วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ที่มาเสียมเรียบ

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

#ไกด์รักษ์ไทย
#LifeIsJourney
#เสียมเรียบ
        สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้คนไทยได้เห็นความมหัศจรรย์ของปราสาทหินแบบขอม ซึ่งใช้หินล้วนๆเป็นวัสดุก่อสร้าง
พระราชดำริที่จะให้คนกรุงเทพฯได้ดู #ปราสาทขอม โปรดเกล้าฯให้พระสามภพพ่ายไปลอกแบบปราสาทนครวัดมา วัดส่วนกว้างส่วนยาวส่วนสูงอย่างละเอียด ซึ่งใช้เวลาเกือบ ๔ เดือน พระสามภพพ่ายได้วัดส่วนต่างๆของ #ปราสาทนครวัด มาทุกซอกทุกมุม รวมทั้งลวดลายต่างๆ อย่างจดไว้ตอนหนึ่งว่า
“...มียอดปรางค์ในระหว่างกลาง ๗ ศอก สูง ๑๕ วา มีประตูและบันไดขึ้นไปจากพื้นทั้ง ๔ ปราสาท มีประตูออกจากปราสาทเข้าไปปราสาทใหญ่ หลังคาพระระเบียงเอาศิลายาว ๒ ศอก หน้าใหญ่ ๑ ศอกเศษ หน้าน้อยกำมา ๑ ทับเหลื่อมกันขึ้นไปประจบเป็นอกไก่ พื้นหลังคาสลักเป็นลูกฟูก เอาศิลาแผ่นยาวๆทับหลังเหมือนอย่างทับหลังคา ไม่มีสิ่งไรรับข้างล่างก็อยู่ได้ทั้ง ๓ ชั้น ด้วยเป็นของหนัก ถัดพระระเบียงเข้าไปเป็นลานกว้าง ๑๐ วาถึงองค์ปรางค์ เขมรเรียกว่าปราสาท ฐานกว้าง ๑๑ วา สูง ๑๙ วา ๒ ศอก มีในร่วมข้างในที่หว่างมุม ๔ ด้าน กว้าง ๗ ศอกคืบ ตรงกลางนั้นก่อตัน หน้ากระดานสลักเป็นลายเขมร กลีบขนุน สลักเป็นครุฑ เป็นเทวดา ตั้งพระพุทธรูปไว้ในหว่างมุขทั้ง ๔ มุข มุขละองค์...”
จึงโปรดฯให้ช่างกระทำจำลองตามแบบที่ถ่ายเข้ามานั้น ขึ้นไว้ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามจนทุกวันนี้
       คำว่า "#เสียมเรียบ" ในภาษาเขมรมีหมายความว่า "#สยามราบ" คือ "สยาม (แพ้) ราบเรียบ ส่วน "#เสียมราฐ" ในภาษาไทยนั้น หมายถึง "ดินแดนของสยาม"
       เสียมราบ มาจากสงครามที่เกิดขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราช (เจ้าพญาจันทราชา) ซึ่งเป็นการศึกระหว่างกัมพูชากับสยามในปี พ.ศ. 2089 ซึ่งปรากฏในพงศาวดารเขมร จ.ศ. 1217 ความว่า
"...พระองค์ทรงราชย์ ลุศักราช ๑๔๖๒ (จ.ศ. ๙๐๒) ศกชวดนักษัตรได้ ๒๕ ปี พระชันษาได้ ๕๕ ปี พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา จึ่งยกทัพมาถึงพระนครหลวง ในปีชวดนั้น พระองค์ยกทัพไปถึงพระนครหลวงรบชนะพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาหนีไป พระเจ้าจันทร์ราชาจับได้เชลยไทยเป็นอันมากแล้วเสด็จกลับเข้ามาครองราชสมบัติ..."
จึงสันนิษฐานว่าสงครามครั้งนี้น่าจะเป็นที่มาของชื่อ "เสียมราบ" เนื่องจากเป็นการรบครั้งสำคัญครั้งสุดท้ายที่รบใกล้เมืองพระนคร เพราะหลังจากนี้เส้นทางการเดินทัพและสมรภูมิจะเปลี่ยนไปเป็นเส้นทางฝั่งตะวันตกของทะเลสาบ คือ แถบเมืองพระตะบอง, โพธิสัตว์, บริบูรณ์ และละแวก เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามการสงครามครั้งนี้ไม่มีการกล่าวถึงในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาแต่อย่างใด
.....................................................
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
http://abhinop.blogspot.com
http://abhinop.bloggang.com
.....................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.
.....................................................


1 ความคิดเห็น:

  1. ททมาโน ปิโยโหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always be love.

    ตอบลบ