระราชธิดาของพระองค์ โดยตั้งเงื่อนไขไว้ว่า ใครก็ตามที่สามารถยกธนูนี้ขึ้นได้ก็จะได้นางสีดาเป็นมเหสี โดยทรงอธิฐานขอให้มหาธนูหนักอึ้งดุจขุนเขา ผู้ที่เป็นเนื้อคู่ของนางสีดาเท่านั้นจึงจะยกขึ้นได้

ในพิธีนี้ “พระฤๅษีวิศวามิตร” (Vishvamitra) ได้แนะนำให้พระรามและพระลักษมณ์เข้าร่วมในงานพิธีดังกล่าว เมื่อพิธีเริ่มขึ้น มีกษัตริย์และเจ้าชายจากนครต่าง ๆ มาร่วมประลองยกคันศรกันเป็นจำนวนมาก แต่ก็ไม่มีผู้ใดสามารถยกขึ้นมาได้เลยซักพระองค์ 
จนถึงจังหวะของท้าวราพณ์ (ทศกัณฐ์) แห่งกรุงลงกา ที่แฝงตัวเข้ามาร่วมพิธีประลอง เมื่อกษัตริย์อสูรจับคันศรก็รู้สึกร้อนดังไฟเผาขึ้นมาทันที แต่ก็พยายามอดกลั้น กัดฟันยกคันศรขึ้นมาอย่างสุดแรง แต่คันศรนั้นก็หาได้เคลื่อนขยับ ท้าวราพณ์ยังไม่ยอมลดละ พยายามครั้งแล้วครั้งเล่าในท่วงท่าต่าง ๆ จนเป็นที่ขบขันแก่เหล่าผู้เข้าร่วมพิธี สร้างความอับอายให้แก่พญาอสูรเป็นยิ่งนัก
ในลำดับสุดท้ายของพิธี คือ พระราม (Rama) และพระลักษณ์ (Lakshmana) ในรามเกียรติ์เล่าว่า พระลักษณ์เข้ายกศรก่อน เพื่อหยั่งดูว่าหนักเพียงใด แต่เมื่อพระลักษณ์จับ คันศรก็ขยับสามารถยกได้เลยในทันที แต่พระลักษณ์ไม่ได้ยกขึ้นเอง ถอยกลับออกมาให้พระรามผู้เป็นเนื้อคู่ที่แท้จริงของนางสีดาเข้ามายก 
ด้วยพระหัตถ์เพียงข้างเดียว พระรามก็สามารถก็ยกคันศรชูขึ้นได้อย่างง่ายดาย แล้วทรงน้าวศรสำแดงฤทธิ์ ดีดปล่อยสายธนู เกิดเสียงดังสนั่นกระจายไปทั่วพิภพและสวรรค์
---------------------------
*** ในรามายณะ ยังกล่าวถึงบทบาทของพระแม่ภูมิเทวี ที่ได้กลับมารับนางสีดาผู้เป็นบุตรี ในคราวที่พระรามยังคงดื้อดึงที่จะให้นางสีดาพิสูจน์ความบริสุทธิ์ ด้วยการลุยไฟครั้งที่ 2 ต่อหน้าผู้คนชาวอโยธยา หลังจากที่เนรเทศนางไปอยู่ป่า โดยไม่คิดถึงใจของนางสีดาที่เจ็บปวดซ้ำแล้วซ้ำเล่า นางจึงเลือกขอพระแม่ภูมิเทวีเป็นผู้พิสูจน์ความบริสุทธิ์ หากหัวใจของนางยังภักดีกับองค์ศรีราม มิได้ปันใจให้แก่ชายอื่นอย่างที่พระรามกล่าวหา ขอให้พระแม่ภูมิเทวีมารับนางกลับไปบาดาล ซึ่งเมื่อสิ้นคำนางสีดา พื้นแผ่นดินของท้องพระโรงนครอโยธยาก็แยกออก พระนางภูมิเทวีขึ้นมารับนางสีดาต่อหน้าองค์ราม องค์ลักษมัณ พระลว (ลพ) และพระกุศ (พระมงกุฎ) โอรสแฝด รวมทั้งเหล่าข้าราชบริพารและชาวอโยธยาที่ยังคงตกตะลึง ลาจากโลกมนุษย์ไปอย่างไม่หวนกลับมาอีกเลย 
------------------------------
*** ภาพสลักบนหน้าบันด้านใน ประตูเล็กข้างซุ้มประตูใหญ่ฝั่งทิศใต้ของอาคารหอพิธีกรรม/หอรามายณะ อาคารด้านหน้าสุดของ “หมู่ปราสาทบันทายฉมาร์” สลักเล่าเรื่องราวสำคัญสามตอน ของมหากาพย์รามายณะ ในภาพสลักเดียว โดยตอนแรกเป็นภาพของนางภูมิเทวี – พระแม่แห่งแผ่นดิน ประทับนั่งบนผืนดินเหนือพญานาค (ในความหมายของโลก แผ่นดิน ความอุดมสมบูรณ์) กำลังอุ้ม (เลี้ยงดู) นางสีดา มุมด้านล่างฝั่งซ้ายของภาพ เป็นภาพของพระนาง“สุเนนา” (นางรัตนมณี ในรามเกียรติ์) โดยมีภาพบุคคลไว้เครานั่งชันเข่าซ้อนอยู่ด้านหลัง (ผู้หญิงใส่ผ้าซิ่นชันเข่าไม่ได้) อันหมายถึง “ท้าวชนก” กษัตริย์แห่ง มิถิลา ทั้งสองถือเครื่องมือ ที่แสดงการแซะ หรือไถ ไปยังฐานแผ่นดินของพระแม่ภูมิเทวี อันเป็นเหตุการณ์ตอนได้นางสีดามาจากร่องไถ ในพระราชพิธีแรกนาขวัญ 
ทางขวามือของหน้าบันในภาพ เป็นภาพสลักของพระรามและพระลักษณ์ โดยที่พระรามนั้นจะถือคันศรพรหมมาสตร์เป็นเอกลักษณ์ พระกรและพรหัตถ์ด้านขวา กำลังยกคันศรโมลี (พินากะ – Pinaka) เป็นเหตุการณ์ในรามายณะตอนพิธียกศรมหาธนูเพื่อเลือกคู่ครองของนางสีดานั่นเองครับ
เครดิต ;
วรณัย พงศาชลากร 
EJeab Academy 
เพราะทุกที่มีเรื่องราวและเรื่องเล่า

