จังหวัดเชียงราย
เมืองประวัติศาสตร์เชียงแสน
สถานที่ตั้ง เมืองประวัติศาสตร์เชียงแสนมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ดอยเชียงเมี่ยง (บ้านสบรวก) เขตสุขาภิบาลเวียงเชียงแสน และเขตบ้านเชียงแสนน้อย ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โดยมีทำเลที่ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขง มีพื้นที่ประมาณ ๒,๙๗๐ ไร่ ๓ งาน ๑๒ ตารางวา หรือประมาณ ๔.๗๕ ตารางกิโลเมตร
ประวัติความเป็นมา
...................เมืองเชียงแสน เป็นเมืองโบราณที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดเมืองหนึ่งของแคว้นล้านนา จากหลักฐานด้าน ประวัติศาสตร์และโบราณคดี แสดงให้เห็นว่าเมืองเชียงแสนเป็นเมืองที่มีพัฒนาการมายาวนาน เนื่องจากเป็นเมือง ที่มีทำเลที่ตั้งเหมาะสมจึงส่งผลให้มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ การปกครอง ศาสนา และศิลปกรรม ได้มีการพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในยุคหินเก่าด้วย กลุ่มสิงหนวัติ เป็นกลุ่มคนไทกลุ่มแรก ที่เข้ามาสร้างบ้านแปงเมือง บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำกก ชื่อเมือง "โยนกนาคพันธสิงหนวัติ" มีกษัตริย์ผู้สืบเชื้อสายปกครองต่อๆ กันมา จนกระทั่งสมัยของพระเจ้าพรหมสามารถ รวบรวมบ้านเมือง และขยายขอบเขตของแคว้นโยนกออกไปได้หลายพื้นที่ คือ เมืองไชยปราการ (เขตอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่) เมืองไชยนารายณ์ (เขตอำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย) และเวียงพางคำ (เขตอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย) จนกระทั่งเมืองโยนกล่มสลายลงต่อมาโดยการนำของพ่อบ้านชื่อ "ขุนลัง" ได้พากันออกไปสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นใหม่ บริเวณปากแม่น้ำกกชื่อว่า "เวียงปรึกษา"
.................... ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ได้ปรากฏแคว้นหิรัญนครเงินยางโดยกลุ่มลาวจกที่เชื่อกันว่าเป็นกลุ่มชน ที่อพยพมาจากภูเขา ลงมาสร้างบ้านแปงเมือง บริเวณริมแม่น้ำสาย ปกครองเมืองที่เคยเป็นเมืองโยนกเดิม แคว้นหิรัญนครเงินยางนี้มีผู้นำคือ "ขุนเจือง" เป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่มีความสามารถรวบรวมและขยายขอบเขต
ของแคว้นออกไปได้อย่างกว้างขวาง เมืองเชียงแสน เริ่มเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ มีพญามังรายกษัตริย์องค์ ที่ ๒๕ เชื้อสายราชวงศ์ลาวจก แห่งแคว้นหิรัญนครเงินยางสามารถยึดเมืองหริภุญไชยอันเป็นศูนย์กลาง อำนาจบริเวณแม่น้ำปิง และได้สถาปนาเมืองเชียงใหม่ขึ้นเป็นราชธานี ของอาณาจักรล้านนาเมื่อปี พ.ศ.
