วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อนุสาวรีย์ช้างเผือก เชียงใหม่

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา


จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อ อนุสาวรีย์ช้างเผือก
สถานที่ตั้ง อนุสาวรีย์ช้างเผือก ตั้งอยู่ที่ถนนช้างเผือก ใกล้กับสถานีขนส่งเชียงใหม่ ๑ อยู่ในเขต เทศบาลนครเชียงใหม่
ประวัติความเป็นมา
.................จากแผ่นจารึก ณ ประตูช้างเผือก อำเภอเมือง เชียงใหม่ จารึกข้อความว่า ในสมัยพญาแสนเมืองมา กษัตริย์ลำดับที่ ๙ ของล้านนาไทย ระหว่าง พ.ศ. ๑๙๓๑-๑๙๕๔ มหาดเล็กชื่ออ้ายออบและอ้ายยีระ ได้ช่วย เหลือกพญาแสนเมืองมาโดยผลัดกันแบกพระองค์ ให้พ้นอันตรายจากการโจมตีของกองทัพสุโขทัย กษัตริย์ล้านนา ได้ปูนบำเหน็จมหาดเล็กทั้ง ๒ เป็นที่ขุนช้างซ้าย ขุนช้างขวา ขุนช้างทั้ง ๒ ตั้งบ้านเรือนอยู่ทางทิศใต้ เชียงโฉมด้านตะวันออก และได้สร้างรูปช้างเผือกไว้ด้านซ้าย ขวาของถนนเข้าประตูช้างเผือก สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระเจ้ากาวิละเจ้าเมืองเชียงใหม่ ได้สร้างรูปปั้นช้างเผือก ๒ เชือก มีขนาดโต ใกล้เคียงกับช้างตัวจริง และทำซุ้มโค้งคลุมช้างเอาไว้ให้มองเข้าไปทางด้านหัวช้าง มีกำแพงล้อมรอบบริเวณ ทั้ง ๔ ทิศ และมีประตูเข้าออกได้ ทาด้วยสีขาวทั้งตัวช้างและกำแพง เชือกที่หันหน้าไปทางทิศตะวันตกชื่อ ปราบจักรวาล และเชือกที่หันหน้าไปทางทิศเหนือชื่อ ปราบเมืองมาร เมื่อวันเสาร์ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๗ พ.ศ.
๒๓๔๓ ไว้ทางหัวเวียงนอกประตูช้างเผือกและอยู่ทางฟากตะวันออกของถนนช้างเผือก จากการสร้าง อนุสาวรีย์ช้างเผือก ๒ เชือกนี้ จึงเป็นเหตุให้ในสมัยหลังชื่อประตูเมืองเชียงใหม่ ด้านเหนือ เดิมชื่อ ประตูหัว เวียง เปลี่ยนชื่อเรียกเป็น ประตูช้างเผือก ไปตามชื่อของอนุสาวรีย์ช้างเผือกจนถึงปัจจุบัน
ความสำคัญต่อชุมชน
.................เดือนพฤษภาคม - มิถุนายนทุกปี ชาวเชียงใหม่จะมีประเพณีบูชาอนุสาวรีย์ช้างเผือก ชาวบ้านที่อยู่ บริเวณนั้นก็จะร่วมกันตั้งเครื่องสังเวย พระยาช้างเผือกทั้ง ๒ เชือก
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
.................เป็นรูปช้างเผือก ๒ เชือก มีขนาดโตใกล้เคียงกับช้างตัวจริง และมีซุ้มโค้งคลุมช้างเอาไว้ มีกำแพงล้อม รอบบริเวณทั้ง ๔ ทิศ มีประตูเข้า - ออก ทาด้วยสีขาวทั้งตัวช้างและกำแพง
เส้นทางเข้าสู่อนุสาวรีย์ช้างเผือก
.................จากประตูช้างเผือกมาตามถนนช้างเผือก ประมาณ ๕๐๐ เมตร ก็จะถึงอนุสาวรีย์ช้างเผือก ซึ่งอยู่ทางด้านขวามือ หรือ จากสี่แยกข่วงสิงห์เข้าเมืองตามถนนช้างเผือกผ่านสถาบันราชภัฏเชียงใหม่ ไปประมาณ ๗๐๐ เมตร อนุสาวรีย์จะอยู่ด้านซ้ายมือ

1 ความคิดเห็น:

  1. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always be love. _/|\_

    ตอบลบ