พระยาพิชัยดาบหัก

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

พ.ศ. 2325 สิ้นแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ตั้งกรุงเทพฯ เป็น เมืองหลวง พระยาพิชัยดาบหักทูลขอถวายความกตัญญู และความจงรักภักดี ถวายชีวิตเป็นราชพลี ตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสิน เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2325 จากวันนั้นถึงวันนี้ รวม 234 ปี
ทองดี ฟันขาว ท่านเดินทางถึงเมืองตาก ขณะนั้นได้มีพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาที่วัดใหญ่เจ้าเมืองตาก (สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี) จัดให้มีมวยฉลองด้วย นายทองดี ฟันขาว ดีใจมากเข้าไปเปรียบมวยกับครูห้าว ซึ่งเป็นครูมวยมือดีของเจ้าเมืองตาก และมีอิทธิพลมาก นายทองดี ฟันขาว ใช้ความว่องไวใช้หมัดศอก และเตะขากรรไกรจนครูห้าวสลบไปเจ้าเมืองตากจึงถามว่าสามารถชกนักมวยอื่นอีกได้หรือไม่ นายทองดี ฟันขาว บอกว่าสามารถชกได้อีก เจ้าเมืองตากจึงให้ชกกับครูหมึกครูมวยร่างสูงใหญ่ ผิวดำ นายทองดี เตะซ้ายเตะขวา บริเวณขากรรไกร จนครูหมึกล้มลงสลบไป
เจ้าเมืองตากพอใจมากให้เงิน 3 ตำลึง และชักชวนให้อยู่ด้วย นายทองดี ฟันขาว จึงได้ถวายตัวเป็นทหารของเจ้าเมืองตาก (สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี) ตั้งแต่บัดนั้น รับใช้เป็นที่โปรดปรานมาก ได้รับยศเป็น "หลวงพิชัยอาสา" เมื่อเจ้าเมืองตากได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาวชิรปราการ ครองเมืองกำแพงเพชร หลวงพิชัยอาสาได้ติดตามไปรับใช้อย่างใกล้ชิด และเป็นเวลาเดียวที่พม่ายกทัพล้อม กรุงศรีอยุธยา
พระยาวชิรปราการพร้อมด้วยหลวงพิชัยอาสาและทหารหาญ ได้เข้าปะทะต่อสู้จนชนะ ได้ช้างม้าอาหารพอสมควร ได้เข้าสู้รบกับทัพพม่าหลายคราวจนได้รับชัยชนะ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้รับการต้อนรับจากประชาชนและยกย่องขึ้นเป็นผู้นำ เมื่อกอบกู้เอกราชได้แล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองกรุงธนบุรีและได้โปรดเกล้าฯ ให้หลวงพิชัยอาสา เป็นเจ้าหมื่นไวยวรนาถ เป็นทหารเอกราชองครักษ์ในพระองค์
ในปี พ.ศ. 2311 พม่าได้ยกทัพมาอีก 1 หมื่นคน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีพร้อมด้วยหมื่นไวยวรนาถได้เข้าโจมตีจนแตกพ่าย และได้มีการสู้รบปราบก๊กต่าง ๆ อีกหลายคราว เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จกลับกรุงธนบุรี โปรดตั้งเจ้าหมื่นไวยวรนาถเป็น "พระยาสีหราชเดโช" มีตำแหน่งเป็นนายทหารเอกราชองครักษ์ตามเดิม สุดท้ายเมื่อปราบชุมนุมเจ้าพระฝางได้แล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงปูนบำเหน็จความชอบให้ทหารของพระองค์โดยทั่วหน้า ส่วนพระยาสีหราชเดโช (จ้อย หรือ ทองดี ฟันขาว) นั้น ได้โปรดเกล้าฯ บำเหน็จความชอบให้เป็นพระยาพิชัยปกครองเมืองพิชัยอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนแต่เยาว์วัย
ในปี พ.ศ. 2313 - 2316 ได้เกิดการสู้รบกับกองทัพพม่าอีกหลายคราว และทุกคราวที่กองทัพพม่าแตกพ่ายไป ก็สร้างความอัปยศอดสูแก่แม่ทัพนายกองเป็นทวีคูณ พอสิ้นฤดูฝนปีมะเส็ง พ.ศ. 2316 โปสุพลายกกองทัพมาหมายตีเมืองพิชัยอีก "ศึกครั้งนี้พระยาพิชัยจับดาบสองมือคาดด้าย ออกไล่ฟันแทงพม่าอย่างชุลมุน ณ สมรภูมิบริเวณ วัดเอกา จนเมื่อพระยาพิชัยเสียการทรงตัว ก็ได้ใช้ดาบข้างขวาพยุงตัวไว้ จนดาบข้างขวาหักเป็นสองท่อน" กองทัพโปสุพลาก็แตกพ่ายกลับไป เมื่อวันอังคาร เดือนยี่ แรม 7 ค่ำ ปีมะเส็ง พ.ศ. 2316 (ตรงกับวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2316)

ขอบพระคุณข้อมูล
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1260246744015327&id=369516459755031


วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ชื่อเต็มกรุงเทพฯ

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

ครั้งแรกที่ร้องเพลง"กรุงทพฯ"ให้นักท่องเที่ยวชาวสเปนฟัง #ชื่อเต็มกรุงเทพฯ
#LifeIsJourney
#ชีวิตคือการเดินทาง
ร้องเพลงให้นักท่องเที่ยวฟัง
ชื่อเพลงกรุงเทพมหานคร
"กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยะวิษณุกรรมประสิทธิ์"
............
City of Angels, Great City of Immortals,
(พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร เป็นที่สถิตของพระแก้วมรกต เป็นนครที่ไม่มีใครรบชนะได้)
Magnificent City of the Nine Gems, Seat of the King,
(มีความงามอันมั่นคงและเจริญยิ่ง เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วยแก้วเก้าประการ น่ารื่นรมย์ยิ่ง)
City of Royal Palaces, Home of the Gods Incarnate,
(มีพระราชนิเวศใหญ่โตมากมาย เป็นวิมานเทพที่ประทับของพระราชาผู้อวตารลงมา)
Erected by Visvakarman at Indra's Behest.
(ซึ่งท้าวสักกเทวราชพระราชทานให้พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตไว้)
.....................................................
มีเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าแวะมาดูเราที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.....................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.
.....................................................


วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2563

หลวงพ่อพรหมสร(รอด)

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
หลวงพ่อพรหมสร เป็นชาวจังหวัดนครราชสีมา ‘เมืองย่าโม’ โดยกำเนิด เกิดเมื่อปี พ.ศ.2414 เดิมชื่อ รอด วัยเด็กอยู่กับป้าที่บ้านกระถิน ช่วยดูแลฝูงวัว จนอายุครบบวชในปี พ.ศ.2436 ได้กลับไปอุปสมบทที่วัดบ้านสะพาน ต.ขามเฒ่า ซึ่งเป็นบ้านเกิดของมารดา โดยมี พระอุปัชฌาย์อยู่ เป็นพระอุปัชฌาย์
     พระภิกษุรอด สนใจใฝ่ศึกษาทั้งธรรมะและวิปัสสนาธุระจนแตกฉาน จากนั้นจึงเริ่มออกธุดงควัตรไปตามสถานที่ต่างๆ และศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงพุทธาคมมากมายหลายรูป จนมีความรอบรู้และเชี่ยวชาญสูง แต่ด้วยท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในวัตรปฏิบัติ ไม่ยินดียินร้ายต่อลาภ ยศ และสมณศักดิ์ต่างๆ มุ่งเพียงเผยแผ่และสั่งสอนธรรมะแก่พุทธศาสนิกชน เพื่อให้รู้ดีรู้ชั่ว มีความเพียงพอเป็นที่ตั้ง พร้อมกันนั้นยังมุ่งสร้างศาสนสถานวัดวาอาราม เพื่อให้กุลบุตรได้มีโอกาสได้บวชเรียนศึกษาหาความรู้ และพุทธศาสนิกชนได้เข้าวัดทำบุญฟังเทศน์ฟังธรรมได้โดยสะดวก ไม่ต้องเดินทางไปวัดไกลๆ ด้วยบารมีบุญ หลวงพ่อรอดได้สร้างวัดถึง 5 วัด อันได้แก่ วัดดอนผวา ในปี พ.ศ.2443, วัดบ้านขามเฒ่า ปี พ.ศ.2453, วัดบ้านหนองเคลือขุด ปี พ.ศ.2467, วัดบ้านหนองพลอง ปี พ.ศ.2470 และ วัดบ้านไพ ในปี พ.ศ.2490 ซึ่งในการสร้างวัดแต่ละวัด ท่านได้รับความร่วมมือทั้งกำลังทรัพย์และกำลังแรงกายจากบรรดาลูกศิษย์ลูกหาและชาวบ้านในละแวกนั้นๆ ทั้งสิ้น โครงการที่จะสร้างวัดต่อไปได้สิ้นสุดลง เพราะหลังจากสร้างโบสถ์วัดนุกแล้วเสร็จ ท่านก็มรณภาพเสียก่อนในปี พ.ศ.2500 สิริอายุได้ 86 ปี65 พรรษา
     หลวงพ่อพรหมสร หรือที่มักเรียกกันติดปากว่า หลวงพ่อรอด ได้จัดสร้างวัตถุมงคล เพื่อแจกจ่ายแก่ศิษยานุศิษย์และสาธุชน เพื่อไว้สักการบูชาและปกป้องภยันตรายต่างๆ มีทั้ง พระรูปหล่อ, เหรียญรูปเหมือน, พระปิดตา รวมถึงเครื่องรางของขลัง อาทิ ขี้ผึ้ง, นางกวัก และผ้ายันต์รอยมือ-รอยเท้าของหลวงพ่อ ซึ่งทั้งหมดล้วนปรากฏพุทธคุณเป็นเลิศในด้านแคล้วคลาดและอยู่ยงคงกระพันชาตรี จนเป็นที่เลื่องลือและรับรู้ของชาวเมืองโคราชแทบทุกคน ที่ต่างเสาะแสวงหาเพื่อให้ได้มาครอบครอง โดยเฉพาะ “เหรียญรูปเหมือน” ที่มีการจัดสร้างด้วยกันถึง 3 รุ่น