๑๘๓๙ และในระยะเวลาต่อมา พญามังรายได้ส่งพญาแสนภูผู้เป็นหลาน มาควบคุมดูแลเมืองบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำกก และแม่น้ำโขง โดยในระยะแรก พญาแสนภูเข้ามาพักชั่วคราวบริเวณปากแม่น้ำกก (เชียงแสนน้อยในปัจจุบัน) ก่อน ต่อมาได้ช่วยสร้างเมืองเชียงแสนขึ้น ตรงบริเวณพื้นที่ที่เคยเป็นเมืองเก่าเดิม และทรง
เล็งเห็นว่าพื้นที่บริเวณนี้มีตำแหน่งที่ตั้งทางชัยภูมิที่เหมาะสมแก่การทำกสิกรรม เพื่อเป็นเมืองท่าหน้าด่านที่ คอยควบคุมดูแลการค้าขายตามลำน้ำโขง
พญาแสนภูโปรดให้ขุดคูและสร้างกำแพงเมืองล้อมรอบ ๓ ด้าน คือ ด้านทิศเหนือ ด้านทิศตะวันตก และด้านทิศใต้ ส่วนด้านทิศตะวันออกใช้แม่น้ำโขงเป็นปราการธรรมชาติ ส่วนกำแพงที่ปรากฏหลักฐานอยู่ใน ปัจจุบันนี้สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยพญาสามฝั่งแถน เมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๙๕๑ เมื่อครั้งที่พวกฮ่อ
ได้ยกทัพมาตีล้านนาและเมืองเชียงแสน
......................... ในระยะแรกเมืองเชียงแสนมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของแคว้นล้านนาจนถึงสมัยพญาติโลกราช (ประมาณ พ.ศ ๑๙๘๕-๒๐๓๐) เมื่อกองทัพของกรุงศรีอยุธยาเข้ายึดเมืองเชียงใหม่และแคว้นล้านนาทั้งหมด เมืองเชียงแสน ตกอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของอยุธยาด้วย หลังจากนั้นล้านนาก็ต้องตกอยู่ในอำนาจ ของพม่า และเมื่อพระยาจ่าบ้าน (วิเชียรปราการ) ร่วมกับพระยากาวิละ โดยการสนับสนุนกำลังกองทัพจาก
กรุงธนบุรี สามารถกอบกู้เมืองเชียงใหม่และขับไล่พม่าออกไปได้สำเร็จในปี พ.ศ. ๒๓๑๗ แต่พม่าก็ยังย้ายมา ตั้งมั่นที่เมืองเชียงแสนได้อีกในปี พ.ศ. ๒๓๔๗ พระยากาวิละได้ให้พระยาอุปราช (อนุชา) ยกกำลังเข้าไปขับ ไล่พม่า โดยเผาทำลายเมืองและป้อมกำแพงเมือง รวมทั้งอพยพผู้คนออกจากเมืองเชียงแสนไปไว้ในที่ต่างๆ
ในเมืองล้านนา
........................... ในปี พ.ศ. ๒๔๑๗ ได้มีพวกพม่า ลื้อ เขิน จากเมืองเชียงตุง อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ภายในเมืองเชียงแสน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าอินทวิไชยานนท์เจ้านครเชียงใหม่ นำกำลังไปปราบปรามขับไล่ออกจากเมืองแล้วโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าอินต๊ะนำราษฎรชาวเมืองลำพูน
เชียงใหม่ เข้ามาตั้งบ้านเรือนในเมืองเชียงแสนจำนวน ๑,๕๐๐ ครัวเรือน เมื่อมีการจัดระบบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล (พ.ศ. ๒๔๔๒) เมืองเชียงแสนได้ขึ้นกับมณฑล
พายัพ ต่อมาเปลี่ยนการบริหารการปกครองส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัด เมืองเชียงแสนจึงมีฐานะเป็นกิ่งอำเภอ เชียงแสนหลวง ขึ้นอยู่กับอำเภอแม่จัน จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ จึงยกฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัด เชียงราย
ความสำคัญต่อชุมชน
