วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

นางสามสี ชัยนาท

ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา



ชื่อ นางสามสี
เนื้อเรื่อง
................ชาวบ้านเชื่อกันว่าเมืองอู่ตะเภานี้ เดิมชื่อเมืองท้าวอู่ทอง ท้าวอู่ทองผู้ครองเมืองมีพระธิดาทรงโฉม พระองค์หนึ่งทรงนามว่า นางสามสี ท้าวอู่ทองโปรดให้ขุดสระปลูกบัวไว้ทางทิศเหนือของเมือง เพื่อเป็นสระ สนานของพระธิดา ปัจจุบันสระนี้ยังมีอยู่เรียกว่า หนองบัวสระนาง เป็น สระที่ตื้นเขินมากแล้ว แต่ยังมีบัว ขึ้นอยู่
................เจ้าเมืองห้วยดุก และเจ้าเมืองจันเสน ต่างเดินทางมาเฝ้าท้าวอู่ทอง เพื่อทรงสู่ขอนางสามสีไปอภิเษก ด้วย เผอิญมาถึงเมืองอู่ทองพร้อมกัน ท้าวอู่ทองจึงให้เจ้าเมืองทั้งสองสร้างถนนจากเมืองแต่ละเมืองมายัง เมืองอู่ตะเภา ผู้ใดทำถนนถึงก่อนก็ได้พระธิดาไปครอง โดยนัดวันทำถนนเริ่มทำให้พร้อมกัน
เมืองห้วยดุกอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองอู่ตะเภา ส่วนเมืองจันเสนอยู่ทางทิศตะวันออก-เฉียงใต้ เจ้าเมืองจันเสนทำถนนมาใกล้จะถึงเมืองอู่ตะเภาได้ลั่นฆ้องขึ้น เจ้าเมืองห้วยดุกเข้าใจว่าตนเป็น ฝ่ายแพ้ จึงพาพวกพ้องกลับเมืองห้วยดุก ในการทำถนนแข่งขันครั้งนี้ เจ้าเมืองจันเสนหวังว่าต้องเป็นผู้ชนะแน่นอน จึงได้นำสำเภาใส่ขันหมาก
มาสองลำด้วยกัน ฝ่ายท้าวอู่ทองเห็นว่า เจ้าเมืองจันเสนลั่นฆ้องขึ้นก่อนทำถนนมาถึงเมืองอู่ตะเภา จึงประกาศให้การ แข่งขันเป็นโมฆะ
...............ท้าวจันเสนเมื่อไม่ได้นางสามสี ก็เสียใจมาก ทำลายเรือสำเภาใส่ขันหมาก กลายเป็นเกาะอยู่กลาง แม่น้ำ เรียกว่าหัวเกาะอู่ตะเภามาจนทุกวันนี้ เดิมเป็นสองเกาะ ต่อมาดินงอกเพิ่มขึ้นกลายเป็นเกาะเดียว สำหรับขนมกง ข้าวตอก ดอกไม้ ทิ้งลงน้ำกลายเป็นหินอยู่ใต้น้ำทั้งหมด ต่อมามีชายยาจกผู้หนึ่ง ตัวมีปุ่มปมน่าเกลียดชื่อนายแสนปม ทำไร่อยู่ที่หนองไร่ข้าว ปลูกมะเขือไว้กิน ได้เอาน้ำปัสสาวะรดมะเขือเป็นประจำ ทำให้มะเขืองามและมีลูกดก และเหตุบันดาลให้นางสามสีอยากเสวย
มะเขือ ท้าวอู่ทองจึงใช้ให้คนไปเอามะเขือจากบ้านนายแสนปม หลังจากนางสามสีเสวยมะเขือแล้ว ได้ตั้ง ครรภ์และคลอดบุตรเป็นชาย
ท้าวอู่ทองจึงทำพิธีอธิษฐานหาพ่อเด็ก โดยให้ชายในเมืองถือกล้วยคนละหนึ่งใบถ้าเด็กรับกล้วยจากมือ ผู้ใดก็จะให้เป็นพ่อเด็ก และยกนางสามสีให้เป็นภรรยา
..............ครั้งนั้นปรากฏว่า กุมารน้อยรับกล้วยจากนายแสนปม ท้าวอู่ทองจึงยกนางสามสีให้ และได้พากันมา อยู่กับนายแสนปม นายแสนปมตามเรื่องที่เล่ามานี้คือท้าวแสนปม จะเปลี่ยนจากนายแสนปมเป็นท้าว แสนปมตอนใดมิได้กล่าวถึง บ้างก็เล่าว่าธิดาของท้าวอู่ทอง ชื่อว่านางตะเภาทอง
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
.............เป็นตำนานพื้นบ้านที่ชาวบ้านอู่ตะเภาเล่าสืบต่อกันมา เนื้อหาเกี่ยวกับความเป็นมาของเมืองอู่ตะเภา และลากเข้าความให้เหมือนปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ส่วนสถานที่ต่าง ๆ ที่กล่าวไว้ในตำนานยังคงพอ เห็นสภาพได้ ณ เมืองอู่ตะเภา ซึ่งเป็นเมืองโบราณคดีที่สำคัญเมืองหนึ่งในสมัยทวาราวดี

1 ความคิดเห็น:

  1. ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
    A giver is always beloved. _/|\_

    ตอบลบ