หลวงพ่อโสธร

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
หลวงพ่อพุทธ​โสธร   วัดโสธร​ว​รา​ราม​วรวิหาร
หนึ่งใน​ห้า​พระพุทธ​ปฏิมา​ที่​ขึ้นชื่อ​ใน​เรื่องความ​ศักดิ์​สิทธิ์​มี​ปาฏิหาริย์​สัมฤทธิ์ผล​ ดุจ​เทพ​บันดาล​  มีเทพยาดาอารักษ์​เฝ้าสถิตรักษา​จำนวนมาก​   เป็นพระพุทธรูปศักดิ์​สิทธิ์​คู่​บ้าน​คู่​เมือง​ของชาว​จังหวัดฉะเชิงเทรา​  และใกล้เคียงมาช้านาน​  ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา 
ข้อมูลจากการตรวจสอบภายในหลวงพ่อโสธรโดยกรมศิลปากร พบว่า หลวงพ่อโสธรประกอบขึ้นจากหินทรายแปดชิ้น แล้วพอกปูนทับเป็นองค์​ จากวัสดุที่ใช้ และพุทธศิลป์ พบว่าเป็นศิลปะอยุธยาตอนต้น

 หลวงพ่อ​พุทธ​โสธร​ ได้รับการขนาดนามว่า​ เป็นหนึ่ง​ใน​ห้าพระพุทธ​ปฏิมาที่ขึ้นชื่อในเรื่องควา​มศัก​ดิ​์​สิทธิ์​ แต่ละวันมีสาธุชนจากทั่วสารทิศ​เดินทาง​ไปกราบไหว้สักการะขอพร​  มิขาดสาย​  

กล่าวถึง​ ๕​ พระพุทธ​ปฏิมา​ศักดิ์​สิทธิ์​
๕​ พระพุทธ​ปฏิมา​ที่​ขึ้นชื่อ​ใน​เรื่องความ​ศักดิ์​สิทธิ์​มี​ปาฏิหาริย์​มากมาย​ อัศจรรย์​ใจดุจเทพบันดาล​ แต่ละองค์​ล้วนมีเทพยดาอารักษ์​เฝ้าสถิตรักษา​จำนวนมาก​  อย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิตต้องไปกราบขอพรให้ได้​  ศักดิ์​สิทธิ์​มาก​     มีดังนี้​ 

๑.หลวงพ่อพระพุทธ​ชินราช​ 
วัด​พระศรี​ร​ั​ตน​มหาธาตุ​ ต.ในเมือง​ อ.เมือง​ จ.พิษณุโลก

๒.หลวงพ่อพระพุทธ​โสธร​  
วัดโสธรวราราม​วรวิหาร​ อ.แปดลิ้ว  จ.ฉะเชิงเทรา

๓.หลวงพ่อพระใส​   
วัด​โพธิ์ชัย​   ต.ในเมือง​ อ.เมือง​ จ.หนองคาย

๔.หลวงพ่อสมปรารถนา​  
พุทธสถาน​สมปรารถนา​พุ​ทธาราม​ (วัด​หลวงพ่อ​สมปรารถนา)​ ต.ลำปาว​ อ.เมือง​ จ.กาฬสินธุ์​

๕.หลวงพ่อวัดบ้านแหลม​   วัดเพชร​สมุทร​
ต.แม่กลอง​ อ.เมือง​ จ.สมุทร​สงคราม

_________________
#พุทธลักษณะ​หลวงพ่อโสธร
หลวงพ่อโสธร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ คือมีพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบ พระชงฆ์ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้ายวางซ้อนกันอยู่บนพระเพลา มีส่วนสูง 6 ฟุต 7 นิ้ว พระเพลากว้าง 5 ฟุต 6 นิ้ว ปัจจุบันประดิษฐาน อยู่ในพระอุโบสถหลวงวัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา​ หลวงพ่อ​พุทธ​โสธร​ ได้รับการขนาดนามว่า​ เป็นหนึ่ง​ใน​ห้าพระพุทธ​ปฏิมาที่ขึ้นชื่อในเรื่องควา​มศัก​ดิ​์​สิทธิ์​ แต่ละวันมีสาธุชนจากทั่วสารทิศ​เดินทาง​ไปกราบไหว้สักการะขอพร​ มิขาดสาย​  

#ตำนานหลวงพ่อโสธร
ตำนานไม่ได้กล่าวไว้ว่าใครเป็นผู้สร้างหรือสร้างเมื่อใด ทราบตามที่เล่าต่อๆ กันมาแต่เพียงว่า ในจังหวัดหนึ่งทางภาคเหนือของไทย มีพระภิกษุสามองค์พี่น้อง เรียนพระธรรมวินัยแตกฉานแล้วก็จำแลงกายเป็นพระพุทธรูป

เมื่อมาถึงบริเวณหนึ่งก็ปรากฏองค์ขึ้น ชาวบ้านบริเวณนั้นพบเข้าก็พากันเอาเชือกมนิลามาฉุดขึ้น แต่ก็เอาขึ้นมาไม่ได้เพราะเชือกขาด ก่อนที่พระทั้งสามองค์จะจมหายไปบริเวณที่พระทั้งสามองค์ลอยทวนน้ำหนีนั้นเรียกว่า สามพระทวน ต่อมาได้เพี้ยนและเรียกว่า สัมปทวน อำเภอเมืองฉะเชิงเทราจนทุกวันนี้

