วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กระต่ายสามขา นครนายก

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

ชื่อเรื่อง กระต่ายสามขา


เนื้อเรื่อง
................ในอดีตกาลนานมาแล้ว มีพระอาจารย์ผู้เรืองวิชารูปหนึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัด เย็นวันหนึ่ง โยมนำกระต่ายป่ามาถวาย พระอาจารย์จึงเรียกให้สามเณรองค์หนึ่งมานำกระต่ายไปย่างเพื่อไว้ฉันเช้า สามเณรนำกระต่ายไปย่าง แต่ทนความเย้ายวนของกลิ่นหอมไม่ได้จึงตัดกระต่ายไป ๑ ขา วันรุ่งขึ้นนำกระต่ายย่าง ๓ ขา ไปถวายแก่พระอาจารย์ ซึ่งท่านแปลกใจ ถามว่าทำไมกระต่ายมี ๓ ขา สามเณรก็ยืนยันว่ามี ๓ ขาเท่านั้น
ถามอย่างไรกี่ครั้ง สามเณรก็ตอบเช่นนั้น พระอาจารย์เห็นความเด็ดเดี่ยวของสามเณร พระอาจารย์จึงถาม สามเณรว่า จะไปฉันข้าวกับพระราชาได้หรือไม่ สามเณรตอบว่าได้ พระอาจารย์เห็นสามเณรเด็ดเดี่ยวและ กล้าหาญมากและใช้อะไรก็ทำทุกอย่าง พระอาจารย์จึงได้ทำผงลงยันต์ให้สามเณร และสั่งว่าเมื่อจะไปฉันอาหาร พร้อมพระราชาให้ใช้ผงนี้ชะโลมทาตัวให้ทั่ว สามเณรปฏิบัติตามทุกอย่าง เมื่อพระราชาเสวย สามเณรก็เข้าไปฉันกับพระราชา พระราชาทรงมีความสังเกตว่า กระยาหารไม่พอเสวย
.................. วันต่อมาพระราชา จึงทรงสั่งให้ทางวิเสทปรุงอาหารรสเผ็ดร้อน เมื่อเวลาพระราชาเสวย สามเณรก็มาฉันอาหารเผ็ดร้อนนั้นด้วย ทำให้เหงื่อของสามเณรออก ผงที่ทาตัวอยู่ก็ละลายออก สามเณรก็ปรากฎตัวให้พระราชาทอดพระเนตร พระราชาตรัสถามว่าใครใช้ให้มา สามเณรก็ถวายคำตอบว่า พระอาจารย์ที่อยู่วัดโพธิ์แทนนครนายกใช้มา สามเณรถูกคุมตัวไว้ พระอาจารย์รู้ข่าวก็ขออนุญาตทหารเวร มาเยี่ยมสามเณร และให้ฉันหมากเสก สามเณร ก็หนีออกมาได้พร้อมพระอาจารย์กลับมาที่วัด
.................ต่อมาพระราชาเสด็จพร้อมด้วยมหาดเล็กเพื่อตามจับพระอาจารย์และสามเณรที่วัดโพธิ์แทน ซึ่งมีแม่น้ำกั้น (ต่อมาเรียกท่าเสด็จ) จึงเสด็จทางเรือมาถึงในเวลาเช้า ขณะที่พระอาจารย์กับสามเณรฉันเช้าอยู่ ทหารมาล้อมวัดไว้ พระอาจารย์จึงขออนุญาตทหารว่าขอฉันอาหารให้เสร็จก่อน หลังจากนั้นพระอาจารย์ถาม
ลูกศิษย์ว่าใครจะไปกับพระอาจารย์บ้างลูกศิษย์ก็ตกลง พระอาจารย์ทำน้ำมนต์รดสามเณรกลายเป็นลูกกุ้ง ลูกปลา ส่วนพระอาจารย์กลายเป็นนกกระยางคาบลูกกุ้ง ลูกปลาหนีไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งปัจจุบันนี้ คือวัดปากคลองพระอาจารย์ หรือบึงพระอาจารย์
แนวคิด
....................ผู้มีวิชาสามารถนำวิชาไปใช้ในยามคับขันได้

2 ความคิดเห็น:

  1. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always be love. _/|\_

    ตอบลบ
  2. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always beloved. _/|\_

    ตอบลบ