วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ภาพ:พระยาตากสิน2.gif

 พระราชประวัติ

        สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ พระเจ้ากรุงธนบุรี มีพระนามเดิมว่า สิน ( ชื่อจีนเรียกว่า เซิ้นเซิ้นซิน ) เป็นบุตรของขุนพัฒน์ ( นายหยง หรือ ไหฮอง แซ่อ๋อง บางตำราก็ว่า แซ่แต้ ) และ นางนกเอี้ยง ( กรมพระเทพามาตย์ ) เกิดเมื่อวันอาทิตย์ มีนาคม พ.ศ. 2277 ในแผ่นดิน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา ต่อมา เจ้าพระยาจักรีผู้มีตำแหน่งสมุหนายกเห็นบุคลิกลักษณะ จึงขอไปเลี้ยงไว้เหมือนบุตรบุญธรรม ตั้งแต่ครั้งยังเยาว์วัยได้รับการศึกษาขั้นต้นจากสำนักวัดโกษาวาส (วัดคลัง ) และ บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุ 13 ขวบ ที่วัดสามพิหาร หลังจากสึกออกมาแล้ว ได้เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็ก และ อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่ออายุครบ 21 ปีตามขนบประเพณี ของไทยบวชอยู่ 3 พรรษา หลังจากสึกออกมาได้เข้ารับราชการ ต่อ ณ. กรมมหาดไทยที่ศาลหลวงในกรมวัง ต่อมาในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) จึงได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตากจนได้เป็นพระยาตาก ในเวลาต่อมา หลังจากนั้นได้ถูกเรียกตัวเข้ามาในกรุงศรีอยุธยา เพื่อแต่งตั้งไปเป็น พระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชรแทนเจ้าเมืองคนเก่าที่ถึงแก่อนิจกรรมลงใน พ.ศ. 2310 ครั้นเจริญวัยวัฒนา ก็ได้ไปถวายตัวทำราชการกับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีความดีความชอบจนได้รับเลื่อนหน้าที่ราชการไปเป็นผู้ปกครองหัวหน้าฝ่ายเหนือคือ เมืองตาก และเรียกติดปากมาว่า พระยาตากสิน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชครองราชย์สมบัติกรุงธนบุรีได้ 15 ปีเศษ ก็สิ้นพระชนม์มีชนมายุ 48 พรรษา กรุงธนบุรีมีกำหนดอายุกาลได้ 15 ปี

ผลงานอันสร้างชื่อของพระเจ้าตากสิน

        สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์มีความสำคัญที่ชาวไทยไม่สามารถจะลืมในพระคุณงามความดีที่ทรงกอบกู้เอกราชเริ่มแต่ในวันที่ 3 มกราคม พ.ศ.2309 ซึ่งตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 4 ค่ำ เดือนยี่ จุลศักราช 1128 ปีจอ อัฐศก พระยาวชิรปราการ (ยศในขณะนั้น) เห็นว่ากรุงศรีอยุธยาคงต้องเสียทีแก่พม่า จึงตัดสินใจรวบรวมทหารกล้าราว 500 คน ตีฝ่าวงล้อมทหารพม่า โดยตั้งใจว่าจะกลับมากู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนให้ได้โดยเร็ว ทรงเข้ายึดเมืองจันทบุรี เริ่มสะสมเสบียงอาหาร อาวุธ กำลังทหาร เพื่อเข้าทำการกอบกู้กรุงศรีอยุธยา         กรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 8 ปีกุน นพศก จุลศักราช 1129 ตรงกับ พ.ศ.2310 และสมเด็จพระเจ้าตากสิน สามารถกู้กลับคืนมาได้ เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก ซึ่งตรงกับวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2310 รวมใช้เวลารวบรวมผู้คนจนเป็นทัพใหญ่กลับมากู้ชาติด้วยระยะเวลาเพียง 7 เดือนเท่านั้น         เมื่อทรงจัดการบ้านเมืองเรียบร้อยพอสมควร บรรดาแม่ทัพ นายกอง ขุนนาง ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ตลอดทั้งสมณะพราหมณาจารย์และอาณาประชาราษฎร์ทั้งหลาย จึงพร้อมกันกราบบังคมทูลอัญเชิญขึ้นทรงปราบดาภิเษก เป็นพระมหากษัตริย์ ณ วันพุธ เดือนอ้าย แรก 4 ค่ำ จุลศักราช 1130 ปีชวด สัมฤทธิศก ตรงกับวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2310 ทรงพระนามว่า พระศรีสรรเพชญ์ หรือสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 แต่เรียกขานพระนามของพระองค์ติดปากว่า สมเด็จพระเจ้าตากสิน หรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

พระราชกรณียกิจที่สำคัญ ๆ

        นอกจากพระราชกรณียกิจในด้านกู้ชาติแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสิน ยังได้ปราบอริราชศัตรูที่มักจะล่วงล้ำเขนแดนเข้ามาซ้ำเติมไทยยามศึกสงครามอยู่เสมอ จนในสมัยของพระองค์ได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างไพศาล กล่าวคือ
ทิศเหนือ ได้ดินแดนหลวงพระบาง และเวียงจันทน์
ทิศใต้ ได้ดินแดนกะลันตัน ตรังกานู และไทรบุรี
ทิศตะวันออก ได้ดินแดนลาว เขมร ทางฝั่งแม่น้ำโขงจดอาณาเขตญวน
ทิศตะวันตก จรดดินแดนเมาะตะมะ ได้ดินแดน เมืองทวาย มะริด ตะนาวศรี
        พระองค์ยังโปรดเกล้าฯ ให้มีการฟื้นฟูและสร้างวรรณกรรม นาฏศิลป์ และการละครขึ้นใหม่ แม้ว่าจะมีศึกสงครามตลอดรัชกาล กระนั้นก็ยังทรงพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ถึง 4 เล่ม สมุดไทย ในปี พ.ศ.2312 นับว่าทรงมีอัจฉริยภาพสูงส่งเป็นอย่างมาก และในรัชสมัยของพระองค์มีกวีที่สมควรได้รับการยกย่อง 2 ท่าน คือ
  1. นายสวน มหาดเล็ก ซึ่งแต่งโคลงสี่สุภาพ แต่งขึ้นเพื่อยกพระเกียรติและสรรเสริญ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี 85 บท เป็นสำนวนที่เรียบง่าย แต่ทรงคุณค่าด้วยเป็นหลักฐานที่คนรุ่นต่อมาได้ทราบถึงสภาพบ้านเมืองและความเป็นไปในยุคนั้น
  2. หลวงสรวิชติ (หน) ซึ่งต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาพระคลัง (หน) งานประพันธ์ของท่านเป็นที่รู้จักและแพร่หลาย จนถึงปัจจุบัน เช่น สามก๊ก เป็นต้น
        พระเจ้าตากสิน ยังโปรดให้มีการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา การติดต่อการค้ากับต่างประเทศ ในด้านการปกครอง หลังจากสถาปนาเมืองธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว ทรงจัดวางตำแหน่งหน้าที่ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ทรงสอดส่องทุกข์สุขของราษฎร และหลังจากกอบกู้แผ่นดินได้แล้ว พระองค์ได้ทรงอัญเชิญพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าเอกทัศมาจัดถวายพระเพลิงอย่างสมพระเกียรติและยังทรงรับอุปการะบรรดา เจ้าฟ้า พระองค์ฟ้า พระราชโอรส ตลอดทั้งพระเจ้าหลานเธอของพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาทุกพระองค์ ด้วยความกตัญญูกตเวที

ถวายพระนามมหาราช และการสร้างพระราชอนุสาวรีย์

ภาพ:พระยาตากสิน3.gif
        ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ตามที่กล่าวมาแล้ว ประชาชนทุกหมู่เหล่าจึงพร้อมใจกันถวายพระนาม “มหาราช” แด่ “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” และรัฐบาลอันมี ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งเหล่าพสกนิกรชาวไทย ได้พร้อมใจกันสร้างพระราชอนุสาวรีย์ประดิษฐาน ณ วงเวียนใหญ่ ฝั่งธนบุรี ซึ่งศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี คณบดีประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากรขณะนั้น เป็นผู้ออกแบบ         ทางราชการได้ประกอบพระราชพิธีเปิดและถวายบังคมพระบรมราชอนุสาวรีย์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2497 และในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2497 จึงมีรัฐพิธีเปิดเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินทรงวางพวงมาลา ถวายราชสักการะ ต่อมาทางราชการจึงกำหนดให้วันที่ 28 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเสวยราชย์ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ไทย เป็นวันถวายบังคมพระบรมราชอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

พระราชปณิธาน พระเจ้าตากสินมหาราช

อันตัวพ่อ ชื่อว่า พระยาตาก
ทนทุกข์ยาก กู้ชาติ พระศาสนา
ถวาย แผ่นดิน ให้เป็น พุทธบูชา
แด่พระศาสนา สมณะ พระพุทธโคดม

ให้ยืนยง คงถ้วน ห้าพันปี
สมณะพราหมณ์ชี ปฏิบัติ ให้พอสม
เจริญ สมถะ วิปัสสนา พ่อชื่นชม
ถวายบังคม รอยบาท พระศาสดา

คิดถึงพ่อ พ่ออยู่ คู่กับเจ้า
ชาติของเรา คงอยู่ คู่พระศาสนา
พุทธ ศาสนา อยู่ยง คู่องค์กษัตรา
พระศาสดา ฝากไว้ ให้คู่กัน ฯ

กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันถวายบังคมพระบรมราชอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

  1. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน สถานที่ราชการ
  2. จัดนิทรรศการเผยแพร่พระราชประวัติและพระเกียรติคุณของพระเจ้าตากสินมหาราช อันมีต่อปวงชนชาวไทย
  3. ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การนำพวงมาลาไปถวายบังคมพระบรมราชานุสรณ์ การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ต่อสังคม เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล

ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก

พระยาพิชัยดาบหัก

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

ภาพ:พระยาพิชัยดาบหัก.jpg


พระยาพิชัยดาบหัก

        พระยาพิชัยดาบหัก เดิมชื่อ “จ้อย” เกิดที่บ้านห้วยคา หลังเมืองพิชัยไปทางทิศ ตะวันออกประมาณ 100 เส้นเศษ (ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวจังหวัดอุตรดิตถ์ได้จัดสร้างเป็นโครงการบ้านเกิดพระยาพิชัยดาบหัก) บิดาและมารดามีอาชีพทำนา โดยมีบุตรด้วยกัน 4 คน แต่เป็นไข้ทรพิษตายในคราวเดียวกันถึง 3 ราย จึงเหลือจ้อยคนเดียว เมื่อจ้อยอายุได้ 8 ขวบ บิดาได้นำไปฝากไว้กับท่านพระครูวัดมหาธาตุในเมืองพิชัยเพื่อให้เรียนหนังสือ จนจ้อยอายุย่างเข้า 14 ปี ก็สามารถอ่านออกเขียนได้เป็นอย่างดี ในขณะอยู่ที่วัดมหาธาตุนั้นจ้อยชอบดูการชกมวยมาก และเมื่อมีเรื่องชกต่อยกับเด็กวัดด้วยกันจ้อยก็สมารถเอาชนะได้ทุกคน ต่อมาเจ้าเมืองพิชัยได้นำบุตรชายชื่อเจิดกับเด็กรับใช้อีก 3 คน มาฝากเรียนหนังสือกับท่านพระครู อยู่มาวันหนึ่งเจิดและ ลูกน้องได้เกิดการทะเลาะวิวาทชกต่อยกับจ้อย จ้อยเกรงว่าจะไม่ได้รับความเป็นธรรมเนื่องจากเจิดเป็นบุตรชายของเจ้าเมือง จึงได้หนีไปโดยตั้งใจว่าจะไปบ้านท่าเสาเพื่อที่จะไปฝึกหัดชกมวยที่นั่นด้วย แต่ระหว่างที่เดินทางถึงวัดบ้านแก่งได้เห็นครูเที่ยงกำลังสอนมวยอยู่จึงสมัครเข้าเป็นศิษย์ และเพื่อไม่ให้คนจำได้ จึงเปลี่ยนชื่อเสียใหม่ว่า “ทองดี” เนื่องจากทองดีไม่เคี้ยวหมากเหมือนคนทั่วไปในสมัยนั้น จึงมักถูกเรียกว่า “นายทองดีฟันขาว” นายทองดีฝึกมวยอยู่กับครูเที่ยงด้วยความตั้งใจจนมีฝีมือเป็นเลิศกว่าลูกศิษย์คนอื่นและได้ปรนนิบัติดูแลรับใช้ครูเป็นอย่างดีสม่ำเสมอ กระทั่งอยู่ต่อมาศิษย์รุ่นเก่าของครูเที่ยง 4 คน เกิดอิจฉาที่นายทองดีเป็นศิษย์รักของครู จนเกิดเรื่องชกต่อยกัน นายทองดีเห็นว่าอยู่ต่อไปก็ไม่มีความสุข จึงขอลาครูเที่ยงเดินทางติดตามพระภิกษุรูปหนึ่งซึ่งจะไปนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ โดยนายทองดีได้ไปพักที่วัดบางเตาหม้อ ไม่นานก็ลาพระภิกษุรูปนั้นไปหาครูมวยที่ท่าเสาชื่อ “ครูเมฆ” เพื่อขอเป็นศิษย์ฝึกหัดวิชามวยตามที่ตั้งใจไว้แต่ตอนแรก ในระหว่างนั้นขณะที่นายทองดีอายุได้ 18 ปี ได้แสดงความสามารถโดยการติดตามผู้ร้ายที่เข้ามาลักขโมยควายของครูเมฆจนได้ควายกลับคืนมา และได้ฆ่าคนร้ายตาย 1 คน จับคนร้ายได้อีก 1 คน นายทองดีจึงได้รับการชมเชย และ ได้รับบำเหน็จรางวัลจากกรมการตำบลบางโพท่าอิฐสำหรับความสามารถและคุณงามความดี ในครั้งนั้นถึง 5 ตำลึง นายทองดีได้มีโอกาสแสดงฝีมืออีกครั้งหนึ่งด้วยการชกมวยในงานนมัสการ พระแท่นศิลาอาสน์ โดยชกชนะนายถึกซึ่งเป็นศิษย์มวยของครูนิล และยังได้ชกชนะครูนิลอีกด้วย ในคราวเดียวกัน ทำให้ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่มีนักมวยคนใดในแขวงเมืองพิชัย เมืองทุ่งยั้ง เมืองลับแลและเมืองฝาง กล้ามาขันสู้ในเชิงชกมวยกับนายทองดีอีกเลย ต่อมาอีก 3 เดือน พระสงฆ์จากเมืองสวรรคโลกได้ชักชวนนายทองดีเดินทางไปเมืองสวรรคโลกด้วย และได้ฝากนายทองดีไว้กับครูฟันดาบผู้ฝึกการฟันดาบให้กับบุตรเจ้าเมืองสวรรคโลก นายทองดีได้ฝึกหัดการต่อสู้ด้วยดาบอยู่ประมาณ 3 เดือน ได้ซ้อมฟันดาบกับบุตรชายเจ้าเมืองสวรรคโลกอย่างคล่องแคล่วจนจบหลักสูตร จึงได้ลาครูฟันดาบเดินทางไปเมืองสุโขทัยและได้ไปขอสมัครเป็นศิษย์ครูจีนแต้จิ๋วคนหนึ่งเพื่อฝึกมวยจีน ซึ่งนายทองดีได้ฝึกฝนอยู่จนสำเร็จเช่นกัน และที่สำนักมวยจีนแห่งนี้เองเด็กชายบุญเกิดได้สมัครเป็นศิษย์ของนายทองดี ซึ่งบุญเกิดได้เป็นผู้ติดสอยห้อยตามนายทองดีในเวลาต่อมา ขณะที่นายทองดีและบุญเกิดอาศัยอยู่ที่วัดธานีได้ประมาณ 6 เดือน ก็มีชาวจีนคนหนึ่งซึ่งมาจากเมืองตากได้เห็นฝีมือของนายทองดีจึงชวนไปเมืองตากด้วยกันโดยเล่าว่าพระยาตากเจ้าเมืองมีความสนใจและชอบคนที่มีฝีมือ ซึ่งในความจริงแล้วการที่ชวนนายทองดีเดินทางไปด้วยนั้นคงต้องการมีเพื่อน เดินทางเพื่อช่วยระวังภัยให้เพราะเป็นที่รู้กันดีว่าระหว่างทางกลางป่าที่จะไปเมืองตากนั้นมีเสือ ดุร้ายที่ผู้คนต่างหวาดกลัวกันมาก อย่างไรก็ตามนายทองดีก็ตกลงไปเมืองตากกับชาวจีนคนนั้นโดยมีบุญเกิดติดตามไปด้วย ระหว่างทางกลางป่าในตอนกลางคืนเสือได้เข้ามาคาบบุญเกิดไป นายทองดีได้ติดตามเข้าช่วยโดยได้ต่อสู้กับเสือจนเสือบาดเจ็บหนีไป แต่บุญเกิดเองก็ถูกคมเขี้ยวของเสือกัดบาดเจ็บหลายแห่งอาการสาหัส ต้องพาไปรักษาตัวที่วัดใหญ่เมืองตากอยู่นานถึงสองเดือน อาการจึงทุเลา วันหนึ่งเจ้าพระยาตากมาถือน้ำพิพัฒน์สัตยาที่วัดใหญ่ซึ่งมีการชกมวยฉลองด้วย นายทองดีได้ชกกับครูมวยชื่อ “ห้าว” และสามารถเอาชนะได้ เจ้าพระยาตากอยากดูฝีมือนายทองดีอีกจึงได้จัดให้ชกกับครูมวยชื่อ “หมึก” ซึ่งนายทองดีก็สามารถชกเอาชนะได้อีกทำให้เจ้าพระยาตากชอบใจในฝีมือของนายทองดีมาก โดยได้มอบรางวัลให้ 5 ตำลึง และรับตัวเข้าทำงานด้วย พอนายทองดีอายุ 21 ปี เจ้าพระยาตากได้จัดการอุปสมบทให้ บวชอยู่ 1 พรรษา ก็สึกออกมาอยู่กับเจ้าพระยาตากต่อไป โดยเจ้าพระยาตากได้แต่งตั้งให้เป็น “หลวงพิชัยอาสา” และยังได้ยกนางสาวรำยงซึ่งเป็นสาวใช้ของภริยาของเจ้าพระยาตากให้เป็นภรรยาของหลวงพิชัยอาสาด้วย ในครั้งนั้นเมื่อเจ้าพระยาตากจะไปไหนมาไหนก็มักจะให้หลวงพิชัยอาสาติดตามไปด้วยทุกครั้ง ต่อมาเจ้าพระยาตากได้รับท้องตรากระแสร์พระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เจ้าพระยาตากไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุงศรีอยุธยา โดยเจ้าพระยาตากได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้เป็นที่พระยาวชิรปราการครองเมืองกำแพงเพชร หลวงพิชัยอาสาก็ตามเจ้าพระยาตาก (พระยาวชิรปราการ) ไปด้วย แต่พอดีกับพม่าได้กองทัพใหญ่มาล้อมกรุงศรีอยุธยา พระยาวชิรปราการและหลวงพิชัยอาสาก็อาสาเข้าช่วยรบกับพม่าภายในกรุงศรีอยุธยาด้วย แต่เนื่องด้วยไม่ได้รับความยุติธรรมและขาดความอิสระในการรบพุ่ง ดังนั้นพระยาวชิรปราการพร้อมด้วยหลวงพิชัยอาสาและพรรคพวก ซึ่งมี พระเชียงเงิน หลวงพรหมเสนา หลวงราชเสนา หลวงราชเสน่หา ขุนอภัยภักดี หมื่นราชเสน่หา และพลทหารจำนวนหนึ่งจึงได้ ร่วมกันตีฝ่าวงล้อมของทหารพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยา เดินทางผ่านเมืองปราจีนบุรี ระยอง จนถึงเมืองจันทบุรี รวบรวมผู้คน เสบียงอาหารและอาวุธยุทธภัณฑ์ไว้พร้อมแล้วจึงยกทัพเรือลงมาตีเมืองธนบุรี