ต่อมาได้มาผุดขึ้นที่คลองคุ้งให้ชาวบ้านแถวนั้นเห็นอีก ชาวบ้านก็พยายามฉุดขึ้นฝั่งแต่ไม่สำเร็จอีก สถานที่นั้นเรียกว่า บางพระ มาจนทุกวันนี้ แต่นั้นมาพระพุทธรูปทั้งสามองค์ก็ได้สำแดงอภินิหารในคลองเล็กๆ ตรงข้ามกองพันทหารช่างที่ 2 ฉะเชิงเทรา บริเวณนั้นเรียกว่า แหลมลอยวน คลองนั้นได้นามว่า คลองสองพี่น้อง ภายหลังก็เงียบไป

จวบจนองค์หนึ่งได้ลอยไปจนถึงแม่น้ำแม่กลอง และไปปรากฏขึ้นที่สมุทรสงคราม ชาวประมงได้พร้อมใจกันอาราธนาขึ้นไปประดิษฐานไว้ที่วัดบ้านแหลมหรือวัดเพชรสมุทรวรวิหาร เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เป็นที่นับถือของพุทธศาสนิกชนชาวสมุทรสงคราม เรียกกันว่า หลวงพ่อบ้านแหลม มาจนทุกวันนี้

องค์ที่สองได้ลอยวนไปวนมาและมาผุดขึ้นหน้า วัดหงษ์ เล่ากันว่า ที่วัดนี้เดิมมีเสาใหญ่มีหงษ์ทำด้วยทองเหลืองอยู่บนยอดเสานั้น จึงได้ชื่อว่าวัดหงษ์ ต่อมาหงษ์ที่ยอดเสาหักตกลงมาเสียชำรุด ทางวัดจึงเอาธงไปติดไว้ที่ยอดเสาแทนรูปหงษ์ จึงได้ชื่อว่าวัดเสาธง แล้วต่อมาก็เกิดมีพายุพัดเสานี้หักลงส่วนหนึ่ง จึงได้ชื่อว่าวัดเสาทอน และต่อมาชื่อนี้ได้กลายไปเป็นวัดโสธร

ประชาชนพลเมืองจำนวนมากได้พากันหลั่งไหลมาอาราธนาฉุดขึ้นฝั่งแต่ก็ไม่สำเร็จ ขณะนั้นมีอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษผู้รู้คนหนึ่งสำเร็จไสยศาสตร์หรือเทพไสยรู้หลักและวิธีอาราธนา จึงได้ทำพิธีปลูกศาลเพียงตาบวงสรวง กล่าวคำอัญเชิญชุมนุมเทวดาอาราธนา และได้ใช้สายสิญจน์คล้องที่พระหัตถ์ของพระพุทธรูปก่อนจะค่อยฉุดลากขึ้นมาบนฝั่ง พระพุทธรูปจึงเสด็จขึ้นมาบนฝั่งเป็นที่ปิติยินดีเป็นอย่างยิ่งของชาวเมือง จึงได้พร้อมใจกันอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่ในพระวิหารวัดโสธร และเรียกนามว่า พระพุทธโสธร หรือ หลวงพ่อโสธร ตั้งแต่นั้นมา

ส่วนองค์สุดท้ายได้ลอยไปอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาประชาชนละแวกนั้นก็หลั่งไหลมาอาราธนาขึ้นฝั่งฉุดขึ้นเป็นการใหญ่แต่ก็ฉุดขึ้นไม่ได้ เล่ากันว่ามีประชาชนพากันมาฉุดนับได้ถึงสามแสนคน จึงเรียกสถานที่นั้นว่า สามแสน ภายหลังจึงเพี้ยนมาเป็น สามเสน และเรียกกันอยู่ทุกวันนี้ จากนั้นพระพุทธรูปองค์นี้ก็ลอยไปผุดขึ้นที่คลองสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ ประชาชนจึงได้ได้อาราธนาขึ้นไปประดิษฐานไว้ที่วัดพลับพลาชัยชนะสงครามหรือวัดบางพลีใหญ่ในตราบจนทุกวันนี้ เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์มากอีกรูปหนึ่งของเมืองไทย คือ หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน
________________
ข้อสันนิษฐาน​ทางประวัติศาสตร์​
หลวงพ่อโสธร​  นั้นน่าจะประดิษฐานอยู่ที่วัดโสธรฯมาตั้งแต่ช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา ในราวรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่2​ (เจ้าสามพระยา) หรือประมาณ 500-600 ปีมาแล้ว เป็นพระพุทธรูปหินทรายประกอบสมัยอยุธยาตอนต้น(อู่ทองรุ่นที่ 2 ) ประทับบนพุทธบังลังก์ 4 ชั้น ปูลาดด้วยผ้าทิพย์ อันเป็นรูปแบบที่นิยมกันมากในช่วงอยุธยาตอนปลาย รวมถึงพระพุทธรูปบริวารอีก10 องค์ที่ประดิษฐานรวมกันบนชุกชี ก็มีพุทธลักษณะแบบอยุธยาเช่นเดียวกัน โดยจำนวน 2 ใน 10 องค์นั้นเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก สร้างขึ้นจากไม้มงคล มีพุทธลักษณะค่อนมาทางอยุธยาตอนปลาย ต่างจากพระพุทธรูปบริวารอีก 8 องค์ที่สร้างขึ้นจากหินทรายซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในช่วงอยุธยาตอนต้น ทำให้สันนิษฐานได้ว่าวัดโสธรฯและองค์หลวงพ่อโสธรน่าจะตั้งอยู่บริเวณบ้านโสธรนี้มาเป็นเวลาช้านานและมีการบูรณะปฏิสังขรณ์ในยุคสมัยต่อมา เดิมที วัดนี้ก็ชื่อโสธร ตามชื่อคลองโสธร มานานแล้ว ไม่มีหลักฐานที่บอกว่าชื่อ วัดหงษ์ เพราะ เสาหงษ์หัก เลยชื่อ เสาทอน เพี้ยนมาเป็นโสธร ตามตำนานหลวงพ่อโสธร นิราศฉะเชิงเทราและโคลงนิราศปราจีนบุรี ที่แต่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อกวีเดินทางผ่านบ้านโสธร ก็กล่าวถึงเพียงวัดโสธรเท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึงตำนานหลวงพ่อโสธรเลย

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2416 พระยาวิเศษฤๅไชย(ช้าง) เจ้าเมืองฉะเชิงเทรา ได้สร้างพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร และสร้างถนนดินจากหน้าเมืองมาวัดโสธร 26 เส้น นางมีภรรยาได้สร้างศาลาและขุดสระกึ่งกลางถนน สันนิฐานว่าการบูรณะครั้งนั้น ได้พอกปูนปั้นหลวงพ่อโสธรทำให้กลายเป็นพุทธศิลป์ล้านช้าง โดยกลุ่มช่างที่บูรณะมาจากเมืองพนมสารคาม หลังจากนั้นก็ได้ใช้พระอุโบสถเป็นที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา  

ส่วนตำนานหลวงพ่อโสธรลอยน้ำมานั้น สันนิฐานว่ามาจากกลุ่มชาวมอญแถววัดโสธรที่นำตำนานพระลอยน้ำจากพระราชพงศาวดารเหนือ มาอธิบายประวัติหลวงพ่อโสธร

