วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เมืองล่ม เพชรบูรณ์

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา



จังหวัดเพชรบูรณ์
ชื่อ ตำนานเมืองล่ม หรือเมืองเล็ง
เนื้อเรื่อง
....................ตำนานเมืองล่ม เป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับเมืองสองเมือง คือ ศรีเทพและวิเชียรบุรี ตำนานนี้กล่าวถึงเรื่องที่ลูกสาวของเจ้าห้วยเล็งเมืองวิเชียรบุรี จะแต่งงานกับชายหนุ่มแห่งเมือง ศรีเทพซึ่งอยู่ใต้เมืองวิเชียรบุรีลงไป มีเรื่องเล่าว่า ขณะยกขันหมากจากเมืองศรีเทพขึ้นไปวิเชียรบุรี มีการเกณฑ์ผู้คนไปด้วยเป็นจำนวนมาก ขณะเดินทางไปพักไปก็จะมีการขุดดินพูนถนนทำทางเดินไปสู่เมืองวิเชียรบุรี เพราะหนทางเดินขณะนั้นเป็นเพียงทุ่งหญ้ารกร้าง ณ ที่แห่งหนึ่งซึ่งเป็นที่หยุดพัก ผู้คนในกองขันหมากก็ได้ขุดดินกันไปทำถนนคนละจอบสองจอบ ได้เกิดสระใหญ่ขึ้นลูกหนึ่ง ปัจจุบันเรียกว่า สระลองจอบ (ยังมีร่องรอยเห็นอยู่ชัดเจน) จากนั้นก็เดินทาง
ไปจนเข้าดงมหาสาดและหนองไม้สอ ฝ่ายหญิงก็ยังมาไม่ถึงแต่เขาฉลาดกว่าจึงใช้วิธีชักโคมขึ้นเสา (มีข้อแม้จากฝ่ายเจ้าสาวว่าเจ้าบ่าวต้องมาถึงที่นัดหมายก่อนสว่าง) เมื่อมาถึงดงมหาสาดเจ้าสาวยังมาไม่ถึง แต่ฝ่ายชายเห็นโคมอยู่บนยอดเสาแล้วจึงคิดว่าสว่างแล้วตนมาไม่ทัน จึงสาดขนมทิ้งแล้วยกขบวนขันหมากกลับ ที่
นั้นได้ชื่อว่า ดงมหาสาด เมื่อกลับไปถึงบ้านแล้วได้มีการผูกวัวธนูขึ้น แล้วเอายาพิษโปะวัวแล้วปล่อยให้วิ่งรอบเมือง เมื่อยามไม่เปิดประต ูให้วัวนั้นก็ร้องเสียงดังจนยามต้องเปิดประตูให้ พอเปิดประตูแล้ววัวก็ยังวิ่งวนอยู่หลายรอบ ในที่สุดก็ล้มลงและชักตายในที่สุด โรคระบาดที่ออกจากวัวจึงแพร่ไป ผู้คนพากันตกใจแตกตื่น มีคนตายเป็นจำนวนมาก ขณะนั้นมีฤาษีตนหนึ่งคิดจะมาช่วยเมืองนี้ พอมาถึงก็เห็นวัวท้องแตกตายแล้วก็เลยสาดยาทิ้งไว้ในวังน้ำ
นั้น เพราะถ้าเอายากลับก็จะเสียชื่อเสียง เมื่อยาลงไปในน้ำก็ทำให้น้ำเดือดพล่านและไหลบ่าเข้าท่วมเมืองจน เมืองล่ม เลยได้ชื่อว่าเมืองล่มตั้งแต่นั้น แต่มีการเล่าอีกแบบหนึ่งเกี่ยวกับเมืองนี้ว่าเมืองเล็ง เพราะเล็งแสงจาก โคมไฟเป็นสำคัญ
คติ / แนวคิด
เป็นตำนานการสร้างเมือง โดยให้แนวคิดว่าจะทำการสิ่งใดให้มีสติมั่น ให้พิจารณาอย่างถ่องแท้เสีย ก่อนจึงปฏิบัติ

2 ความคิดเห็น:

  1. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always be love. _/|\_

    ตอบลบ
  2. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always beloved. _/|\_

    ตอบลบ