วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ท้าวคัทธนาม

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา


จังหวัดอุบลราชธานี
ท้าวคัทธนาม
เนื้อเรื่อง
..................ท้าวคัทธนามเป็นบุตรหญิงหม้ายและพญาช้างฉัททันต์ (เทวดาแปลงกายมาเป็นพญาช้าง) เมื่อเติบใหญ่ประสงค์จะไปตามหาบิดา คือ พญาช้างสาร จึงเดินทางไปกับมารดา ระหว่างทางพบยักษ์และรบชนะ ยักษ์ ได้น้ำเต้าแก้ววิเศษและทองคำจำนวนมาก เจ้าเมืองสีสาเกดจึงแต่งตั้งให้เป็นอุปราชและแต่งตั้งมารดา
ท้าวคัทธนามเป็นมเหสี ต่อมาได้ขออนุญาตเจ้าเมืองสีสาเกดตามหาบิดาต่อไป พบชายไม้ร้อยกอ และชายเกวียนร้อยเล่มมาสวามิภักดิ์เป็นข้ารับใช้ ต่อมารบชนะยักษ์ได้พิณวิเศษ ๓ สายและไม้เท้า " กกชี้ตาย ปลายชี้เป็น "
...................ท้าวคัทธนามเดินทางต่อมาพบนครร้าง ๒ เมือง คือ นครขวางและนครชวาทวดี ช่วยเหลือธิดาเจ้าเมืองทั้ง ๒ คือ นางกองคำที่ซ่อนไว้ในกลอง เพื่อหนีภัยงูซวงที่มากินประชาชน และช่วยเหลือนางคำสิงห์ที่ซ่อนไว้ใน โพรงเสาท้องพระโรงเพื่อหนีภัยเหยี่ยวรุ้งที่มากินประชาชน และมอบให้ชายไม้ร้อยกอปกครองเมืองขวาง และ ชายเกวียนร้อยเล่มปกครองเมืองชวาทวดี ตนเองเดินทางต่อไปถึงเมืองจัมปานคร ช่วยปราบยักษ์ จนได้ครอง
เมืองจัมปาและได้นางสีดาธิดาของเจ้าเมืองเป็นมเหสีฝ่ายขวา นางศรีไลลูกสาวเศรษฐีเป็นมเหสีฝ่ายซ้าย
.................... ต่อมาก็เดินทางตามหาบิดาจนเข้าสู่ป่าหิมพานต์ พบบิดาสมปรารถนา พญาช้างได้สั่งสอนท้าวคัทธนาม และมอบงาทั้งคู่ให้ เมื่อพญาช้างสิ้นอายุ ท้าวคัทธนามขี่ช้างมาถึงเมืองตักศิลา ทำสงครามกับ พญาตักศิลา ๆ พ่ายแพ้ และแต่งตั้งให้ท้าวคัทธนามเป็นครูสอนศิลปศาสตร์ และหลอกเอาไม้เท้าวิเศษ ชี้ท้าว
คัทธนามกลายเป็นแท่นหิน ที่เมืองจัมปา คัทธเนกโอรสที่เกิดจากนางศรีไล และคัทธจันทร์โอรสที่เกิดจากนางสีดา เดินทางตามหาบิดา รบพญาตักศิลาชนะ ใช้ไม้เท้าชุบชีวิตบิดาคืนมา แล้วถวายเมืองให้บิดาครอง เมื่อกลับมาถึงเมือง จัมปานครเกิดการแย่งชิงของวิเศษต่างฝ่ายต่างสู้กัน พระอินทร์ผู้เป็นปู่ ให้พญาแถนส่งลมกระดิงหลวงมา ห้ามทัพ คัทธเนกถูกลมกระดิงหลวงตัดคอขาด คัทธจันทร์สู้จนเอาชนะลมได้ และได้อภิเษกเป็นพระเจ้า
จักรพรรดิครองนครจำปาอย่างสงบสุขจนสิ้นอายุขัย
คติและแนวคิด
๑. แสดงถึงจริยธรรมของตัวเอก คือ ท้าวคัทธนามและบุตรในด้านความกตัญญูกตเวทีต่อผู้เป็นบิดา
๒. แสดงถึงคุณธรรมของผู้ปกครองที่พึงมีต่อประชาชนและข้าราชบริพาร

2 ความคิดเห็น:

  1. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always be love. _/|\_

    ตอบลบ
  2. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always beloved. _/|\_

    ตอบลบ