ได้รบกับ “นายทองอิน” ซึ่งพม่าตั้งให้รักษาเมืองอยู่ โดยได้จับนายทองอินประหารชีวิตเสียในครั้งนั้น สุกี้พระนายกองพม่าที่รักษากรุงศรีอยุธยาซึ่งตั้งค่ายอยู่ที่โพธิ์สามต้นได้ทราบข่าวจึงให้ “มองหย่า” เป็นนายทัพคุมทหารมอญและทหารไทยมาตั้งรับอยู่ที่บ้านพะเนียด พระยาวชิร-ปราการจึงสั่งให้หลวงพิชัยอาสาเป็นนายทัพหน้ายกเข้าตีมองหย่า มองหย่าซึ่งมีความเกรงกลัวฝีมือของหลวงพิชัยอาสาจึงถอยทัพหนีไปมิได้คิดอยู่ต่อสู้ พระยาวชิรปราการสั่งให้หลวงพิชัยอาสาบุกเลยเข้าไปตีค่ายโพธิ์สามต้น ได้ล้อมค่ายของสุกี้พระนายกองอยู่ถึงสองวันก็สามารถตีค่ายโพธิ์สามต้นจนแตกโดยตัวสุกี้พระนายกองตายในสนามรบ เมื่อได้ชัยชนะแล้วพระยาวชิรปราการได้เข้าไปตั้งพลับพลาอยู่ในพระนครเห็นปราสาทและตำหนักต่างๆ ถูกเพลิงเผาไม้เสียหายมากอย่างยากที่จะบูรณะซ่อมแซมใหม่ จึงได้เคลื่อนย้ายทหารและพลเรือนไปสร้างเมืองธนบุรีให้เป็นราชธานีแห่งใหม่ และได้ทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อ ปี พ.ศ.2311 ทรงพระนามว่า “พระบรมราชาธิราชที่ 4” แต่มักเรียกกันว่า “สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี” หรือ “สมเด็จพระเจ้าตากสิน” และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หลวงพิชัยอาสา เป็น “เจ้าหมื่นไวยวรนาถ” มีตำแหน่งเป็นนายทหารเอกองครักษ์ในพระองค์ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีสร้างเมืองธนบุรีเป็นราชธานีแล้วจึงทรงดำเนินการปราบก๊กต่าง ๆ ที่ตั้งตัวเป็นใหญ่ โดยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือปราบได้ก๊กของกรมหมื่นเทพพิพิธ ซึ่งอยู่ที่เมืองพิมาย และได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่ตั้งให้เจ้าหมื่นไววรนาถเป็น “พระยาสีหราชเดโช” แล้วจากนั้นจึงเสด็จยกทัพไปปราบก๊กฝ่ายเหนือ ซึ่งสามารถปราบก๊กเจ้าพระฝาง เมื่อ พ.ศ. 2313 แล้วได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งพระยาสีหราชเดโช เป็น ”พระยาพิชัย” ให้ครองเมืองพิชัย ต่างพระเนตรพระกรรณ โดยให้มีไพร่พล 8,000 คน ทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเครื่องยศให้เสมอด้วยเจ้าพระยาสุรสีห์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่ตั้งให้นายบุญเกิดคนสนิทของพระยาพิชัย เป็น “หมื่นหาญณรงค์” นายทหารคนสนิทของพระยาพิชัยอีกด้วย เมื่อพระยาพิชัยไปครองเมืองพิชัยนั้นได้ทราบข่าวว่าบิดาถึงแก่กรรมเสียแล้วแต่มารดายังมีชีวิตอยู่จึงให้ทนายไปตามหามารดา พอมารดามาถึง มารดาได้หมอบกราบพระยาพิชัยโดยไม่ได้เงยหน้าดูเพราะความกลัว ด้วยยังไม่ทราบว่าพระยาพิชัยเป็นบุตรของตัว พระยาพิชัยจึงรีบลุกไปจับมือมารดาไว้ห้ามไม่ให้กราบไหว้ตน และได้กราบลงกับเท้ามารดาแล้วเล่าเหตุการณ์ที่ได้ซัดเซพเนจรให้มารดาฟังตั้งแต่ต้นจนกระทั่งได้มาครองเมืองพิชัย เมื่อมารดาทราบว่าพระยาพิชัยเป็นบุตรของตนก็ร้องไห้ด้วยความดีใจ ซึ่งในครั้งนั้นครูเที่ยงที่บ้านแก่งและครูเมฆที่ท่าเสาก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกำนันเช่นกัน เป็นการสนองคุณของผู้มีพระคุณทั้งสองนั่นเอง ในปลายปี พ.ศ.2313 นี้เอง โปมะยุง่วน ซึ่งพม่าตั้งให้รักษาเมืองเชียงใหม่ได้ยกกองทัพชาวพม่าและชาวล้านนาลงมาตีเมืองสวรรคโลก พระยาพิชัยก็ยกทัพเมืองพิชัยไปช่วยรบร่วมกับกองทัพเมืองพิษณุโลก ตีทัพพม่าแตกหนีไป ต่อมาในปี พ.ศ.2515 โปสุพลา ซึ่งมาอยู่ช่วยราชการรักษาเมืองเชียงใหม่ได้ยกกองทัพมาตีเมืองลับแลจนแตก แล้วยกลงมาตีเมืองพิชัย โดยตั้งค่ายอยู่ใกล้กับวัดเอกา พระยาพิชัยก็จัดทัพเพื่อการป้องกันเมืองพิชัยอย่างเข้มแข็ง เจ้าพระยาสุรสีห์ได้ยกกองทัพเมืองพิษณุโลกขึ้นมาช่วยเมืองพิชัย ทัพของเจ้าพระยาสุรสีห์และทัพของพระยาพิชัยได้เข้าตี ทัพของพม่า มีการสู้รบกันถึงขั้นตะลุมบอน ทัพไทยไล่ฟันแทงทัพพม่าล้มตายเป็นอันมาก จนทัพพม่าแตกพ่ายกลับไปเมืองเชียงใหม่ รุ่งขึ้นปีต่อมา (พ.ศ.2316) โปสุพลา ยกกองทัพพม่ามาตีเมืองพิชัยอีก พระยาพิชัยยกพลทหารออกไปต่อรบตั้งแต่กลางทางก่อนที่ทัพพม่าจะเข้ามาถึงเมือง เจ้าพระยาสุรสีห์ก็ยกกองทัพเมืองพิษณุโลกมาช่วยอีกครั้ง ในครั้งนี้ก็เช่นกันกองทัพไทยรบกับกองทัพพม่าอย่างเข้มแข็ง พระยาพิชัยถือดาบสองมือนำหน้าเหล่าทหารออกไล่ฟันพม่าจนดาบหักคามือแต่ก็สามารถตีกองทัพพม่าจนแตกพ่ายไป จนเลื่องลือเรียกขานนามของท่านว่า “พระยาพิชัยดาบหัก” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ซึ่งมีเรื่องเล่าว่าตอนที่พระยาพิชัยคุมพลทหารออกไล่ฟันแทงพม่านั้น เนื่องจากเป็นการชุลมุนกำลังตะลุมบอนฟันแทงกันอยู่ เท้าของพระยาพิชัยเหยียบดินลื่นเสียหลักเซจนล้มจึงเอาดาบยันดินไว้เพื่อไม่ให้ล้ม ดาบจึงหักไป 1 เล่ม ทหารพม่าเมื่อเห็นพระยาพิชัยเสียหลักเช่นนั้นได้ปราดเข้าไปจะฟันซ้ำ แต่หมื่นหาญณรงค์นายทหารคู่ชีพของพระยาพิชัยมองเห็นก่อนจึงได้ปรี่เข้าไปกันไว้และได้ฟันทหารพม่าผู้นั้นตายคาที่ แต่แล้วกระสุนปืนพม่าได้ยิงมาถูกหมื่นหาญณรงค์ตรงอกทะลุหลังล้มพับขาดใจตายในขณะนั้น พระยาพิชัยเห็นหมื่นหาญณรงค์ถูกระสุนปืนข้าศึกตายกับตาตนเองดังนั้นก็เศร้าเสียใจอาลัยหมื่นหาญณรงค์ผู้เป็นศิษย์รัก จึงเกิดบันดาลโทสะเข้าไล่ตะลุมบอนฟันแทงพม่าอย่างไม่คิดชีวิต จนกองทัพพม่าต้านทานไม่ไหวหนีแตกพ่ายไป พระยาพิชัยดาบหัก ได้ร่วมรบกับพม่าอีกหลายครั้งจนกระทั่งสิ้นแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เสนาบดีเรียกตัวพระยาพิชัยดาบหักไปถามว่าจะอยู่ทำราชการต่อไปหรือไม่ ถ้ายอมอยู่ทำราชการต่อไปก็จะชุบเลี้ยงเพราะถือว่าไม่มีความผิดอะไร แต่พระยาพิชัยดาบหักตรองแล้วเห็นว่าหากอยู่ไปคงได้รับภัยมิวันใดก็วันหนึ่งเพราะตัวท่านเป็นข้าหลวงเดิมอันสนิทของพระเจ้ากรุงธนบุรีย่อมเป็นที่ระแวงในภายหน้า ประกอบกับกำลังมีความเศร้าโศกอาลัยในพระเจ้ากรุงธนบุรีจนถึงกับสิ้นความอาลัยในชีวิต จึงกราบบังคมทูลว่าขอให้ประหารชีวิตของตนให้ตายตามเสด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและขอฝากบุตรชายให้ได้ทำราชการสนองพระเดชพระคุณแทนตนเพื่อสืบตระกูลต่อไปในภายหน้า ขณะนั้นพระยาพิชัยดาบหักมีอายุได้ 41 ปีเศษ ต่อมาในสมัย รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้สืบตระกูลพระยาพิชัยดาบหักได้รับพระราชทานนามสกุลว่า “วิชัยขัทคะ” ซึ่งแปลได้ว่า “ดาบวิเศษของพระยาพิชัยดาบหัก” นั่นเอง

อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก

        อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ประดิษฐานอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ อำเภอเมือง สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติประวัติของท่านในความองอาจกล้าหาญ รักชาติและเสียสละ เมื่อครั้งพระยาพิชัยซึ่งปกครองเมืองพิชัยในสมัยกรุงธนบุรี ท่านได้สร้างเกียรติประวัติไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปี พ.ศ. 2316 พม่ายกทัพมาตีเมืองพิชัย พระยาพิชัยได้ยกทัพไปสกัดทัพพม่าจนแตกพ่ายกลับไป การรบในครั้งนั้น ดาบคู่มือของพระยาพิชัยได้หักไปเล่มหนึ่ง แต่ก็ยังรบได้ชัยชนะต่อทัพพม่า ด้วยวีรกรรมดังกล่าวจึงได้สมญานามว่า "พระยาพิชัยดาบหัก" อนุสาวรีย์แห่งนี้ออกแบบและหล่อโดยกรมศิลปากร ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512

เจ้าพระฝาง อุตรดิตถ์

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา



จังหวัดอุตรดิตถ์
พระนาม เจ้าพระฝาง
พระราชประวัติ
..............เจ้าพระฝางเดิมชื่อเรือน คาดว่าเป็นชาวเชียงใหม่ บ้านอยู่ที่เวียงป่าเป้า เมืองฝางครอบครัวค่อนข้างมีอันจะกิน ได้บวชเป็นเณรตั้งแต่เล็กที่เวียงป่าเป้า ได้ติดตามอาจารย์พระธุดงค์ไปหลายแห่ง ชอบศึกษาทางไสยศาสตร์เวทมนต์ คาถาอาคมและคงกระพัน กับพระอาจารย์หลายองค์ส่วนใหญ่เป็นพระธุดงค์และได้มา
บวชเป็นพระที่เมืองแพร่ นอกจากจะมีความเชี่ยวชาญทางวิทยาคมหาใครเสมอเหมือนมิได้แล้ว พระเรือนยังมีความเชี่ยวชาญทางด้านกรรมฐานและแตกฉานทาง พระไตรปิฏกอย่างมาก ได้ธุดงค์ลงไปเรื่อย ๆ เพื่อศึกษาและแสวงธรรมในสถานที่ต่าง ๆ ตามวาระโอกาสจนถึงอยุธยาก็เข้าจำพรรษาอยู่ที่วัดศรีอโยธยา ได้
ศึกษาเล่าเรียนเพิ่มเติมจนได้เป็นที่ พระพากุลเถระ ตำแหน่งพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระ ต่อมาพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงแต่งตั้งให้เป็นตำแหน่งสังฆราชา ขึ้นไปเป็นเจ้าคณะสงฆ์ เมืองสวางคบุรี อยู่ ณ วัดพระฝางสวางคบุรี
ผลงาน
.................เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ หัวเมืองทั้งหลายได้พากันตั้งตนขึ้นเป็นเจ้า มีอยู่ถึง ๖ ก๊ก พระสังฆราชาเรือนเป็นผู้ที่ชาวเมือง เชื่อถือว่ามีวิชาอาคมเชี่ยวชาญทุกด้านสาขา ได้ตั้งตัวเป็นเจ้าโดยที่ยังเป็นพระสงฆ์อยู่ โดยเปลี่ยนสีเครื่องนุ่งห่มจากสีเหลืองเป็นสีแดงแสด คนทั้งหลายเรียกเจ้าพระฝาง ครอบ
ครองอาณาเขตตั้งแต่เมืองเวียงจันทร์ หลวงพระบาง น่าน แพร่ พิชัย จนถึงพิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท และอุทัยธานี
ในปี พ.ศ. ๒๓๑๓ พระเจ้าตากสินได้กรีธาทัพเข้าโจมตีก๊กเจ้าพระฝาง ซึ่งเป็นก๊กสุดท้าย ที่มีกำลังแข็งแกร่งทัดเทียมกัน พระเจ้าตากได้พยายามเกลี้ยกล่อมให้อ่อนน้อมเข้าเป็นพวกเดียวกัน เจ้าพระฝางก็ไม่ยินยอมได้ส่งทัพออกรบนอกค่ายหลายคราวก็ประสบความปราชัยทุกครั้ง ครั้นจะสู้รบต่อไป คนที่จะล้มตายก็ คือไพร่พลทหาร พระสงฆ์และชาวบ้าน กับคนไทยต้องฆ่าฟันกันเอง จึงคิดว่าถ้าหากหนีหายไปทุกอย่างก็จะ
จบลงด้วยดีไม่ต้องฆ่าฟันกัน จึงใช้วิชาคาถาอาคมหลบลี้หนีออกจากค่ายไป เมืองฝาง หรือเมืองสว่างคบุรี ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ คือที่เดียวกันกับวัดพระฝางหรือ วัดพระฝางสว่างคบุรี มุนีนาถในปัจจุบัน เมื่อสิ้นยุคสมัยเจ้าพระฝางแล้ว เมืองฝางก็เสื่อมคลายความสำคัญลงไปตามลำดับ จนอยู่
ในสภาพเสื่อมโทรมข้าวของสูญหายไปจำนวนมาก ของชิ้นสำคัญที่ยังหลงเหลืออยู่ที่วัด และที่นำไปเก็บไว้ในที่อื่น ๆ ได้แก่ ระฆังโบราณคู่บ้านคู่เมือง ยังเก็บรักษาไว้ที่ วัดพระฝาง บานประตูไม้แกะสลักลวดลายสวยงามมาก เก็บรักษาไว้ที่วัดธรรมาธิปไตย อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ พระฝางพระพุทธรูปที่งดงามมากได้ชลอมา
ไว้ที่วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร สมัยรัชกาลที่ ๕

พระแท่นศิลาอาสน์ อุตรดิตถ์

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา




วัดพระแท่นศิลาอาสน์อุตรดิตถ์
photos by Thai-Tour.Com: dated 12 Aug 02
วัดพระแท่นศิลาอาสน์
     ตั้งอยู่บ้านพระแท่น ตำบลทุ่งยั้ง อยู่เลยวัดพระยืนไปเล็กน้อย วัดนี้สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีพระแท่นศิลาอาสน์เป็นศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานของพระแท่นโดยรอบประดับด้วยลายกลีบบัว มีตำนานว่าพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์เคยเสด็จมาจำศีลบำเพ็ญพุทธบารมี ณ ที่แห่งนี้ ต่อมาจึงมีการสร้างพระแท่นศิลาอาสน์ขึ้น บานประตูวิหารพระแท่นศิลาอาสน์ที่เป็นไม้สักแกะสลักนั้น เดิมเคยเป็นบานประตูวิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลกมาก่อน นอกจากนั้นภายในบริเวณวัดมีพิพิธภัณฑ์ที่เดิมเป็นศาลาการเปรียญ สร้างด้วยไม้ มี 2 ชั้น ชั้นล่าง เป็นที่แสดงเครื่องมือจับสัตว์น้ำโบราณ เรือพายโบราณ ชั้นบน แสดงเกี่ยวกับเรื่องราวชีวิตชาววัง - ชาวบ้านสมัยก่อน เครื่องจักสาน เครื่องมือตีเหล็ก - ก่อสร้าง เครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัย ธรรมาสน์โบราณฝีมือช่างสมัยอยุธยา พระพุทธรูปที่แกะจากต้นโพธิ์โบราณ และพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย-กรุงศรีอยุธยา รวมถึงศิลปวัฒนธรรมของชาวเหนือ พิพิธภัณฑ์นี้เปิดให้เข้าชมฟรีทุกวัน เวลา 08.00 – 17.00 น.
พระแท่นศิลาอาสน์เป็นพุทธเจดีย์ เช่นเดียวกับพระแท่นดงรัง เป็นที่เชื่อกันมาแต่โบราณว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งห้าพระองค์ในภัทรกัปนี้ ได้เสด็จและจะได้เสด็จมาประทับนั่งบนพระแท่นแห่งนี้ เพื่อเจริญภาวนา และได้ประทับยับยั้งในเวลาที่ตรัสรู้แล้ว เพื่อโปรดสัตว์ ซึ่งแสดงว่าพระแท่นศิลาอาสน์นี้ มีประวัติความเป็นมาอย่างต่อเนื่อง ในพระพุทธศาสนามายาวนาน ตัวพระแท่นเป็นศิลาแลง มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 8 ฟุต ยาวประมาณ 10 ฟุต สูง 3 ฟุต ที่ฐานพระแท่นประดับด้วยลายกลีบบัวโดยรอบ มีพระมณฑปครอบ อยู่ภายในพระวิหารวัดพระแท่นศิลาอาสน์

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า พระแท่นศิลาอาสน์อาจมีมาก่อนแล้วช้านาน ก่อนที่พระเจ้าบรมโกศเสด็จไปบูชา เพราะพระแท่นศิลาอาสน์อยู่ริมเมืองทุ่งยั้งซึ่งตั้งมาแต่ครั้งสมัยสุโขทัย และบางทีชื่อทุ่งยั้งนั้นเอง จะเป็นนิมิตให้เกิดมีพระแท่น เป็นที่พระพุทธเจ้าประทับยับยั้ง เมื่อเสด็จผ่านมาทางนั้น ในทางตำนานมีคติที่เชื่อว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จยังประเทศต่าง ๆ ภายนอกอินเดียด้วยอิทธิฤทธิ์ฌานสมาบัติ และได้ประดิษฐานเจดีย์ หรือตรัสพยากรณ์อะไรไว้ในประเทศเหล่านั้น เป็นคติที่เกิดในลังกาทวีป และประเทศอื่นได้รับเอาไปเชื่อถือด้วย จึงเกิดมีเจดีย์วัตถุและพุทธพยาการณ์ ที่อ้างว่าพระพุทธองค์ได้ทรงประดิษฐานเจดีย์ไว้ มากบ้าง น้อยบ้างทุกประเทศ เฉพาะเมืองไทย มีปรากฏในพงศาวดารโดยลำดับมาว่า พบรอยพระพุทธบาท ณ ไหล่เขาสุวรรณบรรพต เมื่อรัชกาลพระเจ้าทรงธรรม รัชกาลพระเจ้าเสือได้เสด็จไปบูชาพระพุทธฉาย ณ เขาปัถวี และพระเจ้าบรมโกศ เสด็จไปบูชาพระแท่นศิลาอาสน์

บานประตูวัดพระแท่นศิลาอาสน์บานเก่า ปัจจุบันได้ถูกไฟไหม้ไปหมดแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2451มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า นายช่างที่สร้างวิหาร วัดพระแท่นศิลาอาสน์ วัดพระฝาง และวัดสุทัศน์ เป็นนายช่างคนเดียวกัน บานประตูเก่าของพระวิหารเป็นไม้แกะสลักฝีมือดี แกะไม้ออกมาเด่น เป็นลายซ้อนกันหลายชั้น แม่ลายเป็นก้านขด ปลายเป็นรูปภาพต่าง ๆ เป็นลายเดียวกับลายบานมุขที่วิหารพระพุทธชินราช อาจสร้างแต่ครั้ง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระเจ้าบรมโกศ ทรงมีพระราชศรัทธา ให้ทำประตูมุขตามลายเดิมถวายแทน แล้วโปรดให้เอาบานเดิมนั้นไปใช้เป็นบานวิหารวัดพระแท่นศิลาอาสน์ ประตูวิหารเก่าบานดังกล่าวได้ถูกไฟไหม้ไปเมื่อ วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2451 เป็นไฟป่าลุกลามไหม้เข้ามาถึงวัด ไฟไหม้ครั้งนั้น เหลือกุฏิซึ่งประดิษฐานหลวงพ่อธรรมจักรอยู่เพียงหลังเดียว ต่อมาพระยาวโรดมภักดี เจ้าเมืองอุตรดิตถ์ ได้เรี่ยไรเงินสร้างและซ่อมแซมวิหาร ภายในวิหารมีซุ้มมณฑปครอบพระแท่นศิลาอาสน์ไว้

งานเทศกาลนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์
ประเพณีการทำบุญไหว้พระแท่นศิลาอาสน์มีมานานหลายชั่วอายุคนแล้ว มีผู้มาสักการะบูชาทั้งในเทศกาลและนอกเทศกาลตลอดปี พุทธศาสนิกชนมีความเชื่อว่า การได้มาสักการะบูชาพระแท่นศิลาอาสน์ จะได้รับอานิสงส์สูงสุด และเช่นเดียวกับพระพุทธบาทสระบุรี พุทธศาสนิกชนผู้มีความศรัทธา จะขวนขวายมานมัสการให้ได้ครั้งหนึ่งในชีวิต ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ตอนเหนือจังหวัดอุตรดิตถ์ จะพยายามเดินทางมานมัสการ พระแท่นศิลาอาสน์ แม้ว่าหนทางจะทุรกันดารเพียงใดก็ไม่ย่อท้อถอย และเห็นว่า เป็นการได้สร้างบุญกุศลที่มีค่าควร การมานมัสการจะกระทำทุกครั้งที่เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันมาฆบูชา ณ วันเพ็ญ เดือนสาม

งานเทศกาลนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ ณ วันเพ็ญ เดือนสาม อันเป็นวันมาฆบูชา จะเริ่มตั้งแต่ วันขึ้น 8 ค่ำ ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือนสาม บรรดาพระภิกษุสงฆ์จะธุดงค์มาปักกลดพักแรมที่บริเวณใกล้วัด เมื่อถึงวันมาฆบูชา เวลาประมาณ 19.30 น. พระภิกษุสงฆ์จะเข้าไปในพระวิหาร แล้วสวดพระพุทธมนต์ มีพระธรรมจักรกัปปวัตตสูตร เป็นต้น เมื่อเสร็จพิธีแล้ว ก็ออกมาให้ศีลให้พรแก่ผู้ที่มานมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ ในตอนเช้าของทุกวันในระหว่างเทศกาล บรรดาพระสงฆ์ที่ธุดงค์มานมัสการ พระแท่นศิลาอาสน์ จะเดินทางเข้าไปบิณฑบาตรตามหมู่บ้าน และบรรดาชาวบ้านจะนำอาหารมาถวายที่วัดอีกเป็นจำนวนมาก เมื่อพระฉันอาหารเสร็จแล้ว ชาวบ้านก็จะแบ่งปันอาหารร่วมรับประทานด้วยกัน รวมทั้งผู้ที่เดินทางมานมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ด้วย นับว่าเป็นการทำบุญกลางแจ้งที่ยิ่งใหญ่เป็นประจำทุกปี

เนื่องจากพระบรมธาตุทุ่งยั้ง และวัดพระยืนพุทธบาทยุคล มีอาณาบริเวณอยู่ติดต่อกัน จึงจัดงานประจำปีพร้อมกันกับวัดพระแท่นศิลาอาสน์ เป็นเวลา 8 วัน 8 คืน ทำให้พุทธศาสนิกชนที่มาในงานเทศกาลนี้ได้ นมัสการพระบรมธาตุ และพระพุทธบาทด้วย เป็นการได้นมัสการพระพุทธเจดียสถาน อันเป็นที่เคารพสักการะ ได้ครบถ้วนในโอกาสเดียวกัน ยากจะหาที่ใดเสมอเหมือน
สอบถามแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม
http://www.thai-tour.com/wb/view_topic.php?id_topic=221 
จังหวัดอุตรดิตถ์
วัดพระแท่นศิลาอาสน์
สถานที่ตั้ง วัดพระแท่นศิลาอาสน์ ตั้งอยู่ที่บ้านพระแท่น ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
ประวัติความเป็นมา
................วัดพระแท่นศิลาอาสน์ชาวบ้านมักเรียกสั้น ๆว่าวัดพระแท่น เป็นวัดเก่าแก่ทางประวัติศาสตร์ พระแท่น เป็นศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง ๘ ฟุต ยาว ๙ ฟุต ๘ นิ้ว สูง ๓ ฟุต เชื่อว่าเป็นที่ประทับของ สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้งที่บำเพ็ญเพียร มีมณฑปครอบอยู่เบื้องบน ที่ฐานของพระแท่นโดยรอบประกอบ
ด้วยลายกลีบบัว ข้างในวัดพระแท่นศิลาอาสน์มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ คือ หลวงพ่อพระธรรมจักร เชื่อกันว่า สามารถป้องกันไฟได้ บานประตูของวิหารมีลักษณะงดงาม เล่ากันว่าเดิมเป็นบานประตูของวิหาร พระพุทธชินราช ครั้งสมเด็จพระบรมโกฐ ทรงเปลี่ยนให้เป็นประตูลายมุก และย้ายบานเดิมมาไว้ที่พระแท่น
ศิลาอาสน์ ซึ่งถูกไฟไหม้หมดแล้ว และทำขึ้นใหม่ทดแทน
ความสำคัญต่อชุมชน
................วัดพระแท่นศิลาอาสน์มีงานประเพณีประจำปีทุกปี เรียกว่างานนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ ร่วมกับ วัดพระยืนพุทธบาทยุคล วัดพระนอน และวัดพระบรมธาตุ ในวันขึ้น ๘ ค่ำถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ เป็นเวลา ๘ วัน ๘ คืน
เส้นทางเข้าสู่วัดพระแท่นศิลาอาสน์
...............จากตัวเมืองอุตรดิตถ์ไปตามทางหลวง ๑๐๒ ประมาณ ๓.๕ กิโลเมตร การเดินทางสะดวก ปลอดภัย สภาพเส้นทางเป็นทางลาดยางอย่างดี มีรถบริการผ่านหน้าวัด

เขานางคำ สุโขทัย

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา


จังหวัดสุโขทัย
ตำนานเขานางคำ
เนื้อเรื่อง
...............นายร่วง หรือพระร่วงผู้มีวาจาสิทธิ์แอบไปหลงรักนางคำสาวสวยที่สุดในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง นายร่วง พยายามตามตื้อนางคำเพื่อให้นางเห็นใจแต่ก็มิได้ผล นางคำได้ออกอุบายโดยการชวนนายร่วงดำนาแข่งกัน ถ้านายร่วงชนะนางคำจะยอมแต่งงานด้วย แต่ถ้านายร่วงแพ้ต้องเลิกยุ่งเกี่ยวกับนาง นายร่วงตอบตกลงและ
นัดแนะวันแข่งขันดำนา เมื่อถึงวันแข่งขันนายร่วงก็แต่งตัวเสียโก้แล้วมายืนดูนางคำดำนา นางคำเริ่มลงมือดำนาจนเกือบจะ เสร็จนายร่วงก็ไม่มีท่าทีว่าจะลงมือดำนาเลย นางคำแปลกใจมากเพราะไม่มีวี่แววว่านายร่วงจะลงมือดำนา จึงตะโกนถามว่าเมื่อไรจะลงมือดำนาสักที นายร่วงยืนยิ้มกริ่มดูนางคำดำนามาตั้งแต่ต้นพลางคิดในใจว่าแค่
อึดใจเดียวก็เสร็จแล้วเพราะตนเองเป็นผู้มีวาจาสิทธิ์ ในที่สุดนางคำก็ตะโกนถามนายร่วงด้วยประโยคเดิมอีก นายร่วงได้ฟังดังนั้นก็จึงตะโกนตอบนางคำไปว่า เอาล่ะ ต่อไปนี้ข้าจะดำนาแล้วนะ เอ้านาจงเต็มไปด้วย ต้นกล้าทั้งแปลงเดี๋ยวนี้ พอพูดจบก็มี ต้นกล้าเต็มท้องนา นางคำตกใจมากที่เห็นต้นกล้าเต็มท้องนา จึงตะโกนว่า นายร่วงเป็นคนขี้โกง เมื่อนายร่วงทวงสัญญานางก็บ่ายเบี่ยงโดยอ้างว่าไม่เห็นนายร่วงลงมือ ดำนาเลย แล้ววิ่งหนีขึ้นไปแอบในถ้ำ แล้วนำผ้าถุงมาปิดปากถ้ำไว้ เพื่อไม่ให้นายร่วงเข้าไปในถ้ำ นายร่วง พยายามอ้อนวอนให้นางคำออกมาจากถ้ำเท่าไร ๆ ก็ไม่เป็นผล จึงสาปให้นางคำอยู่ในถ้ำตลอดไป ชาวบ้าน จึงเรียกเขานั้นว่า เขานางคำ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ปัจจุบันเขานางคำอยู่ที่อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
คติ / แนวคิด
................ตำนานเรื่องนี้นอกจากจะช่วยอธิบายชื่อของภูเขาลูกหนึ่งในอำเภอศรีสัชนาลัยแล้ว ยังให้คติแก่ผู้ฟัง ในเรื่องของความกล้าหาญ ที่ไม่ถูกกาลเทศะซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อตนเองได้อีกด้วย

ตำนานพระร่วง พระลือ สุโขทัย

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา


จังหวัดสุโขทัย
ตำนานพระร่วง พระลือ
เนื้อเรื่อง
................เรื่องของพระร่วง เป็นที่รู้จักกล่าวขานอยู่ในเรื่องที่เป็นตำนานและปรัมปราคติ ทั้งที่ได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและเล่าต่อปากต่อคำกันมา โดยคนไทยในภาคเหนือตั้งแต่เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน และคนไทยในภาคกลางไปจนถึงนครศรีธรรมราช พระร่วงเป็นเรื่องราวของคนไทย ซึ่งได้สะท้อนภาพคุณลักษณะการเป็นวีรบุรุษ ซึ่งเลื่องลือแพร่กระจาย จนเป็นที่รับรู้ของคนไทยอย่างกว้างขวางที่สุดมากกว่าเรื่องวีรบุรุษใดในปรัมปราคติของไทยสมัยโบราณ เชื่อกันว่า พระร่วงนั้นมีวาจาสิทธิ์ รอบรู้ศิลปวิทยา สามารถคิดวิธีนำถ่ายน้ำไปยังที่ไกลๆ ได้สะดวก เป็นผู้มีบุญญาธิการ รูปงาม กล้าหาญ สามารถนำเรือสำเภาไปค้าขายถึงเมืองจีนได้ธิดาพระเจ้ากรุงจีนเป็นมเหสี และนำช่างจีนมาทำเครื่องปั้นดินเผาเคลือบที่สุโขทัย
..............ตามตำนานเล่าว่า พระร่วงเป็นพี่ พระลือเป็นน้อง พระร่วงนั้นได้ครองเมืองศรีสัชนาลัย มีช้างเผือกงาดำกับเขี้ยวงูเป็นของคู่บารมี ถึงคราวสิ้นบุญก่อนจะเสด็จลงอาบน้ำในแก่งหลวงแล้วหายไป ได้ตรัสสั่งให้น้องครองราชสมบัติแทน ส่วนอีกเรื่องหนึ่งเล่าว่าพระร่วงเมืองสุโขทัย เมื่อปราบขอมดำดินที่สุโขทัยสำเร็จแล้วได้ครองกรุงสุโขทัยและเดินทางไปเมืองเชลียง เอาช้างเผือกงาดำมาแกะเป็นรูปพระร่วง
สำหรับพระพุทธรูปที่เรียกว่า พระร่วง พระลือ นั้นเดิมประดิษฐานอยู่ที่กุฏิพระร่วง พระลือ สร้างอยู่ตรงหน้าอุโบสถวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ แกะสลักด้วยงาช้าง ฉลองพระองค์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพระมหาธรรมราชาลิไท
...............ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๑๒๗ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำไปไว้ ณ กรุงศรีอยุธยาและสูญหาย ต่อมาชาวบ้านได้หล่อจำลอง ไว้ด้วยทองสัมฤทธิ์ยืนตรงยกพระหัตถ์เสมอพระอุระทั้งสองข้าง เหมือนกันทั้งสององค์ ทรงพระมาลาแบบที่เรียกกันว่า หมวกขีโบ และต่อมาจังหวัดสุโขทัยได้นำไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ภูมิภาคที่ ๓ สุโขทัย จนถึงปัจจุบัน