ข้อมูล​ วิกิพีเดีย

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2563

บังเอิญไม่มีในโลก

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

- โลกนี้ ไม่มีคำว่า บังเอิญ.. -
ไม่มีคำว่า "บังเอิญ" ในทางพุทธศาสนา
โลกนี้ไม่มีอะไรที่เกิดมาด้วยความบังเอิญนะ ทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เกิดขึ้นกับชีวิตของเราทั้งดี และ ไม่ดี ไม่มีอะไรบังเอิญนะ มันมีเหตุ และ ผล ที่ทำให้เกิด 
พระราชสังวรญาณ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ท่านได้เคยสอนว่า ทุกอย่างล้วนถูกจัดสรร ตามเหตุ และ ผล เปลี่ยนแปลงได้ด้วยบุญกุศล 
หากศึกษาเรื่องธรรมะดีๆนะ จะเข้าใจว่า ไม่มีคำว่า "บังเอิญ" ใดๆ ทั้งสิ้น "กรรม" นี้แม่นยำยิ่งกว่าเรด้าตรวจจับของนาซ่าอีกนะ พระพุทธเจ้าเคยตรัสว่า "เราเกิดมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน น้ำตาที่เสียจากความพลัด พรากจากคนที่เรารักนับรวมกันได้มากกว่ามหาสมุทร ทั้ง 4 ดังนั้น เราจึงได้เคยพบปะผู้คนมามากมาย จนผู้คนที่เดินบนถนนไปมานี้ต่างก็เคยเกิดมาเป็นพี่น้องเราทั้งสิ้น"
     จากคำอธิบายข้างต้น เป็นเหตุให้ "กรรม" จัดสรรให้เราได้พบเจอ รู้จัก พึ่งพา มาเกิดเป็นพ่อ แม่ ลูก พี่น้อง เพื่อน แฟน คู่รัก มิตร ศัตรู ครู ลูกศิษย์ เมียหลวง เมียน้อย ฯลฯ เนื่องจาก เคยเกี่ยวพัน มีความสัมพันธ์ และประกอบกรรมร่วมกันมาก่อนนะ จึงได้มาเจอกันอีก เพื่อชดใช้กรรม หรืออาจอธิษฐานให้มาพบกันอีกในชาติต่อๆ ไป หรือเคยอาฆาตพยาบาทกันมาก่อน บางคนก็เคยอุปถัมภ์ ค้ำชู หรือเคยพึ่งพาอาศัยกันมาก่อน ดังนี้ เป็นต้น จึงไม่มีคำว่า "บังเอิญ" ในพระพุทธศาสนา
     หากใครเคยไปในสถานที่ใด แล้วรู้สึกคุ้นเคยกับสถานที่นั้นโดยไม่เคยไปมาก่อนรู้สึกคุ้นๆ กับเหตุการณ์นั้น โดยที่เราไม่เคยมีส่วนร่วมมาก่อน เคยรู้สึกประทับใจใคร รู้สึกเกลียดใคร อยากอยู่ใกล้ใคร หรืออยากหนีหน้าใคร โดยที่ไม่เคยพบเจอรู้จักกันมาก่อน สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นสัญญาเก่า (การจำได้หมายรู้) ที่ติดตัวมาแต่เก่าก่อน
     พระบาลีพุทธวจนะ เป็นภาษาเมื่อหลายพันปีมาแล้ว คำว่า "บังเอิญ" ดูเหมือนไม่มีในภาษาบาลี มีแต่คำว่า "เหตุ - ปัจจัย" 
     พระพุทธศาสนา เป็นเรื่องของเหตุและผล ทุกสิ่งไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ หรือเป็นเรื่องบังเอิญ ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นล้วนมีเหตุให้เกิดขึ้นทั้งสิ้น ดังที่ท่านพระอัสสชิ แสดงธรรมแก่ท่านพระสารีบุตรว่า "ธรรมทั้งหลายย่อมเกิดจากเหตุ" นั่นคือ การที่ทุกคนเกิดมาแตกต่างกัน เป็นเพราะได้กระทำเหตุ คือ ทำกรรมมาแตกต่างกัน กรรมที่ได้กระทำไว้แล้วนั่นเอง เป็นเหตุให้มีรูปร่างหน้าตา ผิวพรรณ ฐานะ ต่างกัน มีอุปนิสัยดีเลวต่างกัน กรรมที่ได้กระทำไว้แล้วนั่นเอง เป็นเหตุให้ได้ลาภเสื่อมลาภ ได้ยศเสื่อมยศ ได้รับความสุข ทุกข์ สรรเสริญ นินทา
อนาคตเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดไว้แล้วจากกรรมในอดีตนานนับไม่ได้  แต่เป็นสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น เพราะต้องมีเหตุในปัจจุบันร่วมด้วย ความพยายามในปัจจุบันนั่นแหละ จึงจะทำให้เกิดผลในอนาคตที่สมบูรณ์ แม้จะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ทั้งหมด แต่ก็เปลี่ยน แปลงได้บางส่วน คนเราจึงไม่ควรละความพยายามตลอดชีวิตที่เกิดมานะ
     การกระทำทุกอย่างย่อมมีผล เราเรียกผลนั้นว่า "วิบาก" สิ่งใดจะเกิดได้ต้องมีเหตุปัจจัยประชุมพร้อม กรรมจึงสามารถส่งผล หรือให้วิบากได้
     ไม่มีโชคลาภเกิดขึ้นได้โดยไม่อาศัย บุญ กรรม โชคลาภ ไม่สามารถจะเกิดขึ้นลอยๆ หรือบังเอิญ โดยไม่มีเหตุปัจจัย
     ทุกปัญหาเกิดขึ้นอย่างมีสาเหตุทั้งนั้น กิ่งไม้ตกใส่หัว หกล้ม ฯลฯ ล้วนเกิดจากกรรม เหมือนกับคำว่า "ใครกินคนนั้นก็อิ่ม คนอื่นอิ่มแทนไม่ได้"
     เกลือ เค็มเหมือนกันหมด ไทย ฝรั่ง ลาว แขก กินเกลือในที่ลับ ที่แจ้งก็เค็ม เหมือนกัน เกลืออย่างไร กรรมก็อย่างนั้น ทุกชาติศาสนา
     ความบังเอิญไม่มีในโลก ทุกสิ่งถูกลิขิตจากกรรมทั้งกุศล และอกุศลที่สัตว์โลกได้กระทำไว้ทั้งในอดีต และปัจจุบัน ขึ้นอยู่กับว่า กรรมอันไหนจะส่งผลก่อนกัน

