วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประวัติท้าวสุรนารี

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา


จังหวัดนครราชสีมา
ประวัติท้าวสุรนารี
ประวัติ
..................ท้าวสุรนารี เดิมชื่อ โม หรือโม้ ท่านเป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของจังหวัดนครราชสีมา ในฐานะผู้กอบกู้ เมืองนครราชสีมา จากกองทัพของเจ้าอนุวงศ์ แห่งเวียงจันทน์ เมื่อ พุทธศักราช ๒๓๖๙ คุณหญิงโม เกิดเมื่อพุทธศักราช ๒๓๑๕ ปีเถาะ ในสมัยพระเจ้าตากสิน กรุงธนบุรี บิดามารดา ชื่อนายกิ่ม นางบุญมา เมื่ออายุ ๒๕ ปี ได้เข้าพิธีสมรสกับเจ้าพระยามหิศราธิบดี (ทองคำ) ที่ปรึกษาราชการเมืองนครราชสีมา ครั้งยัง ดำรงฐานันดรศักดิ์เป็นพระยาสุริยเดชวิเศษฤทธิ์ทศทิศวิชัย ปลัดเมืองนครราชสีมา มีบ้านอยู่ตรงกันข้ามกับ วัดพระนารายณ์ (วัดกลางนคร) ทางทิศใต้ ท่านไม่มีบุตรสืบตระกูล ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อเดือน ๕ ปีชวด พุทธศักราช ๒๓๙๕ รวมอายุได้ ๘๑ ปี
วีรกรรม
...................วีรกรรมของท่านเกิดจากการรวบรวมครอบครัวชายหญิงชาวนครราชสีมา ที่ถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย เข้าต่อสู้ทหารลาว ณ ทุ่งสำริด แขวงเมืองนครราชสีมา เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พุทธศักราช ๒๓๖๙ ช่วยให้ฝ่ายไทย สามารถกอบกู้เมืองนครราชสีมา กลับคืนมาได้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ สถาปนาขึ้นเป็นท้าวสุรนารี อนุสาวรีย์ของท่านประดิษฐานอยู่ที่หน้าประตูชุมพล ตั้งแต่วันที่ ๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๗๗ และได้บูรณะใหม่ให้งามสง่ายิ่งขึ้นเมื่อ ๒๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตรัสถึงวีรกรรมของท่านท้าวสุรนารีไว้ว่า
"...ท้าวสุรนารี เป็นผู้ที่เสียสละ เพื่อให้ประเทศชาติได้อยู่รอดปลอดภัย ควรที่อนุชนรุ่นหลังจะได้ระลึก ถึงคุณงามความดีของท่าน บ้านเมืองทุกวันนี้เป็นสิ่งที่ต้องหวงแหน การหวงแหน คือ ต้องสามัคคี รู้จักหน้าที่ ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ชาวนครราชสีมาได้แสดงพลัง ต้องการความเรียบร้อย ความสงบ เป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้ ชาติกลับปลอดภัยอีกครั้งหนึ่ง แม้ว่าสถานการณ์รอบตัวเราและรอบโลก จะผันผวนและล่อแหลมมาก แต่ถ้า ทุกคนเข้มแข็ง สามัคคี กล้าหาญ และเอื้อเฟื้อต่อกัน ชาติก็จะมั่นคง..."


2 ความคิดเห็น:

  1. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always be love. _/|\_

    ตอบลบ
  2. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always beloved. _/|\_

    ตอบลบ