วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วิธีสอนลูกไม่ให้เป็นโจร

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระเจ้าพรหมทัตได้ส่งพระราชโอรส คือ เจ้าชายพรหมทัตตกุมาร ไปเรียนวิชาศิลปวิทยากับอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ที่เมืองตักศิลา อยู่มาวันหนึ่งพระราชโอรส เกิดคึกคะนองลำพองใจถือตัวว่าเป็นลูกกษัตริย์ ไปหยิบเมล็ดงาของชาวบ้านคนหนึ่งที่ตากไว้มากินเล่น จนชาวบ้านทนไม่ไหวไปฟ้องอาจารย์ทิศาปาโมกข์ อาจารย์จึงรีบจัดการชดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของเมล็ดงา แล้วให้ศิษย์ในสำนักจับตัวเจ้าชายพรหมทัต มาทำการเฆี่ยนตีต่อหน้าทันที
เจ้าชายพรหมทัตตกุมารทั้งเจ็บทั้งอายคิดพยาบาทว่าถ้าวันใดได้เป็นพระราชาจะจับตัวอาจ
ารย์คนนี้มาประหารชีวิตให้ได้ หลายปีผ่านมาเมื่อพระองค์ได้เป็นพระเจ้าพรหมทัตองค์ต่อไป จึงได้พยายามวางแผนส่งทูตไปเชิญอาจารย์ทิศาปาโมกข์ให้มาเยี่ยมพระองค์ แต่อาจารย์รู้เท่าทันไม่ยอมมาตามคำเชิญ รอจนกระทั่งพระราชามีอายุได้สามสิบกว่าๆ อาจารย์ทิศาปาโมกข์จึงได้มาเยี่ยมตามคำเชิญ เพราะเห็นว่าพระราชาทรงมีความเป็นผู้ใหญ่พอแล้ว
พระราชาพอเห็นอาจารย์ของตนเองเท่านั้นนัยน์ตาก็แดงก่ำด้วยความพิโรธ ตรัสว่าพระองค์จะแก้แค้นที่อาจารย์เคยเฆี่ยนตีพระองค์ต่อหน้าผู้คนในคราวนั้น พระอาจารย์เลยตอบว่า การที่ตนทำไปเช่นนั้นเป็นการสั่งสอน ไม่ใช่เป็นการก่อเวร เพราะถ้าตนไม่ทำเช่นนั้น ต่อไปภายหน้าพระองค์จะลักขโมยเรื่อยๆ ไป ต่อไปก็จะมีนิสัยกลายเป็นโจร และจะทำการฆ่าผู้คนที่ขัดขวาง ผลสุดท้ายก็คือจะได้รับภัยคือ อาญาแผ่นดิน หากเป็นเช่นนั้นพระองค์คงจะไม่ได้มีโอกาสเป็นพระเจ้าแผ่นดินดังเช่นทุกวันนี้อย่างแน
่นอน
บรรดาอำมาตย์ทั้งหลาย เมื่อได้ยินดังนั้นต่างก็กล่าวรับรองคำพูดของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ว่าเป็นความจริง พระราชาได้ฟังดังนั้นจึงเกิดสำนึกในบุญคุณแต่งตั้งอาจารย์ทิศาปาโมกข์เป็นปุโรหิต ให้ความเคารพเชื่อฟังดุจบิดา เลี้ยงดูบุตรและภรรยาของอาจารย์เป็นอย่างดี ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา

2 ความคิดเห็น:

  1. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always be love. _/|\_

    ตอบลบ
  2. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always beloved. _/|\_

    ตอบลบ