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุโขทัย

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา



จังหวัดสุโขทัย
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้นอกกำแพงเมืองศรีสัชนาลัยตรงช่วงแหลมโค้งข้อศอกของ แม่น้ำยมหันหน้าวัดไปทางทิศตะวันออก
ความสำคัญต่อชุมชน
................วัดนี้เป็นวัดสำคัญของเมืองเชลียง ปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ ๑ และในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จไปปราบชุมชนพระฝางเมืองสวางคบุรี แล้วได้เสด็จสมโภชพระบรมธาตุ เมืองเชลียงนี้ด้วย และวัดนี้ยังเป็นที่สรงน้ำมูรธาภิเษก สำหรับพระเจ้าแผ่นดินใหม่ที่จะขึ้นเสวยราชสมบัติมา แต่ครั้งโบราณกาล ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดราชวรมหาวิหาร
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
..................วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นกลุ่มโบราณสถานขนาดใหญ่ที่สำคัญมีดังนี้ ปรางค์ประธาน ก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูนเสร็จแล้วลงสีชาดทับ ลักษณะรูปแบบสถาปัตยกรรมจัดอยู่ ในสมัยอยุธยา ภายในซุ้มโขงมีสถูปรูปดอกบัวตูมขนาดเล็กโผล่ขึ้นมาคล้ายถูกสร้างครอบทับ ตามผนังภายใน
องค์ปรางค์พบว่ามีร่องรอยเดิมคงมีจิตรกรรมฝาผนัง แต่ลบเลือนไปมาก ส่วนบริเวณเรือนธาตุด้านหน้ามี บันไดขึ้นองค์ปรางค์ได้
ลักษณะฐานปรางค์องค์นี้ มีเป็นวิหารคด ๓ ชั้น ก่อผนังทึบ และเจาะช่องแสง ฐานปรางค์แผ่ขยาย กว้างออกไปทั้ง ๓ ด้าน (ด้านหน้าเป็นพระวิหาร) คล้ายสร้างครอบสถูปหรือเจดีย์ที่สำคัญไว้ภายใน มีอายุอยู่ ในช่วงก่อนสุโขทัยตอนต้น เนื่องจากขุดค้นพบฐานโบราณคดีก่อด้วยอิฐอยู่ใต้ฐานพระวิหารหลวง นอกจากนี้
ยังพบกระเบื้องเชิงชายรูปนางอัปสรและเทวดา ซึ่งมีลักษณะร่วมสมัยศิลปะเขมรแบบบายน เช่นเดียวกับลาย ปูนปั้นยอดซุ้มประตูกำแพงวัด ซึ่งทำเป็นรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร อยู่ด้านบนทั้ง ๔ ทิศ ด้านล่างเป็นรูป เทพธิดานั่งในกรอบ ซุ้มด้านล่างเป็นรูปนางอัปสรร่ายรำ
ฐานพระวิหารหลวงพ่อโต อยู่ด้านหน้าพระปรางค์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ปางมารวิชัย ประทับอยู่ตรงกลางขนาบด้วยพระพุทธรูปขนาดเล็กประทับยืนทั้ง ๒ ข้าง ถัดจากพระพุทธรูปปางมาร วิชัยทางด้านขวามีพระพุทธรูปปั้นปางลีลาที่มีลักษณะงดงาม กำแพงวัดเป็นศิลาแลงแท่งกลมขนาดใหญ่ ปักเรียงชิดติดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง ๖๐ เมตร ยาว ๙๐ เมตร มีคานทับหลังกำแพง มีทางเข้าออกด้านหลัง เหนือซุ้มประตูทำเป็นรูปคล้ายหลังคา ยอดเหนือซุ้ม
ขึ้นไปปั้นปูนเป็นรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระธาตุมุเตา อยู่ด้านหลังปรางค์ประธานนอกกำแพงแก้ว แต่ยังล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลงที่ทำ
เป็นสี่เหลี่ยม ซึ่งน่าจะเป็นคนละสมัยกับกำแพงศิลาแลงที่ทำเป็นท่อนใหญ่ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ตัวพระธาตุมุเตาก่อด้วยศิลาแลงฐานเป็นเหลี่ยมซ้อนกัน ๔ ชั้น ต่อจากนั้นเป็นบัวถลา ๓ ชั้น ส่วนที่อยู่เหนือขึ้นไปพังทลายลงมาหมด ลักษณะพระธาตุมุเตาเป็นเจดีย์ทรงมอญ ในการขุดแต่งปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้พบ
ทองจังโกประดับส่วนยอดของเจดีย์ มณฑปพระอัฏฐารส อยู่ด้านหลังของพระธาตุมุเตา เดิมน่าจะเป็นมณฑปพระสี่อริยาบท ต่อมาได้
ซ่อมแซมดัดแปลงภายในซุ้มคูหายังมีพระพุทธรูปปูนปั้นยืนอยู่ เดิมเป็นมณฑปมุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา วิหารสองพี่น้อง อยู่ทางซ้ายพระอัฏฐารส ก่อด้วยศิลาแลง มีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ๒ องค์ อยู่บนแท่นพระ จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่าฐานวิหารสองพี่น้องก่อทับโบราณสถานที่ก่ออิฐ ข้างขวา
พระวิหารหลวงพ่อสองพี่น้องพบฐานรอยพระพุทธบาทด้วย โบสถ์ ตั้งอยู่ด้านหน้าพระวิหาร ปัจจุบันทางวัดได้บูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งหลังโดยสร้างทับโบสถ์เดิม
กุฏิพระร่วงพระลือ ชาวบ้านเรียกว่า ศาลพระร่วงพระลือ ได้รับการบูรณะซ่อมแซมในปีเดียวกันกับ โบสถ์ ลักษณะเป็นมณฑปฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้าง หลังคาคล้ายรูปชามคว่ำซ้อนกัน ๔ ชั้น ภายใน ประดิษฐานรูปหล่อพระร่วงพระลือ (จำลอง)
เส้นทางเข้าสู่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
....................จากตัวเมืองสุโขทัยไปทางทิศเหนือตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ ประมาณ ๕๕ กิโลเมตร

ครูบาศรีวิชัย ลำพูน

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา



จังหวัดลำพูน
อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย
สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่เชิงดอยติ บริเวณวัดพระธาตุดอยติ ตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
ประวัติความเป็นมา
.................พระครูบาศรีวิชัย มีชีวิตอยู่ในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๒๑ - ๒๔๘๑ ถิ่นฐานบ้านเดิมของท่านอยู่ที่บ้านปาง ตำบลแม่ตืน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เมื่ออายุ ๑๘ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร และเมื่ออายุครบ ๒๑ ปี จึงได้ อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ได้รับฉายาว่า สิริวิชโย ชาวบ้านได้เรียกท่านว่า พระศรีวิชัย เรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้
ท่านเป็นพระภิกษุที่ปฏิบัติเคร่งครัดและสันโดษ ฉันอาหารวันละ ๑ มื้อ ไม่ฉันอาหารที่เป็นปลาและเนื้อ ท่านฉันแต่ผักเท่านั้น ทำให้ชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธาในตัวท่าน พากันทำบุญด้วยเป็นอันมาก ท่านมรณภาพ เมื่อ วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑
ความสำคัญต่อชุมชน
.....................พระครูบาเจ้าศรีวิชัย เป็นพระเถรนักพัฒนาแห่งล้านนาไทย ผู้พัฒนาทั้งด้านจิตใจ และด้านถาวรวัตถุ ให้แก่ชาวล้านนาไทยไว้อย่างเอนกอนันต์ เมื่อท่านไปพบเห็นสิ่งใดที่ชำรุดทรุดโทรม ท่านก็เป็นผู้นำในการ พัฒนาสร้างสรรค์ความเจริญถาวรมั่นคงขึ้นที่นั่นทุกแห่ง อาทิเช่น เป็นผู้นำสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ จังหวัด
เชียงใหม่ พัฒนาวัดพระธาตุดอยตุง จังหวัดเชียงราย ระหว่างการจาริกเผยแพร่ธรรมะให้กับชาวลำพูน ครูบาศรีวิชัยได้นำชาวลำพูนพัฒนาวัดพระธาตุหริภุญชัย พัฒนาวิหารวัดพระพุทธบาทตากผ้า พัฒนาวัด พระเจ้าตนหลวง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัด ลำพูน ฯลฯ ทุกหนทุกแห่งที่ครูบาศรีวิชัยไป ปรากฏว่ามีศานุศิษย์
หลั่งไหลกันมาทุกสารทิศ รวมทั้งชาวเขาเผ่าต่างๆ ทั้งนี้เพราะศรัทธาในตัวท่าน จึงเป็นความภูมิใจอย่างยิ่ง ใหญ่ของชาวลำพูน ที่ได้เป็นบ้านเกิดเมืองนอนของนักบุญผู้ยิ่งใหญ่แห่งล้านนาไทย จึงได้ร่วมใจกันสร้าง อนุสาวรีย์ของท่านเพื่อเป็นที่สักการะกราบไหว้บูชา สำหรับชาวลำพูนและประชาชนทั่วไป
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

.....................มณฑปครอบองค์พระเป็นศิลปะล้านนายุคปัจจุบัน เส้นทางเข้าสู่อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย จากตัวเมืองลำพูนไปตามถนนสู่สามแยกดอยติ เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข ๑๑ (เชียงใหม่ -ลำปาง) ด้านขวามือ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๕ กิโลเมตร

วัดไก่แก้ว ลำพูน

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา


จังหวัดลำพูน
ตำนานวัดไก่แก้ว
วัดไก่แก้ว ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
เนื้อเรื่อง
....................ในกาลนั้น มีไก่ขาวงามตัวหนึ่ง เป็นไก่ฉลาดอาศัยอยู่บนยอดไม้ย่างทราย เป็นไก่เทวดาที่คอยดูแล รักษาเมืองหริภุญชัยให้บังเกิดความสงบสุข ไก่มงคลตัวนี้จะขันเป็นเวลา จะขันสามยามทั้งกลางวันและกลางคืน เสียงของไก่ตัวนี้สร้างความเกรงขามให้พระยาละโว้เป็นอันมาก จึงออกอุบายฆ่าไก่ตัวนี้เสีย โดยการบน
บานต่อเทพยดาที่รักษาเมืองละโว้ ให้ไปฆ่าไก่แก้วแห่งเมืองหริภุญชัย เมื่อเทพยดารับเอาเครื่องสังเวยแล้ว จึง จำแลงเป็นจระเข้ใหญ่ ว่ายทวนน้ำแม่ระมิงค์ขึ้นมายังนครหริภุญชัย แล้วจึงจำแลงเป็นเพศพราหมณ์ ถือไม้ เท้ากับร่มทำด้วยใบไม้ เดินเข้าไปในพระนคร เมื่อพบไก่ผู้รักษานครหริภุญชัยแล้ว จึงปีนขึ้นไปบนไม้ย่างทรายแล้ว ใช้ไม้เท้านั้นตีไก่นั้นจนตาย พระยาอาทิตยราชจึงโปรดให้กระทำสรีรกิจของไก่นั้น แล้วเก็บอัฐิธาตุ ประดิษฐานไว้ในที่ไม้ย่างทรายนั้น แล้วให้ตั้งการรักษาต่อไป
คติ / แนวคิด
.................. ทุกชีวิตมีคุณค่า อย่าหาความสุขบนความทุกข์ของผู้อื่น

