วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2564

พระอมิตาภพพุทธเจ้า

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.
ศิลปะแห่ง “พุทธานุภาพ” บนพระหัตถ์พระพุทธรูปทวารวดี

พระพุทธรูปสลักขึ้นจากหินปูน ยืนสมภังค์ (Samabhaṅga) พระกรซ้ายยกขึ้น พระหัตถ์ถือรั้งชายจีวร พระกรขวาทิ้งลงตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาทอดลงแบออกด้านหน้าแสดงท่า “ปางประทานพร” (วรทมุทรา) นุ่งจีวรแบบห่มคลุมตามแบบมหายาน (Mahāyāna Buddhism) ในความหมายของ “พระอมิตาภะพุทธเจ้า” (Amitābha) พระพุทธเจ้าผู้ปกครองสวรรค์พุทธเกษตร/มัณดาราทิศตะวันตก ตามอิทธิพลของคติความเชื่อจากราชวงศ์ปาละในอินเดียตะวันตก และฝ่ายมหายาน/นิกายสุขภาวดี (Sukhāvatī) ในยุคราชวงศ์ถังของจีน พบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี อายุในราวพุทธศตวรรษที่ 13 – 14 จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์
.
“ปางประทานพร” แบบทิ้งพระกรแบพระหัตถ์ข้างพระวรกาย เป็นเอกลักษณ์สำคัญของพระอมิตาภะในนิกายสุขาวดี นิยมสร้างงานศิลปะเป็นรูปของพระพุทธรูปที่มีประภามณฑลล้อมรอบในความหมายของอานุภาพ-พุทธานุภาพ ดังปรากฏความหมายของพระนามตามพระสูตรว่า “พระผู้มีรัศมีแผ่กว้างเป็นแสงสว่างอันเป็นนิรันดร์ เจิดจรัสไปทั่วจักรวาล” นิยมสร้างงานศิลปะ ทั้งในท่ายืนแสดงปางประทานอภัยในพระหัตถ์ขวาและปางประทานพรในพระหัตถ์ซ้าย หรือประทับนั่งปางสมาธิ (Samādhi Mudrā) หรือ ธยานมุทรา (Dhyāna Mudra) โดยมีพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (กวนซีอิม/Avalokiteśvara) พระชิโนรสองค์แรก ถือหม้อน้ำอมฤตประทับอยู่ด้านขวาและพระโพธิสัตว์มหาสถามปราปตะ (ไต้ซีจู๊ พู่สะ/Mahāsthāmaprāpta) พระชิโนรสองค์ที่สอง เป็นผู้ช่วยบรรเทาทุกข์ให้แก่เหล่าสรรพสัตว์ทั้งปวงประทับอยู่ทางด้านขวาครับ
.
“พระพุทธเจ้าอมิตาภะ” ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในคติความเชื่อและงานศิลปะยุควัฒนธรรมทวารวดี ควบคู่ไปกับ พระพุทธเจ้าศากยมุนี (Shakyamuni) จากคติฝ่ายมหายาน/ราชวงศ์ปาละ และพระพุทธเจ้าสมณโคตม (Samaná Gautama) จากคติเถรวาทฝ่ายลังกา ตั้งแต่ช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 13 เป็นต้นมา 
.
-----------------------
*** ที่พระหัตถ์ของพระพุทธรูป แสดงลวดลาย“จักร/ธรรมจักร” (Cakra) ลักษณะสำคัญของพระโพธิสัตว์ผู้ที่จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ดังปรากฏความใน“มหาปุริสลักขณะ/มหาปุริสลักษณะ” (Mahapurisalakkhana/Mahāpuruṣa Lakṣaṇa) หรือ “มหาบุรุษ” 32 ประการ (Thirty-two Characteristics of a Great Man – Buddha) ว่า 
.
“... พระโพธิสัตว์..มีตาข่ายเลิศประดับในมือขวา มีเล็บแดงงาม มีลายกงจักรซึ่งมีซี่ตั้งพันบันเทิงด้วยบุญญาอันงามเหมือนรัศมีทองชมพูนุท ...พื้นภายใต้ฝ่าพระบาทและพระหัตถ์ทั้งสองข้างมีลายรูปจักรอันวิจิตร (สีขาวมีประกายเหมือนเปลวไฟ) มีซี่กำได้ข้างละพัน มีกงมีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง...”  
 .
*** รูปศิลปะแห่งธรรมจักรบนฝ่าพระหัตถ์ แสดงพลังแห่งพุทธานุภาพ “...รัศมีทองชมพูนุท-สีขาวมีประกายเหมือน เปลวไฟ....” ตามลักษณะแห่งมหาบุรุษ ในความหมายของ “พลังออร่า” (Aura) หรือ “ฉัพพรรณรังสี” (Prabashvara) ออกมาเป็นรูปศิลปะ ขีดเป็นเส้นลายโค้งตวัดออกมาทั้ง 4 ด้าน เหมือนรูปดอกไม้ผลิบานออกมา 4 กลีบ (อริยสัจ 4) สับว่างด้วยกลีบดอกไม้ปลายแหลม แทนความหมายของการประทานพรให้เหล่าสาธุชนได้หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงครับ
.
“...ด้วยอำนาจบารมีแห่งพระอมิตาภะผู้ทรงมีมหาเมตตากรุณา ดวงวิญญาณของผู้ศรัทธาที่วายชนม์จะได้ไปบังเกิดบนพุทธเกษตรแดนสุขาวดี พุทธภูมิอันงดงาม สุขสบาย บริสุทธิ์สดใส น่ารื่นรมย์ ไม่มีความทุกข์ ไม่มีกามารมณ์ ทุกคนงามประดุจเทพยดา เป็นแดนที่ผู้ศรัทธาในพระอมิตาภะจะใช้ปฏิบัติธรรม หลังจากสิ้นชีวิตบนโลก เพื่อบรรลุไปสู่พระนิพพานต่อไป...” 
เครดิต ; FB
วรณัย พงศาชลากร
EJeab Academy

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น