วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2563

พระร่วงโรจนฤทธิ์

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
พระร่วงโรจนฤทธิ์
วัดพระปฐมเจดีย์
พระ​คู่​บ้าน​คู่​เมือง​นครปฐม
พระร่วงโรจนฤทธิ์​เป็นพระยืนองค์ใหญ่​ประดิษฐานในมุขหน้าพระวิหารทิศเหนือ  ที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์​ทรงออกแบบซุ้มพระอย่างสวยงาม​ยิ่ง​  เป็นศรีสง่าแห่งพระคู่บ้านคู่เมือง​นครปฐม
ประวัติ​ความเป็นมาของพระร่วง​โร​จน​ฤทธิ์​นั้น​มีอยู่ครบถ้วนกระบวนความ​  ในประกาศของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์  เสนาบดีกระทรวงวังครั้งรัชกาลที่​ 6​ ดังนี้
ประกาศถวายพระนามพระพุท​ธปฏิมา​  ที่พระวิหารด้านอุดรแห่งองค์​พระปฐมเจดีย์
พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ​  พระมงกุฎ​เกล้าเจ้าอยู่หัว​  มีพระบรมราชโองการเหนือเกล้าฯ​ ให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า​  พระพุทธ​ปฏิมาซึ่งประดิษฐาน​อยู่​ที่​ด้านอุดรแห่งพระปฐม​เจดีย์​นั้น​  เดิมเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จ​พระ​เจ้า​อยู่​หัว​ยังทรงดำรงพระ​อิสริยยศ​เป็นสมเด็จพระย​ุพราช​  เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือใน​พ.ศ.​ 2451  ได้ทอดพระเนตรพระพุทธรูปโบราณเป็นอันมาก​  มีพระพุทธรูป​องค์​หนึ่ง​ที่เมืองศรีสัชนาลัย​โบราณราชธานี​  กอปรด้วยลักษณะงามเป็นที่ต้องพระราชหฤทัย​  แต่ชำรุดมาก​  ยังคงเหลืออยู่แต่พระเศียรพระหัตถ์และพระบาท​  ซึ่งสันนิษฐาน​ได้แน่ว่าเป็นพระพุทธ​รูป​ยืนห้าม​ญาติ​  จึงโปรดเกล้า​ให้เชิญลงมากรุงเทพ​ฯ​  แล้วให้ช่างปั้นสถาปนาขึ้น​ให้​สมบูรณ์​เต็มพระองค์​  เมื่อการทำหุ่นเสร็จ​เป็นอันจะเททองได้แล้ว​  จึงโปรดเกล้าฯ​ ให้จัดการสถาปนา​พระพุทธ​รูป​พระ​องค์​นั้น​ ณ​ วันที่​ 30​ ธันวาคม​ 2456  ตรงกับวั​นมหามงคล​สมัยฉลองและเฉลิมพระชนมพรรษา​ที่วัดพระเชตุพน​  เมื่อการหล่อสำเร็จ​แล้ว​  มีขนาดสูง​จากพระบาทถึงพระเกศ​ 12​ ศอก​ 4​ นิ้ว​ ต้องด้วยลักษณะ​บริบูรณ์​ทุก​ประการ​  จึงโปรดเกล้าฯให้เชิญไปประดิษฐาน​ไว้ยังพระวิหาร​พระ​ปฐม​เจดีย์​  จังหวัดนครปฐม​  ออกจากกรุงเทพพระมหานคร​เมื่อเดือนกรกฎา​คม​ พ.ศ.​ 2457  เจ้าพนักงาน​จัดการ​ตกแต่ง​ประกอบตั้งต่อมาจนแล้วเสร็จ​บริบูรณ์​ ณ​ วันที่​ 2​ พฤศจิกายน​  พ.ศ.​ 2458
