วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2563

วัดช้างใหญ่อยุธยา

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
วัดช้างใหญ่ อยุธยา

เป็นวัดที่มีความเกี่ยวข้องกับชาวมอญที่มีความสามารถพิเศษในการเลี้ยงช้างฝึกถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในสมัยกรุงศรีอยุธยา ช้างที่สำคัญคือ เจ้าพระยาไชยยานุภาพระวางสูงสุดที่เจ้าพระยาปราบหงสาวดี

เดิมทีวัดช้างใหญ่มีชื่อเสียงว่าเกี่ยวข้องกับชาวมอญผู้เลี้ยงช้างศึกถวายพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการรักษาเอกราชของชาติ แต่เพิ่งจะมีการค้นพบใหม่ คือพระพุทธรูปอันเป็นศิลปะล้ำค่าหายาก อายุกว่า 600 ปี ที่วัดแห่งนี้เพิ่มขึ้นมาไม่นานมานี้ ด้วยชาวมอญในย่านนี้รับราชการสนองพระเดชพระคุณพระมหากษัตริย์ไทยด้วยการฝึกช้าง อันเป็นความชำนาญพิเศษมาช้านาน กระทั่งหัวหน้าชาวมอญผู้หนึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นจัตุลังคบาทควบคุมช้างศึก และได้เลื่อนยศเป็นทหารเอกแม่ทัพหน้าชนะศึกหลายครั้ง จนได้รับแต่งตั้งเป็นพระยาราชมนู มีตำแหน่งสูงสุดเป็นถึงเจ้าพระยาอัครมหาเสนาธิบดีสมุหกลาโหม โดยมีช้างที่สำคัญคือ เจ้าพระยาไชยยานุภาพ ระวางสูงสุดที่เจ้าพระยาปราบหงสาวดี เป็นช้างพระที่นั่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และเจ้าพระยาปราบไตรจักร เป็นช้างพระที่นั่งของสมเด็จพระเอกาทศรถ ดังนั้น เพื่อเป็นอนุสรณ์แรงกายแรงใจของชาวมอญและความสามารถของพระยาช้าง จึงได้สร้างวัดขึ้นและให้ชื่อว่า วัดช้างใหญ่ โดยจัดสร้างอนุสาวรีย์ช้างศึก เจ้าพระยาปราบหงสาวดี ซึ่งเป็นช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระบรมรูปของพระองค์ให้ประชาชนได้สักการะ และยังได้ชมวิหารหลวงพ่อโต สะท้อนสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังซึ่งวาดตามขนบแบบอยุธยา คือด้านหลังพระประธานวาดภาพพระพุทธเจ้าผจญมาร ส่วนด้านที่มีหน้าต่างปรากฏภาพเทพชุมนุม ส่วนสถานที่สักการะยอดนิยมแห่งใหม่คือพระอุโบสถเก่า ซึ่งเมื่อ พ.ศ. 2554 บรรดาพระและสามเณรกำลังทำความสะอาดองค์พระภายในพระอุโบสถหลังเก่า เพื่อเตรียมจัดงานมหาสงกรานต์ เมื่อเช็ดทำความสะอาดพระพุทธรูปพระบริวารที่ประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระประธาน พบว่าพระพุทธรูปปางมารวิชัยเนื้อปูนปั้น หน้าตัก 20 และ 29 นิ้ว ฝั่งซ้ายขวารวม 8 องค์ ประดิษฐานอยู่บนแท่นสูงราว 50 เซนติเมตร ทุกองค์ยิ้มมากน้อยต่างกันไป แต่ปากทาสีแดงสดทั้ง 8 องค์ สันนิษฐานว่าญาติโยมที่มาทำบุญปิดทองไหว้พระหลวงพ่อโตมาช้านาน คงปิดทองทับปากพระบริวารทั้ง 8 องค์ จึงไม่มีผู้ใดเคยเห็นปากพระพุทธรูปสีแดงนี้มาก่อน อันเป็นศิลปะของชาวมอญหรือพม่า ซึ่งจะนิยมทาปากสีแดงเป็นเอกลักษณ์ คาดว่าพระพุทธรูปทั้ง 8 องค์นี้ มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

1 ความคิดเห็น:

  1. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always be love. _/|\_

    ตอบลบ