วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2563

พระร่วงโรจนฤทธิ์

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
พระร่วงโรจนฤทธิ์ 
 "พระร่วงโรจนฤทธิ์" มีชื่อเต็ม คือ "พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ ธรรโมภาส มหาวชิราวุธ ราชปูชนียบพิตร" ตามประกาศกระแสพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 12 ตุลาคม พุทธศักราช 2466 แต่ประชาชนทั่วไป เรียกขานว่า "หลวงพ่อพระร่วง" หรือ "พระร่วงโรจนฤทธิ์"

เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ทำด้วยทองเหลืองหนัก 100 หาบ ศิลปะสุโขทัย สูง 12 ศอก 4 นิ้ว ประทับยืนบนฐานโลหะทองเหลืองลายบัวคว่ำบัวหงาย ทำวงพระพักตร์ตามยาว พระหนุเสี้ยมนิ้วพระหัตถ์ พระบาทไม่เสมอกัน ห้อยพระหัตถ์ซ้ายลงข้างพระวรกาย แบฝ่าพระหัตถ์ขวายกตั้งขึ้น ยื่นไปข้างหน้า มีพระอุทรพลุ้ย บ่ายพระพักตร์สู่ทิศเหนือ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระยุพราช เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือในปี พ.ศ.2451 ได้ทอดพระเนตรพระพุทธรูปโบราณเป็นอันมาก แต่มีพระพุทธรูปองค์หนึ่งที่เมืองศรีสัชนาลัย กอปรด้วยพระลักษณะงามเป็นที่ต้องพระราชหฤทัย แต่ชำรุดมาก เหลืออยู่แต่พระเศียร พระหัตถ์และพระบาท

จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญลงมากรุงเทพฯ แล้วให้ช่างปั้นสถาปนาขึ้นมาบริบูรณ์เต็มพระองค์ และโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีเททองหล่อ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2456 ณ วัดพระเชตุ พนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ โดยมีผู้ออกแบบ คือ กรมหลวงนเรศร์วรฤทธิ์ (พระองค์เจ้ากฤษฎาภินิหาร)

จากนั้นได้อัญเชิญมาสู่จังหวัดนครปฐม เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2457 ทางรถไฟ ประดิษฐาน ณ พระวิหารด้านทิศเหนือ องค์พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจดีย์ราช วรมหาวิหาร จนถึงปัจจุบัน

เมื่อครั้งอัญเชิญพระร่วงฯ มาประดิษฐานยังองค์พระปฐมเจดีย์ จำเป็นต้องแยกชิ้นมาประกอบเข้าด้วยกัน เสร็จเป็นองค์สมบูรณ์ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2458

หลังจากรัชกาลที่ 6 เสด็จสวรรคต ตามความในพระราชพินัยกรรมของพระองค์ระบุว่า ให้บรรจุพระอังคารของพระองค์ไว้ใต้ฐานพระร่วงฯ ที่องค์พระปฐมเจดีย์ ในวันที่ 31 สิงหาคม 2469 จึงได้ทำพิธีบรรจุพระบรมราชสรีรังคาร ณ ใต้ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ ตามพระราชประสงค์

1 ความคิดเห็น:

  1. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always be love. _/|\_

    ตอบลบ