วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2564

นางโมหินี

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.

'นฤตตมูรติ'​ มูรติการร่ายรำแห่งอง​ค์พระศิวะ และการเริงระบำของ 'นางโมหินี' อวตารแห่งอง​ค์พระวิษณุ​
และปรากฎรูป เหล่าคนธรรพ์​กำลังบรรเลงดนตรีประกอบ ขลุ่ย, กลอง, ฉิ่ง อยู่เคียงข้าง
โดยการเต้นรำของพระศิวะกับพระวิษณุในรูปของนางโมหินีนั้น น่าจะเป็นเป็นเหตุการณ์ในตอนที่​มหาเทพทั้งสองพบกัน แล้วแปลงกายมาเป็น โยคีหนุ่มรูปงามและนางโมหินี ในร่างโยคินีสาวสวย
เพื่อมาปราบเหล่าฤาษีที่ตั้งกลุ่มตั้งชมรมกันอยู่ใน '​ป่าตารกะ'​ หรือในอินเดียใต้จะเรียกว่า 'ป่าถิลไล'​(ป่าโกงกาง)​ ที่นอกเมือง 'จิดัมบราม' แล้วประพฤติปฏิบัติ​ตนออกนอกลู่นอกทาง
และเมื่อเหล่าฤษีได้เห็นความงามของ​นางโมหินี​ ก็เกิดความกำหนัด หมายจะสังหารโยคีหนุ่ม เพื่อครอบครองนางโยคินีเมียของเขา
โดยเหล่า​ฤาษีได้เสกเวทย์​มนต์​ออกมาเป็นตัวเสือพุ่งเข้ามาทำร้ายใส่ แต่พระศิวะก็สังหารเสือนั้นแล้วฉีกเอาหนังเสือนั้นมาทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม
แต่แล้วเหล่าฤาษีก็เสกเวทย์​มนต์​ให้เป็อสรพิษ​ร้าย พระศิวะจึงสังหารงูนั้นแล้วนำมาคล้องที่ร่างกายเป็นสายสังวาลย์​นาคราช
ครั้นสุดท้ายเหล่าฤษีก็ได้ปลดปล่อยเจ้าอสูรมูลยกะหมายให้เข้ามาสังหารพระศิวะ
ดั่งในรูปด้านซ้ายของภาพจะเห็นพระศิวะใช้ตรีศูล เสียบแทงเข้าไปในร่างของอสูรมูลยกะที่ถือดาบและโล่กำลังพุ่งเข้ามาใส่จากเบื้องบน
แล้วอสูรนั้นก็สิ้นชีพลงใต้พระบาทของพระศิวะที่ขึ้นไปร่ายรำอยู่บนลำตัวของอสูรนี้ แทนความหมายว่า
"พระองค์ได้กำราบ 'อวิชชา'​ หรือความไม่รู้ที่ได้แสดงออกมาโดยสัญลักษณ์​ในรูปอสูรมูลยกะนี้ ให้หมดสิ้นไปแล้ว"
และหลังจากนั้นพระศิวะในร่างของโยคีหนุ่มนั้น  ก็สามารถกำหราบเหล่าฤาษีทุศีลนั้นลงไปได้และทำให้เหล่าฤาษีทั้งหมดกลับมาปฏิบัติตนบำเพ็ญเพียรตามทางที่ควรจะเป็น จนเป็นเรื่องราวแห่ง 'ศิวะนาฏราช' ที่ทราบกันดี
ทางฝ่ายอินเดียใต้นั้น มีตำนานกันต่อไปอีกว่าความงามของนางโมหินีนั้น งามถึงขนาดพระศิวะยังทนไม่ได้ ถึงขนาดที่เคยมีอะไรกัน และได้กำเนิดลูกออกมาเป็น 'พระอัยยัปปัน'​ เทพองค์สำคัญแห่งรัฐเกรละ
หรือที่บางตำนานก็จะกล่างถึงว่า​นางโมหินี​ สวยจนพระศิวะแค่เห็นก็ถึงกับ 'พีชะ'​ หรืออสุจิเคลื่อน แล้วได้นำไปหยอดในหูนางอัญชนาในรามายณะ หรือนางสวาหะ​ในรามเกียรติ์ จนเป็นต้นกำเนิดแห่ง  'หนุมาน'
แต่ภาพแกะสลักที่เทวาลัย​โฮ​ย​ศา​เลศ​วรา​แห่งนี้ เท่าที่สังเกตุดู รูปเทพต่างๆจะมีเนื้อหาของเรื่องที่ไม่ต่อเนื่องเป็นเนื้อเรื่องเดียวกัน

รูปแกะสลักนางโมหินีที่ด้านขวาของภาพ พระหัตถ์​ด้านซ้ายกำลังถือหม้อน้ำอมฤตอยู่ ก็อาจจะเป็นเหตุการณ์​ภายหลังการกวนเกษียรสมุทร ที่พระวิษณุ​อวตารร่างมาเป็นนางโมหินี เพื่อใช้ความงามล่อลวงพวกอสูรไป แล้วระหว่างนั้นเองก็ได้แบ่งเทน้ำอมฤตออกมาให้แต่เหล่าเทวดาทั้งหลายได้ดื่มกิน
โดยรูปแกะสลักของพระศิวะ และนางโมหินี ในภาพนี้อาจจะเป็นคนละเหตุการณ์​กัน แต่ทั้งสองอยู่ในลักษณะการร่ายรำที่เหมือนกัน ก็เลยก็นำมาแกะสลักไว้ใกล้กันโดยมีเหล่าคนธรรพ์​มาบรรเลงดนตรี เพื่อความต่อเนื่องกลมกลืนของภาพแกะสลักก็เป็นได้
เทวาลั​ยโฮยศาเลศวรา เมือง​ฮา​ลิ​บิ​ดู​ รัฐ​กรณาฏกะ
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น