...........................เมืองประวัติศาสตร์เชียงแสนเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจมาตั้งแต่อดีต ปัจจุบันจัดเป็น แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ซึ่งสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนแห่งนี้ในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
........................... สถาปัตยกรรมในเมืองประวัติศาสตร์เชียงแสนที่หลงเหลือหลักฐานอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ พระเจดีย์ ซึ่งมี ๒ แบบ คือ เจดีย์ทรงระฆัง และเจดีย์ทรงปราสาท ที่แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานของศิลปะจีน ศิลปะพม่า แบบพุกาม และศิลปะสุโขทัย ต่อมาได้พัฒนาจนเป็นรูปแบบของตนเอง
เส้นทางเข้าสู่เมืองประวัติศาสตร์เชียงแสน
............................ ตามเส้นทางหลวงหมายเลข ๑๐๑๖ ซึ่งแยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ (พหลโยธิน) ผ่าน อำเภอแม่จัน เข้าเมืองเชียงแสนที่ประตู
ประวัติความเป็นมา
...................เมืองเชียงแสน เป็นเมืองโบราณที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดเมืองหนึ่งของแคว้นล้านนา จากหลักฐานด้าน ประวัติศาสตร์และโบราณคดี แสดงให้เห็นว่าเมืองเชียงแสนเป็นเมืองที่มีพัฒนาการมายาวนาน เนื่องจากเป็นเมือง ที่มีทำเลที่ตั้งเหมาะสมจึงส่งผลให้มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ การปกครอง ศาสนา และศิลปกรรม ได้มีการพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในยุคหินเก่าด้วย กลุ่มสิงหนวัติ เป็นกลุ่มคนไทกลุ่มแรก ที่เข้ามาสร้างบ้านแปงเมือง บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำกก ชื่อเมือง "โยนกนาคพันธสิงหนวัติ" มีกษัตริย์ผู้สืบเชื้อสายปกครองต่อๆ กันมา จนกระทั่งสมัยของพระเจ้าพรหมสามารถ รวบรวมบ้านเมือง และขยายขอบเขตของแคว้นโยนกออกไปได้หลายพื้นที่ คือ เมืองไชยปราการ (เขตอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่) เมืองไชยนารายณ์ (เขตอำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย) และเวียงพางคำ (เขตอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย) จนกระทั่งเมืองโยนกล่มสลายลงต่อมาโดยการนำของพ่อบ้านชื่อ "ขุนลัง" ได้พากันออกไปสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นใหม่ บริเวณปากแม่น้ำกกชื่อว่า "เวียงปรึกษา"
.................... ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ได้ปรากฏแคว้นหิรัญนครเงินยางโดยกลุ่มลาวจกที่เชื่อกันว่าเป็นกลุ่มชน ที่อพยพมาจากภูเขา ลงมาสร้างบ้านแปงเมือง บริเวณริมแม่น้ำสาย ปกครองเมืองที่เคยเป็นเมืองโยนกเดิม แคว้นหิรัญนครเงินยางนี้มีผู้นำคือ "ขุนเจือง" เป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่มีความสามารถรวบรวมและขยายขอบเขต
ของแคว้นออกไปได้อย่างกว้างขวาง เมืองเชียงแสน เริ่มเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ มีพญามังรายกษัตริย์องค์ ที่ ๒๕ เชื้อสายราชวงศ์ลาวจก แห่งแคว้นหิรัญนครเงินยางสามารถยึดเมืองหริภุญไชยอันเป็นศูนย์กลาง อำนาจบริเวณแม่น้ำปิง และได้สถาปนาเมืองเชียงใหม่ขึ้นเป็นราชธานี ของอาณาจักรล้านนาเมื่อปี พ.ศ.
