วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ตำนานศรีโคตรบูรณ์

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา
ข้อมูลทั่วไป : จังหวัดนครพนม article
พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม
ข้อมูลทั่วไป
นครพนม เมืองนครแห่งอีสาน ดินแดนสองฝั่งแม่น้ำโขงแถบนี้ เดิมทีเป็นที่ตั้งของอาณาจักร           ศรีโคตรบูร ตัวเมืองตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของลำน้ำโขง (ฝั่งลาว) บริเวณทางใต้ปากเซบั้งไฟ ตรงข้ามกับพระธาตุพนมในปัจจุบัน  ตามประวัติเล่ากันว่าเมื่อพญานันทเสนผู้ครองศรีโคตรบูรสวรรคต เสนาอำมาตย์และประชาชนต่างก็เห็นว่าบ้านเมืองเกิดเภทภัยหลายครั้ง ควรที่จะย้ายไปสร้างเมืองใหม่อยู่ตรงข้ามกัน ซึ่งเป็นบริเวณที่มีป่าไม้รวกขึ้นอยู่เป็นดงจึงได้เรียกชื่อเมืองใหม่นี้ว่า “มรุกขนคร” หมายถึงเมืองที่อยู่ในดงไม้รวก
มรุกขนครในสมัยพญาสุมิตรธรรม เมื่อ พ.ศ. ๕๐๐ นั้นรุ่งเรืองมาก มีเมืองขึ้นมากมายและมีการบูรณะพระธาตุพนมขึ้นเป็นครั้งแรกด้วย โดยการก่อพระลานอูบมุงชั้นที่ ๑ และชั้นที่ ๒ แล้วสร้างกำแแพงล้อมรอบ มีงานสมโภชใหญ่โต หลังจากพญาสุมิตรธรรมแล้วก็มีผู้ครองนครต่อมาอีก ๒ พระองค์ แต่ก็เกิดมีเหตุอาเพศแก่อาณาจักรศรีโคตรบูรจนกลายเป็นเมืองร้าง กระทั่งถึง พ.ศ. ๑๘๐๐ เจ้าศรีโคตรบูรได้สร้างเมืองมรุกขนครขึ้นใหม่ใต้เมืองท่าแขก     บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ใน พ.ศ. ๒๐๕๗ ผู้ครองเมืองมรุกขนครคือพระเจ้านครหลวงพิชิตทศพิศ ราชธานี   ศรีโคตรบูรหลวง ได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่กลายเป็น “เมืองศรีโคตรบูร” ตรงตามชื่ออาณาจักรดั้งเดิม ในยุคสมัยนี้  ยังได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมอีกด้วย

ต่อมา พ.ศ. ๒๒๘๐ พระธรรมราชา เจ้าเมืองศรีโคตรบูรองค์สุดท้ายได้ย้ายเมืองมาตั้งบนฝั่งขวา (ฝั่งไทย) เยื้องเมืองเก่าขึ้นไปทางเหนือ แล้วให้ชื่อว่า “เมืองนคร” ซึ่งก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นเรื่อย ๆ ถึงแม้ว่าจะมีการโยกย้ายอีกหลายครั้ง ดังเช่น พ.ศ. ๒๓๒๑ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ได้มีการย้ายเมืองอีกครั้งไปตั้งที่บ้านหนองจันทร์ ห่างขึ้นไปทางทิศเหนือ ๕๒ กิโลเมตร จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๓๓ เมื่อผู้ครองเมืองนครถึงแก่พิราลัย เมืองนครก็ได้ขอขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร โดยรัชกาลที่ ๑ พระราชทานนามให้ใหม่ว่า “นครพนม” ชื่อนครพนมนั้นมีข้อสันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองลูกหลวงมาก่อนและมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์จึงได้ใช้คำว่า “นคร” ส่วนคำว่า “พนม” ก็มาจากพระธาตุพนมปูชนียสถานที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน บ้างก็ว่ามรุกขนครเดิมที่อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงตั้งอยู่ในบริเวณที่มีภูเขาสลับซับซ้อนจึงนำคำว่า “พนม” ซึ่งแปลว่าภูเขามาใช้ ส่วนคำว่า “นคร” ก็เป็นการดำรงชื่อเมืองไว้คือ เมืองมรุกขนคร นครพนมจึงหมายถึง “ เมืองแห่งภูเขา” นั่นเอง