หมดปัญหาข้าวบูดเร็ว

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
หมดปัญหาข้าวบูดเร็วคาหม้อ ง่ายนิดเดียว
วิธีที่ 1 ป้องกันไม่ให้ข้าวบูดคาหม้อ
วิธีนี้ง่ายมากใช้เกลือประมาณ 2 กำมือมาแช่และทาให้ทั่วหม้อข้าวทิ้งเอาไว้ประมาณ 3 โมง จากนั้นนำมาล้างน้ำเปล่าได้ตามปกติ นำไปผึ่งลมหรือแดดให้แห้ง และในครั้งต่อไปที่เราจะหุงข้าวให้ผสมเกลือใส่ลงไปเล็กน้อย จะช่วยยืดอายุของข้าวให้อยู่ได้นานไม่บูดง่าย
วิธีที่ 2 การแก้ปัญหาข้าวบูด
การใช้น้ำอุ่นล้างหม้อหุงข้าวให้สะอาด จากนั้นให้เติมน้ำส้มสายชูลงไปประมาณ 4-5 ช้อนโต๊ะ เกลือ 1 กำมือ และแช่หม้อทิ้งไว้ประมาณ 1-2 โมง จากนั้นนำหม้อมาล้างน้ำให้สะอาด เช็ดให้แห้งและสามารถนำไปหุงข้าวได้ตามปกติ
วิธีที่ 3 ใช้น้ำเดือดหรือน้ำอุ่นในการทำความสะอาด
การล้างหม้อหุงข้าวในทุกๆครั้งหากเราใช้น้ำเดือดหรือน้ำอุ่นในการล้างจะเป็นวิธีที่จะช่วย จัด ก า รกั บสิ่งต่างๆที่ติดและหลงเหลืออยู่ในหม้อหุงข้าวให้ออกหมดอ ย่ า งง่ าย ด าย
วิธีที่ 4 นำหม้อหุงข้าวไปตากแดด
เมื่อเราล้างหม้อหุงข้าวหรือจะใช้วิธีนำน้ำต้มเดือดใส่ลงไป จากนั้นแช่ทิ้งเอาไว้นานประมาณ 5 นาที แล้วให้นำไปตากแดดจัดประมาณ 2 แดด และนำมาล้างทำความสะอาดอีกครั้ง วิธีง่ายๆนี้จะช่วยแก้ปัญหาข้าวบูดได้
วิธีที่ 5 นำข้าวแช่ตู้เย็น
เมื่อเพื่อนๆนั้นทานข้าวไม่หมด อ ย่ าปล่อยให้ข้าวเหลือคาหม้อทิ้งไว้ข้ามคืน เพราะในตอนเช้าเราอาจจะได้กลิ่นที่ไม่ดีจากข้าวได้ ที่ดีคือให้ตักข้าวที่ทานไม่หมดจากหม้อนั้นใส่กล่องที่มีฝาปิด จากนั้นนำไปใส่ในตู้เย็น และนำออกมาอุ่นในตอนเช้าจะทำให้ข้าวเรานั้นไม่บูด สามารถเอามาทานต่อได้
เครดิต ;
108archeepparuay

หลวงพ่อโต พรหมรังสี

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

เราท่านทั้งหลาย จงเตือนใจไว้เสมอนะว่า ถ้าประสงค์ความสุข ความเจริญ โภคสมบัติ จงหมั่นสร้างบุญ สร้างกุศลไว้อย่างสม่ำเสมอ มากบ้าง น้อยบ้าง ตามกำลังศรัทธา เพราะเราไม่อาจจะรู้ได้ว่า อดีตชาติเราได้สร้างบุญหรือสร้างบาปไว้มากน้อยเพียงใด และผลของกรรมใดจะส่งผลก่อนหรือหลัง เพื่อความไม่ประมาท จึงควรจะสร้างบุญกุศลเป็นการเพิ่มเติมไว้เสมอ ถ้าอดีตทำไว้มากแล้ว ก็จะยิ่งมีมากขึ้น ย่อมให้ผลก่อนที่มีกำลังน้อยกว่า อันเป็นกฎธรรมชาติของกรรม ฉะนั้น ด้วยความไม่ประมาท จงระลึกไว้ว่า ถ้าตนเองไม่สะสมบุญวาสไว้แล้ว ใครที่ไหนจะช่วยเราได้ ตัวของเราจะมีอะไรไว้เป็นทุนเดินทางเวียนว่ายในวัฏฏทุกข์ที่ยังต้องผจญต่อไป ไม่รู้ว่าจะจบสิ้นเมื่อไหร่ กว่าจะรู้แจ้งพระสัทธรรม เข้าถึงบรมสุขคือพระนิพพาน 
จงระลึกไว้เสมอว่า วันนี้เราสะสมบุญ ความดี เตรียมตัวไว้เดินทางแล้วหรือยัง จะรอให้คนอื่นทำไปให้นั้น จะมั่นใจดีเท่ากับเราเตรียมหาไปเองหรือ
ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) 
ได้เทศนา สอนไว้ให้จดจำไว้ว่า 
“ลูกเอ๋ย..ก่อนจะเที่ยวไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเองคือบารมีของตนลงทุนไปก่อน เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอจึงค่อยขอยืมบารมีของคนอื่นมาช่วย มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด เพราะหนี้สินในบุญบารมีที่เที่ยวไปขอยืมมาจนพ้นตัว...เมื่อทำบุญทำกุศลได้บารมีมา ก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมด ไม่มีอะไรเหลือติดตัว...แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้าหมั่นสร้างบารมีไว้..แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง”
“เจ้าจงจำไว้นะ...เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้...ครั้นถึงเวลา...ทั่วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่...จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดินเมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลยจะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า…”
ดังพุทธสุภาษิตท่านสอนไว้ว่า
อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ – ตนแล เป็นที่พึ่งแห่งตน”

