วันพุธที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

กัณฑ์ฉกษัตริย์

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา

ฉกษัตริย์

ข้อคิดประจำกัณฑ์  กัณฑ์ฉกษัตริย์

ทั้งหกกษัตริย์ถึงวิสัญญีภาพสลบลง
เมื่อได้พบหน้ากัน ณ พระอาศรมที่เขาวงกต
   ๑. พรากมีวันพบ จากมีวันเจอ จากกันยามเป็นได้เห็นน้ำใจจากกันยามตายได้เห็นน้ำตา
   ๒. การให้อภัยเป็นเพราะได้สำนึกเป็นเหตุให้ลบรอยร้าวฉานบันดาลสันติสุขแก่ส่วนรวม
   ๓. สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้ผิด บรรพชิตยังรู้เผลอ ความผิดพลาดเป็นเรื่องของมนุษย์ แต่การให้อภัยเป็นวิสัยของเทวดา 


 ความย่อ

กัณฑ์ที่ 12 ฉกษัตริย์ มี 36 พระคาถา
เมื่อพระเจ้ากรุงสัญชัย ทรงดำเนินทัพไปตามระยะทางไม่เร่งร้อนทรงอาศัยพระชาลีกุมารนำทางมาโดยลำดับเป็นเวลา 1 เดือน 23 วันก็ถึงเขาวงกตใกล้อาศรมพระเวสสันดร แล้วโปรดให้หยุดพักอยู่ในที่ใกล้สระโบกขรณีมุจลินทร์ให้บ่ายหน้ารถกลับพระนครสีพี ด้วยสุดที่หมายปลายทางแล้ว เสียทหารทั้ง 4 เหล่าโห่ร้องกึกก้องกัมปนาท สะเทือนสะท้อนลั่นป่าพระหิมพานต์ พระเวสสันดรทรงสดับเสียงทวยทหารบันลือลั่นเช่นนั้นก็ทรงตกพระทัย คิดไปว่าชะรอยจะเป็นอริราชข้าศึก ยกมาตีพระนครสีพีได้แล้วก็รีบเดินทัพมุ่งมาจับพระองค์ไปประหารพระชนม์ชีพ ตรัสชวนพระนางมัทรีขึ้นไปแอบดูทหารบนภูเขา แม้อย่างนั้นแล้ว ก็ทรงแน่นพระทัยว่าเป็นข้าศึกใหญ่อยู่ ถึงกับทรงพระ-กันแสงกับพระนางมัทรีว่า ถึงวาระของพระองค์จะต้องสิ้นพระชนม์ครั้งนี้แล้ว
ไม่มีวิธีหลีกเลี่ยงให้พ้นได้เพราะเวรกรรมแต่ปางก่อน ส่วนพระนางมัทรีไม่มีเห็นร่วมด้วย เห็นไปว่าเป็นกองทัพของพระราชบิดายกมารับกลับพระนครจึงมีหน้าตาเบิกบานยิ้มแย้มแจ่มใส ทูลพระเวสสันดรว่า กองทัพที่ยกมาหาใช่เป็นอริราชศัตรูติดตามมาจับไม่ชะรอยจะเป็นทัพของสมเด็จพระราชบิดา ยกมารับกลับพระนครเป็นแน่สมดังกระแสพระดำริที่ทรงคิดไว้แล้ว และสมกับพรที่ท้าวสักกอมรินทร์ทรงประทานไว้ด้วย เพราะทวยทหารที่ยกมาแต่งเครื่องเป็นมงคล  ไม่ใช่ลักษณะออกศึก ขอพระองค์อย่าได้กินแหนงแคลงพระทัยเลย พระเวสสันดรกลับได้สติ เพ่งพิจารณาทหารตามคำทูลของพระนางมัทรี ก็ทรงเห็นสอดคล้องด้วยมีความปิติโสมนัส ชวนพระนางมัทรีเสด็จลงจากภูเขามาประทับนั่งที่หน้าพระอาศรม