วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แหลมงอบเกาะช้าง ตราด

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา


ตำนานแหลมงอบเกาะช้าง
เนื้อเรื่อง
................สมัยหนึ่งพระโพธิสัตว์ได้มาสร้างตำหนักเลี้ยงช้างอยู่ที่เกาะช้าง มีช้างพลายเชือกหนึ่งเป็นจ่าโขลง ชื่อว่า อ้ายเพชร และมีสองตายายผู้เลี้ยงชื่อ ตาบ๋าย และยายม่อม วันหนึ่งอ้ายเพชรจ่าโขลงตกมันหนีเตลิด เข้าป่าไปผสมพันธุ์กับนางช้างป่า ตกลูกมา ๓ เชือก เมื่อพระโพธิสัตว์ทราบเรื่องจึงสั่งให้สองตายายไปติดตาม
โดยให้ไปคนละทาง อ้ายเพชรหนีไปจนสุดเกาะด้านเหนือจึงว่ายน้ำข้ามทะเลมาขึ้นฝั่งซึ่งเดี๋ยวนี้เรียกว่า บ้าน ธรรมชาติ ส่วนลูกทั้งสามที่ตามมาด้วยว่ายน้ำไม่เป็น จึงจมน้ำตาย กลายเป็นหินสามกองอยู่บริเวณอ่าว คลองสน ชาวบ้านเรียกว่า หินช้างสามลูก ในขณะที่อ้ายเพชรว่ายน้ำไปถึงกลางทะเลลึกก็ได้ถ่ายมูลไว้กลาย
เป็นหินกองอยู่ตรงนั้นเรียกว่า "หินขี้ช้าง"ปัจจุบันมีกระโจมไฟ (ประภาคาร) บนหินกองนี้ เมื่อขึ้นฝั่งได้แล้ว อ้ายเพชรก็มุ่งหน้าเลียบไปตามชายฝั่งด้านทิศใต้ ตาบ๋ายซึ่งเป็นผู้เลี้ยงเห็นว่าตามไปไม่ทันแล้วจึงเดินทาง กลับ จึงคงปล่อยให้ยายติดตามไปแต่เพียงผู้เดียว ยายม่อมตามไปจนทันช้างขึ้นฝั่งแต่ไม่กล้าเข้าป่ากลัวสัตว์
จะทำร้าย ในที่สุดก็ตกลงไปในโคลนถอนตัวไม่ขึ้นถึงแก่ความตาย ร่างกายของแกกลายเป็นหินกองอยู่ตรงนั้น ชาวบ้านจึงเรียกว่า "หินยายม่อม" ส่วนงอบที่แกสวมไว้ได้ลอยไปติดปลายแหลมและกลายเป็นหิน ชาวบ้าน เรียกว่า "แหลมงอบ" ตรงบริเวณที่ตั้งกระโจมไฟในปัจจุบัน ซึ่งเป็นชื่อที่ได้จากงอบของยายม่อมที่ลอยไปติด ชายฝั่ง
....................เมื่อพระโพธิสัตว์ทราบเรื่องจากคนเลี้ยงว่า อ้ายเพชร มุ่งหน้าไปทางทิศใต้ จึงเข้าใจว่า อ้ายเพชรจะต้อง คิดไปที่เกาะอีก จึงเกณฑ์คนให้ทำคอกดักไว้เกือบถึงท้ายเกาะด้านใต้ ชาวบ้านจึงเรียกหมู่บ้านแถบนี้ว่า "บ้านคอก" และเกาะซึ่งเกิดจากลิ่มและสลักที่ทำคอกนั้น เรียกว่า "เกาะลิ่ม" "เกาะสลัก" ส่วนมากเรียกรวมกันว่า "บ้านสลักคอก" ฝ่ายอ้ายเพชรนั้นเมื่อเลียบชายฝั่งมาจนถึงท้ายเกาะก็คิดข้ามไปยังเกาะจริงตามที่คาดไว้ พอ
ว่ายน้ำไปได้หน่อยหนึ่งก็ถ่ายมูลออกมากลายเป็น "หินกอง" มาจนทุกวันนี้ น้ำในบริเวณนั้นลึกมาก แม้มีหินโผล่ขึ้นมาแต่มิได้อยู่ในเส้นทางการเดินเรือ จึงไม่ได้มีการจัดตั้งประภาคารไว้ที่หินเหล่านี้ เมื่ออ้ายเพชรไปถึง แล้วแทนที่จะกลับเข้าคอกกลับเดินเลียบฝั่งอ้อมแหลมเข้าไปทางอ่าวด้านนอก พระโพธิสัตว์สั่งให้คนไปสกัด
ให้กลับมาเข้าคอก ชาวบ้าน จึงเรียกที่ไปสกัดข้างนี้ว่าไปสลักหน้า และเรียกหมู่บ้านบริเวณนี้ว่า "บ้านสลัก เพชร" ซึ่งหมายถึง สลักหน้าอ้ายเพชร โดยเหตุที่เกิดความยุ่งยากนี้พระโพธิสัตว์จึงฝังอาถรรพ์ไว้ตามเกาะ ต่าง ๆ มิให้ช้างอาศัยอยู่อีกต่อไปนับแต่นั้นมาเกาะต่าง ๆ จึงไม่มีช้างอาศัยจนถึงปัจจุบัน
คติ / แนวคิด/สาระ
..................เป็นเรื่องเล่าต่อกันมา โดยสอดแทรกเนื้อหาสาระ เพื่ออธิบายความเกี่ยวข้องในการดำรงชีวิตของตนเองกับสภาพแวดล้อมรอบตัวอย่างเป็นเหตุเป็นผล โดยสอดแทรกความสนุกสนานให้ผู้ฟังเข้าใจสิ่งที่อยู่ รอบตัวได้ง่าย และชวนให้สนใจอยากหาคำตอบบางประการ เช่น ชื่อเกาะช้าง ทำไมจึงไม่มีช้างอาศัยอยู่เลย
เป็นต้น


2 ความคิดเห็น:

  1. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always be love. _/|\_

    ตอบลบ
  2. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always beloved. _/|\_

    ตอบลบ