ปรางค์แขกเมืองลพบุรี

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
“ปรางค์แขก” เมืองลพบุรี ปราสาทหินหลังแรกในลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ลพบุรี 
ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15 วัฒนธรรมเขมรโบราณจากศูนย์กลางเมืองยโสธระปุระ และแคว้นศรีจานาศะในอีสานใต้ เริ่มขยายตัวเข้ามาสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ส่งอิทธิพลทั้งอำนาจทางการเมือง ศิลปะนิยมและคติความเชื่อ ปรากฏหลักฐานจาก “จารึกปักษีจำกรง” (K.286) ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 15 ได้กล่าวถึงเขตแดนของพระเจ้ายโศวรมัน ที่ทรงมอบให้แก่ พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 ผู้สืบราชสมบัติ ว่า มีเขตตะวันตกจรดแดน Sūkṣmakāmrāta  (ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ตีความว่าเมืองพะโค (หงสาวดี) หรือเมืองสะเทิม แต่ในปัจจุบัน มีการสันนิษฐานว่าคือเมืองอู่ทอง) สอดรับกับชื่อพระนาม “พระเจ้าศรีหรรษวรมะ” และ “ศรีอีศานวรมะ” กษัตริย์เมืองพระนคร ในจารึกแผ่นทองแดง ที่พบจากจากเมืองโบราณอู่ทอง รวมทั้งทับหลังรูปเกียรติมุขคายท่อนพวงมาลัยในศิลปะแบบพะโค – บาแค็ง ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 15 ที่พบในเขตจังหวัดลพบุรี
ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 15 อาจได้เริ่มมีการสร้างปราสาทหินขึ้นที่เมืองลวปุระ (ลพบุรี) ในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา – ลพบุรี เป็นครั้งแรก เช่นเดียวกับการสร้างปราสาทเมืองแขก ปราสาทกู่บ้านปราสาทและปราสาทโนนกู่ ในเขตแคว้นศรีจานาศะ ที่ต่อเนื่องไปจนถึงช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 15    
---------------------------
*** ปราสาทหินแบบเมืองพระนครที่สร้างขึ้นหลังแรก คงเป็น “ปรางค์แขก” ในตัวเมืองโบราณลพบุรี ใกล้กับพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ที่เป็นปราสาทก่ออิฐ 3 หลัง หันหน้าไปทางตะวันออก เรียงตัวในแนวเหนือ-ใต้ มีซุ้มประตูทางเข้าเพียงด้านเดียว อีก 3 ด้านทำเป็นประตู (หลอก) ประดับผนัง โดยที่ปราสาทประธานตรงกลางมีขนาดใหญ่กว่าปราสาทบริวารที่ขนาบข้าง ใช้เทคนิคการก่อเรียงอิฐแบบชิดแนบติดกันสอด้วยยางกรด ใช้หินทรายในส่วนโครงสร้างรองรับน้ำหนัก ทั้งกรอบประตูและประตูหลอก    
รูปแบบทางสถาปัตยกรรมของปรางค์แขก เป็นอาคารเรือนธาตุก่ออิฐผังสี่เหลี่ยม ยกเก็จ-เพิ่มมุม ด้านละหนึ่งกระเปาะ กลางเก็จยกเป็นซุ้มประตู เหนือกรอบประตูทำเป็นแผ่นทับหลังปลอม หน้าบันสูง ขึ้นไปในระดับเดียวกับบัวรัดเกล้าที่มีการวางชุดลวดบัวหลายชั้น
ถึงจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปทรงไปจากเดิมในหลายส่วน แต่รูปแบบหน้าบันที่มีขนาดใหญ่สูง เว้นช่องสามเหลี่ยมตรงกลาง รวมทั้งรูปแบบเรือนธาตุของปรางค์แขกส่วนดั้งเดิมที่พอเห็นอยู่ได้แสดงให้เห็นว่า เรือนธาตุของปรางค์แขกนั้นมีความคล้ายคลึงกับเรือนธาตุปราสาทพะโค (Preah Ko) เมืองหริหราลัย (Hariharalaya)  ที่สร้างขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 และยังคงเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่นิยมมาถึงช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 15 อย่างเรือนธาตุของปราสาทกระวาน (Kravan) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของนครธม ที่สร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้าราเชนทรวรมัน ซึ่งเป็นช่วงศิลปะนิยมแบบแปรรูป  
ส่วนประกอบสำคัญของปราสาทปรางค์แขกอันได้แก่ทับหลัง กรอบประตู เสาประดับประตูและรูปประติมากรรม อาจได้สูญหายหรือถูกเคลื่อนย้ายออกไปตั้งแต่ที่เมืองละโว้ร้างผู้คนไปกว่า 200 ปี  จนถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ที่ได้ทรงโปรดให้ซ่อมแซมบูรณะตัวปราสาททั้งสามองค์ โดยน่าจะมีการก่อยอดวิมานที่พังทลายลงมาขึ้นไปใหม่ จึงมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมตามแบบปรางค์ไทยแบบอยุธยาตอนปลาย ไม่ใช่ทรงศิขระวิมานแบบเขมรเดิม พร้อมทั้งสร้างวิหารเล็กไว้ด้านหน้า เพื่อเปลี่ยนตัวปราสาทเป็นพระเจดีย์ทรงปรางค์ในพุทธศาสนาแบบเดียวกับปรางค์สามยอด
แต่มีทับหลังชิ้นหนึ่ง จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ ที่ใช้หินทรายสีน้ำตาลอ่อนเป็นวัสดุแกะสลักแบบเดียวกับส่วนกรอบวงกบประตูและอกเลาของประตูประดับที่ยังเหลือติดอยู่ในปรางค์แขก แต่ไปพบทับหลังนี้อยู่ที่วัดมหาธาตุ ซึ่งน่าจะเป็นทับหลังของตัวปราสาทปรางค์แขก ก่อนที่ยอดจะพังทลายลงมาและถูกเคลื่อนย้ายออกไปเก็บรักษาในฐานะที่เป็นสิ่งของศักดิ์สิทธิ์ มีความสำคัญมาจากยุคก่อน   
ทับหลังสลักรูปพระอินทร์ยกวัชระในพระหัตถ์ขวา ยกพระชงฆ์แบบมหาราชลีลาสนะแต่เขย่งตัวยกขึ้นเล็กน้อยคล้ายการร่ายรำบนช้างเอราวัณหัวเดียวตวัดงวงไปด้านข้าง มีสิงห์คู่คายท่อนพวงมาลัยแบบท่อนกลมคั่นด้วยกลีบบัวโค้งออกไป ส่วนปลายมีสิงห์คายกระหนกพุ่มใบม้วนตวัดตั้งขึ้นไปเป็นตัวจบลายที่ขอบ ทางด้านซ้ายเป็นรูปบุคคลถือคันธนู ที่อาจหมายถึง “พระอรชุน” (Arjuna) ที่เป็นบุตรของพระอินทร์ในวรรณกรรมมหาภารตะ กำลังแผลงศรสู้กับฝ่ายเการพ ทั้งองค์ภีษมะหรือกรรณะผู้เป็นพี่ร่วมมารดา (นางกุนตี) แต่ยังคงสลักเป็นโกลนค้างไว้  กระหนกใบไม้ตั้งแทรกรูปบุคคลอันหมายถึงเหล่าเทพเจ้าเข้าไปตรงกลาง ด้านบนเป็นแถวของมหาฤๅษีแห่งสวรรค์ทั้ง 7 “สัปตฤๅษี” (Saptarishis) ที่ยังแกะสลักไม่เสร็จ
รูปแบบทางศิลปะของทับหลังชิ้นนี้ เป็นศิลปะที่มีความนิยมในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 15 ที่เรียกว่าศิลปะแบบ “เกาะแกร์ – แปรรูป” (Kohker – Prerup Style) ที่มีความนิยมอยู่ในช่วงประมาณ 30 – 40 ปี ซึ่งการใช้เรื่องราวในวรรณกรรมมหาภารตะมาประกอบในงานศิลปะเขมรนั้น ปรากฏความนิยมครั้งแรก ๆ ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 15 อย่างกลุ่มรูปประติมากรรมลอยตัว “การประลองคทายุทธ” ระหว่าง “ภีมะ – ภีมเสน” (Bhima) กับ“ทุรโยธน์” (Duryodhana) เคยตั้งอยู่โคปุระ ทิศตะวันตกของปราสาทเชิน (Prasat Chen) ปราสาทสามหลัง ที่เมือง “โฉกครรกยาร์” (Chok Gargya) “ลึงคปุระ” (Lingapura) หรือเมืองเกาะแกร์ (Koh ker – ป่ามรดก) ห่างจากเมืองเสียมเรียบไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 120 กิโลเมตร
-----------------------------
*** รูปแบบศิลปะและการจัดวางองค์ประกอบบนทับหลังรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงว่า ปราสาทปรางค์แขกนั้น ถูกสร้างขึ้นในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 15 ตามรูปแบบเดียวกันกับทับหลังของปราสาทแม่บุญตะวันออก ทับหลังชิ้นหนึ่งที่จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติปราจีนบุรี  และร่องรอยของโกลนสลักบนทับหลังแบบมีท่อนมาลัยโค้งจากปราสาทกู่บ้านปราสาท จังหวัดนครราชสีมา
เครดิต ;
วรณัย  พงศาชลากร
EJeab  Academy
เพราะทุกที่มีเรื่องราวและเรื่องเล่า

หลวงปู่แหวน

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
ถ้ากินเจมันประเสริฐเป็นบุญใหญ่นัก วัว ควาย ก็คงเป็นพระอรหันต์หมดแล้ว คนเราจะกินอะไรไม่สำคัญ สำคัญที่ว่ากิเลสตัณหาตัดได้หรือเปล่า แล้วการกินเจก็ไม่ช่วยให้กิเลสตัณหาลดลง แต่จะกินเพื่อสุขภาพละก็อนุโมทนา แต่การกินเจไม่ช่วยให้พ้นนรกได้หรอก คนกินเจลงนรกก็เยอะแยะ เพราะกิเลสตัณหายังเต็มหัวมันอยู่ ท่านดูใจของท่านเองก็ได้นี่ ว่ามันประเสริฐตรงไหนหรือยัง ถ้ายังไม่ประเสริฐให้รีบแก้ ราคะ โทสะ โมหะ ที่เผาหัวอยู่นั้นละ

