วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2564

พระพุทธรูปปางลีลา

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.

พระพุทธรูปลีลา ศิลปะแบบรัฐสุพรรณภูมิ มี “จารึกภาษาไทยที่เก่าแก่ที่สุด”
ปัจจุบัน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม พระนครศรีอยุธยา ได้นำพระพุทธรูปปางลีลา (เดิน) จากภายในคลังพระที่นั่งพิมานรัตยา มาจัดแสดงเป็นประธานในห้องจัดแสดงบนอาคารมหาดไทย (ที่ทำการมณฑลเทศาภิบาลเดิม) ฝั่งทิศเหนือ ติดกับห้องพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) เป็นพระพุทธรูปที่สลักขึ้นจากหินทราย (ที่อาจเคยเป็นกรอบประตูปราสาทหิน) ทรงแผ่นแท่งตั้ง ยอดโค้งแหลม ด้านหลังปรากฏจารึกภาษาไทย-อยุธยา จำนวน 20 บรรทัด มีใจความสำคัญว่า
“...เมื่อปี พ.ศ. 1918 ขุนสรมุท.. ได้สร้างพระอาราม ถวายพระเจ้าทรงกรม 4 ทิศ เป็นสีมาแก่พระวิหาร ปลูกศรีมหาโพธิ์ 4 ต้น ถวายเข้าวัด ช้าง กัลปนาที่นา เพื่อบุญกุศลให้ตนได้ไปเกิดใหม่ในยุคพระพุทธศรีอารยไมตรี และสาปแช่งผู้ที่จะมาทำลายพระอาราม...” 
จากข้อความที่ระบุปีจารึก ตรงกับช่วงสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว – พ่องั่ว) ที่เป็นราชวงศ์กลุ่มรัฐสุพรรณภูมิจากเมืองสุพรรณบุรี ที่เข้ามามีบทบาทในการปกครองนครอยุธยาในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 20 พุทธศิลปะของพระพุทธรูปมีลักษณะตามแบบพระพุทธรูปในงานศิลปะสุพรรณภูมิ คือ มีพระพักตร์เรียวยาว มีกลีบบัวรองรับพระเมาฬีที่นิยมทำเป็นเปลวไฟโลกุตระ พระขนงโค้งกลมลงมาที่พระนาสิก ไรพระศกโค้งแหลมที่กลางพระนลาฏ ปลายผ้าสังฆาฏิทบแยกเป็นริ้วออก 2 แฉกแหลม ด้านหลังพระเศียรสลักเป็นประภารัศมีทำเป็นรูปซุ้มโค้งยอดแหลม ตวัดปลายตัวหางแหลม พระกรซ้ายทิ้งขนานไปตามส่วนโค้งของพระวรกาย พระกรขวา (หัก – พระหัตถ์กำลังดึงรั้งผ้าจีวร เพื่อสะดวกในการลีลา) พระนาสิกปั้นซ่อมผิดเพี้ยนไปจากเดิม
การระบุคำว่า “พระเจ้าจงกรม” ในจารึกหลังพระพุทธรูป ได้แสดงคติของการสร้างพระปางลีลาที่นิยมทั้งในรัฐสุโขทัยและรัฐอยุธยา ว่ามี “ปางจงกรม” ที่อาจมาจากพุทธประวัติตอนแสดงมหาปาฏิหาริย์บนต้น “ต้นคัณฑามพฤกษ์(ต้นมะม่วง)ใหญ่” เพื่อสั่งสอนพวกเดียรถีย์ที่เมืองสาวัตถี 
“...นิครนถ์นาฏบุตรและบรรดาเจ้าลัทธิอื่นตั้งปะรำพิธีสูงใหญ่ด้วยไม้ตะเคียนเพื่อแสดงอวดฤทธา (กายกรรม – มายากล) แต่เกิดพายุพัดจนปะรำหักพัง พระพุทธเจ้าจึงได้แสดงยมกปาฎิหาริย์ พระพุทธองค์ทรงเนรมิตจงกรมแก้วในอากาศเหนือต้นมะม่วง แล้วเสด็จขึ้นสู่ที่จงกรมนั้น กระทำปาฏิหาริย์....”
ยังมีปางลีลาแบบที่สอง คือ “พระเจ้าหย่อนตีน” ที่ปรากฏคำเรียกและรูปศิลปะในจารึกวัดสรศักดิ์ เมืองโบราณสุโขทัย ปลายพุทธศตวรรษที่ 20  มีความหมายถึงพุทธประวัติตอนเสด็จลงจากดาวดึงส์  หันไปทางขวา แตกต่างไปจากพระเจ้าจงกรมที่หันไปทางซ้าย
ปางลีลาแบบที่ 3 คือ แบบ “เดินทักษิณาวัตร” จะพบรูปศิลปะพระพุทธสาวกบนหน้ากระดานส่วนฐานล่างผนังบัลลังก์และคอระฆัง ของเจดีย์ ทั้งที่รัฐสุโขทัย รัฐล้านนา รัฐตามพรลิงค์และรัฐอยุธยา
สำหรับจารึกบนแผ่นหินด้านหลังพระพุทธรูปนั้น อาจถือได้ว่าเป็นจารึกภาษาไทย (อักษร-เสียง) ที่จารลงบนหิน ที่เก่าแก่ที่สุดในกลุ่มรัฐโบราณเขตภาคกลางตอนล่าง
เครดิต ; FB
วรณัย  พงศาชลากร
EJeab  Academy
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
..........................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


1 ความคิดเห็น:

  1. ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
    My blogs link 👆
    https://sites.google.com/site/dhammatharn/
    http://abhinop.blogspot.com
    http://abhinop.bloggang.com
    ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always beloved.

    ตอบลบ