จังหวัดนครพนมมีพื้นที่ประมาณ ๕,๕๑๒ ตารางกิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๗๔๐ กิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น ๑๒ อำเภอ  คือ อำเภอเมืองนครพนม ธาตุพนม นาแก  ท่าอุเทน  เรณูนคร  บ้านแพง  ปลาปาก  ศรีสงคราม  นาหว้า โพนสวรรค์  นาทม และวังยาง

อาณาเขตทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอดงหลวง อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอกุสุมาลย์ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร




จังหวัดนครพนม
ชื่อ ตำนานศรีโคตรบูรณ์
เนื้อเรื่อง
.....................กล่าวถึงตำนานเดิมของเมืองศรีโคตรบูรณ์นั้นคล้ายกับพงศาวดารทางเหนือ อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ที่ สร้างขึ้นโดยพระยาโคตรบอง ซึ่งเป็นโอรสโคดมเทวราช และเป็นผู้สร้างเมืองพิจิตร ซึ่งเป็นเมืองลูกหลวงขึ้นต่อ เมืองเวียงจันทน์ให้เจ้าโคตะเป็นพระยาศรีโคตรบูรณ์ และผลัดเปลี่ยนเจ้าผู้ครองนครมาได้หลายประองค์ จน
ถึงพระองค์ที่มีฤทธิ์ด้วยกระบอง (ภาษาอีสานเรียกว่าไม้ค้อน) จึงได้พระนามว่าพระยาศรีโคตรบอง และได้ย้ายเมือง มาตั้งที่ป่ารวกห้วยศรีมัง ริมฝั่งแม่น้ำโขง จนกระทั่งสมัยของพระเจ้าสุบินราชโอรสพระยาศรีโคตรบอง ขึ้นครองนครสืบแทนอำมาตย์ได้ผลัดเปลี่ยนกันรักษาเมือง จนถึง พ.ศ. ๒๒๘๖ เจ้าระแหงได้ให้โอรส ๒
องค์ เสี่ยงบั้งไฟองค์ละกระบอก ถ้าบั้งไฟของใครไปที่ใดจะสร้างเมืองให้ครอง บั้งไฟของโอรสองค์ใหญ่ไม่ติด จึงดำริสร้างเมืองที่นั่น แต่อำมาตย์คัดค้านว่าไม่เหมาะสม ประจวบกับขณะนั้นผู้ครองนครศรีโคตรบูรณ์ว่างอยู่ อำมาตย์จึงเชิญองค์เล็กขึ้นครองแทน ทรงพระนามว่า พระยาปัตติยวงษาราชบุตรมหาฤาชัยไกรทศฤาเดช เชรษฐบุรี จนกระทั่งถึงสมัยพระนครานุรักษ์ครองเมืองแทน ทรงเห็นว่าเมืองศรีโคตรบูรณ์มิได้ตั้งอยู่ปากน้ำหินบูรณ์อย่างแต่ก่อน จึงให้เปลี่ยนชื่อเมืองเสียใหม่เรียกว่า มรุกขนคร และได้ย้ายเมืองมาตั้งที่ฝั่งขวาที่ บ้านธาตุน้อยศรีบุญเรือนปากห้วยบังฮวก และให้ชื่อว่าเมืองมรุกขะนครตามเดิม
แนวคิด
........................พระยาศรีโคตรบอง เป็นเจ้าผู้ครองนครที่แข็งแรงและมีความสามารถมาก

2 ความคิดเห็น:

  1. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always be love. _/|\_

    ตอบลบ
  2. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always beloved. _/|\_

    ตอบลบ