วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ตำนานพระร่วง พระลือ สุโขทัย

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา


จังหวัดสุโขทัย
ตำนานพระร่วง พระลือ
เนื้อเรื่อง
................เรื่องของพระร่วง เป็นที่รู้จักกล่าวขานอยู่ในเรื่องที่เป็นตำนานและปรัมปราคติ ทั้งที่ได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและเล่าต่อปากต่อคำกันมา โดยคนไทยในภาคเหนือตั้งแต่เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน และคนไทยในภาคกลางไปจนถึงนครศรีธรรมราช พระร่วงเป็นเรื่องราวของคนไทย ซึ่งได้สะท้อนภาพคุณลักษณะการเป็นวีรบุรุษ ซึ่งเลื่องลือแพร่กระจาย จนเป็นที่รับรู้ของคนไทยอย่างกว้างขวางที่สุดมากกว่าเรื่องวีรบุรุษใดในปรัมปราคติของไทยสมัยโบราณ เชื่อกันว่า พระร่วงนั้นมีวาจาสิทธิ์ รอบรู้ศิลปวิทยา สามารถคิดวิธีนำถ่ายน้ำไปยังที่ไกลๆ ได้สะดวก เป็นผู้มีบุญญาธิการ รูปงาม กล้าหาญ สามารถนำเรือสำเภาไปค้าขายถึงเมืองจีนได้ธิดาพระเจ้ากรุงจีนเป็นมเหสี และนำช่างจีนมาทำเครื่องปั้นดินเผาเคลือบที่สุโขทัย
..............ตามตำนานเล่าว่า พระร่วงเป็นพี่ พระลือเป็นน้อง พระร่วงนั้นได้ครองเมืองศรีสัชนาลัย มีช้างเผือกงาดำกับเขี้ยวงูเป็นของคู่บารมี ถึงคราวสิ้นบุญก่อนจะเสด็จลงอาบน้ำในแก่งหลวงแล้วหายไป ได้ตรัสสั่งให้น้องครองราชสมบัติแทน ส่วนอีกเรื่องหนึ่งเล่าว่าพระร่วงเมืองสุโขทัย เมื่อปราบขอมดำดินที่สุโขทัยสำเร็จแล้วได้ครองกรุงสุโขทัยและเดินทางไปเมืองเชลียง เอาช้างเผือกงาดำมาแกะเป็นรูปพระร่วง
สำหรับพระพุทธรูปที่เรียกว่า พระร่วง พระลือ นั้นเดิมประดิษฐานอยู่ที่กุฏิพระร่วง พระลือ สร้างอยู่ตรงหน้าอุโบสถวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ แกะสลักด้วยงาช้าง ฉลองพระองค์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพระมหาธรรมราชาลิไท
...............ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๑๒๗ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำไปไว้ ณ กรุงศรีอยุธยาและสูญหาย ต่อมาชาวบ้านได้หล่อจำลอง ไว้ด้วยทองสัมฤทธิ์ยืนตรงยกพระหัตถ์เสมอพระอุระทั้งสองข้าง เหมือนกันทั้งสององค์ ทรงพระมาลาแบบที่เรียกกันว่า หมวกขีโบ และต่อมาจังหวัดสุโขทัยได้นำไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ภูมิภาคที่ ๓ สุโขทัย จนถึงปัจจุบัน

1 ความคิดเห็น:

  1. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always beloved. _/|\_

    ตอบลบ