๑๘๓๙ และในระยะเวลาต่อมา พญามังรายได้ส่งพญาแสนภูผู้เป็นหลาน มาควบคุมดูแลเมืองบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำกก และแม่น้ำโขง โดยในระยะแรก พญาแสนภูเข้ามาพักชั่วคราวบริเวณปากแม่น้ำกก (เชียงแสนน้อยในปัจจุบัน) ก่อน ต่อมาได้ช่วยสร้างเมืองเชียงแสนขึ้น ตรงบริเวณพื้นที่ที่เคยเป็นเมืองเก่าเดิม และทรง
เล็งเห็นว่าพื้นที่บริเวณนี้มีตำแหน่งที่ตั้งทางชัยภูมิที่เหมาะสมแก่การทำกสิกรรม เพื่อเป็นเมืองท่าหน้าด่านที่ คอยควบคุมดูแลการค้าขายตามลำน้ำโขง
พญาแสนภูโปรดให้ขุดคูและสร้างกำแพงเมืองล้อมรอบ ๓ ด้าน คือ ด้านทิศเหนือ ด้านทิศตะวันตก และด้านทิศใต้ ส่วนด้านทิศตะวันออกใช้แม่น้ำโขงเป็นปราการธรรมชาติ ส่วนกำแพงที่ปรากฏหลักฐานอยู่ใน ปัจจุบันนี้สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยพญาสามฝั่งแถน เมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๙๕๑ เมื่อครั้งที่พวกฮ่อ
ได้ยกทัพมาตีล้านนาและเมืองเชียงแสน
......................... ในระยะแรกเมืองเชียงแสนมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของแคว้นล้านนาจนถึงสมัยพญาติโลกราช (ประมาณ พ.ศ ๑๙๘๕-๒๐๓๐) เมื่อกองทัพของกรุงศรีอยุธยาเข้ายึดเมืองเชียงใหม่และแคว้นล้านนาทั้งหมด เมืองเชียงแสน ตกอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของอยุธยาด้วย หลังจากนั้นล้านนาก็ต้องตกอยู่ในอำนาจ ของพม่า และเมื่อพระยาจ่าบ้าน (วิเชียรปราการ) ร่วมกับพระยากาวิละ โดยการสนับสนุนกำลังกองทัพจาก
กรุงธนบุรี สามารถกอบกู้เมืองเชียงใหม่และขับไล่พม่าออกไปได้สำเร็จในปี พ.ศ. ๒๓๑๗ แต่พม่าก็ยังย้ายมา ตั้งมั่นที่เมืองเชียงแสนได้อีกในปี พ.ศ. ๒๓๔๗ พระยากาวิละได้ให้พระยาอุปราช (อนุชา) ยกกำลังเข้าไปขับ ไล่พม่า โดยเผาทำลายเมืองและป้อมกำแพงเมือง รวมทั้งอพยพผู้คนออกจากเมืองเชียงแสนไปไว้ในที่ต่างๆ
ในเมืองล้านนา
........................... ในปี พ.ศ. ๒๔๑๗ ได้มีพวกพม่า ลื้อ เขิน จากเมืองเชียงตุง อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ภายในเมืองเชียงแสน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าอินทวิไชยานนท์เจ้านครเชียงใหม่ นำกำลังไปปราบปรามขับไล่ออกจากเมืองแล้วโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าอินต๊ะนำราษฎรชาวเมืองลำพูน
เชียงใหม่ เข้ามาตั้งบ้านเรือนในเมืองเชียงแสนจำนวน ๑,๕๐๐ ครัวเรือน เมื่อมีการจัดระบบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล (พ.ศ. ๒๔๔๒) เมืองเชียงแสนได้ขึ้นกับมณฑล
พายัพ ต่อมาเปลี่ยนการบริหารการปกครองส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัด เมืองเชียงแสนจึงมีฐานะเป็นกิ่งอำเภอ เชียงแสนหลวง ขึ้นอยู่กับอำเภอแม่จัน จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ จึงยกฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัด เชียงราย
ความสำคัญต่อชุมชน
...........................เมืองประวัติศาสตร์เชียงแสนเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจมาตั้งแต่อดีต ปัจจุบันจัดเป็น แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ซึ่งสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนแห่งนี้ในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
........................... สถาปัตยกรรมในเมืองประวัติศาสตร์เชียงแสนที่หลงเหลือหลักฐานอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ พระเจดีย์ ซึ่งมี ๒ แบบ คือ เจดีย์ทรงระฆัง และเจดีย์ทรงปราสาท ที่แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานของศิลปะจีน ศิลปะพม่า แบบพุกาม และศิลปะสุโขทัย ต่อมาได้พัฒนาจนเป็นรูปแบบของตนเอง
เส้นทางเข้าสู่เมืองประวัติศาสตร์เชียงแสน
............................ ตามเส้นทางหลวงหมายเลข ๑๐๑๖ ซึ่งแยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ (พหลโยธิน) ผ่าน อำเภอแม่จัน เข้าเมืองเชียงแสนที่ประตู
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
ตอบลบA giver is always beloved. _/|\_