สุเทวฤาษี ลำพูน

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา


จังหวัดลำพูน
อนุสาวรีย์สุเทวฤาษี
สถานที่ตั้ง
...........ตั้งอยู่เชิงดอยติ บริเวณพระธาตุดอยติ ตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
ประวัติความเป็นมา
............สุเทวฤาษี เป็นผู้สร้างเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) เมื่อ พ.ศ. ๑๒๐๓ แล้วให้บุคคลหนึ่งนามว่า คะวะยะ พร้อมด้วยบริวารประมาณ ๕๐๐ คน ไปทูลเชิญพระนางจามเทวีผู้ทรงตั้งอยู่ในเบญจศีล ซึ่งเป็นพระธิดาของพระเจ้ากรุงละโว้ (ลพบุรี) มาปกครองเมืองหริภุญชัยแทนตน ซึ่งเป็นผู้บำเพ็ญสมาบัติและไม่ยุ่งเกี่ยวกับทางโลก และยังได้ช่วยเหลือพระนางจามเทวีประดิษฐานพระบวรพุทธศาสนาในนครหริภุญชัยอย่างมั่นคง ทำให้
นครหริภุญชัยเจริญรุ่งเรืองมากในกาลสมัยนั้น
.............. อนุสาวรีย์สร้างเสร็จและเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๙ โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (พลเอกเปรม ติณสูลานนท์) เป็นประธานในการวางศิลาฤกษ์
ความสำคัญต่อชุมชน
...............เป็นศูนย์รวมจิตใจ และเป็นที่สักการะบูชาของประชาชนชาวลำพูนทุกคน รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไป
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
................เป็นการสร้างโดยใช้ปูนปั้นแบบง่าย ๆ ตั้งอยู่บนเนินดินมีบันไดด้านหน้า อยู่ใต้ร่มไม้
เส้นทางสู่อนุสาวรีย์สุเทวฤาษี
.................จากตัวเมืองลำพูนไปตามถนนสู่สามแยกดอยติ (ทางแยกเข้าเมืองลำพูน) เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมาย เลข ๑๑ (เชียงใหม่ - ลำปาง) อนุสาวรีย์จะอยู่ด้านซ้ายมือ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๕ กิโลเมตร

วัดจามเทวี ลำพูน

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา



จังหวัดลำพูน
วัดจามเทวี
สถานที่ตั้ง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
ประวัติความเป็นมา
....................วัดจามเทวีหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดกู่กุด วัดนี้พระเจ้ามหันตยศราชโอรสของพระนางจามเทวี ทรงสร้างไว้หลังจากที่พระนางจามเทวีสวรรคตแล้ว เพื่อเป็นที่บรรจุพระอัฐิอังคารธาตุของพระราชมารดา
ความสำคัญต่อชุมชน
.....................เป็นสถานที่ที่ทำพิธีในวันสำคัญทางศาสนา เป็นโบราณสถาน และแหล่งท่องเที่ยว
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
.....................ลักษณะเจดีย์เป็นรูปสี่เหลี่ยม ก่อด้วยศิลาแลงทั้งหมด มีพระพุทธรูปปางห้ามมารอยู่ในซุ้มทั้งสี่ด้าน ๆ หนึ่งมี ๑๕ องค์ แบ่งเป็น ๕ ชั้น ๆ ละ ๓ องค์ รวมสี่ด้านมีพระพุทธรูปอยู่ในซุ้ม ๖๐ องค์ เป็นฝีมือช่างมอญ ทวาราวดี มีส่วนสูงจากพื้นดินถึงยอด ๔๐ เมตร เนื่องจากยอดเจดีย์หักพังลงไปนานมาแล้ว ชาวบ้านจึงเรียก
กันว่า กู่กุด คำว่า กู่ เป็นภาษาพื้นเมืองหมายถึงอนุสาวรีย์หรือสถูปสำหรับบรรจุอัฐิ ส่วนคำว่า กุด หมายถึง ด้วน ดังนั้น กู่กุด ก็หมายถึงเจดีย์ยอดด้วนนั่นเอง
เส้นทางเข้าสู่วัดจามเทวี
.....................อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ ๑กิโลเมตร (ติดกับโรงพยาบาลลำพูน)

พระพุทธบาทตากผ้า ลำพูน

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา



จังหวัดลำพูน
วัดพระพุทธบาทตากผ้า
สถานที่ตั้ง หมู่ที่ ๖ ตำบลมะกอก อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
ประวัติความเป็นมา
.......................วัดพระพุทธบาทตากผ้าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๒๐๐ ตามประวัติวัดกล่าวว่าในสมัยพุทธกาล สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมาโปรดเวไนยสัตว์ ณ สุวรรณภูมิ ได้เสด็จไปตามที่ต่าง ๆ เมื่อถึงบริเวณแห่งนี้ ได้อธิษฐานประทับรอยพระพุทธบาทไว้ และได้รับสั่งให้พระอานนท์นำจีวรไปซักแล้วนำไปตากที่ผาลาดใกล้
บริเวณที่ประทับ ซึ่งปรากฏเป็นรอยเลือนลางอยู่ ต่อมาทางวัดได้สร้างรอยพระพุทธบาท และรอยตากผ้าจำลองขึ้นมา และตั้งชื่อวัดว่า วัดพระพุทธบาทตากผ้า
ความสำคัญต่อชุมชน
........................เป็นที่สักการะบูชาของประชาชนในจังหวัดลำพูน และเป็นแหล่งท่องเที่ยว
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
.........................เป็นวิหารจตุรมุขสร้างครอบรอยพระพุทธบาทจำลองรอยใหญ่กว้าง ๑ เมตร ยาว ๒.๕ เมตร รอยเล็ก กว้าง ๓๒ นิ้ว ยาว ๑ เมตร ๒๖ นิ้ว
เส้นทางเข้าสู่วัดพระพุทธบาทตากผ้า ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศใต้ ๑๖ กิโลเมตร

พระธาตุหริภุญชัย ลำพูน

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา


จังหวัดลำพูน
วัดพระธาตุหริภุญชัย
สถานที่ตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
ประวัติความเป็นมา
......................พระธาตุหริภุญไชย สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอาทิตยราช กษัตริย์ราชวงศ์รามัญ เมื่อพุทธศักราช ๑๔๔๐ เป็นแบบซุ้มมณฑป ต่อมาใน พ.ศ. ๑๙๗๖ สมัยพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์นครเชียงใหม่ได้ทรงปฏิสังขรณ์ โดย สร้างพระเจดีย์ทั้ง ๕ องค์ขึ้นใหม่เป็นแบบลังกา ภายในองค์พระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งเดิมเป็น
พระเกศธาตุที่บรรจุไว้ในกระบอกไม้รวก ฝังอยู่ในพื้นดิน ซึ่งเป็นที่ตั้งพระธาตุหริภุญไชยในปัจจุบัน
ความสำคัญต่อชุมชน
...................ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาประจำจังหวัด
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
.....................เป็นเจดีย์ปทุมวดีหรือสุวรรณเจดีย์ ก่อด้วยอิฐทรงสี่เหลี่ยม ลักษณะคล้ายเจดีย์มหาพลที่วัดจามเทวี มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ก่อด้วยอิฐถือปูน เป็นพระพุทธรูปที่ห่มคลุมด้วยผ้าสีแดง ชื่อพระกลักเกลือหรือพระเจ้าแตง
เส้นทางเข้าสู่วัดพระธาตุหริภุญไชย
......................จากจวนผู้ว่าราชการจังหวัดไปทางทิศใต้ประมาณ ๑ กิโลเมตร

