วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ธงตะแกรง

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always beloved.
“ธงตะแกรง” เครื่องป้องกันลูกธนูในการสงครามยุคจักรวรรดิบายน
.
.
.
ภาพสลักนูนต่ำบนผนังกำแพงระเบียงคดชั้นนอกด้านทิศตะวันออกปีกทิศใต้ ติดกับมณฑปมุมตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทบายน แสดงเรื่องราวภายหลังการพิชิตกองทัพเรือจามปา ในยุทธนาวีเหนือโตนเลสาบ ช่วงปี พ.ศ. 1724  พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้ทรงทำสัญญาผูกสัมพันธไมตรีกับสมเด็จพระจักรพรรดิลี้ กาว ตง (Lý Cao Tông) ราชวงศ์ลี้ (Ly Dynasty) แห่งอาณาจักรได่เหวียด (Dai Viet) ภายหลังการครองราชย์ 9 ปี   จนถึงปี พ.ศ. 1733 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้ทรงเตรียมพร้อมรวมรวมกำลังไพร่พล ฝึกฝนการต่อสู้ในแต่ละรูปแบบ รวมขึ้นเป็นกองทัพใหญ่ เคลื่อนพลออกจากเมืองพระนครศรียโศธระปุระ เดินทางไปเข้าตีเมืองวิชัยปุระ (Vijayapur - ปัจจุบันคือ เมืองกวีเญิน (Qui Nhơn) ในจังหวัดบินห์ดินห์ (Bình Định) ตอนกลางของประเทศเวียดนาม) ราชธานีของอาณาจักรจามปา  
ในขบวนกองทัพ ปรากฏรูปของ “ธงทิว/ธงชัย” (Flag of Victory) ทั้ง “เสาธวัช-ธงชัย” (Dhvajajaya) ที่มีรูปประติมากรรมขนาดเล็กบนยอดเสา อย่างรูปกระบี่ธุช (หนุมาน)/ธงชัยกระบี่ธุช รูปครุฑ/ธงชัยครุฑพ่าห์ หรือรูปเทพเจ้า/ธงชัยเทวะ ธงผ้ารูปทรงยาวแบบตั้งพลิ้วโค้งปลายแหลมที่ด้านบน ธงผ้าผืนใหญ่มีชายสามเหลี่ยมแหลมพลิ้วตามลม 3–5 ชาย ธงผ้ารูปสามเหลี่ยม ธงชัยแต่ละแบบก็มีลวดลายประดับสีสันงดงาม อีกทั้งกลดผ้าสัปทน ที่ล้วนบ่งบอกฐานะของแม่ทัพนายกองผู้ใช้ธงนั้นว่ามีระดับชั้นความสำคัญขนาดไหนในขบวนกองทัพ 
.
ในภาพสลักขบวนกองทัพหลายหมู่ ยังปรากฏรูปธงสี่เหลี่ยมตั้งยาวมีด้ามจับ 1 – 2 ด้าม บนยอดเสาประดับด้วยธงสามเหลี่ยมภายในกรอบสลักเป็นรูปตารางไขว้ข้าวหลามตัด ดูแตกต่างแปลกประหลาดไปจากธงอื่น ๆ ร่วมอยู่ด้วย ซึ่งไม่ใช่ธงชัย แต่เป็น “ธงตะแกรง” เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการแพนสะบัดปัดป้องลูกธนูจากฝ่ายข้าศึก ไม่ให้ยิงพุ่งเข้ามาถูกบุคคลสำคัญของขบวนทัพ จึงพบรูปธงสลักอยู่ด้านหน้าของผู้นำบนหลังช้างทุกรูป น่าจะเป็นตาข่ายโลหะสำริด มีทั้งแบบด้ามเดี่ยวใช้ปัด และด้ามคู่ขนาดใหญ่กว่าไว้ตั้งขวางหน้าช้าง  
.
*** ลูกธนูที่ยิงมาจากฝ่ายศัตรู จะพุ่งเข้ามาติดช่องตาข่ายของธง ไม่เข้าถึงตัวแม่ทัพนายกองบนหลังช้างครับ  
เครดิต : FB
วรณัย พงศาชลากร 
EJeab Academy

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น