มันเป็นสิ่งที่ท่านต้องแก้เสียโดยเร็วพลัน ไม่ใช่วัน ๆ เที่ยวแต่ชวนคนมากินผัก คนเรามันจะประเสริฐเลิศได้ด้วยความประพฤติมิใช่เพราะการกิน ถึงกินเจตลอดชีวิตแต่ไม่ทำทาน ไม่รักษาศีล ไม่เจริญภาวนา ก็กินเจเสียเปล่า หาประโยชน์มิได้ แล้วยังไม่ช่วยให้ตัวเองพ้นจากขุมนรก

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ

วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2563

อกุศลกรรมบถ๑๐

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอน อกุศลกรรมบถ ๑๐
เตือนว่าการประพฤติไม่เรียบร้อย
เป็นทางไปไดเกิดในอบายเปรตวิสัย เดรัจฉาน สัตว์นรก...
ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย!
ความประพฤติไม่ เรียบร้อย คือ
ความไม่ประพฤติธรรม ทางกาย มี ๓ อย่าง!
(ความไม่ประพฤติธรรม) ทางวาจามี ๔ อย่าง!
(ความไม่ประพฤติธรรม) ทางใจ มี ๓ อย่าง!
ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย!
ความประพฤติไม่เรียบร้อย คือ
ความไม่ประพฤติ ธรรมทางกาย ๓ อย่าง เป็นไฉน?
(๑) บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้ฆ่าสัตว์ คือ
เป็นคนเหี้ยมโหด 
มีมือเปื้อนเลือด
พอใจในการประหารและการฆ่า 
ไม่มีความละอาย
ไม่ถึงความเอ็นดูในสัตว์ทั้งปวง
(๒) เป็นผู้ถือเอาทรัพย์ที่เขามิได้ให้ คือ
ลักทรัพย์เป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของบุคคลอื่น
ที่อยู่ในบ้าน หรือที่อยู่ในป่า
ที่เจ้าของมิได้ให้ 
ซึ่งนับว่าเป็นขโมย
(๓) เป็นผู้ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย คือ
ถึงความสมสู่ในพวกหญิง
ที่มารดารักษา ที่บิดารักษา
ที่มารดาและบิดารักษา
ที่พี่ชายรักษา ที่พี่สาวรักษา
ที่ญาติรักษา ที่มีสามี
ที่อิสรชนหวงห้าม
ที่สุดแม้หญิงที่เขาคล้องแล้ว
ด้วยพวงมาลัย (หญิงที่เขาหมั้นไว้)
ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย!
ความประพฤติไม่เรียบร้อย คือ
ความประพฤติธรรมทางกาย ๓ อย่าง เป็นอย่างนี้แล!
ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย!
ก็ความประพฤติไม่เรียบร้อย คือ
ความไม่ประพฤติ ธรรมทางวาจา ๔ อย่าง เป็นไฉน?
(๔) บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้กล่าวเท็จคือ
ไปในที่ประชุม 
หรือไปในหมู่ชน
หรือไปในท่ามกลางญาติ
หรือไปในท่ามกลางขุนนาง
หรือไปในท่ามกลางราชสกุล
หรือถูกนำไปเป็นพยาน ถูกถามว่า
แน่ะบุรุษผู้เจริญ! เชิญเถิด!
ท่านรู้เรื่องใด ก็จงบอก เรื่องนั้น
เขาเมื่อไม่รู้ก็บอกว่า รู้บ้าง!
เมื่อรู้บอกว่า ไม่รู้บ้าง!
เมื่อไม่เห็น ก็บอกว่าเห็นบ้าง!
เมื่อเห็นก็บอกว่า ไม่เห็นบ้าง!
เป็นผู้กล่าวคำเท็จทั้งรู้อยู่
เพราะเหตุตนบ้าง
เพราะเหตุผู้อื่นบ้าง
เพราะเหตุเห็นแก่สิ่งเล็กน้อยบ้าง
(๕) เป็นผู้ส่อเสียด คือ
ได้ฟังข้างนี้แล้ว นำไปบอกข้างโน้น!
เพื่อทำลายพวกข้างนี้บ้าง!
หรือฟังข้างโน้นแล้ว นำไปบอกข้างนี้!
เพื่อทำลายพวกข้างโน้นบ้าง!
ยุพวกที่พร้อมเพรียงกันให้แตกกันไปบ้าง!
ส่งเสริมพวกที่แตกกันบ้าง!
ส่งเสริมพวกที่แตกกันแล้วบ้าง!
ชอบใจในคนที่แตกกันเป็นพวก!
ยินดีในความแตกกันเป็นพวก!
ชื่นชมในพวกที่แตกกัน
และกล่าววาจาที่ทำให้แตกกันเป็นพวก!
(๖) เป็นผู้มีวาจาหยาบ คือ
กล่าววาจาที่เป็นโทษหยาบ
อันเผ็ดร้อนแก่ผู้อื่น
อันขัดใจผู้อื่น
อันใกล้ต่อความโกรธ
ไม่เป็นไปเพื่อความสงบจิต
(๗) เป็นผู้กล่าวคำเพ้อเจ้อ คือ
พูดในเวลาไม่ควรพูด
พูดเรื่องที่ไม่เป็นจริง
พูดไม่เป็นประโยชน์
พูดไม่เป็นธรรม
พูดไม่เป็นวินัย
กล่าววาจา ไม่มีหลักฐาน
ไม่มีที่อ้าง ไม่มีที่สุด
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ 
โดยกาลไม่สมควร
ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย!
ความประพฤติไม่เรียบร้อย คือ
ความไม่ประพฤติธรรมทางวาจา ๔ อย่างเป็นอย่างนี้แล!
ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย!
ก็ความประพฤติไม่เรียบร้อย คือ
ความไม่ประพฤติธรรมทางใจ ๓ อย่าง เป็นไฉน?
(๘) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความโลภมาก คือ
เพ่งเล็งทรัพย์
อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นว่า
ขอของผู้อื่นพึงเป็นของเราเถิด ดังนี้!
(๙) เป็นผู้มีจิตพยาบาท คือ
มีความดำริในใจอันชั่วช้าว่า
ขอสัตว์เหล่านี้
จงถูกฆ่าบ้าง
จงถูกทำลายบ้าง
จงขาดสูญบ้าง
อย่าได้มีแล้วบ้าง ดังนี้!
(๑๐) เป็นผู้มีความเห็นผิด คือ
มีความเห็นวิปริตว่า
ผลแห่งทานที่ให้แล้ว ไม่มี
ผลแห่งการบูชา ไม่มี
ผลแห่งการเซ่นสรวง ไม่มี
ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่ว ไม่มี
โลกนี้ ไม่มี โลกหน้า ไม่มี
มารดา ไม่มี บิดา ไม่มี
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นอุปปาติกะ ไม่มี
สมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย!
ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัด
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง 
แล้วสั่งสอนให้ผู้อื่นรู้ 
ไม่มีอยู่ในโลก ดังนี้!
ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย!
ความประพฤติไม่เรียบร้อย คือ
ความไม่ประพฤติธรรมทางใจ ๓ อย่าง เป็นอย่างนี้แล!
ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย!
สัตว์บางพวกในโลกนี้
เข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต และนรก
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
เพราะเหตุประพฤติไม่เรียบร้อย คือ
ไม่ประพฤติธรรม อย่างนี้แล!
พระไตรปิฎก(ฉบับหลวง)
เล่ม ๑๒ หน้า ๓๖๕