ทำพระทัยให้มั่นคง มิใช้ความยินดีดานใจให้ฟูจนลิงโลดออกมาทางกาย วาจา ให้เสียภูมิปราชญ์คอยต้อนรับพระราชบิดาด้วยพระอาการปกติก่อนเสด็จเข้าไปพบพระเวสสันดร พระเจ้ากรุงสันชัยทรงสั่งกับพระนางเจ้าผุสดีว่าเราทั้งหมด ไม่ควรจะด่วยเข้าไปพบพระเวสสันดรพร้อมกันคราวเดียว ควรจะเข้าไปเป็น 3 คราว คือคราวแรกพี่เข้าไป คราวที่สองให้ผุสดีไป คราวหลังใช้ชาลีกันกัณหาเข้าไป เมื่อเข้าไปเป็นระยะเช่นนี้ จะช่วยผ่อนความเศร้าโศกให้เบาบางได้ ครั้นตรัสแล้วก็เสด็จดำเนินไปที่พระอาศรมพร้อมด้วยราชบริพารด้วยอาการสงบ เมื่อพระเวสสันดรและพระนางมัทรี ได้ทอดพระเนตรเห็นก็พากันลุกออกมาต้อนรับ ทูลเชิญให้เสด็จเข้าประทับที่พระศรมถวายบังคมแทบพระบาทเบื้องต้นได้ทูลถามถึงทุกข์ส่วนพระองค์ ต่อนั้นก็ถามถึงพระโอรสทั้งสองก่อนใครหมดแล้วจึงได้ถามถึงพระนางผุสดีพระราชมารดาถัดไปจึงถามถึงชาวพระนครสีพี
พระเจ้ากรุงสัญชัยตรัสบอกแล้ว ได้ตรัสถามถึงทุกข์สุขพระเวสสันดร และพระนางมัทรี ครั้งทรงทราบถึงความยากลำบากยากแค้นที่พระโอรสทั้งสองเล่าถวายก็ทรงพระกันแสงด้วยความสงสาร ต่อนั้นพระนางเจ้า
ผุสดีก็เสด็จเข้าไปและต่อไปสองกุมารก็เสด็จเข้าไปยังอาศรมเมื่อได้ปะกันแล้วกษัตริย์ทั้งหกพระองค์ได้รับความดีใจและความเสียใจ อย่างรุนแรงได้ทรงกันแสงสุดจะประมาณตลอดทั้งทวยทหารและเสวกามาตย์ ที่มาประชุมในที่นั้น สามารถทำพนาวันให้บันลือสนั่นทั่วหิมวันตประเทศ ท้าวสักกะเทเวศรจึงทรงบันดาล ให้ฝนตกลงมาประพรม ให้ชื่นบานพระทัย ยังกษัตริย์ทั้งหกและมหาชนทั้งหลายให้สร่างโศก เพราะอัญญมัญญวิปโยกดังพรรณนามา
ต่อมามหาอำมาตย์ราชปุโรหิต จึงได้พร้อมกันทูลอัญเชิญให้ พระเวสสันดรทรงลาผนวชเสด็จไปครองราชย์สมบัติในพระนครสีพี ซึ่งทวยราษฎร์ ทั้งมวลมีความยินดีพร้อมกัน ถวาย ให้พระองค์เป็นกษัตริย์ปกครองราชอาณาจักรสืบไป
จบความย่อ
ปี่พาทย์ทำเพลงตระนอน
อานิสงส์
ผู้บูชากัณฑ์ฉกษัตริย์ จะได้เป็นผู้เจริญด้วยพร 4 ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ทุกๆชาติแล


2 ความคิดเห็น:

  1. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always be love. _/|\_

    ตอบลบ
  2. ททมาโน ปิโย โหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always beloved. _/|\_

    ตอบลบ