พระแก้วดอนเต้า ลำปาง

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา


จังหวัดลำปาง
ตำนานพระแก้วดอนเต้า
เนื้อเรื่อง
......................ตำนานพระแก้วดอนเต้านับเป็นตำนานที่ชาวเหนือนิยมเทศน์และสร้าง (จารลงใบลาน) ถวายวัด ซึ่งมีใจความโดยสรุปดังนี้
ในครั้งที่พระพุทธเจ้าสถิตอยู่ในป่าเชตวันพร้อมด้วยพระภิกษุ ๕๐๐ รูป ทรงตรัสเทศนาถึงครั้งที่ทรงเกิด เป็นนกแขกเต้าอยู่ในป่าหิมพานต์ ว่าดังนั้นก็ทรงนำภิกษุ ๕๐๐ รูป ไปยังเมืองยักษ์แล้วทรงบันดาลให้เกิด ความมืดมัวมีฝนตกลงมา เหล่ายักษ์ทั้งหลายก็รู้สึกหนาว จึงยกมือไหว้ว่าคงเป็นผู้มีบุญแล้วอารธนาให้
ประทับนั่งอยู่ม่อนดอนเต้า พระพุทธเจ้าจึงเนรมิตให้ที่นั้นงดงามดุจป่าเชตวันและเทศนาธัมมจักกัปปวัตนสูตร แก่หมู่ยักษ์ ยามนั้น ท้าวจตุโลกบาล พญาอินทราและเทวดาทั้งหลายก็มาชุมนุมกันฟังธรรมจนบรรลุธรรมใน ระดับต่าง ๆ หมู่ยักษ์ก็ไม่ เบียดเบียนทำลายกัน พระพุทธเจ้าจึงสั่งเหล่าเทพว่าที่นี้เป็นที่อันประเสริฐให้ชื่อว่า ม่อนดอนเต้า เป็นที่บรรจุ พระเกศธาตุ พระอินทร์ได้เนรมิตให้เกิดหลุมลึก ๑๐๐ วา แล้วเอาไหแก้ว ๗ ประการ
จากเมืองอุตตรกรุทวีป พระพรหมนำทองคำจากอมรโคยาน ๘ แสนคำ ท้าวทั้ง ๔ ไปเอาเงินจากเขาไกรลาศ มาบรรจุพร้อมกันกับ พระเกศธาตุ
พระพุทธเจ้าจึงตรัสทำนายว่า ในภายหน้าที่นั้นจะเป็นบ้านเมืองมีพระญาชื่อท้าวอโศกธรรมิกราช มหาอานันทะจะนำพระธาตุไตและหัวใจมาบรรจุไว้ที่นี่ ท้าวอโศกธรรมิกราชจะก่อเจดีย์ให้เมืองกุกกุฎนคร (ลำปาง) บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรือง หลังจากนั้นอีก ๕๐๐ ปี ผู้คนจะละทิ้งวัตรปฏิบัติ เจ้าเมืองไม่บูชา
บำรุงรักษามหาเจดีย์ธาตุ บ้านเมืองจะแร้นแค้น เมื่อผ่านไป ๘๐๐ ปี จะมีศิษย์แห่งตถาคตชื่อชมพูจิตตะมา เป็นเจ้าเมือง จะบำรุงสร้างมหาธาตุให้ใหญ่โต สร้างมหาวิหารทางตะวันออก สร้างพระพุทธรูปนอนมีหลังคา มุงทางตะวันตก บ้านเมืองจะรุ่งเรืองมาก ต่อมาอีก ๑,๐๐๐ ปี ผู้คนจะละทิ้งซึ่งวัตรปฏิบัติอีก ศิษย์แห่ง
พระตถาคตจะมาเกิดอีก ได้บวชเป็นภิกษุและมีเทวดาองค์หนึ่ง ลงมาเกิดเป็นอุปัฏฐากชื่อสุชาดา นางประสงค์จะสร้างพระพุทธรูปเจ้า แต่หาคนสลักพระพุทธรูปไม้จันทน์แดง ไม่ได้
............................. ยังมีพญานาคตนหนึ่งได้นำ แก้วมรกตจากเมืองนาคใส่ไว้ในลูกแตงโม เมื่อนางสุชาดาลงไปในสวนเห็นว่างดงามดี จึงเด็ดไปถวาย
พระมหาเถร เมื่อผ่าดูก็พบแก้วมรกตลูกนั้น จึงจะนำมาสลักเป็นพระพุทธรูป แต่สลักเท่าไหร่ก็ไม่ได้ พระอินทร์จึงแปลงเป็นชายแก่เข้ามาถาม ขณะพระมหาเถรลุกไปหามีดพร้ามาใช้ชายแก่นั้น พระอินทร์ก็เนรมิตแก้วมรกตนั้น กลายเป็นพระพุทธรูปแล้วหายไป ข่าวนี้ได้เลื่องลือไปทั่ว คนก็หลั่งไหลมาบูชาพระพุทธรูปที่นั่น จึงได้ชื่อว่า วัดพระแก้ว ถึงกระนั้นก็มีเสียงเล่าลือว่านางสุชาดากับมหาเถรทำมิจฉาจารกัน ข่าวนี้ถึงหูเจ้าเมืองผู้ใจ
บาป จึงสั่งให้นำนางสุชาดาไปฆ่าเสีย นางจึงอธิษฐานว่าหากได้กระทำผิดจริงก็ขอให้เลือดตกลงบนพื้นดิน แต่หากไม่ได้กระทำผิดขอให้เลือดพุ่งสู่อากาศ พระอินทร์ก็นำถาดทองมารองรับเลือดของนางแล้วนำไปไว้ที่ พระเกศแก้วจุฬามณี ผู้คนทั้งหลายเห็นนิมิตนี้ก็นำไปบอกกล่าวแก่เจ้าเมือง เจ้าเมืองรู้สึกสังเวชใจ จึงอกแตก
ตายแล้วไปรับกรรมในนรก นางสุชาดาก็ไปเกิดในสวรรค์ ยามนั้นเมืองกุกกุฏนครจะแร้นแค้น ผู้คนจะอพยพออกไปเนื่องจากเจ้าเมืองและคนทั้งหลายไม่ได้บำรุง
พระธาตุ เมื่อผ่านไปได้ ๑,๒๒๐ ปี ลูกศิษย์แห่งตถาคตจะมาเกิด ผู้หนึ่งจะเป็นเจ้าเมือง ผู้หนึ่งเป็นเสนาอำมาตย์ เศรษฐี คหบดีต่าง ๆ เขาทั้งหลายจะมาสร้างพระมหาธาตุ ก่อกำแพง สร้างศาลาบาตร บันไดนาค อาราม และพระพุทธรูปนอนใหม่ เมื่อศาสนาผ่านไปได้ ๑,๒๘๐ ปี วัดพระแก้วเวียงดินจะเจริญรุ่งเรืองกว่า
เดิม คนทั้งหลายจะหลั่งไหลกันมาร่วมสร้างพระมหาธาตุ มีการสมโภชในวันเพ็ญเดือน ๘ ทุกปี บ้านเมือง เจริญรุ่งเรือง ผู้ใดอยากเห็นพระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า ก็ให้พากันสร้างมหาธาตุจำศีลภาวนาในวัดพระแก้ว ดอนเต้านี้ ท่านจงจำคำเทศนาแล้วเทศนาสืบต่อกันไป ผู้ใดสร้างธรรมตำนานดอนเต้า และเขียนด้วยมือตนภายหน้าจะถึงอรหันต์ ปรารถนาสิ่งใดก็จะได้ดังใจ หากบุคคลใดเขียนตำนานเป็นทาน แล้วนิมนต์พระสงฆ์มาเทศนามีเครื่องบูชา แล้วหยาดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ ผู้ตาย ผู้นั้นก็จะได้ไปเกิดในสวรรค์ และสามารถช่วยผู้ตายที่ตกนรกให้พ้นบาปได้ ที่นั้นเป็นที่อันประเสริฐให้
ท่าน ทั้งหลายช่วยกันบำรุงรักษามหาชินธาตุเจ้าตราบเท่า ๕,๐๐๐ ปี ว่าแล้วพระพุทธเจ้าก็พาอรหันต์ทั้ง ๕๐๐ องค์กลับสู่ป่าเชตวัน
คติ/แนวคิด
...................การสืบทอดพระพุทธศาสนาให้มั่นคงยั่งยืนจะต้องอาศัยพระสงฆ์สาวกช่วยสั่งสอนธรรมะขององค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพุทธศาสนานิกชนจะต้องช่วยอุปถัมภ์และปฏิบัติตามคำสอน ตำนานนี้มีคติสอนใจให้บุคคลทำใจให้บริสุทธิ์จะชนะมาร ถึงเมื่อตายไปแล้วต้องมีคนสรรเสริญ และ
บุคคลผู้ทำบาปย่อมได้รับผลกรรม จากการกระทำนั้น เช่น เจ้าเมืองใจบาป เป็นต้น

หมาขนคำ ลำปาง

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

จังหวัดลำปาง
กำพร้าบัวตอง หรือหมาขนคำ (ทองคำ)
เนื้อเรื่อง
......................ครั้งหนึ่งที่เมืองพาราณสี มีชายคนหนึ่งมีหมาดำตัวหนึ่งมาอาศัยอยู่ด้วย แต่ชายคนนี้ไม่ชอบ จึงไล่หมาดำไปอยู่ในป่าตรงผาสามก้อน ต่อมาหมาดำตัวนี้ตั้งท้องและเกิดลูกมาเป็นผู้หญิง ๒ คน คือ นางบัวแก้วและนางบัวตอง หมาดำก็เลี้ยงลูกของตนเองจนลูกโตเป็นสาวสวย วันหนึ่งเจ้าเมืองพาราณสีเสด็จประพาสป่าไปพบเข้า จึงนำเข้ามาอยู่ในวัง และเป็นมเหสีทั้ง ๒ คน ฝ่ายหมาดำเมื่อกลับจากหาอาหารไม่พบลูกก็เที่ยวตาม
หา จนเทวดาสงสารบอกว่าลูกของตนไปเป็นมเหสีของเจ้าเมืองพาราณสี แม่หมาดำจึงไปหาลูกทั้งสอง โดยไปหานางบัวแก้วผู้เป็นพี่ก่อน นางบัวแก้วเมื่อเห็นแม่หมาของตนเห่าหอนอยู่หน้าวัง ก็ให้ทหารไล่ทุบตีและขับไล่ออกไป แม่หมาดำ ก็ไปหานางบัวตองผู้เป็นน้อง ฝ่ายนางบัวตองเมื่อเห็น แม่ของตนได้รับบาดเจ็บก็สงสาร จึงให้ทหารหาข้าวปลาอาหารมาให้กิน พยายามรักษาแม่หมา และนำแม่หมามาอยู่ด้วย
........................ต่อมาเมื่อแม่หมาตาย นางบัวตองก็ไปขอหีบจากเจ้าเมืองพาราณสีเพื่อมาใส่ซากแม่ของตน แต่โกหกเจ้าเมืองพาราณสีจะเอาไปใส่เงินทอง ต่อมาไม่นานเจ้าเมืองพาราณสีก็มาขอดูหีบว่ามีเงินทองจริงหรือไม่ จึงไปเปิดหีบดู ปรากฏว่ามีเงินทองมากมาย จึงถามนางบัวตองว่าเอามาจากไหน นางบอกว่าเอามาจากในป่า
เจ้าเมืองพาราณสีจึงให้นางไปเอาอีก โดยให้ทหารติดตามไปเอา แต่นางบัวตองบอกว่า ขอไปคนเดียว นางก็ร้องไห้เพราะไม่รู้ว่าจะไปเอาเงินทองจากที่ไหน พอเดินเข้าไปในป่าก็ไปพบผีตนหนึ่ง ซึ่งกำลังเป็นฝีที่หัวเข่า เจ็บร้องครวญครางอยู่ นางบัวตองก็คิดให้ผีตนนั้นกินตนเองเสีย จึงวิ่งเข้าไปชนผี จนทำให้ฝีที่หัวเข่าของผีตน
นั้นแตกและหายเจ็บ ผีจึงบอกที่ซ่อนสมบัติให้นาง นางจึงให้ทหารไปขุดเอาเงินทองได้มากมาย และนางก็ได้ สร้างหอให้แม่ตรงที่เคยอยู่ และถวายทานไปให้แม่หมา
ฝ่ายนางบัวแก้วพอทราบเรื่องก็อิจฉา จึงถามวิธีการเอาเงินทองจากนางบัวตองว่าทำอย่างไร และนางก็ เข้าป่าไปเหมือนนางบัวตอง แต่นางบัวแก้วเป็นคนปากร้าย ไม่กราบไหว้เทวดา ไม่นึกถึงบุญคุณของแม่จึงถูก ผีสางฆ่าตายในที่สุด
คติ/แนวคิด
..........................นิทานเรื่องนี้เป็นเรื่องราวของการแสดงความรักของแม่ที่มีต่อลูก แม้จะเป็นความรักของหมา ก็เป็น ความรักที่บริสุทธิ์ นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีความกตัญญูกตเวทีต่อมารดาหรือผู้ที่มีพระคุณ ย่อมมีแต่ความสุขความเจริญตลอดไป