ครั้นกาลต่อมา​  ได้ทรงพระราชอนุสรณ์​คำนึงถึงพระพุทธ​ปฏิมากร​องค์​นั้นว่า​  ยังหาได้สถาปนาพระนามให้สมพระราช​หฤทัย​ประสาทการและเป็นอัครปูชนียฐานไม่​  จึงได้ถวายพระนามพระพุทธ​ปฏิมาพระ​องค์​นั้นว่า​  "พระร่วง​โร​จน​ฤทธิ์​  ศรีอิทราทิตย์​ธรรมโมภาส​  มหาวชิราวุธ​ราชปูชนิยบพิตร"   เพื่อเป็นเครื่อง​เฉลิม​พระราชศรัทธา​สืบไป
ประกาศ​มา​ ณ​ วันที่​ ตุลาคม​ พ.ศ.​ 2466
(ลงนาม​  เจ้าพระยา​ธรรมาธิกรณ์)
มหาเสวกเอก​  เสนาบดีกระทรวงวัง
ในการปฏิสังขรณ์​พระ​ร่วง​โร​จน​ฤทธิ์​นั้น​  พระบาทสมเด็จพระมงกุฏ​เกล้าเจ้าอยู่หัว​  โปรดให้กรมศิลปากรดำเนินการ​  นับเป็นการใหญ่เพราะช่างไม่เคยหล่อพระยืนองค์ใหญ่มาก่อน​  มีข้อน่าสังเกต​ุว่า​ พระร่วง​โร​จน​ฤทธิ์​เมื่อสร้างเสร็จ​แล้ว​  ดูลงพุงเล็กน้อย​  เหมือนพระรูปโฉมของพระ​บาท​สมเด็จ​พระมงกุฏเกล้า​เจ้า​อยู่​หัว​ เป็นที่ต้องพระราชหฤทัย​ยิ่งนัก
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏ​เกล้า​เจ้า​อยู่​หัว​  ทรงมีความเลื่อมใสผูกพันกับพระร่วงโร​จน​ฤทธิ์​มาก​  ในเบื้องปลายพระชนม์ชีพ​  ได้ทรงมีพระราชพินัยกรรมในข้อสุดท้ายว่า
"พระอังคารขอให้บรรจุใต้ฐานพระพุทธ​ชิน​สีห์​ในวัดบวรส่วน​ 1​ อีกส่วนหนึ่งขอให้กันไว้บรรจุ​ใต้ฐานพระร่วงโ​รจนฤทธิ์​ที่องค์พระปฐม​เจดีย์​ ในโอกาสอันเหมาะสม​ ซึ่งไม่ติดต่อกับงานพระเมรุ" 
ปัจจุบัน​พระบรม​ราชสรีรางคาร​ส่วนหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏ​เกล้าเจ​้าอยู่หัวได้ประดิษฐาน​อยู่ในพระวิหารทิศเหนือตรงผนังด้านหลังองค์​พระร่วงโรจน์​ฤทธิ์​  แต่เป็นเรื่องแปลกที่สุด​ที่ไม่นับวัดพระปฐมเจดีย์เป็นวัดประจำรัชกาลที่​ 6​ ทั้งๆที่คุณสมบัติ​ของวัดประจำรัชกาลคือ​ เป็นวัดที่ประดิษฐาน​พระบรมอัฐิหรือพระบรมราชสรีรางคาร​  และก็เป็นเช่นนี้ทุกวัด
เมื่อพระบาทสมเด็จ​พระ​จอมเกล้า​เจ้า​อยู่​หัว​ทรงสถาปนาพระปฐมเจดีย์​  ทรงเสด็จบูชาพระปฐม​เจดีย์ในพระวิหารหลวงทิศตะวันออก​อันเป็นด้านหน้าของพระปฐมเจดีย์​  แต่ปัจจุบัน​พระร่วงโ​รจนฤทธิ์​ที่อยู​่ทิศเหนือกลายเป็นด้านหน้าไปเสียแล้ว​  ผู้คนจำนวนมากต่างมาที่พระปฐมเจดีย์เพื่อไหว้พระร่วง​โร​จน​ฤทธิ์​  โดยไม่ได้ไหว้พระปฐมเจดีย์เลย

1 ความคิดเห็น:

  1. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always be love. _/|\_

    ตอบลบ